ภัยที่เกิดจากน้ำและการป้องกัน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 พฤษภาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พายุ




    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content --> [​IMG] [​IMG]
    เมฆพายุหมุนเหนือเมือง Enschede ประเทศเนเธอร์แลนด์


    พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

    ประเภทของพายุ

    พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
    1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
    2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
      1. พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
      2. พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
      3. พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
      4. พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
      5. พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
    3. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง
    ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]แผนภาพแสดงปริมาณน้ำฝน ณ สถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ภายในกรอบสีเขียว แสดงค่าปริมาณน้ำฝนที่ตกใน 15 นาทีที่ผ่านมา หน่วยเป็น ม.ม. (ปรับปรุงข้อมูลทุกๆ 15 นาที) ส่วนภายในกรอบสีเทาหมายถึงข้อมูลขาดหายไปนานเกิน 30 นาที
    Click บริเวณสถานีตรวจวัดเพื่อแสดงแผนภูมิปริมาณน้ำฝน

    [​IMG]

    ที่มา : กรุงเทพมหานคร
    <table border="0"><tbody><tr><td>จัดทำโดย : </td><td>สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร</td></tr></tbody></table>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    โห หาได้เร็วมาก เอาลงเวิร์ดเลยนะ อิอิ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    รบกวนพวกพี่ๆ ช่วยเม้นท์ด้วยครับ ไม่รู้มาถูกทางเป่า จะได้หาข้อมูลมาเพิ่มเติมครับผม
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ได้เลย รวบรวมให้ได้มากที่สุด แล้วให้คุณกิ๊ก จะตัดเอาส่วนสำคัญที่หลังก็ว่าไปอย่าง

    รวบรวมว่าการป้องกัน หรือ การปฏิบัติถ้ามีภัยทางน้ำด้วยก็ดีนะ หรือถ้าเป็นการดี รวมรวมการพยากรณ์ว่า ภัยทางน้ำจะเกิดรูปแบบไหนได้บ้าง จะเกิดที่ไหนได้ พวกเราจะได้หาทางหนีทีไล่ได้ถูก
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ว.2 ทราบแล้วเปลี่ยน
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอเป็นแนว วิเคราะห์ ย่อยเนื้อหาลงมา ให้เข้าใจง่ายเป็นภาษาชาวบ้านนิดหนึ่งครับ เพราะเป็นเชิงวิชาการไปหน่อย

    หากวิเคราะห์แนวโน้ม หรือความเสี่ยงในการเกิดภัยแต่ละประเภทด้วยจะดีมากๆครับ ทุกคนที่ได้อ่านจะได้จับประเด็นกันได้ถูกครับ

    สรุปว่าเยี่ยมครับ ขยันมา สมกับรางวัล น้องใหม่ไฟแรงครับ
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ขอขอบคุณสำหรับทุกคอมเม้นทนะครับ ขอน้อมรับครับผม
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อสังเกตสัญญาณว่าอาจมี Tsunamis เกิดขึ้น

    ประมวลจากข่าวเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้ติดตามมาตลอดช่วง 3 วันที่ผ่านมา จะเห็นว่าในเว็บบอร์ดต่างๆ มี
    คนเป็นจำนวนมากเข้าไปเขียนตำหนิว่าทำไมไม่มีระบบเตือนภัยเพื่อจะได้แจ้งให้ผู้คนที่ทำกิจกรรมต่างๆ
    อยู่ในบริเวณชายฝั่งทราบว่ากำลังจะมีคลื่นยักษ์ซัดเข้าสู่ฝั่งแล้ว หรือแม้แต่การที่ศูนย์เตือนภัยซึนามิของ
    อเมริกาที่ฮาวายก็ทราบ แต่แก้ตัวว่าไม่มีเบอร์ติดต่อประเทศใดในภูมิภาคนี้ก็ตาม ก่อนที่เราจะต้องเอา
    ชีวิตของเราเองไปยืมจมูกคนอื่นหายใจในเรื่องของการเตือนภัย ลองหมั่นสังเกตธรรมชาติรอบๆ ตัว
    เราให้ดี อย่างละเอียดถี่ถ้วน เราก็อาจพบว่ามี 'สัญญาณ' บางอย่างแสดงให้รู้ เพียงแต่เราอาจ
    สังเกตไม่เห็นเท่านั้นเอง

    - ก่อนเกิดแผ่นดินไหว 9.0 ริคเตอร์ครั้งนี้เพียงไม่กี่วัน ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างแรงเช่นกันที่
    บริเวณใกล้ๆ เกาะทัสมาเนีย ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถ้าพิจารณาจากแผน
    ที่ของ plates 12 ชิ้นบนเปลือกโลกที่เรียงต่อๆ กันอยู่ จะพบว่าจุดที่เกิดเหตุครั้งนั้นกับครั้งนี้ อยู่บน
    plate เดียวกัน เพียงแต่เป็นคนละด้านของ plate ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเหตุจากการเกิดแผ่นดินไหว
    ครั้งก่อน ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ที่เปลือกโลก plate นี้ขึ้น และเป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งมหา
    วิปโยคนี้ตามมา

    - ว่ากันว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นเครื่องเตือนภัยแผ่นดินไหวที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เนื่องจากสัตว์หลายๆ ประเภท
    มีประสาทสัมผัสที่ไวกว่ามนุษย์เป็นสิบเป็นร้อยเท่า อย่างเช่นสุนัข นก หรือปลาโลมาเหล่านี้จะได้ยิน
    ความถี่เสียงที่สูงเกินกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน ซึ่งก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวบนบก จะพบว่าสุนัขมักจะเกิด
    อาการกระวนกระวาย ไม่เชื่อฟังท่านเหมือนเคย วิ่งเหมือนต้องการจะหนีหรือตื่นกลัวอะไรบางอย่าง
    หรือพวกนก จะบินกันอย่างแตกตื่น ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และครั้งนี้ก็เช่นกัน เพราะมีข่าวก่อนหน้านี้
    ไม่นานว่าได้เกิดปรากฏการณ์ปลาโลมาเป็นร้อยๆ ตัว ว่ายเกยตื้นมาตายบริเวณชายหาดของประเทศ
    ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ดังนั้นถ้าได้ยินข่าวในทำนองดังกล่าว ให้ระวังภัยพิบัติจากธรรมชาติที่จะ
    เกิดขึ้นในช่วงนั้นเป็นพิเศษ

    - เนื่องจากสึนามิมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกใต้ท้องทะเล ดังนั้นจะต้องมีแผ่นดินไหวหรือ
    ภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้นในทะเล ซึ่งแม้เราจะอยู่บนบก เราก็อาจสัมผัสได้ถึงอาการสั่นไหวหรือฝุ่นควัน
    ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ควรรีบถอยห่างออกจากพื้นที่ชายฝั่งก่อนโดยเร็วเพื่อเป็นการไม่
    ประมาท และเร่งตรวจสอบว่าเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น จุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากจุดที่ท่านอยู่มากน้อยเพียงใด
    และในแนวใด ถ้าจุดที่เราอยู่ อยู่ในแนวกระจายของหน้าคลื่นตรงๆ โดยไม่มีแผ่นดินบัง จะเกิดการ
    ปะทะที่รุนแรงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมชายฝั่งระนอง พังงา ภูเก็ต ถึงมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ใน
    ขณะที่ตรัง สตูลและมาเลเซียมีน้อยกว่า ก็เพราะมีหัวเกาะสุมาตราบังไว้นั่นเอง เนื่องจากคลื่นจะเดิน
    ทางในแนวเส้นตรงเท่านั้น ไม่สามารถเลี้ยวได้ และถ้าเป็นในแนวทแยงจากจุดกำเนิดคลื่น ก็จะได้รับผล
    กระทบน้อยกว่าจุดที่อยู่ในแนวการกระจายตัวของหน้าคลื่นโดยตรง ซึ่งจะกระเพื่อมเป็นวงไกลออกไป
    เรื่อยๆ จากจุดกำเนิดคลื่น ณ ตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหว นอกจากนั้นคลื่นซึนามิยังเดินทางไปได้ไกลมาก
    เพราะที่ชายฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา คือ โซมาเลีย เคนยา แทนซาเนีย มาดากัสการ์ ฯลฯ ที่อยู่
    ไกลออกไปจากจุดเกิดเหตุร่วม 6,000 ถึง 7,000 กิโลเมตร ก็ยังได้รับผลกระทบ มีคนเสียชีวิตจาก
    ซึนามิครั้งนี้เช่นกัน

    - ข้อสังเกตสำคัญเกี่ยวกับภัยพิบัติทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็นธารน้ำตกหรือชายฝั่งทะเลก็ตาม คือการที่ระดับ
    น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาทีและการเปลี่ยนสีของน้ำอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น
    ถ้าคุณเล่นน้ำตกอยู่ แล้วสังเกตเห็นน้ำเปลี่ยนเป็นสีขุ่นหรือแดงกระทันหัน ให้รีบขึ้นไปบนตลิ่งและ
    สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจมีน้ำป่าซัดมาในเวลาไม่นาน (เหมือนที่เคยเกิดขึ้นที่วังตะไคร้ จ.นครนายก ก็
    เคยมีคนให้สัมภาษณ์ทำนองนี้เช่นกัน) ส่วนสึนามิครั้งนี้ ก็ได้เกิดการลดระดับของน้ำทะเลลงอย่างรวด
    เร็วจนแห้งขอดจากแนวชายฝั่งเดิม ภายในเวลาไม่กี่นาที ก่อนที่คลื่นยักษ์จะซัดเข้าสู่ชายฝั่ง
    (ซึ่งยิ่งน้ำลดไกลเท่าใด คลื่นที่จะซัดในเวลาหลังจากนั้นก็น่าจะรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น) หรือถ้าคนที่กำลัง
    ดำน้ำอยู่ ก็จะพบว่าระดับความใสและความแรงของกระแสน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน ซึ่ง
    ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ให้รีบหนีให้ห่างจากชายฝั่งขึ้นไปอยู่บนที่ดอนโดยเร็วที่สุด อย่ามัวแต่มุงดูหรือสงสัย
    ว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะคุณอาจหนีไม่ทันเมื่อมองเห็นยอดคลื่นซัดเข้ามาแล้ว

    - ซึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล ไม่ได้เกิดจากลมหรือพายุ จะมีลักษณะเป็นคลื่นใต้น้ำมากกว่าคลื่น
    บนผิวน้ำ เพราะฉะนั้นบนผิวทะเลที่ห่างชายฝั่งจะดูค่อนข้างสงบ แต่จะแผลงฤทธิ์อย่างรุนแรงก็ต่อเมื่อซัด
    เข้าสู่ชายฝั่งแล้ว ดังนั้นจึงสังเกตได้ค่อนข้างยาก (ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุด น่าจะเป็นการที่น้ำทะเล
    ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว)

    - ถ้าคุณอยู่บริเวณชายฝั่งและสงสัยว่าจะเกิดซึนามิซัด สติคือสิ่งสำคัญที่สุด มองหาทางหนีทีไล่ไว้ให้ดี ถ้า
    หนีไม่ทันให้จับยึดสิ่งที่มั่นคงแข็งแรงพอที่จะไม่ปลิวไปตามความแรงของน้ำ (เช่นต้นมะพร้าว) ให้แน่น
    เพื่อไม่ให้น้ำกวาดคุณลงไปในทะเล หรือถ้ามีตึกสูงอยู่ใกล้ๆ ให้วิ่งหนีขึ้นไปบนตึกชั้นสูงสุด
    (ถ้าคุณมั่นใจว่าตึกนั้นสูงพ้นยอดคลื่นและแข็งแรงพอที่จะไม่พังทลายไปตามกระแสน้ำตอนที่คลื่นซัดเข้ามา)
    อย่าวิ่งสะเปะสะปะเป็นอันขาด เพราะซึนามิซัดเร็วและแรงกว่าที่คุณคิดไว้มาก อย่าพาตัวเองเข้าไปอยู่
    ในมุมอับที่น้ำท่วมเข้าไปได้โดยที่คุณไม่มีทางออก อย่างห้องพักในโรงแรมหรือที่จอดรถใต้ดิน และให้
    ระวังเศษสิ่งของต่างๆ ที่จะปลิวมาปะทะร่างกายคุณตอนที่น้ำซัดเข้ามาและกวาดข้าวของลงไปในทะเล
    ด้วย

    - ถ้าคุณอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าหรืออยู่ในทะเลอยู่แล้ว คิดว่าหนีขึ้นที่สูงบนชายฝั่งไม่ทัน และถ้าคุณมั่นใจว่า
    เรือคุณมีขนาดใหญ่พอที่จะลอยลำต้าน ในกรณีเจอคลื่นสูงๆ ได้ ให้รีบออกห่างจากชายฝั่งให้เร็วและไกล
    ที่สุด เพราะน่าจะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าอยู่ใกล้ชายฝั่งซึ่งเป็นจุดที่อันตรายที่สุด

    - ถ้าคุณเป็นคนที่ว่ายน้ำแข็ง และยังมีลมหายใจ ไม่สำลักน้ำไปเสียก่อนตอนที่ถูกน้ำซัด ถ้าคุณถูกน้ำกวาด
    ลงไปในทะเล ให้พยายามออกแรงให้น้อยที่สุด พยายามลอยตัว พยุงตัวเองเข้าไว้ เซฟแรงไว้ให้
    มากที่สุด เพื่อรอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่บนฝั่ง อย่าพยายามออกแรงว่ายเข้าสู่ชายฝั่งเองถ้าไม่มั่น
    ใจว่าใกล้พอ เพราะมันอาจไกลกว่าที่คุณคิดหรือที่ประมาณไว้ด้วยสายตามาก

    - เหตุการณ์ครั้งนี้ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเช้า ทำให้พอมองเห็น 'สัญญาณเตือน' ล่วงหน้าของภัยธรรมชาติ
    อยู่บ้าง รวมทั้งยังมีคณะนักท่องเที่ยวที่ขึ้นเรือไปอยู่กลางทะเลแล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
    ในตอนกลางคืนที่คนส่วนใหญ่เข้าพักนอนในห้องพักริมชายหาดและกำลังพักผ่อนโดยไม่ทันระวังตัวใดๆ
    อาจเกิดความสูญเสียมหาศาลกว่านี้ ซึ่งถ้าเป็นเหตุการณ์ตอนกลางคืน 'ระบบแจ้งเตือนภัยซึนามิ' ที่น่า
    จะถูกผลักดันให้เข้าสู่ครม. ในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด

    หากบทความนี้ยังพอมีข้อมูลที่มีประโยชน์อยู่บ้าง ขออุทิศความดีเหล่านั้นแด่ดวงวิญญาณที่
    ล่วงลับไปในเหตุการณ์คลื่นยักษ์ซึนามิครั้งนี้ ขอทุกดวงจงสู่สุคติภพด้วยเทอญ และขอแสดงความเสียใจ
    อย่างสุดซึ้งไปยังครอบครัวและญาติมิตรของผู้สูญเสียทุกท่านด้วยครับ

    http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=2108
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อุทกภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง และแผ่นดินไหว ทำให้เขื่อนแตก เกิดภัยจากน้ำท่วมได้แบ่งได้ 2 ชนิด

    1.1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน

    1.2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร

    การป้องกันอุทกภัย
    * ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
    * สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
    * ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
    * เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
    * ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
    * เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง
    * ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
    * หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค

    พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง อากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศข้างเคียงไหลเข้ามาแทนที่ ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆ ทวีความสูงมากขึ้น มองเห็นคล้ายทั่งตีเหล็กสีเทาเข้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บ หากตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน อาจ เกิดพายุลมหมุนหรือ พายุงวงช้างมีลมแรงมาก ทำความเสียหายบริเวณที่เคลื่อนผ่าน สภาวะอากาศก่อน/ขณะ/หลังของพายุฝนฟ้าคะนอง (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)
    ก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
    » อากาศร้อนอบอ้าว
    » ลมสงบ หรือลมสงบ
    » ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
    » เมฆก่อตัวเป็นรูปทั่งสีเทาเข้ม ยอดเมฆสูงกว่า 10 กม.
    ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
    » ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง
    » ฝนตกหนักถึงหนักมาก บางครั้งมีลุกเห็บ
    หลังเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
    » พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส

    การป้องกันพายุฝนฟ้าคะนอง
    * ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
    * สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
    * ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
    * ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
    * ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
    * ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง <hr color="#0000ff" size="1" width="700"> <table align="center" border="0" bordercolor="#006600" cellpadding="5" width="700"> <tbody><tr> <td class="normal" width="86%">คลื่นพายุซัดฝั่ง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ความสูงของคลื่นขึ้นกับความแรงของพายุ</td> </tr> </tbody></table> <hr color="#0000ff" size="1" width="700"> <table align="center" border="0" bordercolor="#006600" cellpadding="5" width="700"> <tbody><tr bordercolor="#CCCCCC"> <td class="normal" bordercolor="#006600" width="86%">แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินเลื่อน ถล่ม และเกิดจากมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์ ภาคเหนือส่วนมากจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริกเตอร์ และเคยเกิดขนาดใหญ่สุดที่บันทึกได้ 5.6 ริกเตอร์ ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก วันที่ 17 ก.พ.2518</td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="1" bordercolor="#ffffff" cellpadding="0" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    ขนาดแผ่นดินไหว​
    </td> <td>
    ผลกระทบ​
    </td> <td>
    จำนวนครั้ง/ปี ​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    ริกเตอร์​
    </td> <td>
    รัศมีและความลึกไม่เกิน 100 กม.​
    </td> <td>
    รอบโลก​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    3.5-4.2​
    </td> <td>
    บางคนรู้สึกสั้นสะเทือน​
    </td> <td>
    30000​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    4.3-4.8​
    </td> <td>
    หลายคนรู้สึกสั่นสะเทือน​
    </td> <td>
    4800​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    4.9-5.4​
    </td> <td>
    เกือบทุกคนรู้สึกสั่นสะเทือน​
    </td> <td>
    1400​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    5.5-6.1​
    </td> <td>
    อาคารเสียหายเล็กน้อย​
    </td> <td>
    500​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    6.2-6.9​
    </td> <td>
    อาคารเสียหายปานกลาง​
    </td> <td>
    100​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    7.0-7.3​
    </td> <td>
    อาคารเสียหายรุนแรง​
    </td> <td>
    15​
    </td> </tr> <tr bordercolor="#CCCCCC" class="normal"> <td>
    ตั้งแต่ 7.4​
    </td> <td>
    อาคารเสียหายรุนแรง​
    </td> <td>
    4​
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" bordercolor="#ffffff" cellpadding="5" width="700"> <tbody><tr bordercolor="#006600" class="normal"> <td class="normal" width="88%">ข้อควรปฏิบัติ ก่อน/ขณะ/หลัง เกิดแผ่นดินไหวอันเกิดแผ่นดินไหว
    » เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล อุปโภค บริโภค กรณีฉุกเฉิน
    » เตรียมพร้อม สมาชิกในครอบครัว วางแผนอพยพหากจำเป็น
    » ไม่วางของหนักบนชั้นสูงๆ ยึดตู้หนักไว้กับผนังห้อง
    ขณะเกิดแผ่นดินไหว
    » อยู่ในอาคารสูง ควบคุมสติ หลบใต้โต๊ะแข็งแรง ไม่วิ่งลงกระได ลงลิฟต์
    » ขับรถให้หยุดรถ ควบคุมสติ อยู่ภายในรถจนการสั่นสะเทือนหยุดลง
    » อยู่นอกอาคาร ห่างจากอาคารสูง กำแพง เสาไฟฟ้า ไปอยู่ที่โล่งแจ้ง
    หลังเกิดแผ่นดินไหว
    » ออกจากอาคารสูง รถยนต์ สำรวจผู้ประสบภัย ตรวจสอบความเสียหาย
    » ปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่งแพทย์หากเจ็บหนัก
    » ยกสะพานไฟ อยู่ห่างจากสายไฟที่ไม่อยู่กับที่ ซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอทันที</td> </tr> </tbody></table> <hr align="center" color="#0000ff" size="1" width="700"> แผ่นดินถล่ม การเกิดดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากแต่เราก็สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงได้ ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังที่ดีแล้ว จะลดความเสียหายได้แน่นอน

    การสังเกตก่อนเกิดดินถล่ม
    - น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่นแสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
    - เวลาฝนตกนาน ๆ จะมีเสียงดังเหมือนตอนมีน้ำป่ามา ต้นไม้ล้มหรือก้อนหินกลิ้งดังครืน ๆ ถ้ามีเสียงนั้นจริง ๆ แสดงว่าดินจะถล่มลงมา
    - บ้านที่อยู่ในที่ราบเชิงเขาอาจจะเกิดดินถล่มจากภูเขาลงมาทำความเสียหายแก่บ้านเรือนได้

    สาเหตุการเกิดดินถล่ม
    - ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันหรือดินบนลาดเขาเป็นดินร่วนและมีความลาดชัน มาก ๆ
    - การทำไร่เลื่อนลอยบนภูเขา ทำให้สภาพดินต้องไป เมื่อฝนตกหนักนาน ๆ ดินบนภูเขานั้นอิ่มน้ำและไถลลงมาตามลาดเขานำเอาตะกอนดิน, ก้อนหิน, ซากไม้ล้มลง มาด้วย

    ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดดินถล่ม
    - ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ต้องเฝ้าระวังกันให้ดี โดยให้อพยพ หรือให้หนีไปที่สูง ๆ และต้องรีบแจ้งต่อ ๆ ให้รู้ทั่วกันโดยเร็ว
    - ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะจะโดนซากต้นไม้ ก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนถึงตายได้
    - ให้หาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะเอาไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้

    ข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด
    - อย่าปลูกบ้านหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป
    - ช่วยกันร่วมมือร่วมแรงอย่าตัดไม้ทำลายป่า
    - ปลูกต้นไม้เพิ่มไว้ช่วยซับน้ำ
    - ช่วยกันปลูกป่าบริเวณที่ถูกทำลายและป้องกันไม่ให้ตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทุก ๆ คนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง
    - จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบ ๆ หมู่บ้านเมื่อมีสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
    - ติดตามฟังข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อทราบสภาพสถานีการณ์ของภาวะฝนตกหนักหรือน้ำป่าไหลหลาก

    http://www.cmmet.com/met/natural_danger.php#flood
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    การเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม
    บทเรียนจากความเสียหาย และการเตรียมรับสถานการณ์ในอนาคต

    การจัดตั้งระบบติดตามสถานการณ์และเตือนภัย

    ระบบติดตามสถานการณ์และเตือนภัยเพื่อให้ประชาชนรู้ล่วงหน้า จะได้มีเวลาเตรียมตัวทัน ช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากน้ำท่วมฉับพลันได้อย่างมาก เป็นระบบที่ประชาชนสามารถจัดทำกันเองได้ดังนี้
    1. จัดเครือข่ายเพื่อติดตามหาข้อมูลการรายงานอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในตำบลและอำเภอต่างๆ โดยรอบจังหวัด เท่าที่จะหาได้จากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เช่น สำนักงานอุตุนิยม ศูนย์พยากรณ์อากาศ และศูนย์เรดาร์ ซึ่งมีกระจายอยู่แล้วในพื้นที่ และสอบถามกันเองจากประชาชนในที่ต่างๆ ซึ่งพอจะสังเกตได้หรืออาจสร้างเครื่องมือวัดน้ำฝนแบบง่ายๆ สำหรับวัดเองด้วย
    2. ประมวลข้อมูลต่างๆ ที่หาได้ และสอบถามการพยากรณ์ของหน่วยงานรัฐประกอบด้วย
    3. เมื่อข้อมูลต่างๆ แสดงว่ามีแนวโน้มสูงที่น้ำอาจท่วม ไม่ว่าจะเป็นการท่วมธรรมดาหรืออย่างฉับพลัน ก็รีบให้ข่าวเตือนภัยแก่ประชาชนทางสื่อต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ทำให้ประชาชนแตกตื่น เพราะเป็นการเตือนให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น
    4. ประชาชนทุกคนควรติดตามฟังข่าวการพยากรณ์อากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ตลอดเวลาด้วย

    สิ่งที่ประชาชนทุกคนควรเตรียมให้พร้อมก่อนน้ำท่วม

    1. ต้องตระหนักว่า น้ำท่วมจะทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้มากมาย และผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เมืองหาดใหญ่ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ
    2. วางแผนในครอบครัวให้ทุกคนมีความรู้และหน้าที่ต่างๆ
    -แผนดูเด็ก, ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ (หากมี)
    -แผนการอพยพหนีภัย หากต้องละทิ้งบ้านเรือนหรือที่ทำงาน, รู้ที่ๆ จะไปอาศัย เช่น บ้านญาติ เพื่อนสนิท สถานที่ราชการ หรือที่สูงๆ ที่ปลอดภัย, รู้เส้นทางที่ปลอดภัยที่จะเดินทางไปที่นั้นๆ ให้มากกว่า 1 เส้นทาง พร้อมทั้งกำหนดจุดนัดพบ หรือบุคคลที่จะติดต่อแจ้งข่าว ในกรณีที่อาจพลัดพรากกันระหว่างหนีภัยหรืออยู่กันคนละแห่ง เพื่อสำรวจว่าไม่มีใครสูญหายไป
    -ขณะน้ำท่วมอาจเกิดไฟไหม้ได้ด้วย ต้องรู้ทางหนีออกจากบ้านหรือที่ทำงานให้มากกว่า 1 ทาง บ้านที่มุงกระเบื้อง หน้าต่างเหล็กดัด ควรมีบางช่องมีบานพับเปิดได้เป็นทางออกฉุกเฉิน แม้แต่บางบ้านซึ่งอาจต้องหนีออกทางหลังคา จะต้องมีช่องที่จะขึ้นไปรื้อหลังคาออกได้
    -แผนป้องกันไฟฟ้าดูด ควรมีความรู้เรื่องไฟฟ้า รู้ตำแหน่งสะพานไฟฟ้า สำหรับตัดไฟเมื่อน้ำจะท่วมปลั๊กไฟ และไม่ควรลงไปในน้ำ ในที่สงสัยว่าอาจมีไฟฟ้ารั่วอยู่ในน้ำ
    -แผนป้องกันขโมย
    -แผนช่วยเหลือกันและกันกับเพื่อนบ้าน
    3. อาหารที่จำเป็นระหว่างน้ำท่วม ได้แก่
    -อาหารสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูป ที่ไม่ต้องการการหุงการปรุงมาก และอาหารที่ไม่ต้องแช่เย็น อาหารกระป๋อง ควรเตรียมที่เปิดด้วยมือไว้ด้วย
    -เครื่องดื่มสำเร็จรูป
    -อุปกรณ์การปรุงอาหาร เช่น หม้อ, กระทะ, ถ้วยชามเท่าที่จำเป็น, เตาแก๊สที่พอใช้ได้ประมาณ 7-10 วัน, มีดทำครัว, ไม้ขีดไฟ หรือไฟสำหรับจุดบุหรี่, แก้วน้ำ, กระติกน้ำร้อน
    -ในกรณีที่มีอาหารสดเหลืออยู่ ควรรีบทำให้สุก เพื่อเก็บได้นานขึ้น และใช้กินก่อน
    -กระดาษชำระ สำหรับเช็คถ้วยชามก่อนล้าง
    -ถุงพลาสติกสำหรับใส่เศษอาหารและของอื่นๆ และเชือกสำหรับผูกปากถุง
    4. น้ำ ทั้งน้ำดื่มและน้ำใช้ เตรียมภาชนะใส่ไว้ให้พอใช้อย่างประหยัดได้สัก 7-10 วัน และต้องใช้ด้วยความประหยัดที่สุดทุกครั้ง
    5. เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องแต่งตัวที่จำเป็น
    -เสื้อผ้า ในกรณีต้องละบ้านเรือน
    -เครื่องกันหนาวกันฝน
    -รองเท้าแตะที่มีสายรัดส้น ป้องกันอุบัติเหตุ บาดแผลจากเศษกระเบื้อง กระจก โลหะหรือของมีคมอื่นๆ ที่จมอยู่ในน้ำ
    6. ชุดปฐมพยาบาลและสุขอนามัย, ชุดทำแผล, ยาแก้ปวด แก้ไข้ แก้หวัด ท้องเดิน ภูมิแพ้ และยาสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว จำนวนให้พอเพียงสำหรับเวลา 7-10 วัน, กระดาษชำระ, ผ้าอนามัย, สบู่, ผงซักฟอก
    7. ห้องน้ำที่จะใช้ขณะน้ำท่วม เช่น ห้องน้ำบนชั้นบนของบ้าน เพราะห้องน้ำชั้นล่างจะใช้ไม่ได้ และควรป้องกันการไหลย้อนกลับออกมาทางห้องส้วมชั้นล่าง ด้วยการอุดโถส้วมชั้นล่างด้วยผ้าผืนโตพอที่จะไม่หลุดลงไปในท่อและทับไว้ด้วยของหนักๆ ส่วนท่อที่ต่อไปยังถังบำบัด (ในต่างประเทศเขายังติดตั้งลิ้น ปิด-เปิด อัตโนมัติป้องกันน้ำเสียไหลย้อนกลับอีกด้วย)
    ในกรณีที่จะไม่มีห้องส้วมใช้ อาจกำหนดมุมใดมุมหนึ่งที่มิดชิดในบ้าน เตรียมถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะสำหรับถ่ายใส่ เตรียมเชือกสำหรับผูกปากถุงให้แน่นสนิท (ไม่ใช้วิธีผูกหูหิ้วถุงเข้าหากัน เพราะจะมีช่องรั่วออกได้) และถุงเก็บขยะพลาสติกสำหรับใส่รวมไว้ก่อนด้วย ห้ามโยนทิ้งไปตามน้ำ เพราะจะไปเป็นขยะติดเชื้อแก่ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
    8. อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ
    -ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉายใหม่ๆ สำรองให้พอเพียง เพราะขณะน้ำท่วมไฟฟ้าจะดับด้วย
    -วิทยุกระเป๋าหิ้วพร้อมถ่านใหม่ๆ สำรองเพื่อฟังข่าวน้ำท่วม และการพยากรณ์อากาศ
    -โทรศัพท์มือถือ (ถ้ามี) เพื่อการติดต่อแจ้งข่าว หรือขอความช่วยเหลือ
    -หมายเลขโทรศัพท์ที่จำเป็น เช่น จังหวัด, อำเภอ, เทศบาล, หน่วยดับเพลิง, โรงพยาบาล, สถานีตำรวจ, หน่วยงานอุตุนิยม, ศูนย์เรด้าร์ตรวจอากาศ, ญาติ, เพื่อน, และประชาชนผู้ที่เป็นเครือข่ายเตือนภัย
    -ไฟฉายฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับ
    -เครื่องมือช่างที่จำเป็น เช่น ฆ้อน, ตะปู, คีมด้ามยาง, ไขควงที่ทดสอบไฟฟ้าได้ด้วย, เลื่อยไม้, เลื่อยเหล็ก ซึ่งปกติก็เป็นเครื่องมือประจำบ้านอยู่แล้ว
    -ไม้กวาด, ไม้ถูพื้น, ถังน้ำ, แปรงและที่ขัดทำความสะอาดพื้นและฝาผนัง สำหรับเวลาน้ำกำลังลด
    -เครื่องดับเพลิงประจำบ้าน
    -ถุงทรายพร้อมทราย เพื่อทำทำนบกั้นประตู หรือเขื่อนกั้นน้ำ ในกรณีที่น้ำท่วมไม่สูงนัก (และหากใช้แล้วควรเททรายออกจากถุง และเก็บทรายและถุงไว้สำหรับใช้คราวหน้าได้ ไม่ควรเททรายทิ้งหรือเทลงแม่น้ำ ลำคลอง)
    -บ้านในชนบท, ชานเมือง, หรือวัด ที่น้ำท่วมสูง อาจจำเป็นต้องมีเรือด้วย
    -เชือกเส้นโตพอประมาณ และยาวพอที่ขึงโยงกับบ้านข้างเคียงหรือตรงข้าม ทบต่อกันเป็นวงเพื่อทำเป็นรอกส่งของช่วยเหลือกันได้ หรืออาจขึงเลาะไปตามประตูหน้าบ้านสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินไปตามข้างถนนได้เกาะ
    -เสื้อชูชีพในรายที่คิดว่าจำเป็น (อาจใช้ถังพลาสติกปิดฝาผูกติดกัน หรือยางใน รถยนต์เก่าๆ สูบลมก็ได้)
    9. สร้างของใช้ในบ้านให้เหมาะกับบ้านที่น้ำจะท่วมได้
    -เฟอร์นิเจอร์, ฝาบ้าน ที่ทำด้วยไม้อัด เสียหายง่าย
    -ของหนักๆ ชิ้นโตๆ ขนย้ายยาก
    -แผ่นยิบซั่มทำฝาผนัง, กระดาษปิดฝาผนัง เสียหายง่าย
    -ของมีค่า, เอกสารสำคัญ, ตู้นิรภัย ควรอยู่ในที่สูงหรือชั้นบนสำหรับบ้านหลายชั้น
    10. เงินสด เพื่อใช้จ่ายในขณะที่น้ำท่วมไม่สามารถไปเบิกจากธนาคาร หรือจากเครื่อง ATM ได้
    11. รถยนต์, รถจักรยานยนต์ ราคาแพงและค่าซ่อมแพง ควรกำหนดที่ๆ จะนำไปจอดหนีน้ำได้อย่างปลอดภัยไว้ล่วงหน้า เมื่อได้รับการเตือนภัย ควรเติมน้ำมันรถให้เต็ม เพราะปั๊มน้ำมันอาจเปิดบริการไม่ได้ทันทีหลังน้ำลด หรือน้ำมันอาจหมดพอดีขณะหนีน้ำ ควรรีบนำรถไปเก็บในที่ปลอดภัยแต่เนิ่นๆ หากน้ำกำลังท่วมถนนและน้ำไหลเชี่ยว ต้องระมัดระวังมากๆ เพราะพื้นถนนหรือคอสะพานอาจขาดหรือเป็นหลุมเป็นบ่อที่เรามองไม่เห็น หากน้ำท่วมสูงถึงเครื่องยนต์ หรือเครื่องยนต์สำลักน้ำแล้วไม่ควรขับฝ่าไป หรือหากข้างหน้าน้ำท่วมสูงหรือไหลเชี่ยวมากไม่ควรขับฝ่าไป เพราะน้ำอาจพัดพารถไปได้ ควรรีบหันกลับไปทางอื่นและควรวางแผนหาเส้นทางสำรองที่ปลอดภัยอื่นไว้ล่วงหน้าด้วย
    12. ครอบครัวในชนบทที่เลี้ยงปศุสัตว์ ต้องวางแผนการโยกย้ายสัตว์ไปไว้ยังที่ปลอดภัย โดยเส้นทางที่ปลอดภัย พร้อมทั้งอาหารสำรองด้วย
    13. ผู้ที่สนใจประกันภัยน้ำท่วมหรือประกันอื่นๆ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดจากบริษัทประกันภัยให้ชัดเจน และต้องเข้าใจข้อความในสัญญาต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ในการประกัน

