สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    .............................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤศจิกายน 2015
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    * "วิชชาธรรมกาย" ช่วยให้เกิดปัญญา
    จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นตามที่เป็นจริง
    ลุงจอน (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้เจริญภาวนาธรรม
    ตามแนว “วิชชาธรรมกาย” ได้เล่าว่า ...
    ในตอนเย็นของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘
    ท่านได้รับโทรเลขจากญาติของท่านว่า
    “คุณแม่ป่วยหนัก ให้ไปด่วน”
    ทั้งๆที่ลุงจอนได้ผ่านการเจริญภาวนาธรรมมานานพอสมควร
    แต่ก็อดที่จะรู้สึกใจหายวาบชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่ได้
    เพราะตั้งแต่ลุงจอนเกิดมา
    ก็เพิ่งเคยได้รับโทรเลขทำนองนี้มาก่อนว่า
    “คุณพ่อป่วยหนัก ให้กลับด่วน”
    พอลุงจอนเดินทางไปถึง ก็ปรากฏว่า ...
    คุณพ่อของลุงจอน ได้เสียชีวิตไปแล้ว
    เพราะฉะนั้นในคราวนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า
    ลุงจอนจะสะเทือนใจเพียงใด
    เมื่อลุงจอนระงับใจ “พิจารณาสังขารธรรม” แล้ว
    ท่านก็ชวนบุตรสาวคนเล็ก (อายุ ๑๗ ปี)
    ให้ไป “เจริญภาวนาธรรม” ด้วยกัน
    เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณแม่
    ไม่ว่าท่านจะยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม
    และเพื่อจะ “ตรวจดู” ว่า ...
    คุณแม่จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรอีกด้วย
    เมื่อสองพ่อลูก เจริญภาวนาธรรม
    จนจิตใจสงัดจาก "นิวรณ์ธรรม" ทั้งหลายแล้ว
    ก็อธิษฐานเอาสภาวะของคุณแม่
    ... ตามที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน
    เข้ามาพิจารณาดู ณ ที่ “ศูนย์กลางกาย”
    ซึ่งก็ได้เห็นด้วย “ญาณทัสสนะ” ตรงกันว่า ...
    คุณแม่ของลุงจอน กำลังป่วยหนัก
    และกำลังได้รับการฉีดยา/ให้น้ำเกลือจากนายแพทย์
    โดยมีญาติอีกคนหนึ่ง กำลังพยายามป้อนอาหารเหลวๆให้
    และได้เห็นอีกว่า คุณแม่มีเรี่ยวแรงเหลืออยู่น้อยเต็มที
    เพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้น ลุงจอนและบุตรสาวจึงได้
    พิจารณา “อริยสัจ” ของกายมนุษย์ (ของคุณแม่)
    ตามแนว "วิชชาธรรมกาย"
    โดยใช้ “ญาณของพระธรรมกาย” ดู
    ทุกขสัจจะ ได้แก่ ดวงธรรมที่ทำให้ เกิดแก่เจ็บตาย
    ก็ปรากฏว่า ...
    "ดวงตาย"
    ซึ่งมีลักษณะสีดำสนิทประดุจนิลของคุณแม่ลุงจอน
    ที่ซ้อนอยู่ใน "ดวงเจ็บ"
    ยังไม่มาจรดที่กำเนิดเดิม
    ให้หัวต่อของมนุษย์ ... ขาดจากของทิพย์
    ซึ่งหมายความว่า คุณแม่ของลุงจอนยังมีชีวิตอยู่
    และเมื่อลุงจอนกับบุตรสาว ได้พิจารณาดู ...
    สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ มรรคสัจจะ ต่อไปตามลำดับ
    เสร็จแล้วจึงได้น้อมบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญมา
    บูชาแด่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    ทั้งในอดีด ปัจจุบัน และในอนาคต ทุกๆพระองค์
    รวมทั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร)
    แล้ว "อุทิศบุญกุศล" นี้
    ผ่าน “ศูนย์กลางกาย” ของตนเอง ไปให้คุณแม่
    เพื่อให้บุญกุศลเหล่านั้น ช่วยหล่อเลี้ยงท่าน
    ให้บรรเทาจากอาการเจ็บป่วย และมีกำลังดีขึ้น
    พร้อมด้วย "แผ่เมตตา"
    ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ
    ต่อมาในวันรุ่งขึ้น
    ก่อนออกเดินทางไปเยี่ยมคุณแม่ที่จังหวัดบุรีรัมย์
    ลุงจอนได้มีโอกาสสนทนากับ
    พระอาจารย์ (วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ทางโทรศัพท์
    จึงเล่าเรื่องอาการป่วยของคุณแม่ ให้พระอาจารย์ท่านฟัง
    ท่านได้ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอก อย่าได้วิตกกังวลไปเลย”
    ทำให้ลุงจอนรู้สึกสบายใจขึ้น
    เพราะได้รับการยืนยันจาก “ญาณทัสสนะ”
    ของผู้ปฏิบัติธรรมถึงสามท่าน
    เมื่อเดินทางมาถึงแล้ว ก็ได้ทราบว่า
    สิ่งต่างๆที่ได้เห็นใน “ญาณทัสสนะ” นั้น
    ... เป็นจริงทุกประการ
    จากประสบการณ์ในการเจริญภาวนาธรรม
    ตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้
    ช่วยให้ลุงจอนและบุตรสาว
    เกิด “ปัญญา”
    จากการที่ได้ "ทั้งรู้ และ ทั้งเห็น" ความจริง
    ตามสภาพที่เป็นจริง ๒ ประการ คือ
    ๑. การ "รู้เห็น" ถึงอาการเจ็บป่วยของคุณแม่
    และรู้ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่
    รวมทั้งเหตุการณ์แวดล้อมต่างๆ
    ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ตามความเป็นจริง
    นับว่าเป็น การรู้เห็นความจริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ)
    ว่า สังขารทั้งหลาย
    เป็นของไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์
    และต้องแตกสลายไป
    หาใช่ตัวตนที่แท้จริงไม่
    ๒. การพิจารณา “อริยสัจ”
    เมื่อได้ทำบ่อยๆเนืองๆ ทบไปทวนมามากๆเข้า
    ก็จะเกิด "ปัญญารู้แจ้ง"
    ด้วย “ญาณ ๓” คือ
    มีปัญญารู้แจ้งว่า ...
    การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
    จึงเป็น 'ทุกข์'
    'สมุทัย' เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง
    'นิโรธ' สามารถดับทุกข์ได้จริง
    'มรรค' เป็นทางให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง
    เรียกว่า “สัจจญาณ”
    มีปัญญารู้แจ้งว่า ...
    การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็น
    'ทุกข์' จริง และเป็นสิ่งอันควรรู้
    'สมุทัย' เป็นสิ่งอันควรละ
    'นิโรธ' เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
    'มรรค' เป็นสิ่งที่ควรเจริญ
    เรียกว่า “กิจจญาณ”
    มีปัญญารู้แจ้งว่า ...
    'ทุกข์' ได้รู้ชัดแจ้งแล้ว
    'สมุทัย' ละได้ขาดแล้ว
    'นิโรธ' ทำให้แจ้งแล้ว
    'มรรค' ได้ทำให้เจริญแล้ว
    เรียกว่า “กตญาณ”
    “ญาณ ๓” คือ
    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ
    หรือ “อริยสัจ ๑๒” นี้
    จะเห็นแจ้ง หรือกำหนดรู้ได้
    ก็แต่โดยทาง "เจโตสมาธิ"
    (สมาธิที่ประดับด้วย อภิญญา หรือ วิชชาสาม)
    หรือใน “วิชชาธรรมกาย” นี้เท่านั้น
    ใน “พระไตรปิฎก” มีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง
    ในธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา
    พระวินัยปิฎก ข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า
    เป็น "ญาณทัสสนะ" มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    ปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมดังกล่าว
    เป็นสัจจะขั้นสูงสุด
    เป็นทางทำนิพพานให้แจ้ง
    จึงนับเป็น "ปรมัตถ์สัจจะ" ด้วย




