ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    17BB8BFB-F3B8-415C-8BCC-0CC6E68491F7.jpeg


    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ คือว่าหนูจะถามหลวงปู่ว่า มันเป็น ๒-๓ ครั้งแล้วค่ะ ภายในอาทิตย์นี้ค่ะ..คือมันเหมือนว่ามันมีพลังงานอะไรมันรับรู้ให้อะไรไม่รู้มันแน่นอยู่ตรงลิ้นปี่น่ะค่ะ แล้วหนูดูเหมือนว่าเป็นจิตตัวเองค่ะ แล้วหนูพิจารณาดูว่าเวลามันเกิด มันเป็นเหมือนจ่าคลั่งนั่นเลยค่ะ สามารถฆ่าคนได้ แต่ถ้าหนูเอาธรรมะเข้ามันก็จะเย็นค่ะ หนูไม่รู้ว่ามันเป็นอาการแบบไหนคะ แบบรู้ว่ามันเป็นแบบไหนแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันเหมือนว่าถ้ามันพุ่งออกมาได้มันพุ่งออกมาจากตัวแล้วค่ะ

    หลวงปู่ : อะไรที่เราขาดสติ ไอ้ไฟ ๓ กองมันก็ให้ผล เรามีจริตอะไรมากมันก็ให้ผลสิ่งนั้นมากเป็นธรรมดา ในเมื่อเรากำหนดรู้เท่าทันมันแล้ว ก็เอาภาวนานี่ข่มมันลงไป เมื่อข่มมันอยู่ได้บ่อยๆ ก็ให้แผ่เมตตาออกไป แล้วก็ไม่สนใจในอารมณ์นั้นอีก แล้วโยมจะไปสนใจมันทำไมว่ามันเป็นใครเป็นอะไร

    ลูกศิษย์ : ก็อยู่ดีๆมันก็ขึ้นมาน่ะค่ะ
    หลวงปู่ : อ้าว..มันก็เป็นธรรมดา เมื่อโยมเพลิดเพลินขาดจากสติ ก็เหมือนที่โยมนั่งสมาธิไปแล้ว อารมณ์แห่งราคะมันก็ยังเกิดขึ้นมาได้ มันก็เป็นของธรรมดา เมื่อจิตเรานั้นมีจริตแบบใด มันก็ผุดขึ้นมาแบบนั้น เรามีหน้าที่ก็คือการรู้..แล้วก็วางอารมณ์นั้น..ด้วยการไม่สนใจ เมื่อเราไม่สนใจมันนั่นแลอารมณ์นั้นมันก็จะดับของมันเอง เราก็ต้องทำแบบนี้ให้อยู่บ่อยๆ เค้าเรียกว่าดับอารมณ์ในขันธ์ ๕

    ถ้าเราไม่เท่าทันไม่หมั่นที่เราจะดับมัน ละมันลงไป มันก็จะมีอารมณ์มากนั่นเอง นั้นไม่ว่ากรรมเหล่าใดเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีความอาฆาตพยาบาทมากแค่ไหน..มันจะจบด้วยการเจริญพระกรรมฐาน เจริญพระกรรมฐานก็คืออะไร..คือเจริญสติให้มาก และรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อรู้แล้วอย่าไปติดในรู้ ให้ละอารมณ์นั้น

    ละอารมณ์เหล่านั้น..ละอย่างไรได้บ้าง คือให้อโหสิกรรมขอขมากรรม และก็แผ่เมตตาจิต หรือด้วยการเจริญปัญญา การเจริญปัญญาเจริญแบบใด เจริญให้รู้รอบในกองสังขารของอารมณ์ คือเพ่งโทษในกาย เห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ ไม่ว่าสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมา ล้วนมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือมีที่เรียกว่าเกลียดทุกข์รักสุขกันทั้งนั้น..ก็เหมือนกัน เมื่อเราพิจารณาได้แบบนี้จิตเรานั้นจะมีความอ่อนโยน มีความเมตตา

    ดังนั้นอารมณ์ที่เรามีความรุนแรงไม่พอใจใคร มีความชังอาฆาตใครก็ตาม ให้เรากำหนดรู้ว่าอารมณ์นี้ขณะนี้มันกำลังเกิดขึ้นอยู่ นั่นเรียกว่าวิบากกรรมมันกำลังจะมา เมื่อเรากำหนดรู้เท่าทันมันได้ ก็ให้เรานั้นมีสติด้วยการมีองค์ภาวนาดึงจิต..ให้อยู่กับผู้รู้หรือตัวพุทโธก็ดี เมื่อจิตสติมันตั้งมั่นดีพอแล้ว อารมณ์เหล่านั้นมันก็จะค่อยๆคลายลงไป ทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ

    เมื่อเราทำอยู่บ่อยๆแล้ว ไอ้วิญญาณอาฆาตพยาบาทนั้นมันก็จะจาง เราอย่าได้ไปติดใจในอารมณ์นั้นอีก ดังนั้นกาลใดที่เราเจริญสติกรรมฐาน ก็ลองตรวจสอบดูซิว่าอารมณ์เหล่านี้ที่เรานี้ มีความอาฆาตพยาบาทหรือจริตอารมณ์ใดที่มันยังมีความเร่าร้อนอยู่ ลองหยิบยกมาพิจารณาดูซิว่า เมื่อเราหยิบยกมาแล้วเป็นอย่างไร สติเราจะเท่าทันสามารถข่มมันได้หรือไม่

    ถ้าเราไม่เพียรละอารมณ์เหล่านี้เลยมันก็จะมีอำนาจมาก มันจะคอยผุดขึ้นมาตอนที่เราขาดสติ หรือมีอารมณ์มากระทบที่ทำให้เรานั้นไม่พอใจ ดังนั้นแบบนี้แลเราก็จะไม่สามารถอยู่กับบุคคลหมู่มากได้ ดังนั้นการจะอยู่กับคนหมู่มากได้ เราต้องมีจิตที่เมตตาอ่อนโยน นั้นก็ต้องแผ่เมตตาให้มากๆ คืออันดับแรกต้องเมตตาตัวเองให้มากๆ คือเราไม่ชอบอะไรคนอื่นเค้าก็ไม่ชอบเช่นเดียวกัน..แบบนั้น

    ดังนั้นเรามีโทสะคนอื่นเค้าก็มีโทสะ เรามีโมหะคนอื่นเค้าก็มี เมื่อเราคิดพิจารณาได้อย่างนี้ เราก็จะปลงใจเสียได้ ไม่ถือโทษถือโกรธ ถืออาฆาตพยาบาท อย่างนี้แลจิตใจเราก็ไม่เร่าร้อน เมื่อเป็นอย่างนั้นกุศลจิตมันก็บังเกิด เมื่อกุศลจิตมันบังเกิด..เราตั้งจิตอธิษฐานจิตแผ่เมตตาออกไป ดวงจิตวิญญาณเหล่านั้นก็ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี

    เมื่อไปเกิดภพภูมิที่ดีเป็นภูมิเทวดาก็ดี เป็นนางฟ้าเป็นอะไรไปแล้วอย่างนี้ เค้าก็จะมาโมทนาบุญกับเรา อย่าได้ไปกักขังเหนี่ยวรั้งดวงวิญญาณเหล่านี้ไว้ คืออย่าเก็บอย่าสะสมความอาฆาตพยาบาทในดวงจิต เพราะว่ามันจะมีแต่ผลร้ายให้จิตเรานั้นเสื่อมลง เสื่อมลง จมอยู่ในอเวจี

    ดังนั้นแล้วการจะปิดอบายภูมิมันต้องตัดที่ใจเราเสียก่อน เจริญทานให้มันมากๆ การเจริญทานให้มากเป็นอย่างไร มันไม่ต้องใช้เงินใช้ทองใช้อัฐใช้เบี้ย เพียงแค่ใช้ใจเราเองมีความเชื่อความศรัทธา อบรมบ่มจิตให้รู้จักการสละ รู้จักการให้ ให้อโหสิกรรม ให้เมตตา ให้อภัยทาน เมื่อเราทำได้อย่างนี้แลมันมีอานิสงส์มากกว่า หรือเท่ากับว่าเราได้สร้างโบสถ์

    ถ้าเราไม่คิดที่จะละอารมณ์เหล่านี้เลย การจะเข้าถึงกระแสธรรมกระแสพระนิพพานนี้..ก็เข้าถึงได้ยาก นั้นก็ขอให้โยมเจริญภาวนาไว้มากๆ ในขณะที่มีภาวนาอยู่มันก็จะมีอารมณ์ที่เป็นข้าศึกแห่งพรหมจรรย์เข้ามากระทบ เมื่อมากระทบในขณะที่เราภาวนามันก็จะเท่าทันกัน แต่ถ้าจิตเรานั้นไม่มีสติหรือพลั้งเผลออยู่ แล้วถ้าอารมณ์เหล่านี้มันเข้ามา มันก็จะเข้ามาเบียดเบียน มีกำลังมาบังคับจิตใจเรา ถ้าสติเราไม่เท่าทันมันก็จะบังคับบัญชาให้เรานั้นไปทำกรรม สร้างเวรสร้างพยาบาทไม่จบสิ้นกันอีกเลยทีนี้

    แสดงว่าเรามีจิตที่เมตตาอยู่ เราถึงควบคุมมันได้ แต่เราจะบอกได้อย่างไร เอาอะไรมารับรอง..ถ้าเราขาดสติไปคราใดคราหนึ่ง หรือสติเราจะไม่หลุดพลาดพลั้งไป อำนาจแห่งกรรมชั่วมันจะมีอำนาจมาเบียดเบียนบีฑาเรา ดังนั้นเราต้องระวัง เพราะในยุคนี้เป็นยุคที่มารหรือเจ้ากรรมนายเวรได้ตามมาทวงหนี้ทวงแค้น นั้นคนที่จะอยู่รอดปลอดภัยในยุคนี้ ก็คือคนที่เจริญทาน ศีล ภาวนา อบรมบ่มจิตรู้จักการสละ รู้จักการให้ ไม่มีเวรอาฆาตพยาบาท หรือเจริญเมตตาอยู่บ่อยๆ

    เมื่อเราเจริญอยู่บ่อยๆ ละอยู่บ่อยๆ ให้อภัยอยู่บ่อยๆ ไม่ติดใจเอาความแล้วแบบนี้ ก็เรียกว่าแม้กรรมมันจะหนัก..มันก็เป็นลหุโทษได้ ยอมความกันได้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    3DCE177D-7C26-4572-A5FC-E7802CF00AAC.jpeg

    ทำบุญให้เป็นฤทธิ์เป็นอย่างไร แผ่เมตตาเป็นทานก็เป็นบุญ อุทิศบุญบ่อยๆ การเจริญเมตตาบ่อยๆนี้แลจะทำให้จิตโยมนั้น มีความเมตตา มีความสงบ มีความละเอียดปราณีตในธรรมมากๆ ใครขาดจากการเจริญเมตตาจิต จิตจะหยาบ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นต้องระวังให้มาก พยายามแผ่เมตตาจิต อุทิศบุญบ่อยๆ แผ่เมตตาอยู่บ่อยๆ

    เมตตาจะแผ่ได้ตอนไหน..ไม่มีเวลาหรอกจ้ะ เพราะธรรมมันไม่มีกาล การแผ่เมตตาเค้าก็ไม่ได้บังคับว่าเวลาไหน โยมนั่งสุขาสงบโยมก็แผ่ได้..ให้เชื้อโรค เชื้อโน่นเชื้อนี่ได้ทั้งนั้น เค้าก็มีตัวมีตนมีจิตวิญญาณทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นการแผ่เมตตามันจะทำให้เราเข้าถึงธรรมได้

    แล้วการแผ่เมตตานี่เรียกว่าพรหมวิหารธรรม ดังนั้นแล้วควรทำได้ตลอดเวลา ไม่ได้บอกว่าจิตต้องสงบอย่างนั้นอย่างนี้ จิตโยมตั้งมั่นมีความปรารถนาดีนั่นแหล่ะจ้ะ เค้าเรียกว่าศีลโยมบังเกิดแล้วในขณะนั้น เมื่อโยมระลึกถึงศีลมันก็เป็นบุญ บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล เห็นมั้ยจ๊ะ นั้นการรักษาศีลคือการระลึกถึง พอระลึกถึงแล้วโยมก็มาสำรวมในกาย วาจา ใจ มันสงบแล้วมันก็เป็นศีล มันก็เป็นบุญเป็นทานแล้ว

    ดังนั้นไม่ต้องถามว่าจะต้องแผ่เมตตาตอนไหน ตอนไหนควรแผ่เมตตา ตอนไหนมันเกิดขึ้นในอารมณ์ที่เรามีความปรารถนาอยากจะให้..มันก็เป็นธรรมนั้นล่ะจ้ะ ยิ่งเราจะเข้ากรรมฐานเจริญภาวนาจิตก็เหมาะแก่การที่จะอุทิศบุญแผ่เมตตาจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้เป็นทาน..เรียกว่า"เปิดทาง" ดวงจิตดวงวิญญาณเจ้ากรรมนายเวร ดวงวิญญาณอาฆาตพยาบาทเค้าจะได้ไม่มาเบียดเบียนบีฑาเรา เค้าจะได้มาโมทนาเรา ถ้าเค้ามารบกวนเรามันก็จะเป็นบาปเป็นกรรมไปอีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อรู้แบบนี้แล้วเป็นบาปเป็นกรรม เมื่อเราให้แผ่เมตตาจิตแบบนี้ไป เค้าจะได้ไม่มารบกวนเรา เค้าจะได้ไม่ต้องมีเวรภัยกันอีก..นี้ความเมตตามันเป็นอย่างนี้ เค้าไม่มีโอกาสที่จะสร้างบุญกุศลความดี เมื่อเรามีโอกาสเราก็ควรกระทำเผื่อแผ่ ทำไมเราต้องเผื่อแผ่ แม้เค้าไม่มีกายสังขาร แต่กรรมที่เราเคยทำไว้แล้วนั่นแหล่ะจ้ะ มันจะทำให้เรามีอุปสรรคในทางโลก แล้วก็อุปสรรคในทางธรรม

    พวกเหล่านี้เค้าจะทำให้อารมณ์เรานี้วิปริตได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แม้เค้าทำอะไรเราไม่ได้มาก แต่อารมณ์นี้..มันทำร้ายอย่างแท้จริง ถ้าอารมณ์เราไม่ดีแล้วเป็นยังไง เสียหายมั้ยจ๊ะ ความเกรี้ยวกราดบีฑาก็บังเกิดขึ้น ใช่มั้ยจ๊ะ ต้องแผ่เมตตาให้จิตเราสงบ
    บุคคลที่จิตยังไม่สงบเหล่านี้เรียกว่าเจ้ากรรมนายเวรเหล่านี้ หรือดวงวิญญาณทั้งหลายทั้งปวง เราไม่เคยได้อุทิศบุญแผ่บุญเลย เรียกว่าไม่ค่อยได้ทำเป็นประจำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เหมือนเราไปตักบาตรทำบุญ นานๆตักที จำไม่ได้แล้วล่าสุดนี้เมื่อไหร่ องค์ไหน หน้าตาเป็นยังไง ตอนนี้ตายไปรึยัง มรณภาพรึยัง ใช่มั้ยจ๊ะ ทานที่ให้ล่าสุดนี้จำไม่ได้เลย ให้ขอทานคนไหน อะไร ตอนไหน จะปล่อยปลาปล่อยนกก็ไม่รู้ปล่อยวัดไหน ปล่อยกี่ตัว ป่านนี้ปลาตัวนั้นตายรึยังก็ยังไม่รู้ พวกเหล่านี้บุญกุศลเหล่านี้..เมื่อระลึกแล้วก็ถือว่าเราปล่อยอยู่ทุกวัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    บุญที่เราทำมาแล้วระลึกได้ตลอดเวลา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่บุญอันใดเล่าที่ทำแล้วมันเหนือกว่าบุญทั้งปวง..ก็บุญแห่งการเจริญพระกรรมฐาน..ว่ามีการตัดภพตัดชาติได้ ไม่ต้องเอาพระมาสะเดาะเคราะห์ หรือสร้างโบสถ์วิหารใหญ่ๆ แต่บุคคลที่เจริญพระกรรมฐานได้มานี้ต้องผ่านสิ่งนี้มาทั้งหมด คือการเจริญบุญเจริญทาน สร้างวิหารโบสถ์วิหารทานมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันถึงจะเข้าถึง นี้โยมทำบุญใหญ่โยมก็จะเข้าถึงเส้นทางแห่งมรรค

    เส้นทางแห่งมรรคนี้ต้องเป็นมหาบุรุษเท่านั้น หรือผู้ที่ปรารถนาในความหลุดพ้นที่จะเป็นผู้สร้างบารมีใหญ่ ถึงจะเข้าถึงทางแห่งมรรคได้ เพราะว่าไม่มีใครที่จะเข้าถึงได้ง่าย เพราะว่ามันเป็นของเฉพาะบุคคล เฉพาะบุคคลเท่านั้นที่อธิษฐาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่ใช่ใครที่จะเห็นได้ทุกคน ก็เหมือนว่าผู้มีปัญญาเห็นสิ่งเดียวกัน แต่รู้ไม่เหมือนกันนั้นเอง...

