ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    72987F16-BFF7-491E-8AB9-927D5FAFCF2A.jpeg

    บ้านเรือนเราน่ะก็ทำเป็นวัดเป็นวาได้ เขาจึงมีห้องหับห้องหอของพระเจ้าที่เว้นว่างให้เทพเทวดาเขาอยู่ แต่ถ้ามีบ้านเรือนใดมีห้องมีหอมีพระเจ้าอยู่แล้วเป็นพระองค์ปฏิมากร มีพระเกจิก็ดี แต่ไม่ได้มีการสวดมนต์เลย..ไม่มีอะไรมาอยู่นะจ๊ะ อย่างดีก็จิ้งจก เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าบ้านใดมีห้องหับห้องหอ มีพระเจ้าอยู่ แล้วโยมสาธยายมนต์อยู่นั่นแหล่ะจ้ะ นั่นอยู่ทั้งรูปทั้งนาม

    นามจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีรูป รูปจะอยู่ไม่ได้เช่นกันถ้าไม่มีนาม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะไม่มีอะไรอาศัยกัน อยู่โดดๆไม่ได้ โลกนี้ถ้าไม่มีอาทิตย์ดวงจันทร์จะมีแสงมั้ยจ๊ะ เช่นเดียวกัน คนถ้าไม่มีศีลก็ไม่ใช่คนเท่าไหร่แล้วนะ พอหมดศีลแล้วหมดงามเลย หน้าตาดูไม่ได้แล้ว เพราะมีแต่อสูรกายปนเปื้อนอยู่

    ดังนั้นห้องพระห้องเจ้าต้องสะอาดหน่อยนะจ๊ะ เพราะท่านมีศีลต้องสะอาด มันจะได้ทำประโยชน์ให้กับเรา ขจัดสิ่งที่สกปรกออกจากจิตใจเราได้ด้วย

    การที่โยมไปปัดกวาดเช็ดถูน่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นวันพระก็ได้ วันที่โยมที่ใจเป็นพระแล้ว ใจเป็นพระเป็นอย่างไร ใจเป็นพระคือเมตตา มีความสะอาดแล้วเรียกว่าใจเป็นพระ วันที่มีศีลแล้ว อยากจะไปสวดแล้ว โยมไปทำความสะอาดนั้นโยมก็ได้บุญแล้ว เพราะจิตใจโยมนั้นเกิดปิติเกิดสุขน่ะ โยมไปเปลี่ยนน้ำให้พระให้เจ้าท่านก็เป็นบุญแล้ว

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงถ้ามีรูปแล้วมีนามแล้ว..สิ่งที่ขาดไม่ได้คือน้ำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นน่ะถ้าโยมมีแล้วโยมต้องหมั่นดูแล เมื่อโยมดูแลท่านท่านก็จะดูแลโยมนะ

    ลูกศิษย์ ๑ : หลวงปู่เจ้าคะ พระพุทธรูปเนี่ย เวลาที่เราเอาน้ำไปวางบนหิ้งพระ เปลี่ยนทุกวัน ทำทุกวัน การที่เอาน้ำไปวางไว้เนี่ยะเพื่ออะไรคะ

    หลวงปู่ : น้ำ..เมื่อโยมให้เค้าเรียกน้ำใจ ไม่แห้งแล้ง มีอานิสงส์ยังไง อ้าว..ทำให้เรานั้นสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำมันจึงเป็นฮวงจุ้ยอย่างหนึ่ง ที่ไหนถ้าขาดน้ำเมื่อไหร่..เทพเทวดาเค้าจะไม่อยู่ เพราะเทพเทวดาเค้าต้องอาศัยน้ำเหมือนกัน เช่นตั้งจิตกรวดน้ำ บางทีกรวดน้ำลงไปไม่ได้จิตไม่เป็นสมาธิ เลยต้องเอาน้ำมาเป็นสื่อก่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นพระแม่ธรณี น้ำคงคาทำให้เกิดความร่มเย็น เค้าเรียกว่ามีการถวายน้ำ เพราะว่าโยมขาดอาหาร ๓-๔ วันก็ยังไม่ตาย ขาดน้ำเพียงวันเดียว..ตาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ น้ำจึงบอกว่าแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้

    นั้นการถวายน้ำเพราะให้รู้ว่าเราได้บูชาท่านอยู่ เคารพท่านอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าไม่ให้น้ำแล้ว ถามว่าต้นไม้ถ้าไม่ให้น้ำ เมื่อมันยังไม่เติบโตแข็งแรง ยังหากินเองไม่ได้ โยมว่าจะตายมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ตายค่ะ) บางคนห้องพระห้องเจ้าน้ำไม่มีเลย ในบ้านมีน้ำเต็มไปหมดแต่ในห้องพระห้องเจ้าแห้งไปหมด ยังไม่พอแมงมุมหยากไย่ขึ้นอีก ท่านก็ยังไม่เป็นโทษเป็นภัยเห็นมั้ยจ๊ะ

    ที่สำคัญเมื่อโยมเข้าไปในห้องพระ โยมจะได้ความสงบ ถวายน้ำพระ โยมไม่ได้บอกถวายน้ำอะไร เพราะน้ำอันใสบริสุทธิ์นี้พระแม่คงคา ข้าพเจ้าขอน้อมถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่ออะไร..ให้เราเข้าถึง จิตเราจะเบิกบานอิ่มเอม แช่มชื่น

    การที่เราปัดกวาดเช็ดถูห้องพระห้องเจ้ามันเป็นกรรมฐาน มันเป็นสมาธิในตัว เพราะจิตเราจะสงบเยือกเย็น เพราะเราอยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นเค้าถึงบอกไงห้องพระห้องเจ้า หรือในบ้านควรจะมีห้องที่ให้เทพเทวดาพรหมท่านได้สถิตได้ประทับฐาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าโยมไม่ค่อยดูแล เทวดาก็ไม่ค่อยอยู่ ถ้าโยมสวดมนต์ภาวนาอยู่ประจำ เทวดาอยู่บ้านอยู่ช่องมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ พอโยมไม่อยู่ท่านก็ดูแลให้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นสิ่งสำคัญมันเป็นอย่างนี้ ว่าทุกอย่างมันเป็นอุบาย

    ดังนั้นน้ำนี้มันบ่งบอกถึงว่าความมีน้ำใจ เมตตา ดังนั้นแล้วถ้าเรายังบูชากราบไหว้อะไรอยู่ มีความเชื่อ นั่นไม่ใช่เป็นภาระ แต่มันควรกระทำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนเรามีครูบาอาจารย์ น้ำสักแก้วจะให้ท่านคงไม่ลำบากหรอกจ้ะ แทนการคารวะ

    ลูกศิษย์ ๒ : หลวงปู่เจ้าคะ ห้องนอนหนึ่งห้องแต่มีห้องพระอยู่ในห้องด้วยสมควรมั้ยเจ้าคะ เพราะว่าอยู่ห้องเช่าค่ะ

    หลวงปู่ : อยู่ห้องเดียวกันได้นี่จ๊ะ แต่ควรจะมีมิติแห่งภพ คือมีอะไรกั้นเป็นฉาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะบางครั้งโยมทำอะไรที่ไม่ควรทำ เพราะฉะนั้นควรมีภพมีภูมิ มีม่านมีฉากกั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้เป็นมิติ อะไรที่เป็นมิติที่ถูกกั้นแล้วย่อมมองไม่เห็นอีกมิติหนึ่ง ความมืดเป็นมิติมั้ยจ๊ะ..เป็นมิติ ความสูงความต่ำเป็นมิติมั้ยจ๊ะ..เป็นมิติ นั่นแหล่ะจ้ะ ดังนั้นภพมันซ้อนภพมากมายจนนับไม่ถ้วน นั้นถ้าบ้านเราจำกัดด้วยสถานที่ เราก็หาอะไรกั้นซะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    E14C7B13-BD4D-4172-9577-50DD6C074436.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ การขออโหสิกรรมบิดามารดา ถ้าเกิดในกรณีที่ท่านไม่อยู่แล้ว แต่เรายังไม่ขออโหสิกรรม
    หลวงปู่ : แล้วท่านไปฝังที่ไหนโยมก็ไปขุดขึ้นมาสิจ๊ะ โยมรู้มั้ยจ๊ะฝังไว้ที่ไหน
    ลูกศิษย์ : ที่ใจค่ะ

    หลวงปู่ : อ้าว..แล้วท่านยังอยู่มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ยังอยู่ในใจ) เมื่อโยมระลึกนั่นแหล่ะจ้ะ..ตั้งจิตอธิษฐาน แต่การจะอธิษฐานสิ่งใด ก็เหมือนโยมไปหาใครผู้หลักผู้ใหญ่ โยมต้องนอบน้อมมั้ยจ๊ะ โยมต้องสำรวมกาย วาจา คุกเข่าตั้งจิตอธิษฐาน ถ้าเป็นหน้าหิ้งพระหิ้งเจ้าหิ้งหอแล้วไซร้ โยมต้องมีดอกไม้ธูปเทียนแพร เป็นการที่เรียกว่าทำให้เกิดรูปธรรมขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ธูป ดอกไม้ เทียนแพร ของหอม น้ำ ๑ แก้ว จุดธูปให้มันได้ความขลังซักหน่อย แล้วกล่าวนะโมนมัสการ ๓ จบ ถ้าเรามีคาถาหรือคำบูชาของบิดามารดาด้วยก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็น เอาจิตนี้แลกล่าวด้วยกายวาจาใจของเรา ที่ได้เกิดมานี้ ที่ได้ล่วงเกินบิดามารดาไม่ว่าภพภูมิใด ไม่ว่าการกระทำใดให้ท่านเสียใจก็ดี ข้าพเจ้าลูกผู้นี้สำนึกผิดในบาปบุญคุณโทษแล้ว ไม่ว่าท่านจะอยู่ในภพภูมิใดขอให้ท่านได้รับรู้..

    บุญกุศลอันใดที่ข้าพเจ้าได้ทำมาขออุทิศบุญกุศลนี้แด่บิดามารดาของข้าพเจ้า ให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี แล้วขอน้อมบุญกุศลอันนี้จงเป็นปัจจัยหนุนนำตามส่งให้ท่านอยู่อย่างมีความสุขสบายจิตสบายใจ

    และกรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินแล้ว ข้าพเจ้าขอขมากรรมในการที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอให้พระรัตนตรัยจงอดโทษอาฆาตพยาบาท อย่าได้มีเวรภัยกับข้าพเจ้าด้วยเลย แล้วโยมก็ตั้งจิตอุทิศผลไป กรวดน้ำ..เรียกว่าให้พระแม่ธรณีเทพเทวดาจงเป็นสักขีพยานในบุญ บุญต้องมีสักขีพยาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    อันที่จริงแล้ว ที่ทำอย่างนี้เพื่อให้เรานั้นเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นไม่ว่าจะทำอะไรให้เรามีหลัก ไม่ใช่ว่าจะขอขมาแล้วก็นึกเอา ถ้านึกแล้วสำเร็จกันหมด..อย่างนี้นึกจะเป็นอรหันต์ก็สำเร็จแล้วถ้าอย่างนั้น มันต้องมีการกระทำเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะว่าเรามีกาย เรามีวาจา และมีใจเป็นประธาน ดังนั้นกายสำคัญเพราะเรามีรูป..ต้องทำให้เห็น

    เพราะถ้าไม่ทำเราก็ยังไปยึดถือตัวตนอยู่ เค้าเรียกว่าทำไม่ถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เอาธูปเทียนแพรอ่อนน้อมเข้าไปอ้างพระรัตนตรัย ถ้าท่านยังอยู่ก็ควรทำ ถ้าท่านไม่อยู่ก็ต่อหน้าพระรัตนตรัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะที่พึ่งนี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐแล้ว..รองจากพระบิดามารดาที่ให้โยมอธิษฐานได้

    แล้วแบบนี้ควรทำเมื่อใดถึงจะเรียกว่าเป็นมงคล เค้าบอกว่าถ้าโยมระลึกได้แบบนี้ เค้าบอกก่อนที่เรานั้นจะสาธยายมนต์..ยิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ความขลัง เพราะตอนที่โยมจะสาธยายมนต์นั้นเทวดาเค้ามาห้อมล้อม เป็นพยานโยมมากมาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ และทำให้โยมนั้นเข้าถึงในพระรัตนตรัยได้ง่าย แล้วที่สำคัญ..สิ่งที่โยมสาธยายมนต์ท่านก็ได้ยินได้ฟังได้มาโมทนา เกิดความร่มเย็นเป็นสุข แม้ขณะเสี้ยวขณะจิตหนึ่ง เข้าใจมั้ยจ๊ะ อันนี้เค้าเรียกเป็นมงคล..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    6989D415-17E6-4253-89CA-8AED530529C0.jpeg
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    82145F1C-699F-4318-9E73-2DCF16832279.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ ถ้าเกิดว่าเราอยากจะพิจารณายังไงถึงจะทราบว่า คนๆนี้ได้ปฏิบัติไปแล้วได้เข้าถึงธรรมขั้นต้นแล้วน่ะค่ะ

    หลวงปู่ : โยมจะถามใคร หรือถามตัวเอง โยมจะไปถามกับใคร หรือถามเพื่อให้เกิดกับตัวเอง สิ่งที่โยมถามโยมไม่เข้าใจในคำถามโยมเหรอจ๊ะ ไหนลองถามใหม่ อ้าว..ลองถามใหม่สิจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : ธรรมขั้นต้นนี่ค่ะ..เค้าบอกว่าเข้าถึงธรรมขั้นต้นเนี่ยะ แล้วจะทราบได้ยังไงว่านี่คือการเข้าถึงธรรมขั้นต้นแล้ว

    หลวงปู่ : เออ..ตอบไม่ยากเลย บุคคลถ้าจะเข้าถึงธรรมขั้นต้น เด็กป.๑ ก็เข้าถึงได้ เด็กไม่มีป.ก็เข้าถึงได้ ก็คือต้องเข้าถึงความสงบให้ได้ก่อน นั่นแหล่ะจ้ะธรรมขั้นต้น ถ้าสงบไม่ได้โยมไม่ต้องไปขั้นไหนต่อไปแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ คนน่ะพูดจายังหามีความปกติในจิตไม่ ยังไม่สงบกายวาจาอยู่ ผู้นั้นก็เรียกว่ายังไม่เข้าถึงธรรม ถึงแม้มีธรรมก็รักษาธรรมนั้นไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    คนรู้ธรรมมีมากมาย แต่คนที่จะเข้าถึงธรรมมีน้อย นั้นธรรมขั้นต้นก็คือว่าโยมต้องเข้าถึงความสงบให้ได้ก่อน ไอ้ความสงบนั้นแหล่ะจ้ะ..มันมีอยู่ในนั้นหมดเลย วิชชา..จรณะ..ญาณสัมปันโน ความสงบนั้นคือบ่อเกิดแห่งอริยทรัพย์ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นปัญญา ไม่ว่าจะเป็นวิปัสสนา

    อย่างนี้ต้องเข้าถึงความสงบให้มาก แล้วการเข้าถึงความสงบ มันไม่ใช่แค่มีขึ้นมาลอยๆว่า อยู่ๆจะให้สงบ ใช่มั้ยจ๊ะ ต้องทำยังไงจ๊ะจะให้สงบน่ะ บางคนก็ต้องหาอุบาย มีองค์ภาวนาก็ดี พุทโธก็ดี ยุบหนอพองหนอก็ดี สัมมาอะระหังก็ดี พุทธัง สรณัง คัจฉามิก็ดี ล้วนแต่หาอุบายเกลี้ยกล่อมจิตให้เข้าถึงธรรม เห็นมั้ยจ๊ะ

    แล้วโยมบอกว่าธรรมขั้นต้นคืออะไร โยมต้องเข้าถึงตรงนี้ให้ได้ก่อน แต่คำว่าขั้นต้นของโยม..กว่าจะเข้าไปถึงผ่านอะไรก่อน ใช่มั้ยจ๊ะ มันต้องมีวาสนาบารมีคือสะสมกระทำมา ถ้าคนไม่เคยสะสมกระทำมา..แม้ขั้นต้นโยมก็เข้าไม่ได้ ใครบ้าบอที่ไหนจะมีบารมีไม่มีบารมีมานั่งสมาธิเลย..มันเป็นไปไม่ได้ จำไว้นะจ๊ะ

    คนที่นั่งพุทธบัลลังก์อย่างนี้ได้ก็ต้องมีเชื้อพุทธะมาก่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมไม่เคยสะสมมา ใครจะมานั่งได้แบบนี้ เดี๋ยวก็บ้า ทำไมถึงบอกว่าบ้า อ้าว..จิตมันไม่สงบมันจะไปนั่งได้ยังไงจ๊ะ ธาตุไฟเตโชมันก็ชนกันแตกซ่านหมดอย่างนี้ ถ้าโยมไม่เคยฝึกมาเป็นอสงไขยก็ดี เป็นภพเป็นชาติก็ดี มันจะหาความสงบไม่ได้แม้เพียงขณะจิตเดียวเลย

