ภัยที่เกิดจากน้ำและการป้องกัน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 พฤษภาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    [​IMG]
    ภาพแสดงการพยากรณ์ความสูงคลื่นใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    [​IMG]
    ภาพแสดงการพยากรณ์ความสูงคลื่นใน 48 ชั่วโมงข้างหน้า
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table align="center" border="1"><tbody><tr><td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>

    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> คลื่นในมหาสมุทร คือ การแปรปรวนบริเวณผิวหน้าน้ำทะเลโดยการได้รับพลังงานจาก ลม แผ่นดินไหว หรือ การระเบิดของภูเขาไฟ การศึกษาอย่างง่าย ๆ โดยมากจะอาศัยคลื่นในอุดมคติในการศึกษา ส่วนสมการทางคณิตศาสตร์จะถูกนำมาใช้อธิบาย ถึงองค์ประกอบและความซับซ้อนของคลื่น

    มวลน้ำมีการเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นวงกลมเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่าน แต่ในคลื่นน้ำลึกจะกลับเข้าสู่บริเวณเดิม หากความลึกของน้ำที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน ลึกมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น คลื่นจะไม่ได้รับผลกระทบจากพื้นทะเล ในบริเวณน้ำตื้น ถ้าความลึกของน้ำ น้อยกว่า 1/20 ของความยาวคลื่น คลื่นจะได้รับผลกระทบจากพื้นทะเล

    คลื่นขนาดใหญ่สามารถเกิดขึ้นโดย การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น การเคลื่อนที่ของพื้นทะเล จากการเกิดแผ่นดินไหว หรือ การระเบิดของภูเขาไฟ คลื่นอิสระ (Free waves) เคลื่อนที่อย่างอิสระจากแหล่งกำเนิด คลื่นในควบคุม (Forced waves) จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของแรงที่ก่อให้เกิดคลื่น

    เราใช้ขนาดในการจัดจำแนกคลื่น โดยคลื่นที่ขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า Ripple ยอดคลื่นมีลักษณะกลมมน ท้องคลื่นเป็นรูปตัว V ความยาวคลื่นน้อยกว่า 1.7 เซนติเมตร และมีคาบคลื่นน้อยกว่า 0.1 วินาที คลื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าโดยทั่วไปมีคาบคลื่น ประมาณ 5 วินาที โดยที่มีแรงดึงดูดเป็นหลัก

    คลื่นส่วนใหญ่เกิดจากลมที่พัดผ่านบริเวณผิวหน้าน้ำทะเล เมื่อคลื่นเริ่มก่อตัว บริเวณผิวหน้าน้ำทะเลจะเริ่มปั่นป่วน เรียกว่า Sea โดยเริ่มก่อตัวจาก Ripple ก่อน จากนั้นจะกลายเป็นคลื่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หากว่ามีกระแสลมพัดให้พลังงานกับผิวน้ำอย่างต่อเนื่อง ภายนอกบริเวณทิ่เกิดคลื่น คลื่นจะแตกตัวออกโดยขึ้นอยู่กับขนาด คลื่นใต้น้ำ (Swell) คลื่นมีลักษณะปกติและมียอดคลื่นเรียบ คลื่นยาวสามารถเดินทางได้เร็วกว่าคลื่นสั้นที่กล่าวมาแล้ว โดยส่วนใหญ่คลื่นในทะเลจะมีความสูงไม่เกิน 6 เมตร คลื่นที่มีขนาดสูงที่สุด อยู่ในมหาสมุทร แปซิฟิค และมหาสมุทร แอตแลนติกตอนใต้

    คลื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่เขตน้ำตื้น คลื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางเนื่องจากการหักเห เมื่อวงโครจรของคลื่นลากไปบนพื้นทะเล คลื่นจะเคลื่อนที่ช้าในน้ำตื้นและเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าในเขตน้ำลึก คลื่นสามารถหักเหเพื่อเคลื่อนที่ไปในทิศทางอื่นได้ เหมือนกับการเคลื่อนที่ในน้ำลึก ในที่สุดคลื่นจะไม่เสถียรและแตกออก เป็นรูปแบบที่เรียกว่า Breakers.

    คลื่นสามารถเกิดใต้ผิวน้ำได้ ในบริเวณที่ชั้นน้ำมีความหนาแน่นต่างกัน เรียกว่า คลื่นในแนวดิ่ง (Standing wave) ในแอ่งของมหาสมุทร เมื่อพลังงานของคลื่นมีการสะท้อนกลับ รูปแบบของคลื่นจะไม่มีการเคลื่อนที่แต่บริเวณผิวน้ำจะอยู่ในรูปแบบปกติ

    ลมแรงหรือลมที่มีการพัดยาวนานมีความสัมพันธ์กับพายุ สามารถทำให้เกิดคลื่นที่มีขนาดใหญ่และเคลื่อนที่ช้า เรียกว่า Storm surge ทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณชายฝั่งที่เป็นที่ลุ่ม เราสามารถดึงพลังงานออกจากคลื่นได้
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    โยธาฯดันกฎคุมแผ่นดินไหว เพิ่มพื้นที่เสี่ยงภัย12จังหวัด

    กรมโยธาธิการและผังเมือง ออกแรงดันกฎกระทรวงควบคุมอาคารป้องกันแผ่นดินไหวฉบับใหม่ เพิ่มพื้นที่เสี่ยง กทม.-ปริมณฑล และภาคใต้อีก 7 จังหวัด เผย ครม.ไฟเขียวแล้ว อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา ไม่หวั่นเอกชนบางส่วนมองต่างมุมผวาต้นทุนพัฒนาโปรเจ็กต์เพิ่ม

    แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผยว่าจากที่กรมโยธาธิการ ได้ยกร่างแก้ไขกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ.2540) เพื่อออกมาตรการควบคุมอาคารในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้น พร้อมกับจัดแบ่งพื้นที่ควบคุมใหม่ นอกเหนือจาก 10 จังหวัดที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับเดิม ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมายกระทรวงมหาดไทย และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นจะประกาศบังคับใช้โดยเร็วที่สุด

    ขณะเดียวกันกรมโยธาธิการ ได้จัดทำมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นรายละเอียดการคำนวณออกแบบเพิ่มเติมเพื่อให้กฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ.2540) มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และได้ประกาศมาตรฐานดังกล่าว เป็นมาตรฐานของกรมโยธาธิการ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ปฏิบัติสำหรับการออกแบบโครงสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย

    แหล่งข่าวกล่าวว่าสาระสำคัญในการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ.2540) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้นมีหลายประเด็นด้วยกัน อาทิ
    1.การเพิ่มเติมพื้นที่ควบคุมและจัดแบ่งเขตพื้นที่ใหม่ ให้ครอบคลุมกรุงเทพ มหานคร(กทม.) และเขตปริมณฑล ได้แก่ กทม. จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวม 5 จังหวัด และพื้นที่บางส่วนในภาคใต้ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี รวม 7 จังหวัด

    2.การจัดกลุ่มประเภทอาคารควบคุมให้มีความชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มเติมอาคารควบคุมประเภทสะพาน และเขื่อน โดยกำหนดให้สะพาน ทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อยาว ตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนหรือฝายทดน้ำ ที่ตัวเขื่อนหรือตัวฝายมีความสูง ตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป เป็นอาคารควบคุมด้วย นอกจากนี้ยังได้กำหนดประเภทอาคารควบคุมตามเขตพื้นที่ควบคุมต่างๆ เนื่องจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีต่ออาคารประเภทต่างๆ ในแต่ละบริเวณมีความแตกต่างกัน

    สำหรับกฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ.2540) ซึ่งออกตามกความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 เป็นต้นมา เป็นกฎกระทรวงที่ควบคุมการก่อสร้างอาคารในเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว โดยระบุให้การก่อสร้างอาคารบางประเภทที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมต้องได้รับการออกแบบ และก่อสร้างให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว มีพื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด แยกเป็นพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน และพื้นที่ทางตะวันตกอีก 1 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี

    ส่วนประเภทของอาคารที่ควบคุม จะเป็นอาคารในลักษณะที่หากเกิดความเสียหายจากการเกิดอุบัติภัยแผ่นดินไหวแล้ว จะมีผลกระทบกับสาธารณะหรือหมู่คนจำนวนมาก เช่น หอประชุม โรงมหรสพ สถานศึกษา โรงพยาบาล สนามกีฬา ท่าอากาศยาน และอาคารทุกประเภทที่สูงเกิน 15 เมตร

    แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นผลมาจาก มื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดกลาง 6.1 ริกเตอร์ ที่ความลึก 33 กิโลเมตรจากผิวดิน มีศูนย์กลางอยู่บริเวณพรหมแดนลาว-พม่า ห่างจากอำนาจเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนสามารถรับรู้ได้ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และอาคารสูงหลายแห่งใน กทม. โดยมีรายงานความเสียหายของอาคารในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่หลายหลัง

    ทำให้หลายหน่วยงานแสดงความวิตกกังวล และมีเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งออกมาตรการป้องกันแก้ไข ในส่วนของกรมโยธาธิการ ซึ่งรับผิดชอบดูแลกฎหมายควบคุมอาคารจึงมีนโยบายที่จะผลักดันประกาศบังคับใช้ระเบียบข้อกฎหมาย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แม้ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการพัฒนา ที่ดินจะมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อบรรเทาความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหวในบางพื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ต้นทุนในพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้น

    http://www.dmr.go.th/news_dmr/data/2120.html

     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ฝนตกหนักทางเหนือของเยอรมันี ส่งผลน้ำท่วม-การจราจรเป็นอัมพาต <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 พฤษภาคม 2550 13:25 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> พื้นที่หลายส่วนทางตอนเหนือของเยอรมนีต้องจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่การจราจรเป็นอัมพาต หลังจากเผชิญกับพายุฝนที่ตกลงมาอย่างหนักท่ามกลางลมกระโชกแรง และฟ้าแลบฟ้าร้องที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สภาพอากาศปลอดโปร่งที่อุณหภูมิราว 30 องศา แม้พายุจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แต่ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้น้ำท่วมถนนภายในเวลาไม่กี่นาที ผู้คนที่ออกมาเดินเล่นต่างวิ่งหาที่หลบฝนกันจ้าละหวั่น
    ส่วนการจราจรบนท้องถนนเป็นไปอย่างสับสนอลหม่าน ขณะที่ทัศนวิสัยในการมองต่ำมาก กิ่งไม้ และต้นไม้ที่ถูกพายุที่มีความเร็วถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงพัด หักโค่น และล้มระเรระนาดปิดกั้นเส้นทาง
    กรมอุตุนิยมวิทยาเยอรมนีวัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 30 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตรในเวลา 1 ชั่วโมง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ฟ้าแลบกระตุ้นให้เกิดพายุเฮอริเคนได้ <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> อะไรเป็นสาเหตุของพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก?

    จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า สาเหตุของการเกิดเฮอริเคนก็คือ พายุฝนฟ้าคะนองในที่ราบสูงของเอธิโอเปียนี่เอง

    ความสัมพันธ์กันระหว่างฟ้าแลบ และการเกิดพายุเฮอริเคน

    จะช่วยให้นักวิจัยรู้ได้ทันว่าเมื่อไรพายุเฮอริเคนที่รุนแรงจะก่อตัวขึ้นหลายสัปดาห์ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริงๆได้ </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> Dr. Colin Price จากมหาวิทยาลัย Tel Aviv ในอิสราเอล กล่าวว่า

    ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์มีโมเดลที่ทันสมัยมากมายที่สามารถทำนายว่าจะเกิดพายุขึ้นเมื่อไรที่ไหน รวมทั้งทำนายความรุนแรงของพายุได้ด้วย แต่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่พายุก่อตัวขึ้นจริงๆที่มหาสมุทรแอตแลนติก สิ่งที่โดดเด่นเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นนี้ก็คือ นักวิจัยได้สำรวจตั้งแต่ขั้นแรกๆของการก่อตัวเป็นพายุก่อนที่มันจะพัฒนาไปเป็นเฮอริเคน</td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> Dr. Price และทีมงาน

    ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฤดูที่เกิดพายุเฮอริเคนมาก ในปี 2005-2006 และพบว่ามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2005 มีพายุ 28 พายุ ในที่นี้รวมถึงเฮอริเคนคาทรินาด้วย

    ส่วนในปี 2006 มีเพียง 10 พายุเท่านั้น

    ลดลงถึง 64% นอกจากนี้ก็พบว่าช่วงหน้าร้อน การเกิดฟ้าแลบในอาฟริกาตะวันออก โดยมากที่พื้นที่ราบสูงของเอธิโอเปียก็มีความแตกต่างในลักษณะเดียวกันคือมีการเกิดฟ้าแลบลดลง 23% ในปี 2006 เมื่อเทียบกับปี 2005</td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> Dr. Price นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศ

    ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบมานานกล่าวว่าทั้งสองเหตุการณ์ในต่างทวีปกันนี้มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ โดยอธิบายว่า ฟ้าแลบที่รุนแรง ที่เกิดในอาฟริกาตะวันออกจะรบกวนกระแสลมตะวันตกที่ผ่านทวีปอาฟริกา เขาเปรียบเทียบว่า มันก็เหมือนกับหินที่อยู่ในลำธาร หินเหล่านี้จะก่อให้เกิดการกระเพื่อมของกระแสน้ำที่ไหลผ่านมันเป็น turbulence flow ยิ่งหินก้อนใหญ่การกระเพื่อมก็ยิ่งมาก ก็เหมือนกับพายุฝนที่อาฟริกา ยิ่งพายุรุนแรงก็ยิ่งส่งผลกระทบไปได้ไกล
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> พายุฝนที่รุนแรงจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของบรรยากาศที่ไร้ระเบียบ

    ซึ่งกระแสของบรรยากาศนี้ก็จะส่งผลให้เกิดบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ที่เรียกว่า African easterly waves (AEW) ซึ่งเป็นที่ทราบแล้วว่ามากกว่าครึ่งของคลื่นบรรยากาศเหล่านี้ เมื่อมันเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกจะก่อให้เกิดพายุ tropical storm (ที่มีความเร็ว 48-121 km/h) การที่พายุเหล่านี้จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเฮอริเคนหรือไม่ก็เป็นเรื่องของหลายๆปัจจัยเสริมต่างๆ เช่น อุณหภูมิของผิวทะเล ฝุ่นและลมที่วิ่งตัดผ่านมหาสมุทร</td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> ทีมวิจัยของ Dr. Price

    ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดฟ้าแลบจาก World Wide Lightning Location Network ซึ่งมีสถานีที่คอยตรวจดูสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำมากๆที่ฟ้าแลบปล่อยออกมา

    นักวิจัยพบว่า

    ทุกฟ้าแลบที่มีความรุนแรงในปี 2005-2006 ที่เกิดในอาฟริกาตะวันออก จะมีพื้นที่ความกดอากาศต่ำ AEW ตามมา และจะมีเพียงบางส่วนของ AEW เหล่านี้ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นเฮอริเคนในอเมริกา โดยอย่างน้อย 85% ของเฮอริเคนที่มีความรุนแรง และ 2ใน 3 ของเฮอริเคนที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในมหาสมุทรแอตแลนติก มีต้นกำเนิดมาจาก AEW ที่เกิดหลังพายุฝนในอาฟริกาตะวันออก</td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table> </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> Dr. Price แนะว่า

    นักพยากรณ์อากาศและทีมกู้ภัยในภาวะฉุกเฉินควรสอดส่องต่อการเกิดพายุฝนที่มีความรุนแรงในอาฟริกาตะวันออกช่วงก่อนหน้าฤดูที่จะมีเฮอริเคนในอเมริกา เพื่อที่จะได้ประเมินความรุนแรงได้แม่นยำขึ้น