    [​IMG]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พระเทพญาณมงคล - เจริญภาวนาเบื้องต้นถึงธรรมกาย พิจารณาธาตุขันธ์ (หลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ [พ.ค. 54]

    <object width="450" height="24" classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0"> <param name="scale" value="noscale" /> <param name="allowFullScreen" value="true" /> <param name="allowScriptAccess" value="always" /> <param name="allowNetworking" value="all" /> <param name="bgcolor" value="#777777" /> <param name="wmode" value="opaque" /> <param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /> <param name="flashVars" value="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=38c0c3303&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=
    &screencolor=000000" /> <embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="450" height="24" scale="noscale" bgcolor="#777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="opaque" flashvars="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=38c0c3303&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000"></embed> </object> <p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%90-%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%a0%e0%b8%b2-video_38c0c3303.html" target="_blank"> </a></p>


    - เจริญภาวนาเบื้องต้นถึงธรรมกาย พิจารณาธาตุขันธ์ (หลักสูตรพระวิปัสสนาจาร
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

    ในจิตใจของสัตว์โลกมีธาตุธรรมอยู่ 3 ฝ่าย ที่แย่งกันทำหน้าที่เหมือนเก้าอี้ดนตรีคอยปกครองธาตุธรรมดลจิตดลใจให้สัตว์โลกทำตามอำนาจของเขา ธรรม 3 ฝ่ายนั้นคือ


    1.อกุศลาธัมมา ธาตุธรรมที่มีสภาวะดำ หรือ ขุ่นมัว/เศร้าหมองไม่ผ่องใส(ธาตุธรรมฝ่ายดำ) คือ ภาคมาร หรือเรียกอีกอย่างว่า ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ เช่น กิเลสอาวะ อนุสัยกิเลส และตัณหาต่าง ๆ ดลจิตดลใจให้ความประพฤติปฏิบัติทางกาย-ทางวาจา-ทางใจ(เจตนาความคิดอ่าน) ที่มีสภาวะเป็น “บาปอกุศล” ชั่วร้าย-เลวทราม มีโทษเป็นความทุกข์เดือนร้อน เป็นธรรมที่ขัดขวางคุณความดี
    จะปรากฏ หุ้ม-เคลือบ-เอิบอาบ-ซึมซาบ-ปนเป็น ฯลฯ อยู่ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ จิตใจของสัตว์ โดยตั้งอยู่รอบนอกธาตุธรรมฝ่ายขาวหรือภาคพระออกไป