    การปฎิบัติในระยะระวังภัยน้ำท่วม

    1. ฟังข้อมูล ประกาศ ข่าวต่างๆ เกี่ยวกับภาวะที่น้ำอาจท่วมอย่างใกล้ชิด
    2. เฝ้าระวัง สังเกตลักษณะที่อาจเกิดน้ำท่วม จากเครือข่ายของประชาชนกันเองที่วางไว้แล้ว
    3. เติมน้ำมันรถยนต์, จักรยานยนต์ ให้เต็ม
    4. เริ่มสำรองอาหาร, น้ำ, ของใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เพราะเมื่อน้ำเริ่มท่วมจะไม่มีเวลาจัดเตรียมของเหล่านี้
    5. เริ่มเก็บของที่มีค่ามากหรือที่สำคัญเสียก่อนของอื่นๆ

    เมื่อมีประกาศหรือประมวลข้อมูลได้ว่าน้ำจะท่วม

    1. ขนของที่จำเป็นเพิ่มเติมไว้ในที่ปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อต่างๆ ที่เตรียมตัวไว้แล้วทุกอย่าง
    2. หากเป็นบ้านชั้นเดียวในที่น้ำจะท่วมมากได้ บ้านไม่แข็งแรงพอ หรือในบริเวณที่ประกาศว่าจะอันตรายมากให้ย้ายหนี และต้องย้ายหนีทันที ไปยังบ้านญาติ เพื่อน ที่วางแผนกันไว้แล้ว หรือที่ๆ ทางการกำหนดให้ทันที
    3. ฟังข่าวสภาพน้ำ ฝน พายุ ตลอดเวลา จากวิทยุและโทรทัศน์ สอบถามจากเครือข่าย ประชาชนที่วางแผนไว้แล้ว
    4. โยกย้ายรถยนต์, สัตว์เลี้ยง, ไปไว้ในที่ปลอดภัย
    5. เก็บน้ำสะอาดไว้ในภาชนะต่างๆ และอ่างอาบน้ำ
    6. สำรวจความครบถ้วนในสิ่งที่ต้องเตรียมรับน้ำท่วม

    เมื่อน้ำท่วม

    1. อย่าพยายามเข้าไปในบริเวณที่น้ำกำลังท่วม น้ำท่วมชนิดฉับพลัน อาจมากและรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง เกิดอันตรายได้มากๆ
    2. ไม่พยายามลงไปในน้ำโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องลงไป ต้องสวมรองเท้าทุกครั้ง และเดินช้าๆ
    3. หากเดินไปตามทางเจอน้ำหลากมาถึงข้อเท้าแล้ว อย่าพยายามเดินฝ่าต่อไป ให้หันกลับไปทางอื่นทันที หรือหลบขึ้นไปอยู่ในที่สูงที่ปลอดภัย
    4. หากกำลังขับรถอยู่ อย่าพยายามขับฝ่าไปตามถนนที่น้ำท่วม เพราะผิวถนนอาจถูกน้ำเซาะขาดแล้วโดยไม่สามารถมองเห็นได้ ทางที่ปลอดภัยควรกลับรถไปทางอื่น หรือเมื่อน้ำท่วมมากแล้วรอบด้านและไหลเชี่ยว และโดยเฉพาะเมื่อเครื่องยนต์เริ่มสำลัก ควรยอมทิ้งรถดีกว่าเสี่ยงชีวิต เพราะน้ำอาจพัดรถให้ลอยไปหรือพลิกคว่ำได้
    5. อย่าเข้าไปใกล้ทางน้ำ, ลำธาร หรือแม่น้ำ ที่น้ำกำลังท่วม โดยเฉพาะเด็ก, ผู้หญิง, ผู้สูงอายุ แม้แต่ผู้ชายที่แข็งแรง ก็อาจถูกน้ำพัดจมน้ำเสียชีวิตได้
    6. แม้บนถนนที่น้ำกำลังท่วมและไหลเชี่ยว อย่าพยายามเดินตัดข้ามกระแสน้ำเพื่อข้ามถนน โดยไม่มีเชือกขึงให้ยึด หากกำลังเดินอยู่บนถนนที่น้ำท่วม ต้องเดินเกาะผนังบ้านเรือนตลอดเวลา และที่ดีที่สุดไม่ควรไปเดินเล่นเลย เพราะนอกจากอันตรายจากน้ำแล้ว อาจมีเศษกระจก, กระเบื้อง, สังกะสี และโลหะของมีคมที่จมอยู่ในน้ำบาดเอาได้ หรืออาจมีสายไฟฟ้าที่อยู่ตามป้ายโฆษณา หรือจากอาคารบ้านเรือนที่รั่วออกมาเป็นอันตรายถึงตายได้
    7. เปิดวิทยุฟังข่าวตลอดเวลา
    8. กินอาหารและใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด อาหารสดที่เก็บไม่นานควรทำให้สุก และเก็บไว้กินก่อน จานอาหารใช้แล้วเช็ดด้วยกระดาษชำระก่อน จะได้ไม่ต้องใช้น้ำล้างมาก
    9. ขยะ ควรเก็บใส่ถุงไว้ทิ้งภายหลังน้ำลด ห้ามทิ้งไปกับน้ำ เพราะจะไปอุดตามท่อหรือทางระบายของน้ำ และจะไปเป็นมลภาวะในที่ต่างๆ ได้
    10. ระวังสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู, ตะขาบ, แมงป่อง ที่อาจมากับน้ำ และแม้แมลงสาบ, หนู ซึ่งอาจทำให้เกิดโรค
    11. อย่าให้น้ำท่วมเข้าปากหรือปนเปื้อนในอาหาร เพราะจะทำให้ท้องเดินได้
    12. ระวังรักษาสุขภาพโดยเฉพาะโรคหวัด, ไข้หวัดใหญ่, โรคฉี่หนู
    13. เมื่อน้ำเริ่มท่วมบ้านจะถึงปลั๊กไฟฟ้า ให้ตัดไฟฟ้าเสียทันที
    14. เมื่อไฟฟ้าดับ ให้ใช้แต่ไฟฉายเท่านั้น ห้ามใช้เทียนไข ไต้ หรือตะเกียง เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ขึ้นมาได้ง่าย โดยเฉพาะหากแก๊สหุงต้มรั่วหรือมีน้ำมันหรือสารติดไฟอื่นๆ อยู่ในที่นั้น
    15. ปิดหัวถังแก๊สหุงต้มทั้งหมด หากมีกลิ่นแก๊สรั่ว รีบเปิดหน้าต่างแล้วรีบหนีออกจากบ้านทันที ห้ามจุดไฟหรือเปิดสวิตซ์ไฟฟ้าเด็ดขาด จะใช้ได้ก็แต่ไฟฉายเท่านั้น พยายามเฝ้าระวังอย่าให้เกิดไฟไหม้ขึ้น
    16. หากส้วมใช้การไม่ได้ ให้ใช้ถุงพลาสติกเก็บ ผูกปากถุงด้วยเชือกฟางให้แน่นสนิท ใส่ในถุงดำแยกไว้ อย่าผูกแต่หูหิ้วของถุง เพราะจะมีช่องรั่วไหลได้ เก็บไว้กำจัดเมื่อน้ำลดแล้ว
    17. ช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่อาจขาดแคลนอาหาร, น้ำดื่ม และของจำเป็นบางอย่าง เท่าที่จะทำได้ และคอยฟังประกาศความช่วยเหลือทางวิทยุ สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
    18. เฝ้าระวังโจรผู้ร้าย ที่ฉวยโอกาสขณะน้ำท่วม
    19. โทรศัพท์แจ้งข่าวน้ำท่วมแก่เพื่อนบ้านที่อยู่ปลายทางที่น้ำจะท่วมไปถึง
    20. หากจำเป็นต้องละทิ้งบ้านไปอยู่ที่อื่นเพื่อรักษาชีวิตไว้ก่อน ควรไปตามเส้นทางที่ได้ศึกษาไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งควรมีเส้นทางเลือกไว้ด้วย หากเส้นทางหลักเกิดมีน้ำท่วมมากจนไปไม่ได้
    21. เท้าที่เปียกน้ำแล้ว ต้องเช็ดให้แห้งสะอาดทุกครั้ง ป้องกันโรคน้ำกัดเท้า
    22. เมื่อน้ำกำลังลดหรือประมาณเข่าหรือแข้ง ควรรีบทำความสะอาดฝาผนังบ้าน, โต๊ะ, เก้าอี้ และอื่นๆ ที่จมน้ำอยู่เพราะขนย้านไม่หมดทันทีด้วยน้ำที่ยังขังอยู่ ด้วยเครื่องมือ แปรงขัดที่เตรียมไว้ ถ้ารอจนน้ำลดหมด อาจไม่มีน้ำล้างเลย เพราะน้ำประปาอาจไม่มีใช้อีกหลายวัน
    สำหรับพื้นบ้านควรรีบล้างเมื่อน้ำยังเหลือประมาณข้อเท้าเป็นต้นไป เพื่อไล่โคลนออกให้หมดเท่าที่จะทำได้ หากน้ำไม่พออาจใช้น้ำในคูหรือท่อหน้าบ้านช่วยได้
    23. ติดตามฟังข่าววิทยุเกี่ยวกับ ดิน ฟ้า อากาศ ว่าอาจมีฝน ที่จะทำให้น้ำท่วมซ้ำในระยะใกล้ๆ อีกหรือไม่ จะได้เตรียมตัวถูกต้อง
    24. ขณะน้ำกำลังท่วมห้ามใช้ลิฟท์ เพราะกระแสไฟฟ้าอาจถูกตัด ทำให้ติดอยู่ในลิฟท์ได้
    25. น้ำที่กำลังท่วมเร็วหรือลดเร็ว มีแรงกดตรงประตูและฝ่าผนังมาก อาจทำให้ประตูและผนังบ้านเสียหายได้ การเปิดประตูให้น้ำเข้าออกได้สะดวกจะลดแรงดันน้ำ ลดความเสียหายได้

    เมื่อน้ำลดแล้ว

    1. สำหรับผู้ที่ละบ้านเรือนไปจะกลับเข้าบ้าน ต้องตรวจตราส่วนของบ้านที่อาจชำรุดพังลงมาเป็นอันตรายได้ หรือหากได้กลิ่นแก๊สรั่วหรือมีเสียงแก๊สรั่ว ให้รีบเปิดหน้าต่างแล้วรีบกลับออกไปทันที ห้ามจุดไฟเด็ดขาด
    2. ระวังสัตว์มีพิษที่ตกค้างอยู่ในบ้าน เช่น งู, ตะขาบ, แมงป่อง ตามกองสิ่งของต่างๆ ควรใช้ไม้เขี่ยดูก่อน อย่าใช้มือจับทันที
    3. บ้านที่มีห้องใต้ดินที่มีน้ำขังเต็ม ควรสูบน้ำออกช้าๆ วันละไม่เกิน 1/3 ของน้ำ เพราะน้ำหนักของน้ำที่ขังกดฐานรากของบ้าน, อาคาร หากสูบออกมาทันทีจะทำให้น้ำหนักกดเปลี่ยนเร็วเกินไป อาจเป็นอันตรายกับอาคารได้ โดยเฉพาะอาคารที่มีห้องใต้ดินหลายชั้น เช่น โรงแรม การสูบออกวันละ 1/3 ก็อาจมากเกินไป ควรปรึกษาวิศวกรที่มีความชำนาญก่อน
    4. ควรถ่ายรูปความเสียหายต่างๆ ไว้ โดยเฉพาะในรายที่ประกันความเสียหายไว้กับบริษัทประกันภัย
    5. หากหม้อไฟฟ้า (มิเตอร์ไฟฟ้า) ถูกน้ำท่วมด้วย การที่การไฟฟ้าปล่อยกระแสไฟมาทันทีหลังน้ำลดยังไม่ทันแห้ง อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอันตรายได้ หากบ้านใดที่น้ำท่วมมิเตอร์ไฟฟ้า ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าให้ตรวจดูก่อน
    6. ก่อนกดแผงไฟฟ้าเข้าบ้าน ควรตรวจปลั๊กไฟที่จมน้ำอยู่ ทำความสะอาดโคลนและเป่าให้แห้งสนิทก่อนจึงจะปลอดภัย
    7. เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลาย เช่น มอเตอร์สูบน้ำ, พัดลม, ตู้เย็น, เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว ฯลฯ ต้องรีบล้างและทำให้แห้งโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดสนิมจนแก้ไขไม่ได้ เมื่อแห้งดีแล้วจึงทดลองใช้ดูหรือหากให้แน่นอนควรให้ช่างรีบแก้ให้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแก้ซ่อมได้ หากประชาชนบางคนไม่รู้ก็อาจทิ้งไปเสีย เช่น หม้อหุงข้าว, พัดลม ฯลฯ ก็จะเป็นการเพิ่มความสูญเสียของตนเพิ่มขึ้น
    8. ประตู, โต๊ะ, หิ้งต่างๆ ที่ทำด้วยไม้อัด อาจมีน้ำขังอยู่ในช่องต่างๆ ควรรีบเจาะส่วนที่ต่ำสุดของแต่ละช่องให้น้ำรีบไหลออกเสียเพื่อให้แห้งเร็ว อาจไม่เสียหายมาก
    9. เชื้อราที่จะขึ้นตามผนังบ้าน, เฟอร์นิเจอร์ที่จมน้ำเป็นสิ่งที่ป้องกันยากมาก แม้จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราทาก็ตาม การปล่อยทิ้งไว้ ทำความสะอาดช้าจะยิ่งทำให้เกิดเชื้อรามากขึ้น เมื่อทำความสะอาดแล้วรีบทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
    10. ลูกบิดประตู, บานพับประตู, กุญแจบ้าน ควรทำความสะอาดและหยอดน้ำมันหล่อลื่นป้องกันสนิม
    11. ถังน้ำ ภาชนะต่างๆ ที่เปื้อนน้ำท่วม ต้องล้างให้สะอาดจริงๆ ก่อนนำมาใช้
    12. อาหารที่เปื้อนน้ำท่วมแล้ว ไม่ควรนำมาบริโภค
    13. นำขยะที่ใส่ถุงแล้วและสิ่งของที่ต้องการทิ้ง ไปวางในที่ที่เทศบาลแนะนำ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ การทิ้งขยะเรี่ยราดหรือเก็บกวาดช้า จะเป็นแหล่งสกปรกและเพาะเชื้อโรค ไม่ควรใช้มือเปล่าจับต้องขยะ โดยเฉพาะอาสาสมัครที่ขาดความรู้และไม่ได้รับคำแนะนำให้ระมัดระวัง
    14. ฟังข่าววิทยุ เพื่อรับความช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
    15. ผู้ที่ช่วยตัวเองได้เรียบร้อยแล้ว ที่มีความรู้ความสามารถ ควรช่วยเหลือเพื่อนบ้านในเรื่องต่างๆ เช่น ด้านช่าง, วิศวกรรม, แพทย์ ฯลฯ

    บริการที่ประชาชนควรได้รับจากการบริหารส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่รับผิดชอบ

