@ WalKy TalKy...

ในห้อง 'Buddhism' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 6 มกราคม 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ฺBORING!! huhuhuhu
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    [​IMG]

    Somewhere Over the Rainbow

    Joanna Reeves

    Somewhere over the rainbow
    Way up high,
    There's a land that I heard of
    Once in a lullaby.

    Somewhere over the rainbow
    Skies are blue,
    And the dreams that you dare to dream
    Really do come true.

    Someday I'll wish upon a star
    And wake up where the clouds are far
    Behind me.

    Where troubles melt like lemon drops
    Away above the chimney tops
    That's where you'll find me.

    Somewhere over the rainbow
    Bluebirds fly.
    Birds fly over the rainbow.
    Why then, oh why can't I?

    If happy little bluebirds fly
    Beyond the rainbow
    Why, oh why can't I?



    เพลงนี้ มี คนแปล ไว้ งดงามจับใจ
    อาจารย์สดใส แปลไว้ ดังนี้ค่ะ



    แห่งไหน...ไกล
    สุดขอบสายรุ้ง
    ทาบฟ้า...งาม
    แห่งนั้น
    ฉันจะติดปีกบิน
    ข้ามฟ้า...ไป

    ฉันอยากสัมผัส
    ละอองของดาว
    พรางพราวนภา
    เหนือปุยเมฆไกล
    ไกล...โพ้นโลก

    ไล่โศกมลาย
    เคล้ากับสายลม
    พร่างพรมละออง
    ของความเข้าใจ
    รวมใจ...มั่น


    แห่งนั้น...ไกล
    สุดขอบสายรุ้ง
    ไม่ท้อยาม
    ยากทุกข์ทน
    จะฝ่าทน ข้ามไป




    Over The Rainbow
    (Arlen-Harburg)

    Somewhere over the rainbow
    Way up high
    There's a land that I heard of
    Once in a lullaby
    จากเพลงกล่อม ยามนอน ที่เคยได้ฟัง
    มีดินแดนแห่งฝัน
    ณ ฟากฝั่งโน้นของสายรุ้งสูงละลิ่ว


    Somewhere over the rainbow
    Skies are blue
    And the dreams that you dare to dream
    Really do come true

    ดินแดนแห่งฟ้าสีคราม
    ที่ซึ่งแม้ความฝันสูงสุดของเรา
    ก็จะกลายเป็นจริง
    ณ ฟากฝั่งโน้นของรุ้งรำไพ


    Some day I'll wish upon a star
    And wake up where the clouds are far behind me
    Where troubles melt like lemondrops

    วันหนึ่ง จะตั้งจิตอธิษฐานต่อดวงดาว
    ขอให้ตื่นมาในดินแดนที่เมฆร้ายคล้อยผ่าน
    ความทุกข์ยาก ละลายหาย เหมือนลูกอมรสมะนาว


    Away above the chimney tops
    That's where you'll find me
    Somewhere over the rainbow

    เบื้องบน เลยปล่องไฟขึ้นไป
    ณ อีกฟากฝั่งของสายรุ้ง
    เธอจะพบฉันได้ ณ ที่นั้น


    Bluebirds fly
    Birds fly over the rainbow
    Why then, oh why can't I?

    เมื่อบลูเบิร์ด สกุณา
    สามารถร่อนถลาข้ามสายรุ้ง
    ไฉนเลย ฉันจะไม่อาจข้ามไปได้เช่นกัน


    Some day I'll wish upon a star
    And wake up where the clouds are far behind me
    Where troubles melt like lemondrops
    Away above the chimney tops
    That's where you'll find me
    Somewhere over the rainbow

    กับดวงดาว อธิษฐาน วอนความฝัน
    ขอไปแดน ซึ่งเมฆควัน ผ่านพ้นหาย
    ซึ่งความทุกข์ ปวดร้าว รู้ละลาย
    ณ สุดสาย ปลายรุ้ง ฉันรอเธอ


    [​IMG]



    สายรุ้งในหัวใจ งดงามได้เสมอ
    สำหรับทุกๆคนค่ะ
    ขอให้ มีกำลังของใจ ..
    ...