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ เวลาที่เราแผ่เมตตาน่ะ เจ้ากรรมนายเวรไม่รับมีมั้ยคะ เค้าไม่ยอมรับที่เราแผ่ไปอย่างนี้ค่ะ

    หลวงปู่ : ก็ต้องดูว่าโยมตีตราไปถึงรึเปล่า ไปรษณีย์..คือศีลโยมเป็นยังไง ศีลโยมบกพร่องมันก็ไปไม่ไกลไปไม่ถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันไม่ทั่วถึง ใจเราก็ต้องมั่นด้วย ใจเราก็ต้องถึงด้วย มีความปรารถนาให้เต็มที่หรือไม่ นี่มันอยู่ที่กำลัง เห็นมั้ยจ๊ะ

    กำลังส่งสำคัญ ไอ้คนที่เราจะให้..เราก็ให้ไปอย่างนั้น ให้ด้วยใจที่ยังมีอคติอยู่เลย ยังมีอกุศลอยู่ เห็นมั้ยจ๊ะ มันให้แบบแผ่วๆ นั้นก็ต้องให้อยู่บ่อยๆ ให้บ่อยๆ ให้บ่อยๆ ให้จนไม่มีจะให้แล้ว พอไม่มีจะให้แล้วมันก็ไม่รู้จะเอาอะไรกับเราแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นเราต้องให้จริงๆ ให้จริงๆ ให้จากใจจริงของเรา ดังนั้นถามว่าให้ไปแล้วมีมั้ย ใครเค้าก็อยากได้ทั้งนั้นแหล่ะ แต่ส่วนมากให้ไม่ถึง อ้าว..ก็ไอ้คนยากคนจนใครเค้าก็อยากได้รับความช่วยเหลือ..แต่ไปไม่ถึง โดนกินหมด โดนกินหัวคิวหมด เพราะฉะนั้นถ้าโยมอยากให้ถึง โยมต้องไป โยมต้องทำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ต้องลงมือทำ แล้วก็ปฏิบัติ..นี่ถึงแน่นอน..คือกรรมฐาน คือละอารมณ์ให้ได้ก่อน

    บางคนทำแต่บุญแต่ไม่ละบาป อันนี้เค้าเรียกว่าเสมอตัว นั้นบุญไม่ต้องทำก็ได้..ไปละบาป บุญไม่ต้องทำเลย..ละบาปอย่างเดียว อันนั้นแหล่ะโคตรของบุญ โยมไม่ต้องไปทำบุญ ให้ละบาปอย่างเดียว..นี่คือหัวใจของพระพุทธศาสนา อันนี้บุญที่แท้จริง

    โยมทำบุญแต่ไม่ละบาป โจรมันก็ทำได้ นั่นก็คือการเจริญทาน ศีล ภาวนา เพราะว่าโจรมันทำไม่ได้ โจรไม่มีเวลาให้ทาน เพราะโจรปล้นอย่างเดียว ศีลมันเอาเมียเอาลูกเค้าหมด ภาวนามันไม่มีหรอก มันต้องกินเหล้าสติมันไม่มีภาวนาหรอก เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่มันเป็นอย่างนั้น..

    นั้นบุญน่ะโจรมันก็ทำได้ แต่ทาน ศีล ภาวนาโจรมันทำไม่ได้ ผู้ที่จะมีทาน ศีล ภาวนาผู้นั้นต้องมีปัญญา ต้องมีศรัทธา ต้องมีความเชื่อ ต้องมีบุญเก่า ต้องมีบุญวาสนาเก่า วาสนานั้นคือสิ่งที่ทำมาแล้วนั่นเอง..จึงเรียกว่าวาสนา เคยอบรมบ่มจิตมาแล้ว เคยทำมาแล้ว ไม่งั้นโยมจะมานั่งหลังขดหลังแข็งข่มจิตข่มใจไม่ได้เลยแม้ขณะจิตเดียว..ยากนัก

    แต่ถ้าโยมนั่งได้ มีความสุขความพอใจ มีความปิติอิ่มเอิบเมื่อระลึกถึงบุญกุศล เมื่อระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดนิมิตเป็นพุทธปฏิมากรก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าโยมอยู่ในอู่ข้าวอู่น้ำแห่งบุญ อยู่ในสวรรค์นิพพานทั้งนั้น เค้าเรียกว่านิพพานสมบัติ สวรรค์สมบัติ มนุษย์สมบัติ คือโยมจะปรารถนาเป็นมนุษย์อีกก็ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าไม่อย่างนั้นยากนักที่จะรอดพ้นอบายภูมิ

    นั้นทาน ศีล ภาวนา หรือกรรมฐานนี้เค้าเรียกว่าปิดอบายภูมิ รอดพ้นแน่นอน คือไม่ต้องไปอบายภูมิ ดังนั้นอันนี้เค้าเรียกหลักประกัน การเจริญสตินี้ประกันภัยได้แน่นอน อย่างอื่นประกันไม่ได้ ดังนั้นโยมต้องปฏิบัติเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    หลวงปู่ : ก็ต้องดูว่าโยมตีตราไปถึงรึเปล่า ไปรษณีย์..คือศีลโยมเป็นยังไง ศีลโยมบกพร่องมันก็ไปไม่ไกลไปไม่ถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันไม่ทั่วถึง ใจเราก็ต้องมั่นด้วย ใจเราก็ต้องถึงด้วย มีความปรารถนาให้เต็มที่หรือไม่ นี่มันอยู่ที่กำลัง เห็นมั้ยจ๊ะ

    กำลังส่งสำคัญ ไอ้คนที่เราจะให้..เราก็ให้ไปอย่างนั้น ให้ด้วยใจที่ยังมีอคติอยู่เลย ยังมีอกุศลอยู่ เห็นมั้ยจ๊ะ มันให้แบบแผ่วๆ นั้นก็ต้องให้อยู่บ่อยๆ ให้บ่อยๆ ให้บ่อยๆ ให้จนไม่มีจะให้แล้ว พอไม่มีจะให้แล้วมันก็ไม่รู้จะเอาอะไรกับเราแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ


    สาธุ สาธุ สาธุ

    ทำบ่อยๆ ให้จนไม่เหลือจะให้ ยิ่งไม่เหลือยิ่งต้องทำ เพราะเรายังสามารถทำได้

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    D2634BDE-969E-4BD1-A56C-173E65D5DDA5.jpeg
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    77DA009D-9B24-4C50-BE83-BF434C1D0808.jpeg

    อันว่านิพพานแท้ที่จริงแล้วก็ไม่ได้อยู่ที่ไหน ขอให้โยมพิจารณาตามในสิ่งที่ได้ยิน..

    เมื่อเราสำรวมความสงบด้วยกาย วาจา ใจตั้งมั่นดีแล้ว ก็กำหนดสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจอานาปานสติ เข้า-ออก จนรู้ว่าลมนั้นสงบแล้ว..สงบที่ใดในกายก็วางลมนั้น ณ ที่แห่งนั้น เมื่อเราวางแล้วเห็นว่าสงบดีแล้ว สิ่งอื่นใดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสียงอันใดก็ขอให้รู้ได้ยินแล้วก็วางเฉย นั่นก็เรียกว่าเราต้องดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ คือไม่สนใจ คือวางอุเบกขาทำให้เกิดขึ้น

    นั่นก็เรียกว่าอันดับแรกเราต้องวิตกในอารมณ์ก่อน คือวิตกอารมณ์..ก็คือลมหายใจของเรานี้แล เมื่อเราวิตกแล้ว กำหนดลมเข้าออก ล้างลมเสียออกจากปอดแล้ว เมื่อลมมันสงบนิ่งในขณะนี้ ก็เอาความสงบนิ่งของลมนั้นแลดูอยู่ที่กาย การดูอยู่ที่กายดูอย่างไร ดูที่กายคือดูความรู้สึกของกายของใจเรานี้

    เมื่อมันสงบแล้วให้เราวางเฉยในความสงบนั้น..ให้นิ่งสงบ จิตนั้นไม่ส่งออกไปภายนอก หยุดความคิดปรุงแต่งในอดีต หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าคืออนาคต รู้เฉพาะในปัจจุบันแห่งจิต กำหนดจิตอยู่ในกาย เมื่อรู้กายแล้ว ก็รู้ว่าเราอาศัยกายอยู่ แต่ว่าการจะไปนิพพาน การดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย

    ดังนั้นลองพิจารณาดูง่ายๆ ตั้งแต่เราเกิดมาถึงปัจจุบันนี้ มีอะไรที่เป็นเรื่องเป็นสุข เป็นเรื่องเป็นราวมีแก่นสารหรือไม่ ความทุกข์อะไรที่บีบคั้นเรา ความน่าละอายสิ่งใดที่ทำให้เรานั้นขาดจากความเป็นมนุษย์ ขาดจากศีลจากธรรม..ความน่าละอาย ให้ระลึกรู้ว่าสิ่งที่เรากระทำมาใดนั้นมันมีแก่นสารหรือไม่ พิจารณาดูซิว่าเราเสวยสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน เมื่อเห็นว่าสิ่งที่เราผ่านมาพิจารณาแล้วไม่มีสาระแก่นสารอันใดเลย..แบบนี้แล้วเราก็จะละออกจากกาย

    การละออกจากกายก็คือการดับรูป การดับรูปคืออะไร ก็เรียกว่าเมื่อจิตเราเพ่งรู้อยู่ในกายในความสงบ ก็เห็นความสงบนั้นอารมณ์นั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็กำหนดรู้ในอารมณ์นั้น ให้เท่าทันในอารมณ์นั้นแล้ววางเฉย นี่เราก็เรียกว่าวางเฉยอยู่ในกาย..คือไม่ต้องสนใจกาย แต่รู้อยู่ในกาย เมื่อรู้อยู่ในกายแล้วก็ทำความรู้นั้นให้แจ้งด้วยปัญญา

    เอาปัญญานั้นไปพิจารณาอะไร พิจารณาความเสื่อมของสังขาร ความตายที่จะเกิดขึ้น ความไม่แน่นอน สิ่งทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตาคือความว่าง เมื่อจิตที่ว่างจากความคิดนี้แล เค้าเรียกว่านิพพานชั่วขณะ แต่ว่าจิตที่เราจะว่างจากความคิดมันเป็นอย่างไร มันต้องว่างจากอารมณ์ที่เราไปยึดมั่นถือมั่นของกายของสังขาร

    การจะถอนอุปาทานออกจากขันธ์นี้ เราต้องเพ่งโทษในกายเสียก่อน เห็นว่ากายนี้เป็นที่รังของโรค อัตตภาพนี้มันมีสุขน้อยมีทุกข์มาก ไม่ช้าไม่นานกายสังขารนี้ก็ต้องแตกสลายไป เพราะว่ามันประกอบขึ้นมาด้วยดินน้ำไฟลม อากาศธาตุ จิตวิญญาณธาตุ เมื่อมันมีแต่ธาตุ มันมีแต่เกิดขึ้นมาปรุงแต่ง อย่างนี้เมื่อถึงเวลา ถึงฆาตกายสังขารจะแตกดับออกไปแยกออกจากกัน..ก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เหมือนท่อนไม้ท่อนฟืนอย่างหนึ่ง

    ก็แสดงว่ากายสังขารนี้มันไม่ใช่ของเรา สิ่งไหนที่เราบังคับบัญชามันไม่ได้..สิ่งนั้นไม่ควรยึด เพราะเมื่อยึดแล้วมันก็จะเป็นทุกข์ เมื่อกายสังขารมันไม่ใช่ของเรา แต่ทำไมเรียกว่าเป็นเรา ที่เรียกว่าเป็นเรา เป็นกูเป็นมึง เพราะเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ตอนนี้เราไม่อยากเป็นมัน เราไม่อยากเป็นเรา..แต่เราต้องอยากรู้เรา ว่าสิ่งที่เราอาศัยอยู่นี้แท้ที่จริงแล้วมันคืออะไร

    เมื่อเราเห็นตามความเป็นจริงได้ว่า กายสังขารนี้เป็นเพียงกายชั่วคราวที่เราได้มาอาศัยจุติได้สร้างบุญ สร้างกุศล สร้างบารมี ดังนั้นเราจะเอากายสังขารนี้ได้ใช้ประโยชน์เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเห็นว่ากายสังขารนี้มันมีแต่ทุกข์ มีความตายรออยู่เบื้องหน้า ก็ให้เพ่งโทษในกายจนถึงที่สุด ของที่สุดของอารมณ์เป็นอย่างไร

    อารมณ์เหล่าใดก็ตามที่เราเจริญแล้วระลึกแล้ว นั้นทำให้เราเกิดการสละเกิดการปลงสังเวช เห็นได้อย่างนี้เพื่อการถอดถอนจากอุปาทานแห่งขันธ์ของจิตที่ยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้ได้ นั่นแลไม่นานนิโรธมันก็บังเกิด นิโรธก็คือการเห็นอารมณ์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นสภาวะความไม่เที่ยงของอารมณ์ของจิต อย่างนี้แล้วก็เรียกว่านิโรธมันก็บังเกิด ผลจากการเห็นอย่างนี้ของจิตที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นสภาวะไม่เที่ยงอยู่บ่อยๆ ก็เรียกว่ามรรคมันก็บังเกิด

    เมื่อมันเป็นอย่างนี้แม้จิตเราเองก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ก็เมื่อเหลือแต่จิตแล้วตอนนี้ถ้าหากว่ากายมันดับไป..เมื่อพิจารณาไปแล้ว ก็เอาอารมณ์ของจิตนั้นแลที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนั้นแลมาพิจารณา..จนว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้นมันดับไปไม่เหลือ ไม่นานสมาธิมันก็บังเกิด เมื่อสมาธิบังเกิดฌานมันก็บังเกิด วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ก็เพราะว่าอวิชชาคือความไม่รู้

    เมื่อเราไปพิจารณากำหนดรู้ในกายเสียได้ว่า กายนี้ที่จริงแล้วมันเป็นของชั่วคราว อัตตภาพนี้มันมีแต่ทุกข์ที่เราอาศัยอยู่ เมื่อเราเห็นโทษภัยในกายสังขารนี้ว่าไม่นานกายสังขารนี้ก็ต้องดับสลายไป เหมือนกับทุกๆคน ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงใดมากน้อยเพียงใด ก็ต้องตายหมดเท่านั้น อย่างนี้แล้วชื่อว่าความเป็นจริงได้เกิดขึ้น ได้ประจักษ์ขึ้นกับในจิต

    เมื่อเห็นอย่างนี้ได้เราก็จะวางกายนี้ คือไม่สนกายไม่ยึดกาย แต่จะอาศัยกายนี้ประคองจิต จนว่าจิตนั้นมันรู้แจ้งแล้ว จิตมันสงบแล้ว ก็จะวางธาตุขันธ์นี้ไว้ตามฐานะของมันอย่างนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เรียกว่าเรากำหนดอยู่ในกาย นี้แลจิตคือความรู้สึกไปกำหนดอยู่ในกาย จิตนั้นกับกายได้แยกกันอยู่แล้ว เพราะว่าจิตนั้นได้กำหนดรู้ว่านี่คือกายแต่ไม่ได้ยึดกาย แม้อารมณ์จะเกิดขึ้นในเวทนาของกาย ก็สักแต่ว่าเป็นเวทนา เป็นความรู้สึก..เราก็วาง นี่แลเค้าเรียกว่าอุเบกขามันก็บังเกิด

    เมื่อจิตมันถอนอุปาทานแห่งขันธ์..ก็เรียกว่ายกจิตขึ้นมา เมื่อจิตมันมีกำลังก็ยกจิตขึ้นมาไว้กลางหน้าผาก ในขณะนี้ถ้าเมื่อเรายกขึ้นมาได้ ก็จะเห็นว่าร่างกายก็ดี ความรู้สึกก็ดีมีความเสียววาบ เสียวซ่านไปทั้งส่วนสรรพางค์กายนี้แล ก็ให้เราประคองจิตวางจิต คือวางเฉยของจิตนี้ เพ่งรู้อยู่ที่กลางหน้าผาก ทำความรู้สึกให้มันสงบนิ่ง ประคองจิตไว้

    ถ้าเมื่อประคองแล้วมันยังไม่นิ่ง ก็ให้กลับมากำหนดลมเข้าไปใหม่ แล้วก็วางจิตที่มันสงบนี้อยู่ในกาย เมื่อสงบจิตมันตั้งมั่นก็ยกขึ้นไปใหม่ ทำอยู่อย่างนี้ เรียกว่ามีวิตกอยู่ในกาย วิตกในอารมณ์ วิจารละอารมณ์ดับแล้ว เมื่ออารมณ์มันสงบก็ยกขึ้นไปใหม่ ทำอยู่อย่างนี้ เมื่อผู้ใดเรายกขึ้นไปได้ สำรวมจิตไว้ที่กลางหน้าผากได้ ขอให้ประคองจิตอยู่อย่างนี้ให้นิ่ง

    เพราะโดยธรรมชาติของจิตของทวารของจิต ตัวปัญญา ตัวญาณ มันจะเกิดตัวรู้ทางนี้ ถ้าจิตที่ตั้งมั่นสงบนิ่งมาก มันจะระงับทุกอย่าง แม้ความหนาวเหน็บความหนาวเย็นสิ่งใด เสียงอันใดก็ตาม จิตมันจะมีความละเอียดมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น เมื่อจิตมีความละเอียดมากขึ้นมากขึ้น แม้เสียงอันใดก็ตามที่เราได้ยิน มันก็จะเบาบางลง จนเสียงนั้นดับไป นิ่งไป สงบไป ทีนี้แล้วจิตมันก็จะมีแต่ความสงบ

    อาศัยสมาธินี้แล อาศัยฌานที่เราจดจ่อเพ่งรู้อยู่เป็นอารมณ์ เป็นเอกัคคตา จิตและลมหายใจเป็นหนึ่งแล้ว ก็เรียกว่าจิตมันสงบระงับ คำว่าระงับก็คือนิโรธมันบังเกิด เห็นอารมณ์เหล่าใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันก็วาง เห็นจิตอะไรที่มันเข้าไปกระทบผัสสะก็รู้แล้วก็วางอยู่อย่างนี้

    รู้แล้ววาง เห็นแล้ววาง ผัสสะมากระทบก็วาง นี่แลเรียกว่าจิตไม่เข้าไปยึด ไม่ไปปรุงแต่ง จิตที่ไม่เข้าไปยึดไม่เข้าไปปรุงแต่งนี่แล เค้าเรียกว่าจิตที่ว่างจากความคิด ว่างจากอุปาทานแห่งขันธ์ ว่างจากชรา ว่างจากมรณาอย่างนี้ ถ้าโยมมุ่งมั่นอยากจะรู้ว่าสภาวะนิพพานที่โยมปรารถนา..ก็ขอให้ลองพิจารณาตามดู

    ถ้าร่างกายสังขารมันอ่อนล้า มันอาจจะยกจิตไปไม่ได้ ก็ขอให้เราผ่อนกายสังขารลงมา เหมือนเรานั่งพักผ่อน สำรวมจิตใหม่ ตั้งใจขึ้นมาใหม่ กำหนดรู้ใหม่ คือรู้องค์ภาวนา หรือว่ารู้อานาปานสติเข้าไปใหม่ รู้ลมหายใจ รู้ลม ถึงลม แล้วก็ทิ้งลม การว่ารู้ลม ถึงลม ทิ้งลม เรียกว่าวางลม กำหนดรู้อย่างนี้

    เมื่อจิตที่สงบแล้ว มันสงบที่ใดก็เอาจิตนั้นแลไปวางในที่แห่งนั้นในศูนย์กลางกาย เหนือสะดือ ท้ายทอย กลางหน้าผาก รีมฝีปากก็ดี ส่วนใดส่วนหนึ่งที่มันถูกจริตถูกอัธยาศัยของเรา ก็ให้วางจิตไว้ ณ ที่แห่งนั้น เมื่อจิตมันสงบตั้งมั่นดีแล้ว มีกำลังพอสมควรก็ยกจิตขึ้นมากลางหน้าผาก