    Dr. Earle Williams ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้าแลบจาก MIT ให้ความเห็นว่า

    การศึกษานี้ช่วยให้เราเห็นถึงความสำคัญของการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดฟ้าแลบ หรือพายุทั่วโลกตลอดปี เพราะมันมีความสำคัญในการทำนายและวิเคราห์การเกิดพายุในอนาคตได้</td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top">
    ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ วิชาการ ดอทคอม</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#ffffff" width="100%">วิตกระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 4 ฟุต ท่วมริมฝั่งสหรัฐอเมริกายันบังกลาเทศ</td></tr> <tr><td colspan="2" bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="98%"><tbody><tr><td> [​IMG]นักวิจัยสถาบันวิจัยผลกระทบสภาพดินฟ้าอากาศปอตสดาม รายงานในวารสารเชิงวิชาการ “วิทยาศาสตร์” ว่าภาวะอากาศของโลกที่อุ่นขึ้น จะทำให้ระดับน้ำในมหาสมุทร ตั้งแต่ริมฝั่งฟอริดาไปจนถึงบังกลาเทศ สูงขึ้นอีก 4 ฟุต 7 นิ้ว ภายในพ.ศ.2643 นี้
    นักวิจัยสเตฟาน ราห์มสตอร์ฟ ในคณะศึกษาวิจัยกล่าวว่า “การที่ระดับน้ำมหาสมุทรสูงขึ้นเร็วจำเป็นต้องเร่งเตรียมมือในการป้องกันรักษาริมฝั่งทะเลเอาไว้” เขากับ๕ระได้ศึกษาโดยยึดเอาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ อากาศ และระดับน้ำเป็นหลัก แทนจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ได้ตัวเลขออกมาว่า ระดับน้ำในมหาสมุทรอาจจะสูงขึ้น 50-140 เซนติเมตร ภายในพ.ศ.2643 นี้ ซึ่งสูงกว่าที่คณะระหว่างประเทศว่าด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้เสนอความเห็นต่อสหประชาชาติไว้ว่า ระดับน้ำจะสูงขึ้น 9 – 88 เซนติเมตร


    รายงานได้กล่าวเตือนว่าเพียงแค่ระดับน้ำสูงขึ้นอีก 1 เมตรก็จะทำให้น้ำท่วมหมู่เกาะที่ลุ่มอย่างเช่นเกาะตูวาลูในมหาสมุทรแปซิฟิกและพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของบังกลาเทศหรือของรัฐฟอริดาและอาจจะท่วมเมืองต่างๆตั้งแต่นิวยอร์ก ถึงกรุงบัวโนสไอเรสด้วย
    เขาอ้างว่า “แบบจำลองคอมพิวเตอร์ได้ประมาณระดับน้ำทะเลที่เป็นอยู่แล้วน้อยไป ระดับน้ำในมหาสมุทรทุกวันนี้ สูงขึ้นกว่าเมื่อปี พ.ศ. 2443 ถึง 20 เซนติเมตรมันยังมีแง่มุมทางด้านกายภาพอีกหลายอย่างทีเรายังไม่เข้าใจมันดี เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่ซับซ้อนและคาดการณ์ยาก”

    http://www.nsm.or.th/modules.php?name=News&file=article&sid=1162
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    พื้นที่ชายฝั่งทะเล

    ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยของโลกในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้เพิ่มสูงขึ้นระหว่าง 10-25 เซนติเมตร หลายฝ่ายเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนี้ มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในบรรยากาศชั้นล่างของโลกที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.3-0.6 องศาเซลเซียส มีการคาดการณ์ว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตรในปี พ.ศ.2643 นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรอาจส่งผลให้ระดับน้ำทะเลในท้องถิ่นหรือภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าหรือน้อยกว่าระดับเฉลี่ยของโลกได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คือ การขยายตัวของผิวน้ำทะเลเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น โดยมีการละลายของภูเขาน้ำแข็งในขั้วโลกเป็นตัวสนับสนุนด้วย

    <table> <tbody><tr> <td width="450">การเพิ่มขึ้นที่คาดการณ์นี้ มีอัตราสูงกว่าการเพิ่มขึ้นในร้อยปีที่ผ่านมา 2 ถึง 5 เท่า อัตรา ขนาดและทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการตอบสนองของลักษณะชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงของการไหลของน้ำทะเล ความแตกต่างของแนวคลื่นและความหนาแน่นของน้ำทะเลและการเคลื่อนย้ายตามแนวดิ่งของดิน ซึ่งลักษณะเหล่านี้ แตกต่างกันตามพื้นที่และภูมิภาค ความร้อนที่เพิ่มขึ้นนี้ จะพุ่งลึกลงไปในมหาสมุทร ทำให้ภูเขาน้ำแข็งละลายเรื่อยๆ ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีกนานถึงแม้ว่าระดับอุณหภูมบนพื้นผิวจะไม่เปลี่ยนแปลง

    </td> <td align="center" width="150">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> ผลกระทบต่อชายฝั่ง ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ดี พื้นที่แต่ละแห่งมีโอกาสได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกันออกไป ผลกระทบที่สำคัญ คือ

    <table border="0" cellspacing="20" width="640"><tbody><tr><td width="640">พื้นที่ในบริเวณชายฝั่งจะถูกน้ำท่วมและถูกกัดเซาะมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบบริเวณชายฝั่งของประเทศกำลังพัฒนาที่มีขีดความสามารถในการปรับตัวต่ำ แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว หากระดับการป้องกันยังเป็นอยู่เช่นในปัจจุบัน ก็อาจได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริเวณดังกล่าวคือ การสูญเสียที่ดินอันเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พื้นที่ชายฝั่งของประเทศต่างๆ จะสูญหายไป เช่น ประเทศอุรุกวัยจะหายไปร้อยละ 0.05 ประเทศอียิปต์ร้อยละ 1.0 ประเทศเนเธอร์แลนด์ร้อยละ 6.0 ประเทศบังคลาเทศร้อยละ 17.5 และบางประเทศในหมู่เกาะมาร์แชลอาจสูญเสียถึงร้อยละ 80

    สร้างความเสียหายต่อสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะสาขาเกษตรกรรม การประมงชายฝั่ง การท่องเที่ยว การประกันภัยพื้นที่ชายฝั่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้สาขาเหล่านี้ ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปให้ได้มากที่สุด

    <table> <tbody><tr> <td width="450"> เกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและสุขภาพจิต โดยเฉพาะชุมชนที่ยากจนในประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องมีการโยกย้ายถิ่นฐาน

    ระบบนิเวศชายฝั่งที่มีคุณค่าจะมีความเสี่ยงสูง ป่าชายเลน หมู่ปะการังและหญ้าทะเล พื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ มีความล่อแหลมต่อการเปลี่ยนแปลงของความถี่และความรุนแรงของปริมาณฝนและพายุ ถึงแม้ปะการังซึ่งโดยทั่วไปเจริญเติบโตเร็วพอกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลก็อาจได้รับความเสียหายจากระดับอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น

    ระบบนิเวศของมหาสมุทร อาจได้รับผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนอกจากจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้พื้นที่น้ำแข็งลดลง เกิดการรวมตัวแนวดิ่งของน้ำและคลื่น เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการหมุนเวียนของน้ำทะเลซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผลิตภาพของทรัพยากรชีวภาพ ธาตุอาหารและโครงสร้างของระบบนิเวศ บทบาทของสมุทรนิเวศ (Marine ecosystems) และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินี้ยังสามารถทำให้ทรัพยากรชีวภาพเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่อีกด้วย

    http://www.onep.go.th/CDM/cmc_coast.html</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="800"><tbody><tr valign="top"><td colspan="5" bgcolor="#ffffff" valign="top" width="640"><table border="0" cellspacing="20" width="640"><tbody><tr><td width="640"> การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณและความถี่ของฝนเปลี่ยนแปลง จากการใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศวิเคราะห์ภาพจำลองกรณีที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจากระดับปี พ.ศ. 2533 เป็นสองเท่า พบว่าปริมาณน้ำฝนของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 แต่ปริมาณน้ำฝนจะแตกต่างกันตามภูมิภาค นอกจากนี้ ผลจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้ปริมาณน้ำท่าลดน้อยลงกว่าเดิม ประเด็นสำคัญในผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำอาจสรุปได้ดังนี้