    นี้โยมไม่เข้าใจว่าสิ่งที่โยมทำมันมีบุญกุศล มีอานิสงส์มหาศาลแค่ไหน โยมเลยไม่เข้าถึงในบารมีของตนเอง เพราะโยมนั้นเข้าไม่ถึงตัวเอง เค้าเรียกว่าโยมไม่ได้ให้กำลังใจตัวเอง ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเองว่าโยมเกิดมามีดีอะไรบ้าง แต่โยมไปมองส่วนดีของคนอื่นเค้า แล้วเอามาเปรียบเทียบกับตัวเอง เพื่อทำให้ตัวเองนั้นด้อยลงไป แล้วเมื่อด้อยแล้วก็ทำให้อยากมี..ทะยานอยากให้เหมือนคนอื่นเค้า นี่เรียกมีความโลภกลับมาอีก เรียกว่าเป็นสิ่งที่ทำร้ายตัวเองโดยแท้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นการจะเข้าถึงธรรมขั้นต้น..คือโยมเข้าถึงความสงบให้ได้ก่อน แล้วไอ้ความสงบที่ว่าโยมต้องทำยังไง ก็ต้องเรียกว่า..โยมต้องไปเข้าถึงศีลก่อน รักษาศีลให้มันได้ก่อน..นี่เรียกธรรมขั้นต้น อ้าว..โยมมีหน้าที่ในขณะนี้เป็นฆราวาสก็เอาศีล ๕ ให้มันได้ก่อน ถ้าเป็นนักบวชก็ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ อะไรก็ว่าไป นี่คือธรรมขั้นต้น

    ธรรมขั้นต้นของฆารวาสก็ต้องคือศีล ๕ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อโยมรักษากาย วาจา ใจได้แล้วนั่นแหล่ะจ้ะ โยมจะเข้าถึงความสงบมั้ยจ๊ะ ขั้นต้นมั้ยจ๊ะ โสดาบันเกิดขึ้นแล้ว มันไม่ได้ยากเย็นอะไรหรอกจ้ะ มันยากเย็นเพราะโยมไม่เข้าใจ แล้วโยมทำไม่ได้ และก็ไม่อยากทำ เพราะโยมไม่มีหลัก ใช่มั้ยจ๊ะ

    หลักไม่มีจะเดินอย่างไรเล่าจ๊ะ จริงมั้ยจ๊ะ เพราะโยมยังไม่แข็งแรง พอจะตั้งกุศลให้เกิดขึ้น..ล้มอีกแล้ว โยมก็ต้องหาไม้เท้า หาไม้พลองเพื่อเป็นอาวุธ พอโยมจับไม้พลองมีอาวุธโยมจะรู้สึกอบอุ่นมั้ยจ๊ะ โยมก็ต้องหาหลัก เช่นองค์ภาวนาก็ดี เห็นมั้ยจ๊ะ องค์พุทโธก็ดี ภาวนาเข้าไป ระลึกถึงพระพุทธก็ดี ระลึกถึงพระสงฆ์ก็ดี น้อมนำจิตเพื่อเป็นกำลังจิตกำลังใจในปฏิปทาจริยาวัตรของท่าน ในธรรมที่ท่านสอนยกขึ้นมาเป็นอารมณ์ นี่เรียกว่าเป็นหลักทั้งนั้น เป็นอุบายแห่งธรรม

    ถ้าโยมจะเข้าถึงธรรมโยมไม่มีอุบาย โยมจะได้สิ่งที่โยมปรารถนามั้ยจ๊ะ ในทางโลกโยมก็ต้องมีอุบายแข่งขัน ทางธรรมโยมก็ต้องแข่งกับมัน เพราะกุศลและอกุศลนั้นมันเบียดกันอยู่ตลอดเวลา นั้นสิ่งที่โยมถามมานี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เข้าใจมั้ยจ๊ะ การเข้าถึงธรรมขั้นต้นเป็นอย่างไร ก็อย่างที่ฉันว่าพรรณามานี้แหล่ะจ้ะ..ธรรมขั้นต้น โยมเกิดมาโยมอยากเป็นอะไร นี่ขณะที่โยมจะเป็นอะไรก็ตาม แต่โยมยังเป็นฆราวาสอยู่ นี่เรียกว่าธรรมขั้นต้น..ศีล ๕ คือเหตุแห่งการเป็นมนุษย์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    113AE927-723B-4A0F-A5C2-B89E096DEEE7.jpeg

    ลูกศิษย์ : อย่างเรากราบไหว้พระสมเด็จเนี่ย ถ้าเรามีทุกข์ เราขอพรจากพระสมเด็จได้ไหมคะ

    หลวงปู่ : โยมต้องจำไว้เสียก่อน ไม่ว่าโยมจะขอพรหลวงพ่อองค์ใด หรือสมเด็จองค์ใดก็ตาม ในทุกข์ที่โยมมีในทุกข์ที่โยมเป็นนั้น โยมต้องมี"ต้นทุน"เสียก่อน เช่น ว่าโยมนั้นในขณะนั้นมีทุกข์ก็ดี ควร"วางทุกข์"เสียก่อน ให้น้อมจิตน้อมในบุญกุศลที่เคยกระทำมา น้อมเข้าหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัยเสียก่อน ให้จิตของโยมนั้นสงบเสียก่อน หากโยมไม่สงบอยู่ในความทุกข์อยู่ ยังโทมนัสอยู่ แม้โยมอธิษฐานระลึกก็ย่อมไม่ถึงได้

    ดังนั้นเมื่อเรารู้ทุกข์แล้ว เราต้องสร้างต้นทุนเสียก่อน เช่นเดียวอุปมาว่าเมื่อโยมมีโทมนัสสะเทือนจิตสะเทือนใจ โยมต้องการจะไปให้ใครช่วย หากโยมนั้นยังไม่ระงับความเศร้าโศกเสียแล้ว มันจะคุยกันไม่รู้เรื่อง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วเมื่อโยมระงับได้ จิตนั้นเริ่มปล่อยวางในอารมณ์ที่เศร้าได้หรือทุกข์ได้แล้ว ควรมีจิตที่เป็นกุศลแผ่เมตตาจิตออกไปให้กับสรรพสัตว์ดวงจิตดวงวิญญาณที่ผูกอาฆาตพยาบาท

    สิ่งที่โยมทุกข์นั้นแล เค้าเรียกว่าเจ้ากรรมนายเวรนั้นมาทวงคืน เพราะโยมนั้นไม่ได้จ่ายหนี้จ่ายดอกเขา เข้าใจมั้นจ๊ะ หากโยมได้แต่ขอพรทั้งหลายนั้นก็เรียกว่าจะต้องติดหนี้ในบุญกุศลนั้น การทำแบบนี้เรียกว่าจะมีต้นทุนของตัวเอง หากโยมต้นทุนไม่พอแล้ว ฉันนั้นอาจถึงจะเมตตาได้ แต่ถ้าโยมไม่มีต้นทุนเลย ฉันคงได้แค่รับฟัง..

    การจะทำอะไรต้องน้อมด้วยปัญญา โยมถึงจะแก้ไขในสิ่งนั้นได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมเข้าใจมั้ยจ๊ะ หมายถึงว่าหากโยมทุกข์อยู่ทุกข์ใจอยู่นั้น ไม่ว่าจะทุกข์กายทุกข์ใจก็ตาม หากโยมจะไปขอพรหลวงพ่อองค์ใด ควรระงับทุกข์นั้นก่อน ตั้งสติก่อน จะได้คุยกันรู้เรื่อง ถ้ามัวแต่เศร้าโศกเสียใจอยู่ในทุกข์นั้น มันจะเจรจากันไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ...

    โยมอย่ายึดว่าใครจะช่วยโยมได้..ไม่จริง ยิ่งที่ใด เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากก็ตามที่แห่งนั้นย่อมควรเจริญสติให้มาก เจริญเมตตาให้มาก เพราะนั่นเรียกว่า"ต้นทุนมหาศาล" ที่จะเข้าใกล้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ใกล้ถึงครูบาอาจารย์ อย่ายึดว่าสิ่งนั้นจะช่วยเราได้..ไม่จริง สิ่งนั้นเป็นแค่สะพานเชื่อมให้โยมนั้นได้เข้าหาให้สร้างต้นทุนบารมี

    จงรีบกอบโกยเมื่อโยมยังมีลมหายใจ ยังมีจิตที่อ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย ควรใฝ่ให้เข้าถึง ในศีล ในทาน ในองค์ภาวนา เพื่อการเจริญปัญญาให้ถึงที่สุดแห่งตัวทุกข์ ไม่ใช่ให้โยมไปยึดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ว่านั่นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์..ไม่จริง สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะไม่มีความขลังเลย ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ได้ใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นให้เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อให้เกิดกำลังจิตกำลังใจในความเพียรในการสร้างบารมี...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    หากโยมได้แต่ขอพรทั้งหลายนั้นก็เรียกว่าจะต้องติดหนี้ในบุญกุศลนั้น การทำแบบนี้เรียกว่าจะมีต้นทุนของตัวเอง หากโยมต้นทุนไม่พอแล้ว ฉันนั้นอาจถึงจะเมตตาได้ แต่ถ้าโยมไม่มีต้นทุนเลย ฉันคงได้แค่รับฟัง..


    สาธุ สาธุ สาธุ

    น้อมกราบครู อาจารย์ด้วยจิตบูชาต่อพระรัตนตรัย

    บุคคลที่ยังเป็นผู้ขออยู่เป็นนิจ ย่อมยังห่างต่อพระรัตนตรัย
    บุคคลที่เป็นผู้ให้อยู่เป็นนิจ ย่อมเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งพระรัตนตรัย

    การให้ เป็นคุณสมบัติของผู้มีปัญญา ผู้มีศีล สาธุกาล
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    A55FF2B3-C206-4E17-BC15-54DFF98AD768.jpeg

    รำลึกครบ232ปีชาตกาล
    สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

    รำลึกครบ232ปีชาตกาล สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) - วันศุกร์ที่ 17 เม.ย.2563 น้อมรำลึกครบรอบ 232 ปี ชาตกาล “สมเด็จพระพุฒาจารย์” (โต พรหมรังสี) พระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถือ อย่างมาก

    เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆัง โฆสิตารามวรมหาวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 4-5

    เป็นพระสงฆ์ที่คนรู้จักมากที่สุด พระชินบัญชรคาถา เป็นบทสวดภาวนาที่ได้รับความศรัทธาสูงสุด แต่ละบทกล่าวสรรเสริญ และอัญเชิญพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตลอดทั้งพระอรหันตสาวกทั้งหลาย เพื่อการปกป้องคุ้มครองรักษา

    ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ 17 เม.ย.2331 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก จุลศักราช 1150 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    บิดาไม่ปรากฏนาม มารดาชื่อ “เกศร์” หรือ “เกตุ” บางตำราว่าชื่อ “นางงุด” ดั้งเดิมเป็นชาวอุตรดิตถ์ ก่อนโยกย้ายมาให้กำเนิดท่านที่บ้าน ต.ไก่จ้น อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรี อยุธยา

    PT1.jpg

    บรรพชาที่วัดอินทรวิหาร พระบวรวิริยเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพูบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นนาคหลวง สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์

    การศึกษาพระปริยัติธรรม เล่าเรียนจากสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ และได้เรียนต่อกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ นอกจากนี้แล้วไม่มีบันทึกไว้ชัดเจน

    แต่ที่ทราบคือ ครั้งเป็นสามเณรมักได้รับ คำชมเชยจากครูบาอาจารย์ว่ามีความทรงจำดีเยี่ยม มีปฏิภาณเป็นยอด ยิ่งเมื่อเป็นพระภิกษุเต็มตัว ยิ่งทรงคุณ ทรงความรู้ ทรงภูมิธรรม มีสติปัญญาฉลาดหลักแหลม เฉลียวฉลาดแตกฉานในวิทยาการต่างๆ

    วิปัสสนาธุระ คันถธุระ และหรือคุณวุฒิเด่นๆ อย่างโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ล้วน เป็นเลิศ

    กล่าวกันว่าชอบสร้างอะไรให้ใหญ่โตไว้เพื่อให้สมกับนาม งานประติมากรรมที่เป็นอนุสรณ์รู้จักกันดี อาทิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา อนุสรณ์ว่าท่านได้เกิดที่นั่น, พระพุทธรูปยืน (พระศรีอริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร กทม. อนุสรณ์ว่าท่านมาหัดเดินและเติบโต, พระเจดีย์นอน วัดลครทำ กรุงเทพฯ สร้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้เป็นพระธรรมเจดีย์บรรจุ พระธรรม, พระพุทธรูปนั่ง วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จ.พระนครศรีอยุธยา, พระพุทธรูปยืน วัดกลางคลองข่อย ฯลฯ

    นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน นอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิทยาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย

    ยังปรากฏเกียรติคุณความเป็นพระนักเทศน์ระดับชั้นธรรมกถึก ในอดีตพระเถระผู้ใหญ่ระดับชั้นพระราชาคณะ ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าสวดฉันจังหัน และแสดงธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวัง โดยมีในหลวงทรงเป็นประธาน

    สามารถเทศน์กัณฑ์มัทรีไพเราะเพราะ พริ้ง จนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง และรัชกาลที่ 2 พระราชทาน เรือกราบกัญญา หลังคากระแชง ซึ่งเป็น เรือทรงในพระองค์เจ้าให้ไว้ใช้ในกิจ ส่วนตัว

    รัชกาลที่ 4 ก็ทรงโปรดการเทศน์ของ สมเด็จฯ เป็นอย่างมาก ทรงตรัสว่า “ถ้าไม่ได้เห็นขรัวโตหลายๆ วันครั้งใด รู้สึกเหงาๆ ได้สนทนากับขรัวโตแล้วสบายใจดี”

    รัชกาลที่ 4 ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมกิตติ

    ถัดมาอีก 2 ปี สถาปนาให้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบแทนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ

    ในปีที่ 5 แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ไปดูการก่อสร้างพระโต วัดบางขุนพรหมใน เกิดอาพาธด้วยโรคชราภาพ และถึงแก่มรณภาพบนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร) ตรงกับวันที่ 22 มิ.ย.2415

    สิริอายุ 85 ปี พรรษา 65
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    123487FD-2194-446C-B5C6-16DD458810BC.jpeg

    การเจริญสมาธิให้มากเป็นอย่างไร คือเมื่อเราระลึกรู้ได้ก็ดี ขอให้ระลึกรู้ในลมหายใจ ระลึกอยู่ที่กาย..อยู่อย่างนี้ ไม่ว่าเราจะทำอะไรในอิริยาบถใดนั่นแล เท่ากับว่าเรานั้นถือเป็นการเจริญสติเจริญสมาธิไปในตัว เมื่อเราทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ จิตก็เป็นผู้เจริญฌานไปในตัวเท่านั้นเอง เมื่อจิตมันทรงฌานอยู่ตลอดเวลา ไม่ห่างเหินจากฌานอยู่ในวิถีนี้..ก็เรียกว่าเมื่อเราอบรมบ่มจิตอยู่บ่อยๆ ไม่ห่างเหินจากฌาน..ญาณวิถีมันก็บังเกิด คือกระแสจิตในตัวปัญญานั้นมันจะเป็นผู้สอนในสิ่งที่เราสงสัย ที่เราประพฤติปฏิบัติในธรรม ในทางเดินแห่งมรรค ในทาน ศีล ภาวนา

    การที่เราอบรมบ่มจิตเจริญมนต์ก็ดีอย่างนี้..เค้าเรียกเป็นทานแห่งเสียง ในขณะที่เรานั้นสวดมนต์อยู่ก็ดี จิตเราจะเกิดสมาธิไปในตัว จะเกิดฌานไปในตัว จะเกิดวิปัสสนาไปในตัว นี่ขนาดว่าเราสวดมนต์อย่างเดียว ถ้าเราสวดแบบมีสติมีความตั้งใจนอบน้อม..ก็จักได้ประโยชน์มหาศาล

    แต่ถ้าเราไม่ได้สวดด้วยใจ อะไรนั้น..ขาดใจซึ่งเป็นประธานเสียแล้วก็ย่อมเข้าไม่ถึงในสิ่งนั้น แต่ถ้าเราสวดด้วยความตั้งใจ มีความนอบน้อมมีศรัทธา มีสติ มีสมาธิเสียแล้ว..มันก็จะเกิดมรรคเกิดผลในการสาธยายมนต์ มนต์นั้นก็จะเป็นมนตราที่ขลัง อย่างนี้เค้าเรียกว่าสวดมนต์เข้าตัว

    การสวดมนต์เข้าตัวนี้จะมีอานิสงส์อย่างไร ก็จะมีอานิสงส์ว่ามันจะไปปรับสมดุลธาตุ คุณลมคุณไสยอะไรก็ดี ที่เรามีเวรมีกรรม ถูกอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมมาก็ดี มันจะขับเอาออกทางรูขนรูทวาร ในลมหายใจก็ดี ในเหงื่อก็ดีอย่างนี้ ในกระหม่อมทวารก็ดี ดังนั้นอย่าเห็นว่าการสาธยายมนต์นั้นไม่มีประโยชน์ แต่มีอานิสงส์ครอบคลุมจักรวาล หากโยมมีจิตที่ตั้งมั่นนอบน้อม

    เพราะคนมนุษย์นั้นเมื่อเราสวดมนต์อยู่บ่อยๆย่อมทำให้มีกำลังจิต มีกำลังสมาธิพิศดาร ดังนั้นแม้เรายังเจริญสมาธิยังไม่ตั้งมั่น ในขณะที่เราได้มีโอกาสเวลาได้เจริญมนต์ ก็ขอให้โยมนั้นมีความตั้งใจนอบน้อมในพระรัตนตรัย จดจ่อตั้งมั่นในบทสวดมนต์ เพราะในขณะที่เราสวดมนต์อยู่ก็ดี อาจจะมีจิตนั้นวอกแว่กส่งออกไปภายนอก มีอดีตแห่งกรรมเข้ามาเกี่ยวพัน มีจิตที่ฟุ้งซ่านไปในอนาคตเหล่านี้ เค้าเรียกวิถีจิตนั้นมาหาความสงบไม่ได้

