ภัยที่เกิดจากน้ำและการป้องกัน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 พฤษภาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    รูปแบบของอุทกภัยจากธรรมชาติ (types of natural flood)

    จึงพอสรุปรูปแบบของอุทกภัยจากธรรมชาติได้ 5 ชนิด คือ
    1) น้ำล้นตลิ่ง (river flood) เกิดจากน้ำทะเลหนุน
    2) น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) เกิดจากฝนตกหนักเป็นเวลานาน บริเวณที่สูงต้นน้ำลำธาร ด้วยการเกิดพายุหมุนเขตร้อน ร่องมรสุม ลมมรสุมมีกำลังแรง หรือพายุฟ้าคะนอง
    3) คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surges) เกิดจากพายุหมุนเขตร้อน
    4) น้ำท่วมขัง (drainage flood) เกิดจากพายุหมุนเขตร้อน ร่องมรสุม ลมมรสุม หรือพายุฟ้าคะนอง
    5) คลื่นซึนามิ (tsunami) เกิดจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินถล่ม อันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้น
    เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำและทะเลสูงขึ้นมากจนล้นฝั่งและตลิ่ง นอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแล้ว ถ้ายิ่งเป็นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวหรือคลื่นที่ซัดถมจากทะเล ขึ้นมาบนฝั่งและถอยหลังไป จะมีอำนาจทำลายกวาดทุกสิ่งทุกอย่างลงทะเลไปหมด ยิ่งจะเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถจะประเมินได้ อันตรายและความเสียหายอาจจะกล่าวได้ ดังนี้
    1. อันตรายและความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน โดยตรง เกิดน้ำท่วมในบ้านเมือง โรงงาน คลังพัสดุ โกดังสินค้า บ้านเรือนไม่แข็งแรง อาจถูกกระแสน้ำไหลเชี่ยวพังทลาย หรือคลื่นซัดลงไปทะเลไปได้ ผู้คน สัตวพาหนะ สัตว์เลี้ยง อาจจมน้ำตาย หรือถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำไหลเชี่ยว
    - เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาดทั้งทางถนน ทางรถไฟ ชำรุดเสียหาย โดยทั่วไป รวมทั้งยานพาหนะ วิ่งรับส่งสินค้าไม่ได้ เกิดความเสียหายและชะงักงันทางเศรษฐกิจ
    - กิจการสาธารณูปโภคจะได้รับความเสียหาย เช่น กิจการโทรเลข โทรศัพท์ การไฟฟ้า การประปา และระบบการระบายน้ำ เป็นต้น ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ โรงเรียน
    - สิ่งก่อสร้างสาธารณสถานเกิดความเสียหาย เช่น สถานีขนส่ง ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ โรงเรียน วัด สถาปัตกรรม และศิลปกรรมต่าง ๆ
    2. ความเสียหายของแหล่งเกษตรกรรม ได้แก่ แหล่งกสิกรรมไร่นา สัตว์เลี้ยง สัตว์พาหนะ ตลอดจนแหล่งเก็บเมล็ดพันธ์พืชยุ้งฉาง
    3. ความเสียหายทางเศรษฐกิจ รายได้ของประเทศลดลง ผลกำไรจากภารกิจต่าง ๆ ถูกกระทบกระเทือน รัฐต้องมีรายจ่ายสูงขึ้นจากการซ่อมบูรณะซ่อมแซม และช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และเกิดข้าวยากหมากแพงทั่วไป
    4. ความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ขณะเกิดอุทกภัยขาดน้ำดีในการอุปโภคบริโภค ขาดความสะดวกด้านห้องน้ำ ห้องส้วม ทำให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคอหิวาตกโรค รวมทั้งโรคเครียด มีความวิตกกังวลสูง โรคประสาทตามมา
    5. ความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ ฝนตกที่หนัก น้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาบนแผ่นดิน และกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) ได้ นอกจากนั้นผิวหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์จะถูกน้ำพัดพาลงสู่ที่ต่ำ ทำให้ดินขาดปุ๋ยธรรมชาติ และแหล่งน้ำเกิดการตื้นเขิน เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ
    การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
    พายุขนาดต่าง ๆ ที่เคลื่อนเข้ามาซึ่งทำให้ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานานก็ดี หรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำ และทะเลสูงขึ้นจนเกิดอุทกภัยได้ก็ดี นับว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ระดับน้ำที่สูงขึ้นเกิดเป็นน้ำท่วมนั้น ในบางกรณีมนุษย์อาจจะควบคุม ป้องกัน ปรับปรุง แก้ไขพื้นที่รับน้ำเพื่อลดอันตรายจากอุทกภัยอันอาจจะเกิดขึ้นได้ จากประสบการณ์ในการผจญภัยเกี่ยวกับน้ำท่วมอยู่เสมอ ประเทศต่าง ๆ ได้ค้นหาวิธีการที่จะควบคุมป้องกันน้ำท่วม ที่จะทำให้เกิดอันตรายความเสียหายแก่ชีวิตคน สัตว์เลี้ยง พืชผลทางเกษตรให้ลดน้อยลง เพื่อให้ทุ่งราบที่เคยถูกน้ำท่วมได้มีราษฎรอยู่อาศัยทำกินต่อไป หลักการทางกายภาพพื้นฐานในการควบคุม และลดอันตรายจากอุทกภัย คือ
    A. พยายามชะลอการไหลของน้ำให้กัดชะผิวหน้าดิน โดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำลำธารให้น้อยที่สุด
    B. พยายามลดความรุนแรงของน้ำในแม่น้ำที่ไหลท่วมที่ราบน้ำท่วมสองข้างฝั่งโดยเฉพาะ

    ดังนั้น ในกรณี ข้อ A การควบคุมอุทกภัยบริเวณต้นน้ำลำธาร จึงขึ้นอยู่กับการจัดการผิวดินของที่ลาดเท โดยการปลูกป่าใหม่ (reforestation) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพพื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นป่าไม้มาก่อนแต่ได้ถูกทำลายไปให้กลับเป็นป่าไม้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การปลูกป่าใหม่ต้องหมั่นปลูกอยู่เสมอ เพื่อให้ผิวหน้าดินมีพืชปกคลุมจะได้ดูดซึมน้ำได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราการไหลของน้ำผิวดินปกติ วิธีการข้อ A นี้รวมทั้งการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำหลาย ๆ แห่งและในหุบเขาตอนล่าง ๆ ด้วย เพื่อที่จะลดการปะทะของคลื่นที่เกิดจากน้ำท่วมได้อย่างมาก และสามารถปล่อยน้ำให้ไหลลงสู่แม่น้ำสายใหม่ได้ตลอดไป
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    นกรณีข้อ B มีวิธีป้องกันพื้นที่ราบน้ำท่วมโดยตรง 2 ทฤษฎีแตกต่างกันซึ่งอาจนำมาใช้ได้

    ทฤษฎีที่ 1 คือ การสร้างคันดินหรือทำนบดิน (levee) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า dikes หมายถึงคันดินหรือทรายที่เสริมให้สูงขึ้นจากผิวดินเดิมเป็นแนวขนานไปตามสองฝั่งแม่น้ำ เพื่อเพิ่มความจุของแม่น้ำให้มากขึ้น และป้องกันการไหลบ่าของน้ำจากแม่น้ำเข้าสู่ที่ราบสองฝั่งแม่น้ำ คันดินที่มนุษย์สร้างขึ้นได้เลียนแบบคันดินธรรมชาติ (natural levee) ที่เกิดขึ้นเพราะแม่น้ำได้พาโคลนตมมาทับถมริมฝั่งในระหว่างหน้าน้ำหลาก เมื่อน้ำลดโคลนตมที่ทับถมนั้นก็เป็นคันดินยาวขนานไปตามริมฝั่งน้ำ ในขณะเดียวกันท้องพื้นน้ำก็ตื้นเขินขึ้น เวลาเกิดน้ำท่วมบ่าไหลเชี่ยวกรากจนน้ำทะลุคันดิน ทำให้เกิดน้ำไหลท่วมบริเวณหลังคันดินรุนแรง เช่น คันดินในบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง และแม่น้ำมิสซิสซิปปี ดังนั้น คันดินที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงควรพัฒนาให้มั่นคงแข็งแรง ไม่เพียงแต่ป้องกันแรงกดดันของน้ำตามธรรมชาติเท่านั้น ควรให้แข็งแรงและสูงพอที่จะรับภัยพิบัติจากอุทกภัยร้ายแรงที่สุดได้ด้วย และอีกกรณีหนึ่ง ควรสร้างช่องทางระบายน้ำ (crevasses) หลาย ๆ แห่งให้แข็งแรงพอเพื่อระบายน้ำที่เชี่ยวกรากให้ลดความรุนแรงลง ไม่ทำให้คันดินหรือทำนบแตกจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ในสหรัฐอเมริกามีการตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำมิสซิสซิปปีขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422) และได้สร้างคันดินกั้นริมฝั่งแม่น้ำนี้ขึ้นเป็นแนวยาวเพื่อกั้นน้ำท่วมทุกชนิด และได้ใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1903 สำหรับในรัฐหลุยส์เซียนาต้องมีการสร้างหลังคันดินด้วยกระสอบทรายเป็นแนวยาวถึง 71 ไมล์ (114 กิโลเมตร) เพื่อป้องกันน้ำล้นคันดิน คันดินได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันมีความยาวถึง 2,500 ไมล์ (4,000 กิโลเมตร) และมีความสูงกว่า 30 ฟุต (10 เมตร) สำหรับคันดินที่เสริมขึ้นมีความหมายว่าเพื่อกั้นและระบายน้ำหลากที่เกินขีดจำกัด รวมทั้งผันน้ำท่วมจากที่ราบภายในออกสู่ทะเลด้วย

    ทฤษฎีที่ 2 ได้นำมาปฏิบัติเมื่อไม่นานมานี้ในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี โดยหน่วยวิศวกรของกองทัพบกสหรัฐฯ (US. Army Corps of Engineers) โดยได้ตัดร่องน้ำลัดทางบริเวณส่วนโค้งใหญ่ของแม่น้ำ เพื่อให้น้ำไหลในระยะทางสั้นลงและไหลเร็วขึ้น ผลที่ตามมาก็คือแม่น้ำมีความลาดชันของร่องน้ำเพิ่มขึ้น ไหลเร็ว แรง และมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การพัฒนาร่องน้ำต้องมีการคำนวณผลกระทบล่วงหน้าไว้แล้ว ถึงการปะทะของคลื่นแม่น้ำและความแข็งแรงของคันดินที่สร้างขึ้นว่าจะทนทานความแรงและปริมาณน้ำได้ รวมทั้งได้คำนึงถึงพื้นที่ราบบางแห่งอาจถูกน้ำท่วมกลายเป็นทะเลสาบน้อยๆ ชั่วคราวด้วย วิธีการควบคุมป้องกันน้ำท่วมตามทฤษฎีนี้ เหมาะที่จะใช้กับที่ราบน้ำท่วมบางแห่งที่มีผู้คนอยู่น้อยที่สุด (Strahler, Arthur N. 1969 : 430-431) จากหลักการทางกายภาพพื้นฐาน 2 ประเด็นข้างต้นที่อธิบายวิธีจัดการลุ่มน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัยตอนต้นน้ำและในที่ราบลุ่ม รวมทั้งผู้เขียนมีความเห็นเพิ่มเติมว่าอุทกภัยจะเกิดได้เพราะเกิดความไม่สมดุลของปริมาณน้ำฝน น้ำท่า และน้ำทะเลกับพื้นที่รับน้ำ สำหรับปริมาณน้ำดังกล่าวมากน้อยเป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ มนุษย์ไม่สามารถควบคุมปริมาณได้ แต่มนุษย์สามารถแก้ไขภาวะการไหลของน้ำให้ช้าเร็วมากน้อยขณะน้ำไหลอยู่บนพื้นโลกได้ ส่วนความจุของลำน้ำเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถพัฒนาในแนวดิ่ง เช่น มีการสร้างคันดิน เสริมคันดิน ให้น้ำมีความจุเพิ่มขึ้นได้ และในด้านความลึกมนุษย์สามารถขุดลอกร่องน้ำ สำหรับในแนวนอนสามารถทำทางลัดให้น้ำไหลเร็วขึ้น หรือมีความจุของปริมาณน้ำมากขึ้นได้ อุทกภัยจึงเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มนุษย์สามารถเตรียมตัวเพื่อรับสถานการณ์ได้ดีที่สุด ยกเว้น อุทกภัยจากพายุหมุนเขตร้อนเท่านั้น ที่มนุษย์ตั้งตัวไม่ค่อยติดกับภัยชนิดนี้ ดังนั้น จึงพอรวบรวมการควบคุมป้องกัน และลดอันตรายจากอุทกภัยได้ดังนี้

    ทางตรง
    1. การอนุรักษ์ป่าบริเวณต้นน้ำลำธาร เพราะเหตุใดบริเวณต้นน้ำลำธารเมื่อไม่มีป่า หรือป่าถูกทำลาย ไม้ถูกตัดโค่น จึงก่อให้เกิดอุทกภัยในที่เชิงเขาและที่ราบลุ่ม เนื่องจากต้นน้ำลำธารเป็นเทือกเขาสูงเมื่อฝนตกลงมา ต้นไม้จะปะทะฝนและน้ำป่าให้น้ำไหลช้าลงน้ำฝนจะซึมลงไปตามรากของต้นไม้ที่หนาแน่นไปสู่ชั้นของน้ำใต้ดินส่วนหนึ่ง ทำให้มีน้ำไหลที่ผิวดินอย่างช้าๆ ระบายลงสู่ที่ราบลุ่มและสู่ทะเลอย่างช้าๆ ไม่ทำให้เกิดอุทกภัย แต่ถ้าต้นน้ำลำธารที่สูงขาดต้นไม้หรือป่าปกคลุม เมื่อฝนตกน้ำจะไหลรุนแรงกัดชะผิวหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ลงมาด้วย น้ำไหลแรงรวดเร็วเนื่องจากความลาดชัน ทำให้เกิดอุทกภัยที่เชิงเขาและที่ราบลุ่มได้ง่าย การควบคุมป่าไม่ให้ถูกทำลาย การปลูกป่าใหม่ การปลูกสร้างสวนป่า การใช้วิธีการเกษตรบนที่สูงที่ถูกต้อง ได้แก่ การทำการเกษตรแบบขั้นบันได (terracing) การทำเกษตรแบบเส้นขอบเนิน (contour cultivation) หรือการขุดร่องเปลี่ยนทางระบายน้ำเพื่อปลูกพืช (diversion channel) ฯลฯ รวมทั้งการจัดทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และคัดเลือกพันธุ์พืช เช่นมีการทดลองปลูกหญ้าแฝกชะลอการไหลของน้ำบนที่สูง ในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เป็นต้น
    2. โดยการสร้างเขื่อน (Dams) คือ สิ่งก่อสร้างที่กั้นแม่น้ำ เป็นเครื่องมือควบคุมการไหลของน้ำจากที่สูงมายังที่ต่ำ ให้น้ำไหลช้าลงจะได้ไม่เกิดอุทกภัยในที่ต่ำ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นในทำนองเดียวกัน เช่น ฝาย ทำนบคันดินฯ เขื่อนโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ เขื่อนชลประทานและเขื่อนอเนกประสงค์ เขื่อนชลประทานมีหน้าที่เก็บกักน้ำ ชะลอการไหลของน้ำ ระบายน้ำไปใช้ในการเกษตร และยังคงใช้ในการคมนาคมได้ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา ที่กั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ส่วนเขื่อนอเนกประสงค์เป็นเขื่อนที่ผลิตไฟฟ้าและป้องกันอุทกภัยเป็นหลักและมีประโยชน์ในด้านอื่นด้วย คือ ใช้ในการเก็บกักน้ำ ระบายน้ำในทางเกษตร ใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ แหล่งท่องเที่ยว และยังใช้คมนาคมได้ เป็นต้น
    3. โดยการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นในเขตใกล้แม่น้ำ (detention storage) เมื่อน้ำในแม่น้ำไหลอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดอุทกภัยขึ้นได้ การผันทางน้ำจากแม่น้ำให้ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำและค่อยๆ ระบายออกเป็นระยะๆ จะทำให้ที่ราบสองข้างฝั่งไม่เกิดน้ำท่วม เช่นเดียวกับแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีนสองข้างฝั่งแม่น้ำนี้มีทะเลสาบมากมาย สามารถบรรเทาไม่ให้เกิดอุทกภัยได้ ดีกว่าลุ่มแม่น้ำฮวงโหที่ขาดทะเลทาบสองข้างฝั่ง ทั้งยังมีดินเลอสหรือดินเหลืองในเขตทะเลทรายโกบีถูกลมพัดมาทับถม จึงทำให้เกิดอุทกภัยมีผู้คนเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก
    4. การผันทางน้ำให้ไหลจากทางน้ำใหญ่ ไปเข้าร่องน้ำทางน้ำแยกหรือคลองส่งน้ำ เพื่อแบ่งน้ำจากทางน้ำใหญ่ หรือผันน้ำจากทางน้ำใหญ่ ที่จะทำให้เมืองใหญ่เกิดน้ำท่วม ซึ่งจะเสียหายมากไปเข้าท่วมทุ่งนาเพื่อพักน้ำชั่วคราว เปรียบเสมือนทุ่งนาเป็นอ่างเก็บน้ำชั่วคราว เมื่อเกิดความเสียหายจากอุทกภัยความเสียหายก็ยังน้อยกว่าน้ำท่วมเมืองใหญ่
    5. สร้างคันดินหรือทำนบดิน (levee) หรือ dikes หรือกำแพงกั้นน้ำ (flood wall) เป็นคันดินที่สูงกว่าระดับน้ำเป็นแนวขนานไปตามความยาวของแม่น้ำ ควรมีช่องระบายน้ำเป็นตอนๆ การก่อสร้างอาจทำได้หลายรูปแบบ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น
    A. คันกั้นน้ำที่สร้างตามริมแม่น้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลท่วมที่ราบสองฝั่งแม่น้ำ อาจสร้างเป็นคันดิน เขื่อนซีเมนต์ กำแพงดินฯ
    B. คันกั้นน้ำที่สร้างขึ้นในเขตเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปท่วมในตัวเมืองซึ่งเป็นบริเวณที่ราบลุ่ม เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร
    C. คันกั้นน้ำที่สร้างเป็นวงแหวน (ring dikes) เพื่อล้อมรอบบริเวณหรือสถานที่ไม่ให้น้ำเข้าไปท่วมถึงได้
    D. คันกั้นน้ำที่สร้างเป็นผนังกั้นน้ำในกรณีฉุกเฉิน เช่น เอากระสอบทรายหรือถุงใส่ดินเพื่อเสริมดินให้สูงขึ้นจะสามารถป้องกันมิให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนได้เป็นการชั่วคราว
    6. โดยการขยายทางน้ำที่ไหลอยู่ให้กว้างออก (channel improvement) การปรับปรุงทางน้ำไหลให้กว้างออก ทำให้น้ำปริมาณมากไหลได้เร็วขึ้น น้ำจะไม่เอ่อล้นตลิ่ง การปรับปรุงร่องน้ำอาจทำได้หลายวิธี เช่น การเคลื่อนย้ายวัตถุที่มาปิดกั้นทางน้ำไหล ได้แก่ เศษไม้ กอสวะ หรือกอผักตบชวาที่ไหลมาตามน้ำ การก่อสร้างสะพานให้สูงขึ้นเพื่อให้น้ำไหลสะดวกในฤดูน้ำหลาก การก่อสร้างสะพานให้มีเสาน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้กีดขวางการไหลของน้ำ การทำท่อลอดใต้ถนนเป็นช่วงๆ ตลอดจนไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้างบ้านเรือนรุกล้ำคูคลองอย่างเด็ดขาด เป็นต้น วิธีการเหล่านี้จะช่วยให้การไหลของน้ำรวดเร็วขึ้น
    7. การขุดลอก คูคลอง ร่องน้ำ เพื่อเพิ่มความจุของน้ำในฤดูน้ำหลาก นับว่าควรจะเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ เช่น การทำงานของ กทม. ที่ผ่านมาได้มีการเตรียมลอกท่อน้ำทิ้งสาธารณะก่อนฤดูฝนจะมาถึง ทำให้ปัญหาน้ำท่วม กทม. เพราะฝนฟ้าคะนองและฝนดีเปรสชันหมดไป ตามเรือกสวนไร่นาก็ควรมีการขุดลอกร่องสวนก่อนถึงฤดูฝนทุกปี รวมทั้งการไม่ถมคูระบายน้ำเพื่อขยายถนน ก็เป็นการบรรเทาอุทกภัยในเขตเมืองเช่นกัน
    8. การตัดทางลัดบริเวณส่วนโค้งของแม่น้ำ ส่วนโค้งของแม่น้ำ (meander) บางสายที่ไม่ใช่แหล่งชุมชน อาจมีการตัดทางลัดบริเวณคุ้งน้ำเพื่อให้น้ำไหลเร็วขึ้น ทั้งนี้ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ถึงผลกระทบที่จะตามมาด้วย ดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น ที่จริงวิธีนี้เป็นวิธีการเลียนแบบธรรมชาติวิธีหนึ่ง ที่แม่น้ำตอนปลายจะมีการคดโค้งเพราะมีการกัดเซาะและทับถมจนเกิดส่วนโค้ง เป็นการตัดตรงของแม่น้ำเนื่องจากความต้านทานของดินส่วนคอคอดหมดไป ส่วนโค้งเดิมน้ำตื้นเขินมีการตกตะกอนจนกลายเป็นทะเลสาบ รูปแอกวัวหรือ oxbow lake หรือที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรียกว่า กุด เช่น กุดบาก กุดข้าวปุ้น เป็นต้น แต่การลัดส่วนโค้งนั้นอาจจะทำได้เมื่อส่วนโค้งนั้นอยู่ใกล้ทะเล ที่ไม่ค่อยมีผู้อยู่อาศัยเพราะความแรงของน้ำอาจก่อให้เกิดอุทกภัยตอนปลายน้ำได้ และในเวลาเดียวกันส่วนโค้งของลำน้ำก็เปรียบเสมือนอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติอยู่แล้ว จะช่วยกักเก็บและชะลอการไหลของน้ำตอนบนให้ช้าลงได้ เช่น กุดในภาคอีสานหลายแห่งที่ตื้นเขิน ดูจากภาพถ่ายทางอากาศเห็นเพียงต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามแนวส่วนโค้งของลำน้ำเดิม เราสามารถพัฒนากุดทำการขุดลอกให้สามารถไว้เก็บกักน้ำในฤดูแล้ง และแบ่งน้ำจากลำน้ำสายใหญ่มาเพื่อชะลอการไหล บรรเทาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากได้เป็นอย่างดี เพราะดินในกุดเดิมเหมาะที่จะเก็บกักน้ำได้ดีอยู่แล้ว อนึ่ง มนุษย์อาจจะใช้ทั้งกุดและขุดคลองลัดได้ทั้ง 2 กรณี ถ้ามีการสร้างประตูน้ำปิดเปิดระหว่างคลองลัดกับกุดไว้ แล้วแต่ความต้องการและสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น
    9. การอพยพออกจากเขตน้ำท่วม การอพยพออกจากเขตน้ำท่วมไปอยู่ในที่ที่สูงกว่าไปชั่วคราวหรือถาวร นับว่าเป็นการแก้ปัญหาได้แน่นอน แต่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายเพราะราคาที่ดินที่สูงขึ้นเนื่องจากประชากรมีเพิ่มขึ้น ความต้องการที่ดินจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดั้งนั้น การย้ายไปชั่วคราวอาจจะทำได้ง่ายกว่า จึงควรฟังการเตือนภัยจากหน่วยงานราชการ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ เป็นต้น