    นี้การจะเลื่อนจิตขึ้นมา มันก็มีความรู้สึก ความรู้สึกคือตัวระลึกได้ คือกำหนดรู้ รู้สึกที่ตรงใดจิตก็อยู่ที่ตรงนั้น นั่นก็หมายถึงว่ากลางหน้าผากนี่แลคือทางเดินออกของจิตวิญญาณและตัวรู้ หรือเรียกว่าตาที่สาม ประตูมิติแห่งกาลเวลา เมื่อเรายกขึ้นไปได้ ธรรมชาติของจิตนั้นมันยังมีความผูกพันธ์อาลัยอาวรณ์กับกายสังขารอยู่ มันก็เป็นธรรมดา

    อาจจะมีอารมณ์มีผัสสะมากระทบ ก็อย่างที่บอกเมื่อมีผัสสะอะไรก็ตาม ก็สักแต่ว่ารู้ เมื่อรู้แล้วก็วาง ก็เพ่งรู้ รู้อยู่ที่กลางหน้าผากของเรา ที่จิตที่ความสงบนั้น เรียกว่าการประคอง นี่เรียกว่าการทรงฌาน ฌานนี้จะเป็นเบื้องบาทของวิปัสสนาญาณ เมื่อฌานนั้นมันเข้าถึงจิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาเมื่อไหร่ วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    48542FBD-1429-4981-BCBA-459CC351262E.jpeg

    การที่จะปลดปล่อยจิตวิญญาณทั้งหลายให้เจ้ากรรมนายเวร เราต้องละอาฆาตพยาบาทเสีย ให้จิตเราเข้าถึงความบริสุทธิ์ บุญเมื่อบริสุทธิ์แล้ว..มันเย็นมันสงบ ใครๆก็ปรารถนาทั้งนั้นในจักรวาลในสากลโลกนี้

    นั้นบุญมันเป็นของเย็นของสงบ บาปเป็นของเร่าร้อน ขณะใดจิตเรามีความเร่าร้อนนั้นแล..แสดงว่าวิบากกรรมในอดีตได้บังเกิดขึ้นแล้ว ถ้าโยมรู้เท่าทันได้ เหมือนในปัจจุบันนี้ในขณะนี้ประชาราษฎรญาติโยมทั้งหลาย ก็เรียกว่าเกิดความเร่าร้อนจิตเร่าร้อนใจ หาความสงบไม่ได้ นี่แลเรียกว่าวิบากกรรมในอดีตได้บังเกิดขึ้นแล้ว

    อะไรเรียกว่าวิบากกรรมในอดีต คือโรคระบาดมันเคยเกิดขึ้น..ในขณะนี้มันก็เลยบังเกิดขึ้น แม้ชื่อมันจะไม่เหมือนกัน แต่มันก็เป็นสายพันธุ์ที่มันเกิดขึ้นมา ดังนั้นแล้วต้องเข้าใจว่าโรคทั้งหลายที่มันเกิดขึ้น แม้กายเรานั้นก็มีโรค อย่าได้ไปวิตกกังวลอะไรให้มันมากนัก อันว่าคนเราเมื่อมันจะตายมันไม่ตายด้วยโรคนี้ มันก็ตายด้วยอย่างอื่นอยู่ดี

    นั้นเมื่อเรารู้ว่าในโลกนี้มีแต่ภัยก็ควรเร่งทำคุณงามความดีให้มากๆ สิ่งที่สำคัญถ้าโยมจะปลอดภัยในภัยทั้งปวง ให้โยมกำจัดภัยภายในให้ได้เสียก่อน ให้ละอาฆาตพยาบาท ละโทสะ โมหะเหล่านี้ เมื่อโยมมีเมื่อไหร่ในเชื้อของกระแสจิตแห่งความอาฆาตพยาบาทริษยาทั้งหลาย ความพอใจไม่พอใจในโทสะ..จิตมันจะเร่าร้อน นั้นแล..มันจะดึงดูดวิบากกรรมในอดีตเข้ามา แล้วโรคภัยไข้เจ็บนั้นมันก็ตามมาเช่นเดียวกัน

    แต่เมื่อจิตเรานั้นมีแต่ความเมตตา มีแต่ความสงบ ความสงบความเย็นเหล่านี้..ไอ้ความร้อนนั้นเมื่อมันจะเข้ามา มันก็จะเข้ามาแทรกแซงได้ยาก ก็เมื่อเรามีความสงบแห่งจิตอยู่ มีบุญกุศลมีศีล อำนาจแห่งพระรัตนตรัยนั้นคุ้มครอง มันก็จะมีรัศมีมีแสงคอยคุ้มเหมือนอะไรมาครอบกายเราอยู่ อย่างนี้แลไม่ว่าจะเป็นกัมมันตรังสี รังสีใด เชื้อโรคใดก็ตาม มันก็จะช่วยปกป้องรักษาเราได้

    ดังนั้นการที่เราต้องเจริญเมตตาอยู่เป็นประจำก็จะมีประโยชน์อย่างนี้ ช่วยปกป้องภัยเราได้ การที่เราเจริญคาถาก็ดี สวดมนต์ไว้อยู่ก็ดีนี้แล มนต์ที่เราภาวนาจิตอยู่ไม่ว่าจะเป็นชินบัญชรพระคาถาก็ดี ในขณะที่เราภาวนาเจริญอยู่ในใจก็ดี ออกเสียงก็ดีนี้ ที่เรากล่าวออกมาในอักขระภาษานี้แล มันจะมีแสงสว่างมีตาข่ายคอยคุ้มกันของกายของผู้นั้นที่ภาวนาอยู่ ที่เจริญมนต์อยู่ โดยที่เราไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ เหมือนอากาศที่เรามองไม่เห็น แต่เรารู้สึกถึงความเย็นความร้อนได้

    จิตวิญญาณทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราจะสัมผัสจิตวิญญาณได้ ก็จะทำให้ตัวเรานั้นขนลุกขนพองสยองเกล้าเหล่านี้ ก็นี่แลเค้าเรียกว่าความรู้สึกได้ นั่นจึงเรียกว่าวิญญาณ ดังนั้นสิ่งที่เรามองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี ก็เหมือนอากาศที่เราทั้งหลายมองด้วยตาเปล่าว่าไม่มี แต่รู้สึกความร้อน ความเย็น ความหนาวได้เช่นนั้นแล

    ดังนั้นแล้วขอให้พิจารณาในธรรมอยู่บ่อยๆแห่งความตาย ว่าเรานั้นอยู่ได้อีกไม่นานแล้ว ถ้าเราคิดว่าเราอยู่ได้ไม่นาน เราจะเร่งทำความดีให้มาก การจะเร่งทำความดีคืออะไร คือเมื่อเรามีโอกาสได้ทำความดีเราก็ควรรีบไขว่คว้า เหมือนน้ำมันขึ้นก็ให้รีบตักเอาไว้ เพราะเราไม่รู้มันจะขึ้นบ่อยหรือไม่

    นั้นจิตที่เรามีความเพียร มีความปรารถนาจะทำความดีนั้นแล เค้าเรียกว่าบุญเก่านั้นได้มาหนุน เทพยดาเค้าก็โมทนาเปิดทาง เราควรรีบทำ แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ใครจะรู้ได้ว่าความตายมันจะมาเกิดกับเราเมื่อไหร่ ดังนั้นการที่เรากำหนดมาเจริญเข้ากรรมฐาน มาเจริญการงานของจิตนี้ จึงเรียกเป็นการกำหนดกรรมขึ้นมา เมื่อเรารู้วันเวลาที่กำหนดเราควรมาเจริญบุญเจริญกุศล เค้าเรียกว่ามารายงานตัวต่อเทพยดาเจ้า ต่อครูบาอาจารย์ ต่อพระพุทธองค์ท่าน

    เมื่อเรารายงานตัวชำระบาปอยู่บ่อยๆ เมื่อเราตายละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว เราก็ไม่ต้องไปรายงานตัวต่อยมบาลท่าน เพราะเราได้รายงานมุ่งตรงสู่พระรัตนตรัยในขณะที่เรามีกายสังขารแล้ว นี่แลเพราะบุญกุศลเหล่านี้ที่เราทำไว้ มันก็จะเป็นเสบียงบุญ ก็เหมือนที่โยมได้มาร่วมสร้างบุญกุศลอู่ข้าวอู่น้ำไว้ ณ ที่แห่งนี้ เมื่อถึงเวลามีภัยก็ประโยชน์ที่โยมทำไว้นั้นแล มันจะกลับมาสนอง ให้ประโยชน์เกื้อกูลกับโยมในภายภาคหน้า..

    ดังนั้นฉันจึงขอเตือนต้องขอบิณฑบาตให้โยมนั้น จงรักเมตตากันไว้ให้มากๆ ถ้าคนดีมันต้องให้อภัยได้ คนดีอยู่ที่ไหนต้องเย็นได้ ถ้ายังร้อนอยู่แสดงว่ายังไม่ดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ จำคำนี้ไว้ ถ้ายังเย็นไม่ได้แสดงว่ายังไม่ดี มันยังร้อนอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ตัวเราต้องเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง สอนตัวเองตำหนิตัวเองได้ เราถึงจะไปเมตตาพิจารณาเตือนคนอื่นเค้าได้ บุคคลอื่นทั้งหลายเราไม่สามารถไปสอนใครได้ แม้เราจะตักเตือนก็ดี แต่ตัวเราต้องตักเตือนตัวเราได้ด้วย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    4C16BCA0-DA76-423E-BF3C-21204CEFBBE4.jpeg

    ใจที่มันไม่สะอาดเพราะอะไร..ใจมันสกปรก ใจที่มันสกปรกเป็นเพราะอะไร..คือใจมันเสีย เราเสียใจเรื่องอะไร เราไม่พอใจ เราไม่ได้ดั่งใจอะไร..เราทำใจเสียใหม่ ถ้าเสียแล้วก็เสียไป ตั้งใจใหม่ ดึงจิตเข้ามาภาวนาจิต ควบคุมจิตใหม่ กำหนดลมใหม่ ลมที่เสียไปแล้วก็ให้มันเสียไป ยังมีลมอีกมากที่เราจะกำหนดเข้ามา

    นั้นใจที่เรามันสกปรก..จะให้สะอาดอยู่ตลอดเวลามันเป็นของยาก นั้นอารมณ์เหล่าใดที่เรารู้ ที่ผัสสะมากระทบทำให้จิตเราเศร้าหมองนั้นแลคือฝุ่นละออง คือเชื้อโรคเชื้อร้ายทั้งนั้น ที่มันจะเข้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเราไม่เท่าทัน สติไม่เท่าทันระวังในทวาร

    แล้วมันเข้ามาแล้วทำยังไง อ้าว..เราก็ล้างลมเสียออกจากปอดเสียใหม่ คือกำหนดลมใหม่ กำหนดรู้จิตนั่นเอง รู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ รู้อยู่ที่ความรู้สึกของอารมณ์ของจิตนั้น แล้วพิจารณาอารมณ์ตรงนั้นจนจิตนั้นอารมณ์เหล่านั้นมันดับไป..นิโรธมันก็บังเกิด จิตมันก็ว่าง จิตมันก็วาง ไม่ยึดถือ ไม่ยินดี ไม่อาฆาต ไม่พยาบาท ไม่เศร้าหมอง จิตมันก็สะอาดใสมาเป็นดังเดิมได้นั้นแล

    ดังนั้นแล้วจิตเราจะสว่างไสวอยู่ตลอดเวลาได้หรือไม่ เมื่อจิตเรายังยุ่งในทางโลกเมื่อไหร่ จิตเรานั้นมีโอกาสที่จะหม่นหมองสกปรกได้มากเท่านั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อไหร่เราละจากทางโลกได้มากเท่าไหร่ จิตเราก็สว่างสะอาดมากเท่านั้น ดังนั้นเราจะไปหนีกรรมสิ่งที่เราเป็นอยู่ได้หรือไม่

    เค้าถึงบอกว่าเมื่อเรามาเจริญสติ เจริญปัญญา เจริญภาวนาจิต อารมณ์ทั้งหลายเหล่าใดของทางโลกก็ดี..ขอให้วางทุกอย่าง เพราะสิ่งเหล่านั้นเรียกว่าเป็นของอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งนั้น เป็นเชื้อโรคเชื้อร้ายทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนไอ้คำสรรเสริญ นินทา เยินยอในโลกธรรม ๘ ก็เป็นเชื้อโรคทั้งนั้น เค้าถึงได้บอกว่าโยมไม่ได้ไปตายเพราะเชื้อโรคที่จะมานั้นหรอกจ้ะ โยมไม่ตายเชื้อโรคนี้โยมก็ตายโรคอื่น

    นั้นจิตที่มันสกปรกเพราะอะไร จิตที่ไม่เคยฝึกเลยนั้นแล ไม่เคยทำความสะอาดเลย ไม่ได้ชำระมันออก..คือไม่ได้ละอารมณ์นั้นเอง อารมณ์ที่เป็นอกุศลมูลนั้นแลที่ทำให้จิตเราสกปรก เพราะเรายังมีความพอใจยินดีอยู่ เมื่อจิตเรายังไปผูกพันธ์..ไปผูกพันธ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรานั้นพอใจอยากได้อยากดีนั้นแล สิ่งเหล่านั้นนั่นแลเรียกว่าเป็นตัวพอกพูนจิตให้มีความอยาก

    ความอยากทั้งหลายที่ทำให้จิตเรานั้นสกปรก เมื่อเราละความอยากได้นั่นแล ไม่ยึด ไม่อยาก เมื่อจิตมันไม่อยากแล้ว จิตมันก็ไม่ดิ้นรนแสวงหา เมื่อจิตมันไม่เร่าร้อน จิตมันก็เย็น จิตมันก็สบาย จิตมันก็ว่าง จิตมันก็เบา นั่นก็เรียกว่าเราเข้าถึงความสงบเข้าถึงศีล ศีลเหล่านี้แลมันจะเป็นตัวฟอกชำระล้างจิตให้สะอาดได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ก็กำหนดรู้พิจารณาดูจิตตัวเองสิจ๊ะ ถ้าอยากรู้ว่าทำยังไงจะให้จิตสะอาด ก็ตรวจสอบพิจารณาดูศีลเราเป็นอย่างไร เราบกพร่องตรงไหน เราทำอย่างไรถึงเปิดช่องทางให้สิ่งสกปรกมันเข้ามา เราก็ไปปะ ไปชุนในรูนั้นในช่องนั้นอยู่บ่อยๆ พิจารณาอยู่บ่อยๆ ไม่นานมันก็จะเท่าทัน

    แต่ถ้ามันปิดไม่ได้ทันแล้วก็ไม่เป็นไร มันเข้ามาแล้ว..ก็เอาธรรมนั้นที่เข้ามาพิจารณาเป็นธรรมารมณ์นั้นแล ดูอารมณ์เหล่านั้นให้มันดับไป คือเพ่งโทษของอารมณ์นั้นจนมันดับไปนั้นแล เห็นว่าอารมณ์ทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เมื่อยึดแล้วก็ทำให้จิตเป็นทุกข์ ให้จิตนั้นเศร้าหมอง..นั่นแลเค้าเรียกว่าเชื้อโรคร้าย

    ดังนั้นเราจะรักษาโรคได้อย่างไร ก็เอาศีลนั้นชำระล้างลงไป ล้างแผลเสียก่อน แผลมันติดเชื้อมา เพราะเราติดใจมันจึงเป็นกรรม นั้นจะตัดกรรมก็ต้องตัดที่ใจให้ได้เสียก่อน เมื่อเราตัดใจได้แล้วแผลมันก็ไม่ติดเชื้อ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆเข้า แผลมันก็จะสมานของมันเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ทุกวันนี้โยมไม่ต้องกลัวหรอกจ้ะ ว่าโยมนั้นจะพ้นจากโรคหรือเปล่า เมื่อโรคไอ้พวกเหล่านี้ไม่มามันไม่มาระบาด โยมก็มีเชื้อโรคอยู่แล้วในกาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นลมหายใจอากาศนี้มันก็มีเชื้อโรคปนเปื้อน แต่ถ้าจิตโยมนั้นมันบริสุทธิ์ มันเป็นกุศล จิตโยมนั้นมีศีลมีรักษาศีล ลมที่โยมจะเอาใส่เข้าไปมันจะผ่านการกรองด้วยศีล เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วมันก็จะเป็นลมที่บริสุทธิ์ คือลมที่เป็นกุศล

    ลมที่เป็นอกุศลต่างหากที่มันมีเชื้อโรคปลอมแปลงเข้าไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นปลอมแปลงเข้าไปแล้วทำให้จิตเรานั้นหงุดหงิด ฟุ้งซ่านรำคาญใจ มีอารมณ์แห่งโทสะ มีโมหะมาครอบงำ..เหล่านี้แลเค้าเรียกว่าเชื้อโรคทั้งนั้น อ้าว..มันมีวิญญาณ เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันก็มาทางใดทางหนึ่ง แล้วตอนนี้นรกมันก็แตกเต็มไปแล้ว มันก็หนีกันมาเกิด เกิดในรูปวิญญาณ เกิดในรูปโอปปาติกะก็มี เกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นคนก็มี เค้าเรียกเกิดมาเป็นคนแต่จิตใจมันเป็นสัตว์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ จิตใจเป็นสัตว์คืออะไร มันไม่มีศีลมีธรรม

    ดังนั้นแล้วกาลต่อไปในภายภาคหน้า เค้าเรียกว่ามันจะปรับสมดุลแห่งธรรมธาตุ การปรับสมดุลแห่งธรรมธาตุเป็นอย่างไร คือธรรมธาตุไหนที่เป็นธรรมธาตุเดียวกันมันก็จะเอามารวมตัวกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อรวมตัวกันแล้วก็ยังไม่จบมันก็ต้องกักไว้ก่อน พอกักแล้วก็แยกเชื้ออีกว่าเชื้อนี้แข็งแรงดี เชื้อนี้ยังไม่แข็งแรงดี เชื้อนี้มีสิ่งที่ปลอมแปลงมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่ากักเชื้อไว้

    นั้นเมื่อพอแยกเชื้อคนชั่วมันก็ต้องไปรวมตัวกัน คนบาปก็จะไปอยู่ด้วยกัน คนบาปเป็นอย่างไร คนบาปนี้คือคนที่ไม่มีศีลมีธรรมเอาเสียเลย ไม่มีความเชื่อในพระรัตนตรัย เรียกว่าเกิดมาในชาตินี้ก็รอวันตาย ไม่ได้คิดจะสร้างบุญสร้างบารมีเพิ่มขึ้นไปอีก อย่างนี้เรียกว่าคนที่เกิดมาจากสัตว์นรก