    2.กุศลาธัมมา ธาตุธรรมที่มีสภาวะที่ขาว หรือบริสุทธิ์ผ่องใส(ธรรมฝ่ายขาว)หรือธรรมภาคพระเจริญขึ้นด้วย ทานกุศล-ศีลกุศล-ภาวนากุศล ดลจิตดลใจให้ความประพฤติปฏิบัติทางกาย-ทางวาจา-ทางใจ(เจตนาความคิดอ่าน) มีสภาวะเป็นบุญกุศลคุณความดี มีผลให้ได้รับเป็นความเจริญสันติสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนถึงความพ้นทุกข์และเป็นบรมสุขอย่างถาวรตลอดไป


    3.อัพยากตาธัมมา ธาตุธรรมที่มีสภาวะกลาง ๆ ไม่ดี-ไม่ชั่ว(ธาตุธรรมฝ่ายกลาง ๆ) เมื่อธาตุธรรมฝ่ายใดมีอำนาจในการครอง จิตใจ ของสัตว์ ก็เป็นไปตามธรรมของฝ่ายนั้น เป็นต้นว่าการเดินเป็นกิริยากลาง ๆ แต่เมื่อ อธรรม ได้แก่กิเลสหยาบประเภทอภิชฌา-พยาบาท-มิจฉาทิฏฐิ หรือ ราคะ-โทสะ-โมหะ เข้าครอบงำจิตใจดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติชั่วร้ายเป็นบาปอกุศลไปตามอำนาจของมันให้ผลเป็นโทษความทุกข์เดือนร้อนต่อ ๆ ไป
    แต่ถ้าธรรมฝ่ายบุญกุศล ได้แก่ ทานกุศล-ศีลกุศล-ภาวนากุศล เป็นต้น เกิดขึ้นในจิตสันดาน ดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติเป็นบุญกุศลคุณความดีก็มีผลให้ได้รับความเจริญสันติสุข
    ธาตุธรรมทั้ง 3 ฝ่ายนี้เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจ หรือ เมื่อตั้งอยู่ใจจิตตสันดานคือในธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ ก็ตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม คือ ตรงศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 ของสัตว์นั้นเอง