    <table> <tbody><tr> <td width="360"> ถึงแม้จะมีฝนตกมากขึ้น แต่ก็จะมีการระเหยมากขึ้นเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว การเร่งตัวของวงจรน้ำนี้จะทำให้มีน้ำฝนมากขึ้น แต่คำถามคือ น้ำฝนที่มากขึ้นนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ต้องการหรือไม่

    ปริมาณฝนตกจะมากขึ้นในบางพื้นที่และลดลงในบางพื้นที่ แบบจำลองสภาพภูมิอากาศยังไม่สามารถที่จะคาดการณ์ระดับภูมิภาคได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ วงจรของน้ำยังมีความซับซ้อนมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนอาจมีผลต่อปริมาณน้ำบนพื้นผิว การสะท้อนแสงและพืชพรรณธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อการระเหยของน้ำและการก่อตัวของเมฆและจะส่งผลกลับมายังปริมาณน้ำฝนอีก

    </td> <td align="right" valign="top" width="240">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> ภูมิภาคใกล้ขั้วโลกเหนืออาจมีน้ำท่ามากขึ้นเนื่องจากฝนตกมากขึ้น แบบจำลองสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่แสดงว่าในหน้าหนาวพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรมากจะมีน้ำมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่อื่นจะลดลง แบบจำลองส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าความชื้นของดินและพื้นที่ปลูกธัญญพืชที่สำคัญบางแห่งในเขตอบอุ่นจะลดลง

    การคาดการณ์ผลกระทบในเขตร้อนชื้นกระทำได้ลำบาก แบบจำลองสภาพภูมิอากาศให้ผลต่างกันในเรื่องของความเข้มข้นและการกระจายของน้ำฝนในเขตร้อนชื้น ความซับซ้อนของระบบภูมิอากาศในเขตร้อนชื้นทำให้การคาดการณ์มีความไม่แน่นอนสูง การศึกษาเบื้องต้นในประเทศไทยพบว่า ผลไที่ได้ระหว่างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศมีความแตกต่างกันสูง จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแบบจำลองในการคาดการณ์การเปลี่นแปลงสภาพภูมิอากาศให้เหมาะสมกับเขตร้อนชื้น เช่นประเทศไทย

    การเปลี่ยนแปลงของฝนจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ได้ แบบจำลองหลายแบบจำลองชี้ให้เห็นว่าจะมีปริมาณขอฝนที่ตกมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมและมีปริมาณน้ำท่ามากขึ้น ในขณะที่การดูดซับของดินจะน้อยลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอาจส่งผลกระทบต่อการกระจายของน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินในภูมิภาคต่างๆ ด้วย

    <table> <tbody><tr> <td width="460"> สภาพภูมิอากาศมีความแห้งแล้งมากขึ้น ความอ่อนไหวของระบบอุทกวิทยาท้องถิ่นก็ยิ่งสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและปริมาณฝนเพียงไม่มากนักก็สามารถส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าได้สูง พื้นที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งอาจมีความอ่อนไหวมากขึ้น อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลง รวมทั้งการระเหยของน้ำและการคายน้ำของพืชที่มากขึ้น

    ปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อการกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำและบ่อน้ำ การเปลี่นแปลงของพื้นผิวจะมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลในระยะยาว เช่น การศึกษาเบื้องต้นของประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ปริมาณน้ำท่าไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลดน้อยลง และเมื่อคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำเหนืออ่างที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแล้ว ปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

    </td> <td align="right" width="140">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> การเปลี่นแปลงของน้ำท่าและการระเหยของน้ำจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังระบบนิเวศของธรรมชาติ ในระบบนิเวศน้ำจืดนั้น การเปลี่ยนแปลงในระดับของน้ำ อุณหภูมิของน้ำและความร้อนของน้ำมีผลต่อการอยู่รอดและการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด ส่วนการเปลี่ยนแปลงลักษณะการไหลของน้ำและปริมาณน้ำฝนจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำ (ธาตุอาหารและการละลายของออกซิเจน) และปริมาณน้ำในทะเลสาบและลำน้ำ

    แรงกดดันของปัญหาในด้านทรัพยากรน้ำที่มีมากขึ้น จะนำไปสู่ปัญหาความขัดแยังที่รุนแรงขึ้น เพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีผลเชื่อมโยงไปถึงปริมาณน้ำ การจัดสรรน้ำและความสามารถในการผลิตอาหาร ปัญหาที่รุนแรงขึ้นจะเป็นสาเหตุสำคัญให้ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและการเมืองมีมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีทรัพยากรน้ำจำกัด

    ทางเลือกในการปรับตัวต่อความเสี่ยงในเรื่องทรัพยากรน้ำมีไม่มากนัก แต่แนวทางที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยลดปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในระยะยาว คือ

    การปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรน้ำ
    การพัฒนาแหล่งน้ำใหม่และการจัดการแหล่งน้ำมี่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
    การใช้กฎระเบียบและเทคโนโลยีในการควบคุมที่ดินและน้ำโดยตรง
    การสร้างแรงจูงใจและการเก็บภาษีที่มีผลต่ออุปนิสัยการใช้น้ำโดยตรง
    การก่อสร้งแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำเพื่อเพิ่มอุปทานน้ำ
    การปรับปรุงระบบการจัดการน้ำ
    การดำเนินงานด้านสถาบัน
    มาตรการปรับตัวอื่นๆ อาจรวมถึงการปกป้องพืชพรรณธรรมชาติ
    การฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติและการลดมลพิษทางน้ำ
    การปรับปรุงระบบการเกษตรที่อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
    อื่นๆ
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td background="images/bg_menu.jpg"> </td> <td colspan="5" align="center" bgcolor="#ffffff">
    พัฒนาโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม </td></tr></tbody></table>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ปรากฏการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายเมื่อโลกหมุนเร็ว !!

    เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองในแต่ละรอบ สิ่งมีชีวิตล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และถ้าโลกหมุนรอบ
    ตัวเองช้าลงหรือเร็วขึ้นก็ย่อมส่งผลต่อโลกทั้งใบ

    ในอดีตเมื่อกว่า 4,000 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยามีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าโลกเต็มไปด้วยน้ำทะเล
    และหินชั้น(Sedimentary Rock) ที่ถือกำเนิดอยู่ภายใต้น้ำตั้งแต่ยุคนั้น ซึ่งหลักฐานนี้ได้ขัดแย้ง
    กับความเชื่อของนักดาราศาสตร์ที่กล่าวไว้ว่าดวงอาทิตย์ในโลกดึกดำบรรพ์มีความสว่างเพียง 70
    เปอร์เซ็นต์ของดวงอาทิตย์ในปัจจุบันเท่านั้น แต่มันกลับมีขนาดที่ใหญ่กว่า สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่น
    นั้นก็เพราะว่าแรงดึงดูดในตัวมันทำให้ขนาดของมันค่อยๆลดลงในขณะที่อุณหภูมิก็สูงขึ้นอย่าง
    ช้าๆโลกจึงปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งไม่ใช่น้ำทะเล

    จากข้อถกเถียงนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พากันหาคำตอบถึงความเป็นจริง โดยการตั้งสมมติฐานว่า
    ภูเขาไฟที่มีอยู่มากมายในอดีตได้ระเบิดพ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมายังอากาศ ซึ่งก๊าซเหล่า
    นั้นมีปริมาณมากกว่าปัจจุบันกว่า 1,000 เท่า โลกจึงเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกและมีอากาศ
    อบอ้าว อากาศที่อบอุ่นขึ้นนี้ทำให้น้ำแข็งค่อยๆละลาย และกลายเป็นน้ำดังที่นักธรณีวิทยากล่าวไว้