    คนที่เกิดมาจากสัตว์นรกนั้นก็ล้วนแล้วมีอำนาจแห่งโทสะ จะมาฆ่าฟันล้างแค้นเอาคืน มาพยาบาทเหล่านี้ ก็ย่อมทำให้คนดีคนมีศีลมีธรรมนั้นเดือดร้อนไปตามๆกัน นั้นเค้าจะแยกเชื้อ ดังนั้นธรรมธาตุมันจะปรับสมดุลแห่งธรรมธาตุก็คือภัยพิบัติ ดังนั้นก็ขอให้โยมนั้นมีสติให้รู้ว่าภัยพิบัติทั้งหลายนั้นเป็นของธรรมดา

    คำว่า"พิบัติ"หมายถึงว่าการล้างผลาญ เหมือนร่างกายสังขารของเราต่อไปก็ต้องพบภัยพิบัติ ก็ต้องพบคำว่าวิบัติ..คือการต้องตายไปจากกันไปนี้แล ดังนั้นภัยพิบัตินั้นก็เรียกว่าธรรมชาติที่เกิดขึ้น นั่นก็เรียกว่าเข้าถึงรอบของโลกของกรรมของวาระที่จะเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งเวลาด้วยอำนาจแห่งมนุษย์ที่มีส่วนร่วม คนใดที่เราไปอาศัยในที่ใด สิ่งนั้นก็มีส่วนร่วมมีอิทธิพล เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนที่โยมเข้ามาร่วมสร้างบุญบารมี ในบารมีของโยมแต่ละคนก็มีส่วนร่วมมีอิทธิพลที่จะผลักดันให้สถานที่นี้เป็นอย่างไรก็เช่นเดียวกัน

    นั้นอำนาจแห่งภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นนั้นแล เมื่อมันเกิดจากดิน น้ำ ไฟ ลม ภัยพิบัติมันก็ต้องเกิดจากดิน น้ำ ไฟ ลมเช่นเดียวกัน คือก็เรียกว่าแผ่นดินไหวแผ่นดินแยก น้ำก็คือน้ำท่วม ลมคือลมพายุ ไฟหรือเรียกว่าภูเขาไฟก็ดีเหล่านี้ ภัยจากอากาศ อากาศเมื่อมีความร้อนมากมันก็ระเบิดได้เช่นเดียวกัน อย่างนี้แลเมื่อดิน น้ำ ไฟ ลมมันแปรปรวน แสดงว่าฤดูกาลมันแปรปรวนมั้ยจ๊ะ

    แสดงว่าเมื่อมีน้ำก็มีน้ำมาก เมื่อมีลมมันก็มีลมแรงมากอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อดินนั้นไม่มีน้ำอุ้มไว้แบบนี้ดินก็ทรุดตัวมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะทรัพยากรนั้นถูกเบียดเบียนมากนั่นเอง ดังนั้นเมื่อมนุษย์มันมีอยู่กันมากเกินไป เค้าเรียกว่ามันจึงหนักแผ่นดิน คนหนักแผ่นดินหมายถึงว่าคนที่เบียดเบียนธรรมชาติ เบียดเบียนมนุษย์ เบียดเบียนสรรพสัตว์นั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ บุคคลเหล่านี้ต้องตายก่อน ดังนั้นถ้าจิตใจโยมนั้นไม่เข้มแข็งพอ โยมอาจจะตายก่อนเช่นเดียวกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    7ED6011D-35D5-48B6-9374-3D1538DD53A2.jpeg

    ลูกศิษย์ : มีสหายธรรมท่านนึงอยากให้หนูถามว่าการขอพรกับอธิษฐานต่างกันยังไงเจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : อ้าว..แล้วโยมเห็นว่าเป็นประการใด

    ลูกศิษย์ : หนูคิดว่าการขอพรมันคือขอจากคนอื่น แต่การอธิษฐานคือเราทำเองแล้วเราก็ได้เองน่ะเจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : เออ..งั้นก็ฝากไปตอบแบบที่โยมตอบนี้แหล่ะจ้ะ ก็ฉันไม่รู้จะอธิบายอย่างไร การขอพร..ขอพรหรือขอสิ่งที่โยมหวัง แล้วถ้าขอแล้วโยมมีต้นทุนเพียงใดมันก็ต้องดูอีก ถ้าสิ่งที่โยมขอแล้วโยมไม่มีต้นทุน มันก็กลายเป็นว่าติดหนี้บุญกุศลเข้าไปอีก แต่ถ้าโยมมีต้นทุน..แต่ต้นทุนโยมไม่พอ..โยมถึงจะอธิษฐานเข้าไปช่วย

    ฉันก็เคยบอกว่าการอธิษฐานนี่มันก็คือขอเหมือนกัน แต่การอธิษฐานคือการไปเร่งความปรารถนา เราก็ตั้งจิตตั้งใจมั่น เชื่อมั่นในบุญกุศลนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าขอเฉยๆ เค้าเรียกว่ามันมีลูกขออย่างเดียว เจออะไรก็ขอหมด ไอ้พวกนี้ลูกขอทาน ขออย่างเดียว แล้วอย่างนี้ไปขอสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ ถ้าขอแล้วมันติดทำอย่างไร โยมก็ต้องไปแก้มันอีก แล้วถ้าไม่ใช้เค้าก็ตามมาเอาอีก ไปขอเค้าส่งไม่ได้ ในโลกนี้มีของฟรีมั้ยจ๊ะ โลกวิญญาณก็ไม่มีของฟรี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมก็ไปบอกเค้าอย่างนั้น เพราะไอ้คนที่จะขอมันก็จะขออยู่ร่ำไป มันจะหาความเข้าใจบ้างไม่มี แต่โยมจงไปพิจารณาแล้วบอกเค้าอย่างนั้นเถิดจ้ะ ว่าการขอกับอธิษฐานก็ไม่ต่างกัน ต่างกันตรงที่ว่าการตั้งจิตอธิษฐานนี่เค้ารู้ว่าจะมีความปรารถนาไปเพื่ออะไร แต่การขอพรก็ขอดะ เจอหน้าก็ขอ เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือไม่ทำเอง คือไม่สร้างต้นทุนบารมีเอง จึงไม่รู้จักว่าคุณค่าของการที่จะขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น มันให้ผลเป็นประการใด

    แต่คนตั้งจิตอธิษฐานอะไร ปรารถนาอะไรแล้วย่อมรู้ความสำคัญ อานิสงส์ในสิ่งที่เราจะปรารถนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ รู้อำนาจบารมีกุศลของเราเอง มีความเชื่อมั่นความศรัทธาเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่คนขอโดยตรงแล้วส่วนมากมันเป็นแค่อยากขอ..มันเป็นแค่กิเลส มันเป็นแค่ตัณหา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่อย่างเช่นที่โยมอธิษฐานขอมาเข้ากรรมฐาน นี่มันคนละอย่างกัน นี่เรียกเป็นการสร้างบารมี อธิษฐานเพื่อเอาต้นทุนบารมีที่เรามีอยู่ มีใจศรัทธามีความเชื่อเข้าไปเกี่ยวข้อง ลงทุนร่วมหุ้นกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เห็นมั้ยจ๊ะ..

    แต่การขอมันเป็นความอยากกิเลส..มันเป็นของทางโลก แล้วโยมก็ต้องติดโลกอย่างนี้ตลอดไป ไม่สามารถจะออกจากโลกนี้ได้ถ้าใช้ลูกขออย่างเดียว แต่การอธิษฐานมันจึงต่างกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    คนที่มันมีบารมีแค่มันระลึกถึงปรารถนา..ไม่ต้องขอ..มันก็ได้ เพราะเรียกว่าเค้าทำมาถึงแล้วในบารมีนั้น แต่คนที่มันขออย่างเดียวส่วนมากจะไม่ค่อยมีบารมี คนมีบารมีจะไม่ค่อยขอ แค่ระลึกเทวดาเค้าก็รู้ เค้าจะประทานให้ ดลจิตให้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นขอว่าโยมอย่าเพิ่งขอ ให้อธิษฐานตั้งใจทำไปก่อน ลงทุนลงแรงต้นทุนของตัวเองลงไปก่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    E8B017D1-CF09-423E-A6DF-FC6E2FA22320.jpeg

    ถ้าโยมมีศีลจิตโยมมีธรรม โรคที่เป็นกาฬโรคก็ดี อหิวาตกโรคก็ดี เรียกว่าไม่สามารถที่จะเข้ามาให้โทษให้คุณได้กับผู้ที่มีศีล เพราะศีลนี้มันจะป้องกัน หรือเรียกว่ามีภูมิป้องกันโรค หากโยมไม่มีกรรมที่ไปเกี่ยวข้อง แม้โยมจะโดนหรือรับเชื้อมาก็ตาม..แต่ร่างกายสังขารมีภูมิต้านทานโรค มันก็สามารถจะผลักดันป้องกันได้

    แต่ถ้าโยมนั้นมีกรรมที่จะต้องรับ..ติดเชื้อในโรคระบาดนี้ แม้โยมจะไปอยู่ที่ไหน อยู่ในห้องที่มีอะไรป้องกันที่ว่าปลอดภัยก็ดี ก็ไม่สามารถรอดพ้นจากภัยจากโรคระบาดนี้ไปได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มันไม่ได้เป็นเฉพาะบุคคล เค้าเรียกว่ามันเป็นทั้งโลก แล้วการที่เราเจริญศีลเจริญภาวนาจิตนี้ เมื่อเราปรับสมดุลแห่งธาตุและเลือดก็ดี..ให้มันสามารถมีภูมิต้านทานในสิ่งที่ดี นั้นโรคหรือสิ่งที่ไม่ดี..เมื่อเราปรับจิตมันดี ร่างกายสังขารธาตุเราก็ดีแล้ว ไอ้สิ่งที่ไม่ดีมันจะเข้ามา..มันก็จะถูกผลักออกไป นั่นก็หมายถึงมันต้องมีแต่สิ่งที่ดีๆเข้ามา เข้าใจมั้ยจ๊ะ หรือเมื่อเรามีสิ่งที่ไม่ดี เมื่อมันมีสิ่งที่ไม่ดีมันก็จะดึงดูดกับสิ่งนั้น

    นั้นการใช้ชีวิตก็อย่าได้วิตก อย่าได้ประมาท เมื่อเรากลัวจนเกินไปนั้นมันก็จะขาดสติได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไอ้เรื่องโรคระบาดนี้มันยังไม่ได้จบเท่านี้ เดี๋ยวมันจะมีโรคอื่นมาอีก มันเป็นยุคของโรคที่มันจะระบาด..เรียกว่ามันถึงเวลา เพราะมันเพาะเชื้อมานานแล้ว มันก็เป็นภัยอย่างหนึ่ง

    แต่นี่โยมถือศีลภาวนาสวดมนต์อธิษฐานจิตแผ่เมตตากันอยู่อย่างนี้ มันก็จะเป็นพลังต้านทานกับสิ่งเหล่านี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วการที่โยมสาธยายมนต์ ก็จะมีเทพเทวดาท้าวจตุโลกบาลก็ดีเสด็จมารับสดับฟังธรรม พวกมารก็ดีพวกภูติผีปีศาจที่จะเอาโรคห่าโรคอะไรมาก็ดี เมื่อเทพเทวดาเค้ามาสถิตมาชุมนุม ณ ที่แห่งนั้น สิ่งเหล่านี้ก็ต้องอันตรธานหายไป หลีกหนีหลบหนีไป เหมือนครั้งหนึ่งที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเสด็จไป ก็จะมีเทพเทวดาเสด็จตามมาสถิตมารับเสด็จ..

    แต่ในยุคนี้แล้วแม้ไม่มีองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ในขณะใดที่โยมสาธยายมนต์ก็ดี จิตเรานอบน้อมในพระรัตนตรัยทำการนมัสการ เมื่อเราตั้งนะโมก็ดี ก็คำสวดนั้นก็จะเป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน เทพเทวดาทั้งหลายได้ยินได้สดับแล้วด้วยญาณด้วยจิตวิถีก็จะเสด็จเข้ามาน้อมทำอัญชลี กราบนมัสการบังคมต่อบทคำสวดนั้น ก็จะเป็นชื่อเป็นมงคลกับสถานที่แห่งนั้น ก็จะทำให้ที่แห่งนั้นสะอาดสว่าง

    นั้นหมายถึงว่าสถานที่ใดมีการชุมนุมแห่งบุคคลที่มีการเจริญศีล เจริญภาวนา เจริญมนต์ สถานที่นั้นย่อมเป็นที่กำจัดโรคไปในตัว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วการสวดมนต์นี้เป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคล ภูติผีปีศาจชั่วร้ายที่สิงสู่ก็ดีก็จะอันตรธานหายไป แม้โรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ อำนาจแห่งการสวดมนต์ย่อมขับพิษไข้ ขจัดปัดเป่าให้บรรเทาไม่มากก็น้อย..หากไม่เกินวิสัยแห่งกรรม

    ดังนั้นไอ้โรคระบาดเหล่านี้ที่มันเกิดขึ้น หากว่าไม่มีใครมีวิบากมีกรรมที่ไปพัวพันด้วย..ก็ไม่สามารถจะรับกรรมนั้นได้ แม้จะติดเชื้อมาก็ดีก็จะมีภูมิต้านทาน ไม่ทำให้ถึงกับชีวิต แต่ผู้ที่มีกรรมภูมิต้านทานนั้นที่อ่อนแอ เมื่อรับเชื้อเหล่านี้เข้าไปแล้ว..ก็เรียกว่ามันก็มีกรรมเพิ่มเป็นสองเท่า

    นี้โรคระบาดเหล่านี้ก็เรียกว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรอย่างหนึ่ง ที่ตามหาคู่เวรคู่พยาบาทคู่อาฆาต ดังนั้นเมื่อเราสวดมนต์ภาวนาเจริญเมตตาจิต จนจิตเรานั้นเกิดความสงบตั้งมั่นแล้ว เกิดสมาธิ เกิดปัญญา เมื่อเราภาวนาจิตเกิดปัญญา เจริญเมตตาคือการอภัยทานแล้ว ไม่มีความอาฆาตพยาบาทกับใคร จิตเรานี้เมื่อไม่มีเวรพยาบาท เค้าเรียกว่าอกุศลกรรมก็ดีเมื่อไม่เกิดขึ้นในจิตแล้ว ดวงจิตดวงวิญญาณเหล่าใดก็ตามที่จะพยาบาทเรานั้น ที่จะมาให้ผลมากระทำมาจองเวรมาอาฆาตก็ดี ณ ขณะนั้น กระแสแห่งพระรัตนตรัยก็ดีในบุญกุศลก็ดีในขณะนั้นมันยังปกปักรักษาเราอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อเราทำอยู่บ่อยๆ มันก็ห่างไกลจากสิ่งเหล่านั้น เมื่อจิตเรานั้นให้อภัยอยู่บ่อยๆ มันก็จะห่างไกลจากสิ่งเหล่านั้น แต่การให้อภัยทานก็ดี..แม้เราจะให้อภัยทานใครก็ตามร้อยหนสักกี่หนพันหนก็ตาม มันก็ยังสู้ธรรมทานไม่ได้ เพราะการให้อภัยทานนี้แม้เราให้อภัยทานเค้าไปแล้ว ถ้าเค้ายังมีการสร้างเวรสร้างพยาบาทอีก เค้าก็ไม่รอดพ้นจากคมหอกคมดาบหรือทุกข์ภัยได้

    แต่การให้ธรรมทาน..หากเราให้สติเค้าได้ ให้ปัญญาเค้าได้ เค้าจะได้คุ้มครองเอาตัวรอดได้ แต่การให้อภัยทานของเรานั้นเป็นการไม่สร้างเวรสร้างพยาบาท แต่เค้านั้นจะไปสร้างเวรสร้างพยาบาทกับใคร อันนั้นก็เพราะวิบากกรรมของเค้า นั้นไม่ว่าใครจะทำให้เรานั้นเจ็บช้ำน้ำใจ หรือมีความผูกโกรธอาฆาตพยาบาท แต่ถ้าเราไม่พยาบาทตอบ..กรรมนั้นก็ไม่อยู่ที่เราแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อกรรมนั้นไม่อยู่ที่เราแล้ว เรานั้นก็ไม่มีเวรมีกรรมกับเค้า แสดงว่าถ้าเค้านั้นยังจองเวรอยู่ แสดงว่าเค้านั่นแหล่ะเป็นผู้มีกรรม เป็นผู้ที่รับผลแห่งกรรม เป็นผู้ต้องเสวยกรรม ความทุกข์จะอยู่กับผู้ใดเล่าถ้าเป็นอย่างนั้น ก็อยู่กับผู้ที่มีเวรมีพยาบาทมีกรรม เมื่อผู้ที่ไม่มีเวรพยาบาทแล้ว เค้าจะมีกรรมได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่มีค่ะ) เมื่อไม่มีแม้เค้าจะอยู่ใกล้กับคนแบบนั้น เมื่อเค้าไม่เอาความทุกข์ไม่เอาพยาบาทแล้ว เค้าอภัยแล้ว เค้าจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ล่ะจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นสุขค่ะ)

    ไอ้พวกโรคภัยไข้เจ็บก็เหมือนกัน แม้เราจะอยู่ใกล้ก็ดี แต่เรานั้นไม่มีกรรมร่วมก็ดี ก็จะหลีกหนีกันไปได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไอ้เรื่องหนีความตาย ถ้าโยมจะไปหลีกหนีความตาย ความเจ็บไข้ ความป่วยไข้..มันก็หนีกันไม่ได้ เมื่อถึงเวลาถึงที่ที่ไหนก็ตามมันก็ต้องตาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    CFFEB6C7-559C-451B-BB34-F7A3D57861F2.jpeg
    การที่เราจะเข้าเจริญสมาธิ เจริญภาวนาจิตนั้นเพื่ออะไร เมื่อเรามี"จุดหมาย"เราย่อมเห็น"ทางเดิน" ก็ทางเดินนั้นแลที่เราเดินแล้ว ประพฤติแล้ว กระทำแล้วอยู่บ่อยๆเนืองๆ ก็เพื่อให้จิตเรานั้นได้เกิดการตื่นรู้ ให้เกิดการชำนิชำนาญ ให้เข้าถึงตัวปัญญา

    ตัวปัญญาจะเกิดได้ก็คือ เมื่อฌานบังเกิด จิตเห็นจิตนั่นแล จิตมันเห็นอารมณ์ใด จิตเป็นแบบใดต้องกำหนดรู้ คือระลึกรู้ ให้อยู่ในกายตน ให้เกิดสติปัฏฐาน หรือกายานุสติก็ดี ให้อยู่ในนี้ คือให้รู้ทุกข์ ให้รู้อารมณ์แห่งการเกิดเวทนา คืออย่าส่งจิตไปภายนอก เมื่อเรากำหนดรู้ได้อย่างนี้ก็ให้พิจารณาให้เห็นโทษภัย คือเพ่งโทษ เอาจิตนั้นไปตั้งอยู่ในฐานทั้ง ๔ คือในกาย ในเวทนาคือความรู้สึก