    โดยนัยนี้ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของกลลรูป จึงเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของทั้งรูปขันธ์ ของกายมนุษย์ละเอียด และทั้งนามขันธ์4(เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ)ขยาดส่วนหยาบออกมาเป็นส่วนละเอียดของขันธ์ 5 ซึ่งตั้งอยู่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายมนุษย์ละเอียด “รูปขันธ์” เป็นดวงกลมใส มีขนาดเล็กยิ่งกว่าเมล็ดโพธิ์/เมล็ดไทร ขยาดส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย ขนาดมาตรฐานประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ มีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ เป็นดวงกลมใสอยู่ด้านหน้า ธาตุดิน อยู่ด้านขวา ธาตุไฟ อยู่ด้านหลัง และธาตุลม อยู่ข้างซ้าย มีสายใยเชื่อมโยงจากธาตุทั้ง 4 มาตรงกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของ อากาศธาตุ ตรงกลางอากาศธาตุเป็น วิญญาณธาตุ เป็นดวงใสมีรัศมีสว่างมากน้อยตามระดับภูมิธรรมที่สั่งสมอบรมมา
    ต่อจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ เป็นที่ตั้งของนามขันธ์ 4 (เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ) เป็นดวงกลมใสเล็กยิ่งกว่าเมล็ดโพธ์/เมล็ดไทร ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ กลางของกลางซึ่งกันและกันเข้าไปข้างใน
    ธาตุละเอียดของ “เวทนาขันธ์” ตั้งอยู่ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงเห็น” มีขนาดเท่าเบ้าตาของผู้เป็นเจ้าของ มี “ธาตุเห็น” อยู่ในท่ามกลางนั้นทำหน้าที่เสวยอารมณ์สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์
    ธาตุละเอียดของ “สัญญาขันธ์” ตั้งอยู่ตรงกลางธาตุละเอียดของเวทนาขันธ์ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงจำ” ขนาดประมาณเท่าดวงตาดำทั้งหมด มี “ธาตุจำ” อยู่ในท่ามกลางนั้น ทำหน้าที่จดจำอารมณ์ต่าง ๆ (รูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ) ที่มากระทบ
    ธาตุละเอียดของ “สังขารขันธ์” ตั้งอยู่ตรงกลางธาตุละเอียดของ สัญญาขันธ์ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงคิด” ขนาดประมาณเท่าดวงตาดำ แต่ใสบริสุทธิ์ มี “ธาตุคิด” อยู่ในท่ามกลางนั้น ดวงคิดลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยองของหัวใจ(เมื่อแรกเกิดใสบริสุทธิ์)ประมาณเท่า 1 ซองมือของผู้เป็นเจ้าของ ทำหน้าที่คิดหรือน้อมไปสู่อารมณ์
    ธาตุละเอียดของ “วิญญาณขันธ์” ตั้งอยู่ตรงกลางธาตุละเอียดของ สังขารขันธ์ ใสบริสุทธิ์ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงรู้” ขนาดประมาณเท่าดวงตาดำ มี “ธาตุรู้” อยู่ในท่ามกลางนั้น ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ
    “วิญญาณธาตุ” ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศธาตุ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม(ที่มาตั้งปฏิสนธิวิญญาณ) นั้น เมื่อทำหน้าที่ธรรมชาติ 4 อย่างของใจ ก็ทำหน้าที่พร้อมด้วยธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้ นี้แหละทำหน้าที่พร้อมกันดุลข่ายของใยแมงมุม กล่าวคือ เมื่อมีอารมณ์ภายนอก(รูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ) อะไรมากระทบ เห็น-จำ-คิด-รู้ ก็ทำหน้าที่พร้อมกันทันที
    ดังตัวอย่างเช่น เมื่อมีเหตุปัจจัยฝ่ายบุญกุศล(กุศลาธัมมา) ใดมาปรุงแต่งจิตใจ(เห็น-จำ-คิด-รู้) ก็เปลี่ยนวาระคือ ตกศูนย์(ว่างหายไป) ยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ปรุงเป็นจิตใจดวงใหม่(ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) คือ มีทั้งรูปธรรมหรือรูปขันธ์(กายในกาย) กับทั้งนามธรรมคือนามขันธ์ 4 ที่เป็นสุคติภพด้วยปุญญาภิสังขารหรือเนญชาภิสังขารแล้วแต่กรณีตามระดับภูมิธรรม ได้แก่ มนุษยธรรม-เทวธรรม-พรหมธรรม ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และดลจิตดลใจให้ปฏิบัติดำเนินชีวิตไปในทางเจริญและสันติสุขเมื่อตายก็นำไปเกิดในภพ/ภูมิใหม่เป็นสุขติภพ
    สภาวะของสังขารธรรมคือเบญจขันธ์ที่ประกอบไปด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย(ฝ่ายบุญกุศล-บาปอกุศล หรือฌานที่ไม่หวั่นไหว) ที่ปรุงแต่ง ดับแล้วก็เกิดๆๆ ทันทีตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นปัจจุบันธรรม นี่เป็นวิปัสนาปัญญา อันเห็นแจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ตามแนวสาย”วิชชาธรรมกาย”จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุณี(สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกายและถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า จึงได้สอนให้เจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยประการให้รวมธรรมชาติ 4 อย่าง (เห็น-จำ-คิด-รู้)ของใจ ให้หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางๆๆๆ กำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นถูกธาตุธรรมข้างฝ่ายขาวหรือฝ่ายบุญ หรือ ธรรมภาคพระ และเป็นที่ตั้งของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย เพื่ออบรมใจให้หยุด-นิ่งเป็นสมาธิตั้งมั่นผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และอ่อนโยนควรแก่งานเจริญอภิญญาและวิชชา คุณเครื่องช่วยให้เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวธรรมและอริยสัจจธรรมตามที่เป็นจริง ละอกุศลจิตของกายในภพ 3 ให้หลุดพ้นจากธาตุธรรมภาคดำ หรือ ฝ่ายมาร ให้ได้เข้าถึงธาตุธรรมภาคพระโดยแท้จริงคือพระนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์..



    ที่มา..หนังสือสมถวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า



    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พ่ระบรมสารีริกธาตุ ส่วนอาโปธาตุ เป็นแก้วใสประกายเพชร

    [​IMG]



    เมื่อน้อมอาราธนาไว้ในใจ สามารถเป็นพุทธานุสสติ และ องค์บริกรรมนิมิต จนใจรวมตกศูนย์ฯเข้าสู่ของจริงภายในได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    รัตนะที่สูงสุด คือ รัตนะตรัย

    ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกลงว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก

    สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ

    พระเจ้าจักรพรรดิ มีแก้ว ๗ ประการ คือ

    จักรแก้ว
    ช้างแก้ว
    ม้าแก้ว
    แก้วมณี
    นางแก้ว
    คหบดีแก้ว
    ปรินายกแก้ว

    แก้ว ๗ ประการนี้ เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุข ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่ อาศัยแก้ว ๗ ประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิสอนให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ กรรมบท ๑๐ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคติเลย

    แก้วทั้งหลายในโลก พิเศษถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่พิเศษเท่าแก้ว คือ

    #พุทธรัตนะ
    #ธรรมรัตนะ
    #สังฆรัตนะ

    นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้ เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น

    ..............................
    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร

    ...............................
    จากเทศนาธรรมเรื่อง

    รตนัตยคมนปณามคาถา

    ๖ มีนาคม ๒๔๙๒






    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤศจิกายน 2015
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพาน 20/25


    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพา
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    
    ทำอย่างไรเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้องค์พระใหม่ๆ จะรักษาองค์ธรรมกายให้ชัดอยู่ได้นานๆ ?