    ถึงแม้ว่าสมมติฐานนี้จะค่อนข้างลงรอยกันได้ระหว่างนักดาราศาสตร์ และนักธรณีวิทยา แต่ว่าใน
    ส่วน ความเข้มข้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นอาจจะมากเกินไป ดังนั้น G. Jenkins
    แห่ง National Center for Atmospheric Research รัฐโคโลลาโด ผู้ที่เสนอว่าปริมาณ
    ของก๊าซดังกล่าวน่าจะมากเกินจริง เขาจึงเสนอทฤษฎีใหม่ ว่า อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นมาจากโลก
    ในอดีตหมุนเร็วกว่าโลกในปัจจุบันและเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำแข็งละลาย

    ตามแบบจำลองของ G. Jenkins โลกในอดีตหมุนรอบตัวเองประมาณ 14 ชั่วโมงต่อ 1 วัน
    แต่ปัจจุบันโลกใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิม คือ 24 ชั่วโมง โดยการหมุนรอบตัวเองของโลกนั้น
    เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างดวงจันทร์และน้ำในมหาสมุทร จึงเกิดแรงต้านการหมุนของโลก

    เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงการหมุนรอบตัวเอง ผลกระทบต่อสภาวะอากาศจึงตามมา ถ้าหากว่าโลก
    เมื่ออดีต ปกคลุมไปด้วยน้ำทะเลและไม่มีแผ่นดินเลย อีกทั้งน้ำที่มีอยู่ยังสามารถสะท้อนแสงจาก
    ดวงอาทิตย์ได้น้อยกว่าแผ่นดิน การดูดกลืนจึงทำได้ดีกว่า ส่งผลให้มันเก็บพลังงานแสงอาทิตย์
    ์สะสมไว้มาก อุณหภูมิของโลกจึงอยู่ในระดับอบอุ่น เพราะพลังงานที่ตัวมันสะสมมีมาก มันก็ย่อม
    จะแผ่รังสีออกไปยังชั้นบรรยากาศมากเช่นกัน

    ดังนั้นโลกในยุค 4,000 ล้านปีก่อนตามทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์อย่าง G. Jenkins จึงไม่ได้มี
    น้ำแข็งปกคลุม ด้วยเหตุที่ว่าโลกหมุนรอบตัวเองเร็วมาก และการหมุนตัวอย่างเร็วนี้ทําให้นํ้าทะเล
    มีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำทะเลในปัจจุบันถึง 10 องศาเซลเซียส เมื่ออากาศบริเวณด้านบนสูงก็ย่อมไม่
    สามารถทำให้น้ำแข็งตัวได้
    [​IMG]
    โลกเปลี่ยนทิศของแกนการหมุนรอบตัวเอง ซึ่งจะเห็นชัดในรอบ 12,000 ปี และกลับมาเหมือนเดิมในรอบ 21,000 ปี จะทำให้ฤดูกาลสลับกับปัจจุบัน ช่วงที่ซีกโลกเหนือเคยเป็นฤดูร้อนจะเปลี่ยนเป็นฤดูหนาว และช่วงที่เคยเป็นฤดูหนาวจะเปลี่ยนเป็นฤดูร้อนเป็นต้น
    [​IMG] วงโคจรของโลกจะยืดออกมีความรีมากขึ้น และกลับมารีน้อยลงในทุกๆ รอบระยะเวลา 95,000 ปี ช่วงที่วงโคจรของโลกรีมากขึ้นอุณหภูมิของโลกค่อยๆ ลดลงจนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ธารน้ำแข็งขยายตัว

    หมายเหตุ ความเร็วในการโคจรและการหมุนรอบตัวเองของโลกจะผันแปรเป็นปฏิภาคผกผันกับระยะทางระว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เมื่อโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ความเร็วในการโคจรและหมุนรอบตัวเองจะเร็วขึ้น และจะช้าลงเมื่อโลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์ในส่วนของนิวตันอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ตามกฎของเคปเลอร์นิวตันพบว่า “ขนาดของแรง จะแปรผกผันกับ ค่ากำลังสองของระยะห่างระหว่างวัตถุ” หรือกฎการแปรผกผันยกกำลังสอง” (Inverse square law)
    [​IMG]
    อาการเอียงของแกนการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งปัจจุบันทำให้แสงอาทิตย์ส่องตั้งฉากระหว่างละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาใต้ ถึง 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ แต่ในความเป็นจริงอาการเอียงของแกนโลกจะผันแปรอยู่ระหว่าง 21 องศา 30 ลิปดา ถึง 24 องศา 30 ลิปดา จะเห็นได้ชัดเจนในรอบ 42,000 ปี แกนโลกเอียงมากขึ้นฤดูร้อนจะร้อนมากขึ้นฤดูหนาวก็จะหนาวมากขึ้น แกนโลกเอียงน้อยลงฤดูร้อนจะร้อนน้อยลงฤดูหนาวจะหนาวน้อยลง

    ดังนั้น เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นน้ำแข็งที่ขั้วโลกจะลาย เพราะโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ความเร็วในการโคจรและหมุนรอบตัวเองจะเร็วขึ้น และจะช้าลงเมื่อโลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์

    Source: http://www.nextstep.co.th
    http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=34050

     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    วิจัยชี้น้ำทะเลไทยลดลง เก็บข้อมูล 50 ปีค้านทฤษฎีน้ำท่วมโลก

    ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ เก็บข้อมูลทะเลไทย 50 ปี ชี้ระดับน้ำลดลงเฉลี่ย 0.4 มม.ต่อปี จากปรากฏการณ์เอลนีโญ่และแผ่นดินไหว ค้านทฤษฎีน้ำท่วมโลกซึ่งจะเกิดในประเทศแถบอเมริกาและยุโรปเท่านั้น
    ศ.ดร.สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2543 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงผลจากการสำรวจพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย ด้วยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำนายแนวโน้มของระดับน้ำทะเลว่า จากการเก็บข้อมูลในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา พบระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยลดลง 0.4 มิลลิเมตรต่อปี หรือเท่ากับ 36 มิลลิเมตร ใน 100 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นระดับที่ไม่รุนแรงอย่างที่กังวลกัน
    ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอังกฤษ ที่ระบุว่าประเทศในเขตเส้นรุ้งต่ำ หรือบริเวณอ่าวไทย คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรเกาหลีและทะเลญี่ปุ่น ระดับน้ำทะเลจะลดลง 0-50 มิลลิเมตร ใน 75 ปีข้างหน้า
    “ก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ข้อมูล จากนักวิจัยบางกลุ่มที่ออกมาบอกว่า ระดับน้ำทะเลในประเทศแถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทยจะมีแนวโน้มสูงขึ้น จากอิทธิพลของหิมะและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิด แต่สภาพดังกล่าวจะพบในแถบอเมริกาและยุโรปที่อยู่เหนือเส้นรุ้ง ซึ่งใกล้ชิดกับแหล่งหิมะและธารน้ำแข็ง ขณะที่ประเทศในเขตร้อนอยู่ในละติจูดต่ำ จึงไม่ได้รับอิทธิพลของหิมะและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย" นักวิจัย กล่าว
    นักวิจัยในยุโรปและอเมริกาได้ศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อคำนวณการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลอย่างแพร่หลาย โดยคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยอากาศเปลี่ยนแปลง (ไอพีซีซี) ทำนายว่า ใน 100 ปีข้างหน้า น้ำทะเลจะสูงขึ้น แต่ไม่ได้ระบุพื้นที่ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่อาจส่งผลเสียต่อการป้องกันที่ไม่ตรงจุด และเสี่ยงต่อการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
    ผลจากการเก็บข้อมูลระดับน้ำในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา สามารถยืนยันได้ว่า ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยลดลง แต่อยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง ปัจจัยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ประกอบกับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว รวมทั้งปัญหาการสูบน้ำบาดาลเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำในนิคมอุตสาหกรรม

    http://www.njconnex.com/hotnews/hotnews_39309.php?news_id=39309
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกเหลือน้อยสุดในรอบ 100 ปี โลกใกล้ไร้กระจกสะท้อนรังสี