     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    Good or Bad --- Hard to say

    <TABLE class=tborder id=post2176 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 id=td_post_2176>Good or Bad --- Hard to say : ดีหรือไม่ดี --- ยากที่จะบอก

    Once upon a time, there was a king. The king liked one of his followers very much because he was very wise and always gave very useful advice. Therefore the king took him along wherever he went.
    นานมาแล้ว มีพระราชาองค์หนึ่ง พระราชาองค์นี้
    มีคนสนิทคนหนึ่งที่พระองค์สนิทมาก และมักจะพาไปไหนมาไหนด้วยเสมอ ในทุกๆที่


    One day, the king was bitten by a dog, the finger was injured and the wound was getting worse. He asked the follower if that was a bad sign.
    The follower said, 'Good or bad, hard to say'.
    แล้ววันหนึ่ง พระราชาก็ถูกหมาตัวหนึ่งกัดนิ้ว แผลฉกรรจ์มาก พระราชาจึงถามคนสนิทว่า นี่เป็นรางไม่ดีของพระองค์หรือเปล่า คนสนิทกลับตอบว่า
     
  4. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    Time is Too slow for those who wait, Too swift for those who fear, Too long for those who grieve, Too short for those who rejoice, But for those who love Time is not.

    Henry Van Dyke
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    We are not born for education,occupation,home or family. we are not born for these thing and then groe old,get sick.and die. If we were born for them.it would mean that we are born merely to repeat the cycle of rebirth, sickness,old age and death,to be food for orms. Money and wealth cannot save us from this aimless wandering. We are bornto release ourslves from the chains which bind us. We are born to release ourslves from the bondage of desire. We ae born to effect a spiritual improvement, to purify our mind as much sa we can, an to pass through the darkness of life'sdelusions. We are born to stop birth,end suffering,and rech nibbana.
     
  6. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    Spiritual Security

    ความมั่นคงทางจิตใจ อยู่ในชุดความมั่นคงพื้นฐาน
    ความมั่นคงทางจิตใจนั้น เป็นความมั่นคงพื้นฐาน คืออยู่ในชุดความมั่นคงของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วยความมั่นคงปลอดภัยทางด้านร่างกาย ที่จะเป็นฐานให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ แล้วก็มี
    ความมั่นคงทางจิตใจ และอีกด้านหนึ่ง คือ ความมั่นคงทางสังคม สามอย่างนี้เป็นพื้นฐานมาแต่เดิม ส่วนความมั่นคงด้านอื่นๆ มักจะเป็นของเพิ่มขึ้นมาทีหลัง ซึ่งขึ้นต่อกาละ
    เทศะ หรือยุคสมัย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น Environmental Secutiry ซึ่งเพิ่มเริ่มได้รับความนิยมหรือยอมรับกันในช่วงที่คนตื่นเกี่ยวกับเรื่องความเสื่อมโทรมของสภาพแวด
    ล้อมในยุคใหม่ใกล้ๆ นี้ ดังจะเห็นว่า ในอเมริกาเพิ่งจะเริ่มยุคสิ่งแวดล้อมเมื่อประมาณปี 1969 / พ.ศ. 2512 (ใน พ.ศ. 2512 เกิดองค์การ Green Peace ต่อมา พ.ศ. 2513
    เริ่มมี Earth Day และรัฐบาลอเมริกันเริ่มตั้งหน่วยราชการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ EPA) ส่วนระดับโลกนั้น ก็ถือเอา Earth Summit ในปี 1972 หรือ พ.ศ.2515 เป็นจุดกำหนด
    หลังจากนั้น จึงมีคำว่า Environmental Secutiry ขึ้นมา แม้กระนั้น คำนี้ก็ยังไม่ได้ใช้กันทั่วไป ในสารานุกรมของฝรั่งที่สำคัญๆ ก็ยังไม่บรรจุคำนี้ อย่างที่มาแยกเป็น Economic Secutiry กับ Food Security อะไรพวกนี้ สมัยก่อนก็รวมอยู่ในข้อเดียวกัน แต่ต่อมาบางยุคบางสมัยมีความจำเป็นเกิดขึ้น เช่น แม้ว่าสภาพ
    เศรษฐกิจด้านอื่นจะดี แต่เรื่องอาหารซึ่งสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมด้วยนี้ ก็อาจจะมีปัญหา เช่นมีเงินแต่ไม่สามารถหาอาหาร หรืออาหารไม่ปลอดภัย ก็เลยต้องมีการเน้นขึ้นมา รวมความว่า Secutiry หลายอย่างเป็นเรื่องที่ขึ้นต่อยุคสมัย ซึ่งมีการเน้นขึ้นมาทีละอย่าง แต่ Secutiry หลักคือ ความมั่นคงทางจิตใจ ทางชีวิตร่างกาย และทางสังคม เป็นพื้นฐานมาแต่เดิม
    สำหรับความมั่นคงทางจิตใจนี้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่อยู่ในข่ายจะพิจารณามีอยู่ 3 คำ คือ Spiritual Secutiry แล้วก็ Psychological Security และ Mental Security