    นั้นถ้าการที่เราท่องมนต์ท่องด้วยแต่ปาก..แต่ไม่ได้มีสติไม่ได้มีสมาธิ..มนต์เค้าเรียกว่ามนต์มันออก ยิ่งเราสวดไปมากเท่าไหร่ มันก็ทำให้เรานั้นเหนื่อยล้าในกายสังขาร ก็เรียกว่าสวดไปสวดไปแล้วมันก็จะมีความง่วงเข้ามาแทน อันนี้เค้าเรียกว่ามนต์มันออก จึงเรียกว่าเสียประโยชน์

    เหมือนเราได้มีอาหารกินแล้วบริโภคแล้ว แต่อาหารนั้นไม่สามารถทำประโยชน์ให้ร่างกายเราได้ อย่างนี้เค้าเรียกว่ามนต์มันก็จะเสีย มันก็จะกลับเป็นโทษ ดังนั้นขอให้จงเห็นค่าในสิ่งที่เราได้ตั้งใจจะทำในการสิ่งใดก็ดี เมื่อเราสาธยายมนต์สวดมนต์ได้จบแล้ว ตั้งจิตอธิษฐานเจริญพระกรรมฐานแล้วก็ดี ก็ขอให้โยมนั้นได้เจริญอานาปานสติ

    อานาปานสตินี้เป็นกรรมฐานแม่บทใหญ่ ไม่ว่าโยมจะเจริญกรรมฐานคือการเพ่งอารมณ์ใดก็ตาม มันต้องมีด้วยบทของการเจริญอานาปานสติคือกำหนดรู้ลมหายใจ ไม่ว่ากองใดในกสิณแห่งธาตุไฟเตโชอันใด ถ้าเรานั้นไม่กำหนดรู้ในลมหายใจ ในอานาปานสติเสียแล้ว กรรมฐานแม่บทนั้นที่เราเจริญทำอยู่..มันจะเกิดมรรคผลได้ช้า

    ดังนั้นปฐมบทปฐมฌานบทแรก ให้เรากำหนดรู้ในลมหายใจในอานาปานสติ รู้เข้ารู้ออก คือเมื่อเรากำหนดรู้ลมแล้ว ก็รู้ว่าลมมันหายใจเข้าหายใจออกก็รู้ เมื่อเรารู้แล้วก็เรียกว่าเมื่อรู้ ถึงรู้ แล้วจงทิ้งรู้ เพราะขณะที่เราทิ้งรู้นั้น..คือการวางเฉยเป็นอุเบกขาฌาน อุเบกขาฌาน..เป็นอย่างไร

    อุเบกขาฌานคือการวางเฉย การวางเฉยคือการมาเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งให้เป็นอารมณ์ แล้ววางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงคือไม่สนใจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดอะไรขึ้น จะได้ยินเสียงอะไรก็ดี หรือร่างกายสังขารมันจะคัน ก็ขอให้เรานั้นมีขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้น มีการที่ว่าข่มจิตข่มใจ นี่แลเค้าเรียกเป็นการข่มนิวรณ์ นี่เรียกว่าเป็นการเจริญฌานทั้งนั้น เรียกว่าอุเบกขาฌาน..อย่างนี้แล

    เมื่ออุเบกขาฌานมันบังเกิด เราต้องทำให้มันชิน เพราะว่าฌานนั้นแปลว่าขิน คือทำให้มันสม่ำเสมอ อย่าได้ห่างเหินจากฌาน นั้นการที่ห่างเหินจากฌาน เมื่อเราไม่ได้ภาวนาอยู่ ไม่ได้มานั่งสมาธิ ไม่ได้มาสวดมนต์นี่ เราจะรักษาอุเบกขาฌานอย่างไร จะทรงฌานอย่างไรให้มันเป็นปรกติ เพื่อไม่ให้มันห่างเหิน..ก็คือกำหนดรู้ในลมหายใจ เมื่อเราระลึกได้ไม่ว่าเราจะทำอะไร ในอิริยาบถใดก็ตามไม่มียกเว้น..อย่างนี้แล

    เมื่อเรายังระลึกถึงลมหายใจอยู่ในกาย ระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิก็ดี เรียกว่าสติโยมก็จะกลับมาอยู่ที่ตั้งฐานของมัน หรือเรียกว่าตั้งฐานของจิตอยู่ในกาย..อยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม คือสติปัฏฐาน ไม่ให้พลัดพรากจากไปไหน เอาฐานใดฐานหนึ่งก็ดี แต่ต้องกำหนดรู้ที่กายก่อนคือกำหนดที่ใจ ต้องมีประธานแห่งกรรม แห่งกุศลธรรมให้มันเกิดขึ้น

    เมื่อเราทำได้อย่างนี้แม้เราจะไม่มีเวลาสวดมนต์ ไม่ว่าจะมีสิ่งใดก็ตามที่จะเป็นตัวขัดขวางที่จะทำให้เรานั้นสะดุดได้ แต่เมื่อเรามีโอกาสได้สาธยายมนต์ ได้นั่งเจริญจิตภาวนาก็ดี สิ่งที่โยมได้ทำไว้ ได้ภาวนาอบรมบ่มจิตในการเจริญอุเบกขาฌานนั่นแล..มันจะกลับมารวมตัว เพื่อให้โยมพร้อมสำรวมอยู่ในกาย วาจา ใจ นั่นเค้าเรียกว่าช่วยพยุงในทาน ศีล ภาวนาไม่ให้มันเสื่อม..

    แสดงว่าการสวดมนต์นี่เป็นของมีค่ามีอานิสงส์สูงมาก เพราะถ้าโยมสวดมนต์ค่ำเช้าเย็นเป็นประประจำ เมื่อโยมละกายสังขารโยมไม่ต้องพิจารณาธรรมอะไรเลยก็ได้ โยมก็ไปเกิดในพรหมเทวโลกแล้ว เพราะจิตในเวลาที่โยมสาธยายมนต์เป็นสมาธิ โยมได้เจริญพรหมวิหาร ๔ แล้ว จิตใจไม่มีอาฆาตพยาบาทใคร

    ในขณะที่โยมสาธยายมนต์นั้นโยมก็มีความนอบน้อมในพระธรรม มีขันติธรรม มีอุเบกขาธรรม ถ้าโยมไม่วางเฉย..โยมจะมาสาธยายมนต์จนจบได้อย่างไร แล้วถ้าโยมไม่มีสัจจะมีบารมี..โยมจะสวดมนต์จบมั้ยจ๊ะ แล้วถ้าโยมไม่มีกำลังใจ..โยมจะทำคนเดียวได้มั้ยจ๊ะ เห็นมั้ยจ๊ะ การสาธยายมนต์อานิสงส์ครบครัน เหมือนกินอาหาร ๕ หมู่...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    03D52448-9EA2-4AA4-BC34-7D354AA7C5FE.jpeg
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    "ทุกข์เท่านั้นที่เกิด ทุกข์เท่านั้นที่ดับ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ"

    ธรรมของแท้ที่อยู่ในวัฏฏะสงสาร สาธุ สาธุ สาธุ
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    0B35D1E3-9D75-42C4-908A-294A4BDEB806.jpeg

    ก่อนที่โยมจะเข้ากรรมฐาน เราเจริญบุญเราต้องสร้างอะไร (ลูกศิษย์ : ทำทานค่ะ คือให้อภัยทาน แผ่เมตตา อโหสิกรรมเจ้าค่ะ) นั่นสิจ๊ะ โยมได้อธิษฐานแผ่เมตตาอโหสิกรรม จนจิตมันละความอาฆาตพยาบาท ละวางจากอารมณ์ที่จิตมันฟุ้งซ่านบ้างรึยัง นี่เค้าเรียกการปล่อยวาง ถ้ายังวางไม่ได้จิตมันก็ไม่สงบ

    เมื่อจิตไม่สงบ..มันจะเข้าถึงคุณงามความดี เข้าถึงสมาธิ เข้าถึงจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก ไม่นานมารก็จะมาเป็นอุปสรรค มาขัดขวางความเพียร จนจิตมันไม่ตั้งมั่น นั้นลองพิจารณาดูซิว่า การที่เราเจริญสมาธิเจริญปัญญา เราได้อธิษฐานแผ่เมตตาอโหสิกรรม ขอขมากรรม ให้อภัยทานมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเราทำมากๆเข้าแล้ว จิตเรานั้นจะละความอาฆาตพยาบาท ละจากการเบียดเบียน นั่นก็เรียกว่าเราจะรักษากรรมบถ ๑๐ ได้

    สิ่งที่พลาดพลั้งพลั้งเผลอไปก็ดี เมื่อเราเจริญสติ หรือทุกครั้งที่เรามีสติ..เราก็จะเท่าทัน ตั้งใจเสียใหม่ เรียกว่าตั้งใจกระทำความดี เมื่อทำแบบนี้บ่อยๆ จิตเราจะเข้าถึงความสงบ เข้าถึงความสุข เข้าถึงความดี เมื่อเป็นอย่างนี้มันก็จะเป็นที่ปลอดภัยที่ไม่ให้มาร หรือเจ้ากรรมนายเวรนั้นเข้ามาเบียดเบียนบีฑา โรคภัยไข้เจ็บก็ดี หรือวิบากกรรมก็ดีในอดีต มันจะได้ไม่ต้องมาเบียดเบียน เรียกว่าหนักมันก็ให้เป็นเบาเสีย หากว่ามันเบามันก็จางหายไป

    นั้นการเจริญเมตตาจิตนี้จึงมีอานิสงส์มาก เพื่อเป็นแรงต้านทานในอดีตแห่งกรรมที่เราได้สร้างมา ให้เรานั้นได้มีกำลังจิต มีหิริโอตัปปะเกรงกลัวต่อบาปที่จะทำลงไป เมื่อเรามีความเกรงกลัวต่อบาปในกรรมชั่วแล้ว จิตเรานั้นก็จะห่างจากอกุศลกรรมได้ เมื่อนั้นจิตเราจะตั้งอยู่ในวิหารธรรม ตั้งอยู่ในคุณงามความดี เค้าเรียกว่าทรงศีลได้อยู่ตลอดเวลา คือทรงความดีอย่างนี้..

    จิตที่มีสุขและมีปิติอยู่ ก็ย่อมมีเทพเทวดารักษาคอยตามดูแล ดังนั้นการที่เรานั้นรักษาศีลมันก็จะเป็นประโยชน์อย่างไร เรารักษาอะไรไว้ สิ่งนั้นมันก็จะให้ผลตอบแทนดูแลรักษาเรา นั้นทุกครั้งที่โยมจะเจริญบุญเจริญพระกรรมฐานก็ดี เราต้องเจริญเมตตาจิต แผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ให้ทั่วจักรวาลพิภพ ทุกดวงจิตดวงวิญญาณที่เราได้เคยทำกรรมทางใดทางหนึ่งไว้ก็ตาม

    ขอบุญกุศลที่เราจะทำนี้ จงเป็นประโยชน์หนุนนำให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายได้มาโมทนา ได้มาอโหสิกรรม อย่าได้มีเวรมีพยาบาทซึ่งกันและกัน ขออำนาจบุญกุศล แห่งพระรัตนตรัย จงนำแสงสว่าง..ส่องแสงสว่างให้กับดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลาย ที่ยังมีเวรภัย มีความอาฆาตพยาบาททั้งหลายนั้น ที่ยังตกทุกข์ได้ยากอยู่ ท่องอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ ให้พ้นจากภัยพาล พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ก็ด้วยอำนาจบุญกุศลที่เราเจริญทาน ศีล ภาวนา ข้าพเจ้าขอเอาจิตที่ตั้งมั่นนี้ ให้กับดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายจงมาได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าจะได้กระทำในขณะต่อไปนี้

    การอธิษฐานเมตตาจิต ส่งให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายนั้นได้มาเกี่ยวข้อง ก็เนื่องด้วยว่าเรานั้นเกิดตายมามากมาย การทำกรรมอะไรก็ตาม ในเมื่อได้ทำลงไปแล้ว..จึงต้องมีความพยาบาท จึงต้องมีเจ้ากรรมนายเวร หรือเรียกว่ามีหนี้สินทางกฎแห่งโลกวิญญาณ

    ดังนั้นทุกครั้งที่เรานั้นจะเจริญมนต์เจริญความดี เอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว เมื่อเห็นว่าอำนาจแห่งพระรัตนตรัยนี้ ที่เราเป็นที่พึ่งเป็นสรณะนี้ เป็นที่สุดสูงสุดแล้วของหลักชัย เป็นธงชัยแล้ว ก็กล่าวอ้างอำนาจแห่งพระรัตนตรัยที่เรานั้น มีความเชื่อมีความศรัทธา น้อมจิตเข้าหาให้จิตเราตั้งมั่นสงบ เมื่อจิตเราตั้งมั่นสงบแล้ว..ภัยก็ดี ความสะดุ้งผวาก็ดี มันจะอันตรธานหายไป เมื่อนั้นเรียกว่าเราอยู่ในวงล้อมแห่งพระรัตนตรัย..เป็นที่อยู่ที่ปลอดภัย

    เมื่อเราเห็นว่าเป็นที่อยู่ที่ปลอดภัย เราก็มีจิตเมตตาให้สรรพสัตว์ ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่เราได้เคยเกี่ยวข้อง เคยล่วงเกิน ด้วยทางใดทางหนึ่งก็ตาม ก็ตั้งจิตอธิษฐานในบุญกุศลนี้ไป ขออำนาจบุญกุศลนี้จงหนุนนำให้ข้าพเจ้านั้นได้เข้าถึงในพระรัตนตรัยนี้ จงเหนี่ยวนำทุกดวงจิตดวงวิญญาณ ที่ยังตกทุกข์ได้ยากอยู่ ยังเสวยวิบากกรรมใดก็ตาม จงได้มีส่วนผลบุญกุศล ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงนำทางเป็นแสงสว่าง ให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายได้พ้นทุกข์พ้นภัยในวัฏฏะ ตามอำนาจแห่งแรงบุญวาสนาแรงกรรมบารมี

    ให้เราอธิษฐานเป็นสะพานเชื่อมต่อ เอากระแสแห่งจิตเรานี้แล กระแสบุญเรานี้แลเป็นสะพานบุญ เชื่อมให้กับดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลาย ให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทุกดวงจิต ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ที่ยังอยู่ก็ดี ดับขันธ์ไปแล้วก็ดี ที่มีบุพกรรมเกี่ยวข้อง จิตที่เราระลึกได้นั่นแล เมื่อจิตที่ระลึกได้..จิตต่อจิตมันก็ถึงกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด มันก็จะมารวมตัวในห้วงของจิตของเรา นั่นเค้าเรียกว่าโลกวิญญาณ

    อันว่าบุพกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกันทางใดทางหนึ่งก็ตาม หากเรามีใจที่ระลึกถึง บุญกุศลแห่งจิตเรานั้นมันก็ถึง ด้วยอำนาจแห่งจิตของเรานี้มีความปรารถนาตั้งมั่น แผ่เมตตาจิตออกไป เพื่อละความอาฆาตพยาบาท ด้วยความปรารถนาดีกับทุกดวงจิต ให้เค้ามีส่วนได้ ได้รับในผลบุญ ได้รับในกระแสของพระรัตนตรัยที่จะเอาเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ ไม่ว่าจะอยู่ในวิบากกรรมใดก็ตาม ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงนำทางเป็นแสงสว่างให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏฏะทั้งหลายทั้งสิ้นไป

    อย่างนี้..เมื่อเราทำแผ่เมตตาจิตออกไปอย่างนี้ อธิษฐานบุญกุศล เอาจิตเรานี้เชื่อมกับกระแสพระรัตนตรัย เมื่อจิตเราสงบตั้งมั่นนั้นแล จิตตรงนั้นจะมีกำลังมหาศาล จิตที่มีปิติสุข มีอารมณ์แจ่มใสเบิกบานนั่นแล สรรพสัตว์น้อยใหญ่เมื่อเราระลึกถึง เค้าก็จะได้อานิสงส์ผลของบุญกุศลนั้น ของจิตที่เรามีความบริสุทธิ์ใจ ที่มีความปรารถนาดีที่เราให้ไป..