    เอเอฟพี/เอพี เผยขนาดของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกมีขนาดเล็กที่สุดในรอบ 100 ปี นั่นก็เพราะโลกร้อนที่ทำให้ทะเลน้ำแข็งจมละลายหายไป อันจะทำให้เกราะกันรังสีจากแสงอาทิตย์ลดขนาดลง ซึ่งน้ำแข็งและหิมะทำหน้าที่สะท้อนแสงอาทิตย์สู่อวกาศได้ดีกว่าแผ่นน้ำ​
    จูเลียนเน สโตรเฟว (Julienne Stroeve) แห่งศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาโคโลราโด (University of Colorado) และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) ในการสำรวจขั้วโลกเหนือทางดาวเทียมว่า ปริมาณทะเลน้ำแข็งที่ละลายในปีนี้จนกระทั่งถึงเดือนกันยายนมีมาก จนทำให้เหลือแผ่นน้ำแข็งปกคลุมบริเวณมหาสมุทรอาร์คติกน้อยมากที่สุดในช่วง 100 ปี​
    ”ปี 2005 นี้น้ำแข็งขั้วโลกลดลงในปริมาณที่น่าตกใจ” คำกล่าวของมาร์ก เซอร์เรซ (Mark Serreze) ซึ่งร่วมศึกษาข้อมูลน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อนครั้งนี้ การสำรวจและวัดปริมาณครั้งนี้ ดำเนินการโดยดาวเทียมสำรวจขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ และพบว่าน้ำแข็งในบริเวณอาร์คติกละลายเร็วขึ้นกว่าเดิม และอุณหภูมิก็สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด​
    ดาวเทียมของนาซาได้เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2002 แสดงให้เห็นถึงฤดูใบไม้ร่วงอันเป็นช่วงน้ำแข็งละลายที่คืบคลานมาเร็วผิดปกติในแถบไซบีเรียเหนือและอลาสกา อีกทั้งแนวน้ำแข็งละลายได้ แพร่ขยายไปทั่วอาร์คติกแล้ว ซึ่งการสังเกตการณ์ครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนนี้ ชี้ผลอย่างน่าวิตกว่าฤดูน้ำแข็งละลายเริ่มขึ้นเร็วกว่าเดิมถึง 17 วัน
    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา เหลือพื้นที่น้ำแข็งบริเวณอาร์กติกเหลืออยู่เพียง 2.06 ล้านตารางไมล์ นับเป็นปริมาณแผ่นน้ำแข็งที่น้อยที่สุดที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือเท่าที่เคยบันทึกไว้ตั้งแต่ 29 ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าน้อยลงกว่า 20% ของปริมาณน้ำแข็งที่ควรจะเหลืออยู่เฉลี่ยในแต่ละปี​
    ขณะเดียวกัน อุณหภูมิเฉลี่ยของแถบอาร์กติกในตั้งแต่เดือนมกรคม-สิงหาคม 2005 ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5.4 องศาเซลเซียสนับได้ว่าสูงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่ามา ซึ่งเท็ด สคัมโบส (Ted Scambos) จากมหาวิทยาลัยโคโลราโดชี้ว่า การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสัญญาณที่ระบุได้ชัดเจนก็คืออุณหภูมิบริเวณขั้วโลกเหนือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษนี้​
    อย่างไรก็ดี ก๊าซคาร์บอนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากผืนโลกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศนั้นเป็นเหตุให้อากาศร้อนขึ้น จนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือนั้นทำหน้าที่สะท้อนรังสี จากดวงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกละลายออกไปเช่นนี้ จะทำให้โลกดูดซับรังสีจากแสงอาทิตย์มากขึ้น เพราะลำพังผืนน้ำที่เป็นของเหลวไม่สามารถทำหน้าที่เช่นเดียวกับน้ำแข็งได้ ​
    ที่สำคัญก๊าซคาร์บอนก็เป็นตัวป้องกันไม่ให้รังสีจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุออกนอกโลกไปได้ เฉกเช่นเดียวกับเราอยู่ในรถหรือเรือนกระจกที่ความร้อนไม่อาจระบายออกไปได้ ดังนั้นจึงเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า “เรือนกระจก” ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านกาลอากาศและอุณหภูมิโดยรวมทั่วโลก

    http://teenet.tei.or.th/news/iceberg.html
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ทฤษฎีทำนาย สึนามิ จากระดับชายฝั่งทรุดตัว


    [​IMG]hereiam บันทึก "เหตุแผ่นดินไหว ยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่วิทยาการในปัจจุบันพยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ

    แต่ก็ยังโชคดีที่ในกรณีการเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลแล้วก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ "สึนามิ" นั้น นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณเวลาที่คลื่นยักษ์จะซัดเข้ามายังชายฝั่งได้หลายสิบนาทีเลยทีเดียว ฉะนั้นหากมีการจัดการ การวางแผนที่ดี ความสูญเสียจากความรุนแรงของคลื่นก็ย่อมลดน้อยลง เมื่อช่วงกลางปี "เจอเร ลิปส์" ศาสตราจารย์ชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ พร้อมกับเพื่อนนักวิจัยอีกหลายคนจากมหาวิทยาลัยฮาลิแฟกซ์และศูนย์สำรวจธรณีวิทยาอะลาสกา เคยเสนอทฤษฎีพยากรณ์การเกิดสึนามิเอาไว้ในวารสารสมาคมธรณีวิทยาสหรัฐ แต่ก็ออกตัวไว้ด้วยว่ายังเป็นสมมติฐาน และต้องรอให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ พิสูจน์ความถูกต้องด้วย

    พื้นที่ทรุดตัว 1ฟุตก่อนเกิดเหตุ ศ.ลิปส์ ศึกษาข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหว 9.2 ริกเตอร์นอกชายฝั่งอะลาสกา ซึ่งทำให้เกิดสึนามิซัดถล่มชุมชนตามแนวชายฝั่งแถบ "Anchorage" จนราบเป็นหน้ากลองเมื่อปี 1964 (พ.ศ.2507) และพบว่า ในช่วงระยะเวลา 5-15 ปี ก่อนหน้าจะเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวนั้น พื้นที่ตามแนวชายฝั่งของ Anchorage จะค่อยๆ "ทรุดตัว" ลงไปต่ำกว่าเดิมประมาณ 1 ฟุต ซึ่งเป็นอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินที่เล็กน้อยมากจนคนในพื้นที่ไม่มีทางสังเกตความเปลี่ยนแปลง

    แต่ผลการขุดเจาะเก็บตัวอย่าง "จุลชีพ" ตามแนวชายฝั่งจะพบว่า การทรุดตัวทำให้ "จุลชีพน้ำจืด" สูญหายไปจากแนวชายฝั่ง เชื่อว่า สาเหตุของการทรุดตัวเกิดจากความผิดปกติใน "เขตมุดตัวของเปลือกโลก" ภายหลังจาก "แผ่นทวีป" ทรุดตัวต่ำลงเนื่องจากถูก "แผ่นมหาสมุทร" (แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร) ดันและดึง ลักษณะการทรุดตัวที่ว่านี้เอง คือ สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าว่าในอนาคตพื้นที่ใต้ทะเลหรือมหาสมุทรนอกชายฝั่งดังกล่าวจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นภายในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้านับตั้งแต่จุดที่ชายฝั่งเริ่มทรุดตัวถึงระดับ 1 ฟุต