    ทางอ้อม
    10. การให้การศึกษาแก่ประชาชน ทั้งในระบบโรงเรียนทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และให้ความรู้แก่ประชาชนทางสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นระยะๆ โดยเฉพาะขณะมีข่าวการเตือนภัยของทางราชการเกิดขึ้น จะทำให้ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง
    11. การใช้กฎหมายควบคุม ทางราชการต้องมีมาตรการอย่างรัดกุมและจริงจังในกรณีการปลูกอาคารโรงงานและบ้านเรือนรุกล้ำที่สาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ตลอดจนการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล และถ่ายเทของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจากบ้านเรือนลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น
    12. การสร้างความตระหนักให้เกิดแก่ประชาชนในด้านการต่อต้านการทำลายป่า เร่งช่วยกันปลูกป่าปลูกต้นไม้ ลดการใช้เนื้อไม้ ใช้สิ่งอื่นแทนไม้ เพราะถ้าไม่มีป่าที่อุดมสมบูรณ์อยู่บริเวณต้นน้ำลำธารแล้ว ถึงจะสร้างเขื่อนเท่าไร เขื่อนก็ไม่อาจปะทะน้ำยามฤดูน้ำหลากได้ อาจเกิดการรั่วไหล พังทลาย ซึ่งเคยเกิดกรณีเขื่อนรั่วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมาแล้ว สัญญาณเตือนอันตราย
    เนื่องด้วยน้ำท่วมเกิดขึ้น โดยสาเหตุหลายประการดังได้กล่าวมาแล้ว ในบางกรณีก็สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เป็นเวลานานพอที่จะหลีกเลี่ยงหรือควบคุมป้องกันอันตรายได้ เช่น น้ำท่วมจากพายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน เป็นต้น ปัจจุบัน นักอุตุนิยมวิทยาสามารถแจ้งให้ทราบล่วงหน้าได้ไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง ก่อนที่พายุจะมาถึง ฉะนั้น สัญญาณเตือนภัยจึงมีความจำเป็นมากที่ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เพื่อจะได้หาทางป้องกันหรือลดภัยพิบัตินั้นได้ทันท่วงที

    กรมอุตุนิยมวิทยา มีหน้าที่รับผิดชอบในการเฝ้าตรวจพยากรณ์อากาศ และเตือนภัยให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ในกรณีที่อากาศแปรปรวนหรือลักษณะอากาศเลวร้าย จะออกคำเตือนในข้อความที่กะทัดรัด บ่งถึงชนิดของลักษณะอากาศ ขนาดความรุนแรงเกิดที่ไหน ทิศทางการเคลื่อนตัว ความเร็วถ้าเป็นพายุหมุน เวลาและสถานที่จะได้รับผลกระทบ ควรเตือนเป็นระยะๆ เพื่อประชาชนจะได้มีเวลาพอที่จะเตรียมการต่างๆ ได้ทันท่วงที ถ้าการเตรียมรับสถานการณ์เป็นไปอย่างมีระเบียบและสมรรถภาพแล้ว อันตรายและความสูญเสียจะลดลงไปอย่างมากมายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในประเทศต่างๆ อุทกภัยที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงนั้นเนื่องจาก
    A. ประชาชนในเขตอันตรายไม่ได้รับทราบข่าวสัญญาณเตือนอันตรายโดยทั่วถึงหรือข่าวล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์
    B. การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไม่เข้มแข็งเพียงพอ และไม่มีระเบียบและวิธีดำเนินการที่รัดกุมเหมาะสม
    C. เมื่อประชาชนได้รับทราบข่าวสัญญาณเตือนอันตรายแล้ว ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรไม่มีพาหนะในการขนย้าย จะขนย้ายก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน จึงปล่อยให้เป็นไปตามบุญตามกรรม

    ฉะนั้น ในการเตรียมการเพื่อต่อสู้กับอุทกภัยให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ จึงต้องวางแผนและวิธีการที่ได้เตรียมและซ้อมไว้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญที่สุดก่อนอื่นใดคือการออกประกาศคำเตือนอุทกภัยให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ให้มีระยะเวลาพอที่จะเตรียมรับสถานการณ์ได้ทัน ประกาศนี้ควรจะให้ถึงประชาชนโดยทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อยู่ในเขตอันตราย เช่น ริมฝั่งทะเล ริมแม่น้ำ และประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ในที่ห่างไกลจากชุมชนและเส้นทางคมนาคม
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การเตรียมรับสถานการณ์
    การเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย ควรได้ประสานงานระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเมื่อได้รับคำเตือนภัยว่าจะมีอุทกภัยเกิดขึ้น ประชาชนที่มีบ้านเรือนหรือทำการเพาะปลูกอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม ริมแม่น้ำ ริมคลอง หรือตามชายทะเลควรปฏิบัติดังนี้
    1. รีบอพยพจากบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำและชายทะเล ไปอยู่ในที่สูงหรือที่ปลอดภัย
    2. สำหรับอาคารบ้านเรือนและโรงงาน ถ้าสามารถขนย้ายสิ่งของไปอยู่ในที่ปลอดภัยได้สมควรกระทำ หรืออาจยกพื้นให้สูงเพื่อหนีน้ำ หรือทำคันดินหรือกำแพงกั้นน้ำรอบบริเวณ (ring dikes)
    3. พาหนะรถยนต์ ล้อเลื่อน หรือเครื่องใช้หนักและจมน้ำได้ต้องยกให้สูง พ้นน้ำ หรือใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร ผูกติดกัน ใช้กระดานปูทำเป็นแพบรรทุกรถยนต์ได้
    4. สัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ ควรนำไปผูกไว้ในที่สูง
    5. เตรียมกระสอบใส่ดินหรือทรายไว้ เพื่อเสริมคันดินกั้นน้ำให้สูงขึ้นหรือไว้อุดร่องน้ำได้
    6. เตรียมอาหาร แพ ไว้ใช้เป็นพาหนะเมื่อน้ำท่วมเป็นเวลานาน เพื่อช่วยอพยพและช่วยชีวิตได้เมื่อเกิดอุทกภัยร้ายแรง
    7. เตรียมเครื่องมือช่างไม้ ไม้กระดาน และเชือกไว้บ้าง สำหรับต่อแพเพื่อช่วยชีวิตในยามคับขัน เมื่อน้ำท่วมมากขึ้นจะได้ใช้เครื่องมือช่วยเปิดหลังคา รื้อฝ้า หรือฝาไม้ เพื่อใช้ไม้พยุงตัวในน้ำ
    8. เตรียมอาหารกระป๋องหรืออาหารสำรองไว้บ้าง พอจะมีอาหารรับประทานเมื่อน้ำท่วมเป็นเวลาหลายวัน
    9. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่มและใช้อุปโภค เมื่อน้ำท่วม น้ำสะอาดจะขาดแคลน ระบบประปาอาจชะงัก หากใช้น้ำบ่อย่อมไม่สะอาดพอ หากจำเป็นควรต้มให้เดือดเสียก่อน
    10. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์ไว้บ้างพอสมควร เช่น ยาแก้พิษสัตว์กัดต่อย อาทิ แมงป่อง ตะขาบ งู เป็นต้น เพราะสัตว์มีพิษจะหนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้านและหลังคา
    11. เตรียมเชือกไนลอนขนาดใหญ่ และยางไม่น้อยกว่า 10 เมตร ไว้บ้างเพื่อใช้ยึดเหนี่ยวไม่ให้ไหลลอยตามน้ำ แต่ถ้ามีแพหรือเรือก็ใช้เชือกผูกติดไว้กับต้นไม้ใหญ่จะอาศัยเกาะอยู่ที่แพได้
    การเตรียมการรับสถานการณ์ของฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
    จังหวัดที่ประสบอุทกภัยอยู่เสมอควรได้จัดตั้งเป็นคณะกรรมการประจำ ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการเหตุฉุกเฉิน (emergency council) มีหน้าที่วางแผนวางระเบียบวิธีการในการผจญภัยธรรมชาติ คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยบุคคลในหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายช่าง ฝ่ายโยธา เจ้าหน้าที่หน่วยคุ้มภัยหรือป้องกันสาธารณภัย หน่วยดับเพลิง ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายประชาสงเคราะห์ สภากาชาด มูลนิธิสงเคราะห์ผู้ประสบภัยธรรมชาติ คณะกรรมการชุดนี้มีการประสานงานจัดแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน หมั่นซักซ้อมและปรับปรุงวิธีดำเนินการให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
    การสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัย
    ขณะเกิดอุทกภัย คณะกรรมการฉุกเฉินต้องทำงานหนัก เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างดีที่สุด นับตั้งแต่ต้องมีการอพยพผู้คนหนีน้ำไปอยู่ในที่สูงเป็นจำนวนมาก จัดเลี้ยงอาหารแก่ผู้อพยพหนีภัย ให้การซ่อมแซมคันดิน แก้ไขสิ่งสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรเลข โทรศัพท์ ให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย เป็นต้น นับตั้งแต่วันเกิดอุทกภัยจนอุทกภัยผ่านพ้นไป งานสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัยต้องเริ่มตั้งแต่วันเกิดอุทกภัยเช่นกัน มีการแจกเสื้อผ้า อาหาร ก่อสร้างที่พักอาศัยเป็นการชั่วคราว มูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือให้ยืมเงินลงทุน โดยจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการกสิกรรม เมล็ดพันธุ์พืช เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยประกอบอาชีพเดิมต่อไปโดยเร็ว และมีการฉีดยาป้องกันโรคระบาดอย่างรีบด่วน เมื่อน้ำลด

    http://www.environnet.in.th/evdb/info/diaster/disaster03.html
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td class="contentheading" width="100%"> พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยของประเทศไทย </td> <td class="buttonheading" align="right" width="100%"> [​IMG] </td> <td class="buttonheading" align="right" width="100%"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    [​IMG]

    1. คลื่นพายุซัดฝั่ง คืออะไร คลื่นพายุซัดฝั่ง คือคลื่นซัดชายฝั่งขนาดใหญ่อันเนื่องมาจากความแรงของลมที่เกิดขึ้นจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง โดยปกติมีความรุนแรงมากในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร แต่บางครั้งอาจเกิดได้เมื่อศูนย์กลางพายุอยู่ห่างมากกว่า 100 กิโลเมตร ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุ และสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตลอดจนบางครั้งยังได้รับอิทธิพล เสริมความรุนแรงจากลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
    2. อะไรเป็นสาเหตุของคลื่นพายุซัดฝั่ง
    คลื่นพายุซัดฝั่ง ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนที่มีความแรงในระดับพายุโซนร้อนขึ้นไป ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง เช่น พายุโซนร้อน HARRIET ที่เกิดในระหว่างวันที่ 25-26 ตุลาคม 2505 ซึ่งได้ทำลายบริเวณชายฝั่งแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราชอย่างรุนแรง
    3. ฤดูกาลที่มักเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งในประเทศไทย
    เนื่องจากคลื่นพายุซัดฝั่ง เกิดจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งทะเล กรณีของประเทศไทย พายุหมุนเขตร้อนอาจก่อตัวในทะเลจีนใต้แล้วเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย หรือก่อตัวในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างโดยตรง เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนธันวาคม โดยมีพื้นที่ที่มีโอกาสการเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งในช่วงเดือนต่าง ๆ ดังนี้
    เดือนตุลาคม บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
    เดือนพฤศจิกายน บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และชายฝั่งภาคตะวันออก
    4. พื้นที่ใดที่มีความเสี่ยงภัยต่อคลื่นพายุซัดฝั่ง
    บริเวณที่มีความเสี่ยง และมีโอกาสเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งได้มากได้แก่ บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี จนถึงจังหวัดสงขลา รวมทั้งภาคตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จนถึงจังหวัดตราด

    5. ผลกระทบและความเสียหายเนื่องจากคลื่นพายุซัดฝั่งมีอะไรบ้าง
    สภาพพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลถูกทำลายอย่างรุนแรง ป่าชายแลนและหาดทรายถูกทำลายเป็นบริเวณกว้าง ต้นไม้ขนาดใหญ่โค่นล้ม ถนนชำรุดเสียหาย
    สิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่ง เช่น ท่าเทียบเรือ และหมู่บ้านชาวประมง เป็นต้น
    ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ชาวประมง นักท่องเที่ยว เป็นต้น
    แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทั้งตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น
    ขวัญและกำลังใจของชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว

    6. การเตรียมการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นซัดฝั่งควรปฏิบัติดังนี้
    สร้างแนวเขื่อนกั้นคลื่นพายุซัดฝั่ง ให้มีความแข็งแรงและสูงพอสมควร โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยมาก ๆ ต่อความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
    สิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งควรเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และถาวร
    ให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน และคลื่นพายุซัดฝั่งให้กับประชาชนที่อาศัยประกอบกิจการอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ตลอดทั้งแนวภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออก รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป
    เผยแพร่ความรู้ไปยังนักท่องเที่ยว โดยผ่านหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และโรงแรมต่าง ๆ ตามสถานที่ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล
    ติดตามข่าวอากาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน และเตือนภัยคลื่นพายุซัดฝั่งจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลเกิดพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้และอ่าวไทย
    ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล และหมู่บ้านชาวประมง ควรเพิ่มมาตรการเสริมความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูกาลเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง
    นำเรือไปหลบคลื่นในบริเวณที่อับลมหรือที่ปลอดภัย
    เคลื่อนย้ายทรัพย์สินไปอยู่ในที่ที่ห่างจากฝั่งทะเลพอสมควร
    มีการประสานงานติดต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวกับกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงของคลื่นพายุซัดฝั่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อวางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวและมาตรการป้องกันให้เหมาะสม
    มีมาตรการและแผนในการป้องกันและลดภัยพิบัติจากคลื่นพายุซัดฝั่ง อันหมาะสมทั้งระยะยาวและระยะสั้น

    http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=73
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ปี 2556 ระวัง 'สึนามิ' ถล่มอันดามันรอบ 2

    'รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน' นักธรณีวิทยา และนักเขียนอิสระ ที่มีผลงานหนังสือชื่อ 'คลื่นยักษ์ซึนามิ วิธีสังเกตและการป้องกัน' ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ภายใต้นามปากกา 'เจริญ ธนสถิตกุล วท.บ.(ธรณีวิทยา)' ได้ออกมาตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งพยากรณ์ถึงความ 'เสี่ยง' ที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย อาจโดนซ้ำเติม จากภัยพิบัติคลื่นยักษ์ครั้งใหม่ ในอีกประมาณ 8 ปี ข้างหน้า

    พร้อมทั้งอ้างอิงผลการรวบรวมข้อมูลจากสถาบันวิจัยแผ่นดินไหวในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่า มีข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในทะเลอันดามัน ถึง 2 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 11 กันยายน 2457 ระดับความสะเทือนวัดได้ 7.2 ริกเตอร์

    'วัฏจักรการเกิดสึนามิ ที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการคาดโดยเฉลี่ยเกิดทุก 80 ปี ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว มีข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้ว่าในปี 2556 ประเทศไทยอาจเกิดคลื่นยักษ์ซึนามิได้อีกครั้ง'

    'รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน' นักธรณีวิทยาเจ้าของนามปากกา 'เจริญ ธนสถิตกุล' ผู้เขียนหนังสือ 'คลื่นยักษ์ซึนามิ วิธีสังเกตและการป้องกัน' ตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2541 หรือในช่วงที่นายสมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอดีตรองปลัดกระทรวงคมนาคม ออกมาประกาศแจ้งเตือนภัยสึนามิเป็นครั้งแรก ได้ให้สัมภาษณ์ผ่าน 'กรุงเทพธุรกิจ'

    พร้อมกันนี้ เขายังตั้งข้อสันนิษฐานว่า ในอีก 8 ปีข้างหน้า ประเทศไทยมีโอกาสจะเผชิญภัยพิบัติจากสึนามิอีกครั้ง ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน

    'ข้อสันนิษฐานนี้เกิดจากการรวบรวมข้อมูลจากสถาบันวิจัยแผ่นดินไหวในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่า มีข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในทะเลอันดามัน ถึง 2 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 11 กันยายน 2457 ระดับความสะเทือนวัดได้ 7.2 ริกเตอร์ และครั้งที่ 2 วันที่ 16 พฤษภาคม 2476 ระดับความรุนแรง 6.5 ริกเตอร์'

    ดังนั้น เมื่อย้อนมาถึงหลักทางวิชาการเกี่ยวกับวัฏจักรการเกิดสึนามิ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการคาดไว้ว่าจะเกิดโดยเฉลี่ยทุก 80 ปีแล้ว หากคำนวณว่าจะเกิด 80 ปีต่อมา เท่ากับว่า นำปี 2457 บวก 80 ปี จะเกิดปี 2537 แต่เหตุการณ์กลับมาเกิดปี 2547 คลาดเคลื่อนไป 10 ปี สันนิษฐานได้ว่า บริเวณเปลือกโลกอันดามันค่อนข้างหนา ทำให้เกิดช้ากว่าที่คาด ขณะที่ถ้าคำนวณการเกิดครั้งที่ 2 ปี 2476 บวก 80 ปี ก็จะเกิดสึนามิอีกครั้งปี 2556

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีใครที่ระบุได้ว่ารอยเลื่อนของเปลือกโลกจากแผ่นดินไหวทั้งสองครั้งในทะเลอันดามันนั้น เป็นรอยเลื่อนเดียวกันหรือไม่ หากเป็นรอยเลื่อนเดียวกัน ก็จะไม่เกิดสึนามิอีก แต่ถ้าเป็นรอยเลื่อนคนละรอยเลื่อนโอกาสที่จะเกิดในปี 2556 ก็จะมีสูง

    วิธีการคำนวณ หากเป็นรอยเลื่อนเดียวกันที่เกิดในทะเลอันดามัน เราจะหาค่าเฉลี่ย นำปีที่น่าจะเกิด 2537+2556 เท่ากับ 5093 หาร 2 เท่ากับปี 2546.5 ใกล้เคียงระหว่างปี 2546-2547 นั่นเอง นั่นหมายถึงการเกิดสึนามิได้เกิดขึ้นแล้ว

    อีกหนึ่งตัวอย่างหนึ่งที่เกาะปาปัวนิกินี ซึ่งเกิดสึนามิ 2 กรกฎาคม 2541 โดยได้เกิดขึ้นมาแล้วปี 2473 ดังนั้น ควรจะเกิดในปี 2553 เท่ากับว่า ปาปัวนิกินี เกิดเร็วขึ้นในปีที่ 68 ปี มีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อน ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า เปลือกโลกบริเวณนั้น 'บาง' ทำให้เกิดเร็วขึ้น

    ติงต่างชาติน่าจะแจ้งเตือน

    นายรุ่งวิทย์ กล่าวต่อว่า เป็นที่น่าประหลาดใจว่า หน่วยงานด้านการข่าวการเตือนแผ่นดินไหวของนานาชาติ ไม่ได้แจ้งข่าวให้ทันกับประเทศที่ประสบภัย ทั้งที่การเกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรง 8.9 ริกเตอร์ หรือ 9 ริกเตอร์ในบริเวณเกาะสุมาตรานั้น ถือว่า เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากในรอบศตวรรษที่ 21 ระดับความรุนแรงนี้เทียบเท่าระเบิดปรมาณูมากกว่า 30,000 ล้านลูก

