แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่ต่างๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 20 เมษายน 2008.

  1. kruoya

    kruoya Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +51
    ถามเรื่องการปฏิบัติสมาธิได้ไหม ครับ
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    [​IMG]

    การฝึกหัดเบื้องต้นโดยมากก็มักถูกกับกรรมฐาน
    บทอานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก

    โดยมีสติกำกับรักษาจิตอย่าให้เผลอในขณะที่ทำ ทำใจให้รู้อยู่กับลมเข้าลมออกเท่านั้น ไม่คาดหมายผลที่จะพึงได้รับมีความสงบเป็นต้น ทำความรู้สึกอยู่กับลมเข้า ลมออกธรรมดา อย่าเกร็งตัวเกร็งใจจนเกินไป จะเป็นการกระเทือนสุขภาพทางกายให้รู้สึกเจ็บนั้นปวดนี้ โดยหาสาเหตุไม่เจอ ซึ่งความจริงสาเหตุก็คือการเกร็งตัวเกร็งใจจนเกินไปนั่นเอง

    ควรมีสติรับรู้อยู่ธรรมดา ใจเมื่อได้รับการรักษาด้วยสติจะค่อยๆ สงบลง ลมก็ค่อยละเอียดไปตามใจที่สงบตัวลง ยิ่งกว่านั้นใจก็สงบจริงๆ ลมหายใจขณะที่จิตละเอียดจะปรากฏว่าละเอียดอ่อนที่สุด จนบางครั้งปรากฏว่าลมหายไป คือลมไม่มีในความรู้สึกเลย ตอนนี้จะทำให้นักภาวนาตกใจกลัวจะตายเพราะลมหายใจไม่มี

    เพื่อแก้ความกลัวนั้น ควรทำความรู้สึกว่า แม้ลมจะหายไปก็ตาม เมื่อจิตคือผู้รู้ยังครองร่างอยู่ ถึงอย่างไรจะไม่ตายแน่นอน ไม่ต้องกลัว อันเป็นเหตุเขย่าใจตัวเองให้ถอนขึ้นจากความละเอียดมาเป็นจิตธรรมดา ลมหายใจธรรมดา ซึ่งทำให้เกิดความเสียใจในภายหลัง


    ถ้ากำหนดเฉพาะลมหายใจเป็นอารมณ์อย่างเดียวไม่สนิทใจ จะตามด้วยการบริกรรมพุทโธ ก็ได้ไม่ผิด ผู้ชอบบริกรรมเฉพาะธรรมบทใดบทหนึ่ง เช่น พุทโธ ก็ได้ตามอัธยาศัยชอบไม่ขัดแย้งกัน สำคัญที่ให้เหมาะกับจริต และขณะภาวนาขอให้มีสติรักษา อย่าปล่อยให้ใจส่งไปตามอารมณ์ต่างๆ ก็เป็นอันถูกต้องในการภาวนา

    คำว่า จิตใจ มโน หรือผู้รู้เป็นอันเดียวกัน คือเป็นไวพจน์ของกันและกัน ใช้แทนกันได้ เช่น กิน-รับประทานเป็นต้น เป็นความหมายอันเดียวกันใช้แทนกันได้ ตามปกติใจเป็นสิ่งละเอียดมากยากจะจับตัวจริงได้ ใจเป็นประเภทหนึ่งต่างหากจากร่างกายทุกส่วน

    แม้อาศัยกันอยู่ก็มิได้เป็นอันเดียวกัน ร่างกายที่ตั้งอยู่ได้ย่อมขึ้นอยู่กับใจเป็นผู้รับผิดชอบ ถ้าใจออกจากร่างไปเมื่อใดร่างกายก็หมดความหมายลงทันที โลกเรียกว่าตาย แต่ความรู้คือใจนี้ต้องไม่ตายไปด้วยร่างกายที่สลายตัวไป

    เมื่ออยากทราบความจริงจากใจ จำต้องมีเครื่องมือพิสูจน์ เครื่องมือพิสูจน์ใจได้แก่ธรรมเท่านั้น นอกนั้นไม่มีสิ่งใดจะสามารถพิสูจน์ได้ การภาวนาเป็นการพิสูจน์ใจโดยตรงผู้มีสติดีมีความเพียรมาก มีทางพิสูจน์ความจริงของใจให้เห็นชัดเจนได้เร็วยิ่งขึ้นผิดธรรมดา

    คำว่าเครื่องมือคือธรรมนั้น โปรดทราบว่า ส่วนใหญ่คือสติปัฏฐาน ๔ และสัจธรรม ๔ เป็นต้น ส่วนย่อยแต่จำเป็นทั้งในขั้นเริ่มแรกและขั้นต่อไป ได้แก่อานาปานสติ หรือพุทโธ เป็นต้น เป็นบทๆ ไป ที่ผู้ภาวนานำมากำกับใจแต่ละบทละบาท เรียกว่าเครื่องมือพิสูจน์ใจทั้งสิ้น

    เมื่อใจพร้อมกับเครื่องมือคือธรรมบทต่างๆ ได้รวมกันเข้าเป็นคำภาวนา มีสติเป็นผู้ควบคุมให้ระลึกรู้อยู่กับลมหายใจ หรือธรรมบทใดก็ตามโดยสม่ำเสมอ ไม่ให้จิตเผลอออกไปสู่อารมณ์ภายนอก

    ไม่นานกระแสของใจที่เคยสร้างอยู่กับอารมณ์ต่างๆ จะค่อยรวมตัวเข้ามาสู่จุดเดียว คือที่กำลังทำงานโดยเฉพาะได้แก่คำภาวนา ความรู้จะค่อยๆ เด่นขึ้นในจุดนั้น และแสดงผลเป็นความสงบสุขขึ้นมาให้รู้เห็นได้อย่างชัดเจน

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=2610&CatID=3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2015
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี</O:p
    <O:pวัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


    [​IMG]

    ปัญญาเกิดจากอะไร?