    ---------------------------------------------------------
    ตอบ:


    ธรรมกายนั้นอุบัติขึ้นเพราะความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ จากธรรมปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะรักษาธรรมกาย จึงต้องรักษากาย วาจา และใจของตนให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ โดย

    1.เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต กล่าวคือ
    ไม่เจตนา ฆ่าสัตว์-ลักฉ้อ-ประพฤติผิดในกาม ไม่ติดอบายมุข เช่น นักเลงสุรา นักเลงผู้หญิง นักเลงการพนัน และไม่หมกมุ่นอยู่แต่กับพัสดุกาม เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อน มนุษย์และสัตว์ร่วมโลก รู้จักแบ่งปันทรัพย์และความสุขส่วนตนแก่ผู้อื่น มีสันโดษในคู่ครองของตน และไม่เสพติดสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งปวง
    ไม่มักพูดจาโป้ปดมดเท็จหลอกลวงผู้อื่น-พูดคำหยาบ-สาบถ-สาบาน-พูดยุแยก ให้เขาแตกสามัคคีกัน และไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระจนเป็นอาจิณ จงพูดแต่คำพูดที่จริง พูดแต่คำพูดที่สุภาพไพเราะ อ่อนหวาน พูดแต่คำพูดที่เป็นสิริมงคลมีแกนสารมีสารประโยชน์ เป็นปกติ
    ไม่เป็นคนมักโกรธ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น เป็นผู้มักไม่ลุแก่โทสะ ตัณหาราคะ ไม่โลภ และเห็นแก่ตัวจัด ไม่หลงมัวเมาในเรื่องหรือสิ่งที่เป็นโทษที่มิใช่พระธรรมวินัย ให้เป็นผู้ดำรงอยู่แต่ในพระธรรมพระวินัยเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ และมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ต่อกัน
    2.หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันจิตที่มักใฝ่ชั่วด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานและมิจฉาทิฏฐิ มีความสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่อกระทบเข้ากับ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย มิให้หลงเคลิบเคลิ้ม สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารักและ มิให้หลงเคียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กิเลสฟุ้งและให้ตัณหา อุปาทาน เข้าครอบงำได้
    3.เพียรละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วในสันดานโดยมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นในจิตใจอยู่เสมอ และเพียรระวังป้องกันมิให้กิเลสเกิดขึ้นใหม่อีก เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน และรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมด้วยธรรมปฏิบัติมีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ยามว่างจากธุรกิจหน้าที่การงาน ก็ให้หมั่นเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัย (ปหาน อกุศลจิต) พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระและรักษาธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาดอยู่เสมอ อย่างน้อยที่สุดก็ให้หมั่นจรดใจสักเสี้ยวหนึ่งของใจไว้ ณ ศูนย์กลางธรรมกาย หรือพระนิพพาน หรือต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อยู่เสมอ
    4.ควรหมั่นพบครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในวิชชาธรรมกาย เพื่อฝึกวิชชาชั้นสูง ต่อๆ ไป ก็จะช่วยให้ธรรมเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้เสื่อมถอย
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]




    " สละอารมณ์ "


    เมื่อสละอารมณ์ได้ ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่งบางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน

    รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทางเห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่

    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)
    จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา 3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤศจิกายน 2015
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    นึกดวงแก้วเข้าศูนย์กลางไม่ได้ นึกศูนย์กลางกายไม่ออก แต่จะให้นั่งให้ใจสงบเฉยๆ พอได้ หรือกำหนดดวงไป พอกำหนดได้บ้าง ?

    -----------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    พยายามเหลือบตากลับนิดๆ
    เรื่องนี้ต้องค่อยๆ ทำไป ขอเรียนว่า อย่าลืมเหลือบตากลับนิดๆ เพราะใจยังไม่รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันจริงๆ

    ฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ ฝึกต่อไป เพราะใจของเราซ่านออกนอกตัวมานาน ตั้งแต่เกิด ใจออกไปไปยึดไปเกาะอะไรมิต่ออะไรมากมาย ความจริงเป็นอย่างนี้ กว่าจะอบรมให้กลับมารวมหยุด ณ ที่เดิมคือที่ศูนย์กลางกายนี้ ไม่ค่อยจะมารวมหยุด ณ ภายในได้ง่าย บางคนก็ไปติดอยู่ที่หน้าผาก เห็นดวงส่องสว่างอยู่ที่หน้าผาก ไม่ยอมรวมลงมาหยุด ณ ภายในได้สักที บางท่านก็ยากเย็นเหลือเกิน ของดีมันยากอย่างนี้แหละ แต่ถ้าให้เห็นข้างนอกแล้วก็ง่ายๆ