    'ต่างชาติแจ้งเตือนไปในประเทศที่อยู่ในเครือข่ายของตนเอง และอ้างว่าไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับประเทศที่อยู่ในแนวแผ่นดินไหวได้ ซึ่งประเทศสหรัฐก็น่าจะสามารถแจ้งไปยังกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ และให้แจ้งไปยังสถานทูตของประเทศที่ประสบภัยได้ ข้ออ้างที่ว่าไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้ เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น' นายรุ่งวิทย์ ระบุ

    นักธรณีวิทยาขาดจิตสำนึกการตื่นภัย

    พร้อมกันนี้ เขายังให้ความเห็นว่า ประเทศไทย มีนักธรณีวิทยานับร้อยคน แต่โดยมากจะทำงานด้านเหมืองแร่ และปิโตรเลียม หาแหล่งขุดเจาะน้ำมัน ไม่ค่อยมีใครอยู่ในแวดวงนักวิชาการ โดยปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีและการพัฒนาทางวิชาการค่อนข้างดี แต่ยังขาดจิตสำนึกเรื่องการเตือนภัยการให้ความสำคัญความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นสำคัญ

    ดูได้ง่ายๆ จากเหตุการณ์ปี 2541 นอกจากอดีตอธิบดีสมิทธ ธรรมสโรช จะออกมาประกาศเตือนแล้ว ไม่มีนักวิชาการและนักธรณีวิทยาใดๆ ออกมาแจ้งเตือนเลย ทั้งที่ความรู้ที่ว่า บริเวณอันดามันมีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับปานกลาง ที่ความลึก 60-300 กิโลเมตร

    และมีจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวคาบสมุทรอันดามัน มากกว่า 2,000 จุด มีความถี่การเกิดแผ่นดินไหวในแนวชายฝั่งตะวันตกบ่อยครั้งมาก ซึ่งบริเวณเปลือกโลกใต้สมุทรของอันดามัน รอยเลื่อนในพื้นที่นี้ถือได้ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง มีการเคลื่อนไหวตลอด (Capable Fault) โอกาสเกิดแผ่นดินไหวจึงมีบ่อยครั้ง

    'เหตุที่นักวิชาการส่วนใหญ่อาจเชื่อว่า ไม่มีเหตุสึนามิในฝั่งอันดามัน เพราะไม่เคยมีบันทึกว่าเคยเกิดสึนามิในแถบนี้มาก่อน แต่การไม่เกิด ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้น และในอดีตอาจมีการเกิดสึนามิแล้ว แต่อาจไม่ได้มีการบันทึกไว้ เพราะวิทยาการอาจไม่ก้าวหน้ามากพอ'

    ส่วนตัวแล้วในฐานะที่เป็นนักธรณีวิทยาคนหนึ่ง เป็นรุ่นแรกที่เรียนวิชา 'ธรณีแปรสัณฐาน' (Tectonics) ที่ศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยาเกิดจากแรงขบวนการภายในโลกที่กระทำต่อเปลือกโลก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างของเปลือกโลกเมื่อ 30 ปีที่แล้ว สมัยเรียกภาควิชาวิทยาศาสตร์ เอกธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้อดไม่ได้ที่จะเขียนหนังสือแสดงข้อมูล

    'ช่วงปี 2541 คิดว่า การเขียนหนังสือครั้งนี้ อย่างน้อยหากมีคนอ่านหนังสือก็อาจจะช่วยคนให้รอดพ้นจากภัยพิบัติได้ เพราะเท่าที่มีข้อมูลนั้น โอกาสที่จะเกิดสึนามิในทะเลอันดามัน ความรุนแรงจะเหมือนหรือมากกว่าที่เกิดขึ้นในปาปัวนิวกินี แม้การเกิดสึนามิในปี 2547 นี้จะไม่ใช่ครั้งรุนแรงที่สุด เพราะคลื่นมีความสูง 5-6 เมตร แต่ก็เป็นครั้งที่สูญเสียมากที่สุดที่มีผู้เสียชีวิตนับแสนคน ซึ่งเกิดในพื้นที่ที่มีชุมชนหนาแน่นนั่นเอง' นายรุ่งวิทย์ กล่าว

    ส่วนแนวทางป้องกันของรัฐนั้น ต้องขึ้นกับความจริงจังของรัฐบาล โดยเมื่อปี 2541 รัฐบาลในเวลานั้นตัดงบประมาณ ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก แม้แต่งบศึกษารอยเลื่อนของเปลือกโลกก็ยังถูกตัด

    ทำไมน้ำต้องลดก่อนเกิดคลื่นยักษ์

    นายรุ่งวิทย์ กล่าวอธิบายถึงปรากฏการณ์น้ำทะเลลดลงทันที ก่อนที่เกิดคลื่นยักษ์นั้น เนื่องจากรอยเลื่อนของเปลือกโลกบริเวณที่เกิดรอยแยกมีช่องว่างเกิดขึ้น น้ำทะเลก็ไหลไปรวมกันในช่องว่างที่เกิดขึ้น เมื่อไปกระทบกับแม็กม่าที่อยู่ใต้เปลือกโลกแม็กม่าจะแข็งตัว ดันน้ำขึ้นมาใหม่ กระจายเป็นคลื่นใต้ทะเลกระจายไปทั่ว ซึ่งเมื่อคลื่นกระจายไปถึงชายฝั่ง ทำให้แรงปะทะกลายเป็นคลื่นยักษ์ที่คร่าชีวิตคน ซึ่งบริเวณพังงาที่เกิดรุนแรงที่สุด ก็เนื่องจากเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลไม่มีปราการใดๆ

    'คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นทะเลทั่วไป แม้ในระดับความสูงของคลื่นที่เท่ากันแต่พลังต่างกันมาก โดยคลื่นทะเลทั่วไปจะเป็นแรงลมของผิวน้ำ แต่คลื่นสึนามิ เกิดจากคลื่นใต้ทะเล ทำให้มีมวลน้ำของมหาสมุทรมีความหนาแน่นกว่าแรงกว่า'

    (ล้อมกรอบ) /

    12 มาตรการป้องกันสึนามิ

    เท่าที่ได้ศึกษามาโดยเฉพาะจากญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์สึนามิบ่อยครั้ง มีแนวทางป้องกันดังนี้ 1.เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ขณะอยู่ในพื้นที่ติดชายทะเล ต้องระลึกเสมอว่าอาจมีคลื่นยักษ์ตามมา

    2.สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมากหลังเกิดแผ่นดินไหว ให้ตั้งข้อสังเกตว่าเกิดสึนามิได้ และอพยพคนและสัตว์เลี้ยงให้เร็วที่สุด 3.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดที่ท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกกลางทะเล เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก

    4.คลื่นสึนามิเกิดได้หลายระลอก จากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เพราะมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอสักระยะหนึ่ง หรือฟังประกาศของเจ้าหน้าที่ก่อนกลับลงไปชายหาด 5.ติดตามการเสนอข่าวทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

    6.กรณีที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ เพื่อลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยสึนามิ 7.วางแผนในการซ้อมรับภัยคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่การอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น

    8.หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง 9.จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม ย่านที่อยู่อาศัยควรห่างจากฝั่ง และ 10.ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว ควรมีการฝึกซ้อมรับภัยเป็นครั้งคราว

    11.คลื่นสึนามิที่บริเวณหนึ่งมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่มาก ดังนั้น เมื่อได้ยินข่าวการเกิดสึนามิขนาดเล็กในอีกที่หนึ่ง อย่าประมาทในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ 12.อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้ว ไม่สามารถหลบได้ทัน อันตรายมาก

    สัมภาษณ์พิเศษ

    โดย : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 6/01/2005
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    " ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิที่เรายังไม่ทราบกันและควรรับทราบไว้ "

    ๑. ไม่จำเป็นเสมอไปที่ว่าก่อนเกิดสึนามิแล้วต้องเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลลดระดับลงอย่างรวดเร็ว

    ปรากฏการณ์เปลือกโลกยุบตัวลงที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวแล้วตามมาด้วยสึนามินั้น แนวเปลือกโลกมีอยู่สองแนว แนวที่เปลือกโลกยุบตัวลงกับแนวเปลือกโลกที่ไม่ได้ยุบตัวลง รายการนำเสนอภาพกราฟฟิกอธิบายเหตุการณ์สึนามิในทะเลอันดามันว่า ที่แนวชายฝั่งในเขตไทยเกิดมีปรากฏการณ์น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็วก่อนมีสึนามินั้นเป็นเพราะฝั่งไทยนั้นเปลือกโลกยุบตัวลง ในขณะที่ฝั่งศรีลังกาเปลือกโลกไม่ได้ยุบตัวลง แต่รอยต่อของเปลือกโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนตัวนั้น ตามมาด้วยการเกิดคลื่นขนาดใหญ่ทั้งสองฝั่งของเปลือกโลก ดังนั้นในฝั่งศรีลังกาจึงไม่เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็วอย่างในไทยก่อนเกิดสึนามิ อยู่ๆก็มีคลื่นยักษ์เกิดขึ้นในศรีลังกาทันที

    ดังนั้นการใช้หลักการสังเกตง่ายๆว่าน้ำทะเลที่ลดลงอย่างรวดเร็วเป็นเครื่องหมายของการเกิดสึนามิตามมาอย่างเดียวอาจจะไม่ถูกต้องนัก จริงอยู่ระดับน้ำทะเลที่ลดลงอย่างรวดเร็วเป็นเครื่องหมายเตือนภัยว่าอาจจะเกิดสึนามิ
    แต่กรณีสึนามิที่เกิดขึ้นในศรีลังกาอธิบายได้ว่าบางครั้งระดับน้ำทะเลที่ไม่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วก็เกิดสึนามิได้เช่นกัน

    ๒. ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวไม่ได้เป็นเครื่องหมายว่าระดับความแรงของสึนามิต้องรุนแรงตามระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว

    ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหววัดตามมาตราริกเตอร์ เริ่มจากระดับ ๑-๑๐

    ระดับความรุนแรงขนาด ๑-๒ ตามมาตราริกเตอร์นั้น ทำให้ข้าวของภายในบ้านสั่นโยกไปมา สายไฟฟ้าโยกตามแรงสั่นสะเทือนของเปลือกโลกที่เคลื่อนไหว (เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้บ่อยมากในญี่ปุ่น เป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นทุกปี ผมอยู่ในญี่ปุ่นเจอเหตุการณ์สั่นไหวระดับนี้ทุกปี เฉลี่ยปีละ ๒-๓ ครั้ง---ขณะที่พิมพ์ข้อความอยู่ตอนนี้ก็เกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นพอดีครับ นี่เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในย่านที่ผมอาศัยอยู่เป็นครั้งที่สองในเดือนนี้ครับ :) ระดับความแรงน่าจะอยู่ระดับนี้ ---, ในไทยเองเวลาเกิดแผ่นดินไหวซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในเขตประเทศเมียนมาร์ที่ผ่านๆมาก็เกิดการสั่นสะเทือนในระดับความแรงขนาดนี้ )

    ระดับความแรงขนาด ๓-๔ ความแรงมากขึ้น ของในบ้านอาจจะร่วงลงมาได้ ถ้าระดับความแรงขนาดนี้คงต้องรีบไปหลบใต้โต๊ะดีกว่าเพราะของอาจจะร่วงลงมาอาจจะกระแทกศีรษะได้ ดังนั้นจึงควรหาที่ปลอดภัย คลานหลบเข้าไปอยู่ใต้โต๊ะถือว่าปลอดภัยกว่า ที่ปลอดภัยที่สุดในบ้านอาจจะเป็นห้องน้ำภายในบ้านเพราะไม่มีของหนักแขวนอยู่ที่อาจจะร่วงลงมาใส่ศีรษะได้

    ระดับ ๕-๖ ความแรงระดับนี้สามารถทำให้เสาไฟฟ้า ต้นไม้โค่นลงมาได้ รวมถึงทำให้บ้านเรือนพังทลาย อาคารถล่มลงมาได้ กระจกจะแตกลงมา คนที่ตื่นตระหนกมากๆรีบวิ่งออกมาจากอาคารตอนเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว อาจจะได้รับบาดเจ็บจากเศษวัสดุที่ร่วงลงมาหรือเศษกระจกที่แตกร่วงลงมาตัดแขนขาได้ ระดับความแรงที่ใหญ่ขนาดนี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆทั่วโลก รวมทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นระยะ ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ในจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวจะมีระดับความแรงมากกว่าพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกมา ตัวอย่างการเกิดแผ่นดินไหวในเขตจังหวัดนีอิกาตะ ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียวเมื่อปีที่แล้วในระดับ ๕-๖ เนื่องจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ในเขตชนบท ไม่มีตึกสูง ผู้คนอยู่กระจัดกระจาย ความเสียหายจึงน้อยกว่าการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ มีอาคารสูงมากๆ ผู้คนอยู่แออัด ตอนเกิดแผ่นดินไหวที่นีอิกาตะเมื่อปีที่แล้วระดับความแรงที่เกิดขึ้นในโตเกียวที่อยู่ห่างออกมาจากนีอิกาตะร่วม ๒๐๐ กว่ากิโลเมตรจึงอยู่ที่ระดับ ๓-๔ ตามมาตราริกเตอร์ ในขณะที่ผู้คนในเขตคันไซ (โอซาก้า, เกียวโต, วากายาม่า, นารา) ที่อยู่ห่างออกไปทางตอนใต้ของโตเกียวราวๆ ๖๐๐ กิโลเมตรไม่ได้รับรู้ถึงการสั่นสะเทือนตอนที่เกิดแผ่นดินไหวที่นีอีกาตะ

    ระดับ ๗ ขึ้นไป ถือว่ารุนแรงมาก ตัวอย่างแผ่นดินไหวในโกเบเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในเขตชุมชนหนาแน่น มีอาคารสูง ดังนั้นความเสียหายจึงรุนแรงมาก เหตุการณ์สึนามิในทะเลอันดามันระดับความรุนแรงที่ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวก็อยู่ที่ระดับ ๙

    จากสถิติของการเกิดสึนามิในญี่ปุ่นที่รายการเมียวอันนำมาเสนอ บางครั้งเกิดแผ่นดินไหวศูนย์กลางอยู่ในชิลี ประเทศในอเมริกาใต้ ระดับความแรงเพียง ๕ แต่เกิดสึนามิในญี่ปุ่นคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก หรือระดับความแรงเพียง ๓ ก็เกิดคลื่นยักษ์เข้ามาคร่าชีวิตผู้คนในอดีตเหมือนกัน ดังนั้นระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวไม่ได้เป็นเครื่องหมายว่าระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวน้อยแล้วความรุนแรงของสึนามิต้องน้อยตามไปด้วย

    ๓. ระดับความสูงของคลื่นสึนามิขนาด ๕๐ เซ็นติเมตร ควรจะหนีไหม?

    หลายๆคนชอบคิดแบบเทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยเอาความสูงของคลื่นทั่วๆไปในทะเลขนาดความสูงของคลื่น ๕๐ เซ็นติเมตรเป็นมาตรฐานว่าคงไม่มีอันตรายอะไร ไม่จำเป็นต้องหนี

    แต่ข้อเท็จจริง ความยาวของคลื่นสึนามิยาวถึง ๑ กิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วๆไปมีความยาวอยู่ระหว่าง ๑-๒ เมตร ดังนั้นแม้ว่าระดับความสูงของคลื่นธรรมดากับคลื่นยักษ์สึนามิจะสูงเท่ากันที่ระดับ ๕๐ เซ็นติเมตร ระดับความรุนแรงจึงต่างกันมาก รายการได้ทำการทดลองวัดระดับความรุนแรงของคลื่นสึนามิขนาด ๕๐ เซ็นติเมตรในห้องทดลองมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าระดับความรุนแรงมากกว่าคลื่นธรรมดาที่สูงในระดับ ๕๐ เซ็นติเมตรหลายเท่า

    นี่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิที่รายการเมียวอัน นำเสนอให้แก่คนดูรายการ

    หลายคนอาจจะมีคำถามตามมาว่า ทำไมทั้งๆที่รู้ว่าจะเกิดอันตรายจากสึนามิแต่ทำไมคนญี่ปุ่นจำนวนมากไม่ยอมหนีแม้จะรับทราบจากข่าวเตือนภัยจากทีวี (ปีที่แล้วมีข่าวเตือนภัยแจ้งทางทีวีทุกช่องว่าจะเกิดสึนามิในเขตวากายาม่า ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในเขตทะเลจังหวัดวากายาม่า แต่ผลการวิจัยพบว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ตื่นตัวที่จะหนีภัยแม้จะรับฟังข่าวเตือนภัยแล้ว)

    หลายคนคิดว่าหนีไม่ทันเพราะแก่แล้ว ร่างกายไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายไปไหน หรือ ฟังเรื่องเตือนภัยก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา ในเมื่อคนอื่นไม่ตื่นตระหนกหนีกันตัวเองก็ไม่หนี รายการเมียวอันพยายามชี้ให้ผู้ที่ร่วมรายการเห็นความสำคัญของการเตือนภัยและหนีภัยจากสึนามิมากกว่าใช้ข้ออ้างต่างๆนานามาเป็นเหตุผลในการเมินเฉยต่อภัยที่จะเกิดขึ้น และรายการพยายามเสนอแนวทางในการกระตุ้นให้คนตื่นตัวที่จะหนีภัยจากสึนามิ คนเรามักจะไม่ตื่นตัวถ้าไม่ได้รับการเตือนจากคนอื่น การมีคนคอยไปเคาะประตูตามบ้านเรียกให้หนีภัยช่วยทำให้คนตื่นตัวมากกว่านั่งฟังประกาศเตือนภัยจากทีวีเฉยๆ

    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิอีกอย่างก็คือ จริงอยู่แผ่นดินไหวไม่สามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ ภายหลังจากเกิดขึ้นแล้วภายใน ๒-๓ นาทีจึงทราบว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ไหน ระดับความแรงเท่าไหร่? แต่ทุกครั้งกรมอุตุนิยมวิทยาสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้าเสมอว่าระดับความแรงขนาดนี้จะตามมาด้วยการเกิดสึนามิหรือไม่ ทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น สถานีโทรทัศน์ทุกช่องในญี่ปุ่นจะมีตัวอักษรวิ่งหรือข่าวด่วนเรื่องแผ่นดินไหวทันที โดยจะแจ้งให้ทราบว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ไหน บริเวณใดบ้างที่เกิดแผ่นดินไหว ระดับความแรงเท่าไหร่ และตามมาด้วยจะมีสึนามิหรือไม่

    ความผิดพลาดที่เกิดสึนามิขึ้นในไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว จนเกิดความเสียหายตามมามากมายขนาดนี้ เป็นผลมาจากการขาดการประสานงานกันของทุกหน่วยงาน ไม่มีการให้ความรู้ที่ดีพอกับประชาชนเกี่ยวกับภัยธรรมชาติรวมถึงแนวทางหนีภัยธรรมชาติ ระบบเตือนภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพ และความประมาทของผู้คนที่ไม่เชื่อว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้นจริงไม่คิดเตรียมหาทางป้องกันถ้าเกิดภัยธรรมชาติขึ้น แต่ปล่อยให้ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นแล้วหาทางแก้ไขความสูญเสีย

    http://www.budpage.com/budboard/show_content.pl?b=1&t=5522
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ผลกระทบเชิงพื้นที่ เหตุการณ์แผ่นดินไหว,คลื่นยักษ์สึนามิในภูมิภาคเอเชียใต้
    ประเทศอินเดีย เกาะอันดามันและเกาะมัลดีฟท์

    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="6"><tbody><tr><td colspan="2" class="caption" align="center" valign="top">Satellite imagery of southeastern India, IRS-P4, IRS-P6, National Remote Sensing Agency, Government of India </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: smaller;" align="right" valign="top"> Additional post-tsunami imagery of the Andaman islands, Tamil Nadu, Kerala, and the Maldives </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P4 OCM, IRS-P6 AWiFs imagery
    26/12/2004
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    21/12/2004-26/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    21/12/2004-26/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    21/12/2004-26/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    21/12/2004-26/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    21/12/2004-26/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 L4 MX imagery
    12/01/2004-27/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 L4 MX imagery
    12/01/2004-27/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 L4 MX imagery
    12/01/2004-27/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 L4 MX imagery
    12/01/2004-27/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    18/12/2004
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    18/12/2004-28/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    18/12/2004-28/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    18/12/2004-28/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-P6 AWiFs imagery
    18/12/2004-27/12/2004, before and after tsunami
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-1D LISS-III imagery, 21/12/2004,
    IRS-1C LISS-III imagery, 30/12/2004,
    Car Nicobar Island
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-1D LISS-III imagery, 21/12/2004,
    IRS-1C LISS-III imagery, 30/12/2004,
    Car Nicobar Island
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-1D LISS-III imagery, 21/12/2004,
    IRS-P6 L4 MX imagery, 30/12/2004,
    Car Nicobar Island
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-1D LISS-III imagery, 21/12/2004,
    IRS-1C LISS-III imagery, 30/12/2004,
    Car Nicobar Island
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-1D LISS-III imagery, 21/12/2004,
    IRS-P6 L4 MX imagery, 30/12/2004,
    Car Nicobar Island
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-1D LISS-III imagery, 21/12/2004,
    IRS-1C LISS-III imagery, 30/12/2004,
    Car Nicobar Island
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] IRS-1D LISS-III imagery, 21/12/2004,
    IRS-P6 L4 MX imagery, 30/12/2004,
    Car Nicobar Island
    Courtesy National Remote Sensing Agency, Govt. of India.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: smaller;" align="right" valign="top"> Additional post-tsunami imagery of the Andaman islands and the Maldives </td> </tr> </tbody></table>