    ปัญญาเกิดจากจิต เกิดจากสติควบคุมจิต รู้จิตทุกขณะที่มันปรุงแต่งมันคิดนึก มันก็เกิดปัญญาละสิ ปัญญาอันนี้เรียกว่าเป็นปัญญาสามัญของนักปฏิบัติ

    ปัญญาวิปัสสนามีอีกต่างหาก อย่าเพิ่งไปใฝ่ฝันก่อนเลยมันอยู่สูง มันไม่ใช่แต่งเอา มันเป็นเอง เมื่อมันจะเกิดมันก็เกิดในขณะจิตเดียวเท่านั้น แต่ละมรรคๆ เช่น โสดามรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตมรรค เกิดในขณะจิตเดียวเท่านั้นแล้วก็ไม่เกิดอีก เมื่อไม่เกิดอีก มันจะไม่เสื่อมหรือ?

    ไม่เสื่อม เพราะความรู้ความเห็นในขณะปัญญาวิปัสสนาเกิดขึ้นในขณะจิตเดียวนั้น สิ้นสงสัยในธรรมทั้งหลายเห็นสรรพสัตว์ในโลกเป็นสภาพเดียวกันหมดเลย ไม่มีต่ำ ไม่มีสูง ไม่มีน้อย ไม่มีใหญ่ ไม่มีหญิง ไม่มีชาย มีแต่ธาตุสี่เกิดขึ้นแล้วดับไปเท่านั้น

    ระลึกเอาอันนั้นมาพิจารณาตลอดเวลา ปัญญาวิปัสสนามันจะต้องเป็นอย่างนั้น จะให้มันเกิดบ่อยๆ มันไม่เกิดเด็ดขาด

    ที่เกิดบ่อยๆ นั้นพึงเข้าใจเถิด นั่นเป็นญานต่างหาก แต่ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าวิปัสสนา หรือมิฉะนั้นก็คิดนึกปรุงแต่งเอาต่างหาก


    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    www.thewayofdhamma.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  4. view6628

    view6628 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +192
    ขอบคุณครับ ที่รวบรวมคำสอนแนวทางปฎิบัติธรรมของครูอาจารย์หลาย ๆ ท่านมาให้อ่าน
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    หมดไตรลักษณ์ เหลือธาตุรู้

    อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เมื่อหมดเขตสมมุติแล้ว ไตรลักษณ์ที่ว่านี้ก็หมด ถ้าสมมุติยังมีอยู่ตราบใด คำว่าสมมุติในขั้นนี้หมายถึงกิเ<WBR>ลสนั่นเอง เครื่องหลอกหลวงตัวเอง มันมีส่่วนละเอียดแค่ไหน นั้นล่ะชื่อว่าสมมุติมีส่วนละเอ<WBR>ียดแค่นั้น ไตรลักษณ์จะต้องตามกันไปถึงตอนนั้<WBR>น เมื่อส่วนละเอียดนี้หมดไปแล้ว ไตรลักษณ์ก็หมดปัญหา เพราะเป็นเครื่องแก้หรือเป็นทาง<WBR>เดิน หมดปัญหา

    ถ้าเราจะพูดว่าเหลืออยู่ก็เป็นธ<WBR>าตุรู้ๆ ธาตุที่บริสุทธิ์เหมือนอย่างพระ<WBR>พุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้ว เหลือแต่ธาตุที่บริสุทธิ์ คือ ธาตุรู้ล้วนๆ ไม่มีอะไรเข้าไปเจือปน ประกาศสอนโลกก็เป็นอรรถเป็นธรรม<WBR> มีเหตมีผล มีรสมีชาติ นั้นแหละธาตุรู้ออกมาจากธาตุรู้<WBR> นั้นล่ะธรรมะจริง อันนั้นจริงพอแล้ว ธรรมะที่แสดงออกมาก็จริง จะเป็นขั้นภูมิใดในบรรดาธรรมะจร<WBR>ิงไปหมด เพราะหลักเดิมของธรรมชาติเน้ันเป็น<WBR>ของจริงอย่างตายตัว ไม่มีอะไรปลอมแฝงอยู่แม้แต่นิด


    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    จากหนังสือ "ไตรลักษณ์"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • yanasompano.jpg
      yanasompano.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.5 KB
      เปิดดู:
      144
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่หลวง กตปุญโญ</O:p
    <O:pวัดคีรีสุบรรพต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

    แยกธาตุ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม พิจารณาออกเป็นธาตุ ทำลายสมมุติแยกออก ธาตุดินมีอะไร ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อาการ ๓๒ น่ะ แยกออกไป ผมมาจากไหน ผมก็มาจากธาตุดิน ไปไหนอีก ปล่อยลงดินอีก มาจากธาตุดินกลับลงสู่ดินอีก พระพุทธเจ้าว่า เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ท่านว่า พิจารณาธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่อัตตา เขาเรียกว่าแยก ทำลายตรงไหนว่าตาก็เจาะตาออก ตรงไหนว่าหู ก็ตัดหูออก กำหนดเอาพุทโธน่ะทำงาน มีหนังก็ลอกหนังออก เอาเนื้อออก มาถึงร่างกระดูกละบัดนี้ ถึงร่างกระดูก ภาวนาจับร่างกระดูกน่ะ สมาธิมั่น ... พิจารณาจับร่างกระดูกจนจิตมั่นคงน่ะ พิจารณาไป พิจารณาร่างกระดูกกระจัดกระจายเป็นชิ้นเป็นท่อน กระจัดกระจายไป บ่มีตนมีตัวอนัตตาล่ะบัดนี้ พิจารณาบ่มีตัวตน...