    ความรู้สึกนี้แลที่มันเกิดขึ้น เพราะเกิดจากใจไปดำริ ไปพอใจ ให้รู้สภาวะจิตอารมณ์ของตัวเอง เมื่อกำหนดรู้แล้วก็พิจารณาอยู่อย่างนั้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่าแล้วเราจะเห็นความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงเกิดจากอะไร เกิดจากเราไปเห็นทุกข์นั่นแล สิ่งไหนที่เราเข้าไป"ยึด"แล้วเกิด"ความพอใจ" ในความพอใจนั้นหากเราไม่น้อมจิต สติเราให้เกิดปัญญาแล้วก็ย่อมเกิด"ความหลง"

    เพราะความหลงตัวนี้เราไปยึดไว้ ไปปรุงแต่งไว้ เพราะอำนาจของกิเลส เรามีกิเลสมากเท่าไหร่ เราก็คิดว่าสุขนั้นมีมากเท่านั้น แท้ที่จริงมันไม่ใช่เช่นนั้น ในความสุขนั้นแลมันมีความทุกข์ปนอยู่ จะบอกว่าทุกข์และสุขนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ย่อมได้ แต่ใครเล่าจ๊ะที่จะแยกมันออก

    เหมือนกายกับจิต เหมือนรูปกับนาม เมื่อเราแยกมันออกแล้วให้เข้าถึง ยกมาให้พิจารณาย่อมเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างนั้นได้แค่"อาศัย"ให้เกิดเป็นแบบนั้น เป็นขั้นนั้นเป็นขั้นนี้ด้วยอำนาจของสมาธิ แต่ไม่ได้บอกให้โยมนั้นไปยึดในอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เอาแค่อาศัยเป็นทางเดินผ่าน แต่ไม่ได้ให้โยมไปยึด

    เพราะว่าสภาวะที่โยมไปยึดนี้แล ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม ถ้าไปยึดแล้วสิ่งนั้นแลมันย่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความ"ดับสลาย"ไป โยมก็จะจับตัวนั้นสิ่งนั้นไม่ได้ เมื่อมันหายไปแล้วก็คิดว่าสิ่งนั้นคงไม่มี ที่มีเพราะเรานั้นไปยึดไปปรุงแต่งขึ้นมา ดังนั้นทางเดินของโยมที่จะเดินต่อไปคือต้องเดิน"ปัญญา" เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    บุคคลที่เดินปัญญาอยู่นั้นแล เรียกว่าจะพบอาจารย์ดีคือในกายตน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นโยมต้องเดินปัญญา เพราะฌานนั้นเป็นเบื้องบาทแห่งการเจริญจิตภาวนา เมื่อโยมเจริญจิตภาวนาแล้ว ภาวนานั้นแลที่จะไปหล่อหลอมให้ดวงจิตของโยมนั้นเกิดสภาวะนิ่งสงบ ทำให้เกิดใจของโยมนั้นตั้งมั่น เกิดอำนาจแห่งสมาธิ คือความสงบ

    เมื่อกายวาจาใจของโยมสงบแล้ว ธรรมย่อมบังเกิด คำว่า"ธรรมบังเกิด"ธรรมบังเกิดอย่างไรเล่า ก็ต้องเกิดจาก"เหตุ" เพราะโยมเกิดจากเหตุเช่นเดียวกัน เกิดจากโคลนตมก็ดี เกิดจากความไม่รู้คืออวิชชา โยมถึงได้เกิดขึ้นมา ล้วนแล้วแต่เกิดจากเหตุทั้งนั้น ดังนั้นเมื่อฉันว่าธรรมบังเกิด นั่นแลเหตุจักบังเกิด

    เหตุเกิดจากที่ใดที่ทำให้มนุษย์เป็นทุกข์ ก็เกิดจาก"รูป"ไงจ๊ะ จากขันธ์ ๕ คือกองทุกข์ ในรูปที่โยมไปติด ในกายที่โยมไปหลง ไปยินดีพอใจว่านั่นตัวกูของกูนั่นแลจึงทำให้เกิดทุกข์ เวทนาคือความรู้สึกนั้นแล ความพอใจ เพราะไปยึดมั่นถือมั่นไว้ จึงเกิดการปรุงแต่งของสังขาร ดังนั้นโยมต้องไปพิจารณาสิ่งเหล่านี้ นั่นคือการไป"ละอารมณ์ "

    หัวใจของกรรมฐานคือ"เพียรละ" ละอารมณ์ แล้วไปละที่ไหน ไม่ได้ให้โยมไปละอารมณ์ภายนอก อารมณ์ภายนอกนั้นมันเป็นมายา โยมจะเอาสิ่งที่เป็นมายานั้นมาพิจารณาธรรมให้เกิดธรรมโดยแท้..เป็นไปไม่ได้ แต่มายาทางโลกของโยมนั้น เพียงให้เห็นทุกข์โทษภัยแล้วน้อมเข้ามาสู่ภายใน แล้วโยมจะเห็นของจริงนั้นแล แบบนั้นเรียกเป็น"อุบายธรรม"ได้

    ดังนั้นโทษภัยแห่งวัฏฏะที่แท้จริงแล้ว คืออยู่ในกายตน คือการหลงตน ถือตน ยึดตน นี้แล เมื่อโยมครองกายนี้ คิดว่ากายนี้เป็นสรณะแล้ว สิ่งอื่นที่ยิ่งกว่านี้คงเข้าหาโยมไม่ได้ เพราะโยมนั้นไม่ได้เปิดทาง เปิดโอกาสและน้อมรับสิ่งอื่น ก็เรียกว่ายังถือดี ถือตนอยู่อย่างนี้ นั้นเรียกว่าต้องเดินปัญญา

    บุคคลที่เดินปัญญาเจริญจิตภาวนาอยู่จึงเกิดตัวรู้ ตัวรู้นั้นคือเกิดจากสติไประลึกและไปกำหนด เมื่อจิตไปกระทบกำหนดนั้นแลมันถึงจะเกิดสภาวะเกิดขึ้น สภาวะตัวรู้ ไปรู้อะไร ถ้ารู้ภายนอกยังไม่ใช่ธรรมที่แท้จริง เพราะนั่นเรียกปัญญาทางโลก คือมันไม่มีที่สิ้นสุดแห่งการปรุงแต่งแห่งจิต แต่ถ้าโยมเห็นภายในในกายนี้แล เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ เห็นว่าสิ่งนั้นไม่เที่ยง เห็นว่าสิ่งนั้นเป็น"อนัตตา"

    คำว่าอนัตตานั่นคือการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จนที่สุดมันไม่มีอะไรจะให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา สิ่งนั้นแลเรียกว่าความว่างเปล่า คือไม่มีตัวมีตน ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา เป็นแค่สภาวะหนึ่งที่เราไปยึดว่ามันมี ว่ามันใช่ เมื่อโยมคลายความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ในสิ่งนี้โยมจักเห็นความเป็นจริง ตลอดถึงตัวปัญญา..นี่เรียกว่า"ตัววิมุติ"

    คำว่าวิมุตินี้ก็เรียกว่าโยมจะข้ามพ้นในทุกข์ ในอารมณ์ที่โยมไปติด คำว่าวิมุติตัวนี้ถ้าโยมทำให้มันเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ นั้นเรียกว่าเดินข้ามสมมุติบัญญัติ บัญญัติแห่งมนุษย์ที่ว่าโลภ โกรธ หลง มนุษย์ทั้งหลายย่อมมีกันเป็นพื้นฐาน เป็นกรรมที่ติดมา ไอ้โลภ โกรธ หลงนี้ต้องทำอย่างไร นี่แลคือไฟสามกองที่จะลุกโชนเผาไหม้โลกใบนี้และมนุษย์ทั้งหลาย

    ก็เพราะเหตุนี้แลมันจึงมีผลมีปัจจัยตามมา ว่าด้วยกรรมเมื่อกระทำแล้วย่อมให้ผล หากกรรมชั่วเมื่อทำไป ย่อมให้ผลเป็นทางที่ต้องทนทุกข์ ถ้ากรรมดีย่อมให้ผลเป็นสุขได้

    ดังนั้นโยมต้องเดินปัญญา สตินั้นให้ไปอยู่ในฐานแห่งกาย แห่งความเป็นจริง แล้วโยมจะได้ปัญญา เมื่อโยมได้แล้วแม้ว่าโยมจะอยู่ ไม่ได้หลับตาก็ตาม ไม่ได้นั่งก็ตาม โยมจะทำอะไรในอิริยาบถใดก็ตาม เมื่อจิตที่โยมฝึกดีแล้ว กำหนดสิ่งใดอยู่ภายในกาย กำหนดรู้ลมก็ตาม เมื่อลมสงบนิ่งธรรมก็ย่อมบังเกิด เขาจึงบอกว่าต่อหน้าธรรม ต่อหน้าพระพุทธ ต่อหน้าพระปฏิมากร จงสำรวมกาย วาจา ใจ ให้เกิดศีล แล้วโยมจักได้ธรรม...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    5FEE74DB-408D-462B-9E5C-2CF26CE60CDA.jpeg

    คำว่าพรหมจรรย์นั้นคืออะไร คือการทำจิตให้บริสุทธิ์ให้สว่างให้สงบดังนี้แล เรียกว่ามีศีลมีพรหมจรรย์ หรือเรียกว่าศีล การสำรวมกาย วาจาได้นี้แล การเท่าทันในความคิด..เหล่านี้เรียกว่าสติทั้งนั้น ดังนั้นอันว่าข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย มันเป็นแค่อุบายแห่งธรรม ให้เราอยู่ในกรอบคุณงามความดี หากไม่อย่างนั้นแล้ว จิตเราจะเตลิดเปิดเปิงไปได้ไกล ที่จะทำให้กิเลสตัณหาเรานั้นมันผุดขึ้นมาอีก

    ดังนั้นการจะทำให้กิเลสตัณหามันดับลงไป เพื่อไม่ให้จิตนั้นอกุศลนั้นมันเกิดขึ้นมาอีก เรียกว่า..เป็นการปิดอบายภูมิ เพื่อให้เข้าถึงกระแสพระโสดาบัน เราจะมีความเชื่อความศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้ร่างกายสังขาร แม้ชีวิตก็ยอมตายได้ในการประพฤติปฏิบัติ

    นั่นก็คือต้องมีขันติธรรมในการเจริญโมกขธรรม มีความเจ็บความปวดให้มีความอดทนอดกลั้นข่มใจได้ ไม่ว่าสภาวการณ์ใดก็ตาม เหล่านี้เรียกว่าเรานั้นได้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรามีที่พึ่งเป็นสรณะแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นการปิดอบายภูมิได้

    แต่ถ้าเรายังมีจิตที่ยังสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือศีลก็ดี อย่างนี้แล้วเรียกว่ายังประมาทอยู่ ยังไม่พ้นอบาย นั้นการจะปิดอบายได้เราต้องมีหลักที่เป็นสรณะ ต้องมีความเชื่อความศรัทธาถึง ดังนั้นการจะทำให้ถึงไม่ใช่มาบอกว่าใครมาบอกว่าให้ทำให้ถึง แต่เราต้องปฏิบัติให้ถึง..ให้ถึงอะไร ให้ถึงในความเพียร ให้ถึงในสัจจะ ให้ถึงในขันติธรรม นั่นเรียกว่าให้เข้าถึงในบารมีทั้ง ๑๐

    นั้นการอบรมบ่มจิตในทาน ศีล ภาวนานี้ เมื่อเราอบรมได้ทั้งสาม นั่นก็เรียกว่าเรานั้นได้ครบองค์สาม เมื่อเราครบองค์สามแล้ว บารมีทั้ง ๑๐ มันก็จะสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง นั้นทานคือการสละอบรมบ่มจิตให้รู้จักการให้ หากเราไม่มีทรัพย์ภายนอก เราก็ให้ทรัพย์ภายในได้

    อันว่าทรัพย์ภายในมีอะไรบ้าง โยมรู้มั้ยจ๊ะทรัพย์ภายใน โยมไม่รู้จักทรัพย์ภายในเหรอจ๊ะ ที่มันออกมาจากใจจากภายใน ใจมันอยู่ภายในมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : อยู่เจ้าค่ะ) แล้วอะไรบ้างที่มันออกมาจากใจได้บ้าง ที่จะให้ (ลูกศิษย์ : ให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ) รอยยิ้มนี่มันออกมาจากข้างในได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ได้เจ้าค่ะ) นี่จัดว่าเป็นทาน รอยยิ้มนี่จัดว่าเป็นทาน มีอะไรบ้างที่ออกมาจากภายในได้อีก

    การให้กำลังใจให้ความจริงใจ..มาจากภายในมั้ยจ๊ะ นี่เค้าเรียกว่า"ทรัพย์ภายใน" อย่าบอกว่าฉันไม่มีทรัพย์อันใดเลย..จริงๆไม่ใช่ กายสังขารนี้เค้าเรียกว่าเป็นอุดมมงคลทรัพย์ที่สุดแล้ว หากเราไม่มีทรัพย์ภายนอก เราก็ให้ทรัพย์ภายในได้ ให้กายเป็นทานได้ ให้เป็นอริยทรัพย์ได้ ให้อภัยทานได้ ถ้าโยมทำได้อย่างนี้..นี่แลเค้าเรียกว่าเจริญพรหมจรรย์ เค้าเรียกว่าเจริญพรหมวิหาร ๔

    การเจริญพรหมวิหาร ๔ ได้มันต้องละความโกรธได้ ละความพยาบาทได้ ที่จะเข้าถึงเป็นผู้มีความเมตตา เมื่อเป็นอย่างนี้มันย่อมเข้าถึงกระแสพระนิพพานได้ง่าย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะว่าความเมตตามันหล่อเลี้ยงดวงจิตอย่างนี้ มันจะไม่มีความอาฆาตพยาบาทกับผู้ใด ไม่เป็นเวรเป็นภัยกับผู้ใด เมื่อนั้นจิตมันก็จะสงบอยู่ตลอดเวลา เมื่อนั้นแลศีลมันก็จะหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ถ้าทำอย่างนี้ได้ เรียกว่าผู้นี้พ้นจากอบายภูมิแน่นอน

    ใครที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ป่วยทั้งนั้น เรียกว่าติดโรค ติดอะไรได้บ้างในโลกธรรม ๘ เราต้องมารักษา เอาอะไรมารักษามาเยียวยารักษาจิตนี้ ก็คือศีล..รักษาได้ทุกโรค เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราต้องเอาศีลรักษา ศีลจะเกิดได้เราต้องทำยังไง หนึ่งภาวนา สองเจริญมนต์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เจริญวิปัสสนาญาณ อย่างนี้มันจะทำให้เกิดศีล

    เมื่อใครทำให้เกิดศีลในตัวแล้ว นั่นแลเค้าเรียกว่ามียาถอนพิษแล้ว ศีลเกิดตั้งมั่นได้นานเพียงใด พิษโยมก็จะคายออกมากเพียงนั้น ออกมาอย่างไรทำให้เรารู้สึกเราเห็นได้ ออกมาจากเหงื่อก็ดี มันจะขับของเสียออกมา นั่นแหล่ะจ้ะเค้าเรียกว่าพิษทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันจะมีกลิ่นออกมาตามรักแร้ก็ดี ตามที่เร้นลับก็ดี ออกมาจากเป็นขี้ไคล ขี้เหงื่อ ขี้ตาก็ดี เหล่านี้เรียกว่าพิษทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วศีลนี้แลเป็นยาถอนพิษขนานเอก เมื่อโยมมียาถอนพิษแล้ว จะทำให้โยมนั้นที่บกพร่องขาดแคลน ไม่สมบูรณ์..มันก็จะกลับมาสมบูรณ์ได้ ขาดแคลนทรัพย์มันก็จะบริบูรณ์ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะฉะนั้นโยมต้องทำขึ้นมาเอง ใครทำแทนโยมก็ไม่ได้ ถ้าทำแทนกันได้แล้วคงรักษาหรือกินแทนกันได้คงหายกัน ใช่มั้ยจ๊ะ

    นั้นจึงเรียกว่ากรรมนั้นเป็นของแต่ละบุคคล ต้องทำขึ้นมาเอง เหมือนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นผู้บอกว่าเจ้าเป็นโรคแบบนี้ต้องกินยาแบบนี้นะ แต่ถ้าโยมไม่เชื่อถามว่าโรคนั้นจะหายไปมั้ยจ๊ะ เมื่อเราเกิดมาในโลกนี้แล้วก็เรียกว่าผู้ติดโรค แสดงว่าโยมป่วยมั้ยจ๊ะ เมื่อป่วยต้องรักษามั้ยจ๊ะ บางคนไม่รู้ว่าตัวเองนั้นป่วย นั้นเมื่อโยมป่วยแล้วโยมต้องรักษา

    แล้วถ้ากล่าวว่าแล้วรู้ได้ยังไงว่าป่วย ดูไม่ยากจ้ะ ถ้าโยมต้องกินอาหารทุกวี่วันนั่นแหล่ะจ้ะ อาหารมันเป็นยา เพราะร่างกายสังขารโยมต้องรับอาหารทุกวัน ใช่มั้ยจ๊ะ เพื่อประทังความหิว อย่างนี้ก็เห็นได้ว่ากายสังขารเราป่วย เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่จิตเล่าจ๊ะ จะเอาอะไรรักษา จิตมันกินอาหารได้มั้ยจ๊ะ จิตมันกินได้ทางอะไร รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อเรากินเข้าไปมากๆแล้วเป็นยังไง ติดรส ติดสัมผัส ติดรูป แล้วก็เป็นกรรมขึ้นมา ก็เรียกว่ายึด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจิตมันก็หนัก ใช่มั้ยจ๊ะ เมื่อจิตมันหนักแล้วจะทำยังไงทีนี้ มันเป็นทุกข์ ลักษณะแบบนี้อุปมาเหมือนจิตนั้นถูกมัดตราสังข์อยู่ แล้วโยมจะไปเกิดได้อย่างไรแบบนี้ โยมก็ต้องเกิดมาอยู่อย่างนี้ แล้วดวงจิตที่ผูกพันธ์กับโยมมีบุพกรรมกับโยม เค้าจะไปเกิดได้มั้ยจ๊ะ..ก็ไปไม่ได้ เพราะต่างคนต่างยึดกันอยู่อย่างนี้