    นั้นจิตเมื่อเรายังมีความเร่าร้อนอยู่ ความฟุ้งซ่านอยู่ อย่างนี้แม้เราจะแผ่เมตตาจิตออกไปนั้น กำลังมันก็น้อย แม้ขนาดตัวเรายังทำให้จิตสงบยังไม่ได้ การจะไปช่วยเหลือใครก็ดี การจะตั้งอธิษฐานในบุญก็ดี มันก็มีกำลังน้อย ดังนั้นมันต้องอาศัยตั้งจิตอธิษฐานของบุญ ระลึกถึงคุณงามความดีที่เราได้ทำมาในทาน ศีล ภาวนา เอ่ยอ้างอำนาจแห่งพระรัตนตรัยที่เรานั้นมีความเชื่อความศรัทธา ให้บังเกิดประโยชน์กับสรรพวิญญาณทั้งหลาย

    อย่างนี้จะทำให้จิตเรานั้นคลายจากความหดหู่ใจ ความเศร้าหมองใจ ความเคลิบเคลิ้มใจ เมื่อจิตเรานั้นเบิกบานแจ่มใสนั้นแล เค้าเรียกว่าจิตเราย่อมมีกำลัง เค้าเรียกว่ากำลังแห่งบุญ เมื่อจิตเรานั้นจะแผ่ไป ณ ที่ใด มันก็ไปไกล จิตนี้จึงว่าไม่มีอะไรที่จะมาปิดกั้นขวางกั้นได้

    ดังนั้นเมื่อจิตเรานั้นเหนืออำนาจสมมุติบัญญัติของโลกแล้ว คือจิตเรานั้นไม่มีความหดหู่เศร้าหมองแล้ว จิตเราตั้งมั่นเป็นหนึ่งแล้ว คำว่าจิตตั้งมั่น..คือจิตที่สงบอยู่ภายในกาย มีความเชื่อมั่นในกระแสพระรัตนตรัยนั่นแล ความกลัว ความหดหู่เศร้าหมองมลายหายไปแล้วนั้น จึงไม่มีอะไรปกปิดได้ในสามแดนโลกธาตุ

    เมื่อนั้นก็ขอให้โยมทั้งหลายตั้งจิตแผ่เมตตาออกไป อย่างนี้หากโยมทำได้อยู่บ่อยๆ จะห่างไกลจากคนพาล จะห่างไกลจากเวร โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายก็ดี ที่มันจะมีจะบังเกิดขึ้น มันก็จะรักษาของมันในตัว หากไม่เกินวิสัยของกรรมที่ทำมา มันก็จะบำรุงรักษาธาตุขันธ์ให้เรานั้นใช้ประโยชน์ ให้มีกำลังต่อสู้ เจริญความเพียรให้เข้าถึงที่สุดแห่งมรรคผล..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    5AFCE329-CBCB-4780-BA39-7A6D6F3171BE.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ แล้วอย่างที่แบบว่าตายแล้วแบบว่า หลับแล้วแบบพรุ่งนี้ไม่ต้องตื่น ก็คือคนที่ตายแบบไม่ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย
    หลวงปู่ : อันนี้ไม่ดี อ้าว..ก็มันไม่รู้ มันต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา แม้จิตสุดท้ายก็ต้องรู้ อ้าว.. แล้วโยมไม่รู้โยมจะไปไหนล่ะ แล้วโยมจะไปไหนถ้างั้น

    ลูกศิษย์ : เห็นหลวงปู่บอกว่าก่อนตายนี่มันจะทรมาน..
    หลวงปู่ : ทรมานมันก็เรื่องของมัน เรื่องของกายสังขาร เราไม่ได้เอาจิตไปทรมานกับมัน เพราะถ้าจิตเราฝึกแล้วเราจะรู้ แยกรูปแยกนามแล้ว ถึงได้บอกว่าเมื่อถึงเวลาโยมต้องจอดเรือโยมที่นี่ เอาเรือขึ้นไปในเรือนั้นไม่ได้..เรือใหญ่ นั่นมันโลกใหญ่ นี่มันไม่ใช่โลกของเรา เราจะยึดทำไม เราก็ทิ้งซะ

    เมื่อเราละได้เบื่อได้นั่นแหล่ะจ้ะ มันจะทุกข์แค่ไหนมันก็เรื่องของมัน แค่ช่วงสภาวะจิตเดียวก็ตัด แต่คนที่ไม่ได้ฝึกจิตมาต้องทรมานเพราะยึดกายนี้ เมื่อถึงเวลาโยมปฏิบัติไปโยมจะไม่มาถามอย่างนี้กับฉันอีก เพราะโยมจะรู้ด้วยตัวของโยมเอง

    คนที่มาถามแบบนี้เค้าเรียกสภาวะเกิดความกลัวทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะมันไม่มีหลัก พอมันมีหลักแล้วมันรู้หลักแล้วทีนี้ โอ..รู้งี้ตายซะตั้งนานซะก็ดี แต่มันไม่จริง ยังใช้ไม่ได้ ตายไม่ได้ กรรมของสังขารถ้ายังไม่ถึงเวลาให้ตายก็ไม่ได้..บาป พระบางคนเป็นอริยสงฆ์แล้ว แม้เค้าปฏิบัติธรรมไปแล้วบรรลุธรรมไปแล้ว แต่กายสังขารก็ต้องยังคงอยู่ เพราะว่าใช้กรรม แต่ถ้าฝึกจิตมาแล้วไม่มีปัญหา

    นี่ไงจ๊ะ..ทำไมถึงต้องฝึก ทำไมต้องทำ เพราะอะไรจ๊ะ เพราะว่าเวลาสุดท้ายของโยม ถ้าโยมไม่เคยฝึกอะไรมา โยมจะระลึกถึงอะไรไม่ได้เลย โยมไม่เคยมีความผูกพันกับใครโยมจะไปมีความรู้สึกดีกับเค้ามั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่) ถูกต้อง เพราะโยมต้องมีกรรมก่อน สร้างกรรมขึ้นมาคือกรรมดี แล้วโยมระลึกถึง..โยมจะเห็นทั้งหมด นั่นคือนิมิตที่โยมจะไป

    ถ้าโยมสร้างกรรมฆ่าแต่สัตว์ นิมิตนั้นก็ยังติดเห็นฆ่าสัตว์..แล้วอะไรที่จะไป โยมก็ต้องไปเป็นสัตว์ให้เค้าฆ่าเหมือนกัน นี่ไงจ๊ะ โยมต้องสร้างกรรมดีให้จิตมันติดเป็นนิมิต ให้มันคุ้นเคยในคุณงามความดีในกรรมดี ให้เห็นโทษในกรรมชั่ว

    ดังนั้นแล้วเรื่องกายสังขารเมื่อถึงเวลาแล้ว เมื่อจิตเราฝึกมาดีแล้ว บุญกุศลเราก็ดีมันจะมาหล่อหลอมให้จิตเรามีกำลัง เราจะไม่ไปพะวงกับสิ่งสังขารที่เราป่วย เมื่อถึงเวลานั้นจิตเรามีกำลังเราก็หลุดไปเลย ก็จิตมันมีกำลังมันจะหลุดของมันเอง เพราะว่าการจะตายมันแค่ชั่วขณะจิตเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วที่ว่านอนตายโดยไม่รู้เรื่อง..อันนั้นใช้ไม่ได้ อันนั้นมันไหลตายไปแล้ว มันต้องมีสติ ต้องมีตัวรู้อยู่ในขณะนั้น ก่อนจะตัดภพตัดชาติ ภพคือกายสังขารที่เราเกิดมาเสวย..อันนี้เรียกภพ อ้าว..แล้วเราไม่ตัดภพตรงนั้นน่ะ มันก็ต้องเกิดมาอีก มันไม่ใช่ว่าไปสบายแบบนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ตายสบาย..นั้นเค้าเรียกตายสบาย แต่ถามว่าไปสบายหรือเปล่า..ไม่มีใครรับประกัน ไม่มีใครบอก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่จิตของเราที่จะไป..เราต้องรู้..นั่นแหล่ะตัวบอก ไอ้ตัวรู้นั่นแหล่ะจ้ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นที่โยมฝึกกรรมฐานมา โยมจะบอกว่าหมดกิเลสหรือไม่..ไม่ต้องไปสนใจมัน กิเลสหมดไม่หมดมันเรื่องของมัน แต่เราไม่เอามันไป เราจะเอาแต่บุญกุศลที่เราทำได้ไป กิเลสก็ทิ้งมันไว้อย่างนี้ มันก็หลุดได้เหมือนกัน

    แต่มันอยู่ที่กำลัง นั้นต้องสะสมอยู่ตลอดเวลา ละอยู่บ่อยๆ ฝึกจิตไว้มากๆ แล้วก็อธิษฐานไปว่าโยมทำบุญอะไร จะไปไหน อธิษฐานให้พ้นทุกข์อย่างเดียว ไม่ต้องอธิษฐานให้อยากได้โน่นอยากได้นี่ เพราะโยมไม่ต้องอธิษฐานอยากได้อะไร ถ้ามันเป็นบุญวาสนาบารมีของโยม..มันก็เกิดขึ้นเองของมัน อันนั้นคือทางโลก โยมไม่ต้องอธิษฐานมันก็มี

    อ้าว..แล้วทำไมกรรมชั่วหรือคนไม่ดีเราไม่เคยอธิษฐานถึง ขอให้เจอแต่สิ่งดีๆ ขอให้เจอแต่คนดีๆ แต่ดันไปเจอแต่คนชั่วๆ..ทำไม คนชั่วไม่เคยอธิษฐานให้เจอแล้วทำไมเจอ..เพราะว่าเป็นวิบากกรรมทั้งนั้น

    นั้นทรัพย์อะไรที่โยมพึงมีพึงได้ไม่ต้องอธิษฐานมันก็มี แต่ไอ้สิ่งที่มันไม่มีมันคือการพ้นทุกข์นี้ คนไม่เคยระลึกถึง ไม่เคยปรารถนา เพราะคิดว่าไม่เคยจะไป เพราะยังยึดในทุกข์ ยังพอใจในการเกิดอยู่ พอใจในการเกิดเป็นสุนัขก็เกิดเป็นร้อยชาติพันชาติแสนชาติ เห็นมั้ยจ๊ะ เพราะความพอใจแท้ๆ

    แต่เมื่อเราเบื่อหน่ายไม่อยากเกิดนี่แหละ เราดำริขึ้นมาใหม่ คือไม่อยากเกิด อยากจะพ้นทุกข์ เราต้องเกิดความพอใจก่อน ไม่อยากเกิดแล้วตอนนี้ พอไม่อยากเกิดมันมีหนทางเปลี่ยนแปลงแล้ว มันมีทางอื่นภพอื่นที่จะไปนั่นเอง ก็คือบอกว่าอธิษฐานว่าไม่ต้องการเกิด ต้องการพ้นทุกข์ เป็นเทวดาก็ไม่เอา อ้าว..เทวดาเดี๋ยวต้องลงมาเกิดอีก เอาพ้นทุกข์อย่างเดียว

    ทีนี้การจะพ้นทุกข์เมื่อไร มันต้องให้เบื่อหน่าย พิจารณาถึงความเบื่อหน่าย อ้าว..แล้วพิจารณาความเบื่อหน่าย..พิจารณาอะไร เรายึดกายเราก็ต้องไปพิจารณากาย ในความสวยงามที่ฉาบไว้ เนื้อหนังมังสาที่เต่งตึง ดูซิในนั้นมีความเสื่อมมั้ย ภายใต้มันมีความเสื่อมมั้ย

    ความแข็งแรงของเราในนั้นมีความเจ็บป่วยมั้ย ของสวยของงามของดีของหอมในนั้นมีความเหม็นมั้ย มันแค่ว่าฉาบด้วยหนัง ฉาบด้วยการปรุงแต่ง ให้พิจารณา..นั่นเรียกว่านิมิต เราต้องเห็นนิมิตก่อน พระพุทธองค์ท่านก็ยังเห็นนิมิตเลย เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนชรา คนตาย..นี่เค้าเรียกนิมิตเทวทูตทั้ง ๔

    โยมก็ต้องเห็นนิมิตแบบนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้เกิดความเบื่อหน่าย นิพพิทาญาณมันถึงจะบังเกิดคือความเบื่อหน่าย มันจะไปละอารมณ์ตามที่ต่างๆนี้ นี่เค้าเรียกว่าวิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด

    การพิจารณาเพื่อละอารมณ์ให้เข้าถึงการเบื่อ การสละปลงสังเวช เรียกว่าการเจริญกรรมฐานไปทางวิปัสสนาญาณแล้ว นี่คือกำลังที่จะไปนิพพาน ไอ้การเป็นมนุษย์นี่แค่รักษาศีลก็เป็นแล้ว เป็นเทวดาแค่มีหิริโอตัปปะก็เป็นเทวดาแล้ว นั้นมนุษย์ก็เป็นเทวดาก็มีอยู่ในตัวหมดแล้ว พรหมก็เป็นแค่มีพรหมวิหาร ๔ ตอนนี้โยมเป็นหมดแล้วทุกอย่าง ที่เหลือไม่เอาอะไรทั้งนั้น..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    7FF08709-1120-493E-90C5-9FF061FC1794.jpeg

    การเจริญความเพียรมันต้องมีสติ เมื่อสติและความเพียรมันมาคู่กันแล้วมันก็จะมีปัญญา เมื่อมีปัญญาแล้วโยมก็เอาปัญญานั้นไปพิจารณาธรรมให้เกิดขึ้น ให้มันเกิดธรรมอะไรขึ้นบ้าง ธรรมอะไรที่มาวนเวียนอยู่..ไม่พ้นธรรมพวกนี้ ก็ได้แก่ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล ใช่มั้ยจ๊ะ แล้วก็คือธรรมสังเวช

    ๓ ข้อใหญ่ของหลักธรรมนี่ โยมต้องหยิบมาพิจารณาอย่างนี้อยู่บ่อยๆ อกุศลธรรมก็คือธรรมหรือการกระทำความชั่วของเรา มันอาจจะผุดขึ้นมาในสมาธิก็ดี แล้วถ้ามันไม่ผุดขึ้นมา เราก็กำหนดยกธรรมอกุศลนี้ขึ้นมาพิจารณาละอกุศลลงไป คือเพ่งโทษดูในความชั่วช้าเลวทรามของเรา

    ธรรมกุศลมันคืออะไร ธรรมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ทำให้เรานั้นเจริญคุณงามความดี เพื่อจะเอาไปเจริญในกำลังจิตกำลังใจ เอาไปประพฤติปฏิบัติ ระลึกถึงกุศลที่เราทำมา ทาน ศีล ภาวนา..เราทำมากพอรึยังอย่างนี้

    อันว่าธรรมสังเวชเป็นอย่างไร ธรรมฝ่ายใดก็ตามหรือหัวข้อใดอารมณ์ใดที่เราระลึกแล้ว ทำแล้วรู้สึกว่ามันจะปลง สละ เกิดสังเวช สลดหดหู่ใจเศร้าหมองใจ ที่เบื่อหน่ายคลายจากความกำหนัด ที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมากอย่างนี้ เรียกว่าธรรมสังเวช

    ถ้าตัว ๓ ตัวนี้โยมไม่มาพิจารณา..นิพพิทาญาณมันก็บังเกิดขึ้นได้ยาก ความเบื่อหน่ายในตัณหาอุปาทานที่มันซ่อนเร้นอยู่ในกายในจิตเรานี้ มันก็ตัดทอนออกไปยากถ้าเราไม่ละมันลงไป อย่างนี้แลเค้าเรียกว่าละอารมณ์ความพอใจในขันธ์ ๕ เพื่อที่จะตัดตรงเข้าไปสู่นิพพาน

    การที่จะตัดตรงเข้าไปสู่นิพพาน เราต้องรู้จักการพิจารณา โยมว่าเมื่อสมาธิบังเกิดแล้วนั้น..ธรรมอกุศลเกิดได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ได้เจ้าค่ะ) อะไรที่เรายังละไม่ได้หรือละยังไม่หมดมันก็ต้องผุดขึ้นมาเป็นธรรมดา เหมือนสิ่งที่เราทำไปแล้วก็ดี ในกรรมชั่วหรือกรรมดีก็ตาม เมื่อถึงเวลามันจะให้ผลมันก็ต้องมาสนองเป็นธรรมดา นั้นถามว่ามันได้หายไปหรือเปล่า..ก็เปล่าเลย

    นั้นธรรมอกุศลที่เราทำไว้แล้ว ที่เกิดขึ้นไปแล้ว ที่เรายังพอใจยังติดใจอยู่ ยังละไม่ได้ในความโลภ โกรธ หลงเหล่านี้ มันก็จะผุดขึ้นมา นั้นเมื่อผุดขึ้นมาแล้วก็ยกอกุศลหรือธรรมใดที่มันเกิดขึ้นมาพิจารณา มาเพ่งโทษ มาละ มาเจริญเมตตาพิจารณาดูไป

    อ้าว..เดี๋ยวเราก็มาดูกรรมฐานข้อนี้ ธรรมอกุศลอันใดลองดูซิ ถ้าไม่งั้นเราก็จะไม่ละมันเลย เมื่อเราไม่ค่อยได้ละ มันก็จะละเลยไปเสียเปล่าๆอย่างนี้ จะรอให้มันเกิดขึ้นมามันก็เสียเวลา เมื่อจิตเราตั้งมั่นในความสงบแล้วในขณะนี้ เราก็สามารถระลึกได้..นี่เรียกว่ากำหนดรู้ ตัวรู้นี้เราจะเอาไปใช้ทำอะไรก็ได้เมื่อมันเกิดแล้ว..