     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ผลกระทบเชิงพื้นที่ เหตุการณ์แผ่นดินไหว,คลื่นยักษ์สึนามิในภูมิภาคเอเชียใต้

    ประเทศศรีลังกา

    Images and/or Image Products Delivered Under the Charter

    <table border="0" cellpadding="3" cellspacing="6"><tbody><tr> <td colspan="2" style="font-size: smaller;" align="right" valign="top"> Additional post-tsunami imagery, Sri Lanka </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka
    90m resolution. Source: MNT USGS SRTM (3 arc seconds).
    Map produced 29/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Galle area
    90m resolution. Source: MNT USGS SRTM (3 arcseconds).
    Map produced 29/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Tangalle-Ampara area
    90m resolution. Source: MNT USGS SRTM (3 arcseconds).
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, lowlands of Tangalle-Ampara area
    90m resolution. Source: MNT USGS SRTM (3 arcseconds).
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, lowlands of Galle area
    90m resolution. Source: MNT USGS SRTM (3 arcseconds).
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Galle area
    Landsat 7, 14/03/2001. 30 m resolution.
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Galle area
    Landsat 7, 14/03/2001, 30 m resolution.
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Ampara area
    Landsat 7, 26/05/2001, 30 m resolution.
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Ampara area
    Landsat 7, 26/05/2001, 30 m resolution.
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Galle area, merged SPOT data, reference map
    10m resolution. Source: SPOT 4, 14/02/2000.
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Galle area, merged SPOT data, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 4, 11/02/2000
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Galle area, merged SPOT data, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 4, 14/02/2000
    Map produced 30/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Galle area, merged SPOT data
    10 m resolution. Source: SPOT 4, 14/02/2000
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Kumana area, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Kumana area, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Ampara - Pottuvil area, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Ampara - Pottuvil area, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Ampara - Pottuvil city, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Ampara - Pottuvil city, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td align="center" valign="top">Satellite map of Sri Lanka, Akkaraipattu, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Sri Lanka, Akkaraipattu, reference map
    10 m resolution. Source: SPOT 2, 08/02/2002
    Map produced 31/12/2004 by SERTIT.
    Higher resolution version </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Sri Lanka, Potentially Affected Area, east coast
    Source: Radarsat, 02/01/2005. Resolution: 12.5 m.
    Map produced 03/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version </td></tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Sri Lanka, Postdisaster Radarsat East coast
    Source: Radarsat, 02/01/2005. Resolution: 12.5 m.
    Map produced 03/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version</td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Sri Lanka, Radarsat Composite, Pottuvil
    Source: SPOT 2, 27/12/2002 and Radarsat, 02/01/2005. Resolution: 12.5 m.
    SPOT 2, 08/02/2002. Resolution: 10 m.
    Map produced 03/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version</td></tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Sri Lanka, Radarsat Composite, Panama Okanda
    Source: SPOT 2, 27/12/2002 and Radarsat, 02/01/2005. Resolution: 12.5 m.
    SPOT 2, 08/02/2002. Resolution: 10 m.
    Map produced 03/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version</td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Sri Lanka, Radarsat Composite, Akkaraipattu
    Source: SPOT 2, 27/12/2002 and Radarsat, 02/01/2005. Resolution: 12.5 m.
    SPOT 2, 08/02/2002. Resolution: 10 m.
    Map produced 03/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version</td></tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Sri Lanka
    Post-disaster ENVISAT ASAR data. Map produced 04/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version</td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Eastern Sri Lanka
    Post-disaster ENVISAT ASAR data. Map produced 04/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version</td></tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map, East Coast.
    Post-disaster ENVISAT ASAR data, 14/08/2004, 01/01/2005, 04/01/2005. Map produced 04/01/2005 by SERTIT
    Higher resolution version</td> <td>
    </td> </tr> <tr><td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]

    Dendron Poster: Sri Lanka
    Higher Resolution Version </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: smaller;" align="right" valign="top"> Additional post-tsunami imagery, Sri Lanka</td></tr></tbody></table>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    Images and/or Image Products Delivered Under the Charter

    <table border="0" cellpadding="3" cellspacing="6"> <tbody><tr> <td colspan="2" style="font-size: smaller;" align="right" valign="top">Post-disaster imagery, damage assessment maps, video sequences</td></tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: smaller;" align="right" valign="top">Sumatra post-disaster imagery and damage assessment maps</td></tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Thailand Khao Lak north, Scale 1:12500
    Ikonos images, 30/01/2003 and 29/12/2004,
    before and after the devastating tsunami. Scale 1:12.500
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    Ikonos imagery provided through Center for Remote
    Imaging, Sensing and Processing, Space Imaging.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Thailand Khao Lak, Scale 1:100,000
    Landsat imagery, 15/01/2002. Scale 1:100,000
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Thailand Phuket, Scale 1:75,000
    Landsat imagery, 15/01/2002.
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Indonesia aceh, Scale 1:75,000
    Landsat imagery, 08/05/2000
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Indonesia Aceh, Scale 1:5000
    Ikonos images, 30/01/2003 and 29/12/2004,
    before and after the devastating tsunami. Scale 1:12.500
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    Ikonos imagery provided through Center for Remote
    Imaging, Sensing and Processing, Space Imaging.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Indonesia Aceh, Scale 1:5000
    Ikonos images, 30/01/2003 and 29/12/2004,
    before and after the devastating tsunami. Scale 1:12.500
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    Ikonos imagery provided through Center for Remote
    Imaging, Sensing and Processing, Space Imaging.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Indonesia Aceh, Scale 1:5000
    Ikonos images, 30/01/2003 and 29/12/2004,
    before and after the devastating tsunami. Scale 1:12.500
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    Ikonos imagery provided through Center for Remote
    Imaging, Sensing and Processing, Space Imaging.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Indonesia Aceh, Scale 1:5000
    Ikonos images, 30/01/2003 and 29/12/2004,
    before and after the devastating tsunami. Scale 1:12.500
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    Ikonos imagery provided through Center for Remote
    Imaging, Sensing and Processing, Space Imaging.
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Indonesia, Medan, Scale 1:75,000
    Landsat images, 02/02/2002, 22/02/2001, and 14/05/2001.
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Medan Region, Scale 1:75,000
    Landsat imagery, DLR SRTM elevation data.
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Medan , Scale 1:75,000
    Ikonos images, 30/01/2003 and 29/12/2004,
    before and after the devastating tsunami. Scale 1:12.500
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    Ikonos imagery provided through Center for Remote
    Imaging, Sensing and Processing, Space Imaging.
    High resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Medan, Scale 1:75,000
    Landsat imagery, archived data.
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] Medan, Scale 1:75,000
    Landsat images, 02/02/2002, 22/02/2001, and 14/05/2001.
    Map created 30 December 2004 by zki@dlr.de
    German Remote Sensing Data Centre, DLR - German Aerospace Center
    High resolution version
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="caption" align="center" valign="top"> Tsunami Aftermath: Banda Aceh, Indonesia - QuickBird Imagery 28 December, 2004, Digital Globe
    PDF Version (1.2 MB) </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Coverage, 28 December 2004
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 28 December 2004
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 28 December 2004
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 28 December 2004
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 6 June 2004
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 28 December 2004
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 23 June 2004
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 28 December 2004
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 23 June 2004
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 28 December 2004
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 23 June 2004
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG] QuickBird Image, 28 December 2004
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center" valign="top"> UNOSAT Satellite Maps </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top"> Elevation map of Banda Aceh region, scale: 1:200,000.
    Source: GLCF, JPL, Global Insight. Elevation data: SRTM (3 arc seconds). Shows coastal areas under 30 meters elevation. Map produced 28/12/2004 by UNOSAT. </td> <td class="caption" align="center" valign="top"> Satellite map of Banda Aceh region, scale: 1:200,000.
    Source: GLCF, JPL, Global Insight. Landsat ETM data acquired 8 May 2000, bands 7/4/2, 28 m resolution Elevation data: SRTM (3 arc seconds). Shows coastal areas under 30 meters elevation. Map produced 28/12/2004 by UNOSAT. </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top"> Population density map of Banda Aceh region, scale: 1:200,000.
    Source: GLCF, JPL, Global Insight. Elevation data: SRTM (3 arc seconds). Population data: LandScan 2002. Shows coastal areas under 30 meters elevation. Map produced 28/12/2004 by UNOSAT. </td> <td class="caption" align="center" valign="top"> Elevation map of Phuket Island, scale: 1:100,000.
    Source: GLCF, JPL, USGS, Global Insight. Elevation data: SRTM (3 arc seconds). Shows coastal areas under 20 meters elevation. Map produced 29/12/2004 by UNOSAT. </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top"> Satellite map of Phuket Island, scale: 1:100,000.
    Source: GLCF, JPL, Global Insight. Landsat ETM data acquired 8 Jan 2002, bands 7/4/2, 28 m resolution Elevation data: SRTM (3 arc seconds). Shows coastal areas under 20 meters elevation. Map produced 29/12/2004 by UNOSAT. </td> <td class="caption" align="center" valign="top"> Population density map of Island, scale: 1:100,000.
    Source: GLCF, JPL, Global Insight. Elevation data: SRTM (3 arc seconds). Population data: LandScan 2002. Shows coastal areas under 20 meters elevation. Map produced 29/12/2004 by UNOSAT. </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Coast Landsat ETM
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version

    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Banda-aceh ETM_
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Coast Landsat ETM
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Coast Landsat ETM
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Coast Landsat ETM
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Coast Landsat ETM
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Coast Landsat ETM
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Coast
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Elevation at 200 dpi
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Aceh Etm
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; Landsat.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Banda Aceh Damage
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; SPOT 5.
    Map produced 01/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Banda Aceh Damage
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; SPOT 5.
    Map produced 30/12/2004 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Satellite map of Banda Aceh Damage
    Sources: GLCF, JPL, Global Insight; SPOT 5.
    Map produced 30/12/2004 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top"> [​IMG]

    Satellite map of Phuket Envisat MERIS RGB Overview 27 December 2004
    Sources: ESA; Envisat MERIS.
    Map produced 04/01/2005 by UNOSAT
    Higher resolution version
    </td> </tr> <tr> <td class="caption" align="center" valign="top">[​IMG]
    Dendron Poster: Sumatra
    Higher resolution version
    </td> <td class="caption" align="center" valign="top"> [​IMG]

    Dendron Poster: Banda Aceh
    Higher resolution version
    </td> </tr> </tbody></table> Post-disaster imagery, damage assessment maps, video sequences
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    กลไกการเกิดสึนามิ
    [​IMG]
    คลื่นทะเลโดยทั่วไปเกิดจากกระแสลม (หรือพายุ) ที่พัดเหนือผิวน้ำ ทำให้ผิวน้ำเคลื่อนไหวเกิดเป็นคลื่นหลายลูกวิ่งตามต่อเนื่องกันไป คลื่นที่เกิดจากลมพัดนี้แต่ละลูกอยู่ห่างกันไม่มากนัก (ภาษาวิชาการเรียกว่า ความยาวคลื่นสั้น) และวิ่งผ่านจุดจุดหนึ่ง หรือพุ่งเข้ากระทบฝั่งค่อนข้างถี่ (เช่น ทุกๆ ๑๐ วินาที)
    แต่สึนามิเกิดจากเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามที่ทำให้มวลของน้ำในมหาสมุทรเกิดการขยับตัวอย่างรวดเร็วในแนวดิ่ง เช่น แผ่นเปลือกโลกเบียดเข้าหากัน (และทำให้เกิดแผ่นดินไหว) ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด แผ่นดินถล่ม รวมทั้งอุกกาบาตพุ่งชน แต่สึนามิส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้ำ ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ ๖.๓ ริคเตอร์ขึ้นไป
    การขยับตัวในแนวดิ่งของน้ำที่ถูกรบกวนทำให้เกิดสึนามิวิ่งออกไปโดยรอบอย่างรวดเร็ว (โปรดดูกรอบ 'ฟิสิกส์ของสึนามิ') ทั้งนี้ สึนามิมีความยาวคลื่นยาวมาก (ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ กิโลเมตร) ซึ่งหมายความว่าคลื่นแต่ละลูกที่อยู่ติดกันอาจจะวิ่งผ่านตำแหน่งหนึ่งๆ ห่างกันนานถึง ๑๐-๒๐ นาที (หรือถึง ๑ ชั่วโมง) และในขณะที่อยู่ในมหาสมุทรจะเคลื่อนไปใต้ผิวน้ำ โดยจะทำให้น้ำกระเพื่อมขึ้นลงไม่มากนัก (แค่ ๑-๒ เมตร) ดังนั้น เรือที่อยู่ในทะเลจึงอาจจะไม่ได้รับอันตราย แถมอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีคลื่นนี้วิ่งผ่านไป สึนามิในมหาสมุทรคล้ายกับเป็น "ยักษ์ใหญ่ใจดี"
    ในระหว่างที่คลื่นเคลื่อนที่ไปในมหาสมุทร สึนามิอาจจะลดความเร็วลงหากเคลื่อนผ่านบริเวณที่ลึกน้อยลง และเพิ่มความเร็วสูงขึ้นหากเคลื่อนผ่านบริเวณที่ลึก และอาจจะสะท้อนหรือหักเหเปลี่ยนทิศทางเมื่อกระทบกับเกาะแก่งต่างๆ อันเป็นธรรมชาติของคลื่นโดยทั่วไป
    เมื่อสึนามิเคลื่อนที่เข้าหาฝั่งซึ่งตื้นขึ้นเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ ช้าลง แต่ยอดคลื่นจะสูงขึ้นเนื่องจากพลังงานที่เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่หนึ่งหน่วยในเวลาเท่าๆ กันมีค่าคงที่โดยประมาณ (ภาษาวิชาการเรียกว่า ฟลักซ์ของพลังงาน หรือ energy flux มีค่าคงที่) หากแหล่งกำเนิดคลื่น (ซึ่งมักจะหมายถึงจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว) อยู่ห่างไกลออกไป คลื่นอาจจะสูงได้ราว 15 เมตร แต่หากแหล่งกำเนิดคลื่นอยู่ใกล้ชายฝั่งมาก คลื่นก็อาจจะสูงได้มากกว่า 30 เมตร
    [​IMG]
    อย่างไรก็ตาม ชายฝั่งแต่ละแห่งอาจจะได้รับผลกระทบแตกต่างกันไปขึ้นกับลักษณะทางกายภาพหลายประการ เช่น ชายหาดมีความลาดชันแค่ไหน มีแนวหินโสโครกหรือไม่ และบริเวณดังกล่าวเป็นปากแม่น้ำหรือไม่ เป็นต้น หากสึนามิไม่ถูกกีดขวางมากนัก ก็จะเปลี่ยนเป็น "ยักษ์ใหญ่ใจร้าย" พุ่งเข้ากวาดทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า
    น่าสนใจว่า ความลาดชันของชายฝั่งมีผลต่อรูปร่างของคลื่นที่พุ่งเข้ากระทบฝั่งด้วย โดยหากชายฝั่งมีความลาดชันต่ำ (เอียงน้อยๆ) รูปร่างของคลื่นจะมีลักษณะคล้ายภูเขาคือ เอียงขึ้นทางหนึ่งและลาดลงอีกทางหนึ่ง ยอดคลื่นจะค่อยๆ แตกกระจายเป็นฟองและรอกคลื่นเล็กๆ ต่อเนื่องกันไป เรียกว่า คลื่นหัวแตกยอดกระจาย (spilling breaker) แต่หากชายฝั่งชันมากขึ้น ยอดคลื่นจะวิ่งแซงล้ำหน้าลูกคลื่นไปแล้วม้วนปลาย คล้ายๆ กับที่เราเห็นนักโต้คลื่นฝรั่งเล่นตามชายหาด เรียกว่า คลื่นหัวแตกม้วนตัว (plunging breaker) อย่างไรก็ตามหากชายฝั่งมีความชันมากถึงจุดหนึ่ง ระลอกคลื่นรวมตัวกันจนมียอดสูงขึ้น แต่ยอดคลื่นจะไม่ม้วนตัวและไม่แตกกระจายเป็นฟองจนกว่าจะเข้าถึงหาด เรียกว่า คลื่นหัวแตกใกล้ฝั่ง (surging breaker)

    ปัจจัยทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสึนามิ
    หากมองภาพรวมทั่วโลก ในแต่ละปีจะเกิดสึนามิประมาณสองครั้งโดยเฉลี่ย ทั้งนี้บริเวณที่เกิดสึนามิมากที่สุดจะอยู่ในเขตที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด (ราว ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินไหวทั่วโลก) นั่นคือ แนวรอบแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก (Pacific Plate) ซึ่งเรียกว่า วงแหวนแห่งอัคคี (Ring of Fire หรือ Girdle of Fire) เนื่องจากเป็นแนวที่เกิดของภูเขาไฟใหญ่น้อยทั่วไป
    ภูเขาไฟที่เกิดขึ้นตามแนววงแหวนแห่งอัคคีนี้ เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเบียดตัวเข้าหากัน เช่น แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรชนกันเอง หรือชนกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป โดยแผ่นเปลือกโลกหนึ่งจะมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่งและจมลงสู่เปลือกโลกชั้นใน บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในลักษณะนี้จึงเรียกว่า เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิได้
    สำหรับสึนามิที่ถล่มภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันของไทยในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ นั้นเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวขนาด ๙.๐ ริคเตอร์ (เดิมระบุว่า ๘.๙ ริคเตอร์) ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งด้านตะวันตกทางเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเวลาเวลา ๗:๕๘:๕๐ น. (ตามเวลาในประเทศไทย) โดยจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ลึก ๑๐ กิโลเมตร ห่างจากเมืองบันดาอาเช่ประมาณ ๒๕๐ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑,๒๖๐ กิโลเมตร
    [​IMG] [​IMG]
    อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสถิติการเกิดแผ่นดินไหวและการเกิดสึนามิในแถบนี้ย้อนกลับไปราว ๑๐๐ ปี (ค.ศ.๑๙๐๐-๒๐๐๓) ก็จะทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดินไหวกับสึนามิชัดเจนขึ้น และอาจจะทำให้เข้าใจดียิ่งขึ้นว่า ทำไมในอดีตที่ผ่านมา (ประมาณ ๑๐๐ ปีเป็นอย่างน้อย) คนไทยแทบทุกคนจึงไม่เคยสนใจ (ยังไม่ต้องถึงขั้นเข้าใจ) เกี่ยวกับสึนามิแม้แต่น้อย
    ระบบเตือนภัยสึนามิ
    ประเด็นหนึ่งที่สงสัยและถามกันมากก็คือ ระบบเตือนภัยจากสึนามิมีหรือไม่ ? หากมี - ทำงานอย่างไร ? ลองมาดูข้อเท็จจริงเบื้องต้นกันก่อนดังนี้
    ในปี ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูงขนาด ๖-๙ เมตร ถล่มฮาวาย และทำให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง ๑๕๙ คน ภายหลังเหตุการณ์ครั้งนั้น สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งศูนย์ทำนายและเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิขึ้นสองแห่ง ได้แก่ ศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิแห่งแปซิฟิก (The Pacific Tsunami Warning Center - ย่อว่า PTWC) ซึ่งตั้งอยู่ที่หาดอีวา (Ewa Beach) ในฮาวาย และศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์แห่งอะแลสกา (The Alaska Tsunami Warning Center - ย่อว่า ATWC)
    [​IMG]
    ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๖๕ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ได้มีการพัฒนาระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิ (The Tsunami Warning System - ย่อว่า TWS) เพื่อเตือนสมาชิกที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จำนวน ๒๖ แห่ง เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รวมทั้งไทยด้วย โดยหัวใจของระบบนี้คือ ศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิแห่งแปซิฟิก PTWC ที่ฮาวาย ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อทำนายว่าจะมีคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวหรือไม่ และถ้ามีโอกาส ก็จะออกประกาศเตือนไปยังบรรดาสมาชิกในกลุ่ม โดยเน้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก (พูดง่ายๆ คือ ภายในวงแหวนแห่งอัคคีนั่นเอง)
    ทั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิแห่งแปซิฟิกจะใช้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบกัน เช่น สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานีที่ดำเนินการโดยศูนย์ PTWC เอง หรือโดยศูนย์เตือนภัยที่อะแลสกา (ATWC) รวมทั้งศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวแห่งชาติ (ของสหรัฐฯ) เป็นต้น
    [​IMG] [​IMG]
    แต่ที่ว่ามานี้เป็นข้อมูลทางด้านธรณีวิทยา เพราะถ้าจะวัดคลื่นสึนามิโดยตรงที่อยู่ในน้ำก็ต้องใช้ระบบประเมินและรายงานคลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรระดับลึก (Deep-ocean Assessment and Reporting of Tsunamis Mooring System - ย่อว่า DART sytem)