    Mental Security นั้น ตัดไปได้เลยเพราะว่าไม่ใช้กัน ส่วน Psychological Secutiry มีใช้บ้าง อย่างในหนังสือจำพวกวารสารฉบับหนึ่ง เมื่อปี 1947 ก็มี แสดงว่าใช้มานาน
    แล้ว แต่ก็ใช้กันไม่มาก
    คำที่ใช้กันมากก็คือ Spiritual Secutiry แปลว่าความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องจิตใจที่ลงลึก มักจะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทางศรัทธาโดยเฉพาะเรื่องทางศาสนา อย่างที่เดี๋ยวนี้มีคนไทยบางท่านแปลว่า จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันไปพลางก่อน เพราะหาคำที่ถึงใจไม่ได้ แต่ยังไม่ปรากฏว่าเป็นที่ยอมรับของราชบัณฑิตยสถาน พูดง่ายๆ ก็คือ "ความมั่นคงทางจิตใจ" นั่นเอง
    ยกตัวอย่าง เด็กที่ถูกทุบตีทำร้ายหรือถูกรังแกอยู่เรื่อยๆ ก็จะขาดความมั่นคงทางจิตใจ คือไม่มี Spiritual Secutiry นี้นิตยสาร Time เมื่อปี 2534 (ฉบับ 30 ก.ย. 1991)
    ลงพิมพ์เรื่องที่เขาสัมภาษณ์นักเขียนนวนิยายมีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อว่า Norman Mailer
    นักเขียนผู้นี้ได้พูดวิจารณ์ประธานาธิบดีบุช (บิดาของประธานาธิบดี George W. Bush คนปัจจุบัน) เขาพูดถึงประเทศอเมริกาเวลานั้นว่า ขาดหรือเสื่อมเสีย Spiritual
    Secutiry ลงไป เพราะมีเรื่องร้ายๆ ที่กระทบกระเทือนให้บอบช้ำหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการสังหารบุคคลสำคัญของชาติ ตั้งแต่ประธานาธิบดีเคนเนดี สังหารมาร์ติน ลูเธอร์ คิง
    สังหารโรเบิร์ต เคนเนดี เรื่องอัปยศจากสงครามเวียดนาม แล้วก็คดีวอเตอร์เกต จิตใจบอบช้ำเสีย Spiritual Secutiry เหมือนดังภรรยาที่ถูกซ้อมอยู่เรื่อยๆ เขาว่าอย่างนั้น เป็นความมั่นคงทางจิตใจระดับชาติกันเลย
    ยกตัวอย่างแค่นี้ก็คงพอเห็นชัดว่า ความมั่นคงทางจิตใจ หรือ Spiritual Secutiry นี้ เป็นอย่างไร ?
    เป็นอันว่า ศัพท์ที่จะสื่อความหมายกับพวกฝรั่งได้ง่าย ก็คือ Spiritual Secutiry ซึ่งเป็นเรื่องทางด้านจิตใจที่ลึกซึ้งลงไป อาจจะเกี่ยวกับศรัทธาในทางศาสนาด้วย แต่ถ้าพูดใน
    ทางพุทธศาสนาก็ต้องโยงมาหา "ปัญญา" เพราะจิตใจจะมั่นคงแท้จริงต้องอาศัยปัญญาด้วย จิตใจมั่นคงอย่างสมบูรณ์ เมื่อเป็นอิสระด้วยปัญญา
    ศรัทธาทำให้มีหลักที่ยึดเหนี่ยวให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจในระดับหนึ่ง แต่จะมั่นจริงต้องมีปัญญา โดยเกิดความรู้เข้าใจด้วยตนเอง ศรัทธาเป็นความมั่นใจที่อาศัยหลักข้าง
    นอกคือสิ่งภายนอกหรือสิ่งอื่นมาเป็นเครื่องยึด เหมือนมีคนมาพาคนหลับตาเดิน ถ้าเราเชื่อมั่นในคนที่จูงนำพาเราไป เราก็มี Secutiry ได้ แต่ถ้าเราลืมตามองเห็นทางด้วยตน
    เอง เราจะมีความมั่นใจโดยสมบูรณ์ คือมองเห็นทางนั้นชัดเจน รู้ว่าจะไปถึงจุดหมายนี้ได้ ต้องไปทางนี้
    แม้แต่จะตาย คนที่จะตายก็ต้องการ Spiritual Secutiry คือความมั่นคงทางจิตใจ หรือจิตลึกที่ว่านี้ คนที่ไม่มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ เวลาจะตายจิตใจก็มักฟุ้งซ่าน หวาดกลัว
    ไม่มีสติ แต่ถ้าเป็นคนมีศรัทธา มีความเชื่อมั่น อย่างชาวพุทธที่ศรัทธาเชื่อมั่น ในบุญ ในกุศล เมื่อเขาได้ทำบุญกุศลไว้ หรือมีจิตศรัทธายึดอยู่กับพระรัตนตรัย พอจิตมีหลักอย่างนี้ ก็สงบได้ ใจก็มั่นคงดี