    ตัวรู้คืออะไร..ก็คือตัวมีสติ ตัวสติตัวนี้ ในตัวสตินี้ตัวระลึกได้นี้ย่อมมีอำนาจแห่งสมาธิอยู่ ย่อมมีความสงบอยู่ หากไม่มีสมาธิอยู่ในนั้น มันจะไม่มีสติ มันจะกำหนดรู้อะไรไม่ได้ เมื่อจิตที่ตั้งมั่นมีตัวรู้บังเกิดแล้ว เราก็เอาตัวรู้นี้แลกำหนดดูในธรรมทั้งปวง ธรรมนั้นมีฝ่ายใดบ้าง ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล หรือธรรมที่สละพิจารณาแล้วทำให้เราปลง เราคลายจากความกำหนัดยึดมั่นถือมั่นได้นั่นแล เค้าเรียกว่าธรรมสังเวช

    นั้นเราลองกำหนดรู้ธรรมของเรา เราติดอะไรข้องแวะอะไรมาก เราไปเพ่งโทษในธรรมนั้น ในกรรมนั้นให้มาก ลองพิจารณาไปอย่างนี้ ถ้าโยมคิดว่าจิตเรามีการงานที่ตั้งอยู่ในฐานทั้ง ๔ อยู่ในกายก็ดี อยู่กับตัวรู้ของเราก็ดี ไอ้คำว่านิวรณ์ ๕ มันจะเข้ามาเบียดเบียนบีฑาโยมบังคับบัญชาโยม..มันก็ทำได้ยาก เพราะจิตเรามีการงานแล้ว จิตเราไม่ได้ตกไม่ได้ว่างแล้ว

    เมื่อจิตเราไม่ได้ว่างนี่แล เราก็มีการงานที่ตั้งของจิต..นี่ชื่อว่าการงานของกรรมฐาน เพราะกรรมฐานก็คือการงานอย่างหนึ่ง เมื่อเราเอาจิตนั้นมาเรียนรู้ มาฝึกจิตด้วยการพิจารณาธรรมในการตัดละอารมณ์ในกายนี้ ในสักกายทิฏฐิความหลง ความหลงในกาย ความไม่รู้จริง ความไม่เท่าทันอารมณ์ทั้งหลายเหล่าใดก็ตาม ชื่อว่าเรานั้นขาดจากสติ ขาดจากปัญญา ขาดจากการพิจารณา ชื่อว่าความไม่รู้ เราก็มากำหนดรู้เสีย

    ที่เราไปหลงไปติดไปเพลินพอใจเพราะอะไร ดูซิว่ามันให้โทษให้คุณเพียงใด ก็หยิบยกมาพิจารณาเอาในสิ่งที่เรานั้นไปข้องแวะ นั่นแลเรียกว่ากับดักของมาร ที่เรานั้นถูกล่อลวงด้วยความเพลิดเพลินความพอใจ หรือเรานั้นไปติดไปพอใจเอง ให้เราพิจารณาดูในธรรมนี้

    ลองพิจารณาเพ่งโทษในกายดูที่เราไปเพลิดเพลินพอใจทั้งหลาย มันใช่สุขที่แท้จริงหรือไม่ แล้วมันให้สุขเป็นอย่างไรบ้าง สุขนั้นเป็นความเที่ยงหรือไม่ เป็นความจริงหรือไม่ ถ้าสุขที่แท้จริงแล้วเราจะไม่ต้องไปแสวงหาอยู่ตลอด ถ้าสุขมันจริงมันต้องให้ผลเป็นสุขอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าผลมันไม่จริงในความสุขนั้น มันก็มาเป็นบางครั้งบางคราว

    แล้วอันว่าความพอใจอะไรจึงเรียกว่าความสุข ขาดจากความพอใจเสียแล้วก็เรียกว่าเป็นความทุกข์ทันที นี้ความพอใจของเรานั้นมันมีเขตอำนาจของมันหรือไม่ หรือว่ามันหาไม่พอ ถ้าคำว่าไม่พอนี้แลเค้าเรียกว่าความอยาก ไอ้ความอยากนี้แลมันจึงทำให้เรานั้น..จิตของสัตว์มนุษย์ทั้งหลายไปแสวงหาที่เกิดภพน้อยใหญ่ทั้งหลายทั้งปวง เรียกว่าเป็น"วัฏฏะ"

    สิ่งเหล่านี้แลที่เราไม่สามารถจะหลบรอดหลุดพ้นจากบ่วงเวรวิถีแห่งกรรมได้ เพราะความอยากนี้แลที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนแสวงหาอยู่ร่ำไป ไม่จบสิ้น แล้วจะสิ้นภพสิ้นชาติกันได้อย่างไร เราลองมาดูตัดวงจรตรงนี้ที่ใจที่กาย คือละสักกายทิฏฐิคือความหลงในกายนี้

    กายนี้คือภพน้อยใหญ่แห่งจักรวาลพิภพ แห่งกิเลสตัณหาอุปาทานแห่งขันธ์ ที่ได้สร้างภพสร้างชาติออกมาเนิ่นนานเพียงใด ลองพิจารณาเพ่งโทษในกายดูซิว่า กายนี้มันให้สุขกับเราจริงมั้ย สิ่งที่เราเพลิดเพลินพอใจมานี้มาเนิ่นนานนี้ มันใช่สุขที่แท้จริงหรือไม่ ถ้าเป็นสุขที่แท้จริงลองหยิบยกมาซิว่ามันมีสุขอะไรบ้าง

    แล้วลองพิจารณาในความทุกข์ดูซิว่า สุขและทุกข์นี้มีอะไรมากกว่ากัน ตั้งแต่เราเกิดมาจนถึงบัดนี้แล้ว เราได้ความสุขอะไรจากกายนี้ กับการที่เราได้เกิดมานี้ กับความทุกข์ที่เราเสียไป เราได้เสียอะไรไปบ้างแล้ว แล้วลองพิจารณาดูซิว่าสุขและทุกข์นี้อะไรมันให้ผลมากกว่ากัน ให้ลองพิจารณาดู

    ถ้าโยมเห็นชัดอย่างที่ฉันกล่าวจิตโยมจะตื่นรู้ในขณะนั้น ก็เอาจิตที่ตื่นรู้นั่นแลลองพิจารณาหยั่งลงไปอีก ว่าถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว ถ้ามันทุกข์ถึงที่สุดอย่างที่ว่า มันหาสุขไม่ได้อย่างแท้จริง มีแต่ทุกข์ มันยังไม่เพียงพออีกหรือยังไงว่า เรานั้นจะละจากความเพลิดเพลินพอใจในความอยาก ที่จะหยุดหาหยุดแสวงหาอีก เพราะมันทำให้เราทุกข์ไม่จบสิ้น ไม่มีที่สิ้นสุดแห่งความพอใจ

    ลองพิจาณาหยั่งลึกลงไปดูซิว่า สิ่งที่ฉันกล่าวมานี้เราได้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ตัวปัญญาตัวสติมันตื่นรู้เพียงใด ลองพิจารณาดูเสีย เพ่งโทษในกายให้มาก ว่าถ้ามันสุขจริงสุขที่แท้จริงแล้วมันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ดูซิว่ากายมันให้ความสุขกับเราจริงมั้ย ในขณะนี้กายเป็นอย่างไร ยังน่าภิรมย์เหมือนที่เราพอใจอยู่หรือไม่ ความแข็งแรงของกายเป็นอย่างไร ยังแข็งแรงเหมือนเดิมอยู่หรือไม่

    พยายามเพียรประคองจิตกำหนดรู้ลมในกาย แล้วตั้งสติให้มั่น แล้วก็พิจารณาอย่างที่ฉันกล่าว ทบทวนไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาเบื้องล่างไปถึงเบื้องบน เบื้องบนลงไปสู่ปลาย พิจารณาในความไม่เที่ยงแห่งทุกข์เวทนา แห่งกรรมฐาน ๕ ก็ดี ในเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ พิจารณาถึงความไม่เที่ยงคือไม่คงที่ ดูซิว่าอะไรมันให้สุขให้โทษให้คุณมากกว่ากัน เราเคยป่วยมั้ย เราเคยเจ็บมั้ย ดูซิว่าตอนที่เราเจ็บเราป่วยเป็นอย่างไร ลองพิจาณาดู

    อารมณ์เหล่าใดก็ตามเมื่อเราพิจารณาแล้ว ทำให้เรานั้นรู้สึกเกิดธรรมสังเวช เกิดทำให้จิตตื่นรู้ เห็นโทษภัยในวัฏฏะแม้ชั่วขณะจิตหนึ่งนั่นแล เท่ากับว่าโยมได้เห็นทางนิพพานแล้ว ที่จะสละตัดออกจากวงจรเหล่านี้ วงจรเหล่านี้นี่เรียกว่าเราตกอยู่ใต้สมมุติบัญญัติของกรรม คนที่ยังตกอยู่ใต้สมมุติบัญญัติของกรรมแห่งวัฏฏสงสารนี้ย่อมไม่พ้นจากสายตาของพญามัจจุราชไปได้

    ดังนั้นอันว่าความตายที่เรายังมีความกลัวอยู่นี้แล เราจึงยังไม่สามารถรอดพ้นจากวิบากกรรมไปได้ นั้นถ้าเราต้องการจะรอดพ้นจากวิบากกรรม จากเงื้อมมือของพญามัจจุราช..ต้องทำอย่างไร เราต้องกำจัดความกลัวเสียก่อน ยอมรับความเป็นจริงของสภาพความกลัวคือ เรามีความตายอยู่เบื้องหน้า เรามีความตายเป็นธรรมดา เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เรามีความพลัดพรากเป็นธรรมดา ให้พิจารณาลงไปอย่างนี้ คือให้ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หรือกายสังขารก็ดีที่เราเสื่อมแล้ว

    ก็เอาความเสื่อมของกายสังขารนั้นแลมาพิจารณาเพ่งโทษมันลงไปอีก ว่าขณะนี้เวลานี้มันเสื่อมขณะนี้แล้ว อีก ๕ ปี ๑๐ ปี ๒๐ ปีจะเป็นอย่างไร สังขารจะเสื่อมลงเพียงใด ลองดูซิว่าสภาวะนี้ที่จะเกิดขึ้นนี้อีกภายภาคหน้านี้ นิมิตที่จะเกิดขึ้นนี้ มันจะเกิดธรรมสังเวชเพียงใด ความเบื่อหน่าย ความไม่มีสาระแก่นสารของสังขารนี้ที่ว่าสุขนั้น เรายังหลงเพลินหลงพอใจอยู่อีกหรือไม่ ให้ลองพิจารณาละมันลงไป เพ่งโทษมันลงไปในกายนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    7CE3C783-CA0A-418A-B018-2A28CC925737.jpeg

    ตัวรู้ทั้งหลาย วิชาทั้งหลาย..ถ้าเราไม่ได้ฝึกหัดอยู่บ่อยๆให้ชำนิชำนาญ ความรู้นั้นมันก็ลืมได้ แต่สิ่งไหนที่โยมฝึกหัดด้วยจิตแล้ว ด้วยการเข้าค้นหาด้วยการปฏิบัติให้รู้แจ้ง สิ้นสงสัยในภูมิรู้นั้น..ก็จะเปลี่ยนเป็นภูมิธรรม เค้าเรียกว่า"ภูมิปัญญา" ผู้ใดที่มีปัญญาก็เหมือนมีอาวุธอยู่ เราจะใช้ตอนไหนก็ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ความรู้เหมือนตำรา หากวันใดวันหนึ่งตำราถูกหนอนกินไปก็ดี ไม่รู้ที่วางที่เก็บของตำราก็ดี ตำรานั้นก็หามีประโยชน์อันใดเลย แต่ปัญญาเล่าเป็นอย่างไร ปัญญานั้นมันเหมือนอาวุธคุณวิเศษเมื่อโยมจะใช้ตอนไหนเมื่อใดก็ได้ นี่มันจึงต่างกัน
    ดังนั้นการที่เราจะได้กระแสพระโสดาบัน..เมื่อได้แล้วเราจะทำยังไงให้ทรงในกระแสโสดาบันนั้น ให้มันทรงตัว คำว่าทรงตัวเป็นอย่างไร ไม่ทรุดไม่ต่ำ ไม่เสื่อมไม่หาย นั่นก็หมายถึงการทรงสมาธิอยู่บ่อยๆ เจริญองค์ภาวนาอยู่บ่อยๆ มีความตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ศีลก็ดีทรงรักษาอยู่บ่อยๆ

    ศีลนี้แม้เรานั้นจะขาดไปบ้างก็ดี จะชำรุดไปบ้างก็ดี จะละเมิดไปบ้างก็ดี แต่เราก็ยังมีศีล เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนคนมีเสื้อผ้ากับคนไม่ได้ใส่..ต่างกันมั้ยจ๊ะ ศีลก็เช่นเดียวกัน ผู้มีศีลกับไม่มีศีล แต่ศีลที่บริสุทธิ์กับศีลสมบูรณ์กับศีลที่บกพร่องก็ต่างกัน อันว่าศีลบกพร่องเป็นอย่างไร ก็เหมือนบุคคลนั้นยังขาดแคลน เสื้อผ้าอาภรณ์นี้ต้องปะต้องชุนอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าเค้าขาดแคลน เค้าจึงไม่สมบูรณ์

    ถ้าคนที่สมบูรณ์แล้วเมื่อขาดแล้วเค้าก็สามารถเปลี่ยนได้ เปลี่ยนชุดใหม่ได้ นี่แลหมายถึงอะไรว่าเปลี่ยนชุดใหม่ได้ หมายถึงศีลนั้นให้เรารักษา ไม่ได้ให้เราไปยึดถือ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อยึดถือเสียแล้วมันก็เป็นโทษเป็นทุกข์นั่นเอง แต่ศีลอันใดที่เราล่วงไปแล้ว เราละเมิดไปแล้วก็ดี ให้เราน้อมจิตเข้ามาระลึกรักษาขึ้นมาใหม่ คือตั้งใจขึ้นมาใหม่

    อันใดๆก็ตามที่เรายังมีลมหายใจมีโอกาส เมื่อเราจะทำการสิ่งใดไปในทางที่ชอบประกอบด้วยธรรมที่สุจริตธรรม หรือการเจริญภาวนาจิตก็ต้องอาศัยองค์แห่งศีล คือความบริสุทธิ์ความเป็นปรกติของมนุษย์เป็นพื้นฐาน ถ้ามนุษย์ขาดจากศีลแล้วมนุษย์ผู้นั้นก็เรียกว่ามีอมนุษย์อยู่ในตัว

    เหมือนเราจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคคลนี้มีภูมิเทวดาอยู่ ก็บุคคลใดเล่าที่มีหิริมีโอตัปปะ มีความละอายมีความเกรงกลัวต่อบาปกรรมไม่ว่าจะเป็นที่ลับหรือที่แจ้งนี่แล หากผู้คนผู้นั้นสามารถกระทำอย่างนั้นได้อยู่เป็นประจำ ก็นั่นแลเค้าเรียกว่าเป็นภูมิเทวดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อผู้ใดมีจิตที่เจริญพรหมจรรย์หรือพรหมวิหาร ๔ จิตผู้นั้นก็เป็นพรหม เห็นมั้ยจ๊ะ แล้วจิตผู้ใดเล่าประพฤติปฏิบัติเจริญวิปัสสนาญาณ เห็นโทษภัยในวัฏฏะ ละกองอกุศลเสียได้อย่างนี้แล เค้าเรียกว่าเป็นภูมิของพระอรหันต์อย่างนี้

    นั้นขณะใดที่เราประพฤติอยู่ในการฟังธรรมก็ดี ในการให้ธรรมอยู่ก็ดี ในการตรึกตรองอยู่ในธรรมก็ดี ในการเจริญมนต์อยู่ก็ดี หรือการเจริญวิปัสสนาญาณอยู่ก็ดีเหล่านี้ ภาวะใดของจิตหนึ่งที่เรากระทำแล้ว เราจะเจอสภาวะของภูมิธรรมของจิตของเรา เพราะบางครั้งจิตเราก็มีโทสะจริต มีโมหะจริต มีราคะจริต นี่เหล่านี้แลจึงเรียกว่ามันวนเวียนอยู่อย่างนี้

    นั้นเมื่อเรารู้ว่าอารมณ์เหล่าใดที่มันเข้ามาผัสสะมากระทบ เค้าไม่ได้ให้เราหนีไปไหน เค้าให้เราเรียนรู้ ให้มีสติกับอารมณ์ที่มากระทบมาผัสสะ ดังนั้นให้ฝึกรู้ ให้ฝึกละ เมื่อละได้แล้วการที่เราจะรักษาทำให้มันได้อยู่ตลอดเวลาเนี่ยะมันยาก นั้นการละได้แล้วนี้มันจะกลับมาอีกได้มั้ยจ๊ะ ถ้ามันละมันยังไม่ได้หมดเชื้อของมัน แต่ถ้าเรารู้โทษรู้คุณมัน เราก็จะวางเฉยกับอารมณ์นั้นได้ คือวางอุเบกขาฌาน

    ดังนั้นผู้ที่จะมีจิตเป็นกระแสพระโสดาบันทรงได้อยู่ตลอดเวลา คือบุคคลนั้นต้องทรงฌาน อย่างน้อยปฐมฌาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะปฐมฌานนี้จะมีวิตกวิจาร มีปิติสุขเป็นที่ตั้งที่ฐานของอารมณ์ เรียกวิตกวิจารนี้แลเค้าเรียกว่ายังมีสติอยู่ ยังระลึกได้อยู่ ยังมีหิริโอตัปปะ ยังมีความเกรงกลัวต่อบาป ยังมีจิตที่ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย

    แต่ศีลเล่าที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้มันตั้งมั่น ก็ต้องได้บอกว่าให้เรานั้นหมั่นเพียรรักษาศีลอยู่บ่อยๆ ในตอนไหนได้บ้างที่เราจะทำ ก็ตอนที่เราจะเจริญมนต์ก็ดี เมื่อเราอาราธนาศีลแล้วในขณะที่เราเจริญมนต์อยู่ ในขณะนั้นจิตเราจะไม่มีเวรภัยกับใคร กายเราไม่ไปทำทุจริต วาจาเราก็ไม่ไปทำวาจาที่ทุจริต ใจเราก็จะไม่ทุจริต เพราะขณะนั้นวาจาเรานั้นสุจริต เพราะเรากล่าวแต่คำมงคล กายมันก็เป็นมงคล ใจเราก็เป็นมงคล ก็เรียกว่ากาย วาจา ใจนั้นตั้งมั่นเข้าอยู่ในศีล