    นึก...วิปัสสนึกน่ะ ใช้วิปัสสนึกน่ะ นึก... พิจารณากลับไปกลับมา ทำงาน ถ้าพิจารณาอยู่มันก็สงบล่ะ มันอยู่นิ่งก็ตาม ไม่นิ่งก็ตาม แต่มันทำงานอยู่ นั่นแปลว่าเป็นสมาธิอยู่ในตัว ปัญญาอยู่ในตัว ดีกว่ามันนิ่งเฉยๆ บ่มีทำงาน นิ่งเฉยๆ ไม่ได้ทำงาน ไม่ได้ประโยชน์ ถ้าพิจารณา มันนิ่งอยู่ในกายพิจารณาร่างกาย รู้อยู่นี่ละ จิตบ่ฟุ้งซ่านไปที่อื่นน่ะ มีประโยชน์มาก นิ่งอยู่เฉยๆ ได้ประโยชน์น้อยเดียว ครูบาอาจารย์ท่านว่า จิตไปนิ่งอยู่เฉยๆ สามชั่วโมงน่ะ จิตมารู้พิจารณา ร่างกายสังขารห้านาทีมีประโยชน์มากกว่า มันจะได้ทำลายสมมุติ จิตมันหลงสมมุติ นั่นแหละ ติดสมมุติ...ทำลายสมมุติ... สมมุติปิดบังวิมุตติ เมื่อทำลายแล้ว พิจารณาแล้วก็เป็นวิมุตติ จิตหลุดพ้น ปล่อยวางได้

    สมมุติปิด บังวิมุตติ
    งามบังผี ดีบังจริง

    งามปิดบังผี ดีปิดบังจริง
    รักชังปิดบัง หนทางไปสวรรค์ นิพพาน


    พระพุทธเจ้าท่านว่า "อวิชชาก็หมายถึง สมมุตินั่นแหล่ะ" พอพิจารณาละสมมุติแล้วก็เป็นวิชชา พิจารณาตายน่ะ ถ้าไม่เห็นตายก็ปล่อยวางไม่ได้ พิจารณาตาย บ่เห็นตาย มันประมาทเพราะบ่เห็นตาย ถ้าเห็นตายแล้วบ่ประมาทล่ะ จิตมันบ่สงบก็เพราะบ่เห็นตาย ถ้ามันเห็นตาย มันก็สงบ ถึงจุดมุ่งหมายล่ะ ไล่ขันธ์ ๕ แหล่ะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วิญญาณก็บ่เที่ยงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน สัญญาก็เหมือนกัน สังขาร วิญญาณ ไล่อยู่นั่นแหละ จนมันคล่องแคล่วชำนาญ พิจารณาลงสู่ความตาย มันบ่ ลงตาย จิตมันไม่สงบน่ะ ไม่มีที่ยึดน่ะ ปล่อยวางได้ ต้องใช้สัญญาก่อนล่ะ ใช้สมมุติ อาศัยวิมุตติ เห็นวิมุตติ รู้วิมุตติ พิจารณาทำลายสมมุตินั่นล่ะ

    ทำลายสมมุติ ทำลายสมมุติ ทำลายสมมุติ ละสมมุติก็คือรู้นั่นแหละ พิจารณาสมมุติไปเรื่อยๆ แต่ว่าส่วนมาก มันไปสุข สงบ แล้วก็บ่ได้พิจารณา ติดอยู่ในสุขน่ะ ปัญญามันบ่เกิด ถ้าสงบ... นิ่งแล้วก็พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แตกตายร่างกาย รู้เห็นแจ้ง


    "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • art_288194.jpg
      art_288194.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.7 KB
      เปิดดู:
      132
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    วัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    [​IMG]


    พระพุทธองค์ทรงสอนให้คนฉลาด มีปัญญา ไม่สอนให้โง่เขลาเบาปัญญา
    คำสอนล้วนแต่ทำให้เกิดปัญญา แนะนำให้คนฝึกตน
    อย่าปล่อยตนให้ไหลไปตามอำนาจของกิเลส

    “ทูรังคะมัง เอกะจะรัง คูหาสะยัง…ฯลฯ”
    ปกติของจิตนั้น เที่ยวไปไกล มีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อาศัย
    ใครสำรวมจิตใจตนให้ดีก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    สิ่งที่ยิ่งทำให้โลภ โกรธ หลง ก็คือ “มาร”
    เมื่อพิจารณารู้แล้วต้องไม่หลงใหลไปตามมายาของกิเลสนั้น
    เมื่อมีอะไรมากระทบก็อย่าวู่วาม ให้มีสติสัมปชัญญะสกัดกั้นจิตใจไว้

    มีอะไรมากระทบใจ ก็ “อดทน” ก่อน ถ้าไม่อดทนก็จะมีเรื่อง
    อย่างมีคดีกัน ฟ้องกัน เสียเงิน เสียเวลา ไปศาลทีไรก็เสียเงินทุกที ไม่ฉลาด
    ถ้าฉลาดโจทก์กับจำเลยควรมาพูดคุยกัน
    ตกลงกัน สมยอมกัน ยอมสละกันบ้าง
    การว่าความในโรงศาลไม่ใช่ของดี ทำให้เสียเงินทอง เสียเกียรติยศชื่อเสียง

    พระพุทธองค์จึงสั่งสอนให้สำรวมจิต ซึ่งจะทำให้มาร
    คือ ความชั่วทั้งหลายมาหลอกลวงยั่วยวนไม่สำเร็จ
    เพราะว่าจิตรู้เท่าทัน เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เกิดปัญญา

    ดังนั้น อย่าปล่อยให้จิตไหลไปตามกระแสโลก จะยืน เดิน นั่ง นอน
    ก็ใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาก่อน จะทำ จะพูด จะคิด ก็สำรวมจิต
    รักษาจิตให้ดี มารหรือความชั่ว ก็มาลบล้างหรือทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่ได้

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงพ่อสงบ มนัสสันโต
    วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่)
    ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี.