    รู้จักกับระบบ DART ซึ่งใช้ตรวจจับสึนามิ
    ระบบ DART ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดความกดดัน ณ พื้นทะเล (ลึกประมาณ ๖ กิโลเมตร) ซึ่งถูกถ่วงให้อยู่บนพื้นทะเลด้วยน้ำหนักราว ๓๒๗ กิโลกรัม และใกล้ๆ ผิวน้ำบริเวณนั้นจะมีทุ่นลอยซึ่งถูกผูกยึดอยู่กับสมอหนักราว ๓.๑ ตัน ข้อมูลความกดดันจากอุปกรณ์ที่พื้นทะเลจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์รับบนทุ่นลอยด้วยสัญญาณเสียง โดยทุ่นลอยติดต่อกับดาวเทียม GOES ซึ่งรับส่งสัญญาณกับสถานีภาคพื้นดินอีกต่อหนึ่ง
    ในปัจจุบัน มีระบบนี้ติดตั้งอยู่ที่นอกชายฝั่งรัฐอะแลสกาและรัฐออริกอนของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองแห่ง (และมีแผนติดตั้งเพิ่มเติมในอนาคต)
    ระบบเตือนภัยสึนามิที่ฮาวายนี้สามารถออกประกาศเตือนได้ภายใน ๑ ชั่วโมง หลังจากเกิดแผ่นดินไหว โดยชายฝั่งที่อาจจะได้รับผลกระทบจะต้องอยู่ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวไกลเกินกว่า ๗๕๐ กิโลเมตร ถึงจะสั่งอพยพประชาชนได้ทันการ (เพราะความเร็วของคลื่นสึนามิประมาณ ๗๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างที่กล่าวไปแล้ว) แต่หากเป็นระบบพิเศษอื่นๆ เช่น ในรัฐอะแลสกา ในตัวรัฐฮาวายเอง ญี่ปุ่น รัสเซีย และเฟรนช์โปลินีเชีย ก็อาจจะออกคำเตือนได้ภายใน ๑๐ นาที หากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ในระยะ ๑๐๐-๗๕๐ กิโลเมตรจากชายฝั่ง
    นอกจากนี้ ยังสามารถศึกษาสึนามิโดยการจำลองเหตุการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดแบบเวลาจริง (real-time measurement) ซึ่งจะช่วยในการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น จะเกิดสึนามิกระทบชายฝั่ง หรือเกาะแก่งต่าง ๆ ที่ไหน และเมื่อไร
    [​IMG] [​IMG]

    คุณควรทำตัวอย่างไรเมื่อเจอภัยสึนามิ

    * เมื่ออยู่ที่ชายฝั่ง หากรู้สึกถึงแผ่นดินไหว หรือได้รับสัญญาณเตือนภัยสึนามิ ให้ตั้งสติและหนีไปอยู่บนที่สูงและห่างออกไป (เช่น ในอาคารคอนกรีตหลายชั้นที่มั่นคง) อย่าเข้าไปหลบในอาคารที่อยู่ในที่ต่ำเป็นอันขาด)
    * หากอยู่ในเรือและมีเวลาเพียงพอ ให้หันหัวเรือออกไปยังน้ำลึก (อย่างน้อย ๑๐๐ ฟาทอม = ๑๘๓ เมตร โดยประมาณ)
    * ก่อนสึนามิจะมาถึงฝั่ง น้ำทะเลอาจจะสูงขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว นี่คือสัญญาณเตือนภัยที่มองเห็นได้ อย่าลงไปชมชายหาดเป็นอันขาด - จำไว้ว่า สึนามิพุ่งเข้าหาฝั่งเร็วเกินกว่าคนจะวิ่งหนีทัน !
    * ก่อนจะเกิดสึนามิขนาดใหญ่มักจะมีเสียงดังสนั่น (คล้ายเสียงเครื่องบินหรือรถไฟ) นำมาก่อน ดังนั้นหากเป็นช่วงเวลากลางคืนที่มองไม่เห็นทะเล นี่คือสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติที่ได้ยินได้
    * เนื่องจากสึนามิเป็นคลื่นที่มาเป็นขบวน ไม่ได้มาเพียงลูกเดียว ดังนั้นอย่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจนกว่าเหตุการณ์จะจบลงอย่างสมบูรณ์
    * หลังจากอาคารหรือบ้านเรือนโดนสึนามิถล่ม ให้ระวังว่าโครงสร้างอาจจะได้รับความเสียหายและอาจพังทลายลงมาได้

    ข้อเสนอเพื่อการป้องกันภัยสึนามิในอนาคต
    [​IMG]
    ในช่วงแรกหลังเกิดเหตุการณ์ใหม่ ๆ สื่อสารมวลชนได้นำเสนอความเห็นต่างๆ จากผู้รู้หลากหลายสาขา โดยความเห็นที่หลากหลายนี้สะท้อนมุมมองและความชำนาญในวิชาชีพของแต่ละท่าน ซึ่งพอจะประมวลเบื้องต้นเป็นตัวอย่างได้ดังนี้

    * เสนอให้ติดตั้งระบบและเครือข่ายเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ และมีการให้ความรู้ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความปลอดภัยให้แก่ประชาชน (นักวิทยาศาสตร์)
    * เสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร และให้จัดทำแผนที่ความเสี่ยงในการเกิดสึนามิ ในทำนองเดียวกับแผนที่แสดงความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวและดินถล่ม (วิศวกร)
    * เสนอให้มีการฝึกซ้อมการรับมือ และสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวัง (ผู้บริหารองค์กร)
    * เสนอให้มีการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น บริเวณไหนมีความเสี่ยงสูง ก็ไม่ควรเป็นแหล่งที่พักอาศัยหรือสถานที่ท่องเที่ยว (นักรัฐศาสตร์)
    ส่วนภาพที่ใหญ่กว่านั้น ยังมีผู้เสนอว่าควรมี "การสังคายนา" หรือ "ยกเครื่อง" ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทั้งมวลของประเทศเสียใหม่ เพราะหากเกิดเหตุเศร้าสลดขึ้นมา สิ่งที่สูญเสียไปย่อมไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้
    มหันตภัยคลื่นยักษ์ครั้งนี้ได้ให้บทเรียนและประสบการณ์กับเราหลายด้าน แต่ที่สำคัญก็คือ เราต้องเรียนรู้เพื่อแก้ไขและหาทางป้องกัน และไม่เฉยเมย (หรือหัวเราะเยาะใคร) หากมีคนเปิดประเด็น (ที่อาจจะเป็นไปได้) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยขึ้นมา แม้ประเด็นดังกล่าวนั้นจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยนิดเพียงใด หรือดูเหมือนจะไม่มีผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจโดยตรงก็ตามที
    [​IMG]

    แนะนำขุมทรัพย์ทางปัญญา
    ขอแนะนำเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสึนามิมีดังนี้
    * The Physics of Tsunamis : http://www.geophys.washington.edu/tsunami/general/physics/physics.html
    * West Coast & Alaska Tsunami Warning Center : http://wcatwc.gov/subpage1.htm
    * ระบบ DART : http://www.pmel.noaa.gov/tsunami/Dart/dart_ms1.html
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    สัญญาณอันตราย น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย

    นับเป็นข่าวร้ายของคนทั้งโลก เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ(National Snow and Ice Data Center–NSIDC) มหาวิทยาลัยโคโรลาโด ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยผลการศึกษาว่า แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติก ขั้วโลกเหนือกำลังละลายอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา

    เป็นผลทำให้แผ่นน้ำแข็งเกือบ 7 ล้านตารางกิโลเมตรหดตัวเหลือเพียง 5.32 ล้านตารางกิโลเมตร ลดลงไปประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือขนาดสองเท่าของรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก

    การละลายที่รุนแรงนี้เปิดเส้นทางเดินเรือ "Northwest Passage" เส้นทางซึ่งเชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียที่สร้างตำนานการผจญภัยของนักบุกเบิกซึ่งสูญเสียลูกเรือหลายคนในความพยายามแล่นเรือฝ่าแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนาและสภาพอากาศที่หนาวจัดเมื่อต้นศตวรรษที่ผ่านมา

    แผ่นน้ำแข็งอาร์กติกคือบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งอย่างน้อยที่สุด 15% น้ำแข็งจะเริ่มละลายในฤดูใบไม้ผลิ และจะละลายมากที่สุดในเดือนกันยายนซึ่งเป็นปลายฤดูร้อน และจะฟื้นคืนสภาพเป็นน้ำแข็งอีกครั้งในช่วงฤดูหนาว

    นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าปรากฏการณ์นี้มีความสำคัญต่อทุกคนบนโลกซึ่งกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบที่ตามมาหลายอย่าง เช่น พายุที่รุนแรงและความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ของโลก การละลายของธารน้ำแข็งที่ทวีปแอนตาร์กติกซึ่งทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

    ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ NSIDC และนาซาทำการศึกษาการลดลงของแผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมตั้งแต่ปี 1978 จนถึงเดือนกันยายน 2005 พวกเขาพบว่าแผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกลดลงในอัตราเร่งในช่วงปี 2002-2005 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการลดลงในช่วงเวลาก่อนหน้าปี 2002

    ข้อมูลจากดาวเทียมในช่วงปี 1979-2001 บ่งชี้ว่าอัตราการลดลงของแผ่นน้ำแข็งต่อทศวรรษมากกว่า 6.5% เพียงเล็กน้อย แต่ปี 2002 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 7.3% และปี 2005 ขยับขึ้นไปอีกเป็น 8%


    ในขณะที่ปริมาณน้ำแข็งที่คืนสภาพในช่วงฤดูหนาวของปี 2004-2005 มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    นอกจากนั้นยังพบว่า ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมาช่วงเวลาน้ำแข็งละลายในฤดูใบไม้ผลิเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติในบริเวณทางตอนเหนือของอลาสกาและไซบีเรีย และในปี 2005 ช่วงเวลาน้ำแข็งละลายทั่วอาร์กติกเร็วขึ้นถึง 17 วัน

    อุณหภูมิบริเวณอาร์กติกสูงขึ้นในสองทศวรรษที่ผ่านมาเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 50 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2005 สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก
    ประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส หรือ 3.6-5.4 องศาฟาห์เรนไฮต์

    จูเลียนเน สโตรเฟว นักวิทยาศาสตร์ของ NSIDC บอกว่า เมื่อดูจากปริมาณน้ำแข็งในปี 2005 จนถึงเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำแข็งน้อยกว่าในปี 2002 ซึ่งเป็นปีที่น้ำแข็งมีปริมาณน้อยที่สุดมานานกว่าศตวรรษ และว่า ถ้าน้ำแข็งลดลงในอัตราเช่นนี้ต่อไป จะไม่พบน้ำแข็งในฤดูร้อนของอาร์กติกอีกเลยก่อนสิ้นศตวรรษนี้

    ดร.มาร์ค เซอร์เรซ นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งของ NSIDC บอกว่า น้ำแข็งที่อาร์กติกมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคำอธิบายที่ดีที่สุดก็คือเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น

    นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า แนวโน้มการลดลงของน้ำแข็ง การไม่คืนสภาพของน้ำแข็ง การละลายที่เร็วขึ้นในช่วงดูใบไม้ผลิและอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเป็นฟีดแบ๊คต่ออินพุตของระบบซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ

    ฟีดแบ๊คที่สำคัญคืออุณหภูมิที่สูงขึ้น เซอร์เรซอธิบายว่า การลดลงของน้ำแข็งก็เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น และการลดลงของน้ำแข็งจะทำจะให้น้ำแข็งลดลงมากขึ้นไปอีก เพราะน้ำแข็งสีขาวสะท้อนรังสีหรือพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับไปยังอวกาศ ขณะที่น้ำทะเลสีเข้มในมหาสมุทรดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้มันจึงทำให้มหาสมุทรจะร้อนขึ้น เมื่อมหาสมุทรร้อนขึ้นก็ยากที่น้ำทะเลกลับคืนสภาพเป็นน้ำแข็งอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว


    ในที่สุดการสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ของโลกทั้งใบก็ลดลงด้วยขณะที่โลกดูดกลืนพลังงานมากขึ้น โลกก็จะร้อนขึ้น

    ผลกระทบจากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายได้เกิดขึ้นแล้วในระดับท้องถิ่น น้ำทะเลกำลังกัดเซาะชายฝั่งไซบีเรียและอลาสกาทำให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งต้องอพยพ ในขณะเดียวกันน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นดินก็กำลังละลายเช่นกัน ความแห้งแล้งอย่างยาวนานที่เกิดขึ้นในรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาก็อาจจะเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบกันอยู่

    นอกจากผลกระทบต่อมนุษย์แล้ว หมีขั้วโลกก็จะสูญพันธุ์ไปในเวลาไม่เกินศตวรรษนี้เพราะพวกมันอาศัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็ง

    สิ่งที่หลายคนอยากรู้ก็คือ การเกิดพายุเฮอร์ริเคน "แคทรีนา" และเฮอร์ริเคน "ริตา" ที่มีกำลังรุนแรงเชื่อมโยงกับการละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือซึ่งเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของความชื้นและลมหรือไม่

    ยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าทั้งสองปรากฏการณ์เกิดจากสาเหตุเดียวกันคือสภาวะโลกร้อนจาก "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าสภาวะโลกร้อนอาจเกิดจากจุดดำของดวงอาทิตย์

    โลกร้อนทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนอย่างไร? คำอธิบายมีอยู่ว่า พายุเฮอร์ริเคนเกิดในบริเวณที่อุณหภูมิสูง เรือนกระจกทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้นซึ่งก็เท่ากับว่าเติมเชื้อให้กับพายุเฮอร์ริเคนและทำให้มีกำลังแรงขึ้นด้วย

    ดร.คลอส วอลเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ของ NOAA"s Climate Diagnostics Center มหาวิทยาลัยโคโลราโด บอกว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2005 ก่อนที่พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาจะถล่มอเมริกาในวันที่ 29 สิงหาคม 2005 นั้น อุณหภูมิของผิวทะเลในอ่าวเม็กซิโกสูงที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่เคยเกิดเฮอร์ริเคนที่มีกำลังแรงระดับ 5 สองลูกซ้อนในฤดูเดียวกันและในที่เดียวกันอีกด้วย "มันเป็นเรื่องที่พิเศษมากที่มีเฮอร์ริเคนสองลูกที่มีความแรงระดับ 5 มาด้วยกันและจากที่เดียวกัน แต่น้ำทะเลทางตะวันตกของฟลอริดาร้อนจริงๆ และร้อนในระดับลึกด้วย เราวัดได้ 79 องศาฟาห์เรนไฮต์ที่ความลึก 150 เมตร"

    ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ความเชื่อมโยงระหว่างการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือกับการเกิดพายุเฮอร์ริเคน สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้ในขณะนี้ก็คือโอกาสที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงและมีจำนวนมากขึ้นในอนาคตมีสูงมาก

    ดร.เคอรี เอ็มมานูเอล นักฟิสิกส์ของเอ็มไอที เผยผลการวิจัยในวารสารเนเจอร์ฉบับเดือนสิงหาคม 2005 ว่า ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนเพิ่มขึ้นในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ความเสียหายที่เกิดจากอำนาจการทำลายล้างของพายุเฮอร์ริเคนทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกมีมากกว่าเกือบเท่าตัวกับที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1970 และพายุเฮอร์ริเคนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกก็มีกำลังเพิ่มขึ้นด้วย

    และล่าสุด ผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ ปิเตอร์ เว็บสเตอร์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร เจอร์นอล ไซนซ์ ฉบับเดือนกันยายน 2005 ระบุว่า จำนวนพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรซึ่งมีความรุนแรงระดับ 4-5 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในระหว่างปี 1990-2005

    สถิตินี้บอกแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต

    http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?aid=17803
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    คำแนะนำการป้องกันโรคและภัยที่เกิดขึ้นในภาวะน้ำท่วม

    -------------------------------------
    เนื่องจากได้เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภัยต่าง ๆ กรมแพทย์ทหารบกจึงขอแนะนำให้กำลังพลกองทัพบกและครอบครัวรู้จักโรคและภัยที่อาจเกิดขึ้นในภาวะน้ำท่วมรวมทั้งวิธีป้องกันดังต่อไปนี้
    1.โรคติดต่อทางเดินอาหาร ได้แก่โรคอุจจาระร่วง บิด ทัยฟอยด์ อาหารเป็นพิษและตับอักเสบจากไวรัสเอ กลุ่มโรคเหล่านี้ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป[​IMG]
    การป้องกัน น้ำท่วมเป็นน้ำที่อาจมีเชื้อโรคปนอยู่ จึงควรระวังอย่าให้เข้าปากและไม่ควรนำมาล้างภาชนะ ถ้วยชาม หรือผักผลไม้ ควรดื่มน้ำต้ม น้ำฝน หรือน้ำที่ใส่คลอรีนแล้วรับประทานอาหารสุกใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวัน
    ตอม ถ่ายอุจจาระในส้วมหรือในหลุมแล้วกลบ ไม่ถ่ายลงในน้ำ ขยะหรือของเสียที่เปียกแฉะควรใส่ถุงพลาสติกผูกให้แน่น แล้วทิ้งในถังรองรับ ล้างมือให้สะอาดหลังการถ่ายอุจจาระและก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
    หากมีอาการอุจจาระร่วงควรดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ( โออาร์เอส ) จนอาการเป็นปกติ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น มีไข้ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ควรปรึกษาแพทย์
    [​IMG]2.โรคผิวหนัง ที่สำคัญคือโรคน้ำกัดเท้าหรือเท้าเปื่อย ในระยะแรกผิวหนังอักเสบจากความเปียกชื้นและการระคายเคืองจากความสกปรก ต่อมาเมื่อผิวลอก เปื่อยนาน ๆ จะมีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อนี้เจริญงอกงามได้ดีบริเวณซอกผิวหนังที่อับชื้น อาการจะเริ่มด้วยตุ่มใสบริเวณง่ามเท้า มีอาการคันมากจนแตกเป็นแผล ซึ่งจะทำให้มีอาการอักเสบจากการติดเชื้อแทรกซ้อน
    การป้องกัน หลังจากย่ำน้ำแล้วควรล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งโดยเฉพาะตามง่ามเท้า อาจโรยด้วยแป้งฝุ่น ถ้าเป็นไปได้ควรสวมรองเท้ายางหุ้มข้อเมื่อจะ ย่ำน้ำ หากมีอาการเท้าเปื่อยควรทาด้วยขี้ผึ้งรักษาน้ำกัดเท้า หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
    3. ภัยจากสัตว์มีพิษกัดต่อย งูและสัตว์มีพิษต่าง ๆ เช่น แมลงป่อง ตะขาบ อาจหนีน้ำขึ้นมาบนบ้านโดยเฉพาะบริเวณที่มืด[​IMG]
    การป้องกัน หากย้ายสิ่งของหรือเดินในที่มืดหรือเวลากลางคืนต้องมีแสงสว่างพอและระวังเป็นพิเศษ ถ้าถูกสัตว์เหล่านี้กัดหรือต่อยควรรัดเหนือบริเวณแผลด้วย ผ้าหรือสายยางให้แน่นแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที คลายผ้าหรือสายยางที่รัดออกเป็นระยะๆ ทุก 10 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนบ้าง
    4.ภัยจากอุบัติเหตุ ที่พบบ่อย คือ
    4.1 ถูกวัตถุหรือของมีคมตำหรือบาด ได้แก่ หนาม ตะปู เศษแก้วหรือกระเบื้อง ทำให้มีบาดแผลและอาจติดเชื้อแทรกซ้อนได้
    4.2 อุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าดูด เมื่อร่างกายเปียกชื้นหรืออยู่ในที่ชื้น[​IMG]แฉะ กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างกายได้ หากน้ำท่วมถึงสวิตซ์หรืออุปกรณ์ ไฟฟ้า ทำให้ได้รับอันตรายถูกไฟฟ้าดูดถึงเสียชีวิตได้
    4.3 อุบัติเหตุจมน้ำ เนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็นหรือไม่ชำนาญ ทำให้จมน้ำตายได้
    การป้องกัน

    1.ขณะเดินในน้ำต้องระวังตัวอยู่เสมอ เพราะอาจถูกวัตถุหรือของมีคมตำหรือบาดได้ ถ้าเป็นไปได้ควรสวมรองเท้ายางหุ้มข้อ หากมีบาดแผลควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดเพื่อให้สิ่งสกปรกหรือวัตถุแปลกปลอมภายในแผลออกให้มากที่สุด แล้วใส่แผลด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือยาแดง ถ้าเป็นแผลใหญ่หรือเลือดออกมากต้องรีบไปพบแพทย์และควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักทุกราย
    2.ทำการตัดกระแสไฟฟ้าที่แผงสวิตซ์รวมก่อน และดำเนินการย้ายสวิตซ์ ปลั๊ก และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากระดับน้ำ ห้ามต่อสายไฟและจับต้องปลั๊ก ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะที่ยืนอยู่ในน้ำ หรือขณะที่ตัวยังเปียก
    3.ผู้ที่ว่ายน้ำไม่ชำนาญหรือเด็กเล็กไม่ควรเล่นน้ำตามลำพัง
    5.เลปโตสไปโรซิส เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของตับและไต ผู้ป่วยจะมีอาการ
    ไข้ ปวดกล้ามเนื้อน่องมาก ตาแดง ต่อมามีอาการตัวเหลือง และอาจบวมบริเวณหลังเท้าและหนังตา ติดต่อโดยเชื้อโรคที่ผ่านมากับปัสสาวะหนูลงไปในน้ำแล้วไชเข้าผิวหนัง
    การป้องกัน เมื่อจะย่ำน้ำควรสวมรองเท้ายางหุ้มข้อ กำจัดหนูที่เป็นพาหะนำโรค ถ้ามีอาการของโรคนี้ควรรีบไปพบแพทย์
    6.โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ติดต่อโดยการ
    หายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยเข้าไป หรือใช้สิ่งของภาชนะร่วมกับผู้ป่วย ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย ตรากตรำ และอยู่รวมกันอย่างแออัด จะมีโอกาสติดเชื้อและป่วยเป็นโรคนี้ได้ง่าย ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย อาจมีอาการไอร่วมด้วย
    การป้องกัน ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงและอบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปียกชื้นนานเกินไป
    [​IMG] 7. โรคตาแดง เกิดจากน้ำที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่เข้าตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการตาแดง ปวดแสบตา น้ำตาไหลมาก
    การป้องกัน เมื่อน้ำสกปรกเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาด เนื่องจากเชื้อโรคจะอยู่ในน้ำตา ขี้ตา และน้ำมูกของผู้ป่วย จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ที่ อาจปนเปื้อนเชื้อร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์[​IMG]











    คำแนะนำในการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็น

    สื่อสำหรับผู้ประกอบการค้า

    ภายหลังภาวะน้ำท่วม

    1. สวมใส่ถุงมือยาง และใช้อุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ เช่น ผ้ากันเปื้อน รองเท้ายาง เป็นต้น
    2. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณทั่วไปของสถานที่ปรุง ประกอบอาหารที่ถูกน้ำท่วม
    3. ล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคภาชนะอุปกรณ์ทุกชนิด ก่อนที่จะนำมาใช้ปรุงอาหาร
    4. ไม่นำภาชนะอุปกรณ์ เช่น ช้อน/เขียงไม้ ภาชนะพลาสติกบางชนิด ที่อาจดูดซับความสกปรกหรือเชื้อโรค ดูดซึมน้ำไว้ในระหว่างน้ำท่วมมาใช้
    5.ไม่นำอาหารสดพวกเนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ไข่ ผักสด อาหารกระป๋อง/อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท อาหารที่บรรจุในภาชนะแก้ว กระดาษ เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ที่ชำรุดเสียหายจากการถูกน้ำท่วมมาบริโภค
    6.อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิทที่ไม่เสียหายจากน้ำท่วม และยังมีฉลากแสดงรายละเอียดของอาหารอาจนำมาใช้บริโภคได้ แต่จะต้องล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคภาชนะบรรจุภายนอกก่อนนำมาใช้
    7. สารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค คือ คลอรีน โดยต้องผสมตามสัดส่วน ที่เหมาะสมตามประเภทและชนิดของอาหาร

    คำแนะนำในการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อสำหรับประชาชนภายหลังภาวะน้ำท่วม


    1. ทำความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้กับอาหารด้วยน้ำสะอาด และใช้น้ำปูนคลอรีนฆ่าเชื้อโรค
    2. อาหารสดพวกเนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ไข่ ผักสด ต้องปรุงสุกด้วยความร้อน
    3. อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท เช่น อาหารกระป๋องที่ไม่เสียหายจากน้ำท่วมต้องดูให้แน่ใจว่าไม่หมดอายุให้ดูวัน เดือน ปี ที่ผลิต/หมดอายุ กระป๋องไม่บวม หรือเป็นสนิม และปรุงด้วยความร้อนก่อนบริโภค
    4. ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม


    http://www.amed.go.th/rta_med/prevent/water.htm

     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="165" width="100%"> <tbody><tr><td width="17%">[​IMG]</td> <td width="83%"> อีก 30 ปี ธารน้ำแข็งละลายหมด


    http://sawasdee.bu.ac.th/article/gl4204024.htm

    แดนเนียล ฮิกเกล แห่งมหาวิทยาลัยเมสสาชูเซตต์ กล่าวว่า"การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก
    แม้เพียงเล็กน้อยจะมีผลขยายกว้างเมื่อเกิดขึ้นกับระบบ ชีววิทยาทั้งมวล" ไข่ของปลาน้ำจืด
    จะไวมากต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำ หากอุณหภูมิของน้ำ ในลำธารสูงขึ้น 6 องศา
    ฟาเรนไฮต์ ปลาเทร้าในลำธารจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ในช่วงล่างของลำธาร เขตเทือกเขาแอปปาเลเชียน
    แต่ปลาทะเลบางชนิดจะมีพื้นที่หากินมากขึ้นไปในเขตคานาดา อีกราว 300 ไมล์ ซึ่งแต่เดิมขึ้นไป
    ไม่ได้เพราะน้ำเย็นจัด จึงเป็นผลดีต่อชาวประมงในแคนาดา

    </td> </tr> </tbody> </table> มีตัวเลขระบุว่าทุกอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น 1.8 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำความอบอุ่นในบ้านเรือนชาวอเมริกา
    ลดลงร้อยละ 11 ชาวอเมริกันในเขตเหนือ เช่น รัฐวิสคอนซิล จะลดค่าใช้จ่ายในการขนหิมะทิ้งได้มาก ขณะที่อุทยานธารน้ำแข็ง
    ในรัฐมอนตานาจะสูญเนียรายได้จากการท่องเที่ยวที่เคยได้ปีละ 80 ล้านดอลลาร์ เพราะธารน้ำแข็งจะละลายหมดเมื่อถึงปี 2030

    แม้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้หากโลกร้อนขึ้น แต่ที่แน่นอนและเกิดขึ้นแล้ว คือระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง
    10 นิ้ว และ IPCC ได้ทำนายว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 12 นิ้ว ในปี 2050 และเพิ่มเป็น 23 นิ้ว ในปี 2100 สหรัฐจะสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเล
    ไปราว 10,000 ตารางไมล์ และหากน้ำทะเลสูงขึ้น 2 ฟุต เกาะสมิธในอ่าวเซอปีคที่ชาวเกาะยังคงพูดภาษาอังกฤษแบบสมัยควีนอลิซาเบธ
    จะจมหายไปในทะเล ขณะที่ชายหาดที่มอมมัธเคาน์ตี้ ในนิวเจอร์ซี่และชายหาดลองไอแลนด์ในนิวยอร์ค แม้น้ำทะเลขึ้นสูงเพียง 1 ฟุต
    ในปี 2050 หาดจะหดไปราว 100 ฟุต (เสรีภาพ, 2541 : 5-6)

    นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นโดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศ โดยอาศัยสมมติฐานที่ว่าถ้าหากปริมาณ
    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกในปี 2100 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากระดับปัจจุบัน พบว่าอุณหภูมิผิวพื้นโดยเฉลี่ย
    ทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 1 ถึง 3.5 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 15 ถึง 95 เซนติเมตร ซึ่ง ส่งผลต่อระบบนิเวศน์
    ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของมนุษย์ โดยประมาณว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสก็เพียงพอที่จะทำให้เกิด
    ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูสภาพป่า

    โดยคาดว่าหนึ่งในสามของป่าที่มีอยู่ทั่วโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางด้านชนิดพันธุ์พืช โดยเฉพาะกับบริเวณละติจูดสูงๆ
    ขณะที่ในบริเวณพื้นที่น้ำแข็งปกคลุมประมาณว่าหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของภูเขาน้ำแข็งในปัจจุบันจะหายไปในอีก 100 ปีข้างหน้า
    สำหรับภัยต่อมนุษย์นั้น จะเห็นผลชัดเจนกับประชากรบริเวณชายฝั่ง โดยประมาณว่าจะมีประชากรประมาณ 46 ล้านคนต่อปี
    ในปัจจุบันที่เสี่ยงภัยต่อน้ำท่วมเนื่องจากคลื่นซัดฝั่ง และหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร จำนวนผู้เสี่ยงภัยน้ำท่วมจะสูงถึง 118 ล้านคน
    โดยเฉพาะกับประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ

    จากการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร ซึ่งเป็นค่าสูงสุดตามที่ประมาณการสำหรับ
    ปี 2100 พบว่าเกาะเล็กๆ และพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำเป็นบริเวณที่เสี่ยงภัยสูง โดยได้ประเมินการสูญเสียแผ่นดินของประเทศต่างๆ
    กับระบบป้องกันภัยที่มีอยู่ เช่น ปัจจุบันว่าประเทศอุรุกวัย จะสูญเสียร้อยละ 0.05 อียิปต์ ร้อยละ 1 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 6 บังคลาเทศ
    ร้อยละ 17.5 และร้อยละ 80 สำหรับเกาะปะการังมาจูโรในหมู่เกาะมาร์แชล และประชากรที่ได้รับผลกระทบจะมีมากประมาณ
    70 ล้านคนในจีนและบังคลาเทศ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกที่มีผล
    ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="4%"> </td> <td width="95%"> การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การคมนาคม การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน โดยเฉพาะสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนนั้น เป็นสารที่มีส่วนสำคัญในการทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน ซึ่งโดยธรรมชาติทำหน้าที่เป็นเหมือนกำแพงกั้นรังสีความร้อนจากโลกไม่ให้แผ่ออกไป ทำให้โลกมีสภาพอากาศไม่หนาวเย็น แต่ในปัจจุบันกลับเป็นว่ากิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาต่างสร้างก๊าซเรือนกระจก (GREENHOUSE GAS) ออกสู่บรรยากาศในอัตราที่นับวันมีแต่จะสูงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้น 4-5 องศาเซลเซียส ในอีก 60 ปีข้างหน้า และความร้อนที่สูงขึ้นนี้จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลและมหาสมุทรสูงขึ้น 30 ซม. หรือมากกว่าในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า

    ในเขตที่เป็นที่ตั้งของประเทศที่พัฒนาแล้ว อุณหภูมิที่สูงขึ้นของโลกจะทำให้ช่วงฤดูหนาวสั้นขึ้น อุ่นมากขึ้นและมีฝนตกมากขึ้น ส่วนฤดูร้อนจะยาวมากขึ้น อากาศจะร้อนและแห้งแล้งยิ่งขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีการย้ายถิ่นของประชากร มีการสร้างเขื่อนหรือกำแพงป้องกันน้ำท่วม ปรับปรุงด้านการผลิตและด้านเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
    ส่วนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของประเทศที่กำลังพัฒนา คาดว่าจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าในแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว พื้นที่ที่แห้งแล้งมากขึ้นทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น ในเขตชื้นจะมีฝนตกมากขึ้นและมีพายุรุนแรงและบ่อยมากขึ้น

    นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิย่อมส่งผลต่อการเกษตรกรรมและระบบนิเวศน์ รวมทั้งระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้เกาะบางเกาะไม่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยได้ น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในเขตชายฝั่ง ความเสียหายจะมีผลต่อประชากรนับร้อยล้านคน เนื่องจากน้ำในส่วนที่เป็นน้ำแข็งละลายเพราะความร้อนที่มีสาเหตุมาจากอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น ปริมาณน้ำที่มีอยู่เดิมร้อยละ 70.8 ของผิวโลกก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีไม่ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลกต้องลดน้อยลงไปอีกถึงร้อยละ 1 ปริมาณระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นนี้สังเกตได้จากชายหาดหลายแหล่งในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นที่ ฟลอริดา หาดไมอามี่ ชายหาดแถบแคลิฟอร์เนีย และลอสแองเจลลิส ต้องถูกยกเลิกไปเพราะน้ำท่วม

    ตารางที่ 1 รายละเอียดการคาดการณ์สำหรับการเปลี่ยนแปลงของลักษณะชายฝั่งของบริเวณ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาอันเนื่องมาจากการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ภายในปี 2100
    <table bgcolor="#ff6600" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="92%"> <tbody><tr bgcolor="#ffcc66"> <td width="16%">Year </td> <td width="16%">Baseline</td> <td width="19%">Scenario Low</td> <td width="16%">Scenario Medium</td> <td width="23%">Scenario High</td> <td width="10%">Scenario Ristorical Extrapolation</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffcc"> <td width="16%">1990</td> <td width="16%">P</td> <td width="19%">P</td> <td width="16%">P</td> <td width="23%">E</td> <td width="10%">-</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffcc"> <td width="16%">1996</td> <td width="16%">P</td> <td width="19%">P</td> <td width="16%">E</td> <td width="23%">3.2 (1.6)</td> <td width="10%">1-2</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffcc"> <td width="16%">2005</td> <td width="16%">P</td> <td width="19%">E</td> <td width="16%">4.0 (2.0) </td> <td width="23%">9.6 (4.8)</td> <td width="10%"> 2-3</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffcc"> <td width="16%">2050</td> <td width="16%">E</td> <td width="19%"> 10.8 (5.4)</td> <td width="16%">46.7 (12.4)</td> <td width="23%">97.8 (20.72)</td> <td width="10%"> 1.8-3.2</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffcc"> <td width="16%">2065 </td> <td width="16%">1.2 (0.6) </td> <td width="19%">34.0 (8.8)</td> <td width="16%">80.0 (16.0)</td> <td width="23%">128.4 (27.2)</td> <td width="10%">4.5-9.0</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffcc"> <td width="16%">2075</td> <td width="16%"> 3.4 (1.68)</td> <td width="19%">57.0 (11.56) </td> <td width="16%">113.3 (19.28)</td> <td width="23%">177.3 (32.0)</td> <td width="10%">9.5-15.5</td> </tr> <tr bgcolor="#ffffcc"> <td width="16%">2100</td> <td width="16%">13.03 (3.28)</td> <td width="19%"> 101.3 (17.28)</td> <td width="16%">189.5 (27.92) </td> <td width="23%">318.9 (48.92)</td> <td width="10%">12.18</td> </tr> </tbody></table>
    ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์หลายๆ กลุ่มเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้น่าจะเป็นผลมาจาก มลพิษที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสภาวะหรือปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Fffects) ที่จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 4-5 องศาเซลเซียสทั่วโลก และจะมีผลทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1-1.5 เมตร ในศตวรรษหน้า (Barth and Titus 1984, Jelgersma 1988a) เมื่อพิจารณาจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลดังกล่าว พบว่าอัตราการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลมีมากผิดปกติ (โดยเปรียบเทียบกับอัตราที่สูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในอดีตที่ผ่านมา)

    ในการศึกษาชั้นบรรยากาศของโลกที่ผ่านมาพบว่านับตั้งแต่ได้มีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในยุโรปประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 เป็นต้นมา ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 อันน่าจะเป็นสาเหตุมาจากการเผาไหม้น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ยังพบว่ามีก๊าซอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2 O)
    และก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน อีกอย่างน้อย 2 ชนิด (CFCI3 กับ CF2 CI2) ซึ่งก๊าซต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า "ก๊าซเรือนกระจก" (Greenhouse Gases) คือ สามารถดูดรังสีความร้อนอินฟราเรด (Infrared) หรือทำหน้าที่ป้องกันรังสีความร้อนไม่ให้ผ่านออกไปสู่อวกาศได้มากขึ้น จึงทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้น อันเนื่องมาจากสาเหตุของผลกระทบเรือนกระจก (Greenhouse Effects) นั้นเอง

    ปรากฎการณ์เรือนกระจำนี้ไม่ใช่ปรากฎการณ์ครั้งแรกที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ดังที่นักธรณีวิทยา
    ได้บันทึกเอาไว้ว่าเป็นช่วงยุคน้ำแข็งละลายครั้งใหญ่ๆ ในประวัติศาสตร์โลก แต่นั่นเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งมีผลค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลานาน จึงมีผลกระทบไม่รุนแรงมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับปรากฎการณ์ครั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ คงได้แต่หวังว่าปรากฎการณ์เรือนกระจกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มนุษย์คงต้องมีการปรับตัวมากพอสมควร โดยเฉพาะสำหรับ
    สภาพแวดล้อมที่จะเปลี่ยนไป และระดับน้ำทะเลที่กำลังสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบกับความเป็นอยู่ในอนาคตอย่างแน่นอน

    อย่างไรก็ตามปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์เด่นชัดกันแล้วว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    สภาพอากาศของโลกทั้งในปัจจุบันและอาจจะมีผลต่อเนื่องถึงอนาคต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคงจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น ตราบใดที่ยังมีการเผาไหม้ในรูปของเชื้อเพลิงต่างๆ อย่างมากมาย เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และอื่นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณมากขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ

    ผลที่ตามมาคือการเร่งให้โลกเราอุ่นขึ้นอย่างผิดธรรมชาติและจะส่งผลให้น้ำแข็งที่มีอยู่ในโลกเรา ซึ่งมีปริมาณไม่มากนัก เพราะอยู่ในช่วงยุคน้ำแข็งละลายในปัจจุบัน (Present Interglacial Period) เกิดการละลายอย่างมากมาย ทำให้เกิดปรากฎการณ์ ใหม่ที่เรียกว่า "ยุคน้ำแข็งละลายอย่างมาก" (Super Interglacial Period) จะมีผลทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ย
    และระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วกว่าธรรมชาติที่เคยมีมากว่านับล้านปี

    ปรากฎการณ์ดังกล่าวคงจะมีผลกระทบต่อสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกอย่างน้อยที่สุดเป็นเวลาอีก 2,000 ปีต่อไปในอนาคต จนกว่าธรรมชาติจะเข้าสู่ช่วงสิ้นสุดของยุคน้ำแข็งละลาย ในปัจจุบันสมดุลอันใหม่จึงน่าจะเกิดขึ้นอีกครั้ง จากการศึกษาของ Hoffman (1984) ได้ทำการประเมินระดับน้ำทะเลสูงขึ้นในอนาคตโดยใช้ความรู้ต่างๆ เช่น เศรษฐกิจพลังงาน (Energy Economics) ธรณีเคมี (Geochemistry) ชีวิทยา (Biology) ฟิสิกส์ทางชั้นบรรยากาศ (Atmospheric Physics) สมุทรศาสตร์ (Oceanography) และธารน้ำแข็งวิทยา (Glaciology) มาทำการประมวลผล พบว่าระดับน้ำทะเลในอนาคตอาจจะขึ้นสูงอีกประมาณ 345 เซนติเมตร (High Scenario) ภายในปี 2100 และระดับน้ำทะเลอย่างน้อยที่สุดอาจจะขึ้นสูงอีกประมาณ 56 เซนติเมตร (Low Scenario) ภายในปี 2100 (คือรูปที่ 1 และตารางที่ 1)

    ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิอากาศในช่วงเดือนมีนาคม 2542
    <table border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr bgcolor="#33ccff"> <td rowspan="2">ภาค</td> <td colspan="2">อุณหภูมิ (C)</td> <td colspan="2"> ปริมาณน้ำฝน (mm)</td> <td colspan="2">ปริมาณฝนสะสม
    (1 ม.ค. 42)
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#0099cc">โดยเฉลี่ย</td> <td bgcolor="#0099cc"> เพิ่ม-ลดลง</td> <td bgcolor="#0099cc">โดยเฉลี่ย</td> <td bgcolor="#0099cc"> เพิ่ม-ลดลง</td> <td bgcolor="#0099cc">โดยเฉลี่ย</td> <td bgcolor="#0099cc"> เพิ่ม-ลดลง</td> </tr> <tr bgcolor="#99ccff"> <td>เหนือ</td> <td>28.8</td> <td>1.0</td> <td>26.3</td> <td> 5.1 (24%)</td> <td>52.6</td> <td>16.0 (44%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99ccff"> <td>ตะวันออก/น </td> <td>29.8</td> <td> 1.5</td> <td>66.7 </td> <td>30.1 (82%)</td> <td>70.8</td> <td>14.5 (26%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99ccff"> <td>กลาง</td> <td>30.4 </td> <td> 1.0 </td> <td>43.6</td> <td>12.6 (41%)</td> <td>90.6</td> <td>33.2 (58%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99ccff"> <td>ตะวันออก</td> <td>30.0</td> <td> 1.0 </td> <td>105.5 </td> <td>51.3 (95%)</td> <td>131.2 </td> <td> 27.8 (27%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99ccff"> <td>ใต้ (ฝั่ง ต.อ.)</td> <td>28.3</td> <td>0.5</td> <td> 70.4</td> <td>29.9 (74%) </td> <td>464.3</td> <td>318.5 (218%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99ccff"> <td>ทั่วประเทศ</td> <td>29.3</td> <td> 0.9 </td> <td>71.3</td> <td>32.1 (82%)</td> <td>161.1</td> <td>82.5 (105%)</td> </tr> </tbody></table>
    ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิอากาศในช่วงเดือนเมษายน 2542
    <table border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="92%"> <tbody><tr bgcolor="#33ccff"> <td rowspan="2">ภาค</td> <td colspan="2">อุณหภูมิ (C)</td> <td colspan="2"> ปริมาณน้ำฝน (mm)</td> <td colspan="2">ปริมาณฝนสะสม
    (1 ม.ค. 42)
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#3399cc">โดยเฉลี่ย</td> <td bgcolor="#3399cc"> เพิ่ม-ลดลง</td> <td bgcolor="#3399cc">โดยเฉลี่ย</td> <td bgcolor="#3399cc"> เพิ่ม-ลดลง</td> <td bgcolor="#3399cc">โดยเฉลี่ย</td> <td bgcolor="#3399cc"> เพิ่ม-ลดลง</td> </tr> <tr bgcolor="#99cccc"> <td>เหนือ</td> <td>29.6 </td> <td> -0.4</td> <td>127.7</td> <td> 62.4 (96%)</td> <td> 180.2</td> <td>78.3 (77%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99cccc"> <td>ตะวันออก/น </td> <td> 29.3</td> <td> -0.5 </td> <td> 150.6 </td> <td> 65.6 (77%) </td> <td> 221.5 </td> <td> 80.2 (57%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99cccc"> <td>กลาง</td> <td>29.8 </td> <td> -0.9</td> <td> 207.3</td> <td>138.1 (200%)</td> <td>297.9</td> <td>171.3 (135%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99cccc"> <td>ตะวันออก</td> <td> 29.5</td> <td> -0.4</td> <td> 235.1 </td> <td>146.6 (166%)</td> <td>366.3</td> <td> 174.4 (91%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99cccc"> <td>ใต้ (ฝั่ง ต.อ.)</td> <td>28.6</td> <td>-0.3</td> <td> 137.6</td> <td>68.9 (100%)</td> <td>601.9 </td> <td> 387.4 (181%)</td> </tr> <tr bgcolor="#99cccc"> <td>ทั่วประเทศ</td> <td>29.3</td> <td> -0.5</td> <td>181.7</td> <td>99.8 (122%)</td> <td>342.8</td> <td>182.3 (114%)</td> </tr> </tbody></table> จากการศึกษาตำแหน่งชายฝั่งทะเลในอนาคตของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล และณรงค์ ถิรมงคล (2534) พบว่าตำแหน่งของชายฝั่งทะเลที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตนั้น อาจจะทำได้โดยการเปรียบเทียบกับอัตราการทรุดตัวของแผนดิน อันเกิดจากสาเหตุการใช้น้ำบาดาลและอัตราอย่างต่ำที่ระดับน้ำทะเลขึ้นในอนาคต (Low Scenario)

    ขั้นต่อไปเป็นการเปรียบเทียบและปรับตำแหน่งให้สอดคล้องตามความเป็นจริง โดยใช้วิธีการทางธรณีสัณฐาน ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับแนวโน้มในอดีตของการกัดเซาะและการงอกของชายฝั่ง ขบวนการทางชายฝั่ง สภาวะแวดล้อมการสะสมตัว และสภาวะสมดุลย์ทางชายฝั่งโดยกฎของ Bruun ดังนั้น รูปที่ 2 เป็นการคาดการณ์บริเวณที่จะถูกน้ำท่วม ภายในปี 2100 โดยมีเงื่อนไขจะ ต้องมีอัตราของระดับน้ำทะเลขึ้นในระดับต่ำ (Low Scenario) และมีอัตราการทรุดของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง
    โดยไม่สามารถจะแก้ไขได้ พบว่าอัตราระดับน้ำทะเลสูงขึ้นในอนาคตนั้น มีค่าผิดปกติจากธรรมชาติของระดับน้ำทะเลในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นหนทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นควรจะมีการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ สังเกตและเก็บข้อมูลในส่วนที่ยังไม่มีให้ครบ ซึ่งน่าจะเป็นการทำความเข้าใจและสอดคล้องกับขบวนการทางธรรมชาติได้มากที่สุด บางทีอาจจะช่วยให้เราเข้าใจเรียนรู้และสามารถคาดการณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นในอนาคตได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

    เอกสารอ้างอิง

    ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล และณรงค์ ถิรมงคล. 2534. การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลและผลกระทบในอนาคตต่อบริเวณกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารภูมิศาสตร์ 16(1) 12-18.
    อัฌชา ก.บัวเกษร. 2539. โลกกำลังร้อนขึ้น ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารมนุษย์กับสังคม เล่ม 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
    Bruun, P. 1962 Sea-Level Rise as a Cause of Shore Erosion. Jornal of Waterways and Harhours Division, ASCE 88(WW1): 117
    Hoffman, J.S., 1984. Estimates of Future Sea-Level Rise. In: Greenhouse Effectand Sea- Level Rise, Edited by M.C.Barth ; and J.G. TITUS,. 79-103. New York, Van Nostrand Reinhold
    Jelegersma, S. 1988 a. A Future Sea-Level Rise : Its Impacts on Coastal Lowlands. In : Geology and Urban Development: Atlas of Urban Geolog. Vol. I pp. 61-81 ESCAP, United Nations.