    เราจะทำยังไงจะแก้พันธนาการนี้ออกไป ให้ดวงจิตนี้เป็นอิสระ ก็คือการคลายความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์นี้ ในตัวนี้ ในคนนี้ ในสัญญา เวทนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    คือต้องละเสียให้หมด ไม่ว่าโยมจะสัญญาอะไรอย่างไรก็ตามที ต้องละออกเสียให้หมด คือละในรูปในกาย คือเพ่งโทษไป สัญญาในเวรในพยาบาทอาฆาตใคร..ก็คือการให้อภัยทาน ไม่ติดโทษถือกรรมอะไร แบบนี้เรียกว่าการมาถอนยา เข้าใจมั้ยจ๊ะ การมาขับพิษขับโรค คือมารักษาโรค คือการมาเจริญศีลให้เกิดขึ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    F717271F-6E55-4D50-B1C7-AA6BA929A776.jpeg

    เมื่อโยมมีสุขขอให้ละสุข เมื่อโยมเจอทุกข์ขอให้โยมมีขันติ แล้วปล่อยวางได้..คือไม่ยึด นั่นแหล่ะเรียกว่า"มีธรรม" นั้นทุกข์มันมีเกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นของธรรมดา เมื่อพ้นจากทุกข์ไป..เป็นสุขมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นสุขค่ะ) แล้วเมื่อสุขนั้นมันเกิดความไม่พอใจอีก..เป็นทุกข์มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นเจ้าค่ะ) นั้นในความพอใจไม่พอใจเหล่านี้..อารมณ์เดียวกันมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : อารมณ์เดียวกันค่ะ)

    พิจารณาให้ดีเสียก่อนว่ามันเป็นอารมณ์เดียวกันหรือเปล่า อารมณ์แห่งความพอใจจึงเรียกว่าสุข ก็ไหนว่าอารมณ์ที่พอใจว่าสุขแล้ว แล้วทำไมไม่นานนักอารมณ์นั้นจึงจางหายไปเกิดความไม่พอใจอีกเล่า มันก็เลยกลายเป็นทุกข์ เพราะเหตุว่าความพอใจของโยมนั้นไม่คงที่นั่นเอง หรือความปรารถนาในความอยาก หรือความโลภ หรือความหลงมันมีมาก มันก็เรียกว่าความไม่พอ..มันก็เลยทุกข์

    อะไรที่เกินความพอดี เกินที่เป็นกระแสบารมีของตัวเราเอง..เป็นทุกข์ทั้งนั้น ถ้าเราอยู่ในความพอดีในบุญกุศลของเรา หรือเรียกว่าพอเพียง..จะไม่ทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ทุกวันนี้มนุษย์นั้นที่มันทุกข์เพราะอะไร..มันเกินพอดี ใครทีอะไรก็อยากมีแบบนั้น แต่ไม่ได้ดูบารมีในบุญกุศลของตัวเอง พอไม่ได้อย่างนั้นแล้วก็แสวงหาด้วยการทำผิดศีลผิดธรรม เห็นมั้ยจ๊ะ นี่คือความละโมบ โลกนี้มันจึงป่วย โลกนี้จึงอ่อนแอ โลกนี้มันจึงทรุด

    เมื่อมันทรุดแล้วต้องทำอย่างไร เหมือนว่าโยมแบกภาระช่วยเหลือใครไว้มากมายแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาที่โยมนั้น..เมื่อมันทนไม่ได้แล้ว โยมต้องกอบกู้ตัวเองออกมา ใช่มั้ยจ๊ะ มันก็ต้องสลัดไอ้ที่มันหนักเกิน โลกนี้ก็เป็นเช่นนั้น นั้นผู้ใดที่มีศีลมีธรรมที่ประคองโลกอยู่ได้ มีส่วนช่วยโลก แบ่งเบาภาระโลกก็ดี..

    การสวดมนต์ภาวนานี้ช่วยโลกอย่างไร..ทำให้โลกเย็นขึ้น ปรับสมดุลแห่งธาตุจักรวาลโลกนี้ เพิ่มความคุ้มกัน เพิ่มสนามแรงดันของแม่เหล็กโลก อ้าว..มันเกี่ยวข้องกันยังไงไอ้สวดมนต์ มันเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่ง อารมณ์ที่โยมสวดไปสวดด้วยจิตใจที่เป็นกุศล อารมณ์มันไม่ได้มีความเร่าร้อนของความโลภละโมบ แต่สวดด้วยจิตใจที่เป็นสมาธิ..มันคือความเย็น

    อะไรที่โยมแช่ด้วยความเย็นแล้วมันเป็นการถนอมมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เก็บได้นาน) แต่ถ้าตะบี้ตะบันใช้มันอย่างที่ไม่มีสติ เป็นยังไงจ๊ะ เค้าเรียกเผาผลาญรึเปล่า (ลูกศิษย์ : เผาผลาญเจ้าค่ะ) อย่างนี้โลกจึงร้อน นั้นศีลนี้จึงสำคัญนัก การที่โยมสวดมนต์ภาวนาจิต ย่อมทำให้ที่แผ่นดินในธรณีนั้นมันสูงขึ้น ปรับสมดุลธาตุที่มันเสียให้มันดีขึ้น

    ต่อไปในภายภาคหน้า แม้โลกมันจะมีความพิการเพียงใด เสื่อมเพียงใด แต่สยามประเทศนี้จะยังคงอยู่ ที่จะเป็นชมพูทวีปต่อไปในภายภาคหน้า ดังนั้นบุคคลที่เกิดในสยามนี้จึงเป็นผู้มีบุญมาเกิดนัก ดังนั้นแล้วเมื่อโยมมีโอกาสที่จะได้ตอบแทนในแผ่นดิน ขอให้โยมทำด้วยไม่มีข้อแม้ใดๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อโยมจะสวดมนต์โยมต้องควรเคารพในธรรม ธรรมก็คือบทสวด บทสวดก็คือคำสอนหรือวินัย อย่างนี้ใช่ตัวแทนองค์พระศาสดามั้ยจ๊ะ แสดงว่าในขณะที่โยมกำลังนอบน้อมสวดมนต์ภาวนาอยู่นั้น แสดงว่าอยู่หน้าพระพักตร์องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่าจ๊ะ (ลูกศิษย์ : อยู่เจ้าค่ะ)

    แต่ถ้าโยมไม่ได้ทำด้วยศรัทธา โยมก็หาว่ามีประโยชน์อันใดไม่ เค้าเรียกว่ามีของดีแต่เข้าไม่ถึง มีของดีแต่ใช้ไม่เป็น หรือเรียกว่ามีของดีแต่ไม่รู้จักคุณค่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    8A171F0B-F66F-4DCE-B809-63ECA1895A32.jpeg

    การที่โยมจะดับรูปให้เห็นนาม โยมต้องพิจารณาอสุภะให้มันถึง เห็นร่างกาย ๓๒ นี้ ให้มันถึงความสงบ ถ้ามันไม่ถึงโยมก็ต้องภาวนาให้จิตมันตั้งมั่นให้ได้ ถ้าจิตมันส่ายเซอยู่อย่างนี้เค้าเรียกจิตมันฟุ้งซ่าน แม้โยมจะไปพิจารณาธรรมอะไร มันก็จับหลักปักหลักอะไรไม่ได้

    ดังนั้นแล้วถ้าจิตเรายังอ่อนอยู่ เราก็พิจารณาอย่างอ่อนๆ เหมือนอุปมาเหมือนเราป่วย ก็ต้องหยอดทานอาหารที่มันอ่อนๆ เมื่อจิตเราตั้งมั่นและมีกำลัง เราก็สามารถพิจารณาให้มันกว้างขึ้นมาได้อีก ดังนั้นจิตเรายังอ่อนอยู่ แสดงว่าจิตเรานั้นโอกาสที่เรานั้นจะหลุดจากสมาธิจากสตินั้น..มันก็มีโอกาสมาก เค้าถึงว่าให้เรานั้นมีองค์ภาวนากำกับจิต ให้รู้เท่าทันความรู้สึกของใจนึกคิด นี่เค้าเรียกอุปาทานแห่งขันธ์ทั้งนั้น

    นั้นไอ้ความคิดเหล่าใดที่มันเกิดขึ้น เราไม่สามารถห้ามมันได้ไม่ให้คิด แต่เราสามารถรู้ในความคิดนั้นได้ เมื่อเราไปรู้ความคิดนั้น เราก็สามารถพิจารณาได้อีกว่า ไอ้ความคิดที่คิดมานั้น..มันเป็นความคิดที่เป็นกุศลหรืออกุศล นั่นแลธรรมมันได้เกิดขึ้นแล้ว เราก็พิจารณาลงไป

    ไอ้ตัวพิจารณาลงไปนั่นแล..เค้าเรียกว่าดูในความคิด ดูของอารมณ์ที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปนั่นแล เรียกว่าเห็นอย่างนี้แล้วเค้าเรียกว่าสภาวะนิโรธมันก็บังเกิด คือเรียกว่าตัวดับอารมณ์ ความคิดก็เป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง แต่ถ้าเราปล่อยให้ความคิดมันเกิดขึ้นแล้วปรุงแต่งตามไป ความคิดนั้นมันก็ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย

    นั้นการที่เราจะส่งจิตออกไปภายนอก โอกาสมันมีได้อยู่ตลอดเวลา ส่งไปในทางไหนได้บ้างจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) นั้นการที่โยมจะดับความคิด อยู่ๆโยมจะไปดับเลยได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้จ้ะ) เมื่อเหตุมันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็มีระยะเวลาวิบากกรรมของมันที่มันจะเกิดขึ้นและมันจะดับลง
    เค้าถึงบอกว่าความคิดเราห้ามมันไม่ได้ เมื่อยังมีสัญญาความจำมั่นหมายอยู่ในสังขารนี้ เมื่อยังมีลมหายใจอยู่ ความคิดมันต้องทำหน้าที่ของมัน แต่โยมต่างหากที่ควรรู้หน้าที่..ว่าตัวคิดนี้ที่มันคิดมานั้น มันคิดจากที่ใด จากอดีตหรือไม่ หรือคิดอยู่ในปัจจุบัน หรือความคิดนั้นเป็นอนาคต

    ให้รู้เฉพาะหน้าว่าความคิดก็ดีที่เกิดขึ้นนั้น บางทีมันเป็นอารมณ์เก่า บางทีเป็นอารมณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น บางทีเป็นอารมณ์ในปัจจุบันนั้น เหตุเกิดจากอะไร เหตุเกิดจากจิตโยมนั้นเศร้าหมองทั้งนั้น ก็เหมือนคนที่ตายด้วยจิตนั้นด้วยอกุศลจิตที่เศร้าหมอง ดวงจิตนั้นก็ยังมีบ่วงมีวิบากกรรม บางคนก็ไปเกิดไม่ได้ เห็นมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วการฝึกกรรมฐานเจริญวิปัสสนาญาณ แม้ว่าความคิดมันเกิดขึ้นก็รู้..ว่าความคิดนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล เราก็ได้เรียกว่าได้พิจารณาไปในตัว แต่ถ้าเราไม่รู้เท่าทันในความคิด แล้วไม่สามารถหยุดความคิดนั้นได้ ก็ให้ดูความคิดนั้นเป็นอารมณ์ เราฝึกรู้ ตัวรู้นี้เมื่อรู้มากๆเข้าแล้วมันจะแปรเป็นปัญญาเอง แต่ว่าต้องรู้อยู่ในกายถึงจะเรียกว่าปัญญา ถึงจะเรียกว่าธรรมมันบังเกิด

    ถ้าเราไปรู้นอกกาย..นิโรธมันจะดับไม่ได้ การที่ส่งจิตออกไปภายนอกนั้น มันเป็นอารมณ์ของพวกเวรพยาบาท อารมณ์แห่งโทสะ อารมณ์แห่งโมหะ ดังนั้นเมื่ออารมณ์มันเกิดขึ้น แล้วโยมกำหนดรู้และพิจารณาอารมณ์นั้น จนเห็นอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปนั้นแล โยมจะเห็นสภาวะความไม่เที่ยง

    เมื่อมันดับไปได้นิโรธมันบังเกิด ผลจากจิตที่โยมไปเห็นอารมณ์นั้นแล มันเรียกว่าทางมรรคมันก็บังเกิด เมื่อโยมฝึกอยู่อย่างนี้ เห็นแจ้งอยู่อย่างนี้อยู่บ่อยๆ โยมเห็นความเบื่อหน่ายของจิตของอารมณ์ ที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก็เพราะเราเข้าไปพอใจในกายสังขารนี้..มันจึงหนัก มันจึงวางไม่ได้

    บางคนบอกว่าถ้ามันหนักก็วางสิ แต่นั่นเป็นคำพูดที่พูดได้ง่าย แต่มันทำไม่ได้ เพราะโยมไม่เคยฝึกจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ โดยธรรมชาติของจิต มันไม่ชอบให้ใครบังคับมัน นั่นคืออัตตาตัวตนโดยธรรมชาติของคน เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่การที่โยมมาฝึกฝนอบรมบ่มจิต แล้วสามารถข่มจิตข่มใจ สามารถข่มนิวรณ์ได้ สามารถสดับฟังธรรมเพื่อพิจารณาน้อมรับไปแก้ไขได้นั่นแล สิ่งเหล่านี้ล้วนว่าเรานั้นได้ประพฤติปฏิบัติมา สะสมมา คือเรียกว่ามีความอ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย

    ไม่ได้เป็นทาสแต่เรายอมน้อมรับ เอาเป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย หรือเรียกว่าครูบาอาจารย์ ถ้าโยมไม่มีครูบาอาจารย์ ศิษย์ที่ไม่มีครูฉันไม่เคยเห็นได้ดีซักราย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    991FC524-3045-4C69-8993-D29D5810EC6F.jpeg

    แม้โยมนั่งสมาธิไปในความเคลิบเคลิ้มจิตเคลิบเคลิ้มใจ มีความง่วงเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ฉันบอกให้โยมนั้นพยุงจิตขึ้นมาไว้กลางหน้าผาก ทรงจิตไว้ มันจะทรงค้ำกันอยู่อย่างนั้น แม้มันจะมีความง่วงอ่อนล้าเพียงใด ถ้าจิตยังทรงอยู่อย่างนั้น เพ่งอยู่อย่างนั้น ไม่นานจิตมันจะตื่นขึ้นมาของมันเอง

    ถ้าโยมเอาไปเพ่งอยู่แต่ไม่รู้จุดของจิตที่จะวางจิตได้ เมื่อตัวไม่รู้มันเกิดขึ้นมันคืออวิชชา มันเป็นมายาของจิต สติโยมต้องไม่ตั้งมั่นแล้ว ก็เรียกว่าตัวรู้ตัวสตินั้น..เราไม่ทันมัน แต่ถ้าโยมยกจิตขึ้นมาไว้กลางหน้าผากเมื่อไหร่ โดยธรรมชาติของจิตนี้มันคือที่ตั้งของตัวรู้ แม้โยมจะมีความง่วงความอ่อนล้า..แต่มันก็ยังทรงอยู่อย่างนั้น

    เหมือนไฟที่มันมีกำลังอ่อน แต่ยังพอมีความสว่างมั้ยจ๊ะ..มันยังไม่ได้ดับ แต่ที่นั่งไปแล้วไม่รู้ว่าจิตอยู่ที่ใด..มันก็มืด หลงลืมสติ เมื่อหลงลืมสติแล้วพวกนี้..นิวรณ์มันก็ได้ช่อง นั้นฌานนี่สำคัญนัก นั้นถ้าโยมรู้เมื่อภาวนาพอสงบพอสมควร ให้สำรวมจิตยกจิตขึ้นมาไว้กลางหน้าผาก

    บางคนบอกว่าหลวงปู่ยกไม่ได้ ไม่มีกำลังยก ไม่รู้จะเอาอะไรยกมันขึ้นมา เพราะไม่รู้ว่าสำรวมจิตมันเป็นยังไง ก็ไอ้ความรู้สึกของโยมนั่นแหล่ะจ้ะ..คือสำรวมจิต ถ้าอย่างนั้นแล้วถ้ามันมีความง่วง โยมก็เอาความง่วงเป็นอารมณ์ ทรงอยู่ในความสงบความง่วงอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องไปพิจารณาอะไร แต่ให้มีองค์ภาวนากำกับไว้ เดี๋ยวจิตมันจะตื่นของมันเอง

    แต่ถ้าโยมมีความง่วงแล้ว มีความอ่อนล้าแล้ว แล้วใจโยมไม่สู้ แล้วไม่รู้ว่าขณะนี้โยมทำอะไร นี่แหล่ะจ้ะยังไงโยมก็ต้องตกเป็นทาสของกิเลสอยู่ร่ำไป ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ ให้ประคองกายสังขารจิตนี้ไปเปลี่ยนอิริยาบถ ไปเดิน ไปยืน ไปทรงกายสังขาร มีคนบอกว่าการฝึกสมาธิไม่เห็นยากเลย การฝึกสมาธิเค้าก็เอาแค่จิตฝึก ไม่เห็นต้องมาทรมานกายสังขารเลย พอง่วงก็ไปนอน แล้วก็พิจารณาภาวนาไป..ไม่มีทางหรอกจ้ะ

    แม้โยมจะไปทำอย่างนั้น..ไม่มีใครจะพิจารณาอะไรได้ พอเมื่อโยมไปทำอย่างนั้นแล้ว มันมีความเคลิบเคลิ้มจิตแล้ว ทีนี้ก็ไปเอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ แต่การที่เราเอากายสังขารมาฝึกจิตมาทรมานในกิเลสตัณหา..เพื่ออะไร เพื่อละอาการของสุข และเพื่อการฝึกขันติแห่งธรรม

    เพราะไอ้ขันธมารเป็นตัวขัดขวางอยู่ เมื่อโยมไม่ขัดเกลามัน โยมก็ต้องตามกิเลสอยู่ร่ำไป พอเวลาเราจะหลับนอน..เราก็ไม่นอน เวลาเราจะบริโภค..เราก็บริโภคพอสมควรนั้น นี่เค้าเรียกว่าการตัดใจตัดกรรม เมื่อตัดอยู่บ่อยๆ..กรรมมันลดมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ลดเจ้าค่ะ) การบริโภคมากนี่ก็เป็นกรรม เพราะมันเป็นโทษ แต่เมื่อเราจะหิว แต่ในความหิวนั้นต้องดูด้วยว่าเป็นความอยากหรือไม่

    ถ้าเป็นความอยากเมื่อไหร่..ตัวกิเลสเกิดขึ้นแล้ว ตัวกรรมเกิดขึ้นแล้ว นั่นเค้าเรียกว่ามีภัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะแท้ที่จริงแล้วการบริโภคอาหารนี้เพียงเพื่อยังอัตภาพนี้ให้มีแรงอยู่ ความหิวกับความอยากเหมือนกันมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่เหมือน) หิวนี้มีความรู้สึก ส่วนความอยากนี้คืออะไร..คือความต้องการ ใช่มั้ยจ๊ะ