    1. ระบบการเตือนภัยที่ดี ข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายวิทยุ และรายงานสถานการณ์ที่ดี
    2. ป้องกันหรือลดอันตรายจากน้ำไหลหลาก เช่น ความพร้อมในการกั้นน้ำในบางจุดด้วยถุงทรายวางเป็นเขื่อน, การจัดการทางระบายน้ำที่ดี ฯลฯ
    3. แผนการอพยพประชาชนไปยังสถานที่ปลอดภัย ที่มีความพร้อมด้วยที่พักอาศัย และบริการสุขอนามัย
    4. แผนช่วยเหลือด้านอาหาร, เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยชั่วคราว
    5. แผนป้องกันอัคคีภัย ในกรณีที่รถดับเพลิงอาจใช้การไม่ได้เพราะน้ำท่วมสูง จะต้องมีเรือดับเพลิง หรือเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเคลื่อนที่ให้พอเพียง
    6. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ลาดตระเวณป้องกันโจรร้าย
    7. หน่วยลำเลียงอพยพผู้คน หรือส่งคนเจ็บคนป่วยไปโรงพยาบาล มีเรือให้พร้อม
    8. บริการเก็บขยะหลังน้ำลดที่มีประสิทธิภาพ
    9. บริการน้ำดื่ม, น้ำประปา และบริการล้างบ้านเรือน
    10. บริการช่างตรวจ-ซ่อมไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, รถจักรยานยนต์, รถยนต์, ช่างประปา, ช่างไม้, ช่างทาสี ฯลฯ
    11. ควบคุมการฉกฉวยโอกาสขายของแพงขณะน้ำท่วมและหลังน้ำลด
    12. กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยและญาติผู้เสียชีวิต ที่บริการดี รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
    13. ช่วยเหลือโรงพยาบาลในเรื่องที่จำเป็น เช่น ไฟฟ้าสำรอง, น้ำประปา และการขนย้ายผู้ป่วย ในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่มีหรือมีไม่พอ
    14. แผนการระบายน้ำที่ดี ควบคุมการก่อสร้างที่อาจปิดกั้นทางไหลของน้ำ เพราะทางไหลของน้ำโดยธรรมชาติเป็นสิทธิสาธารณะที่ควรได้รับความคุ้มครอง ซึ่งหมายรวมถึงแผนการวางผังเมืองที่ดีด้วย
    15. บริการสาธารณะสุขขณะน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม
    16. แผนป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย และการปล้นสะดมร้านค้า

    การแก้ปัญหาน้ำท่วมในระดับรัฐที่ประชาชนต้องการ

    1. ระบบการเตือนภัยที่ดีมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
    2. ออกกฎหมายและรักษากฎหมายป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าให้เด็ดขาด และทบทวนระเบียบ กฎ และกฎหมาย เกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกสวนยางหรือพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่บุกรุกป่า โดยเฉพาะการ รุกล้ำขึ้นไปบนภูเขา, การขุดภูเขาด้วยเหตุต่างๆ, การถมดินในที่ลุ่มที่ซับน้ำ พรุ หนอง บึง ทางระบายน้ำ คู คลอง และตามที่สำหรับปลูกสร้างบ้าน อาคาร โรงงาน ที่จะขวางทางน้ำให้ดีมีประสิทธิภาพ
    3. ปรับปรุงแก้ไขสิ่งก่อสร้างและถนนต่างๆ ที่สร้างขึ้นปิดกั้นทางระบายของน้ำ หรือมีท่อหรือทางระบายน้ำไม่พอเพียง รวมทั้งการขุดลอกคูคลอง ทางน้ำตามธรรมชาติ ให้อยู่ในสภาพที่ดี
    4. การวางแผนต่างๆ หรือโครงการใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ เพราะประชาชนในพื้นที่มีความรู้เรื่องภูมิประเทศเป็นอย่างดี
    การช่วยเหลือจากสาธารณชนทั่วไป