    </td></tr></tbody></table>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล
    บริเวณชายฝั่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญมากต่อความผาสุกของมนุษย์ ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์จะตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณชายฝั่งทะเล ริมฝั่งแม่น้ำ และที่ราบลุ่มดินตะกอน เนื่องจากเป็นบริเวณ ที่เหมาะต่อการทำการเกษตร การประมงและการค้า มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ที่ปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ ห่างจากทะเลไม่เกิน 60 กิโลเมตร โดยภาพรวม อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร แถบชายฝั่งจะสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ยิ่งกว่านั้นมีเมือง ที่คาดว่าจะมีประชากรเกินกว่า 10 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2100 ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมากถึง 16 เมือง ใน 23 เมือง การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงความถี่ และความรุนแรงของปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ น่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญที่สุด ที่จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    ระหว่าง 18,000 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลได้สูงขึ้นโดยรวม ประมาณ 100 เมตร แต่ ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ระหว่างศตวรรษที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 18 เซนติเมตร หรือโดยเฉลี่ย 1-2.5 มิลลิเมตร/ปี การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากกลไกต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งที่เด่นชัดมากที่สุดคือ การขยายตัวของน้ำ ในมหาสมุทรเนื่องจากความร้อน ตามด้วยการละลายของธารน้ำแข็งแถบภูเขา และการละลายของแผ่นน้ำแข็งแถบขั้วโลก การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ยังเกิดขึ้นได้ เนื่องจากอิทธิพลการเคลื่อนไหวทางธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหมุนเวียน ในมหาสมุทร ลมและความกดอากาศ ซึ่งอิทธิพลจากความผันแปรเหล่านี้ บางส่วนมีผลทำให้เกิดความผันแปร ของระดับน้ำทะเลในระดับภูมิภาคได้
    อย่างไรก็ตาม ตัวชายฝั่งทะเลก็ไม่คงที่เนื่องจากกระบวนการทางธรณีวิทยา ตาม ธรรมชาติ (การเคลื่อนที่ ของเปลือกโลก การตอบสนองจากธารน้ำแข็ง การตกตะกอน และการจมตัวลงของแผ่นดิน) และกิจกรรมของมนุษย์ (การขุดเจาะหาน้ำมัน ก๊าซ หรือ น้ำ และการตกตะกอน) เป็นสาเหตุทำให้แผ่นดินชายฝั่งเคลื่อนที่ไป เมื่อเทียบกับระดับของน้ำทะเล เช่น การสูบน้ำใต้ดินมาใช้ ทำให้แผ่นดินในท้องถิ่นนั้น จมตัวลงได้ ซึ่งตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1920 และ 1930 เป็นต้นมา เมืองใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง จำนวนมากจมตัวลง เนื่องจากการสูบน้ำใต้ดิน ขึ้นมาใช้มากเกินไป เช่น กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จมตัวลง 5 เมตร เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จมตัวลง 2.8 เมตร และเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น จมตัวลง 2.8 เมตร ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเมืองที่อยู่ชายฝั่ง เช่น เมืองเทียนสิน ประเทศจีน และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย การเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน และระดับน้ำทะเล ในแต่ละท้องถิ่นในลักษณะนี้ ปรากฏชัดว่า ไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดจาก การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลของโลกแต่ประการใด แต่เมืองต่าง ๆ หรือแถบชายฝั่งที่ปัจจุบันนี้ ประสบกับปัญหาการทรุดลง ของแผ่นดิน จะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งยากที่จะเอาชนะได้ ดังนั้น บริเวณเหล่านี้ จะอ่อนไหวต่อระดับน้ำทะเลของโลก ที่จะสูงขึ้นในอนาคตมากที่สุด
    ค่าประมาณที่ดีที่สุดของแบบจำลองมหาสมุทรและภูมิอากาศปัจจุบัน คือ ระดับน้ำทะเล จะสูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 และจะสูงขึ้นต่อไปอีก ภายหลังจากนั้น ถ้าหากการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก สู่บรรยากาศ ยังเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น การประมาณค่าที่ดีที่สุด ในการพยากรณ์อัตราการสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลกระทำได้ สำหรับช่วงระหว่างปัจจุบัน จนถึงปี ค.ศ. 2100 เท่านั้น ซึ่งจะสูงกว่าใน 100 ปีที่ผ่านมาถึง 2-3 เท่า จากรูปที่ 7 แสดงให้เห็นช่วงกว้าง ของแผนการคาดหมาย การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต ในการประเมินนี้ ยังคงมีสิ่งที่ไม่แน่นอนที่สำคัญ 2 ประการ คือ ช่วงเวลาที่ล่าช้าออกไป ในการตอบสนองของน้ำในมหาสมุทร ที่มีต่อการร้อนขึ้นของบรรยากาศ และอัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็ง แถบขั้วโลก ยิ่งกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ของแต่ละท้องถิ่น จะแตกต่างกันมาก จากการประมาณค่าเฉลี่ยของโลก เนื่องจากการขยับเลื่อนไป ของกระแสน้ำและลมค้า ที่อาจเกิดเป็นแรง ทำให้ปริมาตรของน้ำเพิ่มมากขึ้น ตามชายฝั่งได้
    อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่มีต่อระบบนิเวศ

    พื้นที่ชายฝั่งเป็นผลจากการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างแผ่นดินและ น่านน้ำ จะแตกต่างกันไป ตามโครงสร้างทางแร่ธาตุ และความสูงต่ำของแผ่นดินรอบ ๆ อัตราการตกตะกอน และการพังทลายที่เกิดจากกระแสน้ำ คลื่น น้ำขึ้น-น้ำลง และแม่น้ำ ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันนี้ จะต้องนำเข้ามาพิจารณา ในการสร้างแบบจำลองผลกระทบ ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่คาดหมายได้ ที่จะมีต่อบริเวณชายฝั่ง การขยับเลื่อนไปของขอบเขต ระหว่างแผ่นดินและน่านน้ำ ตามการเพิ่มสูงขึ้นในแนวดิ่ง ของระดับน้ำทะเลที่คาดหมายได้ ตามธรรมดาแล้วจะดูราวกับว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งจะมองไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจน ลักษณะความแตกต่าง และความหลากหลายทางระบบนิเวศ ในบริเวณชายฝั่ง เช่น แนวปะการัง ป่าชายเลน และบึงน้ำเค็ม จะต้องนำเข้ามารวม ในแบบจำลองการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลด้วย เพราะว่าระบบนิเวศเหล่านี้ ต่างสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทางชีวะภูมิศาสตร์ ที่มีผลกระทบต่อชายฝั่ง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบริเวณชายฝั่งมีอิทธิพล ที่เคลื่อนไหวได้เกิดขึ้นภายในตัวเอง
    ผลกระทบที่น่าเป็นไปได้มากที่สุดอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อบริเวณชายฝั่ง คือ การชะล้างพังทลาย บริเวณชายฝั่งจะเพิ่มมากขึ้น การชะล้างพังทลายชายฝั่งบางประการ ปรากฏชัดว่า เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ แต่จะรุนแรงมากขึ้น จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเคลื่อนย้ายของตะกอน การชะล้างพังทลายชายฝั่ง ก่อให้เกิดผลที่ตามมาอย่างรุนแรง และนำไปสู่การสูญเสียลักษณะการป้องกัน ทางธรรมชาติ เช่น เนินทราย และป่าชายเลน ชายฝั่งของโลกประมาณ 20% เป็นหาดทราย และประมาณ 70% ของชายฝั่งเหล่านี้ได้หดหายไปในระหว่าง 100 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่ตรวจวัดได้ อาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ที่มีส่วนทำให้เกิดการ ชะล้างพังทลายชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย ชายฝั่งเพิ่มขึ้น ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสิ่งแวดล้อมของท้องที่นั้น ๆ ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งยังมีความต้องการการวิจัยในด้านนี้อีกมาก เพื่อปรับปรุงแบบจำลอง อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อชายฝั่งทะเลที่เป็นทราย
    นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังมีผลกระทบทางลบ ต่อพื้นที่ชุ่มน้ำในบริเวณชายฝั่ง ได้แก่ หนองบึง ป่าชายเลน และแนวปะการังอีกด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งเหล่านี้ มีหน้าที่สำคัญมากมาย เช่น เป็นแหล่งขยายพันธุ์ และอนุบาลตัวอ่อนของปลา ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับการพิจารณาว่า เป็นบริเวณ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นตัวการกรองก๊าซไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และเป็นที่กักเก็บคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวการส่งเสริม ให้มนุษย์มีสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมสะอาด หน้าที่ที่มีความหลากหลายนี้ หมายถึงว่า กลไกทางกายภาพ ชีวภาพและเคมี ของพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ อยู่ในสภาพที่สมดุลย์อย่างละเอียดอ่อน เช่น กระบวนการที่สลับซับซ้อน ทำให้เกิดการตกตะกอน และจมอยู่ใต้น้ำได้ ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะ เช่น ช่วงน้ำขึ้น-น้ำลง การตกตะกอน และการทำลายโดยตรง ในหลายกรณีที่ผลกระทบทางลบ จะได้รับเพิ่มเติม จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น บริเวณดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ระบบการตกตะกอน และระบบน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในท้องถิ่น ถูกรบกวนจากการพัฒนาคลอง การผันน้ำ การสร้างกำแพงกั้นน้ำ และการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะยิ่งทำอันตรายต่อระบบนิเวศเหล่านี้ มากยิ่งขึ้นไปอีก
    ประมาณว่าพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งที่มีคุณค่าทางนิเวศวิทยา และเศรษฐกิจทั่วโลกมีมากกว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร ในอีก 100 ปีข้างหน้า พื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ จะได้รับความเสียหายมากกว่าครึ่ง พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง ที่จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมาก คือ ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชายฝั่งสหรัฐอเมริกา ชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ในทวีปแอฟริกา ชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกีนี และชายฝั่งเอเชียตะวันออก แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ ชุ่มน้ำชายฝั่งในหลายส่วนของโลก กำลังได้รับการบำรุง ให้กลับคืนสภาพเดิม จึงยังคงไม่แน่นอนว่า พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งประเภทใดบ้าง ที่จะยังคงได้รับผลกระทบทางลบ จากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล
    โดยทั่วไปแล้ว แนวปะการังซึ่งถือว่าอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งอย่างหนึ่ง มีหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย และส่วนมากมีความสำคัญต่อการอยู่รอด และการพัฒนาของมนุษย์ เช่น เป็นแนวป้องกัน ชายฝั่ง เป็นที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเล ยิ่งกว่านั้น ในระบบนิเวศทางทะเลด้วยกัน ระบบนิเวศแนวปะการัง มีความหลากหลายทางชีวภาพ สูงมากที่สุด เพราะในพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ จะมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่รวมกันได้มากมาย ศักยภาพอัตราการเจริญเติบโต ในแนวดิ่งของปะการัง ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั้งพืช และสัตว์อยู่ในช่วงประมาณ 1-10 มิลลิเมตร/ปี ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันกับการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลที่คาดหมายไว้ ทั้งนี้อยู่บนข้อสมมติฐานที่ว่า ไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปะการัง อย่างไรก็ตาม การจับปลามากเกินไป การทำเหมืองแร่ ภาวะมลพิษและการตกตะกอน แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศแนวปะการัง อย่างต่อเนื่องมากที่สุดในโลก
    ภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สามารถทำลายปะการังโดยตรงได้ จากการทำให้เกิดรอยแตกของปะการัง (Coral Bleaching) เพิ่มมากขึ้น ช่วงเวลาสั้น ๆ ในฤดูร้อนเพียงแต่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น 1? ซ. ก็เพียงพอที่จะทำให้ปะการังเกิดรอยแตกขึ้นได้แล้ว ดังนั้น ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น 3-4? ซ. ในช่วงที่ยาวนานเกินกว่า 6 เดือนที่จะเกิดขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะเป็นสาเหตุทำให้ปะการังเสียชีวิตเป็นบริเวณกว้าง ได้มีการตรวจพบว่า รอยแตกของปะการังที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตรงกับภาวะการร้อนขึ้น ของน้ำในมหาสมุทรทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยก็ตาม การจะกลับคืนสู่สภาพเดิมจากรอยแตกได้ จะต้องใช้เวลานาน ในแต่ละท้องที่การเกิดรอยแตก ในแนวปะการังจะแตกต่างกันไป เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะกาลาปากอส และทางตะวันออกของประเทศปานามา ระบบปะการังมีรอยแตก ที่รุนแรงมากตามการร้อนขึ้นของน้ำในมหาสมุทร ระหว่างการเกิดปรากฏการณ์ เอลนีโญ ในปี ค.ศ. 1982-1983 และกลับคืนสู่สภาพเดิมได้จนถึงปัจจุบันนี้น้อยมาก จะต้องใช้เวลานานนับศตวรรษ จึงจะให้คืนสภาพเดิมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ แนวปะการังอาจถูกทำลาย จากการเพิ่มขึ้นของระดับรังสีอุลตราไวโอเลต ที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของก๊าซโอโซน ในบรรยากาศชั้นสตราโตเฟียร์
    จากการศึกษาที่ผ่านมาไม่นานเกี่ยวกับผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อเกาะ ที่เกิดจากหินปะการัง พบว่า ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อปะการังนั้น เป็นไปในด้านที่ดีกว่าจากการประเมินก่อนหน้านี้ แม้กระนั้น แนวปะการังก็ยังคงอ่อนไหวมาก ต่อ รูปแบบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในลักษณะนี้
    การประเมินความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่งจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล

    IPCC ได้สร้างวิธีการทั่วไป สำหรับประเมินความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่ง ที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์อ้างอิง หรือสถานการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับระดับน้ำทะเล รายละเอียด เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น น้ำขึ้น-น้ำลงของท้องถิ่น และความถี่ ของการเกิดคลื่นซัดฝั่ง ใน ปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้คาดหมายการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลระดับต่ำ และระดับสูงไว้ (คือ 0.3 เมตร และ 1 เมตร ตามลำดับ ในประมาณปี ค.ศ. 2100) นำไปปรับให้เข้ากับแต่ละท้องถิ่นได้ ถ้ารู้การจมตัวลง หรือยกตัวขึ้นของแผ่นดิน ความผันแปรของคลื่นซัดฝั่ง ในท้องถิ่น และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ วิธีการนี้ใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อกำหนดประชากร และทรัพยากร ที่เสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล และเพื่อประเมินถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น แต่จากการใช้วิธีการทั่วไปของ IPCC ในปัจจุบัน พบว่า การประเมินความอ่อนไหว ต้องพิจารณาให้กว้างกว่านี้ คือ จะต้องนำเอาค่าของวัฒนธรรม ชุมชน และส่วนที่เกี่ยวข้องกับความงาม เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย
    ขั้นตอนแรกของการนำวิธีการทั่วไปของ IPCC ไปใช้ คือ การประเมินจุดอ่อนไหว ของบริเวณชายฝั่ง ถึงผลกระทบทางชีวะภูมิศาสตร์ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่จะตามมา จุดอ่อนไหวนี้ อยู่ในสภาพที่ยืดหยุ่นได้ ของระบบท้องถิ่นนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้อิทธิพล ของปัจจัยต่าง ๆ เช่น จำนวนประชากร และอัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความอ่อนไหวของประชากร หมายถึง “ความไม่สามารถรับมือได้ มากหรือน้อยกับผลที่จะเกิดขึ้น จากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล และอิทธิพลต่าง ๆ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด คือ สภาพทางสังคม-เศรษฐกิจ ดังนั้น การประเมินความอ่อนไหว ประกอบด้วย
    1. การประเมินผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่มีต่อลักษณะทาง กายภาพนิเวศวิทยา และสังคม-เศรษฐกิจ
    2. การประเมินการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดความอ่อนไหว
    3. ต้องอธิบายให้ชัดเจนถึง ผลสะท้อนที่เป็นไปได้มากที่สุดจะทำให้ความอ่อนไหวลดลงได้อย่างไร หรือผลกระทบลดลงได้อย่างไร หรือความสามารถในการปรับตัวของประชากรให้เข้ากับผลกระทบนั้น ได้อย่างไร
    4. การประเมินขีดความสามารถแห่งชาติ ในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ
    ในการศึกษาตามวิธีการนี้ ได้สมมติให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบชายฝั่งกับผลสะท้อนทางกายภาพ และผลสะท้อนทางมนุษย์ เป็นไปในเชิงเส้นตรง จึงเป็นวิธีการที่ง่าย ดังนั้นในการศึกษาในอนาคต จะต้องศึกษาความสัมพันธ์ ที่สลับซับซ้อนเหล่านี้ ในเชิงที่ไม่ใช่เส้นตรง ยิ่งกว่านั้น แม้ว่าประชากร จะเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม แต่ผลกระทบของ การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ก็ยังไม่ได้รับการกล่าวถึงในวิธีการนี้ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวในอนาคต จะต้องขยายให้ครอบคลุม ถึงผลกระทบที่เป็นไปได้ ที่จะมีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย การวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทั่วไปของ IPCC นั้น ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบาย ถึงการประเมินว่า จะมีความอ่อนไหวของบริเวณชายฝั่งขึ้น ทำให้สามารถวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่เป็นไปได้


    http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=90
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก

    ได้มีการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก ที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึง กับวิธีการทั่วไปของ IPCC แบบจำลองการประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก (Global Vulnerability Assessment – GVA) ได้รวมเอาแผนการคาดหมาย การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ชนิดต่าง ๆ เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย รวมทั้งที่คาดหมายว่า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 50 เซนติเมตรในประมาณปี ค.ศ. 2100 นอกจากนี้ ยังเป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นได้มากกว่า ในการประเมินโอกาส การเกิดภาวะน้ำท่วม และได้นำเอามาตรการป้องกัน ที่เป็นไปได้เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย แบบจำลองยังได้พยากรณ์ การกระจายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และจำนวนประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอีกด้วย
    ภายใต้สภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน มีประชากรที่ประสบกับภาวะ น้ำท่วม เนื่องจากคลื่นซัดชายฝั่งปีละ 46 ล้านคน จากการใช้จำนวนประชากรในปี ค.ศ. 1990 ประมาณได้ว่า ถ้าระบบการป้องกันชายฝั่ง ไม่ขยายมากไปกว่านี้ ประชากรที่จะเสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล 50 เซนติเมตร จะสูงเป็น 2 เท่า (92 ล้านคน/ปี) และจะสูงเกือบ 3 เท่า (118 ล้านคน/ปี) ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร นอกจากนี้ยังได้ประเมินถึงจำนวนประชากร ที่มีโอกาสประสบกับภาวะน้ำท่วม มากกว่าปีละ 1 ครั้ง ซึ่งประเมินได้ว่า ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 50 เซนติเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 ประชากรที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม มากกว่า 1 ครั้ง/ปี สูงถึง 80 ล้านคน
    การคำนวณจำนวนประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยง อาจผิดพลาดได้มาก ตามระดับการป้องกัน เช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันได้มีการป้องกันอย่างดี ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร จะมีประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เพียง 24,000 คนเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีระบบการป้องกันชายฝั่งอย่างดีแล้ว ใน 100 ปีข้างหน้า ประชากรของประเทศเนเธอร์แลนด์ จะอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงถึงมากกว่า 3.7 ล้านคน ถ้าจะกล่าวในรูปของเปอร์เซนต์ ของประชากรทั้งประเทศ ที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยงแล้ว ประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสระ ที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น กิริบาติ ซามัวและตองกา จะมีเปอร์เซนต์ประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงสูงมากที่สุด ตามด้วยประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และประเทศ ที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เช่น ประเทศบังคลาเทศและสหภาพพม่า
    แบบจำลองสำหรับการประเมินความอ่อนไหวในระดับโลก ที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะต้องนำการเพิ่มสูงขึ้น ของประชากรในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เพราะว่าทำให้ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลมีมากยิ่งขึ้น ที่จะเห็นได้ชัด เช่น ถ้าประชากรบริเวณชายฝั่ง เพิ่มมากขึ้น ประชากรที่จะประสบกับความอ่อนไหว ก็มากขึ้นด้วย ยิ่งกว่านั้น พื้นที่ชายฝั่งเอง ก็จะอ่อนไหวมากขึ้นเช่นกัน เพราะว่าทำให้มีแรงกดดัน ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้น บริเวณที่คาดว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงมาก คือ ประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในทวีปแอฟริกา แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศบังคลาเทศและอินเดีย และเอเชียตะวันออก ที่เด่น คือ ประเทศจีน ประเทศอื่น ๆ ที่ประชากร อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก ที่จะอยู่ในภาวะที่เสี่ยง คือ เวียดนามและโมซิมบิก ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ศูนย์กลางชายฝั่ง ที่ประชากรอาศัยหนาแน่น จะมีประชากรที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยง 15% ของประชากร ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงทั้งโลก อย่างไรก็ตาม การมีระบบการป้องกัน ที่ค่อนข้างปลอดภัย หมายถึงว่า จำนวนประชากรที่ อยู่ในภาวะเสี่ยงจริง ๆ จะน้อยกว่านี้ โดยภาพรวมการเพิ่มขึ้นของประชากรและการคาดหมายการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลต่างก็มีส่วนสำคัญในการคำนวณจำนวนประชากรที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยง
    นอกจากนี้ ในการศึกษาอิทธิพลการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อมนุษย์ นั้น แบบจำลองความอ่อนไหวในระดับโลก ยังใช้ในการประเมินถึง อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อความสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ ผลผลิตข้าว ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน และการลงทุน ในสิ่งก่อสร้างบริเวณชายฝั่งได้อีกด้วย
    ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในระดับภูมิภาค

    ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในระดับภูมิภาค หมายถึง ผลกระทบที่มีต่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 3 ลักษณะ คือ เกาะขนาดเล็ก ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และชายฝั่งทวีปหรือเกาะขนาดใหญ่ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ 2 ลักษณะแรกเท่านั้น เพราะมีความอ่อนไหวมากกว่า
    เกาะขนาดเล็ก
    การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ก่อให้เกิดภาวะการเสี่ยงที่รุนแรงสำหรับประชากร ที่อาศัยบนเกาะขนาดเล็ก เพราะว่า มีที่ดินเหลือให้ประชากรล่าถอยไปได้น้อย และทำให้ แหล่งทรัพยากร ธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำจืด ที่โดยทั่วไปมีน้อยอยู่แล้ว เปลี่ยนแปลงไป ในหลายกรณีที่ปัจจัย ทางสิ่ง แวดล้อมในท้องถิ่น เช่น การพัฒนาชายฝั่ง การขุดทรายและปะการัง ที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ความอ่อนไหวเพิ่มสูงขึ้น ผลกระทบจะเกิดแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในแต่ละเกาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการมี หรือไม่มีการป้องกันชายฝั่ง ตามธรรมชาติ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาะ ว่าอยู่ภายใน หรือภายนอกแถบการเกิดของพายุ
    ประเทศเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากจะประสบกับปัญหาการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ประเทศเกาะ ที่ถูกกำหนดให้เป็นประเทศที่มีภาวะการเสี่ยงสูงมาก คือ หมู่เกาะมัลดีฟ หมู่เกาะมาร์เชล หมู่เกาะกิริบาติ และหมู่เกาะตองกา ตัวอย่างหมู่เกาะมาร์เชล ซึ่งประกอบด้วยเกาะหินปะการัง 29 เกาะและเกาะธรรมดาอีก 5 เกาะ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยน้อยกว่า 2.4 เมตร จากการศึกษาที่เกาะบารูโจ ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งของเมืองหลวง คำนวณได้ว่า ในการป้องกันระดับน้ำทะเล ที่จะสูงขึ้น 0.3 เมตร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 1.5-3 เท่า ของ GNP ปัจจุบันของทั้งหมู่เกาะ ในกรณีของเกาะตองกาตาฟูที่มีประชากร 67,000 คน (2/3 ของประชากรทั้งหมดของประเทศตองกา) ระดับน้ำทะเล ที่เพิ่มสูงขึ้น 1 เมตร จะท่วมบ้านเรือนราษฎรถึง 10% ในปี ค.ศ. 1982 ได้เกิดภาวะน้ำท่วม จากพายุหมุนเขตร้อนในพื้นที่ 23 ตารางกิโลเมตร กระทบต่อประชากร 1/3 ของ ประชากรทั้งหมด ถ้ารวมกับน้ำทะเล ที่จะสูงขึ้นอีก 1 เมตรกับพายุหมุนเข้าด้วยกันแล้ว จะส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชากร สูงถึง 45%
    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นบริเวณที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ มักเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม หรือเป็นแหล่งให้ผลผลิตทางการเกษตรสูง ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน กิจกรรมทางการค้า ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ มีมูลค่าประมาณ 25% ของ GNP บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจำนวนมาก จะมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เนื่องจากอยู่ในที่ต่ำ จึงมีภาวะการเสี่ยงสูงมาก ต่อการเกิดภาวะน้ำท่วม เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น ยิ่งกว่านั้นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาอยู่แล้ว เนื่องจากการจัดการทรัพยากรไม่ดี และการทำลายที่อยู่อาศัยที่อยู่รอบ ๆ และในบางกรณีได้มีการสร้างเขื่อน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ทำให้การตกตะกอนลดลง ทำให้การชะล้างพังทลายของดิน และการจมตัวลงของแผ่นดิน ในท้องถิ่นนั้น ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น การชะล้างพังทลายของดิน และการจมตัวลงของแผ่นดิน ยังเกิดได้จากการสูบน้ำใต้ดินมากเกินไปอีกด้วย ดังเช่นที่เกิดขึ้นในเมืองเซี่ยงไฮ้ และเทียนสิน ประเทศจีนที่การป้องกันการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา สำหรับประชากร 13 และ 7 ล้านคน ตามลำดับ
    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีความอ่อนไหวมากที่สุด ได้แก่ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา - พรหมบุตร ในประเทศบังคลาเทศ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมหานที แม่น้ำคงคา ที่อยู่ทางตะวันตกของอ่าวเบงกอล ทางตะวันตกของอ่าวเบงกอลนี้ ถ้าน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 1 เมตร จะทำให้น้ำท่วมพื้นที่ประมาณ 1,700 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ผลผลิตสูงทั้งหมด และจะทำให้ประชากรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 750,000 คน ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ ในประเทศไนจีเรีย ระดับน้ำทะเล ที่จะสูงขึ้น 1 เมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 จะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ประมาณ 15,000 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากการป้องกัน ที่ได้ผลยังกระทำไม่ได้ ประชากรที่จะได้รับความเดือดร้อนต้องหาที่อยู่อาศัยใหม่ ประมาณครึ่งล้านคน

    http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=90
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่รุนแรงมาก ๆ กับภาวะน้ำท่วมชายฝั่ง

    บริเวณชายฝั่งจะได้รับผลกระทบทางลบจากอุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้าที่รุนแรงมาก ๆ พายุไซโคลน และคลื่นซัดฝั่งได้ จากแบบจำลองภูมิอากาศจำนวนมาก พบว่า ในบริเวณที่ภูมิอากาศร้อนกว่า โอกาสที่จะเกิดฝนตกหนักมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้างแบบจำลองภูมิอากาศโลก ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น และการคาดหมายการเปลี่ยนแปลง ในระยะยาวถึงความถี่ และ/หรือ ความรุนแรงของปรากฏการณ์ ที่รุนแรงมาก ๆ ในระดับท้องถิ่นยังกระทำไม่ได้ พื้นที่บริเวณชายฝั่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ยังมีความไม่แน่นอน ถึงความผันแปรของภูมิอากาศ ที่จะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับการเพิ่มขึ้นของ ระดับน้ำทะเลในแต่ละท้องที่ ว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง ถึงแม้จะเห็นชัดว่าบริเวณที่ต่ำแถบชายฝั่ง เมื่อเกิดฝนตกหนักมากขึ้น ผนวกกับการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล น่าจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชากรที่อาศัยในบริเวณนี้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ย้ายที่อยู่และเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มมากขึ้นของพายุไซโคลน เฮอริเคน หรือ ไต้ฝุ่น และภาวะน้ำท่วมที่เกิดตามมา อาจส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์อย่างร้ายแรงได้
    อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าความถี่ของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ เปลี่ยนแปลงไป เพียงเล็กน้อย แต่ลำพังการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ก็เพียงพอ ที่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วมชายฝั่ง เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบทางอ้อม ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ได้แก่ การ สูญเสียลักษณะการป้องกันทางธรรมชาติ เช่น สันทรายและป่าชายเลน เนื่องจากการชะล้างพังทลายเพิ่มมากขึ้น และการระบายของน้ำ จากลำธารชายฝั่งลดลง เนื่องจากอิทธิพลการไหลย้อนกลับ ของน้ำเกิดมากขึ้น การชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น และการระบายน้ำที่ลดลง ก็ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วมสูงเช่นกัน ซึ่งได้มีการคำนวณจำนวนประชากร ที่จะเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม อันเนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลไว้แล้ว โดยประเมินตามพื้นฐานความถี่การเกิดคลื่นซัดฝั่ง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประชากรปัจจุบัน และระดับการป้องกันอย่างธรรมดา อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ที่จะเกิดกับมนุษย์ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น ขอบเขต และประสิทธิภาพของโครงสร้างทางสาธารณสุข แนวโน้มทางสังคม และระดับความเตรียมพร้อม ที่จะเผชิญกับภัยพิบัติ แต่การคำนวณเชิงปริมาณที่ แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ยังกระทำไม่ได้
    ดังนั้น ในระหว่างนั้นควรดำเนินการวางแผนป้องกัน เช่น จะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่า การเตือนภาวะน้ำท่วมมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเตือนภาวะน้ำท่วม สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรลงได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าประชากรเหล่านั้น เคยประสบภัยพิบัติมาก่อน ผลกระทบของภาวะน้ำท่วม ที่จะมีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ อาจลดลงได้จากการออกแบบระบบน้ำประปา ให้ใช้ได้หลายวิธี เพื่อว่าเมื่อระบบใดระบบหนึ่งใช้การไม่ได้ ก็ยังมีระบบอื่นที่ยังใช้การได้ ไม่ทำให้ประชากรขาดน้ำอย่างสมบูรณ์ และการขนส่งน้ำไปยังพื้นที่ห่างไกล ก็จะต้องได้รับการประกันว่า ระหว่างการเกิดภัยพิบัติ จะไม่ถูกตัดขาด ซึ่งจะต้องกำหนดเส้นทางการขนส่งน้ำไว้หลาย ๆ เส้นทาง นอกจากนี้แนวป้องกันชายฝั่งธรรมชาติ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ ควรได้รับการป้องกันไว้ด้วย เพราะเป็นแนวกันชนพายุได้เป็นอย่างดี
    คุณภาพและปริมาณน้ำจืด
    ผลกระทบระยะสั้นที่สำคัญและเกิดขึ้นทันทีทันใดจากภาวะน้ำท่วม อันเนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล คือ คุณภาพและแหล่งน้ำจืด อย่างไรก็ตามผลกระทบในระยะยาว ว่าจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำใต้ดินด้วยหรือไม่ นั้น ยังไม่แน่นอน แม้ว่าเป็นที่ทราบแล้วว่า การไหลเข้ามาของน้ำเค็ม จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญกับเมืองชายฝั่ง เช่น เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ส่วนบนเกาะเล็ก ๆ ระดับน้ำใต้ดินที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งน้ำจืด ที่มีอยู่อย่างจำกัด ป้องกันได้ยาก และง่ายต่อการแทรกซึมเข้าไปของน้ำทะเล การแก้ไขแหล่งน้ำจืด ที่เสียหายไปแล้วตามวิธีการนี้ยากมาก การรุกไล่ของน้ำเค็มเข้าไปในแผ่นดินได้เกิดขึ้นแล้ว ในประเทศอิสราเอล ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และหมู่เกาะมาร์เชล ในมหาสมุทรแปซิฟิก บนหมู่เกาะมาร์เชล แหล่งน้ำในท้องถิ่นนำมาใช้ได้ไม่ยั่งยืน และอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น ได้มีการตั้งใจที่จะทำให้น้ำหายเค็ม หากน้ำเค็มแทรกซึมเข้ามาได้เพียง เล็กน้อยเพื่อใช้ภายในประเทศ แต่วิธีนี้ เป็นกระบวนการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเลที่มีต่อแหล่งน้ำจืด นั้น ควรได้รับการศึกษาให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น รวมทั้งศักยภาพในการปรับตัวด้วย
    ที่ราบต่ำบริเวณชายฝั่ง การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล อาจทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้นได้อีกด้วย นำไปสู่การเกิดความสกปรก เช่น เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย จากระบบการบำบัดน้ำเสีย ที่อาจหลุดเข้าไปในทางน้ำได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อประชากรในท้องถิ่นได้ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ถ้าหากความสกปรกนี้ หลุดเข้าไปในโซ่อาหาร
    โรคที่ต้องมีตัวนำโรค
    ผลจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่จะมีต่อการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายของโรคติดต่อ เป็นไปอย่างสลับซับซ้อน อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่มีต่อโรคที่ต้องมีตัวนำโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้มาลาเรีย ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยในท้องถิ่น เช่น ลักษณะภูมิประเทศชายฝั่ง และประวัติความเป็นมาทางธรรมชาติ ของชนิดตัวนำเชื้อโรคในท้องถิ่นนั้น ตัวอย่าง ในทวีปแอฟริกา โดยทั่วไปตัวนำหลักของโรคไข้มาลาเรีย Falciparum คือ Anopheles gambiae ชนิดต่าง ๆ แต่การเพิ่มขึ้นของน้ำกร่อย มีแนวโน้มว่าตัวนำโรคที่มีประสิทธิภาพ An.gambiae และ An.arabiensis จะถูกแทนที่โดยตัวนำเชื้อโรค An.melas และ An.merus ซึ่งมีประสิทธิภาพในการนำเชื้อโรคน้อยกว่า ตัวนำเชื้อโรค 2 ชนิดหลังทนทานน้ำเค็มในบริเวณแอฟริกาตะวันตก และแอฟริกาตะวันออกได้ดี ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล น่าจะมีส่วนทำให้การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย ในบริเวณชายฝั่งบางแห่งลดน้อยลง
    ในบริเวณอื่น การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล น่าจะมีผลทำให้โรคไข้มาลาเรียเพิ่มมากขึ้น ในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มียุงที่เป็นตัวนำเชื้อโรคไข้มาลาเรียหลายชนิด เจริญเติบโตได้ดี เช่น An.sundaicus ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และทางใต้ของประเทศบังคลาเทศ เป็นตัวนำโรคไข้มาลาเรีย ที่ทนความเค็มได้ บริเวณชายฝั่งที่เป็นดินเหนียวในประเทศเหล่านี้ เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ดังนั้น ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้น้ำเค็มรุกไล่เข้าไปในแผ่นดินได้มากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคจะมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ประชากรในท้องถิ่น เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้มาลาเรียเพิ่มมากขึ้น แต่ตัวนำโรค An.sundaicus ในประเทศอินโดนีเซีย ขยายพันธุ์ในน้ำจืด อาจลดจำนวนลงหากน้ำเค็มเพิ่มมากขึ้น
    แหล่งอาหาร
    ประมาณ 70% ของชนิดปลาเพื่อการค้าของโลกได้มาจากบริเวณชายฝั่ง เนื่องจาก พื้นที่ชุ่มน้ำ และแนวปะการังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลา และสัตว์ที่มีเปลือกหุ้มหลายชนิด การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะกระทบต่อผลผลิตอาหารของท้องถิ่น ผ่านทางผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังกระทบต่อการผลิตอาหาร ผ่านทางการที่พื้นที่เกษตรกรรมถูกทำลาย ถูกน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น และน้ำเค็มรุกไล่เข้าไปได้ยังแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ประเทศเกาะขนาดเล็ก จะได้รับผลกระทบทางลบอย่างมาก เพราะว่าราคาการนำเข้าอาหารจะเพิ่มสูงมากขึ้น
    ผลผลิตข้าวเป็นไปได้ว่าจะลดลงด้วย เนื่องจากปริมาณข้าวโลกประมาณ 8% ได้จากบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากที่สุด จากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล บริเวณนี้สามารถผลิตข้าวสำหรับเลี้ยงประชากรได้ ประมาณ 200 ล้านคน ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นครึ่งเมตร ในประมาณปี ค.ศ. 2100 จะมีประชากรถึง 75 ล้านคนที่ต้องสูญเสียแหล่งอาหารหลักไป ซึ่งประชากร ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ในเอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด
    ประชากรที่ต้องอพยพ
    ประชากรที่จะถูกไล่ที่เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล คือ ประชากรที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วม และยากจน ไม่ว่าจะเป็นในเขตชนบท หรือเขตเมืองก็ตาม เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรจำนวนมากที่เสี่ยงมากที่สุด เพราะการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานตามบริเวณชายฝั่ง ทำให้ทั้งสังคมและเศรษฐกิจเสื่อมลง เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เลว การตั้งถิ่นฐานแบบโดดเดี่ยวจำนวนมาก ในประเทศกำลังพัฒนา ก็จะได้รับผลกระทบด้วย การตั้งถิ่นฐานเช่นว่านี้ไม่มีการวางแผนมาก่อน และประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การตั้งถิ่นฐานในลักษณะนี้จำนวนมากที่กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่อยู่บริเวณชายฝั่ง เช่น กรุงเทพฯ บอมเบย์ กัลกัตตา การาจี มนิลา ลากอส จาการ์ตา ลิมา และริโอเดจาเนโร อิทธิพลของการถูกไล่ที่ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์นั้น จะขึ้นอยู่กับอัตราของการถูกไล่ที่ แต่เป็นสิ่งที่ประเมินได้ยากมาก ประชากรที่ถูกไล่ที่ หรือที่ต้องอพยพย้ายถิ่นยัง จะต้องประสบกับปัญหาแหล่งอาหาร และอาหารที่จะลดลง การสูญเสียที่ดิน ได้รับความเสียหายจากพายุ เศรษฐกิจถดถอยตามผลกระทบทางลบ ที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การจับปลา การท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจและการขนส่ง
    มาตรการการป้องกัน
    ประเทศชายฝั่งจะต้องวางแผนการจัดการชายฝั่งที่รัดกุม เพื่อให้ผลกระทบที่จะเกิดจากการเพิ่มสูงขึ้น ของระดับน้ำทะเล เป็นไปน้อยที่สุด ประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาได้ โดยการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ แผนการจะต้องแน่ใจว่า การเสี่ยงของประชากรมีน้อยที่สุด ระบบนิเวศสำคัญ ๆ ยังคงอยู่และได้รับการป้องกัน และการพัฒนาบริเวณชายฝั่ง จะต้องเป็นไปแบบยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐควรกำหนดการบริการ และทรัพยากรเฉพาะที่จะอยู่ในภาวะเสี่ยง และสร้าง มาตรการป้องกันไว้
    มาตรการการป้องกัน แบ่งได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้คือ
    1. การอพยพ : การละทิ้งพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงและสร้างที่อยู่ใหม่ให้กับประชากร
    2. การปรับตัว : ยังคงอยู่และใช้พื้นที่เดิมที่มีความเสี่ยง โดยมีการปรับปรุงการใช้ พื้นที่และ ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
    3. การป้องกัน : การปกป้องพื้นที่ที่เสี่ยงสูงให้รอดพ้นจากอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์กลางของประชากร กิจกรรมทางเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติ
    การอพยพอาจมีการวางแผนไว้ก่อนหรืออาจไม่ได้วางแผนไว้ก่อนก็ได้ แต่ในหลายสถานการณ์ ที่การอพยพจากการวางแผนไว้ก่อน เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

    http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=90
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ยิ่งโพสท์ยิ่งเห็นความน่ากลัวของภัยธรรมชาติ ไม่ว่าภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นหรือไม่ จะเกิดช้าหรือเร็ว ขอให้เรามีสติและทำแต่ความดี และตั้้งอยู่ในความไม่ประมาทนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...