    อย่าพยายามนึกเห็นนิมิตข้างนอก
    ถ้าให้นึกเห็นนิมิตข้างนอกละก็ไม่ยาก แต่ว่า “จงอย่าทำ” เพราะถ้านึกเห็นข้างนอก ใจจะไม่เข้ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะไม่ถูกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ไม่ได้ดับหยาบไปหาละเอียด ไม่ได้เข้ากลางมัชฌิมาปฏิปทา ในธาตุธรรมของเรา ธรรมะที่ดีอยู่ที่ธาตุละเอียดของเรา ไม่ใช่อยู่ข้างนอก อยู่ข้างในที่ละเอียดๆ ฝ่ายกุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา อยู่ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมสุดละเอียด ถ้าฝ่ายชั่วก็มาจากฝ่ายชั่วสุดละเอียด ฝ่ายดีก็มาจากฝ่ายดีสุดละเอียด มาจากต้นธาตุต้นธรรมโน้น ต้นธาตุต้นธรรมฝ่ายดี (กุสลาธัมมา) อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่สุด ฝ่ายชั่ว (อกุสลาธัมมา) ก็มีต้นธาตุต้นธรรมของเขา ไม่ใช่ไม่มี มีเหมือนกัน แต่อยู่ส่วนนอกหรือรอบนอกของกุสลาธัมมาออกมา

    เพราะเหตุนั้น หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำเนิดธาตุธรรมเดิม ของกายในกายไปจนสุดละเอียดนั้นแหละ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ถึงพระนิพพานทีเดียว

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า หยุดในหยุด กลางของหยุด นั่นแหละถูกธรรมภาคขาว ฝ่ายบุญ ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ทะเลบุญอยู่นั้น แต่ว่าถ้าใจเดิน(ดำเนิน)นอกออกมาจากนั้น เป็นถิ่นทำเลของภาคมาร เพราะเหตุนี้ในธรรมเทศนาของท่านจะบอกว่า “ถ้าจะไม่เกิด ก็ให้เดินในเข้าไป ถ้าว่าอยากจะเกิด ก็เดินนอกออกไป” ความหมายก็คือว่า ถ้าอยากจะเกิดใหม่ ก็จงปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก ให้ไปยึดไปเกาะอะไรๆ วุ่นวายภายนอกเข้า อวิชชา ตัณหา อุปทาน นั้นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ คำพูดของหลวงพ่อ แต่ละคำเป็นคำโบราณ ถ้าฟังให้ดีแล้วจะเข้าใจลึกซึ้ง

    เวลาพิจารณาอริยสัจ 4 ก็จะรู้จะเห็น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ให้เข้าใจไว้เท่านี้ก่อน เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก




    ..............................[​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ทำไมบางทีลืมตาจึงเห็นดวงแก้วหรือองค์พระชัดกว่าหลับตา ?


    ตอบ:

    เป็นธรรมชาติของใจ (เห็น จำ คิด รู้) ที่เมื่อตกไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้ว ใจดวงใหม่ก็จะปรากฏลอยขึ้นมาหยุดนิ่ง ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อทำหน้าที่ต่อไปนั้น ตาจะเหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ เช่นเมื่อเวลาสัตว์จะมาเกิด คือมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณที่ขั้วมดลูกของมารดา ตาของทั้งบิดาและมารดาก็จะเหลือบกลับเอง เพราะใจตกศูนย์ และแม้เวลาที่สัตว์จะ ดับ (ตาย) จะหลับ จะตื่น และแม้เวลาที่ใจจะหยุดนิ่งสนิท เป็นสมาธิแนบแน่นตรงศูนย์กลางกาย แล้วก็ตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 และปรากฏลอยเด่นขึ้นมาใหม่ยังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ตาของสัตว์หรือบุคคลนั้นก็เหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้สึก คนส่วนมากจะไม่เคยได้สังเกตเห็น ให้สังเกตดูตัวอย่างเด็กทารกเวลาที่เธอนอนหลับ ใจกำลังตกศูนย์นั้น จะเห็นตาของเธอเหลือบกลับเหมือนคนที่กำลังชักจะตาย พ่อแม่บางคนเมื่อเห็นถึงกับตกใจนึกว่าลูกตนกำลังชัก แต่แท้ที่จริงเธอกำลังนอนหลับปุ๋ยสบาย

    โดยเหตุนี้แหละ เวลาที่ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิ หลับตาโดยเม้มเปลือกตาให้ปิดแน่นสนิทมากๆ เพราะความที่ตั้งใจมาก และไม่ทราบกลอุบายนี้ จึงไม่เอื้ออำนวยให้ตาเหลือบกลับเองได้สะดวกตามธรรมชาติในเวลาที่ใจจะเป็นสมาธิ ใจจึงพร่าไม่สามารถรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน (เอกัคคตารมณ์) ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้สนิท จึงเห็นเป็นแต่ความมืดหรือเห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ นี้แหละ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงแนะนำเวลาฝึกเจริญภาวนาสมาธิในเบื้องต้นว่า ให้เหลือบตากลับ เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย ความเห็น (ด้วยใจ) จำ คิด รู้ ที่มักจะพล่านออกไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกนั้นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้กลับเข้าข้างในไป หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้โดยง่าย

    ส่วนว่า ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิที่ปิดเปลือกตาเบาๆ แต่พอให้ใจเป็นอิสระ คือไม่เห็น และยึดเกาะอยู่กับรูปหรืออารมณ์ภายนอก และพอให้ตาเหลือบกลับเองได้โดยสะดวก ใจจึงสามารถรวมลงหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นได้โดยง่าย และเมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมตรงศูนย์กลางฐานที่ 7 นั้น ก็จะสามารถเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาอย่างแน่นสนิท