    [​IMG]

    "คือกิเลสของเรานี้ มันจะทำอย่างไรก็ได้เพื่อให<WBR></WBR>้เราไม่ได้ปฏิบัติ แล้วพอเราไม่ปฏิบัติพอต่อไป<WBR></WBR>หมัดที่ 2."เราไม่มีวาสนา" ถ้าหมัดที่3. มันกระทืบเลย "เลิกเหอะ"

    โดยธรรมชาติของกิเลสมันเป็น<WBR></WBR>อย่างนี้ กิเลสมันจะต่อต้านการกระทำท<WBR></WBR>ุกๆ อย่างที่เราทำ มันต่อต้านเพราะอะไร เพราะถ้าเราไม่ทำ กิเลสคือพญามารมันอยู่บนฐีต<WBR></WBR>ิจิต มันอยู่บนจิตของเรา

    จิตของเราเหมือนบ้านของมัน ถ้ามีการกระทำคือจะไปชำระ คือจะไปทำลายบ้านของมัน แล้วมันจะยอมไหม โดยธรรมชาติของอวิชชา ธรรมชาติของมาร
    มันจะต่อต้านกับการที่เราจะ<WBR></WBR>หาสติปัญญาไปทำลายล้างเรือ<WBR></WBR>นคูหาของใจ"


    หลวงพ่อสงบ มนัสสันโต


    Credit : เครือข่ายกลุ่มพุทธธรรมกรรม<WBR></WBR>ฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  9. hmg

    hmg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,504
    ค่าพลัง:
    +4,322
    สาธุด้วยกับการรวมเอาคำสอนของอาจารย์ทั้งหลายให้กับคนที่ไม่รู้ด้วยครับ บุญใดที่เกิดจากที่ข้าพเจ้าได้ศึกษากับคำสอนเหล่านี้ ข้าพเจ้าขอมอบให้กับผู้รวบรวมคำสอนของอาจารย์ทั้งหลายด้วยครับ
     
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514

    อนุโมทนาสาธุเช่นกันนะคะ
     
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    การต่อสู้กามกิเลสเป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทาง

    ความพอใจก็คือกิเลส ความไม่พอใจก็คือกามกิเลส

    กามกิเลสนี้อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีที่เต็ม

    ฉันใดก็ดี กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์

    ก่อความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมดอยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็อยู่ที่ใจ

    ใจนี่แหละคือตัวเหตุ ทำความพอใจให้อยู่ที่ใจนี่


    กามตัณหา เปรียบเหมือนแม่น้ำไหลไปสู่ทะเล ไม่รู้จักเต็มสักที อันนี้ฉันใด

    ความอยากของตัณหามันไม่พอ ต้องทำความพอจึงจะดี

    เราจะต้องทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิก็ดี

    ทุกอย่างเราทำความพอดี ความพอใจก็นำออกเสีย ความไม่พอใจก็นำออกเสีย

    เวลานี้เราจะพักจิต ทำกายของเรา ทำใจของเราให้รู้แจ้งในกายในใจของเรานี้

    รู้ความเป็นมา วางให้หมด วางอารมณ์ วางอดีตอนาคตทั้งปวงที่ใจนี่แหละ

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เพียร วิริโย
    วัดป่าหนองกอง อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี

    [​IMG]

    คิดมากก็ฟุ้งซ่านมาก คิดออกไป ไม่คิดเข้ามาหาตัวเอง คิดส่งออกไปข้างนอก มันไม่ดี มันคิดมาก มันก็ไม่หยุดล่ะ ตัวเรามันมีแต่เรื่องไม่ดี คิดถึงเขา คิดถึงลูก ทำไมมันไม่คิดเรื่องเกิดเรื่องตาย คิดอะไรมากมาย โอ่ย...มันมีแต่เรื่องไม่ดี คิดตั้งแต่เกิดมันเป็นแต่โลกนะ โอ่ย...คิดมาก คิดมากมันก็ไม่เห็นพ้นทุกข์ คิดมากมันก็ทุกข์มาก ทำไมไม่ดูตัวเองว่ามันคิคอะไรมาก มันมีแต่เรื่องไม่ดี คิดมากมันมีแต่ใจเท่านั้นแหละเว่ย คิด กายมันไม่ได้คิด กายในก็เป็นของมันอย่างนั้น คิดออกไปมาก ไม่คิดเข้ามาหาใจของตัวเอง ว่ามันจะตายเมื่อไหร่ จะอยู่อีกนานแค่ไหน

    คิดมาตั้งแต่เกิด มั้นมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นแหละ ไม่หยุด คิดมากฟุ้งซ่านมาก คิดมากมันมีแต่โลก มันไม่มีธรรมแหละเว่ย ก็คิดเข้ามาดูกายดูใจ ดูขน ผม เล็บ ฟัน หนังมันก็ดีอยู่ มันมีแต่ทางพ้นทุกข์ ทางอื่นมันไม่พ้นทุกข์เว่ย ดูตัวเองทำตัวเองนี่แหละ มันจึงพ้นทุกข์ ดูตัวเองซิล่ะ ว่ามันมีทางไหนเป็นของตัวเองบ้าง นั่งภาวนาปวด ดูซิว่าตรงไหนมันปวดมันเจ็บ ใครเจ็บ กายเจ็บหรือใจเจ็บ กระดูกเจ็บหรือหนังเจ็บ เอ็นเจ็บหรืออะไร ดูมันซิว่า อันไหนมันของเรา มันไม่มีของใครสักหน่อย มีแต่กองธาตุ มันประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่เห็นมีใครเป็นเจ้าของ เขาสมมุติมันมองไม่เห็น ตัวเรามันหลงนี่เว่ย ว่าเป็นเราเป้นเขา