    เมื่อน้ำท่วมหรือภัยธรรมชาติอื่นๆ เกิดขึ้นในที่ใดก็ตาม ประชาชนอื่นๆ จะมีใจอยากช่วยเหลืออยู่แล้ว ทั้งในด้านอาหาร, เครื่องนุ่งห่ม และเงินทุนต่างๆ การวางแผนที่ดีของทางราชการทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น, มูลนิธิด้านสาธารณภัย, องค์กรพัฒนาเอกชน และอาสาสมัครต่างๆ จะทำให้สิ่งของที่ช่วยเหลือต่างๆ มากพอเพียง ช่วยได้รวดเร็วและทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนไม่ดี ทำให้อาหารบูด เสีย ส่งไม่ถึงประชาชน ถูกยักยอก ถูกขโมย ทั้งเสื้อผ้า อาหารแห้ง และเงินบริจาค และบ่อยครั้งที่เก็บไว้โดยหน่วยงานบางหน่วยเป็นจำนวนมากมาย แม้น้ำลดแล้วก็ยังไม่แจกจ่ายให้ประชาชนผู้ประสบภัย
    การช่วยเหลือเหล่านี้ จะสามารถทำได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในการประกาศข่าว และระดมทุนและสิ่งของที่จะช่วยเหลือ แต่หากขาดการวางแผนในการแจกจ่ายให้ ประชาชนดังกล่าวแล้วข้างต้น สิ่งที่ช่วยเหลือต่างๆ ก็จะสูญเสียไปมากมาย ไม่ถึงมือประชาชนผู้ประสบภัยอย่างแท้จริง
    <!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End --> <!-- sgzCode Start --><!-- sgzCode End -->
    http://www.fridaycollege.org
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=&quot]ดินถล่ม [FONT=&quot]( Landslide )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]​
    [FONT=&quot]โดย น.พ. อนันต์ บุญโสภณ[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]​
    [FONT=&quot]<o:p> </o:p>[/FONT]​
    [FONT=&quot]ดินถล่ม [FONT=&quot]( Landslide[/FONT][FONT=&quot] ) คือปรากฏการณ์ที่ส่วนของพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน หรือเศษดิน เศษต้นไม้ ไหล เลื่อน เคลื่อน ถล่ม พังทลาย หรือหล่น ลงมาตามที่ลาดเอียง อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ในขณะที่สภาพส่วนประกอบของชั้นดิน ความชื้นและความชุ่มน้ำในดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุล<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]ดินถล่ม[FONT=&quot] เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่สร้างโลก อาจเป็นเพียงเล็กน้อยเพียงก้อนหินก้อนเดียวที่ตกหรือหล่นลงมา หรือเศษของดินจำนวนไม่มากที่ไหลลงมา หรืออาจเกิดรุนแรงใหญ่โตเช่นภูเขาหรือหน้าผา หรือลาดเขาพังทลายลงมาก็ได้ และอาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือค่อย ๆ เป็นไปช้า ๆก็ได้ จนกว่าจะเกิดความสมดุลใหม่จึงหยุด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]เนื่องจากในระยะหลัง ๆ นี้ ดินถล่มปรากฏเป็นข่าวบ่อยมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]สาเหตุของดินถล่ม[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot](Causes of Landslides) เกิดจากการที่พื้นดินหรือส่วนของพื้นดินเคลื่อน เลื่อน ตกหล่น หรือไหล ลงมาจากที่ลาดชัน หรือลาดเอียงต่างระดับ ตามแรงดึงดูดของโลกในภาวะที่เกิดการเสียสมดุลด้วยเหตุต่าง ๆ มักพบบ่อย ๆ บริเวณภูเขาที่ลาดชัน แต่ความจริงอาจเกิดขึ้นบริเวณฝั่งแม่น้ำ และชายฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร แม้กระทั่งใต้มหาสมุทร แบ่งสาเหคุที่อาจทำให้ดินถล่มได้เป็น<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สาเหตุตามธรรมชาติ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]( Natural causes )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ความแข็งแรงของดิน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของดิน [/FONT][FONT=&quot] ( Soil composition ) ว่าเป็น หิน หรือ ดิน ประเภทใด มีโครงสร้างหรือมีต้นไม้ประกอบยึดเกาะกันแข็งแรงแค่ไหน มีชั้นดินดานตื้นหรือลึกในลักษณะใด<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่ที่มีความลาดเอียงมาก [/FONT][FONT=&quot]( Steep slope )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีฝนตกมากนาน ๆ [/FONT][FONT=&quot]( Prolong heavy rain )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีหิมะตกมาก [/FONT][FONT=&quot]( Heavy snowfall )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]โครงสร้างของแผ่นดิน [/FONT][FONT=&quot]( Structure of soil ) ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซึมผ่านได้กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ฤดูกาล [/FONT][FONT=&quot]( Glacial erosion, rain, drought )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง [/FONT][FONT=&quot]( Vegetation removal by fire or drought )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แผ่นดินไหว [/FONT][FONT=&quot]( Earthquake )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]คลื่น[/FONT][FONT=&quot]”สึนามิ” ( Tsunami )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ภูเขาไฟระเบิด [/FONT][FONT=&quot]( Volcanic eruption )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน [/FONT][FONT=&quot]( Change in underground water )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน [/FONT][FONT=&quot]( Change in underground structure )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป [/FONT][FONT=&quot]( Coastal erosion and change in continental slope ) <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สาเหตุจากมนุษย์[/FONT][FONT=&quot] ( Human causes )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา [/FONT][FONT=&quot]( Excavation of slpoe or its toe ) เพื่อการเกษตร หรือทำถนน หรือขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน หรือการทำเหมือง ( Mining ) ไม่ว่าบนภูเขาหรือพื้นราบ<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การขุดดินลึก ๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การบดอัดที่ดินเพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ที่มากเกินไป หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน ในพื้นที่บางแห่ง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การถมดิน ก่อสร้าง เพิ่มน้ำหนัก บนภูเขา หรือสันเขา [/FONT][FONT=&quot]( Loading or building on crest or slope )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การทำลายป่า [/FONT][FONT=&quot]( Deforestation ) เพื่อทำไร่ หรือสวนเกษตรกรรม<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การทำอ่างเก็บน้ำ [/FONT][FONT=&quot]( Reservoir ) นอกจากเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขาแล้ว ยังทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ [/FONT][FONT=&quot]( Change the natural stream ) ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]น้ำทิ้งจากอาคาร บ้านเรือน สวนสาธารณะ ถนน บนภูเขา [/FONT][FONT=&quot]( Water from utilities leakages or or drainages )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]-[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การกระเทือนต่าง ๆ เช่นการระเบิดหิน [/FONT][FONT=&quot]( Artificial vibration )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]ประเภทของดินถล่ม [FONT=&quot]( Types of Landslides )[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]จากส่วนประกอบของดิน และสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดดินถล่ม ดังกล่าวมาแล้ว ทำให้ลักษณะของดินถล่มมีรูปแบบต่าง ๆ กัน ดังนี้[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การตกหล่น[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]( Falls ) มักเป็นก้อนหิน ( Rock ) หรือ หินก้อนใหญ่ทั้งก้อน ( <st1:place w:st="on"><st1:City w:st="on">Boulder</st1:City></st1:place> ) อาจตกหล่นลงมาโดยตรง ( Free fall ) หรือตกกระดอน ๆ ลงมา ( Bouncing ) หรือกลิ้งลงมา ( Rolling ) และสำหรับกรณีที่หินร่วงตกลงมามาก ๆ เป็นกองใหญ่ เช่นจากภูเขาที่มีน้ำแข็ง หินที่ตกลงมาจะกองเป็นรูปกรวยคว่ำ ( cone-shape ) เรียกว่า Talus slope<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ล้มหรือหกคะเมน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]( Topple ) มักเป็นหินที่เป็นแผ่นเป็นแท่งที่แตกและล้มคะเมนลงมา<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]3. การคืบ - เคลื่อนไปช้า ๆ [FONT=&quot](Creep) ของดิน หรือหิน เนื่องจากมีแรงดึงไปน้อย พอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวไปเรื่อย ๆ แต่อย่างช้า ๆ มาก ๆ ซึ่งมี 3 รูปแบบ คือ<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]ก.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เคลื่อนตามฤดูกาล [/FONT][FONT=&quot]( Seasonal ) ที่มีความชุ่มและอุณหภูมิของดินชั้นล่างพอดีของแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนได้<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]ข.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เคลื่อนอย่างคงที่ตลอดเวลา [/FONT][FONT=&quot]( Continuous ) จากแรงตึงมีมีอย่างคงที่<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]ค.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เคลื่อนด้วยอัตราเร่ง [/FONT][FONT=&quot]( Progressive ) เพราะความลาดชันที่ทำให้แรงเคลื่อนเพิ่มขึ้นตามลำดับ<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]4. การเลื่อน [FONT=&quot]( Slide ) [/FONT][FONT=&quot]เนื่องจากดินชั้นล่างที่ติดกับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ มีความอิ่มตัวของน้ำมากจนเหลวตัว [/FONT][FONT=&quot]( Liquefaction ) ไม่มีแรงยึดดินไว้ได้อย่างเดิม ทำให้พื้นดินส่วนบนทั้งชิ้นเลื่อนไถลลงมาตามแรงเฉือน ( Shear force ) ที่เกิดจากแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อมวลดินบนที่ลาดเอียงนั้น ซึ่งพบได้ 2 ลักษณะ คือ <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]4.1 [FONT=&quot]Transitional slide ถ้าพื้นดินชั้นล่างเป็นแผ่นระนาบค่อนข้างเรียบ พื้นดินข้างบนก็จะเคลื่อนลงมาในแนวขนานกับที่ลาดเอียงนั้น ทิ้งรอยแยกเป็นร่องไว้ด้านบน<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]4.2 [FONT=&quot] Rotational slide เมื่อพื้นชั้นล่างที่ดินแยกตัวเป็นที่ลาดโค้งเว้า ดินที่จะเคลื่อนลงมาก็จะเคลื่อนโค้งหมุนตัวรอบแกนที่ขวางขนานกับที่ลาดเอียงนั้น หมุนตัวเข้าด้านใน หากมีต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างอยู่บนนั้น ก็จะเห็นการเอียงเข้าหาด้านบนได้ ส่วนรอยเคลื่อนของผิวดินตรงขอบบนจะเป็นรอยโค้งเว้าขึ้นไปด้านบน ทิ้งร่องรอยเป็นหน้าผาเว้าที่ชันกว่าเดิม ส่วนที่พื้นดินด้านล่างลงไปจะมีดินถูกดันโป่งออกมาเป็นหย่อม ๆ ลักษณะคล้ายนิ้วเท้า เรียกว่า Toe เป็นลักษณะให้สังเกตรู้ได้ว่า ที่ข้างบนขึ้นไปเคยมีดินถล่ม Landslide<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]ดินที่เคลื่อน แบบนี้ จะมีส่วนที่ยังเกาะเป็นชิ้นเป็นผืนเดียวกัน เรียกว่า [FONT=&quot]Slump[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การไหล[/FONT][FONT=&quot] ( Flows ) เกิดจากมีส่วนประกอบของน้ำจำนวนมากและและไหลเร็วลงมาตามที่ลาดชัน มีหลายแบบ ได้แก่<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.1[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot] เศษดินทรายและเศษต้นไม้ [/FONT][FONT=&quot]( Debris flow ) เป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ และผงขนาดเม็ดทรายที่ไหลมากับน้ำ พบเห็นบ่อยทั่วไป<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.2[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot] การถล่มของก้อนหิมะที่ทับถมกันเป็นจำนวนมาก [/FONT][FONT=&quot]( Debris avalanche )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.3[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ดินไหล [/FONT][FONT=&quot]( Earth flow ) มักเกิดในที่ไม่ลาดชันนัก ที่มีส่วนประกอบเป็นดิน โคลน และก้อนกรวดเล็ก ๆ ในบริเวณที่ชุ่มน้ำมากจนเป็นส่วนผสมที่เหลวจนไหลได้ จึงไหวลงมาเป็นทางแคบ ๆ มากองอยู่ในที่ต่ำลงมา ทิ้งร่องรอยที่เดิมเป็นแอ่ง ทำให้เป็นรูปคล้ายนาฬิกาทราย<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.4[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]โคลนไหล [/FONT][FONT=&quot]( Mudflow ) เกิดเช่นเดียวกับข้อก่อน แต่มีส่วนผสมเป็นโคลนและทรายและน้ำ ซึ่งในบางครั้งน้ำโคลนที่ขังอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมากอาจทะลักและไหลออกมาอย่างรวดเร็วเป็นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ( Torrent ) สามารถไหลไปได้ไกล ลงไปท่วมในที่ต่ำข้างล่างได้ และหากท่วมเข้าไปในหมู่บ้านหรือเมืองบริเวณเชิงเขา จะทำให้ผู้คนเสียชีวิตได้มาก เพราะหนีออกจากน้ำโคลนได้ยาก ส่วนโคลนร้อนที่ถูกพ่นออกมาจากภูเขาไฟ เรียกว่า Lahar <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]6. การเคลื่อนแผ่ออกไปด้านข้าง [FONT=&quot]( Lateral spreading ) เกิดในที่ลาดชันน้อยหรือที่ราบ เนื่องจากมีความชุ่มน้ำมากจนพื้นดินเริ่มเหลวตัว ( Liquefaction ) พื้นดินไม่มีแรงพอที่จะเกาะกุมกัน จึงแผ่ตัวออกไปทางข้าง ๆ และบางครั้งตรงขอบบนของที่ลาดเอียงเล็กน้อยนั้น อาจเกิดรอยแยกของดิน หรือตรงด้านข้างอาจเกิดการหมุนตัวของแผ่นดิน หรือในที่ลาดเอียงบางแห่งจะมีการเคลื่อนเร็วขึ้น จนเป็นดินเลื่อน หรือดินไหลได้<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบของพื้นดิน [FONT=&quot] ( Basic knowledge in Geology )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แรงดึงดูดของโลก [/FONT][FONT=&quot]( Gravity ) ที่มีต่อมวล ( Mass ) ใด ๆ บนพื้นเอียง ( Slope ) จะมีแรงที่จะดึงให้มวลนั้นเคลื่อนลงมาตามแนวพื้นเอียง( Longitudinal component of gravity ) เป็นแรงขับเคลื่อน ( Driving force ) ส่วนแรงที่กดตั้งฉากกับพื้นเอียง ( Perpendicular component of gravity ) เป็นส่วนสำคัญของแรงเสียดทาน ( Friction ) เป็นแรงต้านทานไว้ ( Resisting force ) <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมื่อพื้นเอียงมากขึ้น แรงขับเคลื่อน[/FONT][FONT=&quot] Driving force ก็จะมากขึ้น และแรงต้าน Resisting force จะลดลง<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ในกรณีของพื้นดิน จะมีแรงเกาะกุมยึดเนื้อดินให้เกาะกันอยู่ คือ [/FONT][FONT=&quot]Cohesive force เป็นความแข็งแรงของเนื้อดิน ( Shear strength ) และแรงเสียดทาน ( Friction ) เป็นส่วนสำคัญของแรงต้านทาน ( Resisting force ) ด้วย<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมื่อใดที่แรงกระทำ[/FONT][FONT=&quot] ( Driving force ) มากกว่าแรงต้าน ( Resisting force ) มวล ( ดิน ) นั้นก็จะเคลื่อน<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]น้ำที่ชุ่มในดินมากขึ้น จะเพิ่มน้ำหนักพื้นดิน ทำให้แรงกระทำ[/FONT][FONT=&quot] ( Driving force ) เพิ่มขึ้น <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]น้ำที่ชุ่มในดินมากขึ้นจนเกินจุดอิ่มตัว ทำให้การเกาะกุมติดกันของเนื้อดินลดลง ทำให้ดินไม่แข็งแรง เหลวตัว อ่อนตัว ไหลง่าย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]น้ำที่อิ่มตัวมากเหนือชั้นดินที่น้ำซึมไม่ได้ ทำให้ดินเหลว [/FONT][FONT=&quot]( Liquefaction ) ทำให้แรงเสียดทานลดลง ทำให้พื้นดินชั้นบน ไถลลื่นลงมาได้ง่ายขึ้น<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]8.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของระดับน้ำใต้ดินริมฝั่งมหาสมุทร เมื่อเกิดคลื่น [/FONT][FONT=&quot]“สืนามิ” ทำให้ชั้นดินข้างล่างอ่อนตัว หรือเหลวตัว ทำให้พื้นดินริมฝั่งเกิดการไหลเลื่อนและถล่มได้ในลักษณะเดียวกัน<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]9.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หิมะที่ตกลงมามาก จะเพิ่มน้ำหนักบนพื้นดิน เพิ่ม [/FONT][FONT=&quot]Driving force <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]10.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]น้ำในดินและซอกหิน บนภูเขาที่อากาศหนาวจนเป็นน้ำแข็ง จะขยายตัวดันดินให้แยก และดันหินให้แตก ทำให้พื้นดินไม่แข็งแรง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]11.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ส่วนประกอบของพื้นดินที่เป็นหิน ดิน ทราย มีความแข็งแรงต่างกัน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]12.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]รากต้นไม้จะช่วยยึดกุมดินให้แข็งแรง และต้นไม้ยังรักษาความชุ่มชื้น และชะลอการไหลของน้ำฝนไม่ให้ไหลเร็วเกินไป การทำลายป่าบนภูเขาจึงทำให้เกิดดินถล่มได้ง่ายขึ้น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]13.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ในทางตรงกันข้าม รากไม้ใหญ่อาจดันรอยแตกของหินให้แยกจากกันมากขึ้นจนแตกหล่นลงมาได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]14.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ป่าไม้บนภูเขาถูกทำลาย แม้แต่การเปลี่ยนป่าไม้เป็นสวนเกษตรกรรมบนภูเขา ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของภูเขา ทำให้ดินถล่มได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]15.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การชุดดินทำถนนบนที่ลาดชันบนเขาหรือเชิงเขา เป็นการเพิ่มความลาดเอียง และลดแรงต้านทานของพื้นดิน [/FONT][FONT=&quot]( ลด Resisting force )<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]16.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การปลูกสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรือทำเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ บนภูเขา เป็นการเพิ่มน้ำหนัก และเปลี่ยนแปลงทางน้ำตามธรรมชาติ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]17.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ทรายที่แห้ง ( และกรวด ) จะกองสูงชันได้เพยง 30 [/FONT][FONT=&quot]– 35 องศา เท่านั้น ถ้าชันกว่านี้ก็จะไหลลงมา แต่ถ้ามีพืชคลุม จะชันได้ราว 40 - 45 องศา ดังนั้นภูเขาที่มีส่วนประกอบเป็นดิน และ ทราย จึงลาดชันไม่มาก ถ้าเป็นหินก้อนกลมไม่ใหญ่นัก ก็ไม่ต่างกับทราย แต่ถ้าเป็นหินที่เป็นแท่งใหญ่ ก็อาจสูงชันได้มาก ส่วนหินชั้น ก็แล้วแต่ว่าจะวางอยู่ในระนาบใด<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]18.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ภูเขาที่เป็นดินเป็นส่วนใหญ่ โดยธรรมชาติจึงไม่ลาดชันมาก แต่กฎหมายประเทศไทยถือว่าที่ ๆ มีความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ไม่ถือว่าเป็นภูเขา สามารถครอบครองและขุดดินขายได้ ภูเขาประเภทนี้จึงถูกขุดเพื่อเอาดินไปขายทำถนนและถมที่ จนที่ ๆ ชาวบ้านเรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ภูเขา” หายไปหลายลูกแล้ว และบางแห่งก็เหลือเป็นหน้าผาสูงชัน มีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มอย่างมาก อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ที่อยู่ใกล้เคียง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]19.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ภูเขาที่ประกอบด้วยหิน ดิน ทราย ในที่ต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กัน ดินที่อยู่เชิงเขามีส่วน ช่วยพยุงดินและหินที่อยู่สูงขึ้นไป [/FONT][FONT=&quot]( Resisting force ) ดังนั้น การขุดดินบริเวณเชิงเขาออก เท่ากับเป็นการทำลายโครงสร้างของภูเขา อาจทำให้ดินบนภูเขาถล่มได้<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]20.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แรงสั่นสะเทือน เช่นแผ่นดินไหว หรือ การระเบิดหินบนภูเขาบางแห่ง อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลในที่บางตำแหน่งของภูเขา เป็นเหตุให้เกิดดินถล่มได้ หรือแม้แต่การทำเสียงดัง ๆ ในถ้ำ ก็อาจเกิดอันตรายได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]21.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ฤดูกาล ในประเทศที่มีฝนตกมาก หรือบางประเทศที่มีหิมะตกมากบนภูเขา เกิดดินถล่ม หรือหิมะถล่มได้ง่าย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]22.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณที่ใกล้ลำธาร น้ำตก และหน้าผาที่ชันมาก หรือที่ที่มีการก่อสร้างบ้านพัก อาคาร บนไหล่เขา มีความเสี่ยงของดินถล่มมากกว่าที่อื่น[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=&quot]บริเวณที่มีความเสี่ยงอันตรายจากการเกิดดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่ ๆ มีประวัติดินถล่ม หรือมีร่องรอยของดินถล่มในรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วปรากฏให้เห็นอยู่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องดินถล่ม [/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]พื้นดินบนที่ลาดเอียงทั้งหลาย ตั้งแต่บนยอดเนิน ลาดเนิน ไหล่เขา ลงไปถึงเชิงเขา โดยเฉพาะที่ ๆ มีการก่อสร้างต่าง ๆ การขุดดินทำถนน ทำการเกษตร หรือการขุดดินเชิงเขาออกไป โดยเฉพาะที่ลาดชันมาก เป็นหน้าผาสูง หรืออยู่ใกล้ทางน้ำ ลำธาร หรือน้ำตก ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น[/FONT][FONT=&quot] <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ถนนที่ตัดไปตามไหล่เขา เชิงเขา โดยเฉพาะที่ใกล้หน้าผาหรือลาดเขาชัน โดยเฉพาะที่ ๆ มีเศษดินไหลล่วงมาให้เห็นอยู่ [/FONT][FONT=&quot]( Debris flow ) หรือก้อนหินตกลงมา ( Rock fall ) หรือที่มีป้ายบอกไว้ <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณริมฝั่งทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ[/FONT][FONT=&quot] ที่ฝั่งลาดชัน<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณเภูเขา หุบเขา ที่มีแผ่นดินไหวบ่อย ๆ หรือมีการระเบิดหินอยู่ใกล้ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณใกล้ขุมเหมือง หรือริมแม่น้ำที่มีการดูดทรายออกไปมาก ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่ลาดเขา หรือเชิงเขาที่มีโพรงหรือซอกที่น้ำไหลออกมา หรือเชิงเขาที่น้ำผุด น้ำพุ หรือมีที่ชุ่มน้ำเป็นบึง พรุ อยู่มาก ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]8.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่แม้จะห่างจากภูเขาออกมา แต่อยู่ใกล้ลำธาร หรือทางที่น้ำป่าอาจไหลผ่านมาได้[/FONT][FONT=&quot] อาจได้รับอันตรายจาก Mudflow หรือ Debris flow ได้<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]9.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่ต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ในฤดูฝน ฤดูหิมะตกหนัก หรือหลังจากแผ่นดินไหวใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]ลักษณะที่จะสังเกตได้ก่อนเกิดดินถล่มรุนแรง[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีรอยดินแตกเป็นทาง หรือดินโป่งนูนดินมาบนพื้นดิน สนาม ทางเท้า หรือถนน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]กำแพงรั้ว เสาต่าง ๆ หรือต้นไม้สูง ๆ เอียงผิดปกติไปจากเดิม[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]พื้นดินทรุดแยกออกจากโครงสร้างของบ้านหรืออาคาร พื้นบ้านแตกร้าว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ประตูหรือหน้าต่างเปิดปิดติดขัด หรือปิดไม่เรียบสนิทอย่างเคย หรือมีรอยร้าวของฝาผนัง โดยเฉพาะที่ใกล้กรอบประตูหรือหน้าต่าง หรือข้างเสา ที่เพิ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด [/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ท่อน้ำใต้ดินแตกหรือรั่ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ฐานของบ้านหรืออาคารแตกหรือทรุด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีน้ำซึมออกมาจากพื้นดินผิดสังเกต เมื่อฝนตกหนัก หรือหลังจากฝนที่ตกหนักหยุดไปแล้ว[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หรือสังเกตพบว่าระดับน้ำในบ่อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือตรงข้ามกัน เมื่อน้ำที่ขังในซอกหินกลับลดลงอย่างรวดเร็วแม้ขณะที่ฝนกำลังตกหนัก หรือฝนเพิ่งหยุดตกหนักใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]8.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีเสียงครืด ๆ คล้ายหินเคลื่อนในภูเจา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]9.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมื่อมีฝนตกหนักบริเวณภูเขาที่อยู่ใกล้ ๆ เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ติดต่อกัน 2 [/FONT][FONT=&quot]– 3 วันขึ้นไป<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]10.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมื่อเกิดแผ่นดินไหว และระยะหลังจากแผ่นดินไหวใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]11.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณชายฝั่งภายหลังเกิดคลื่น[/FONT][FONT=&quot]”สืนามิ”<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]12.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากมีการเตือนภัยให้ออกจากพื้นที่ ต้องปฏิบัติตามทันทีด้วยความไม่ประมาท[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายก่อนเกิดดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ๆ มีความเสี่ยง ต้องมีความรู้ และข้อควรสังเกตต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว และเพิ่มการสังเกตให้มากขึ้นไปถึงบริเวณเชิงเขา โดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 [/FONT][FONT=&quot]– 3 วันขึ้นไป<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เพิ่มความระมัดระวังเพิ่มขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหว หลังแผ่นดินไหวใหม่ ๆ และภายหลังเกิดคลื่น[/FONT][FONT=&quot]”สึนามิ”<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากพบสิ่งที่คิดว่าผิดปกติ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อตรวจสอบพิจารณาการเตือนภัย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรวางแผนหนีภัยไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ และควรเก็บของมีค่า หรือเอกสารที่สำคัญ ๆ ไว้ในที่อื่นที่ปลอดภัย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การเดินทางบนถนนที่ตัดผ่านไปตามไหล่เขา หรือเชิงเขา โดยเฉพาะที่มีหน้าผาชัน หรือที่มีป้ายให้ระวังหินหล่น ต้องระวังให้มาก ๆ และควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านถนนเหล่านี้ขณะฝนตกหนักหรือหลังจากฝนตกหนักใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ริมถนนชายเขา โดยเฉพาะที่จอดรถชมทัศนียภาพ ควรตรวจตราให้สม่ำเสมอว่าไม่มีการชะล้างหรือพังทลายของดินที่อยู่เบื้องล่างลงไป[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ควรมีกฎหมายห้ามการโค่นไม้ทำลายป่าบนภูเขา และควบคุมการทำฝาย อ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนบนภูเขา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]8.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ควรรีบฟื้นฟูป่าที่ถูกไฟไหม้อย่างรวดเร็ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่ออยู่ในบ้านหรืออาคาร[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]อย่ารีบออกจากอาคารจนกว่าจะตั้งสติพิจารณาเหตุการณ์อย่างรอบคอบแล้ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]รีบหลบเข้าที่กำบังศีรษะและร่างกายทันที เช่นหลบเข้าไปใต้โต๊ะที่แข็งแรงและห่างจากสิ่งของที่จะตกหล่นใส่หรือล้มทับได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]รีบหนีไปสู่ที่สูง นอกแนวทางที่ดินถล่มให้เร็วที่สุด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ช่วยเหลือผู้ที่ได้บาดเจ็บเท่าที่สามารถทำได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากเป็นก้อนหินตกกลิ้งหรือกระดอนลงมาอย่างรวดเร็วจวนตัวจะหนีไม่ทัน ให้รีบหลบเข้าที่กำบัง เช่นกลุ่มต้นไม้ใหญ่[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากจวนตัวจริง ๆ หนีไม่ทัน ให้หาที่กำบังศีรษะไว้ก่อน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]ภายหลังดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สำรวจดูว่ามีผู้ที่ติดอยู่ในบริเวณดินถล่ม เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไปติดตามฟังข่าวการเตือนภัยและการช่วยเหลือทางวิทยุกระเป๋าหิ้วที่ต้องมีไว้ประจำ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สำรวจดูสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้าน ว่ามีผู้ใดสูญหายไปหรือไม่ จะได้ช่วยกันค้นหา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ให้ระวังน้ำท่วมที่อาจเกิดภายหลังโคลนไหล[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ตรวจตราสาธารณูปโภคที่เสียหาย โดยเฉพาะสายไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้เสียชีวิตได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ตรวจสอบสิ่งก่อสร้าง บ้าน อาคาร ที่อาจชำรุดเสียหาย อย่างละเอียดเสียก่อนที่จะเข้าไป[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บ้านเรือนที่มีกลิ่นแก๊สรั่ว ห้ามเปิดไฟฟ้า หรือจุดไฟใด ๆ และรีบเปิดหน้าต่าง ประตู ให้แก๊สระบายออกเสียก่อน และให้ผู้ที่มีความรู้เข้าไปแก้ไข[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]สิ่งที่ประชาชนควรจะได้รับจากภาครัฐ<o:p></o:p>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การทบทวนกฎหมาย และการบังคับตามกฎหมาย เพื่อป้องกันสาเหตุที่จะก่อให้เกิดดินถล่มอันเกิดจากมนุษย์[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีหน่วยงานตรวจระวังการเกิดดินถล่ม และจัดระบบการเตือนภัย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หน่วยกู้ภัยที่มีประสิทธิภาพ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]สิ่งที่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรกระทำ[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับดินถล่ม[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หมั่นตรวจตราสังเกตสิ่งผิดปกติก่อนดินถล่ม ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น โดยเฉพาะในฤดูฝน หรือหลังแผ่นดินไหว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]วางแผนการหนีภัยสำหรับคนในครอบครัวและชุมชนไว้ล่วงหน้า และทบทวนเป็นครั้งคราวเพื่อความไม่ประมาท[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=&quot]บริเวณที่มีความเสี่ยงอันตรายจากการเกิดดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่ ๆ มีประวัติดินถล่ม หรือมีร่องรอยของดินถล่มในรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วปรากฏให้เห็นอยู่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องดินถล่ม [/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]พื้นดินบนที่ลาดเอียงทั้งหลาย ตั้งแต่บนยอดเนิน ลาดเนิน ไหล่เขา ลงไปถึงเชิงเขา โดยเฉพาะที่ ๆ มีการก่อสร้างต่าง ๆ การขุดดินทำถนน ทำการเกษตร หรือการขุดดินเชิงเขาออกไป โดยเฉพาะที่ลาดชันมาก เป็นหน้าผาสูง หรืออยู่ใกล้ทางน้ำ ลำธาร หรือน้ำตก ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น[/FONT][FONT=&quot] <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ถนนที่ตัดไปตามไหล่เขา เชิงเขา โดยเฉพาะที่ใกล้หน้าผาหรือลาดเขาชัน โดยเฉพาะที่ ๆ มีเศษดินไหลล่วงมาให้เห็นอยู่ [/FONT][FONT=&quot]( Debris flow ) หรือก้อนหินตกลงมา ( Rock fall ) หรือที่มีป้ายบอกไว้ <o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณริมฝั่งทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ[/FONT][FONT=&quot] ที่ฝั่งลาดชัน<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณเภูเขา หุบเขา ที่มีแผ่นดินไหวบ่อย ๆ หรือมีการระเบิดหินอยู่ใกล้ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณใกล้ขุมเหมือง หรือริมแม่น้ำที่มีการดูดทรายออกไปมาก ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่ลาดเขา หรือเชิงเขาที่มีโพรงหรือซอกที่น้ำไหลออกมา หรือเชิงเขาที่น้ำผุด น้ำพุ หรือมีที่ชุ่มน้ำเป็นบึง พรุ อยู่มาก ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]8.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่แม้จะห่างจากภูเขาออกมา แต่อยู่ใกล้ลำธาร หรือทางที่น้ำป่าอาจไหลผ่านมาได้[/FONT][FONT=&quot] อาจได้รับอันตรายจาก Mudflow หรือ Debris flow ได้<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]9.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ที่ต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ในฤดูฝน ฤดูหิมะตกหนัก หรือหลังจากแผ่นดินไหวใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]ลักษณะที่จะสังเกตได้ก่อนเกิดดินถล่มรุนแรง[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีรอยดินแตกเป็นทาง หรือดินโป่งนูนดินมาบนพื้นดิน สนาม ทางเท้า หรือถนน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]กำแพงรั้ว เสาต่าง ๆ หรือต้นไม้สูง ๆ เอียงผิดปกติไปจากเดิม[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]พื้นดินทรุดแยกออกจากโครงสร้างของบ้านหรืออาคาร พื้นบ้านแตกร้าว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ประตูหรือหน้าต่างเปิดปิดติดขัด หรือปิดไม่เรียบสนิทอย่างเคย หรือมีรอยร้าวของฝาผนัง โดยเฉพาะที่ใกล้กรอบประตูหรือหน้าต่าง หรือข้างเสา ที่เพิ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด [/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ท่อน้ำใต้ดินแตกหรือรั่ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ฐานของบ้านหรืออาคารแตกหรือทรุด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีน้ำซึมออกมาจากพื้นดินผิดสังเกต เมื่อฝนตกหนัก หรือหลังจากฝนที่ตกหนักหยุดไปแล้ว[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หรือสังเกตพบว่าระดับน้ำในบ่อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือตรงข้ามกัน เมื่อน้ำที่ขังในซอกหินกลับลดลงอย่างรวดเร็วแม้ขณะที่ฝนกำลังตกหนัก หรือฝนเพิ่งหยุดตกหนักใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]8.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีเสียงครืด ๆ คล้ายหินเคลื่อนในภูเจา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]9.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมื่อมีฝนตกหนักบริเวณภูเขาที่อยู่ใกล้ ๆ เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ติดต่อกัน 2 [/FONT][FONT=&quot]– 3 วันขึ้นไป<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]10.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมื่อเกิดแผ่นดินไหว และระยะหลังจากแผ่นดินไหวใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]11.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บริเวณชายฝั่งภายหลังเกิดคลื่น[/FONT][FONT=&quot]”สืนามิ”<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]12.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากมีการเตือนภัยให้ออกจากพื้นที่ ต้องปฏิบัติตามทันทีด้วยความไม่ประมาท[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายก่อนเกิดดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ๆ มีความเสี่ยง ต้องมีความรู้ และข้อควรสังเกตต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว และเพิ่มการสังเกตให้มากขึ้นไปถึงบริเวณเชิงเขา โดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 [/FONT][FONT=&quot]– 3 วันขึ้นไป<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เพิ่มความระมัดระวังเพิ่มขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหว หลังแผ่นดินไหวใหม่ ๆ และภายหลังเกิดคลื่น[/FONT][FONT=&quot]”สึนามิ”<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากพบสิ่งที่คิดว่าผิดปกติ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อตรวจสอบพิจารณาการเตือนภัย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรวางแผนหนีภัยไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ และควรเก็บของมีค่า หรือเอกสารที่สำคัญ ๆ ไว้ในที่อื่นที่ปลอดภัย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การเดินทางบนถนนที่ตัดผ่านไปตามไหล่เขา หรือเชิงเขา โดยเฉพาะที่มีหน้าผาชัน หรือที่มีป้ายให้ระวังหินหล่น ต้องระวังให้มาก ๆ และควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านถนนเหล่านี้ขณะฝนตกหนักหรือหลังจากฝนตกหนักใหม่ ๆ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ริมถนนชายเขา โดยเฉพาะที่จอดรถชมทัศนียภาพ ควรตรวจตราให้สม่ำเสมอว่าไม่มีการชะล้างหรือพังทลายของดินที่อยู่เบื้องล่างลงไป[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ควรมีกฎหมายห้ามการโค่นไม้ทำลายป่าบนภูเขา และควบคุมการทำฝาย อ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนบนภูเขา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]8.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ควรรีบฟื้นฟูป่าที่ถูกไฟไหม้อย่างรวดเร็ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่ออยู่ในบ้านหรืออาคาร[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]อย่ารีบออกจากอาคารจนกว่าจะตั้งสติพิจารณาเหตุการณ์อย่างรอบคอบแล้ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]รีบหลบเข้าที่กำบังศีรษะและร่างกายทันที เช่นหลบเข้าไปใต้โต๊ะที่แข็งแรงและห่างจากสิ่งของที่จะตกหล่นใส่หรือล้มทับได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]รีบหนีไปสู่ที่สูง นอกแนวทางที่ดินถล่มให้เร็วที่สุด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ช่วยเหลือผู้ที่ได้บาดเจ็บเท่าที่สามารถทำได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากเป็นก้อนหินตกกลิ้งหรือกระดอนลงมาอย่างรวดเร็วจวนตัวจะหนีไม่ทัน ให้รีบหลบเข้าที่กำบัง เช่นกลุ่มต้นไม้ใหญ่[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หากจวนตัวจริง ๆ หนีไม่ทัน ให้หาที่กำบังศีรษะไว้ก่อน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]ภายหลังดินถล่ม[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สำรวจดูว่ามีผู้ที่ติดอยู่ในบริเวณดินถล่ม เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไปติดตามฟังข่าวการเตือนภัยและการช่วยเหลือทางวิทยุกระเป๋าหิ้วที่ต้องมีไว้ประจำ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สำรวจดูสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้าน ว่ามีผู้ใดสูญหายไปหรือไม่ จะได้ช่วยกันค้นหา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ให้ระวังน้ำท่วมที่อาจเกิดภายหลังโคลนไหล[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ตรวจตราสาธารณูปโภคที่เสียหาย โดยเฉพาะสายไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้เสียชีวิตได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ตรวจสอบสิ่งก่อสร้าง บ้าน อาคาร ที่อาจชำรุดเสียหาย อย่างละเอียดเสียก่อนที่จะเข้าไป[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บ้านเรือนที่มีกลิ่นแก๊สรั่ว ห้ามเปิดไฟฟ้า หรือจุดไฟใด ๆ และรีบเปิดหน้าต่าง ประตู ให้แก๊สระบายออกเสียก่อน และให้ผู้ที่มีความรู้เข้าไปแก้ไข[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]สิ่งที่ประชาชนควรจะได้รับจากภาครัฐ<o:p></o:p>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]การทบทวนกฎหมาย และการบังคับตามกฎหมาย เพื่อป้องกันสาเหตุที่จะก่อให้เกิดดินถล่มอันเกิดจากมนุษย์[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มีหน่วยงานตรวจระวังการเกิดดินถล่ม และจัดระบบการเตือนภัย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หน่วยกู้ภัยที่มีประสิทธิภาพ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    [FONT=&quot]สิ่งที่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรกระทำ[FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับดินถล่ม[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หมั่นตรวจตราสังเกตสิ่งผิดปกติก่อนดินถล่ม ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น โดยเฉพาะในฤดูฝน หรือหลังแผ่นดินไหว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]<!--[endif]-->
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]วางแผนการหนีภัยสำหรับคนในครอบครัวและชุมชนไว้ล่วงหน้า และทบทวนเป็นครั้งคราวเพื่อความไม่ประมาท[/FONT][/FONT]
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สาเหตุการเกิดคลื่นยักษ