    เพราะฉะนั้น ผู้ลืมตานิดๆ แค่พอประมาณ หรือแม้ผู้เดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ และลืมตามองลงชั่วแอก เจริญภาวนา จิตจึงเป็นสมาธิได้เร็ว และสามารถเห็นดวงธรรมในธรรม และกายในกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาที่แน่นสนิท เพราะกดเปลือกตาจนเกินไป
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นดวงปฐมมรรคเร็วๆ ? 1





    ตอบ:

    ความเป็นผู้มีบุญบารมีมาก่อน ที่เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ซึ่งมีอยู่รวม 10 ข้อ ด้วยกัน ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เขกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ที่ได้เคยสร้างสมมาตั้งแต่อดีตจนตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้ว่า จะมีมากน้อยเพียงใด บุญบารมีแต่ละประการที่กล่าวมานี้ เมื่อได้สั่งสมขึ้นภายในจิตมากๆ เข้า แก่กล้าหนักเข้าก็จะกลั่นตัวเองเป็น อุปบารมี เมื่ออุปบารมีแต่ละอย่างเหล่านั้น สั่งสมกัน แก่กล้ายิ่งขึ้นไปอีก ก็จะกลั่นตัวเองเป็น ปรมัตถบารมี คือบุญบารมีที่แก่กล้าที่สุด รวมทั้งบุญบารมี ทั้ง 3 ระดับ เป็นบารมี 30 ทัศ

    เมื่อปรมัตถบารมีทั้ง 10 ประการนั้นเต็มส่วนหมดแล้ว จึงจะเป็นพลวปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพาน ได้ในที่สุด

    แต่ในระหว่างที่ปรมัตบารมีทั้ง 10 ประการนั้นยังไม่เต็มส่วน ก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปฏิบัติธรรม ได้บรรลุผลตามสมควรแก่บุญบารมีของแต่ละบุคคลที่ได้สร้างสมอบรมไว้ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงไม่ควรใจร้อนที่จะให้เห็นผลในทันใด ขอแต่ให้ตั้งใจฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำที่คุณครู-อาจารย์ได้สั่งสอนอบรมต่อไปเรื่อยๆ แล้วก็หมั่นพิจารณาดูที่เหตุสังเกตุดูที่ผล ก็ย่อมจะประจักษ์ในผลของการปฏิบัติด้วยตัวของท่านเอง ตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ อย่าลืมว่า ต้องให้โอกาสแก่ตนเองตามสมควร ดังเช่นที่เราปลูกต้นไม้ จะต้องให้เวลาในการเจริญเติบโต และการปลูกต้นไม้ที่จะได้ผลดีก็จะต้องหมั่นดูแลทำนุบำรุงรักษา เมื่อถึงเวลาต้นไม้นั้นก็จะผลิตดอกออกผลให้เอง

    ดังพระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระบรมพุทโธวาทไว้ในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 หน้า 309 ข้อ 532 ความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมี 3 อย่างเหล่านี้ 3 อย่างอะไรบ้างเล่า ? 3 อย่างคือ คฤหบดีชาวนารีบๆ ไถคราด พื้นที่นาให้ดีเสียก่อน, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ปลูกพืช, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง ภิกษุทั้งหลาย กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล แต่ว่าคหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า "ข้าวของเราจงงอกในวันนี้ ตั้งท้องพรุ่งนี้ สุกมะรืนนี้" ดังนี้ ได้เลย ที่ถูกย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมี 3 อย่างเหล่านี้ 3 อย่างอะไรบ้างเล่า? 3 อย่างคือ การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง, การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง, และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล, แต่ว่า ภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า "จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีอุปาทาน ในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้" ดังนี้ได้เลย, ที่ถูกย่อมมีเวลาที่เหมาะสม ซึ่งมีภิกษุนั้นปฏิบัติไปแม้ในศีลอันยิ่งปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานได้เอง

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า" ความพอใจของเราจักต้องเข้มงวดพอในการสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง ในการสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และในการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง" ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล"

    นี่ก็เป็นบรมพุทโธวาทของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อิทธิบาทธรรม คือด้วยใจรักในธรรม (ฉันทะ) ด้วยความเพียรไม่ย่อท้อ (วิริยะ) ด้วยใจจดจ่ออยู่ในธรรม ไม่ทอดทิ้งหรือวางธุระ (จิตตะ) และด้วยพินิจพิจารณาในเหตุ สังเกตในผล หมั่นดูแลแนวทางการปฏิบัติให้ดำเนินไปในทางที่ชอบ ที่เป็นคุณ หลีกเลี่ยงทางปฏิบัติที่ไม่ดี ไม่ชอบ ที่เป็นโทษ (วิมังสา) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พึงให้มีสติสัมปชัญญะพิจารณาเห็น อุปกิเลสของสมาธินิมิต หรือ นิวรณธรรมทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นภายในจิต แล้ว พึงกำจัดเสียด้วย องค์แห่งฌาน (โปรดดูรายละเอียดในหนังสือทาง มรรค ผล นิพพาน) แล้วท่านจะได้รับผลดีไปเอง