    โอ่ย...มันดูไม่เห็น มันจึงทุกข์ มันดูไม่ออก ถ้าดูออก ทุกข์มันก็ไม่มาก พิจารณามันลงมาเป็นธรรมะซะ มันก็เบา ดูให้มันเป็นกองธาตุกองขันธ์ รวมลงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาซะ มันก็วาง มันก็หยุดหรอก ถ้ายังมีเรามีเขา มันก็ยังทุกข์มาก. มันยังหนุ่มยังแน่น มันก็คิดถึงสาว คิดถึงเขา รูป รส กลิ่น เสียง มันไม่ดูอสุภะว่าอันไหน ๆ มันก็ไม่จีรัง มันมีแต่ทางเสื่อม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันมีแต่จะเสื่อมไป ๆ มันอยู่ไม่ได้ โอ่ย...มันจะดียังไง


    หลวงปู่เพียร วิริโย
    http://drkanchit.acinfotec.com/2010/06/blog-post.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมท่าน ก.เขาสวนหลวง
    สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง จ.ราชบุรี

    [​IMG]

    ...”ชีวิตของการปฏิบัติธรรมเป็นชีวิตของการต่อสู้นั่นเอง คือต่อสู้กับกิเลสทุก ๆ ประเภทที่จะเกิดขึ้น ผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ เป็นบ่อเกิดของกิเลสประเภทไหนก็ตาม ก็จะต้องมีความรู้สึกตัว เพราะทางอายตนะผัสสะนี้ ถ้าไม่มีนายประตูแล้ว มันก็จะวิ่งพล่านไปตามอารมณ์ ซึ่งกิเลสมันก็คอยมาดักอยู่ทุกด้านเหมือนกัน การมีสติคุ้มครองใจได้ทุกเวลานาที ทำให้เรียบร้อยไปทั้งหมด ไม่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจอะไร เพราะเมื่อรับรู้อะไรมันก็ดับได้ ไม่ว่าเรื่องจะดีจะชั่ว จะถูกจะผิดก็ตาม เพียงแต่รับรู้แล้วก็ผ่านไป ดับไป สลายตัวไปหมด แล้วจิตนี้ก็มีความสงบรู้อยู่ เห็นอยู่ เป็นความว่างทั้งหมด

    “เมื่อพิจารณาอยู่เป็นประจำแล้ว จะเห็นว่าโลกทั้งหมดนี้เหมือนความฝัน คือเมื่อไปยึดถือเข้าเป็นจริงเป็นจัง มันก็เป็นทุกข์ หรือว่ากามทั้งหลายมีความใคร่ ความอยาก เช่นวัตถุกามก็ตาม หรือว่ากิเลสกามก็ตาม อย่างนี้เป็นของชั่วคราว ยิ่งวัตถุกามที่เราพิจารณาดูแล้ว เป็นของชั่วคราวจริง ๆ คือ มันหลอกให้ยึดมั่นถือมั่นไปเพลิน ๆ เป็นของชั่วคราว แล้วก็ดับสลายตัวหมด ถ้าเปรียบก็เหมือนกับของที่ขอยืมเขามาใช้ทุกสิ่ง ทั้งเนื้อทั้งตัว ทั้งกาย ทั้งใจนี้ เดี๋ยวนี้กำลังถูกทวงกลับไปแล้ว ทวงกลับไปเรื่อย ๆ แล้วใครจะเป็นเจ้าของได้ ในเมื่อของนี้ขอยืมเขามาใช้ นี่มาทวงกลับไปเรื่อย ๆ แล้วนะ”

    ท่าน ก. เขาสวนหลวง
    http://drkanchit.acinfotec.com/2010/05/blog-post_30.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  14. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม
    วัดป่าบ้านวไลย ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบศีรีขันธ์

    [​IMG]


    ใจคนเราเหมือนจอหนัง ถ้าเขาไม่ปรุงแต่งขึ้นมา มันก็ว่างเปล่า แต่คนเราไม่ชอบอยู่ว่าง ไปหาเรื่องมา ใส่ตน ก็มีเรื่องอยู่ ๒ เรื่องเท่านั้น ก็คือ เรื่องดี กับเรื่องชั่ว

    เรื่องรัก กับ เรื่องโกรธ เรื่องรักถ้าเราไม่มีเสียแล้วเราไม่เป็นคน จิตใจสงสัยรักใคร่ใคร เรื่องโกรธก็คงไม่มี เรื่องรังเกียจก็คงไม่มี คงไม่มีแน่

    นี่เราไปหลงรักไอ้ความรังเกียจ ก็คงมีเพราะมันอยู่เป็นของคู่กัน ถ้าอาตมาสอนโยมก็สอนให้โยมรักษาศีล ศีล ๑ เท่านั้นเอง คือ กาย ๑ วาจา ๑ ใจ ๑

    ถ้าโยมตามรักษาใจ ศีลก็ได้มา สมาธิก็เป็น ปัญญา ก็มี ทีนี้ กายสังขาร วจีสังขาร สังขาร นั้นมี ๑ เท่านั้น แต่ว่าอาการมี ๓

    ฉะนั้น อาตมาไม่เชื่อผลทั้ง ๓ ที่บัญญัติว่ากุศล กายก็บัญญัติ วาจาก็เป็นตัวพูดออกมา จิตเป็นตัวแต่ง จิต ไม่มีตัวตน

    เจ้าสังขารก็เป็นผู้แต่งกาย แต่งวาจา แต่งจิต ถ้าแต่งมาให้ดีเราก็ไม่ยึดถือ ไม่ยึดถือใน สิ่งที่ดี ชั่วเราก็ไม่ยึดถือ อย่างนี้