    <table align="center" border="0" width="800"><tbody><tr><td rowspan="2" height="10">
    [​IMG]
    </td> <td height="296" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="2" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="2">
    จุดบนพื้นผิวหรือผืนน้ำ เหนือจุดโฟกัสเรียกว่า "อิพิเซ็นเตอร์" (epicenter) ซึ่งจะเป็นจุดหลักบนเปลือกโลกในการรับแรงสะเทือนจากเนื้อโลก และตรงจุดนี้นี่เองหากเกิดในทะเลก็จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ หรือ สึนามิ
    </td> <td height="2" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="263">
    [​IMG]
    </td> <td height="263" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="30">
    (ภาพจากบีบีซี)
    </td> <td height="30" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="94"> คลื่นแห่งแผ่นดินไหวสามารถจับได้ด้วยประเภทคลื่นที่แตกต่างกัน 2 ชนิด คือคลื่นปฐมภูมิ(หรือพี) และคลื่นทุติยภูมิ(หรือเอส) ซึ่งคลื่นพีจะเดินทางอย่างรวดเร็ว
    ขณะที่คลื่นเอสเดินทางช้ากว่ามาก ชั้นหินที่ถูกคลื่นพีกระทบจะสั่นไปมาในแนวที่คลื่นพุ่งไปตามแนวนอน จึงตกอยู่ในสภาพถูกอัดและขยายตัว ส่วนคลื่นเอสนั้น อนุภาคต่างๆ ในชั้นหินจะเคลื่อนที่ในแนวขึ้นลงที่ตั้งฉากกับทิศการพุ่งไปของคลื่น คลื่นพีนั้นตามปกติจะมีความเร็วมากกว่าคลื่นเอส ดังนั้น การวัดเวลาที่คลื่นทั้งพีและเอสเดินทางถึง
    เครื่องรับสัญญาณ ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งต่างๆ บนผิวโลกจะทำให้นักธรณีวิทยารู้ทันทีว่าจุดโฟกัสของการระเบิดอยู่ที่ใด
    </td> <td height="94" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="272">
    [​IMG]
    </td> <td height="272" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="78"> แนวหินที่แตกระหว่างรอยต่อของ 2 แผ่นเคลื่อนเบียดกัน ซึ่งจุดที่เกิดการเบียดหรือชนเรียกว่า"จุดโฟกัส" (focus) หรือจุดไฮโปเซ็นเตอร์ (hypocenter) กึ่งเป็นจุดที่คาดว่า เกิดการเบียดของ 2 รอยต่อ และตรงจุดนี้จะส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงบนผืนโลก หรือผืนน้ำเหนือขึ้นไป</td> <td height="78" width="4">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] [/SIZE][/FONT]</td> </tr> <tr> <td height="307">
    [​IMG]
    แผ่นดินสะเทือนเกิดขึ้น เมื่อแผ่นเทคโทนิกที่ต่อกัน 2 แผ่นเลื่อนเบียดกันอย่างกระทันหัน
    </td> <td height="307" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="297">
    [​IMG]
    </td> <td height="297" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="88"> แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณรอยต่อของแผ่นต่างๆ ซึ่งทั่วโลกมีทั้งหมด 12 แผ่น แผ่นที่ใหญ่สุดคือ "ยูเรเซียน" (Eurasian) ซึ่งไทยก็อยู่ในแผ่นนี้ และใกล้กับแผ่น "ออสเตรเลียน" (Australian) แผ่น "ฟิลิปปิน" (Philippine) ส่วนแผ่นอื่นๆ ไล่จากทะเลแปซิกฟิกไปทางตะวันออก คือ "แปซิฟิก" (Pacific) ยวน เดอ ฟูกา (Juan de Fuca) นอร์ธ อเมริกา (North America) "แคริบเบียน" (Caribbean) "เซาธ์ อเมริกัน" (South American) "สก็อตเทีย" (Scotia) "แอฟริกา" (Africa) "อราเบียน" (Arbian) และอินเดียน (Indian) </td> <td height="88" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="287">
    [​IMG]
    </td> <td height="287" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="77">
    บริเวณเปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นๆ (plates) เรียกว่า "แผ่นเทคโทนิก" (Tectonic Plate) แต่ละแผ่นเคลื่อนตัวเฉลี่ย 10 เซ็นติเมตรต่อปี แผ่นเหล่านี้เคลื่อนตาม
    หินหลอมเหลวในเนื้อโลก
    </td> <td height="77" width="4">
    </td> </tr> <tr> <td height="281">
    [​IMG]o
    </td> <td height="281" width="4"> </td> </tr> <tr> <td height="88"> โลกอายุ 4.5 พันล้านปี มีโครงสร้างทรงกลมเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุดคือ "เปลือกโลก" (Crust) ชั้นต่อมาคือ "เนื้อโลก" (Mantle) แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) และ
    แก่นโลกชั้นใน (Inner core) เปลือกโลกด้านนอกเย็นแล้ว ส่วนข้างในเป็นหินหลอมเหลว ใจกลางเป็นเหล็กหลอม
    ที่มา : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000102756

    ส่วน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งน
    ี้อยู่ใน ข่ายของซึนามิ เพราะมีสัญญาณเตือนภัยทางทะเลมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเปลือกโลกเกิดการยุบหัก ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ แต่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าโดยดูจาก
    การกระเพื่อมของน้ำ กล่าวคือถ้าเมื่อไหร่น้ำยุบตัวลงอย่างรวดเร็วและกินอาณาบริเวณกว้างภายในเวลาไม่ถึง 5 นาทีแล้ว หลังจากนั้นไม่นานก็จะมีคลื่นยักษ์เกิดขึ้น

    "แผ่นดินไหวในทะเลเกิดขึ้นตามปกติตามธรรมชาติ บ้านเรายังไม่มีเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวทางทะเลเหมือนญี่ปุ่น เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์ร้ายแรงหรือคลื่นยักษ์ ์เกิดขึ้นเหมือนญี่ปุ่น จึงทำให้ละเลยเรื่องระบบเตือนภัยทางทะเล ประกอบกับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว ไม่มีความรู้เรื่องนี้ จึงทำให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อันที่จริง คนช่างสังเกตสามารถดูได้จากระดับน้ำใต้ดินกับการคลื่นไหวหรือยุบตัว นอกจากนี้ สังเกตตื่นกลัวของสัตว์น้ำต่างๆ ที่อยู่บริเวณนั้น นี่คือระบบเตือนภัยของธรรมชาติ"

    ดร.อานนท์บอกว่า จริงๆ แล้วถ้าไทยมีระบบเตือนภัยที่ดีกว่าน ี้ จะไม่เกิดความเสียหายมากมายขนาดนี้ เพราะตามหลักการทางวิชาการ ถ้ามีระบบตรวจวัดแผ่นดินไหว
    ทางทะเล จะสามารถเคลื่อนย้ายคนออกจากเกาะอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือให้ทุกคนขึ้นไปอยู่ในที่สูง ภายในอาคารที่แข็งแรง ส่วนชาวประมงที่อยู่ในทะเลให้ออกเรือห่างจาก
    ฝั่งให้มากที่สุด ไม่ใช่เข้าหาฝั่ง เพราะถ้ายิ่งเข้าหาฝั่งจะได้รับผลกระทบจากคลื่นที่รุนแรงมาก

    ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นบทเรียนของประเทศไทยว่าในอนาคตจะต้องมีระบบเตือนภัยทางทะเล โดยตั้งเป็นเครือข่าย ให้ความรู้กับอบต. ผู้ประกอบการ รวมถึง
    นักท่องเที่ยว อาจทำเป็นแผ่นพับส่วนด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ประเภทรวดเร็วให้ทันกับสถานการณ์ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หน่วยบรรเทา-
    สาธารณภัยและอื่นๆ ต้องกระจายข่าว พร้อมกับเตรียมขนย้ายประชาชนมาอยู่ในที่ปลอดภัย

    จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสถิติแผ่นดินไหวครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในเมืองไทยนั้น กรมอุตินิยมวิทยาได้บันทึกเอาไว้ว่า ส่วนใหญ่มีขนาดอยู่ในระดับเล็ก
    ถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริกเตอร์) ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1.วันที่ 17 ก.พ.18 ขนาด 5.6 ริกเตอร์บริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
    2.วันที่ 15 เม.ย.26 ขนาด 5.5 ริกเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
    3.วันที่ 22 เม.ย.26 ขนาด 5.9 ริกเตอร ์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุร
    4.วันที่ 11 ก.ย.37 ขนาด 5.1 ริกเตอร์ บริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย
    5.วันที่ 9 ธ.ค.38 ขนาด 5.1 ริกเตอร์ บริเวณ อ.ร้องกวาง จ.แพร่
    6.วันที่ 21 ธ.ค.38 ขนาด 5.2 ริกเตอร์บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    7.วันที่ 22 ธ.ค.39 ขนาด 5.5 ริกเตอร์ บริเวณพรมแดนไทย-ลาว


    ส่วนแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในไทย (2542-ส.ค.2543 ได้แก่

    1.วันที่ 31 ส.ค.4242 ใกล้พรมแดนไทย-ลาว ขนาด 4.8 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.น่าน
    2.วันที่ 3 เม.ย.42 ใกล้พรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.2 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    3.วันที่ 29 มิ.ย.42 ในประเทศพม่าขนาด 5.6 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย
    4.วันที่ 15 ส.ค.42 ตอนใต้ของประเทศพม่า ขนาด 5.6 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่
    5.วันที่ 17 ส.ค.42 บริเวณทะเลอันดามัน ขนาด 2.1 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและ จ.พังงา
    6.วันที่ 29 ส.ค. 42 บริเวณทะเลอันดามัน ขนาด 2.1ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและพังงา
    7.วันที่ 20 ม.ค.43 ที่ลาว ขนาด 5.9 ริกเตอร์ รู้สึกได้ท ี่ จ.น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย มีความเสียหายที่ จังหวัดน่านและแพร่
    8.วันที่ 14 เม.ย.43 ที่พรมแดนลาว-เวียดนาม ขนาด 4.9 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.สกลนคร
    9.วันที่ 29 พ.ค.43 บริเวณ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ขนาด 3.8 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.เมือง อ.สันกำแพง และอ.สันทราย จ.เชียงใหม่และ
    10 .วันที่ 7 ส.ค.43 บริเวณพรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.0 ริกเตอร์ รู้สึกได้ที่อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
    ปรากฎการณ์แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ "ซึนามิ tsunami" ถล่มภาคใต้ของไทยเมื่อวานนี้(26 ธ.ค.) นั้น นับโศกนาฏกรรมร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
    ความสูญเสียที่จะต้องบันทึกรอยเลือดและน้ำตาเอาไว้เลยทีเดียว เพราะนอกจากจะทรัพย์สินแล้ว ยังมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากอีกด้วย
    อย่างไรก็ตาม คลื่นยักษ์ซึนามิและแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ทำให้สังคมต้องตั้งคำถามอีกครั้งว่า ประเทศไทยมีการเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติประเภทนี้อย่างไรบ้าง รวมทั้ง
    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับซึนามิที่ต้องบอกว่า เกิดเป็น "ครั้งแรก" ในประเทศไทย

    รศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(เอไอที) ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการด้านผลกระทบของลมและแผ่นดินไหว ของวิศวกรรมสถานแห่ง
    ประเทศไทยฯ(วสท.) และหัวหน้าคณะวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงเรื่องแผ่นดินไหวของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ถือว่ามี
    ความรุนแรงค่อนข้างมาก เพราะสามารถวัดความสั่นสะเทือนได้ถึง 8.9 ริกเตอร์ ซึ่งได้รับการจัดอันดับว่า เป็นแผ่นดินไหวที่อยู่อันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว

    สำหรับสาเหตุที่ความเสียหายกินวงกว้างตั้งแต่อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังคลาเทศ อินเดีย มัลดีฟ ไทย ฯลฯ ก็เพราะเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใต้ทะเล ที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์
    ที่เรียกว่าซึนามิถล่มชายฝั่งของของประเทศต่างๆ

    "ปกติ แผ่นดินไหวเกิดจาก 2 สาเหตุคือแผ่นดินไหวที่เกิดจากแนวรอยแตกของเปลือกโลก(หนาประมาณ 30-70 กิโลเมตร) กับอีกประเภทหนึ่งคือเกิดจากรอยต่อของ
    เปลือกโลก 2 รอยแยกออกจากกัน ซึ่งผมมีความคิดว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากประเภทที่สองทีนี้ เวลาเกิดในทะเล ก็จะส่งผลให้พื้นโลกขยับตัวกะทันหันภายในเวลาไม่กี่
    วินาที เลยทำให้มวลน้ำถูกกระตุ้นขึ้นมาและเกิดคลื่นแผ่กระจายไปทุกทิศทุกทาง"

    "ถ้าเราอยู่ในทะเล เราจะไม่รู้สึกและดูไม่ออก เพราะคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวในทะเลจะมียอดคลื่นแค่ประมาณ 1-2 เมตร เรียกว่าถูกกลบด้วยคลื่นปกติไปโดยปริยาย แต่คลื่นที่เกิดขึ้นจะมีความยาวค่อนข้างมาก คือยาวเป็นกิโลเมตรเลยทีเดียว ดังนั้น คนที่อยู่ในทะเลจะมองไม่เห็นไม่รู้สึก แต่เมื่อมาถึงฝั่ง น้ำทะเลก็จะม้วนตัวขึ้นมา
    จากข้างใต้และยกตัวขึ้นมา จากยอดที่เคยอยู่ในระดับ 1 เมตร 2 เมตร ก็จะสูงขึ้นเป็น 8-10 เมตร ซึ่งคลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นนั้น ต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกที่เคยบันทึก
    เอาไว้ในประวัติศาสตร์ ของไทยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสถิติ การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์ไม่ง่าย ต้องใช้เวลาในการสะสมพลังงานนาน นี่ขนาดศูนย์กลางเกิดห่างจากภูเก็ตถึง 400 กิโลเมตร"

    ดร.เป็นหนึ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คลื่นซึมานิมักเกิดในฝั่งแปซิฟิกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีเครือข่ายนานาชาติตรวจจับและร่วมมือกันคอยเฝ้าระวัง
    ด้วยอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ทางฝั่งอันดามันนั้นมีน้อยมาก จึงไม่ได้มีอุปกรณ์ตรวจจับ ซึ่งครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นและมีความรุนแรงมาก

    ส่วนสาเหตุ ที่เรียกชื่อคลื่นยักษ์ในลักษณะนี้ว่า ซึนามิ ก็เพราะเป็นคลื่นที่เกิดบ่อยในประเทศญี่ปุ่น และมีการศึกษาในเรื่องนี้อย่างละเอียด


    "หลายคนคงเกิดคำถามว่า ทำไมกรมอุตุนิยมวิทยาถึงไม่ได้เตือนล่วงหน้า ผมคงตอบแทนได้ว่า ระบบตรวจจับแผ่นดินไหวของไทยมี และสามารถบอกให้รู้ได้ว่า เกิดที่นั่น ที่นี่ได้ แต่ประเภทเตือนล่วงหน้าว่า จะเกิดพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ยังไม่มี แล้วในโลกนี้ก็ยังไม่มีระบบที่ว่านั้นด้วย"

    "ผมคิดว่า เมื่อเกิดหายนะภัยเช่นนี้ รัฐบาลก็ควรลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์ตรวจจับทางฝั่งอันดามันได้แล้ว เพราะถือว่ามีความจำเป็น และไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ ที่สำคัญคือใช้เงินไม่เยอะมาก ถ้ายังจำกันได้ก่อนหน้านี้คุณสมิท ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเคยเตือนเอาไว้แล้วว่า จะเกิดซึนามิในฝั่งอันดามัน แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ
    และไม่มีใครคิดว่าใหญ่ขนาดนี้"

    ดร.เป็นหนึ่งบอกด้วยว่า สำหรับในประเทศไทยนั้น รอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่มีอยู่เป็นแบบสะสมพลังงานช้า และคนไทยก็ไม่รู้จักเท่าไหร่ เนื่องจากงบประมาณในการ
    ศึกษาค่อนข้างน้อย ซึ่งถ้ารัฐบาลเห็นความสำคัญก็ควรจะต้องให้เงินวิจัยลงมา เพื่อที่จะสำรวจกันให้เห็นชัดว่า รอยเลื่อนที่ผ่านในไทยมีคุณลักษณะอย่างไร เพราะที่ผ่านมางบประมาณในการสำรวจรอยเลื่อนมักจะถูกตัดทิ้งโดยสำนักงบประมาณเนื่องจากไม่ค่อยเห็นความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้

    ส่วนการป้องกันเฝ้าระวังนั้น ทำได้ยากเพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ ยากที่จะหยั่งรู้ล่วงหน้าได้ แต่สิ่งที่ควรจะต้องทำคือ มาตรการในการป้องกันตึกสูงเพื่อป้องกัน
    ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนมากกว่านี้

    "ผมคิดว่า โชคดีนะที่ไม่ได้เกิดในไทยตรงๆ เพราะถ้าเกิดในบ้านเรา มีศูนย์กลางในบ้านเราจะรุนแรงกว่านี้เยอะ ไม่ต้อง 8.9 ริกเตอร์เท่าครั้งนี้หรอก แค่สัก 6 เท่านั้น จะได้รับความรุนแรงกว่านี้มหาศาล

    ขณะที่สมิท ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า การเกิดคลื่นยักษ์ หรือซึนามิ เคยทำนายไว้ล่วงหน้าสมัยเป็นอธิบดีว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ว่า
    ไม่มีใครเชื่อ ทั้งน ี้ การเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างมาก ระหว่างเปลือกโลก และหินหลอมเหลวภายในโลก เมื่อแรงนี้กระทำกับหินแข็งภายในโลก ทำให้เกิดหินแตกเป็นแนว เรียกว่าแนวรอยเลื่อน และเมื่อเกิดการขยับตัวจะเกิดการสั่นไหวและเกิดคลื่นยักษ์

    ทั้งนี้ บริเวณอันดามันของไทยจะมีอยู่ 3 จุด ที่อาจจะเกิดแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ได้ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.2484 เกิด แผ่นดินไหวขนาด 8.7 ตามมาตราริกเตอร์มาแล้ว
    </td></tr></tbody></table>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    3 นักวิจัยญี่ปุ่นย้ำ "โลกร้อน" ชี้อากาศแปรปรวนทำกระแสน้ำเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงดินถล่มหลังหิมะละลาย ขณะที่ความร้อนจากชุมชนเมืองส่งผลให้เมืองใหญ่ฝนตกหนัก

    ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกยังคงเป็นปัญหาสำคัญของมนุษยชาติ ซึ่งภายในการประชุมนานาชาติสมาคมอุทกวิทยาและทรัพยากรน้ำเอเชียแปซิฟิก (APHW) ครั้งที่ 3 เรื่องการจัดการบริหารน้ำอย่างชาญฉลาดและการแก้ไขความยากจนอย่างยั่งยืน ณ โรงแรมเดอะแกรนด์ ที่จัดขึ้นระหว่าง 16-18 ต.ค. นี้ก็ได้หยิบยกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมานำเสนอ ทำให้เห็นภาพตัวต่อที่ตอกย้ำว่าโลกกำลังเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม

    อากิโอะ กิโตะ (Akio Kitoh) จากสถาบันวิจัยอุตุนิยมวิทยา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อการรวมตัวของไอน้ำในอากาศและกระแสน้ำในช่วง 20 ปีนี้ โดยอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์และการจำลองทางคอมพิวเตอร์
    พบว่าภาพรวมของแถบอาเซียนนั้น การรวมของไอน้ำในอากาศเพิ่มขึ้นแต่ของการตกของฝนกลับลดลง และบางพื้นที่ไอน้ำในอากาศยังสัมพันธ์กับอัตราการไหลของความชื้นที่มีผลต่อปริมาณน้ำฝน

    จากการศึกษาของ กิโตะพบว่าภาวะโลกร้อนได้ส่งผลให้การรวมตัวของไอน้ำในอากาศที่ประเทศอินเดียเพิ่มสูงขึ้น ยกเว้นรัฐเกรละที่พบว่าปริมาณน้ำฝนและกระแสน้ำไม่สัมพันธ์กับโดยรวมของประเทศ ขณะที่ประเทศไทยนั้นเขาก็ได้ศึกษาแล้วพบว่าการรวมกันของไอน้ำในอากาศลดลง และกระแสน้ำมีปริมาณลดลงสัมพันธ์กับการระเหยของน้ำที่เพิ่มขึ้น และเขายังพบอีกว่ากระแสน้ำในหลายพื้นที่ซึ่งเขาศึกษานั้น จะพบความสัมพันธ์ว่าเมื่อกระแสน้ำที่ต้นน้ำเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อกระแสเบื้องล่างด้วย

    ทางด้าน อิโตะ (Y. Ito) นักศึกษาปริญญาโท ปี 2 จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้ศึกษาผลกระทบของความร้อนจากชุมชนเมืองต่อการตกของฝน โดยการวิเคราะห์แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของก้อนเมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ทั้งนี้ได้เลือกกรณีศึกษาของญี่ปุ่นที่เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 21 ก.ค.2542 ที่ อ.เนริมากุ เมืองโตเกียว อันเป็นชุมชนเมืองที่หนาแน่น ซึ่งวันดังกล่าวมีปริมาณน้ำฝนสูง 131 มิลลิเมตรภายใน 2 ชั่วโมง

    ผลจากการศึกษาของอิโตพบว่าทิศทางของไอน้ำและบริเวณที่มีฝนตกจะเคลื่อนไปยังเขตชุมชนเมือง อีกทั้งเขายังสรุปว่าการขยายตัวของชุมชนเมืองและการเติบโตของความร้อนอันเป็นผลพวงจากการกระทำของมนุษย์นั้น

    <center>[​IMG]
    กิโตะ พบว่าภาวะโลกร้อนทำให้กระแสน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลง</center> จะเพิ่มความถี่ของภัยพิบัติจากการตกหนักของฝนให้กับพื้นที่เขตเมืองด้วย


    ขณะที่ ไซกิ คาวาโกะอิ (Seiki Kawagoe) นักวิจัยแดนปลาดิบอีกคน จากมหาวิทยาลัยโตโฮกุ ได้ประเมินอันตรายของดินถล่มจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยได้เลือกพื้นที่ของเมืองโตโฮกุเป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้เขากล่าวว่าความเปราะบางทางภูมิศาสตร์เป็นเรื่องปกติของญี่ปุ่น และทั้งฝนและหิมะที่มีมากเป็นสิ่งที่นำไปสู่ที่ลาดชันอันตรายและดินถล่ม

    <center>[​IMG]
    คาวาโกอิ พบว่าการละลายของหิมะในช่วง มี.ค.- เม.ย. ทำให้ความเสี่ยงของดินถล่มมีมากขึ้น</center>
    คาวาโกะอิพบว่าช่วงเดือน ธ.ค.ทางชายทะเลของญี่ปุ่นมีหิมะตก และเมื่อหิมะละลายในช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย.จะเป็นช่วงที่พื้นที่ชายทะเลของญี่ปุ่นมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดดินถล่ม นอกจากนี้เขายังพบโอกาสของความเสี่ยงแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งเขาคาดว่าจะเป็นข้อมูลเพื่อจัดอันดับความสำคัญในการเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากที่เสี่ยงภัย อีกทั้งในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงควรได้รับการเตรียมการอพยพและมาตรการป้องกัน

    <center>[​IMG]
    อิโตะ ผู้ศึกษาว่าความร้อนอันเกิดจากชุมชนเมืองจะไปนำสู่ฝนที่ตกหนักมากขึ้น</center>

    สำหรับการประชุมนานาชาติของสมาคมอุทกวิทยาฯ นี้จะจัดเป็นประจำทุก 2 ปี
    โดยเริ่มมีการประชุมครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น จากนั้นประเทศสิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพ
    จนล่าสุดไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน ซึ่งมีนักวิชาการทางด้านน้ำและอุทกศาสตร์มาร่วมประชุมประมาณ 1,000 คน จาก 48 ประเทศ ส่วนเจ้าภาพครั้งถัดไปคือประเทศจีน

    http://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=722
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น จริงหรือ ?