    เมื่อเราทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ แล้วจะเป็นอย่างไร อ้าว..แล้วเมื่อเราออกจากการประพฤติปฏิบัติในการทำความเพียรเล่า ทำไมเล่าอกุศลมูลมันจึงเข้ามาครอบงำอีก ก็สิ่งเหล่านี้แลมันมีเชื้อของมันอยู่ แต่ถ้าเราไม่ฝึกเจริญทำความดีเลย โยมว่าเชื้อที่เป็นอกุศลนี้มันจะมีอำนาจมากมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มากค่ะ) เมื่อมันมีอำนาจมากแล้ว การที่โยมจะออกจากการเป็นทาสของมันนี้ทำได้ยากหรือไม่ (ลูกศิษย์ : ยากค่ะ)

    นั่นเค้าถึงบอกว่าให้เราแบ่งเวลาให้เทพพรหมและกับตัวเราเอง และก็ครูบาอาจารย์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมเอาแต่เพลินเอาแต่สนุก โยมก็ต้องไปในสิ่งที่ชอบของโยม สุดท้ายมันก็คือทุกข์มหันต์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะสุขที่แท้จริงในโลกนี้ไม่มีเลย มันเป็นเพียงสุขชั่วคราวสุขจอมปลอม เพราะมันฉาบโรยปิดบังด้วยมายาให้โยมนั้นหลงว่านั่นคือสุข

    ถ้าสุขที่แท้จริงโยมตามหาแล้วเมื่อเจอแล้ว..โยมจะต้องพอได้หยุดได้ถ้ามันสุขจริง แต่ถ้าโยมยังดิ้นรนหามันอยู่ แสดงว่ามันยังไม่ใช่ของจริง อะไรที่เป็นของจริงมันต้องหยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้ามันยังหวั่นไหวอยู่แสดงว่ามันไม่จริง มันยังเป็นเท็จอยู่ ดังนั้นขอให้โยมจงพิจารณาไตร่ตรอง...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    5430CC61-FDDE-45B3-8A50-0455A0F21528.jpeg

    ลูกศิษย์ : ผมอยากถามว่า อย่างเช่นธาตุกายสิทธิ์อย่างเช่นหยก หรือว่าเหล็กน้ำพี้ หรือว่าเป็นไผ่ตันอะไรอย่างนี้ครับ ธาตุเหล่านี้มีคุณวิเศษในตัวจริงๆหรือเปล่าครับ ตามที่คนเค้าเชื่อน่ะครับ

    หลวงปู่ : อะไรที่คนเค้าเชื่อ..นั่นแหล่ะจ้ะมันจะมีคุณวิเศษ อะไรที่คนเค้าไม่เชื่อสิ่งนั้นก็ไม่วิเศษ เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือถ้าคนเค้าเชื่อสิ่งใดศรัทธาสิ่งใด..สิ่งนั้นก็มีค่า ผ่านไป ๑,๐๐๐ ปีเปลี่ยนยุคแห่งความเชื่อ ไผ่ตันก็ดี หยกก็ดี เหล็กไหลก็ดี คนเค้าไม่ศรัทธาไม่เชื่อ สิ่งนั้นจะมีค่ามั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่มีครับ) แต่พระรัตนตรัย..ถ้าใครเชื่อและศรัทธาแล้ว ไม่ว่าอีกกี่หมื่นปีกี่แสนกัปป์ก็ดี ถ้าใครเชื่อแล้วหรือไม่เชื่อ..เค้าก็มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมเข้าใจอย่างที่ฉันกล่าวมั้ยจ๊ะ ของทุกอย่างที่โยมถามสงสัยมีพุทธคุณมีความศักดิ์สิทธิ์จริงหรือไม่..มี ถ้ามีคนเชื่อมีความศรัทธา เมื่อใดคนเค้าไม่เชื่อหมดความศรัทธาแล้ว..มันก็เป็นแค่เศษหินปูนทรายเท่านั้นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่พระรัตนตรัยนี้ถ้าใครน้อมจิตน้อมกาย วาจา ใจเข้าไปถึง ก็จะได้รับประโยชน์มหาศาล แต่แม้ใครไม่น้อมจิต กาย วาจาเข้าไป ความศักดิ์สิทธิ์ความวิเศษของพระรัตนตรัยก็ไม่ได้ลดลงหรือเสื่อมลงเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นก็เหมือนกันวัตถุมงคล..ที่พระอาจารย์นั้นที่เค้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วได้อธิษฐานจิตลงไปแล้ว แม้จะตกอยู่ที่ต่ำก็ดี ยัดอยู่ในของต่ำก็ดี ลอดราวผ้าถุงก็ดี ก็หาได้มีความเสื่อมไม่เลย ที่เสื่อมก็เพราะจิตใจมนุษย์ต่างหากที่มันเสื่อม มันจึงถืออะไรนั้นขลังไม่ได้ ทำให้เกิดคุณวิเศษไม่ได้ เข้าใจอย่างนั้นมั้ยจ๊ะ

    โยมเข้าใจหรือเปล่าจ๊ะ นั้นถ้าของวิเศษไม่มีวันเสื่อมเลยจ้ะ โอ้ย..มันผ่านมานานแล้วต้องเอาไปเสกเพิ่มขึ้นอีกหน่อย ต้องเอาไปให้หลวงพ่อเสกเพิ่มอีกหน่อยมันจะเสื่อมแล้ว อ้าว..โยมรู้ได้อย่างไรว่าเค้าเสื่อม ไม่มีเสื่อมหรอกจ้ะ ที่มันเสื่อมเพราะศรัทธาโยมมันเสื่อม เพราะศีลโยมมันเสื่อม เพราะปัญญาโยมมันเสื่อม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ของที่เป็นพุทธคุณแล้ว ธรรมคุณ สังฆคุณแล้ว มันครบพระรัตนตรัยแล้ว นั่นหมายถึงว่าผู้ประพฤติปฏิบัติปฏิปทาแล้ว เค้าได้วิชาสำเร็จแล้ว เมื่อคำว่าสำเร็จมันเกิดขึ้น..จะไม่มีวันเสื่อมเลย ตราบเท่าว่าคนนั้นหมดศรัทธาเสียเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่คือสิ่งที่ฉันจะบอกโยม ขอให้โยมไปพิจารณาเอา ว่าสิ่งที่โยมถามมาความสงสัยมันเป็นอย่างไร เราต้องพิจารณาด้วยปัญญา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ทุกสิ่งทุกอย่างแม้ขี้หมา ถ้าโยมบูชาเสกมันทุกวันมันก็ศักดิ์สิทธิ์ขลังได้ เพราะมันเกิดจากปฐวีธาตุ เกิดจากดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุทั้ง ๔ เช่นเดียวกัน โยมมาบูชาต่อไปมันก็กลายเป็นหินเป็นไม้ ใช่มั้ยจ๊ะ ก็ขลังได้เหมือนกัน เกิดลัทธิบูชาขี้หมาขึ้นมา ศักดิ์สิทธิ์มั้ยจ๊ะ แต่ถ้าคนมีปัญญาเค้าจะมอง โอ๊ย..ไอ้นี่ นี่มันของเหม็นเอามาบูชาได้ยังไง..

    ก็เหมือนตัวของเรามีแต่อุจจาระมีแต่ขี้มีแต่ของสกปรกทั้งนั้น ที่เราไปหลงไปเพลินไปพอใจ เราก็บูชามันอยู่อย่างนั้น บูชาความรักอยู่อย่างนั้น นั่นก็เช่นเดียวกัน ขอให้โยมไปพิจารณา แต่พระรัตนตรัยแม้โยมจะไม่นำจิต กาย วาจาโยมไปเกี่ยวข้อง แต่อำนาจแห่งพระรัตนตรัยก็หาได้มีความเสื่อมเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    CAE33EFE-D43E-46E7-8B00-B8DE532F01B1.jpeg

    ใครละอารมณ์ถึงที่สุดแห่งกรรมฐานได้ ผู้นั้นจักไม่อยู่ครองเรือนอีก นี่แหล่ะจ้ะ แล้วไม่ต้องถามว่ากิเลสจะหมดไปตอนไหน กิเลสไม่มีวันหมด แต่มีทางเดียวที่เราจะรู้เท่าทันกิเลส เราต้องมีการตื่นรู้อยู่บ่อยๆ กิเลสมันมีวันหลับตอนไหน..ก็ตอนที่โยมนั้นมีความพอใจในสุข..กิเลสมันก็เกิดขึ้นตอนนั้นดับตอนนั้น ถ้าโยมจะอยากจะออกฝึกหาทางมาขุด หาทางว่าทางนี้มันจะออกได้หรือไม่ ให้ระลึกถึงพุทโธ แล้วพุทโธจะมาช่วยโยม พาโยมไปดูทางลับทางออก

    เมื่อโยมพุทโธเข้าถึง จิตตื่นรู้เป็นอย่างไร จิตมันจะสว่าง คำว่า"พุทโธ"นั้นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตโยมไม่เศร้าหมอง มีความปิติพอใจยินดี อยากจะเดินทางแห่งมรรค แล้วท่านจะพาโยมมาดูทางออก และเมื่อมาเดินพามาดูทางออกแล้ว โยมก็ต้องเดินอยู่บ่อยๆ ไม่อย่างนั้นทางนั้นจะถูกปิดอีก เพราะมารมันล่วงรู้ มันก็จะคอยปิดอีก พอโยมจะนั่ง เฮ้ย..ไม่ต้องนั่งหรอก มานอนด้วยกันน่ะดีแล้ว นอนภาวนาก็พอแล้ว ไม่ต้องอะไรมาก นี่เค้าเรียกว่านักปฏิบัติแบบขี้เกียจ ไปเชื่อมาร

    นั้นทางเดินแห่งมรรคเมื่อมีแล้ว พุทโธอย่างเดียว พุทโธอย่างเดียวไม่มีใครสามารถเอาโยมไปลงนรกได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าบอกพุทโธอย่างเดียว ตอนจะตายพุทโธไม่ทัน..ทำยังไงหลวงปู่ เออ..ไม่ต้องไปภาวนาตอนตาย แต่กุศลที่โยมทำมาแล้วมันจะมาหล่อหลอมในขณะจิตสุดท้ายที่จิตโยมเคยทำ คือความคุ้นเคย เหมือนโยมฆ่าไก่อยู่ทุกวัน จิตสุดท้ายโยมก็เป็นไก่ให้เค้าฆ่า ผลัดกันฆ่าอยู่อย่างนี้

    ดังนั้นเมื่อเราหลีกเลี่ยงการทำบาปไม่ได้ก็จริง แต่เมื่อถึงเวลาเราหยุดทำบาปในขณะนั้น จะนอนแล้วควรเจริญบูชาพระรัตนตรัย อิมินา สักกาเรนะก็ดีแล้ว เข้าถึงนมัสการพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ควรเจริญทาน ศีล ภาวนาให้เกิดขึ้น รู้จักแผ่เมตตาจิต ขอขมากรรมในการกระทำ เมื่ออาชีพเรานั้นทำเพื่อไปเลี้ยงชีพก็ตาม แม้จะเป็นอาชีพที่ไม่ชอบก็ตาม ควรให้ละอารมณ์นั้นออกไป ควรสร้างกุศลในกรรมใหม่ขึ้นมา..เพื่ออะไร เพื่อจะผดุงกรรมนั้นที่เราทำไปแล้วเมื่อมันจะให้ผลเรา

    ถ้ากรรมที่เราทำขึ้นมาใหม่มันไปผดุงในกรรมที่เราทำอยู่ในอดีต แม้มันจะมาให้ผลเรามันก็จะให้ผลไม่มาก แล้วต่อเมื่อเรานั้นได้ความพอใจแล้วที่เรากระทำ..เราควรหยุด เพราะการจะตัดกรรมต้องตัดที่ใจ ต้องรู้จักคำว่าพอ บางคนบอกว่าต้องมีอาชีพค้าขายค้าสัตว์..เพื่อลูกต้องเรียนอะไรทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าสิ่งที่โยมทำอยู่เป็นหมูก็ดี เค้าอาจจะเป็นบิดาตาทวดโยมให้โยมฆ่าโยมแกง จนให้ชีวิตโยมมีดีมีสุขแล้ว โยมต้องรู้จักอุทิศบุญกุศลให้เค้าบ้าง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่งั้นชีวิตมันจะต้องแลกด้วยชีวิต

    ดังนั้นไม่ว่าโยมจะเลี้ยงชีพอะไรก็ตาม ในขณะโยมนั้นจะพักผ่อนกายา ขอให้โยมนั้นล้างชำระจิตเสีย สร้างกรรมดีขึ้นมาใหม่ กรรมในอดีตที่ผ่านมาแม้ผ่านไปแล้ว ๑ วัน โยมก็ไปแก้ไขไม่ได้ สิ่งที่โยมซื้อไม่ได้แก้ไขไม่ได้..คือเวลา..ซื้อไม่ได้ ความจริงใจโยมก็ซื้อไม่ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ นี่คือสิ่งที่โยมซื้อมาไม่ได้ นั้นสร้างกรรมใหม่เสีย

    อะไรที่ผิดพลาดไปแล้วในกรรมชั่วในอกุศลกรรมก็ดี..อย่าไปคิดให้จิตมันเศร้าหมอง หากคิดแล้วให้ปลง ให้สละ ให้ละอารมณ์นั้นลงไป เรียกการเพ่งโทษ ถ้าเราสำนึกก็ให้เราแผ่เมตตาจิต ขอขมากรรมขออโหสิกรรมไป ด้วยกายวาจา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เราล่วงเกินในกาย วาจา ใจในพระรัตนตรัย ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยอดโทษอาฆาตพยาบาทมาดร้ายทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้ทำกายทุจริต วาจาทุจริต มโนทุจริตเหล่านี้ จงอดอาฆาตพยาบาทแก่ข้าพเจ้า ณ กาลต่อไปนี้เทอญ ข้าพเจ้าขออธิษฐานบุญกุศลเหล่านี้ให้เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงคุณงามความดี เข้าถึงในทาน ศีล ภาวนาจิตนี้ แล้วก็สำรวมจิตกาย วาจา ใจตั้งมั่นให้เข้าถึงพระรัตนตรัยด้วยการระลึกถึงองค์ภาวนาพุทโธ

    บางคนจะเข้าสมาธิยังไม่รู้จะตั้งสมาธิยังไง ก็แค่กำหนดลมหายใจเป็นอานาปานสติ เรียกว่ากำหนดรู้ลมตายลมเกิด เรียกว่าเข้าไปถึง เข้ามา..รู้ ออก..รู้ แล้วกำหนดว่าพุทโธ อยู่อย่างนี้ ให้พุทโธมันแนบสนิทกับลมหายใจให้เป็นอารมณ์เดียวกัน ไม่ว่าโยมจะเข้าออกจนชินแล้ว แต่เมื่อนานๆโยมไม่ได้ทำบ่อยๆ มันเริ่มจะไม่ชิน

    เมื่อโยมทำได้บ่อยๆ แม้โยมไม่เข้าสมาธิ ในขณะนี้อยู่ในการงานอยู่ก็ดี ให้ภาวนาจิต แม้ในขณะที่โยมภาวนาจิตแม้โยมไม่หลับตา..ฌานมันก็บังเกิด เมื่อฌานบังเกิดมันเป็นเบื้องบาทแห่งการพิจารณาธรรม มันจะมีการเข้ากรรมฐานในขณะนั้น จิตมันจะสอนจิตในขณะนั้น มันจะละอารมณ์ลงไปเอง เห็นอะไรแล้วมันจะเป็นปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรมบ่มจิตนั่นแล..เรียกปัญญาอันชอบธรรม

    อันปัญญาอันชอบธรรมต้องเกิดจากจิตภายใน ถ้าปัญญาทางโลกมันเกิดจากความจำ เกิดจากสัญญา ดังนั้นเวลาการปฏิบัติธรรมโยมมี ๒๔ ชั่วโมง หาได้ว่าไม่มีเวลา..มีทุกเวลา เพราะเวลาตายโยมก็มีทุกขณะจิตเช่นเดียวกัน

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    56EB35F9-E347-40FB-976E-5E5AA61048F4.jpeg

    วันนี้มาถูกวันแล้ว เพราะเรียกวันนี้วันประสูติ วันที่ตรัสรู้ แล้วก็เข้าสภาวะนิพพาน นั้นการประสูติคือการเกิด เราเท่านั้นต้องเลือกทางเดินคือเกิดปัญญา คือเกิดมีสติ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องตายอยู่แล้ว นั้นเมื่อเรายังเป็นใจที่อ่อนแออยู่อย่างนี้ ต่อกิเลสขันธมารของกายสังขาร

    สังขารนี้เค้าไว้ให้อาศัย ทุกข์เวทนานี้แลเป็นครูบาอาจารย์ของเรา กายสังขารนี้เมื่อเราไปยึดถือมันมากจนเกินไป ยิ่งยึดมากเท่าไหร่ ทุกข์เวทนามันก็มีมากเท่านั้น ทำไมไม่เอาทุกข์นั้นมากำหนดรู้ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ นั่นก็เรียกว่าถึงที่สุดแห่งความเพียร เมื่อเราถึงที่สุดแห่งความเพียรได้อยู่บ่อยๆแล้ว จิตใจเราตั้งมั่นในพระรัตนตรัย นี้เรานั้นศีลเราก็ยังไม่มั่น แล้วจะเอาอะไรเป็นที่พึ่งพา ที่จะติดตามไปในภพชาติหน้าต่อไปเล่าจ๊ะ..