    มันก็เหมือนการที่โยมฝึกมาปฏิบัตินั้นแล อยากจะปฏิบัติ อยากจะนั่งสมาธิ อยากจะสวดมนต์ อยากจะหลุดพ้น เป็นกิเลสมั้ยจ๊ะ แบบนี้ไม่ใช่เรียกกิเลส มันไม่ใช่เป็นโทษมันจึงไม่เป็นกิเลส กิเลสมันต้องเป็นโทษมันถึงเรียกตัวกิเลส ทำไปแล้วเป็นโทษ เหมือนที่โยมกินมากแล้วเป็นโทษอย่างนี้เรียกกิเลส ทำอะไรแล้วเป็นโทษนั่นเรียกตัวกิเลส ตัวมาร หรือเรียกว่าตัวกรรม หรือตัวอกุศล

    แต่ในความอยากใดเมื่อทำไปแล้วเป็นประโยชน์เป็นกุศล เป็นไปในทางการสร้างบารมี..ไม่เรียกว่าตัวกิเลส แต่เรียกเป็นการสะสมบารมี เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนมานะทิฏฐิแล้วเอาไปลดละทิฏฐิของตน เช่นอยากจะเอาชนะตัวเอง..เป็นมานะทิฏฐิมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นค่ะ) แต่ไอ้ตัวอยากเอาชนะนี้เป็นตัวฆ่ามานะทิฏฐิอีกทีหนึ่ง เห็นมั้ยจ๊ะ แล้วอย่างนี้เรียกกิเลสมั้ยจ๊ะ

    มานะทิฏฐิคือการถือตน แต่การอยากละฆ่ามานะทิฏฐินี่เรียกว่าการทำลายมานะทิฏฐิ อันนี้เรียกว่าเป็นการสร้างบารมี เหมือนที่โยมจะไปชนะใคร แต่หันกลับมา..ถ้าเราชนะใจตัวเองได้ ไม่พยาบาทตอบได้นี่แล..เป็นการทำลายมานะทิฏฐิตัวเอง เป็นการเอาชนะใจตน..ก็ชื่อว่าชนะผู้อื่น แต่เป็นการที่จะเอาชนะผู้อื่นกับไอ้การสร้างเวรเพิ่ม ดังนั้นขอให้โยมพิจารณาให้มาก

    ถ้าเราปฏิบัติมากๆแล้ว คำว่าเมตตาจิตเป็นอย่างไร ผู้ที่มีเมตตาจิตเค้าเรียกมีธรรมคุณธรรมสูง มีเรื่องที่จะโกรธแต่ไม่โกรธ ดังนั้นอะไรก็ตาม มีอย่างหนึ่งว่าอะไรก็ตามที่มันเกิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่มากระทบจิตให้เราเกิดมีอาฆาตพยาบาท มีความพอใจไม่พอใจ สิ่งเหล่านั้นล้วนแล้วนั้นเราเคยกระทำมาทั้งนั้น ถ้าเรายิ่งไปกระทำตอบไปพยาบาทตอบแล้ว แสดงว่าเรานั้นยังไม่จบเวรนั้น กรรมจะยุติลงไม่ได้

    แล้วอย่าบอกว่าเราไม่เคยทำอะไรแล้ว ทำไมเค้าจึงมาทำเรา..ไม่จริง ถ้าเรายังมีอารมณ์แบบนั้นอยู่แห่งไฟโทสะ โมหะ ความอิจฉาริษยา ความถือดีเหล่านี้ ล้วนแล้ววิบากกรรมนั้นวนเวียนมาเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้ดับที่ใจของตัวเราเอง เมื่อเราดับที่ใจเราได้ ใจเราก็สบาย ไอ้คำว่าสบาย..มันคือสุข

    แต่คนที่มันดับไม่ได้มีความเร่าร้อน..มันสบายมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่สบาย) มันจะหาวิธีอยู่ตลอดเวลาที่จะเอาชนะหรือกลั่นแกล้งคนอื่น นั่นเค้าเรียกว่ากำลังเผาไหม้ตัวเอง สร้างโทษให้ตัวเอง นั้นการเอาชนะผู้อื่นที่แท้จริงด้วยการเจริญเมตตาจิต ก็คือการเอาชนะตัวเองให้ได้ เมื่อโยมเมตตาตัวเองได้แล้ว เมื่อโยมแผ่เมตตาให้ใคร กุศลที่เมตตาที่แผ่ออกไปนั้นมันจะเข้าถึงบุคคลที่เป็นเวรพยาบาทกับเรา

    นั้นการปล่อยวาง..มันต้องวางอะไร มันต้องวางอารมณ์ให้ได้ก่อน ถ้าเราวางอารมณ์ไม่ได้ ดับอารมณ์ไม่ได้ เมื่อเรามีโอกาสอารมณ์เหล่านั้นมันก็เกิดขึ้นอีก ดังนั้นการเอาชนะข่มใจตัวเองได้อยู่บ่อยๆนั่นแล เรียกว่าการฆ่ามานะทิฏฐิของตัวเอง นั่นคืออัตตาตัวตน ดังนั้นก็ขอให้โยมจงไปพิจารณาดู..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    9AD0E5CC-0CE9-4B90-8316-EF8FE8243BFC.jpeg

    ฉันจะบอกว่า"นิพพาน"มันอยู่ระหว่างอะไรกับอะไร อยู่ระหว่างรอยต่อของอะไรถึงอะไร มันก็คือสภาวะอารมณ์ ถ้ายังมีอารมณ์อยู่..เรียกว่านิพพานได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ค่ะ) อ้าว..แล้วถ้าไม่มีอารมณ์เรียกว่านิพพานได้มั้ยจ๊ะ (ได้ค่ะ) แล้วในสภาวะที่ไม่มีอารมณ์..แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าไม่มีอารมณ์แล้ว..จึงเรียกว่านิพพาน (ลูกศิษย์ : หมดอยาก ไม่มีอารมณ์พอใจไม่พอใจค่ะ)

    อ้าว..ถ้าโยมกล่าวอย่างนั้นก็ว่า เมื่อโยมทุกข์โยมก็วางได้ เมื่อโยมสุขโยมก็วางได้..คือไม่ยึด อยู่ระหว่างทุกข์และสุข..นี่คือสภาวะนิพพาน บางคนอยู่เสวยจิตเป็นนิพพานได้แม้ยังไม่ตาย หรือยังไม่บรรลุ หรือยังไม่ดับกายสังขาร คือเมื่อทุกข์มันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นทางกายหรือทางใจก็ตาม..ยอมรับมัน ให้เห็นว่านั่นคือเป็นของธรรมดา ไม่ดิ้นรน ไม่ต่อต้าน ไม่ฝ่าฝืน

    เห็นทุกข์นั้นพิจารณาทุกข์นั้น..ให้เห็นกฎแห่งไตรลักษณ์แห่งความเป็นจริงอย่างนี้ แล้วเมื่อมีสุขก็ไม่หลงไม่เพลิน ไม่ยินดีพอใจ ถ้าโยมอยู่ระหว่างทุกข์และสุขได้ แม้โยมดับขันธ์ไป..นั่นก็เรียกสภาวะนิพพาน ถ้าโยมยังอยู่ในทุกข์อยู่ แล้วพอมีสุขโยมก็เพลินอยู่..นี่เรียกว่าอารมณ์ทั้งนั้น

    เพราะในระหว่างที่โยมทุกข์ แต่โยมไม่ยึดในทุกข์นั้น ดับอารมณ์ได้มั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าวางอารมณ์ เมื่อไม่สุขก็คือไม่เพลิดเพลินยินดีอีก..คือไม่ติดในสุขอีก เมื่อไม่ติดในสุขไม่ติดในอารมณ์..อารมณ์เกิดขึ้นได้มั้ยจ๊ะ มันก็ดับอยู่ตลอดเวลา เห็นว่าอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นมันเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไปเป็นของธรรมดา จิตมันก็ว่าง

    นั่นแหล่ะจ้ะ คำว่าว่าง..ที่ไม่มีอารมณ์ไปเกี่ยวข้อง แต่ว่างด้วยรู้ว่าเราไม่ยึดไม่ติด นั่นคือสภาวะนิพพาน นั้นการที่โยมจะเจริญสมาธิเจริญพระกรรมฐาน เค้าถึงบอกให้โยมนั้นต้องรู้อริยสัจก่อน เหตุแห่งทุกข์ หรือทุกข์สิ่งที่ทนได้ยาก นิโรธคือการดับทุกข์ มรรคคือทางเดินออกจากทุกข์ แล้วโยมจะเห็นกฎแห่งความเป็นจริงของกฎแห่งธรรมชาติ คือกฎแห่งไตรลักษณ์ อย่างนี้แลถ้าใครเห็นได้อย่างนี้..นิพพานได้ทุกคน

    อ้าว..แล้วการจะนิพพานได้อย่างไร นั้นโยมต้องรู้ทุกข์ก่อน ว่าทุกข์มันเกิดที่ใด ถ้าบุคคลไม่รู้ทุกข์ โยมจะไปหาที่ดับทุกข์ได้มั้ยจ๊ะ บางคนไปหาที่ดับทุกข์อยู่ภายนอก ไปหาเหตุอยู่ภายนอก เหตุว่าคนนั้นทำให้เราทุกข์ เหตุว่าผู้นั้นทำให้เราทุกข์ เหตุว่าผู้นี้เป็นต้นเหตุให้เราทุกข์..ภายนอกมั้ยจ๊ะ

    แต่ไม่เคยมองกลับว่า..ตัวเราต่างหากที่ทำให้ตัวเองทุกข์ ใช่หรือเปล่าจ๊ะ นั้นถ้าโยมมองว่าตัวเราที่เป็นต้นเหตุทำให้เราทุกข์เมื่อไหร่..สภาวะธรรมมันก็จะบังเกิด นิโรธมันก็บังเกิด แต่ถ้าโยมเห็นว่าบุคคลผู้นั้นเป็นต้นเหตุให้เราทุกข์เมื่อไหร่..เวรพยาบาทก็บังเกิด นิโรธจะดับได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) โยมจะเข้าถึงอริยสัจธรรม ๔ ประการไม่ได้เลย

    เพราะเหตุแห่งธรรมทั้งหลาย..เพราะว่านิพพานต้องดับอยู่ในกายสังขาร ดับอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ดับอยู่ภายนอก และสภาวะธรรมต้องเกิดขึ้นอยู่ภายใน ถ้าโยมยังเพ่งโทษคนอื่นมันเป็นธรรมมั้ยจ๊ะ..มันเป็นอกุศลธรรม มันไม่ใช่กุศลธรรม นั้นคำว่านิพพานที่โยมจะเกิดขึ้น ที่เราจะเสวยในอารมณ์แล้วเห็น แล้วโยมทรงอารมณ์นั้นไว้อยู่บ่อยๆ จิตโยมก็ว่างอยู่บ่อยๆ

    ในความว่างของจิตนั้น..ไม่ใช่บอกว่าจิตนั้นไม่รู้ไม่เห็น แต่ในความว่างคือวางได้ ปลงได้ สละได้ จึงเรียกว่าจิตวางได้ นั่นแสดงว่าจิตต้องเป็นผู้รู้ หากวิญญาณดับแล้ว..ตัวรู้จะบังเกิดอยู่ได้มั้ยจ๊ะ ตัวรู้ก็ย่อมบังเกิดได้เพราะจิตยังอยู่ จิตคือผู้รู้ แต่วิญญาณคืออารมณ์ที่เข้าไปเสวย

    ถ้าโยมดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ ดับอารมณ์ในวิญญาณของขันธ์ ๕ ได้ ก็เหลือแต่จิตผู้รู้ นี่ถ้าจิตโยมไม่รู้..ดับได้มั้ยจ๊ะ สภาวะนิพพานจะแจ้งได้มั้ยจ๊ะ เพราะโยมยังวางไม่ได้ ปลงไม่ได้ ละไม่ได้ ตัดไม่ได้ มันจะนิพพานได้อย่างไร นั้นการที่โยมจะมาเจริญภาวนาจิตโยมต้องทำให้ได้ก่อน ต้องรู้อริยสัจก่อน รู้เหตุแห่งทุกข์ก่อน นั่นคือการตัดอาฆาตพยาบาท คือไม่ส่งจิตออกไปภายนอก ไม่เห็นว่าใครนั้นเป็นต้นเหตุให้เราทุกข์ หาใช่อย่างนั้นไม่..

    เราต่างหากที่ทำเป็นต้นเหตุให้เราทุกข์ ก็คือ"การเกิด"ทำให้เราทุกข์ แสดงว่านี่เหตุหลักใหญ่ที่เราต้องแก้ ต้องเข้าไปดูว่าเราเกิดจากอะไร มีคนบอกว่าเกิดจากความไม่รู้ แล้วไม่รู้อะไร อ้าว..ก็ไม่รู้แจ้งแห่งการเกิด ไม่รู้แจ้งแห่งอริยสัจ จึงไม่รู้กฏแห่งไตรลักษณ์ เมื่อไม่รู้กฎแห่งไตรลักษณ์แล้ว มันก็เรียกว่าอวิชชามันยังบดบังอยู่

    ถ้าโยมรู้ว่าการเกิดเป็นทุกข์อย่างไร โยมก็ต้องเพ่งโทษในกาย การเกิดทุกครั้งเป็นทุกข์อย่างยิ่ง แล้วจะทำยังไงไม่ให้มันเกิด ที่มันเกิดเพราะมันมีความอยาก แล้วความอยากมันมาจากไหน (ลูกศิษย์ : ความต้องการ) เออ..ถูกแล้วคือความต้องการของโยม ไอ้ความพอใจและไม่พอใจนั้นแหล่ะจ้ะ..

    เมื่อโยมพอใจเป็นสุขมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : สุขค่ะ) สุขนั้นเป็นกิเลสมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นเจ้าค่ะ) เมื่อไม่พอใจเป็นเวรพยาบาทมั้ยจ๊ะ เวรพยาบาทตัวนี้แหล่ะจ้ะที่มันข้ามภพข้ามชาติ มันจองเวรจองกรรมมาตลอดเวลา แล้วไอ้ความอยากนั้นที่โยมสุขโยมมีพอใจ เมื่อโยมบอกว่าเกิดเป็นมนุษย์แล้วเป็นสุขโยมก็อยากจะเกิดอีก

    เกิดเป็นสุนัขไม่ต้องทำอะไร วันๆเอาแต่นอน มันก็ติดในภพนั้นอยากเกิดอีก อย่างนี้..เพราะไม่รู้โทษภัยในการเกิด ถ้ารู้โทษภัยในการเกิดว่าเกิดมาแล้วต้องเป็นอย่างไร..ต้องเจ็บ ต้องป่วย ต้องชรา ต้องพลัดพราก นี่คือโทษมัน ใช่มั้ยจ๊ะ เมื่อโยมยังไม่เห็นความเบื่อหน่ายอย่างนี้ อารมณ์แห่งนิพพิทาญาณมันก็ไม่เกิดขึ้น

    นั้นคนที่อยากปรารถนาจะพ้นทุกข์ อยากเข้าถึงสภาวะนิพพาน คือเส้นทางสายพิเศษที่ไม่ต้องมาเกิดเวียนตายเวียนเกิดอีก อยู่ในสภาพความว่างของจิตที่ไม่มีความอยาก ถ้ายังมีความอยากยังมีอารมณ์เสวยอยู่..ภพชาติยังต้องเกิดอยู่ นั้นโยมต้องรู้ก่อนว่าเราเกิดมาอย่างไร

    แสดงว่าผู้ที่มีความอยากประพฤติปฏิบัติเพื่อหวังทางหลุดพ้น เพื่อปรารถนาพระนิพพาน แสดงว่าบุคคลผู้นั้นมีญาณกันทั้งนั้น แต่ทำไมญาณของโยมมันไม่แข็งแรงเพราะอะไร เพราะโยมยังเจริญความเพียรไม่ถึง ศรัทธายังไม่ถึง เค้าเรียกว่ากำลังหรือพละทั้ง ๕

    พละทั้ง ๕ มีอะไรบ้างจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มีศรัทธาค่ะ) มีศรัทธาแล้วต้องมีอะไรอีก (ลูกศิษย์ : มีความเพียร) มีความเพียรแล้วมีอะไรอีก (ลูกศิษย์ : มีสติ) เมื่อโยมมีสติมันก็มาคู่กับอะไร (ลูกศิษย์ : สมาธิค่ะ) เออ..สมาธิและปัญญา ถ้าโยมมีครบอย่างนี้ ต่อให้โยมมีกิเลสตัณหามากเพียงใด..โยมก็นิพพานได้ พ้นทุกข์ได้ทั้งนั้น ขอให้โยมพิจารณาธรรมอย่างนี้ให้มาก..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    D6D73B1E-6DAB-4485-87F1-48E3A9F2E27B.jpeg
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    69B85254-F984-4F88-869B-42EBA75DD915.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่ครับ แล้วจริงมั้ยครับที่ว่ามนุษย์ทุกคนนี่ถูกกำหนดชะตาชีวิตมา ว่าต้องเสียชีวิตตอนกี่ปีกี่ปี ถูกกำหนดมาแล้วใช่มั้ยครับหลวงปู่..