    <!-- start main content --> <!-- begin content --><!-- start new node -->

    วันก่อนได้ยินเรื่องนี้ผ่านหู ก็พยายามติดตามหารายละเอียดมาบอกเล่ากัน
    เพิ่งได้ความมา รายละเอียดเป็นอย่างไร อ่านต่อได้เลยครับ
    ผู้เชี่ยวชาญยืนยันระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นจากโลกร้อน แต่มีแนวโน้มลดลงด้วย
    เปิดข้อมูลย้อนหลังกว่า 50 ปี พบว่าทั้งระดับน้ำทะเล ฝน และอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง
    ชี้ประเทศไทยอยู่ห่างจากจุดที่จะได้รับอิทธิพลของหิมะละลาย
    ระบุเหตุที่แผ่นดินถูกกัดเซาะ เป็นเพราะแผ่นดินทรุดตัว ส่วนภัยธรรมชาติที่ดูรุนแรงขึ้น
    เพราะคนเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมากขึ้น
    ศ.ดร.สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม
    เปิดเผยข้อมูลในหัวข้อ “ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยลดลงจริงหรือ?”
    ระบุว่า ตามที่มีข่าวว่าภาวะโลกร้อนส่งผลให้น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับสูงขึ้นนั้น
    เมื่อได้ทำการศึกษาข้อมูลตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าระดับน้ำทะเลไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด
    และยังมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยอีกด้วย
    ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ระดับน้ำทะเลที่บริเวณสันดอนกรุงเทพฯ ที่ จ.สงขลา ที่เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    และที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ. 2483 - 2539
    พบว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยลดลงด้วยอัตรา 0.36 มิลลิเมตรต่อปี หรือ 3.6 เซนติเมตรต่อ 100 ปี
    อีกทั้งเมื่อตรวจสอบข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ทั้งอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน
    ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2494 - 2546 ไม่พบการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดเช่นกัน
    ศ.ดร.สุภัทท์ กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาไปถึงปัจจัยเหตุที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น คือ หิมะละลาย ก็ไม่พบว่ามีภูเขาหรือแหล่งหิมะที่อยู่ใกล้และส่งอิทธิพลต่อปริมาณน้ำทะเลแถบประเทศไทย
    มีงานวิจัยเมื่อปี 2521 ของนักวิชาการชื่อ Clark และคณะ ได้จัดกลุ่มให้อ่าวไทย อินโดจีน เกาหลี และญี่ปุ่น
    อยู่ในกลุ่มที่ 4 ซึ่งได้รับอิทธิพลน้อยมากจากหิมะขั้วโลกละลายและการขยายตัวของน้ำทะเล
    ในทางกลับกัน งานวิจัยของ Gregory เมื่อปี 2536 ชี้ว่าปรากฏการณ์เอลนิโญและแผ่นดินไหวส่งผลให้น้ำทะเลในพื้นที่ดังกล่าวลดลง 0-50 มิลลิเมตรใน 75 ปีด้วย
    “สิ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยในหลายจุดนั้น เป็นเพราะการลดลงของโคลนตมและมวลทรายที่ไหลลงสู่ทะเล
    และการทรุดตัวของแผ่นดินเอง อันเนื่องจากการสูบน้ำบาดาลไปใช้ ไม่เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของน้ำทะเล
    จากแนวโน้มที่พบนี้ กล่าวได้ว่าประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากภาวะโลกร้อนน้อยมาก ทั้งเรื่องฝนและอุณหภูมิ
    โดยเฉพาะเรื่องระดับน้ำทะเล ดังนั้น การที่น้ำทะเลจะท่วมแผ่นดินประเทศไทยในอนาคตนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยาก
    อย่างไรก็ตาม ที่ช่วงระยะหลังภัยธรรมชาติดูรุนแรงขึ้นนั้นเป็นเพราะมีประชากรเพิ่มขึ้น
    และคนเหล่านั้นเข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยกันมากขึ้น” ศ.ดร.สุภัทท์ กล่าว


    ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนักวิจัยทางทะเลและอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) มากว่า 30 ปี ยังกล่าวด้วยว่า แม้ข้อมูลจะชี้ว่าระดับน้ำทะเลบริเวณประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน แต่ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนด้านอื่น ซึ่งต้องเฝ้าระวังอยู่ เช่น ภาวะน้ำที่มากหรือน้อยเกินไป.


    ที่มา : หนังสือพิมพ์เสียงใต้
    ลงวันที่ : 15 พฤษภาคม 2550 เวลา : 16:21:09
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อุทกภัย (Flood)

    นิยามของอุทกภัย
    หมายถึง อันตรายจากน้ำท่วม เกิดจากระดับน้ำในทะเล มหาสมุทร และแม่น้ำสูงมาก จนท่วมท้นล้นฝั่งและตลิ่ง ไหลท่วมบ้านเรือน ด้วยความรุนแรงของกระแสน้ำ ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ในแต่ละปีเราจะได้ยินข่าวอยู่เสมอว่า มีอุทกภัยเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลก เช่น อินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
    ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนถูกทำลาย พาหนะต่าง ๆ เช่น รถยนต์จมอยู่ในน้ำจะพาโคลนตมเข้าไปทับถมในอาคารบ้านเรือน โรงงาน สูงเป็นสิบ ๆ เซนติเมตร จึงทำให้สิ่งของเสียหาย ในชนบททำให้พืชผล ไร่นา สัตว์เลี้ยงเสียหาย ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก ก่อให้เกิดโรคระบาด เกิดทุพภิกขภัยตามมา
    สาเหตุของอุทกภัย
    1. พายุหมุนโซนร้อน (Tropical Cyclones) หมายรวมถึงหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีกำลังแรง พายุดีเปรสชันที่จะพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น ตามลำดับ ความเสียหายที่เกิดจากพายุมาจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ คือ
    ก. ลมพัดแรง (violent winds)
    ข. น้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนักมาก (flood due to heavy rainfall)
    ค. คลื่นพายุวัดฝั่ง (storm surge)
    สำหรับพายุหมุนเขตร้อน หรือพายุไต้ฝุ่นที่พัดอยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มักก่อตัวอยู่ในน่านน้ำทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น ราวเดือนกรกฎาคม เข้าสู่ประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง ราวเดือนสิงหาคม เข้าสู่ฝั่งเวียดนามหรือเข้าสู่อ่าวตั่งเกี๋ย บางครั้งสามารถเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนได้ในเดือนกันยายน แต่มักจะลดกำลังลมลงกลายเป็นดีเปรสชั่น เนื่องจากถูกภูเขาสูงในเวียดนามขวางทางลม จากสถิติเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่พายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบ่อยที่สุด คือ 40 ลูก ในเวลา 38 ปี (พ.ศ. 2494-2531) (สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2533:30) ในอ่าวเบงกอลช่วงต้นเดือนพฤษภาคมก่อนเข้าฤดูฝน พายุมักก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอล และเคลื่อนที่ทางเหนือเข้าสู่ประเทศบังคลาเทศ หรือเป็นประเทศพม่า ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยทางด้านตะวันตก ลักษณะของฝนตกที่ตก เนื่องจากพายุหมุนเขตร้อน จะเป็นฝนตกที่หนักและมีบริเวณกว้างขวางกับมีพายุลมแรงด้วย
    2. ร่องมรสุม (intertropical convergence zone) ใช้ตัวย่อ ICZ หรือ ITCZ , equaltorial trough หรือ monsoon trough) มีลักษณะเป็นแนวพาดขวางทิศตะวันตก-ตะวันออก ในเขตร้อนใกล้ ๆ อิเควเตอร์ ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นลงและพาดผ่านประเทศไทยช้ากว่าแนวโคจรของดวงอาทิตย์ประมาณ 1 เดือน ความกว้างของร่องมรสุมประมาณ 6-8 องศาละติจูด

    ร่องมรสุมจะเริ่มพาดผ่านประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม โดยร่องมรสุมกำลังอ่อนจะพาดผ่านภาคใต้ของประเทศไทย และเลื่อนขึ้นไปเป็นลำดับประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศจีนทำให้เกิดฝนทิ้งช่วง และจะเลื่อนกลับมาพาดผ่านภาคเหนือของประเทศไทยอีกครั้งประมาณเดือนกันยายน และเลื่อนลงไปทางอิเควเตอร์ ตามลำดับ ในช่วงที่เลื่อนกลับมานี้ร่องมรสุมจะมีกำลังแรงกว่าในระยะแรก บริเวณร่องมรสุมจะมีเมฆมากและมีฝนตกหนักอย่างหนาแน่น ฝนที่ตกจะมีลักษณะตกชุกเป็นครั้งแรก (ตก ๆ หยุด ๆ วันละหลายครั้ง) แต่ตกไม่หนัก
    3. ลมมรสุมมีกำลังแรง (stong monsoon) มรสุม คือลมประจำฤดู มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า ฤดู ลมมรสุมเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวและฤดูร้อน ในฤดูหนาวอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นทวีปเย็นกว่าอากาศเหนือพื้นที่มหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าจึงไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปสูงกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2516: 238) ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัด ได้แก่ มรสุมที่เกิดบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อันเป็นบริเวณที่ตั้งของประเทศเวียดนาม กัมพูชาประชาธิปไตย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย มาเลเซีย สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน และอินเดีย โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุม ประเทศไทยจึงอยู่ในอิทธิพลของมรสุม 2 ฤดู คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดประมาณฤดูกาลละ 6 เดือน
    มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Monsoon)

    มรสุมนี้ก่อให้เกิดอุทกภัยได้ เนื่องมาจากเมื่อพัดจากมหาสมุทรอินเดียปะทะขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้ และเมื่อผ่านอ่าวไทยแล้วจะปะทะขอบฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย มรสุมนี้เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดลงตอนต้นเดือนตุลาคม

    ในระยะเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แรงจัด ความเร็วของลมอาจจะสูงถึง 30 น๊อต เป็นระยะเวลาหลาย ๆ วัน คลื่นทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ใหญ่มาก เนื่องจากลมแรงจัดประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย มีช่วงระยะที่ลมเคลื่อนที่ไกลมาก คลื่นและลมจึงพัดพาน้ำทะเลในอ่าวเบงกอลมาสะสมทางขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้ตลอดฝั่ง ทำให้ระดับน้ำในทะเลตามขอบฝั่งสูงขึ้นมากจากระดับน้ำทะเลปานกลางในฤดูนี้และในระยะเดียวกัน ถ้าเกิดพายุดีเปรสชันขึ้นในอ่าวเบงกอลทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ ผลอันเกิดจากความกดอากาศต่ำในบริเวณพายุและผลอันเกิดจากฝนที่ตกหนักบนภูเขาและชายฝั่งรวมเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้เกิดระดับน้ำในทะเลและแม่น้ำสูงจนเป็นน้ำท่วมและเกิดอันตรายได้
    มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast monsoon)
    เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งต้นพัดจากประเทศจีนและไซบีเรียผ่านทะเลจีนใต้ปะทะขอบฝั่งเวียดนาม ส่วนที่หลุดจากปลายแหลมอินโดจีนจะพัดผ่านอ่าวไทยตอนใต้ปะทะขอบฝั่งตะวันออกของภาคใต้ หรือฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยตั้งแต่ใต้สงขลาลงไป มรสุมนี้มีกำลังแรงจัดเป็นคราว ๆ เมื่อบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีนมีกำลังแรงขึ้น ลมในทะเลจีนใต้มีความเร็วถึง 30-35 น๊อต ( 52 กม. ถึง 64 กม.) แต่เนื่องด้วยมรสุมนี้ปะทะขอบฝั่งเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ลมมรสุมที่พัดผ่านเข้ามาในอ่าวนั้น มีช่วงระยะที่ลมเคลื่อนที่ไม่ได้ไกล จึงไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากเป็นแต่เพียงคลื่นค่อนข้างใหญ่และระดับน้ำสูงกว่าปกติ แต่ก็ไม่สูงมากนัก ลมที่พัดแหลมญวนและทางใต้ลงไปจะทำให้เกิดผลทางขอบชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่ใต้สงขลาลงไปได้มากเช่นเดียวกัน คือ ทำให้เกิดคลื่นใหญ่มาก และระดับน้ำสูงจากปกติมากจนอาจจะเกิดเป็นน้ำท่วมได้ ปรากฎการณ์ทำนองนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วขึ้นที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง เมื่อวันที่ 5-8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ในระยะนั้นเป็นระยะที่มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแรงจัด ระดับน้ำได้สูงขึ้นจนท่วมบ้านเรือนเสียหายมาก (สนิธ เวสารัชชนันท์, 2508: 3-7)
    4. พายุฟ้าคะนอง พายุฝนหรือฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง ทำให้มีฝนตกหนักตอเนื่องกันนาน ๆ มีปรากฎการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบริเวณที่ราบเชิงเขา ใกล้ต้นน้ำลำธารในฤดูร้อนและฤดูฝน เมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักในป่าบนภูเขา น้ำฝนที่มีปริมาณมากที่ตกในป่าและบนภูเขาไหลอย่างรุนแรงลงสู่ที่ราบเชิงเขา ทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ น้ำป่าและน้ำจากภูเขาที่ไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดน้ำท่วมในระยะเวลากะทันหัน หลังจากฝนตกหนักในชั่วระยะเวลาสั้นเช่นนี้ เรียกว่า น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) แต่ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หรือมากกว่าเพียงเล็กน้อย เมื่อน้ำได้ไหลลงสู่แหล่งน้ำลำธารเป็นส่วนมากแล้ว ระดับน้ำก็จะเริ่มลดลงโดยรวดเร็ว ในประเทศไทยจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับเทือกเขาสูง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เคยมีปรากฎการณ์เช่นนี้อยู่เสมอด้วยคลื่นน้ำขนาดใหญ่เคลื่อนที่มาอย่างรวดเร็วมาก โอกาสจะหลบหนีจึงมีน้อย นอกเสียจากจะได้วางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างเรียบร้อยแล้ว
    5. น้ำทะเลหนุน (high tide) ในระยะเวลาของภาวะน้ำเกิด คือ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากน้ำขึ้นปกติประมาณร้อยละ 20 เป็นเพราะโลกดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในแนวตรงกัน จะรวมแรงดึงดูดให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นที่เรียกว่า ภาวะน้ำเกิด น้ำทะเลจะหนุนให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นอีกมาก ถ้าเป็นระยะเวลาที่ประจวบระหว่างน้ำป่าและน้ำจากภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำ จะทำให้อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำลดลงมากหรืออาจจะหยุดไหล น้ำในแม่น้ำจึงไม่สามารถจะระบายลงสู่ทะเลได้ ถ้าระยะที่น้ำทะเลหนุนนี้เป็นระยะเวลาที่น้ำในแม่น้ำมีระดับสูงอยู่แล้ว ย่อมเกิดน้ำล้นตลิ่งท่วมขังบริเวณบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำได้ แต่ไม่มีกระแสน้ำเชี่ยวเกิดขึ้นด้วย อันตรายจึงมีน้อยมาก เว้นแต่ระยะเวลาที่น้ำล้นตลิ่ง (river flood) จะเนิ่นนานออกไปอีกหลายวัน ความสูญเสียก็อาจเพิ่มขึ้น
    6. แผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหวหรือเมื่อเกิดภูเขาไฟบนบกและภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด เปลือกของผิวโลกบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื่องกัน บางส่วนของผิวโลกจะสูงขึ้น บางส่วนจะยุบลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด จะทำให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทรและเกิดน้ำท่วมตามเกาะและเมืองชายฝั่งทะเลได้ ปรากฎการณ์นี้มีบ่อยครั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่องชายทะเลในประเทศญี่ปุ่น และหมู่เกาะฮาวาย ได้รับภัยอันตราย ดังเช่นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ .2503 ได้ถูกคลื่น กระแสน้ำพัดขึ้นฝั่งในอ่าวฮีโลทีที่แคบและตัน ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เมืองฮีโล ผู้คนและบ้านเรือนจมน้ำ ทรัพย์สมบัติได้รับความเสียหายมาก ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศแถบอเมริกาใต้ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก คลื่นใหญ่ที่มีชื่อเรียกว่า ซึนามิ (tsnami) เกิดจากแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรือภูเขาไฟระเบิดในพื้นที่ท้องมหาสมุทร จึงเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยความเร็วประมาณ 600-1000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าถล่มชายฝั่งทะเล คลื่นชนิดนี้เป็นภัยธรรมชาติที่เกืดขึ้นเป็นประจำในแถบเมืองชายฝั่งทะเลในประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจึงเรียกว่า ซึนามิ ลักษณะการเกิดเหมือนคลื่นพายุซัดฝั่ง
    สำหรับประเทศไทยเรา เนื่องจากอ่าวไทยไม่ได้ต่อเนื่องโดยตรงกับมหาสมุทรแปซิฟิก และไม่เปิดรับคลื่นและลมโดยตรงจากมหาสมุทรแปซิฟิก จึงปราศจากภัยอันตรายจากคลื่นซึนามินี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...