    ทีนี้ ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คือ คนที่มีปัญญาเห็นแจ้ง รู้เข้าใจหลักพระไตรลักษณ์ เข้าถึงความจริงของชีวิต และกฎธรรมชาติ อันนี้จะไปเหนือยิ่งกว่าศรัทธาอีก คือคนที่รู้เข้าใจ รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตแล้ว จิตยอมรับความจริงนั้น จิตใจของเขาจะสงบได้เลย แล้วก็เป็นอิสระด้วย ส่วนคนที่อาศัยศรัทธา ยังต้องมีหลักเป็นที่ยึดเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ต้องเกาะจึงมั่น ต้องยึดจึงมั่น แต่ถ้าเป็นคนที่มีปัญญารู้แจ้งแล้ว ไม่ต้องเกาะต้องยึดอะไรเลย เป็นอิสระ
    เป็นอันว่า Spiritual Secutiry นี้ ในความหมายของฝรั่งเป็นเรื่องของการที่จิตใจมีที่พึ่งพำนัก มีที่ยึดเหนี่ยว มีความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย รวมทั้งมีคุณความดีที่ทำให้เกิดความภูมิใจ (อย่างในกรณีของชาติอเมริกันที่ว่าเมื่อกี้) ซึ่งบรรยายได้หลายด้าน แต่ถ้าว่าในทางพุทธศาสนา ก็ต้องโยงไปถึงปัญญา ดังที่กล่าวแล้ว อันนี้เป็นเรื่องของความมั่นคงปลอดภัย ในระดับที่สำคัญเป็นแก่นหรือเป็นแกนทีเดียว ส่วนความมั่นคงอย่างอื่นเป็นเพียงภายนอก ถ้าไม่มี Spiritual Secutiry แล้ว ก็จะมี Secutiry ที่แท้จริงไม่ได้
    เพราะว่า Secutiry ที่แท้จริงนี้ ไม่ใช่มั่นคงข้างนอกอย่างเดียว ต้องมีความมั่นคง ที่ทำให้เกิดความมั่นใจอย่างแท้จริง และความมั่นใจนี่แหละจะเป็นตัวที่จะทำให้ตั้งหลักได้ และใจจึงจะสงบ หมายความว่า จะมั่นคงแท้ต้องถึงขั้นทำให้ใจสงบได้มั่นคงนั้นดีแท้ แต่จะยั่งยืนต้องไม่ประมาทด้วย
    ที่พูดมานั้น เป็นเรื่องของถ้อยคำและความหมาย ทีนี้มีข้อสังเกตที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ แม้ว่า Security จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็มีแง่ที่ต้องระวังไว้เหมือนกัน หมายความว่า แม้ว่า Security หรือความมั่นคงนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์และสำหรับสังคม อย่างคนทั่วไปนี้ถ้าไม่มีความรู้สึกใน Security ก็ไม่มีความหวังที่ชัดเจน ไม่มีความมั่นใจ
    จะสร้างสรรค์ จะทำงานอะไร ก็จะทำให้ไม่มุ่ง ไม่แน่ว ไม่เข้มแข็ง ไม่มีสมาธิ แม้กระทั่งไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม นี่แง่หนึ่ง
    แต่อีกแง่หนึ่ง ในทางตรงกันข้าม ซึ่งฝรั่งก็รู้ตัวเหมือนกัน คือ Secutiry หรือความมั่นคงนี้ ถ้าไม่ได้พัฒนามนุษย์เพียงพอ มนุษย์เหล่านี้พอมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ก็จะ
    เฉื่อยชา อย่างที่ฝรั่งก็พูดถึงว่าจะเกิด Indolence ขึ้นมา คือเกิดความเฉื่อยชา หรือความขี้เกียจ พูดตามภาษาของเราก็คือ เกิดความประมาท ผัดเพี้ยน ไม่กระตือรือร้น ไม่ขวนขวาย ซึ่งเป็นสภาพจิตสามัญของมนุษย์ปุถุชน ที่ว่า พออยู่สบายก็ชักจะเฉื่อยชา
    ฝรั่งที่เจริญมานี่ เขาก็เห็นคุณค่าของพวก Stress, tension และ Anxiety ซึ่งเวลานี้เป็นปัญหาของเขาเอง สังคมฝรั่งได้รับพิษภัยโทษของ Stress, Tension และ Anxiety