    หลวงปู่ : มันไม่มีใครกำหนดหรอกจ้ะ เค้าเรียกกรรมมันกำหนด ไม่มีใครที่จะกำหนดเราได้ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้กำหนด พรหมก็ไม่ได้กำหนดชะตาชีวิตพวกโยม แต่กรรมต่างหากที่โยมกำหนดขึ้นมาเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมเป็นผู้กำหนดทั้งนั้น แต่การที่โยมจะแก้ไขในกรรม โยมต้องแก้ในปัจจุบัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ อนาคตก็จะเปลี่ยนได้

    อดีตแก้ไขไม่ได้ แต่อดีตสามารถบอกได้ว่าในปัจจุบันโยมเกิดจากกรรมอะไร ใช่มั้ยจ๊ะ เค้ามาให้แก้ไขในปัจจุบันซะ ถ้าโยมยังทำเหมือนเดิม โยมว่ากรรมโยมจะเปลี่ยนมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่เปลี่ยนค่ะ) แต่ถ้าโยมแก้ไขพฤติกรรมใหม่ กรรมโยมเปลี่ยนมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เปลี่ยนค่ะ) แสดงว่าพรหมไม่สามารถมาลิขิตชะตาชีวิตโยมได้ ใช่มั้ยจ๊ะ โยมต่างหากเป็นผู้ลิขิต

    นั้นอย่างที่ฉันบอกกรรมมันมีอำนาจ ถ้าโยมยังไม่สามารถฝืนวิบากกรรมได้ แสดงว่ากรรมมันยังหนักมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นเราจะทำยังไงให้กรรมเรานั้นเบาบาง เราต้องสร้างกรรมดีให้มาก เหมือนเรามีน้ำดี น้ำเสียมันก็เสียของมันอยู่แล้ว แต่เราเติมน้ำดีให้มันมากๆ ให้มันมากๆ น้ำเสียก็จะมีน้อย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไอ้น้ำดีก็ยังใช้ประโยชน์ได้

    นั้นกรรมดีเมื่อโยมสร้างไว้มากๆแล้ว กรรมที่ไม่ดีมันจะให้ผลมีอำนาจมีกำลัง..มันก็อ่อนกำลังลง เพราะกรรมดีมีกำลังมากกว่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมไปสร้างกรรมไม่ดี กำลังแห่งกรรมไม่ดีมันก็มีกำลัง ถ้าโยมไม่สร้างกรรมดีเลย กินแต่บุญเก่า กรรมในอดีตที่มันไม่ดีมันก็มาส่งผลโยมอีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมทำกรรมดีในปัจจุบัน แต่กรรมชั่วมันมาส่งผลเมื่อมันถึงเวลาของมัน ชะตาชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อถึงเวลาชะตาชีวิตแล้วมันต้องส่งผลในกรรม เพราะกรรมอะไรที่ทำไว้แล้วไม่ให้ผล..ไม่มี เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราพูดว่าใครไปซักคำหนึ่ง..ให้ผลทั้งหมด เหมือนเรานินทาใครไป ซักวันหนึ่งสิ่งนั้นจะกลับมาหาเรา เราก็จะโดนนินทาในสิ่งนั้น จำไว้นะจ๊ะ ไม่ว่าสิ่งใด

    ย้อนกลับไป..สิ่งที่เราทำในกรรมดีแม้ไม่มีใครเห็น ซักวันหนึ่งมันจะให้ผลเช่นเดียวกัน นั้นเมื่อกรรมที่เราทำไว้ไม่ดีแล้ว เราไม่ทำกรรมดีไว้เลย ไม่แก้ไขพฤติกรรมแล้ว นี่เรียกว่ากรรมเป็นผู้กำหนด ใช่มั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมแก้ไขพฤติกรรม กำหนดกรรมดีขึ้นมาใหม่ กรรมกำหนดมั้ยจ๊ะ..ก็โยมเป็นคนทำขึ้นมาทั้งนั้น

    ดังนั้นแล้วโยมอย่าคิดว่าโยมมีอายุขัยอีกเท่านี้ โยมต้องอย่าลืมว่าบวกลบคูณหารแล้ว ว่ากรรมในอดีตที่โยมฆ่าสัตว์ เบียดเบียนคนอื่นเค้ามาน่ะ..มันมาลดบั่นทอนอายุโยมอีกเท่าไหร่ อายุจริงๆโยมเหลืออีกเท่าไหร่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ้าว..บางคนเกิดมายังไม่ทันลืมตาดูโลกก็ตายแล้ว เพราะว่าบวกลบคูณหารแล้วไม่พอที่จะมีชีวิตเกิดขึ้นมา..ตาย ใช่มั้ยจ๊ะ

    นี้โยมมีอายุเกิดขึ้นมาได้ บางคนมีอายุเกิดก็ดีมีลมหายใจลืมตาดูโลก..แต่อาการไม่ครบ ๓๒ อีกเห็นมั้ยจ๊ะ นั้นโยมที่ว่ามีบุญกุศลบารมี มีอาการครบ ๓๒ มีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติในธรรม เพราะร่างกายสังขารมนุษย์นี้เป็นร่างกายที่สามารถประพฤติปฏิบัติธรรม สามารถใช้กายสังขารได้ฝึกจิต แล้วถ้าโยมเป็นสุนัขเป็นสัตว์เดรัจฉานโยมจะมาสวดมนต์ภาวนาจิตได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้)

    นั้นการที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประเสริฐแล้ว เกิดมาแล้วมีร่างกายสังขารที่สมบูรณ์ แม้มันจะเสื่อมไปบ้าง..นั่นก็เป็นวิบากกรรมที่ต้องชดใช้ แต่ถามว่ามันยังมีดีอยู่มั้ยจ๊ะ บางคนเสียขาไปข้างนึงแต่อีกข้างยังใช้ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ นั้นถ้าปากเรายังดียังสวดมนต์ได้ ขาเราแขนเรายังสวดมนต์ ยังประพฤติปฏิบัติกราบมนต์ กราบพระ ไหว้พระอะไรได้..ขอให้โยมทำเถอะจ้ะ

    บางคนสวดมนต์ประพฤติปฏิบัติธรรมจะอายุยืน เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้ามันมีวิบากกรรมมาตัดรอน ให้โยมนั้นต้องเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตไปเสียแล้ว..ยังไงโยมก็อายุยืน แต่ถ้ามันมีกรรมมาตัด แล้วโยมประพฤติปฏิบัติธรรมสวดมนต์ภาวนา แล้วสิ่งเหล่านี้มาตัดรอนโยม นั้นโยมต้องยอมรับว่าเป็นการชดใช้ อย่างน้อยชีวิตเราก็ยังอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อชีวิตยังอยู่..ก็เอาชีวิตนั้นแล ยังอยู่แม้ไม่ครบอาการ ๓๒ ถ้าคนฉลาดเค้าจะเอาชีวิตที่เหลืออยู่นี้ถวายเป็นพุทธบูชาเสีย ร่างกายสังขารที่โยมถวายเป็นพุทธบูชา แม้ขนาดคางพระเทวทัตถวายเป็นพุทธบูชา ยังมีอานิสงส์จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าต่อไปในกาลต่อข้างหน้า เห็นมั้ยจ๊ะ

    แล้วถ้าเราเอาทั้งร่างกายสังขารพระพุทธบุตรมาปฏิบัติบูชา ถ้าโยมต้องการซึ่งทางหลุดพ้น..โยมว่าจะไม่พ้นหรือจ๊ะ นี่ขนาดคางพระเทวทัตท่านยังเป็นพระปัจเจกเลย แล้วถ้าโยมเอากายสังขารไปประพฤติปฏิบัติบูชาเนี่ย..มันจะไม่พ้นเหรอจ๊ะ เออ..กายสังขารที่เหลืออยู่ มันก็หมายถึงว่าใจที่โยมมีความศรัทธาเชื่อมั่นตอนไหน..โยมก็อธิษฐานเอา เข้าใจมั้ยจ๊ะ เอาร่างกายสังขารนอบน้อมพระรัตนตรัย ถวายเป็นพุทธบูชาเสีย

    เมื่อร่างกายสังขารของเรานี้ถวายให้ต่อพระรัตนตรัย..เป็นของที่สูงค่า ร่างกายสังขารเราก็สูงค่า เรียกว่าเป็นสิ่งที่ควรบูชา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นบุคคลปรารถนาร่างกายสังขารที่จะให้คงอยู่ไม่เน่าเปื่อย..ก็สามารถทำได้ เมื่อจิตผู้นั้นเจริญอิทธิบาท ๔ เพราะธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมในกายสังขารมันจะอยู่คงที่อยู่อย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่เสื่อมไม่สลายไปไหน..อยู่ที่จิตของเรา

    เพราะกายสังขารนี้เป็นความอัศจรรย์อย่างหนึ่งของธรรมชาติ เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การที่เราจะช่วยโลกนี้ต้องช่วยยังไง โลกนี้ไม่สามารถช่วยโดยตรงได้ เราก็ช่วยโดยอ้อมคือพยุง ชะลอ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนเราไม่สามารถช่วยสังขารให้เรานั้นรอดพ้นจากความวิบัติได้ หรือพ้นจากความตายได้ แต่เราช่วยให้กายสังขารนี้ชะลอความเสื่อมได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ได้ค่ะ) อืมม..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    จิต=ความคิด

    หยุดความคิด=หยุดโลก

    หยุดโลกธรรม=หยุดความอยาก

    หมดความอยาก=หลุดพ้นจากวัฏวน

    สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอให้ผลบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ จงดลบันดาลให้พระพุทธศาสนาและพระรัตนตรัย จงอยู่กับพุทธศาสนิกชนไปตลอดกาลนานด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    B6A42C94-3E15-4B79-B1E6-3B3D147B9A2E.jpeg

    ในขณะที่โยมสาธยายมนต์กันเสร็จแล้ว ไม่ควรเลยที่เรานั้นจะไปพักผ่อนอะไรก็ดี มันเหมาะแก่การเจริญพระกรรมฐานต่อ เพราะในขณะที่โยมนั้นสวดมนต์กันเสร็จแล้ว สมาธิมันได้บังเกิดแล้ว ฌานมันได้บังเกิดแล้วในขณะที่เพ่งอยู่ในมนต์นั้น แล้วปัญญามันก็กำลังบังเกิดแล้ว วิปัสสนาญาณมันก็กำลังจะเกิด..

    เมื่อโยมถอนออกจากตรงนั้น ไม่เอาจิตมาใส่ใจในกรรมฐานในขณะตอนนั้น มันจะทำให้จิตโยมตื่นรู้ในขณะหนึ่ง การตื่นรู้ในขณะนั้นเค้าเรียกว่าตื่นวิชชา ตื่นความรู้ไปอย่างหนึ่ง อยากจะพูดอยากจะคุย อยากจะสนทนาอะไรเหล่านี้ เค้าเรียกว่าจิตมันจะส่งออกไปภายนอก

    แต่ถ้าจิตเราข่มอยู่ในเวทนานั้น อยู่ในอารมณ์แห่งความสงบนั้น ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ สำรวมจิตสำรวมกายเข้าในกรรมฐานจิต เพ่งอยู่ในการงานของจิต ไม่ส่งจิตออกไปภายนอกนั้น จิตเมื่อมันรวมมันดีอยู่แล้วในขณะที่โยมเจริญมนต์อยู่ ฌานมันก็บังเกิด สมาธิมันก็บังเกิด ปัญญามันก็บังเกิด วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิดในขณะนั้น มันจะพิจารณาในตัวของมันเองในขณะนั้น

    นั้นการที่โยมสวดมนต์เป็นเวลานานๆ ควรน้อมจิตเข้ามาอยู่ในกายในสังขารนี้ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ดูกาย เวทนา จิต และธรรม ให้มันเกิดวิหารแห่งธรรม เกิดสังขารทั้งหลายทั้งปวง..ให้มันเกิดสังขารแห่งธรรม ให้เห็นทุกข์ให้เห็นเวทนา เมื่อเอาความสงบนั้นที่มันเกิดขึ้น ก็ให้เจริญปัญญาพิจารณา

    นี้โยมไม่ได้เอาประโยชน์ตรงนี้เลย แล้วโยมสวดมนต์ไปมันไม่เหนื่อยเหรอจ๊ะ แล้วสวดมากๆเพื่ออะไร..ให้กิเลสมันอ่อนตัว เมื่อกิเลสอ่อนตัวแล้ว..โยมไม่ได้เพ่งมอง ไม่เอาความเพียรไปเผากิเลส คือเอาปัญญาไปพิจารณาไปถอดถอนอุปาทาน อุปาทานก็คือการยึดถืออัตตาตัวตน แต่เราไม่ได้ไปละตน เมื่อเราไม่ละตนแล้ว..เราก็ยังมีตนอยู่อย่างนั้น

    แล้วการที่เราสวดมนต์ไปมันได้ประโยชน์ในชั่วขณะหนึ่ง แต่มันไม่ได้ประโยชน์สูงสุด เพราะสูงสุดแห่งการเจริญมนต์แล้ว..เพื่อให้มนต์นั้นระงับดับความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ระงับจากความหดหู่ใจเศร้าหมองใจ ความเคลิบเคลิ้มใจ ความง่วง บางคนสวดอยู่ก็มีความง่วงเข้ามา แต่ก็ยังมีสติมีศรัทธาฝืนสวดไปจนความง่วงหายไป นี่เค้าเรียกว่าจนจิตตื่นรู้

    เพราะอะไร จิตเราจนเพ่งไปในฌาน จนฌานมีกำลัง จนจิตเรานั้นตั้งมั่น เมื่อจิตเราตั้งมั่นสมาธิก็บังเกิด เมื่อสมาธิบังเกิด..กำลังภายในมันก็บังเกิด ความเหนื่อยความล้าก็ดีมันก็หายไป แต่เมื่อเราสวดมนต์จนเสร็จแล้วเราไม่น้อมจิตเข้ากรรมฐานเสียก่อน จะมากน้อยอย่างไรก็ตาม..ขอให้ทำ

    โยมสวดมนต์ ๓-๔ ชั่วโมงก็ดี แต่การเจริญปัญญาเพียงแค่ขณะจิตเดียว..แต่จิตเรานั้นรวมเป็นหนึ่ง เกิดปัญญาเห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะเพียงชั่วขณะจิตหนึ่ง ๓-๔ ชั่วโมงนั่นแลที่มันเกิดปัญญา แสดงว่าโยมก็นั่งเจริญความเพียรมา ๓-๔ ชั่วโมงเช่นเดียวกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนโยมตั้งร้านค้าขายของขายอาหารทั้งวี่ทั้งวัน โยมจะขายดีมีลูกค้าเข้าร้านก็ไม่เกินครึ่งชั่วโมงครึ่งชั่วยาม แต่โยมต้องขายของมาทั้งวัน ๒๔ ชั่วโมงก็ดี หรือหลายๆชั่วโมงก็ดี ใช่มั้ยจ๊ะ

    ก็การที่โยมสวดมนต์ได้ขนาดนี้แล้ว ทำไมไม่ใช้โอกาสตรงนี้ให้เป็นประโยชน์ให้มาก นี่เค้าเรียกว่าทำมากมันเป็นอย่างนี้ แต่การที่โยมสวดมนต์มากแล้ว เห็นว่าความเหน็ดเหนื่อยมันเกิดขึ้น อยากจะพักอยากจะผ่อน ยังไม่ทันไร ยังไม่ทันละกิเลสเลย เราเห็นว่าร่างกายสังขารมันเหนื่อยล้าไปพักไปผ่อน เหมือนลูกทั้งหลายลูกหลานเมื่อเราไปโอ๋ให้ท้ายมันแล้ว มันก็ไม่รู้จักผิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ กิเลสมันก็ได้ใจอยู่อย่างนี้

    นั้นถ้าเราเห็นโอกาสอย่างนี้ ต้องเห็นความสำคัญเห็นประโยชน์ในการสาธยายมนต์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วนี่เราเสียเวลามาขนาดนี้ เค้าถึงได้บอกว่าการสวดมนต์เป็นการเสียเวลามาก ได้ประโยชน์น้อย เค้าพูดไม่ผิดหรอก แต่ถ้าโยมเห็นประโยชน์ในการสวดมนต์แล้ว และใช้ประโยชน์ในการสวดมนต์ให้ถูกแล้ว..จะได้ประโยชน์มาก

    ก็อย่างที่ฉันกล่าว เมื่อโยมสวดกันมาหลายๆชั่วโมงแล้ว ตอนแรกจิตอ่อนล้าจนสวดจนจิตมีกำลัง เมื่อสวดเสร็จแล้วน้อมจิตแผ่เมตตาจิต อธิษฐานจิตเสร็จแล้ว สำรวมกายวาจาตั้งมั่น สมาธิบังเกิด ปัญญาบังเกิด พิจารณาให้เห็น เห็นโทษภัยในกายสังขาร เรานั่งแล้วมีความปวดมีเวทนามีความง่วง พอเราสวดไปจนจิตตั้งมั่นแล้ว ความง่วงเวทนาทั้งหลายมันก็สลัดหายไป มีแต่จิตตื่นรู้ในขณะนั้น

    เมื่อจิตตื่นรู้เราไม่เอาจิตนั้นที่รู้นั้นมาพิจารณา มาเจริญปัญญา เพราะไอ้ตัวรู้นั้น..ถ้าเราไม่เจริญปัญญา ไม่ละอารมณ์ตรงนั้น ตัวรู้นั้นมันยังติดอยู่ในอารมณ์อยู่ แต่ตัวปัญญามันจะเป็นตัวถอดถอนในอารมณ์ ในอุปาทานแห่งขันธ์ แสดงว่าตัวรู้นี้มันยังไม่ใช่ปัญญา มันยังเป็นสัญญาอยู่ แต่การจะเจริญปัญญามันก็ต้องอาศัยตัวรู้นี้เพื่อมาฝึกจิต ดังนั้นเราอย่าพลาดโอกาสตรงนี้ไปไม่ได้

    เพราะการเจริญมนต์มันเป็นอุบายอย่างหนึ่งให้จิตนั้นตั้งมั่น ให้เข้าถึงกระแสพระรัตนตรัย หรือเรียกว่าพลังการสวดมนต์นี้เป็นการเชื่อมพลังงานของพระรัตนตรัยโดยตรงก็ยังว่าได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แสดงว่าโยมนั้นพลาดโอกาสไปแล้ว นั้นฉันก็ขอฝากไว้ตรงนี้ ว่าคราใดที่โยมนั้นเจริญมนต์แล้ว ไม่ว่าเจริญมนต์เย็น เจริญมนต์เช้า เจริญมนต์ค่ำ เจริญมนต์ตอนไหนก็ตาม อย่าได้พลาดโอกาสสำรวมกายจิตตั้งมั่นให้ดี อย่าไปห่วงแต่หลับนอนหรือความสบายที่จะไปพักผ่อนกายา

    เมื่อเราสวดมาขนาดนี้แล้ว..จิตมันรวมแล้ว เมื่อจิตรวมแล้ว ธาตุขันธ์มันรวมแล้ว บารมีมันตั้งมั่น จิตมันตั้งมั่นแล้ว อธิษฐานจิตเข้าไป จะ ๑๐ นาที ครึ่งชั่วยามอะไรก็ตาม เข้าใจมั้ยจ๊ะ อธิษฐานจิตเข้าไป มันจะได้เต็มบารมี ถ้าโยมไม่อธิษฐานจิตแล้ว สิ่งที่โยมจะทำอะไรขึ้นมา มันไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ยิ่งโยมมีกำลังน้อยโยมต้องอธิษฐานจิต ถ้าโยมอธิษฐานจิตแม้เวลาสั้นๆที่โยมจะเจริญภาวนาจิต เจริญอบรมเจริญกรรมฐานวิปัสสนาญาณ แม้ขณะจิตเดียวถ้าญาณโยมเกิดแล้ว ตัวปัญญามันเกิด ตัวรู้กระแสญาณมันเกิด แสดงว่าโยมเปิดตรงนี้ได้ แม้โยมไม่หลับตา เพียงแค่ระลึกรู้ปรารถนาจะรู้สิ่งใด มันก็เกิดญาณ..ญาณมันก็บอกได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันก็เป็นประโยชน์ต่อสิ่งที่โยมนั้นจะสร้างบารมี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...