    การที่ว่าได้มาในวันนี้ การประสูติคือการเกิด ไม่ว่าจะอายุ ๘๐..๑๐๐ กว่าปี หรือใกล้จะเข้าโลงแค่ไหน อาการล่อแล่แค่ไหน เพียงดวงจิตนั้นมีสติฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า..ได้เห็นภัยเห็นโทษในโลกใบนี้ ในภัยในวัฏฏะแห่งกายสังขารมันมีแต่โทษรุมเร้าอยู่อย่างนี้ แล้วจะทำอย่างไร ก็ไม่ได้ให้โยมนั้นหนี เพราะเราถ้าไม่มีกายสังขาร เรานั้นก็ไม่มีอะไรรองรับผลบุญที่จะกระทำ แต่สังขารนี้มันมีวันเสื่อมสลาย รอวันที่จะแตกดับของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม แล้วทำไมไม่เอาทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นมาเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐานเล่าจ๊ะ

    ยิ่งเรายิ่งหนีมัน มันก็ยิ่งคืบคลานเข้ามา ถ้ามันคุมใจเราได้เมื่อไหร่ เราก็ต้องยอมมัน เรียกว่าตายทั้งเป็น แล้วจะต้องตายเกิดตายอีกกี่ชาติกี่หนอยู่อย่างนี้ ทำไมไม่เอาเวทนาตั้งมั่นให้เป็นอารมณ์กรรมฐานเล่าจ๊ะ ยิ่งเรากลัวตายเท่าไหร่ มันก็จะบีบคอหอยเรามากเท่านั้น ดังนั้นยิ่งเรายิ่งใกล้จะถึงฝั่งคือความตายนี้ จะชกยกสุดท้ายแล้ว ต้องทำคะแนนให้มาก ยิ่งบั้นปลายแล้ว เรายิ่งต้องมีความเพียรให้มาก..

    ความเพียรก็ไม่ได้บอกให้ไปเดิน ไปนั่งให้ทรมานกายสังขาร ให้มีสติอยู่กับในกาย อยู่กับลมหายใจทุกขณะจิตที่เรารู้อยู่ในอารมณ์ที่เราเข้ามากระทบ ที่มาสัมผัส ว่าอารมณ์นั้นมันเป็นเช่นใด ดีหรือไม่ดี ถ้ามันเกิดทางกายก็ให้รู้ ถ้ากำหนดรู้แล้วว่ากายสังขารนี้มันมีแต่โทษภัย ยิ่งทำให้เรานั้นยิ่งเบื่อหน่าย เมื่อเรายิ่งเบื่อหน่ายมันมากเท่าไหร่ ความวางเฉยก็มีมากเท่านั้น เหมือนเราเบื่อใครซักคนหนึ่ง เหม็นขี้หน้ามันแล้ว นั่นแหล่ะจ้ะ มันจะด่าว่ายังไงเราก็ไม่สนใจมัน คือเราไม่อยากอยู่ใกล้มัน

    การวางเฉยในทุกข์ก็ดีก็ขอให้เป็นเช่นนั้น ไม่ใช่มันทนทุกข์มันเกิดเวทนามากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ไปอุปาทานมากเท่านั้น ทีนี้โรคทั้งหลายก็มารุมเร้าเราอยู่อย่างนั้น แต่เมื่อเวทนามันเกิดขึ้นแล้วขอให้กำหนดรู้ เมื่อกำหนดรู้ให้เห็นทุกสิ่งนั้นเป็นธรรมดาของกายสังขาร ว่ามันมีทุกข์มาก มีสุขน้อย อัตภาพนี้มันไม่เที่ยง เมื่อเราพิจารณาได้อย่างนี้แล้ว นิโรธก็บังเกิด ไอ้ตัวนิโรธนี่ก็จะไปดับอารมณ์นั้น เมื่อมันดับอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นไม่เกิดปฏิสนธิในอารมณ์ในจิตที่ไปอุปาทานแล้ว เวทนานั้นมันก็ไม่ลุกลามบานปลาย ไม่นานนักมันก็ดับหายไป นี้เค้าเรียกว่ากำลังจิตมีมาก เมื่อกำลังจิตมีมากย่อมไปข่มเวทนาในอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เราชอบใจไม่ชอบใจนั้นได้ แต่ถ้าเราไปอุปาทานคล้อยตามมันอยู่อย่างนี้ ก็ยิ่งยากยิ่งนักที่จะหนีมันได้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B1516771-5149-4119-9A7E-CEB9F117ED2C.jpeg

    การที่เรารักษาศีลมันก็จะป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง เรารักษาอะไรไว้สิ่งนั้นมันก็จะให้ผลตอบแทนดูแลรักษาเรา นั้นทุกครั้งที่โยมจะเจริญบุญเจริญพระกรรมฐานก็ดี เราต้องเจริญเมตตาจิตแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ให้ทั่วจักรวาลพิภพ ทุกดวงจิตดวงวิญญาณที่เราได้เคยทำกรรมทางใดทางหนึ่งไว้ก็ตาม ขอบุญกุศลที่เราจะทำนี้จงเป็นประโยชน์หนุนนำให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายได้มาโมทนา ได้มาอโหสิกรรม อย่าได้มีเวรมีพยาบาทซึ่งกันและกัน..

    ขออำนาจบุญกุศลแห่งพระรัตนตรัยจงนำแสงสว่าง ส่องแสงสว่างให้กับดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่ยังมีเวรภัย มีความอาฆาตพยาบาททั้งหลายนั้น ที่ยังตกทุกข์ได้ยากท่องอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ให้พ้นจากภัยพาล พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ก็ด้วยอำนาจบุญกุศลที่เราเจริญทาน ศีล ภาวนา

    ข้าพเจ้าขอนำจิตที่ตั้งมั่นนี้ให้กับดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลาย จงมาได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าจะได้กระทำในขณะต่อไปนี้ การอธิษฐานเมตตาจิตส่งให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายนั้นที่ได้มาเกี่ยวข้อง ก็เนื่องด้วยว่าเรานั้นเกิดตายมามากมายนัก การทำกรรมอะไรก็ตาม ในเมื่อได้ทำลงไปแล้ว..จึงต้องมีความพยาบาท จึงต้องมีเจ้ากรรมนายเวร หรือโยมมีหนี้สินทางกฎแห่งโลกวิญญาณ

    ดังนั้นทุกครั้งที่เรานั้นได้เจริญบุญเจริญความดี เอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว เรา..ก็เมื่อเห็นว่าอำนาจของพระรัตนตรัยนี้ ที่เราเป็นที่พึ่งเป็นสรณะนี้ เป็นที่สูงสุดแล้วของหลักชัย เป็นธงชัยแล้ว ก็กล่าวอ้างอำนาจแห่งพระรัตนตรัยที่เรานั้นมีความเชื่อมีความศรัทธาน้อมจิตเข้าหาให้จิตเราตั้งมั่นสงบ..

    เมื่อจิตเราตั้งมั่นสงบแล้ว ภัยก็ดี ความสะดุ้งผวาก็ดีมันจะอันตรธานหายไป เมื่อนั้นเรียกว่าเราอยู่ในห้อมล้อมแห่งพระรัตนตรัย เป็นที่อยู่ที่ปลอดภัย เมื่อเราเห็นว่าเป็นที่อยู่ที่ปลอดภัย เราจะมีจิตเมตตาให้กับสรรพสัตว์ดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย ที่เราได้เคยเกี่ยวข้องเคยล่วงเกินด้วยทางใดทางหนึ่งก็ตาม

    ก็ตั้งจิตอธิษฐานในบุญกุศลนี้ไป ขออำนาจบุญกุศลนี้จงหนุนนำให้ข้าพเจ้านั้นได้เข้าถึงในพระรัตนตรัยนี้ จงเหนี่ยวนำให้ทุกดวงจิตดวงวิญญาณ ที่ยังตกทุกข์ได้ยากอยู่ ยังเสวยวิบากกรรมใดก็ตาม..จงได้มีส่วนในผลบุญกุศล ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงนำทางเปิดแสงสว่างให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายให้พ้นทุกข์พ้นภัยในวัฏฏะ ตามอำนาจแห่งแรงบุญวาสนาแรงกรรมบารมี

    ให้เราอธิษฐานเป็นสะพานเชื่อมต่อ เอากระแสแห่งจิตเรานี้แล กระแสแห่งบุญเรานี้แล..เป็นสะพานบุญ เชื่อมไปถึงดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย ให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทุกดวงจิตไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ที่ยังอยู่ก็ดี ดับขันธ์ไปแล้วก็ดีที่มีบุพกรรมเกี่ยวข้อง

    จิตที่เราระลึกได้นั่นแล เมื่อจิตที่ระลึกได้ จิตต่อจิตมันก็ถึงกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด มันก็จะมารวมตัวในห้วงของจิตของเรา นั่นก็เรียกว่าโลกวิญญาณ อันว่าบุพกรรมคือมีความเกี่ยวข้องผูกพันธ์ทางใดทางหนึ่งก็ตาม หากเรามีใจที่ระลึกถึง บุญกุศลในจิตเรานั้นมันก็ถึง..

    ด้วยอำนาจแห่งจิตของเรานี้มีความปรารถนาตั้งมั่นแผ่เมตตาจิตออกไป เมื่อละความอาฆาตพยาบาท ด้วยความปรารถนาดีกับทุกดวงจิตให้เค้ามีส่วนได้รับในผลบุญ ได้รับในกระแสของพระรัตนตรัยที่จะเอาเป็นที่พึ่งเป็นสรณะ ไม่ว่าจะอยู่ในวิบากกรรมใดก็ตาม

    ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงนำทางเป็นแสงสว่างให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏฏะทั้งหลายทั้งสิ้นไป อย่างนี้เมื่อเราทำแผ่เมตตาจิตออกไปอย่างนี้ การอธิษฐานบุญกุศล..เอาจิตเรานี้เชื่อมกับกระแสพระรัตนตรัย เมื่อจิตเราสงบตั้งมั่นนั้นแล จิตดวงนั้นจะมีกำลังมหาศาล จิตที่มีปิติสุขมีอารมณ์แจ่มใสเบิกบานนั่นแล สรรพสัตว์น้อยใหญ่เมื่อเราระลึกถึงเค้าก็จะได้อานิสงส์ผลของบุญกุศลนั้น ของจิตที่เรามีความบริสุทธิ์ใจ ที่มีความปรารถนาดีที่เราให้ไป..

    นั้นจิตเมื่อเรายังมีความเร่าร้อนอยู่ มีความฟุ้งซ่านอยู่ อย่างนี้แม้เราจะแผ่เมตตาจิตออกไปนั้น..กำลังมันก็น้อย แม้ขนาดตัวเรายังทำให้จิตเราสงบยังไม่ได้ การจะไปช่วยเหลือใครก็ดี การจะตั้งจิตอธิษฐานในบุญก็ดี มันก็มีกำลังน้อย ดังนั้นก็ต้องอาศัยตั้งจิตอธิษฐานของบุญ ระลึกถึงคุณงามความดีที่เราได้กระทำมาในทาน ศีล ภาวนา เอ่ยอ้างอำนาจแห่งพระรัตนตรัยที่เรานั้นมีความเชื่อความศรัทธา ให้มันเกิดประโยชน์กับสรรพวิญญาณทั้งหลาย อย่างนี้จะทำให้จิตเรานั้นคลายจากความหดหู่ใจ ความเศร้าหมองใจ ความเคลิบเคลิ้มใจ

    เมื่อจิตเรานั้นเบิกบานแจ่มใสนั้นแลก็เรียกว่าจิตเราย่อมมีกำลัง ก็เรียกว่ากำลังแห่งบุญ เมื่อจิตเรานั้นจะแผ่ไป ณ ที่ใดมันก็ไปไกล จิตนี้จึงว่าไม่มีอะไรที่จะมาปิดกั้นขวางกั้นได้ ดังนั้นเมื่อจิตเรานั้นเหนืออำนาจสมมุติบัญญัติของโลกแล้ว คือจิตเรานั้นไม่มีความหดหู่เศร้าหมองแล้ว จิตเราตั้งมั่นเป็นหนึ่งแล้ว..

    คำว่า"จิตตั้งมั่น"คือจิตที่สงบอยู่ภายในกาย มีความเชื่อมั่นในกระแสพระรัตนตรัยนั้นแล ความกลัว ความหดหู่ ความเศร้าหมองมลายหายไปแล้วนั้น จึงไม่มีอะไรปกปิดได้ในสามแดนโลกธาตุ เมื่อนั้นก็ขอให้โยมทั้งหลายตั้งจิตแผ่เมตตาออกไป อย่างนี้หากโยมทำได้อยู่บ่อยๆ จะห่างไกลจากคนพาล จะห่างไกลจากเวร โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายก็ดีที่มันจะพึงมีจะเกิดขึ้นมันก็จะรักษาของมันในตัว หากไม่เกินวิสัยของกรรมที่ทำมา มันก็จะบำรุงรักษาธาตุขันธ์ของเรานั้นให้ได้ใช้ประโยชน์ ให้มันมีกำลังต่อสู้เจริญความเพียร ให้เข้าถึงที่สุดแห่งมรรคผล...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    6790154E-3693-4C64-B076-26956364B4CB.jpeg

    ขณะใดที่เราไม่รู้นั่นแล แสดงว่าสติเรานั้นเราได้ลืมสติแล้ว ดังนั้นแม้ว่าเราจะมีความหดหู่เศร้าหมอง จิตเราเสวยอารมณ์ใดก็ตาม..ต้องรู้ รู้แล้วเราไม่สามารถจะไปต่อต้านในสิ่งที่รู้ได้ ก็เพราะว่าไอ้สิ่งที่รู้นี้ที่ต่อต้านไม่ได้มันเป็นอำนาจแห่งแรงกรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ต่อเมื่อเรานั้นเกิดปัญญาในตัวรู้มาพิจารณาได้เมื่อไหร่ เราเห็นโทษเห็นภัยมัน เห็นโทษเห็นคุณมันเมื่อไหร่ นั่นแลเราสามารถจะถอดถอนออกจากอุปาทานแห่งอำนาจอวิชชาตัวนั้น เมื่อเรารู้มากๆเข้าแล้ว มันก็จะเป็นปัญญาขึ้นมา เมื่อมันมีปัญญาขึ้นมาแล้วนั่นแล เราจะเอาไปพิจารณาให้เป็นธรรม คือละอกุศลมูล คือไปกำหนดรู้ที่เหตุ ว่าผลที่เกิดขึ้นที่มันตามติดมาภพชาตินี้ ในขณะนี้ตอนนี้มันเป็นเพราะอะไร...

    นั้นการที่เรากำหนดรู้ฝึกสติไว้มากๆแล้ว มันจะเป็นกำลังให้จิตเรานั้นเกิดปัญญาในกาลต่อไป ไม่คราใดก็คราหนึ่ง ดังนั้นที่โยมสะสมไม่ว่าเจริญสมาธิเกิดความสงบ เจริญภาวนา เจริญมนต์ก็ดีเหล่านี้ เจริญวิปัสสนาญาณก็ดี เพื่อสะสมกำลังจิต เมื่อกำลังจิตเรามีมากเหมือนเรามีทรัพย์มาก เราปรารถนาสิ่งใด..กำลังเราพอ ได้ทรัพย์นั้นมั้ยจ๊ะอย่างนี้

    ก็เหมือนกำลังจิต ถ้ากำลังจิตเรายังไม่ดีพอ การจะไปพิจารณาธรรมอะไรแล้วมันจะทำให้ละเอียดรอบคอบมันเป็นไปได้ยาก เมื่อจิตเรายังไม่มีกำลังพอมันก็เรียกว่าจิตยังหยาบๆอยู่ โยมจะไปพิจาณาอะไรให้มันละเอียด ให้มันรู้ซึ้งให้มันแจ้งแทงตลอดนั้นมันก็เป็นไปได้ยาก

    นั้นการที่จิตยังหยาบๆอยู่ เมื่อจิตยังหยาบอยู่เราจะไปพิจารณาธรรมก็ยาก เราก็พิจารณากาย เพราะกายเค้าเรียกว่ากายหยาบ สามารถจับต้องได้รู้ได้..ก็คือระลึกรู้อยู่ในกายนี้ อย่างนี้เรียกว่าจิตเรายังหยาบอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ จิตที่ยังหยาบอยู่นี้หมายถึงจิตเรานั้นยังไม่เข้าถึงศีล ยังไม่เข้าถึงความสงบ ยังไม่เข้าถึงจิตที่ตั้งมั่น ยังไม่เข้าถึงจิตที่เป็นเอกัคคตา จิตนี้ยังไม่เป็นหนึ่ง

    เมื่อจิตที่ยังไม่เป็นหนึ่งเป็นเพราะอะไร จิตที่เรายังหยาบอยู่นี้ เพราะว่าเรายังมีอวิชชาปกคลุมอยู่ จิตเรายังเศร้าหมองหดหู่อยู่ ก็คือจิตมันถูกครอบงำด้วยอวิชชากิเลสตัณหาอุปาทานก็คือนิวรณ์ทั้ง ๕ ดังนี้ เมื่อจิตยังไม่เป็นตัวของตัวเอง ยังไม่เป็นจิตที่เป็นอิสระ จิตยังไม่ตื่น ถามว่าแม้โยมจะฟังธรรมโยมเข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วโยมจะไปพิจารณาธรรมได้อย่างไรจ๊ะ