    คือเรื่องของความเครียด ความกดดัน และความกระวนกระวายต่างๆ ในวิถีชีวิตของเขาที่เป็นมาตลอดยุคอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เขามีความทุกข์มาก แต่ก็เพราะ Stress, Tension และ Anxiety นี่แหละ จึงทำให้ฝรั่งต้องดิ้นรนกระตือ รือร้นขวนขวาย และทำให้เขาเจริญมาเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้
    ฉะนั้นในเรื่องเดียวกัน จึงมีมุมมองได้หลายแง่ ซึ่งต้องระวังที่จะเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เมื่อพูดตามหลักในพุทธศาสนา การที่จะกระตือรือร้น ขวนขวาย ก็คือความไม่ประมาท ฉะนั้น ถ้ามี Secutiry คือมีความมั่นคงปลอดภัย ก็ต้องระวังไม่ให้เกิดความประมาท ต้องระวังว่าสบายแล้วจะเฉื่อยชา อยากจะนอน อยากจะผัดเพี้ยน เพราะฉะนั้นจึงต้อง "พัฒนาคนให้ไม่ประมาท"
    ถ้าพัฒนาคนให้ไม่ประมาทไม่สำเร็จ ก็อาจจะต้องยอมให้มี Stress และ Tension ไว้เป็นเครื่องบีบให้คนกระตือรือร้น ขวนขวาย ต้องรู้ทันความจริงที่ว่า มนุษย์ปุถุชนที่ไม่ได้มีการพัฒนาเพียงพอ ที่ต้องอยู่ในวงจรของความเสื่อม-ความเจริญอยู่อย่างนี้ ก็เพราะว่า ในตอนที่มีทุกข์ภัยบีบคั้น มีความเครียด ก็กระตือรือร้น เร่งรัด ดิ้นรน ขวนขวาย ทำให้เจริญก้าวหน้า แต่พอพ้นภัยอันตราย มีความสุข สบาย ก็เฉื่อยชา ผัดเพี้ยน ประมาท เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาจึงให้แก้ด้วยการ "พัฒนาคนให้ไม่ประมาท"
    จะต้องระลึกและคิดเตรียมไว้ให้ดีว่า คู่กับ Security คือความมั่นคงปลอดภัยนั้น จะต้องพัฒนาคนให้ไม่ประมาทไปด้วย มิฉะนั้นแล้ว Security เองที่เป็นหลักแสนดีอย่างยิ่งนี้
    ก็จะเป็นเหตุปัจจัยของความเสื่อมได้เช่นเดียวกัน เพราะเหตุของความเสื่อมนั้นมาอยู่ที่ตัวคน เข้าหลักที่ท่านแสดงไว้ว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ และอกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลได้
    อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ก็เช่นความเครียด เป็นต้นนั้น มาเป็นปัจจัยให้เกิดการดิ้นรน ทำให้ขยันหมั่นเพียร ในส่วนที่กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ก็คือ ความสำเร็จ ความมั่นคง ปลอดภัย สบาย กลับไปเป็นปัจจัยแก่ความเฉื่อยชา ประมาท
    ตัวแก้ก็คือ ต้องให้การศึกษาพัฒนาคน ที่จะให้ไม่ประมาทได้ทั้งที่อยู่สบาย หรือทั้งที่สบายก็ไม่ประมาท ต้องควบคู่กัน นี่คือความสำเร็จหมายความว่า ต้องมีทั้ง Secutiry ด้วยและจะต้องไม่มี Negligence ไม่มี Indolence แต่ต้องมี Earnestness ตลอดเวลา และทำให้คนมี Diligence การพัฒนามนุษย์ อย่างนี้ จึงจะทำให้การพัฒนาสังคมสำเร็จได้
    รวมความว่า พื้นฐานและจุดยอดของ Secutiry ทั้งหมดนั้น ไปรวมอยู่ที่ Spiritual Secutiry คือความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งโยงไปหาปัญญา และจะต้องโยงมาหาหลักความไม่ประมาท ดังได้กล่าวแล้ว
    คำกล่าวของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) แห่งวัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม อาราธนาโดยนายจำนงค์ สวมประคำ อดีตเลขาธิการวุฒิสภา
    เพื่อมอบแก่สำนักวิชาการชัยพฤกษ์ (จากเทปวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖)

     

แชร์หน้านี้

Loading...