    อาตมาให้โยมเข้าใจอย่างนี้ ถ้าโยมเข้าใจอย่างนี้ โยมอยู่เป็น กลางไม่ยึดถือ ทั้งดีทั้งชั่วแล้ว โยมทำได้ใน ๒๔ ชั่วโมง

    โยมอยู่บนเกวียนวัวขาวตลอดวันเลย ไม่มีอะไรเกิด เมื่อไม่มีอะไรเกิดความดับก็ไม่มี

    ถ้าโยมเข้าใจอย่างนี้แล้ว ความ รักมันเกิดขึ้นโยมก็วางใจให้เป็นกลาง ความโกรธเกิดขึ้นโยมก็วางใจให้ เป็นกลาง

    ถ้าโยมทำได้อย่างนี้ใจก็พ้นจากความหวั่น ไหว ถ้าโยมไม่รู้จักความหวั่นไหว ความดีใจก็หวั่นไหว ความเสียใจ ก็หวั่นไหว

    ถ้าโยมเข้าใจว่าสูงกว่าคนนี้โลกหรือคนก็ ตาม ต้องมีใจหวั่นไหว ดีใจเสียใจมีอย่างนี้ ถ้าผู้ที่เหนือคนเหนือโลก ท่านพ้นจากความหวั่นไหว

    เพราะความหวั่นไหวนั้น มันไม่ใช่ใจของเรา เป็นเครื่องลวงเท่านั้น ถ้ามันยังหวั่นไหวอยู่วันยังค่ำ อาตมา ก็เชื่อว่าจะมีสภาวะหรือมีตัวตน มันหวั่นไหวชั่วขณะของมันเท่านั้นเอง

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pilgrimage&month=19-04-2010&group=13&gblog=15
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่คำบ่อ ฐิติปัญโญ
    วัดใหม่บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    [​IMG]

    จะเอาอะไรก่อนตาย

    อยู่ไปเพื่ออะไร ต้องการอะไร ความสุขละได้ไหม ไม่ได้เพราะไม่ทำเอาเอง พระพุทธเจ้าท่านบอกวิธีไว้ตั้งหลายวิธี เราไม่ทำซะที อยากรวย รวยรึยัง อายุก็มากแล้ว หรือจะเอาสวย ใกล้สวยเป็นนางสาวจักรวาลรึยัง มีแต่ไม้เท้า 3 ขา 4 ขา น่าเกลียดขึ้นทุกวัน พญามัจจุราชไม่เคยรอใคร ความตายไม่เคยบอกว่าวันไหน อย่าโอ้เอ้ โลเล เสียเวลาที่ได้เป็นคน ไม่อบรมสร้างสมบารมี จะได้มรรคผลยังไง เหมือนอยากกินข้าวไม่ปลูกข้าวจะได้กินยังไง ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า อาจชาตินี้สำเร็จก็ได้ ให้ขูดขัดเกลา จนเหลือแต่เหล็กขาวๆเหมือนจิตใจ ขัดเกลาเข้าตามมุ่งมาดปรารถนา ก็จะขาวสะอาดได้ ให้รู้ว่าตนเองยังจน ยังไม่พอ ยังน้อย ให้รีบทำ ให้รู้

    http://www.namjaidham.net/forum/index.php?topic=160.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่คำดี ปภาโส
    วัดถ้ำผาปู่นิมิตร อ.เมือง จ.เลย

    [​IMG]

    ความจริงจิตใจของเราเองเป็นตัวก่อทุกข์ สังเกตได้จากพระอรหันตสาวกทั้งหลาย เมื่อท่านมีความรู้ มีปัญญาคุ้มครอง รักษาใจท่านดีแล้ว ท่านก็ไม่มีทุกข์ เพราะท่านไม่ปรารถนาในสิ่งต่างๆ เมื่อเราประสบกับรูป กลิ่น เสียง หรืออื่นๆ ก็เพราะใจเรามีตัณหา ปรารถนาทะเยอทะยาน ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น ทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ หรือสิ่งอื่นๆ ที่จะได้มาเผาเราให้ร้อน เป็นทุกข์ ตัวของเราเองที่เป็นไฟมาคอยเผาตัวเอง


    บุคคลที่มีทานมีศีล แต่ขาดการภาวนานั้น เปรียบเหมือนบุคคลที่มีเสบียงพร้อมแล้ว มีร่างกายที่สมบูรณ์ มีกำลังวังชาที่ดี แต่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่ตาบอด เขาย่อมไม่สามารถจะเดินทางไปสู่พระนิพพานได้

    http://www.polyboon.com/worship/dhumma02_0814.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ
    วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร


    [​IMG]

    หาคนดีมีธรรมในใจหายากกว่าเพชรนิลจินดาเป็นไหน ๆ ได้คนดีเพียงคนเดียวย่อมมีคุณค่ามากกว่าได้เงินเป็นล้าน ๆ เงินเป็นล้าน ๆ ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจเหมือนได้คนดีมาทำประโยชน์ คนดีสามารถทำความร่มเย็นแก่โลกได้และยั่งยืน

    คนดีแต่ละคนจึงมีค่ามากกว่าเงินเป็นก่ายกอง และเห็นคุณค่าความดีมากกว่าเงิน แม้จะจนก็ยอมจน ขอแต่ให้ตัวเป็นคนดีและให้โลกมีความสุข แต่คนโง่ชอบเงินมากกว่าคนดีและความดี

    ที่มา : ธรรมเพื่อชีวิต โครงการพุทธศาสนศึกษา วัดบูรณศิริมาตยาราม เล่มที่ ๕/๒๕๓๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
    วัดอรัญญวิเวกบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัด นครพนม

    เรื่องจริต ๖ โดยหลวงปู่ตื้อ

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = "O" /><O:p></O:p>
    หลวงปู่ตื้อท่านเมตตามาสอนต่อ เรื่องจริต ๖ มีความสำคัญดังนี้