    ขอเพียงอย่าได้ใจร้อน ทะยานอยากที่จะเห็นนิมิตจนจิตใจฟุ้งซ่านและท้อถอย จงหมั่นปฏิบัติไปก็แล้วกัน ได้เท่าไร เอาเท่านั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านก็ได้ให้คำรับรองไว้ว่า ถ้าได้ฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็เป็นอันได้เห็นดวงปฐมมรรคในชาตินี้ทุกคน.
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ถ้าไม่ใช่ผู้เห็น "คุณค่าของธรรม"
    และสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว
    มากต่อมาก ... จะไม่สนใจ
    มาเข้ารับการศึกษาอบรม และปฏิบัติธรรม
    ... เพื่อช่วยตนเองเลย
    เรียกว่า
    ไม่เดือดร้อน ก็ไม่เข้าหาพระ
    ไม่เห็นโลง ก็ยังไม่หลั่งน้ำตา
    เพราะเอาแต่ "ประมาท"
    หลงมัวเมาในกามสุข
    กล่าวคือ ในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย
    หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข
    หาแก่นสารสาระมิได้
    เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้
    หลงรับใช้มาร
    จนลืม ... ความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ
    และลืมความตาย ที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ
    โดยที่แม้กระทั่งจะตาย ก็ยังไม่รู้จัก
    ไม่ใฝ่หา "ที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ" แก่ตนเอง
    ... น่าสงสารแท้ๆ


    * หลวงป๋า



    [​IMG]
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    "หยุด" ต้อง "หยุดให้ถูกที่"
    ถ้า 'ผิดที่' คือ 'ใจออกนอกตัว'
    ไปเห็นนิมิตนอกตัว แล้วตามนิมิตนั้นไป
    จิตก็ 'ปรุงแต่ง' ได้มากขึ้น
    การรู้เห็น ... ก็ไม่ตรง
    ซึ่งอย่าทำ !
    ต้อง "หยุด"
    ให้ตรงกลาง "กำเนิดธาตุธรรมเดิม"
    ถูกธาตุธรรมของฝ่าย "บุญกุศล"
    บาปอกุศล ... ก็ทำอะไรไม่ได้มากขึ้น
    ใจก็ใสสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้น


    * หลวงป๋า




    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    กรรมชั่ว เปรียบเหมือน สุนัขล่าเนื้อ





    กรรมที่เป็นบาปอกุศลหรือกรรมชั่ว
    หรือที่เรียกว่าทุจริต
    เราอาจจะได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว
    ในอดีตชาติในการเวียนว่านตายเกิด...
    อยู่ในสังสารจักรไม่มีที่สิ้นสุด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    กรรมนี้ไม่ได้หายไปไหน
    ติดตามให้ผลเหมือนสุนัขไล่เนื้อ
    ที่เคยยกตัวอย่างนั่นเอง
    ทีนี้มีอยู่ว่า
    เรานี้ถูกสุนัขอย่างนั้นแหละไล่ตามกัด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    เข้ามาในภพชาตินี้มันก็เปรียบเสมือนว่า
    กรรมที่เป็นฝ่ายทุจริตหรือบาปอกุศลต่างๆ
    มันเหมือนสุนัขไล่เนื้อหลายประเภท
    หลายตัว ไม่ใช่ตัวเดียว
    มันนับไม่ถ้วน มาเป็นฝูงเลย
    ฝูงนี่ฝูงใหญ่ซะด้วย
    แล้วก็มีทั้งตัวที่มีกำลังมาก
    มีกำลังน้อย
    ฝีตีนเร็ว ฝีตีนช้า
    ดุมาก ดุน้อย
    ทีนี้ถามว่า
    ถ้าอย่างนั้นเราอยู่เฉยๆ
    เกิดมานี้ไม่ทำล่ะ ดีก็ไม่ทำชั่วก็ไม่ทำ
    เป็นยังไง
    เหมือนกับเรายืนอยู่เฉยๆ
    ในเมื่อสุนัขไล่เนื้อมันวิ่งมาที่จะมากัดเรา
    เรายืนอยู่เฉยๆก็แปลว่า
    สุนัขไล่เนื้อตัวใดที่มีกำลังแรงอาจงับทัน
    งับได้มาก ได้น้อย ท่านนึกวาดภาพเอาละกัน
    อยู่เฉยๆเนี่ยถ้าจะมองในแง่ธรรมดา
    ก็คือไม่ดีไม่ชั่ว
    แต่ถ้ามองให้ดีเป็นโมหะ หลง
    เพราะไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง
    ถ้าเรารู้จริงแล้ว เราอยู่เฉยๆไม่ได้
    ต้องละชั่ว ต้องทำดี ทำใจให้ใส
    ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
    ข้อนี้ต้องทำอย่างนี้
    ..........................
    พระเทพญาณมงคล
    (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    (เทศนาธรรมเรื่อง...ความตระหนี่)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ธันวาคม 2015
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...