    เมื่อยังไม่มีสติอยู่..ตัวรู้อยู่มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่อยู่เจ้าค่ะ) อ้าว..แสดงว่าไม่อยู่นั้นจิตโยมก็ไม่อยู่ใช่มั้ยจ๊ะ อ้าว..จิตมันเป็นผู้รู้ แสดงว่าในขณะที่โยมไม่รู้จิตมันอยู่มั้ยจ๊ะ อ้าว..แล้วมันไปไหน (ลูกศิษย์ : ไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) มันไปทางไหน มันไปอย่างไร โยมรู้หรือเปล่าจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ส่งออกไปข้างนอกเจ้าค่ะ จิตเราส่งออกไปข้างนอก เราควบคุมไม่ได้)

    ถ้าโยมใคร่หาคำตอบนี้จิตโยมจะตื่นมากกว่านี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นเรียกว่าความเพลิน กรรมฐานเมื่อเกิดความสงบมากจนเกินไป มันทำให้เราง่วงเราหลับใหลได้ แต่ถ้าโยมอาศัยความสงบนั้นยกจิตขึ้นมาเพื่อเจริญวิปัสสนาละก็..มันจะเกิดปัญญา ปัญญาเมื่อจิตตื่นรู้แล้ว มีการงานของจิตแล้ว เมื่อนั้นวิปัสสนาญาณ ปัญญาเมื่อบังเกิด..มันเกิดแสงสว่าง จิตมันจะตื่นรู้อยู่ตลอดทั้งราตรี ตามแล้วแต่ที่โยมนั้นปรารถนา

    เมื่อเราตรึกตรองในธรรมครุ่นคิดในธรรม วิตก วิจาร ปิติอยู่อย่างนั้น อยู่ในกาย อยู่ในเวทนา จิต ธรรม อยู่ในสติปัฏฐานอย่างนี้ โยมจะไม่มีทางหลับใหลได้เลย เพราะว่าบุคคลที่จิตที่ตื่นรู้ต้องตื่นรู้ในภัยในวัฏฏะ ภัยในวัฏฏะมีอะไรจ๊ะ มันอยู่ที่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันมีอะไรบ้าง มันอยู่ในกาย อยู่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ดังนั้นบอกว่าจิตตื่นรู้ถ้าโยมไม่ได้ตื่นรู้จากภัยในวัฏฏะ ถ้าโยมเห็นจริงอย่างที่ฉันกล่าวโยมจะไม่มีทางหลับเลย ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะถ้าหากโยมมีภัยจริงโยมจะกล้าหลับมั้ยจ๊ะ แสดงว่าโยมยังไม่ได้ถึงวิกฤตถึงขนาดนั้น ยังไม่เห็นแท้แก่นแห่งธรรม

    ถ้าโยมเห็นแก่นแห่งธรรมแท้จริงแล้ว แม้จะหลับนั้นโยมก็จะเป็นผู้กำหนดให้นอน ว่าจะต้องนอนแค่นี้พอสมควรแล้ว ไม่เพลิดเพลินมากจนเกินไป การบริโภคอาหารก็เอาพอประทังให้ความหิวระงับ ไม่เพลิดเพลินในการบริโภคมากเกินไป เพื่อไม่เป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์อย่างนี้

    ถ้าพิจารณาได้อย่างนี้แล้วไซร้ แสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะ ดังนั้นฉันจึงบอกว่าการเจริญกรรมฐานแม้จะเป็นเพียงเวลาไม่มาก แต่ถ้าโยมเข้าใจและทำอย่างจริงจังตั้งใจและศรัทธา ผลที่จะได้มันก็ได้มาก นั้นการที่โยมยังมานั่งคอหักคออ่อนด้วยบอกเหตุผลสารพัดก็ตาม มันเป็นข้ออ้างของกิเลสของมาร แสดงว่าจิตเรายังไม่เข้าถึงในพระรัตนตรัย

    อันว่ายังไม่เข้าถึงในพระรัตนตรัย แสดงว่าเรายังมีความลังเลสงสัยในธรรม ในครูบาอาจารย์ และไม่มั่นใจในตัวเอง เรียกว่าขาดกำลังใจ กำลังใจนี้ใครก็ขาดทั้งนั้น โยมไปขอใคร..เค้าจะให้โยมมั้ยจ๊ะ เค้าให้ก็ให้ได้แต่สู้เราให้ตัวเองไม่ได้ เพราะสิ่งที่คนอื่นเค้าให้เค้าให้เราเต็มหมดมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่หมดเจ้าค่ะ) ถ้าเค้าให้เราหมดแล้ว..แล้วเค้าจะเอาอะไร กำลังใจต้องมาจากตัวเอง

    เราต้องพิจารณาคืออธิษฐาน เราจะมาเจริญพระกรรมฐานไปเพื่ออะไร เพื่อกำจัดกิเลส เพื่อลดละอุปาทานแห่งขันธ์ เพื่อทำความเพียรให้มันถึง ได้อธิษฐานกันมาบ้างรึเปล่า ดังนั้นขอให้โยมสะสมไป แท้ที่จริงแล้วในการฟังธรรมนั้นโยมฟังธรรมในกรรมฐานเองก็ดี ตามเครื่องมือสื่อสารใดๆก็ดี ช่องทางใดช่องทางหนึ่งก็ดี เมื่อจิตโยมตั้งมั่นเมื่อพิจารณาตามมันก็ได้ปัญญา ได้สมาธิ เกิดฌานเช่นเดียวกัน เกิดวิปัสสนาญาณเช่นเดียวกัน แต่ถ้าโยมไม่ใส่ใจไม่มีความพอใจในสิ่งที่ได้ฟัง จิตโยมก็ขาดจากความเพียร เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    60FFDF46-99C1-4CDE-926C-FCC18093CBC5.jpeg

    การที่ว่าเรานั้นมาดูจิตกันกับเห็นจิตมันต่างกันอย่างไร ก็เป็นปุจฉาวิสัชนาอย่างหนึ่ง การดูจิตนั่นคืออะไร (ลูกศิษย์ : ดูอารมณ์เจ้าค่ะ) แล้วถ้าการเห็นจิตเล่ามันเป็นอย่างไร อาการคล้ายหรือแตกต่างกับการดูจิต (ลูกศิษย์ : แตกต่างกัน) อ้าว..ดูกับเห็นไม่เหมือนกันเหรอจ๊ะ

    ถ้าเราจะพูดในทางธรรม "การดูจิต"จะเริ่มเป็นสมถะหรือเรียกว่าการภาวนา ก็เรียกว่าความสงบ เช่นดูลมหายใจ นี่เรียกว่าดูจิตเป็นสมถะหรือเรียกว่าฌาน คือการเพ่งแห่งจิต การเพ่งเรียกว่าดูหรือเปล่าจ๊ะ..

    แต่ถ้าการ"เห็นจิต"จึงเรียกว่าวิปัสสนาจึงเรียกว่าญาณ ฉันจึงบอกว่าฌานนั้นเป็นเบื้องบาทแห่งญาณหรือวิปัสสนา นั้นการดูจิตก็คือดูลมหายใจ คือดูตัวที่สติกำหนดลงไป เมื่อดูแล้วสติตั้งมั่นสมาธิบังเกิด ปัญญาบังเกิด..วิปัสสนามันจึงบังเกิด ตามลำดับขั้นตอนของมัน ถ้าอย่างนั้นโยมก็พิจารณา..ก็เอาอารมณ์ของจิตนั่นแลพิจารณา เห็นการเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปของอารมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้เรียกว่าเราได้เห็นอะไร เห็นการเกิดขึ้น..เห็นอะไร

    เห็นการเกิดขึ้นก็คือเห็นทุกข์ ตั้งอยู่ก็คือทุกข์ ดับไปก็คือทุกข์ จึงเรียกว่าเวทนา ใช่หรือเปล่าจ๊ะ โยมจะนั่งให้มากมายเพียงใดกี่ชั่วโมงก็ตาม โยมจะเห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่แปรเปลี่ยนไปจากสิ่งเหล่านี้ ถ้าโยมมีสติอยู่ในกาย เป็นผู้เจริญวิปัสสนาแล้ว โยมจะเห็นอย่างนี้ เห็นการเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปของอารมณ์
    จนอารมณ์ทั้งหลายดับไปนั้นแล..นิโรธก็บังเกิด ก็เรียกว่าตัวดับทุกข์..ควรทำให้แจ้ง แจ้งอย่างไร คือเราต้องไปพิจารณาตัวที่เกิด ตัวที่ตั้งอยู่ ตัวที่ดับไป สภาวะทั้งหลายที่เรารู้นี้ เรียกว่าสภาวะความไม่เที่ยง สภาวะความที่ไม่เที่ยงนี้เค้าเรียกว่าเป็นทุกข์ทั้งนั้น

    กายสังขารนี้แลเป็นที่หล่อหลอมแห่งทุกข์ทั้งหลาย เมื่อเราไปยึดกายมากเท่าไหร่ทุกข์ก็มีมากเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าทุกข์เกิดขึ้นที่ใด เป็นเพราะใจเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นอยู่ใช่หรือเปล่า ยึดมากเท่าไหร่เวทนาก็จะมีน้ำหนักมากเท่านั้นที่มันจะกดทับเรา ใช่มั้ยจ๊ะ

    เมื่อเรายอมปล่อยคือการปล่อยวาง ก็คือการละอารมณ์มากเท่าไหร่ จิตก็หลุดพ้นไปตามลำดับขั้นตอนของมัน หลุดพ้นจากอะไร หลุดพ้นจากความยึดมั่น มันพ้นจากไหน มันยึดที่ใด มันวางได้ที่ใด..ก็คือกายเรานี้ ตัวตนเรานี้ อัตภาพเรานี้ เมื่อเราละเราวางรูปในกายนี้มากเท่าไหร่ เวทนามันก็จะมีความเบาบางมากเท่านั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นหัวใจของกรรมฐานเค้าจึงบอกว่าให้เพียรละ นั้นการที่โยมจะดับ..ให้เกิดความสงบได้มากเท่าไหร่ อยู่เจริญในสมถะได้มากเท่าไหร่ ต้องพิจารณากายให้มากเท่านั้น ไม่ว่าจะครูบาอาจารย์ท่านใดก็ตาม เพราะบางคนบอกว่าวันนี้รู้สึกไม่มีความง่วง แต่จิตไม่สงบเลย บางคนจิตมีความง่วง มีราคะเข้ามา มีกามคุณ มีนิวรณ์ ๕ เข้ามา แต่จิตอยากประพฤติปฏิบัติเจริญสมาธิ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    บางคนจิตนั้นไม่มีความง่วง แต่จิตไม่มีความสงบเลย คือจิตไม่ตั้งมั่นหรือเรียกจิตฟุ้งซ่าน สิ่งเหล่านี้ต้องทำอย่างไร นั้นไม่ว่าโยมจะฟุ้งซ่าน หรือมีความง่วงก็ตาม ให้เรานั้นยกกายขึ้นมาพิจารณาเพ่งอยู่ในกายอยู่ในวิหารแห่งธรรม เพ่งกายให้เจออะไรบ้าง ให้เจอธรรมสังเวช ธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่เป็นกุศล

    ธรรมที่เป็นกุศลคืออะไร ธรรมที่เราประพฤติปฏิบัติได้แล้วที่เป็นกุศล เป็นคุณงามความดีที่เราเคยทำ ให้ระลึกมาเป็นกำลังใจ ธรรมที่เป็นอกุศลให้เราเพ่งโทษในกาย ธรรมสังเวชคือเมื่อกำหนดและพิจารณาแล้วทำให้เรารู้สึกปลง สละ เกิดความสลด ความเบื่อหน่ายนั้นแล มันจะทำให้เรานั้นจิตนั้นหลุดพ้นจากอารมณ์ที่ร้อยรัดให้เรานั้นมันเคลิบเคลิ้ม ตกเป็นทาสของกิเลสแห่งตัณหา

    บางคนคิดระลึกไม่ได้ เพราะว่าอำนาจแห่งจิตนั้นสมาธินั้นยังไม่ตั้งมั่น เมื่อสมาธิยังไม่ตั้งมั่น..ปัญญามันก็เกิดได้ยาก เค้าจึงบอกว่าเมื่อโยมทั้งหลาย เมื่ออบรมบ่มจิต เจริญทาน ศีล ภาวนา ทำปัญญาให้มันเกิดขึ้นบริบูรณ์แล้ว สิ่งการปวงใดจิตมันจะหลุดพ้นปล่อยวางของมันเองโดยที่ไม่ต้องไปสั่งมัน อุปมาเหมือนเราบริโภคอาหารไปแล้ว ก็ไม่ได้บอกว่าจะไปสั่งมันว่าอิ่มแล้ว แต่จิตมันจะรู้เองว่าอิ่มแล้วพอแล้ว..ลักษณะเดียวกัน

    นั้นอันว่าจิตที่เรานั้นฝึกมากๆเข้าแล้ว อบรมบ่มจิตในศีล สมาธิ ปัญญามากๆ มันก็จะบริบูรณ์ของมันเอง ปัญญามันจะเกิดของมันเอง จิตมันจะหลุดพ้นและปล่อยวางของมันเอง นั้นโยมเมื่อเราประพฤติปฏิบัติอยู่ จะไปถามว่าเราจะหลุดพ้นเมื่อไหร่ กิเลสตัณหาที่ร้อยรัดเรานี้มันจะหมดไปเมื่อไหร่ สิ่งเหล่านั้นที่เราไประลึกไปวิตกกังวลมัน..รังแต่จะทำให้จิตเราฟุ้งซ่านไปเปล่าๆ

    แต่ถามว่าสิ่งที่เรามีความพอใจในความอยาก เรารู้เท่าทันในเหตุเพ่งโทษมันมากเท่าไหร่..กิเลสตัณหามันก็จะเบาบางมากเท่านั้น นั้นเมื่อเราประพฤติปฏิบัติในศีล สมาธิ ภาวนาไว้ให้มากๆนี้แล..มันจะบริบูรณ์ของมันเอง เหมือนการที่เรามาประพฤติปฏิบัติแล้วศีลสำคัญหรือไม่..สำคัญ สมาธิคือใจตั้งมั่นสำคัญหรือไม่..(ลูกศิษย์ : สำคัญ) ปัญญาที่อบรมบ่มจิตแล้ว ที่มันตื่นแล้วด้วยสมาธิด้วยศีลสำคัญหรือไม่..(ลูกศิษย์ : สำคัญค่ะ)

    ดังนั้นจึงบอกว่าการดูจิตนี้จึงเรียกว่าเป็นสมถะอย่างหนึ่ง เป็นสมถกรรมฐาน แล้วก็เรียกว่ามีอีกอย่างก็คือกรรมฐานวิปัสสนา นั้นกรรมฐานวิปัสสนาเป็นอย่างไร เช่นโยมยกกายดูกายขึ้นมาเอามาเป็นอสุภะกรรมฐาน แล้วพิจารณาลงไปอย่างนี้ เรียกว่าอะไร วิปัสสนากรรมฐานหรือไม่

    เพราะการดูจิตสมถกรรมฐานเป็นอย่างไร คือเอาอารมณ์ทั้งหลายเอามาเป็นความสงบของอารมณ์ คือจิตที่ตั้งมั่นเพ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง..นั่นเรียกการดูจิตให้มันสงบหรือการประคับประคองจิตอย่างนี้

    นั้นการดูจิตกับเห็นจิตมันต่างกัน แต่การที่โยมจะไปเห็นจิตนี้ โยมต้องดูก่อนมั้ยจ๊ะ ต้องมองก่อนหรือเปล่าจ๊ะ มันเรียกว่าต้องมีผัสสะเสียก่อน หากไม่มีผัสสะมากระทบโยมจะรู้ได้อย่างไรว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมันมีเวทนามีความรู้สึกอย่างไร หากกายนี้ไร้ความรู้สึกแล้วโยมจะประพฤติปฏิบัติธรรมได้หรือเปล่าจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ค่ะ)

    ดังนั้นเค้าบอกว่าถ้าเราไม่ต้องอาศัยกาย..ดูแต่จิตได้มั้ยจ๊ะ ได้รึเปล่าจ๊ะ จิตโยมยังไม่รู้เลยโยมจะไปดูจิตได้อย่างไร จิตมันหลงได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ได้ค่ะ) จิตมันยังไม่เป็นผู้รู้ผู้แจ้ง ใช่หรือเปล่าจ๊ะ นั้นเราต้องฝึกจิตจากกายนี้แล จากการพิจารณา ถ้าโยมไม่มีกายโยมจะฝึกจิตได้มั้ยจ๊ะ ขนาดมีกายสังขารยังทุกข์ขนาดนี้ ยังปฏิบัติแล้วยังลำบากขนาดนี้ แล้วถ้าไม่มีกายให้โยมฝึกเล่า โยมจะเอาอะไรพิจารณาถ้าโยมไม่เคยฝึก

    อะไรที่เคยฝึกไปแล้วแม้นไม่มีกาย ก็เอาจิตนั้นแลที่ยังคงอยู่ ที่มันยังละวางอารมณ์ไม่ได้นั่นแล ก็ดูอารมณ์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป จนมันเกิดความสงบ จิตมันตั้งมั่นรวมตัวพิจารณาดับอารมณ์นั้นลงไปแล้ว มันถึงจะเข้าสภาวะความว่างแห่งจิต เข้าสภาวะความว่างเป็นนิพพาน คือหลุดพ้น..

    บางคนเค้าถึงบอกว่าเทวดาทั้งหลายทั้งปวงที่เค้าได้ฌานได้ญาณบารมี ด้วยเค้าได้สดับรับฟังธรรมจากพระคุณเจ้าก็ดี จากพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี แม้นไม่มีกายเป็นกายทิพย์ แต่เค้าก็สามารถบรรลุธรรมมากมายมหาศาลก็เพราะเหตุนี้ เพราะเค้าเคยฝึกมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...