    <O:p></O:p>
    ๑. "การโมโหจนลืมตัวนั้นโง่หรือฉลาด เบียดเบียนตนเองทำร้ายตนเองหรือเปล่า เมื่อรู้ว่าโง่แล้ว ทีหลังอย่าทำ ให้คิดไว้เสมอว่า กรรมใครกรรมมัน กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ หากเราไม่เคยทำกรรมนี้ไว้ก่อนในอดีต วิบากกรรมนี้ก็ไม่เกิดขึ้นกับเราในปัจจุบัน หากพวกเจ้าเข้าใจกฎของกรรมอันเป็นอริยสัจขั้นสูง ซึ่งเที่ยงเสมอและให้ผลไม่ผิดตัวด้วย ก็จงหยุดต่อกรรมลงแค่นี้ ยอมรับนับถือกฎของกรรม สร้างอโหสิกรรมให้เกิดขึ้นแก่จิต สร้างอภัยทานให้เกิดขึ้นแก่จิต

    <O:p></O:p>
    ๒. "อยากไปพระนิพาน ก็ต้องไม่ติดอะไรทั้งนั้น ดี-เลว,ติดกลิ่น, ติดสี,ติดรส,ติดสถานที่, ติดร่างกายของครูบาอาจารย์ซึ่งไม่เที่ยงทั้งสิ้น อะไรที่เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะ ๖ ต้องวางให้ได้ รู้อารมณ์ตามจริตที่เกิดให้ได้ ศึกษากรรมฐานแก้ให้ดี ๆ ต้องคล่องจริง ๆ จึงจะชนะอารมณ์ตามจริตได้ <O:p></O:p></SPAN>

    ๓. "ขี้เกียจเป็นอารมณ์หลง เมื่อรู้แล้วว่ามันไม่ดี ก็จงอย่าทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ขี้เกียจสิ การตำหนิกรรมผู้อื่นเท่ากับเราไปยึด เอากรรมของเขามาไว้ที่ใจเราแทน เราว่าเขาขี้เกียจ ก็หมายความว่าเราไปยึดเอาตัวขี้เกียจของเขามาไว้ที่จิตของเรา หรือเอาอุปาทานของเขา มาเป็นอุปาทานของเรา เหมือนในกรณีเรื่องคนจับปลาสวาย เราไปว่าเขาบ้า เราเลยไปเอาความบ้าจากเขามาไว้ที่ใจเรา เราไปว่าเขาทะลึ่ง เราก็ไปเอาความทะลึ่งของเขามาไว้ที่ใจเรา การตำหนิกรรมให้ผลอย่างนี้
    </SPAN>

    ๔. "คนขี้เกียจทำงานใดๆ ก็ไม่สำเร็จ ปฏิบัติธรรมใดๆ ก็ไม่สำเร็จ คนจะไปนิพพานนั้นขี้เกียจไม่ได้ แม้เห็นคนอื่นเขาขี้เกียจ แล้วนึกตำหนิกรรมของเขา ก็เท่ากับไปยกเอาความขี้เกียจของเขามาไว้ในจิตของเรา เพราะเห็นอารมณ์หลง (โมหะ) เป็นของดี ยกตัวอย่างเช่น เห็นถังขยะเต็ม แต่ผู้มีหน้าที่ไม่ยกไปเททิ้ง เดินผ่านครั้งใด พอเห็นจิตก็นึกตำหนิกรรมของเขาว่าขี้เกียจ (แม้ในพระวินัย หากเห็นของสงฆ์ชำรุด หรือใช้ของสงฆ์แล้วทิ้งไม่เก็บเข้าที่ เดินผ่าน ๑ ครั้ง เห็นแล้วไม่ซ่อมแซม หรือบอกให้ผู้อื่นที่มีหน้าที่มาซ่อม เดินผ่านทุกครั้งหากยังวางเฉย จะถูกปรับอาบัติทุกครั้งที่เดินผ่านแล้วเห็น ยิ่งไปตำหนิกรรมเข้าด้วย ก็จะมีผลเหมือนพวกเจ้านี่แหละ) เหตุผลเพราะเดินผ่านครั้งใด อารมณ์ปฏิฆะก็เกิดเมื่อนั้น เป็นขี้เกียจบวกขี้เกียจ อารมณ์ก็ยิ่งเกิด จิตก็ยิ่งเศร้าหมอง แล้วขาดทุนหรือได้กำไรล่ะ

    <O:p></O:p>
    ๕. "การเลิกคิดเลิกทำอีก ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องยกกรรมฐานแก้จริตขึ้นมาแก้ จึงจะแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่คล่องก็เห็นจะแก้ไม่ได้ จริต ๖ ก็ กินจิตไปจนตาย พระนิพพานก็หวังไม่ได้"


    http://www.tangnipparn.com/page6_b00k3.html<O:p></O:p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2015
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
    วัดอุดมคงคาคีรีเขต ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ. ขอนแก่น

    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่ จิตฺตคุตฺโต เป็นพระนักปฏิบัติที่มั่นคงอดทนเป็นเลิศรูปหนึ่ง ชองทำมากกว่าพูด บทโอวาทเทศนาสั่งสอนต่างๆ จึงไม่ค่อยมี ท่านอุดมคติอยู่ว่า "มีชื่อบ่อยากให้ปรากฏมียศบ่อยากให้ลือชา" ศีลข้อห้าเป็นข้อที่หลวงปู่ย้ำเน้นตลอดมา หลวงปู่มักจะให้โอวาทให้พรว่า "อย่าสิเอาพระรัตนตรัยไปกินเหล้า เด้อ" "ให้สำบายๆ เด้อ" "ให้อยู่ดีมีแฮง เด้อ" เนื่องจากหลวงปู่ไม่เป็นพระนักพูดนักเทศน์ที่ดี แต่สอนคนอื่นแล้วตนเองไม่ปฏิบัติตามด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจะนำบทเทศนาสั่งสอนมาลงให้เป็นเรื่องเป็นราวได้เหมือนอย่างที่เห็นโดยทั่วไป แต่ก็พอสรุปโอวาทที่หลวงปู่เคยพร่ำสอนบรรดาสานุศิษย์อยู่โดยมากได้ดังนั้น