    ลิปส์แนะนำว่า ทางการของประเทศที่ตั้งอยู่ใน "เขตมุดตัวของเปลือกโลก" ควรติดตั้งเครื่องวัดระดับความลาดเอียงของพื้นที่ตามแนวชายฝั่งเพื่อดูว่าแผ่นดินทรุดตัวหรือไม่ ซึ่งถ้าทรุดจริงก็อาจใช้เป็นหนึ่งในสัญญาณเตรียมความพร้อมรับมือภัยสึนามิในอนาคตได้... แต่ถึงสึนามิจะไม่เกิดก็ไม่เป็นไร เพราะดีกว่าวัวหายแล้วค่อยล้อมคอก! "

    http://www.thaiearth.com/modules.php?name=News&file=article&sid=19
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td style="padding: 5px 10px;" bgcolor="#ffffff">
    [​IMG]
    </td> <td background="back1/right_tile.gif">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="back1/bottom_tile_2.gif" width="100%">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][​IMG] [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หวั่น 10 ปีข้างหน้ามีสึนามิรอบใหม่ [/FONT] [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="back1/top_tile.gif" width="100%">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="back1/left_tile.gif">[​IMG]</td> <td style="padding: 5px 10px;" bgcolor="#f5f6f0">
    [​IMG] ศ.เคอร์รี่ ไซห์ นักวิจัยจากสถาบันคาลเท็กซ์ สหรัฐอเมริกา ใช้เครือข่ายระบบจีพีเอส ซึ่งเป็นระบบแสดงพิกัดด้วยดาวเทียม ติดตามการเคลื่อนตัวของแผ่นดินที่อยู่ใกล้กับรอยเลื่อนใหญ่ ที่เกิดแแยกตัวเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2547 และส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่มชายฝั่ง เป็นผลทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันเสียชีวิตจำนวนมาก และจากการศึกษาวันเกิดเหตุสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 พบว่า เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรง 9.2 ริคเตอร์ เนื่องจากการเคลื่อนตัวชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย/ออสเตรเลีย กับแผ่นทวีปยูเรเซีย จนเป็นเหตุทำให้เกิดมหันตภัยสึนามิ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินตามแนวชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ไทย ศรีลังกา และอินเดีย และหลังจากนั้นไม่นานได้เกิดแผ่นดินไหวระดับ 8.7 ริคเตอร์ ตามมาอีกในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปลดปล่อยพลังงานครั้งที่ 2 ของธรรมชาติ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบริเวณนี้ จากการสังเกตจะพบว่าแผ่นทวีป 2 แผ่นที่มาชนกันจะไม่ชนในแนวเฉือน แต่มักจะเป็นในลักษณะที่แผ่นทวีปหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นทวีปหนึ่ง และหลังจากเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินที่ถูกกดลงจะดันตัวโผล่ขึ้นมาใหม่ หมายความว่า ขอบที่เกยของแผ่นทวีปที่มุดตัวจะถูกดึงลงในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะดันตัวขึ้นไปใหม่ ซึ่งในลักษณะนี้จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และจากการสำรวจใต้พื้นทะเลบริเวณเกาะสุมาตราตอนเหนือ ภายหลังเกิดแผ่นดินไหว พบว่า ปะการังที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเกิดจากการถูกแผ่นดินดันขึ้นมา และเมื่อไล่มองไปตามแนวใต้สันทวีป พบว่า พืชทะเลตามชายฝั่งที่เติบโตอยู่ใต้ผิวน้ำยังไม่โผล่ขึ้นมา ทำให้คาดได้ว่ายังคงมีความเครียดสะสมอยู่ ตลอดจนเครือข่ายจีพีเอสก็ยืนยันข้อมูลดังกล่าวเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ ศ.เคอร์รี่ ไซห์ กังวลว่าอาจจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นมา จนอาจเกิดเป็นคลื่นยักษ์สึนามิได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า บทความนี้ดัดแปลงมาจาก หวั่น 10 ปีข้างหน้ามีสึนามิรอบใหม่
    </td> <td background="back1/right_tile.gif">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="back1/bottom_tile_2.gif" width="100%">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> : ที่มา : www.komchadluek.net
    ภาพจาก www.rakbankerd.com

     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td valign="bottom" width="50%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><th scope="col" bgcolor="#ffffff" width="86%">
    แผ่นดินไหว ต้นกำเนิดสำคัญของสึนาม
    </th> </tr> <tr bgcolor="#ddffff"> <td bgcolor="#ffffff"> คลื่นสึนามิ ก่อตัวขึ้นเมื่อมวลน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันและรุนแรง เช่นเมื่อเกิดแผ่นดินถล่ม ภูเขาน้ำแข็งทลาย การพุ่งชนของอุกกาบาตจากนอกโลกลงในมหาสมุทร ตลอดจนการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล และการเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดคลื่นแผ่กระจายไปทุกทิศทางทะลักล้นขึ้นสู่ชายฝั่งทะเล
    </td> </tr> </tbody></table>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    [/FONT] </td> <td width="50%"><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="back1/top_tile.gif" width="100%">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="back1/left_tile.gif">[​IMG]</td> <td style="padding: 5px 10px;" bgcolor="#ffffff">
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <th scope="col" bgcolor="#ffffff" width="86%">
    แผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อน
    </th> </tr> <tr bgcolor="#ddffff"> <td bgcolor="#ffffff"> แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่มักเกิดตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก สาเหตุที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัวเป็นเพราะชั้นหินหลอมละลายที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันเปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละแผ่นเคลื่อนที่พร้อมๆ กับสะสมพลังงานไว้ภายใน
    ณ บริเวณเปลือกโลกตรงรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า “รอยเลื่อน” เมื่อสะสมพลังงานมากขึ้น ระนาบรอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก จะทำให้รอยเลื่อนเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เกิดเป็นแผ่นดินไหวได้ หากเกิดรอยเลื่อนขึ้นภายใต้ท้องทะเลหรือมหาสมุทร ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล อันเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นใต้น้ำขนาดใหญ่

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> <td background="back1/right_tile.gif">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="back1/bottom_tile_2.gif" width="100%">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table></td> </tr> </tbody></table>

    สึนามิไม่เกิดพร้อมกับแผ่นดินไหวทุกครั้ง
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]

    ลักษณะการเลื่อนตัวของแผ่นหินเปลือกโลก
    แผ่นหินเปลือกโลกอาจเคลื่อนตัวได้ 5 แบบ ดังแสดงในรูปที่ 1
    [/FONT] ​
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="back1/top_tile.gif" width="100%">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="back1/left_tile.gif">[​IMG]</td> <td style="padding: 5px 10px;" bgcolor="#ffffff">
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr bgcolor="#ddffff"> <td valign="top" width="55%">
    ก) การเลื่อนด้านข้าง (Lateral Fault หรือ Strike-Slip Fault) เปลือกแผ่นหินเลื่อนตัวไปทางด้านข้างอย่างเดียว อาจเลื่อนไปทางด้านซ้ายหรือขวา
    ข) การเลื่อนแบบปกติ (Normal Fault หรือ Dip-Slip Fault) เปลือกแผ่นหินเลื่อนตัวไปในแนวลาดชันของรอยแตก โดยแผ่นบนเลื่อนตัวลงต่ำกว่าเมื่อคิดสัมพัทธ์กับแผ่นล่าง ลักษณะนี้เป็นการเลื่อนตัวตามแรงโน้มถ่วงโลกโดยธรรมชาติ
    ค) การเลื่อนแบบกลับทิศ (Reverse Fault หรือ Thrust Fault) เปลือกแผ่นหินเลื่อนตัวไปในแนวลาดชันของรอยแตกเช่นกันกับแบบปกติ แต่เนื่องจากแผ่นล่างมีการมุดตัวลง ทำให้เกิดแรงผลักแผ่นบนให้ดันเลื่อนตัวขึ้นสูงกว่าแผ่นล่าง
    ง) การเลื่อนแบบเยื้องปกติ (Lateral Normal Fault หรือ Oblique Fault) เป็นการรวมลักษณะการเลื่อนตัวทั้งแบบปกติและการเลื่อนตัวด้านข้างเข้าด้วยกัน ทำให้แผ่นหินส่วนบนเลื่อนตัวเยื้องลงไปจากแนวเดิม
    จ) การเลื่อนแบบเยื้องกลับทิศ (Lateral Reverse Fault หรือ Oblique Reverse Fault) เป็นการรวมลักษณะการเลื่อนตัวแบบด้านข้างและแบบกลับทิศเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการผลักดันเปลือกส่วนบนให้เยื้องขึ้นไปจากแนวเดิม

    ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวตามปกติทั่วไปซึ่งมีขนาดไม่รุนแรง มักเป็นการเลื่อนตัวแบบ ก) หรือแบบ ข) สำหรับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ มักเกิดจากการมุดตัวของแผ่นหินส่วนล่าง (subduction) ผลักดันแผ่นหินส่วนบนขึ้นไปในลักษณะการเลื่อนแบบกลับทิศ (แบบ ค), Reverse Fault หรือ Thrust Fault) ดังเช่นแผ่นดินไหวที่ประเทศชิลี พ.ศ. 2538 ขนาด 7.8 ตามมาตราริกเตอร์ และแผ่นดินไหวที่เกิดเป็นคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ขนาด 9.0 ตามมาตราริกเตอร์


    </td> <td valign="top" width="45%">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <th colspan="2" scope="col" bgcolor="#f3f3f3">
    การเลื่อนตัวของแผ่นหินที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์​
    </th> </tr> <tr bgcolor="#ddffff"> <td class="style13" valign="top" width="33%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]​
    </td> <td valign="top" width="67%"> [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]หากแผ่นหินที่อยู่ใต้ท้องมหาสมุทรเกิดการเลื่อนตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในระดับตื้น โดยที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกไม่เกิน 60 กิโลเมตรจากผิวพื้นโลก ซึ่งแผ่นดินใต้ท้องน้ำเกิดดันตัวขึ้นในลักษณะการเลื่อนตัวแบบกลับทิศ (Thrust Fault หรือ Thrust Fault) หรือหากแผ่นหินใต้ท้องน้ำเลื่อนตัวลงแบบปกติ (Normal Fault หรือ Dip-Slip Fault) จะทำให้มวลน้ำมหาศาลเกิดการยกตัวหรือยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว และจะกระจายตัวออกไปเพื่อรักษาสมดุลของพลังงานน้ำ ลักษณะนี้จะก่อให้เกิดขบวนคลื่นน้ำที่ผิวทะเลเรียกว่าคลื่นน้ำทะเลจากแผ่นดินไหว (seismic sea wave) หรือสึนามินั่นเอง[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    [​IMG]
    [/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <th scope="col" bgcolor="#f3f3f3" width="86%">
    เปรียบเทียบเหตุการณ์แผ่นดินไหวกับการเกิดคลื่นยักษ์
    </th> </tr> <tr bgcolor="#ddffff"> <td bgcolor="#e2ded3"> วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เวลาประมาณ 22.42 น. ตามเวลาประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์กลางทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ขนาด 7.3 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 1,110 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากเปลือกโลกเลื่อนตัวไปด้านข้าง เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นหินพม่าและแผ่นหินซุนดา ซึ่งไม่เหมือนกับแผ่นดินไหวที่เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นลักษณะการเลื่อนตัวแบบกลับทิศ โดยแผ่นหินอินเดียซึ่งซ้อนเกยกับแผ่นหินพม่าเกิดการมุดตัวเข้าไปข้างใต้และดันแผ่นหินพม่าให้ยกตัวขึ้นหลายเมตร ทำให้เกิดรอยเลื่อนเป็นแนวยาวจากเกาะสุมาตราขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางยาวถึง 1,200 กิโลเมตร แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทำให้เกิดรอยแยกยาวประมาณ 80 กิโลเมตรเท่านั้น
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ddffff"> <td bgcolor="#e2ded3"> รอยเลื่อนจากเหตุการณ์ทั้งสองนี้จึงแตกต่างกัน และส่งผลให้เกิดคลื่นน้ำที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยตรวจพบคลื่นน้ำเพียงเล็กน้อยในเหตุการณ์วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เนื่องจากรอยเลื่อนทางด้านข้างไม่ก่อให้เกิดการดันตัวหรือยุบตัวของมวลน้ำในปริมาณมากแต่อย่างใด
    ดังนั้น การตรวจพบแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในมหาสมุทรตั้งแต่ขนาด 7 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าจะเกิดคลื่นยักษ์ตามมาหรือไม่ อย่างไรก็ตามขั้นตอนปฏิบัติการแจ้งเตือนภัยสึนามิหากตรวจพบแผ่นดินไหวซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรอินเดียขนาดมากกว่า 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจะประกาศเตือนภัยแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมการอพยพออกจากบริเวณดังกล่าว
    1. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ฟื้นคืนชีวิตใหม่: อันดามันหลังวันสึนามิสงบ, 28 มกราคม 2548.

    2. ไพบูลย์ ปัญญาคะโป. “เหตุใดสึนามิไม่เกิดพร้อมกับแผ่นดินไหวทุกครั้ง” ใน หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 8 สิงหาคม 2548 หน้า 7. (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และอนุกรรมการสาขาผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> <td background="back1/right_tile.gif">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="back1/bottom_tile_2.gif" width="100%">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <!-- ImageReady Slices (home_m.html) --> <!-- End ImageReady Slices --> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="768"><tbody><tr><th scope="col" bgcolor="#cccccc" width="63">
    </th> <th scope="col" bgcolor="#cccccc" width="739">
    www.onep.go.th/tsunami
    </th></tr></tbody></table>
     
  16. golf208

    golf208 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +5,454
    ผมขอออกความคิดเห็นว่าภัยทางน้ำมาจากไหนนะครับ
    ผมคิดว่าภัยทางน้ำ(ธาตุน้ำ)ที่กรุงเทพจะโดนแน่นอนคือ น้ำจากเขื่อนครับเนื่องมาจากแผ่นดินไหว(ธาตุดิน)เกิดการสั่นไหวจนเขื่อนแตก แล้วน้ำก็ไหลมาสู่กรุงเทพ 1.นี้ผมนำมาจากฝันของตัวเองด้วยนะครับ เพราะน้ำที่ผมเห็นในฝันใสมาก นอกจากนี้ระวังเรื่องลูกเห็บตกนะครับ จะมาพร้อมกับพายุ(ธาตุลม) ส่วนเรื่องธาตุไฟผมยังไม่ทราบครับ
    ปล.ปัจจุบันเกิดการเสื่อมสลายจากธาตุทั้ง4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เพราะเกิดจากมนุษย์ที่เห็นแก่ตัวทำลายธรรมชาติโดยไม่คิดถึงอนาคต บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ธรรมชาติจะส่งพวกเห็นแก่ตัว ไม่ปฏิบัติส่งที่ถูกต้อง พวกที่เบียดเบียนผู้อื่น ก็จะต้องรับผลกรรมจากปัจจุบันชาติแล้ว
     
  17. golf208

    golf208 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +5,454
    น้ำท่วมจากเขื่อนแตกนี่ผมแค่ขาดเดาเอานะครับ เพราะปัจจุบันมาคู่กับธาตุดิน คือมีปัญหาทางน้ำมาพร้อมกับปัญหาแผ่นดินไหวบ่อยๆครับ ก็เลยออกความคิดเห็นนิดหน่อยครับ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ถ้าคุณ golf208 มีข้อมูล ก้อนำมาเผยแพร่ด้วยนะครับ จะได้มีข้อมูลในการเตือนล่วงหน้าครับ
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    เขื่อนแตกเนื่องจากน้ำท่วมผมว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากครับ ถ้าดูจากสถานดารณ์และสถิติ แต่ยังไงก้อถ้ามีข้อมูลที่ยืนยันได้น่าจะดีครับ
     
  20. golf208

    golf208 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +5,454
    รับทราบครับเดี๋ยวจะไปช่วยหาข้อมูลอีกแรง
     

แชร์หน้านี้

Loading...