    - ให้พากันวางความตาย อย่าเสียดายความมี ตู้คัมภีร์ใหม่อยู่ในกายเฮานี่ (ให้พากันวางความตายอย่าเสียดายความมั่งมี ตู้พระไตรปิฎกอยู่ในกายของเรานี้)

    - ให้พากันพายเฮือข่วมทะเลหลวงให้ม่นฝั่ง อย่าสิกลับต่าวปิ้นนำ พั่วหมากแบ่งดง (ให้พากันกายเรือข้าวทะเลหลวงให้รอดฝั่ง อย่าได้กลับมาวนเวียนอยู่กับวัฏฏสงสาร)

    - ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีกะย่าน บ่กล้ามใกล้ดอก (ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีก็จะกลัว ไม่กล้าเข้ามาใกล้)

    - หมอบๆ เข่าหัวเท่าง่ายาง ย่างโย่งๆ หัวแทบขี้ดิน (คนพาลถึงจะทำเป็นอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างไร เขาก็รู้ว่าเป็นคนพาลอยู่นั่นเอง หรือได้แก่คนที่เคารพแต่กายส่วนใจไม่เคารพ ส่วนคนดีมีความเคารพ ถึงแม้จะคุยโวไม่เคารพ แต่ใจนั้นเคารพอยู่)

    - มีดพร้าโต้ควงแบกท่วมหู คนมันบางท่อคูคันต้อน ซุยซำซะ ลากขี้ดินจำก้น (คนผู้มีอาวุธคือปัญญาหรือศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ ถึงแม้ว่าจะแสดงตนว่าไม่ดีอย่างไร เขาก็รู้ว่าเป็นคนดีอยู่นั่นเอง)

    - คนสามบ้านกินน้ำส่างเดียว เที่ยวทางเดียว บ่เหยียบฮอยกัน (คนสามหมู่บ้านดื่มน้ำจากบ่อเดียวกัน เดินบนเส้นทางเดียวกันแต่ไม่เหยียบรอยเท้ากันหมายถึง คนทุกวันนี้ดื่มน้ำจากแหล่งเดียวกันคือ น้ำประปา และการเดินทางทุกวันนี้ใช้รถยนต์ไม่มีรอยเท้าให้เห็น)

    - อย่างได้มัวเมาหม่นนำดวงดอกไข ่เน่า เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง (อย่าได้มัวเพลิดเพลินอยู่กับดอกไม้หอมในป่า หรือลูกไม้ในป่า จะทำให้ชักช้าไปไม่ถึงที่หมาย หมายถึงอย่าได้มัวเพลินอยู่ในกามารมณ์ จะทำให้เราชักช้าไม่พ้นวัฏฏสงสาร)

    - ลิงกับลิงชิงขึ้นต้นไม้ บัดสิได้แม่นบักโกกนาโถ (เมื่อลิงทั้งหลายแย่งชิงกันขึ้นต้นไม้ ตัวที่แย่งได้เป็นตัวที่มีความคล่องแคล่วว่องไว กว่าเพื่อน)

    - นักปราชญ์ฮู่หลง หงส์ทองถึกบ้วง ควายบักตู้ตื่นไถ (นักปราชญ์ยังมีโอกาสพลาด หงส์ทองยังมีโอกาสติดบ่วง และควายที่คุ้นกับไถก็ยังตื่นไถได้ หมายถึงบุคคลผู้รู้จักบาปบุญแล้วยังหลวงทำความชั่วได้ บุคคลผู้มีสติก็ยังขาดความระมัดระวัง และบุคคลที่เป็นผู้รู้แล้วยังเป็นพาลได้)

    - อย่าพากันเที่ยวทางเวิ่งเหิงหลายมันสิค่ำ เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง (อย่าพากันเถลไถลออกจากทางตรงเดี๋ยวจะมีค่ำก่อน อย่ามัวเพลินกับผลไม้ป่าจะทำให้ชักช้ามือค่ำในระหว่างทางได้)

    - พุทโธ พุทโธ หัวใจโตกะรักษาบ่ได้ (รู้จักแต่พุทโธ พุทโธ แต่ไม่รู้จักจิตใจของตัวเอง)

    - ศีลมีมากมายหลายข้อ บ่ต้องรักษาเหมิดทุกข้อดอก รักษาแต่ใจเจ้าของอย่างเดียวให้ดีท่อนั้น กาย วาจา กะสิดีไปนำกัน (ศีลมีมากมายหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อหรอก รักษาแต่ใจตัวเองอย่างเดียวให้ดีเท่านั้น กายวาจาก็จะดีไปด้วยกัน)

    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.2 KB
      เปิดดู:
      130
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2015
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


    แนะวิธีปฏิบัติ

    เคยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งมีปัญหาถามว่า นั่งปฏิบัติภาวนาแล้วจิตไม่รวม ไม่สงบ ควรจะทำอย่างไร ท่านแก้ให้ว่า

    “การปฏิบัติ ถ้าอยากให้เป็นเร็ว ๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลาง ๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป

    เหมือนกับเรากินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อย ๆ กินไปมันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไป ก็จะถึงของดี ของวิเศษในตัวเราแล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป”


    ที่มาจากหนังสือ "ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"

    ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ ๓ : ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ

    ๑๓ แนะวิธีปฏิบัติ :: i-dhamma
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...