กรดกัดแก้ว หน้าล่าสุด

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 พฤศจิกายน 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สารบัญ

    หน้า 8 เทคนิคการกัดกรดกัดแก้วตามสไตล์ผม
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ผมเริ่มรู้จักการกัดแก้วที่โรงงานกัดแก้วของคุณพ่อผมตั้งแต่ผมอายุประมาณ 6 หรือ 7 ขวบ และมาช่วยคุณพ่อดูแลช่างที่โรงงานกัดแก้วที่บ้านเลขที่ 4 ในขณะเดียวกันช่วยคุณแม่ดูแลช่างพ่นสีและประกอบโคมไฟที่บ้านเลขที่ 10-12 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เชิงสะพานยมราช เยื้องโรงภาพยนต์โคลีเซี่ยม กรุงเทพฯ ตอนอายุ 11 และ 12 (พ.ศ. 2510-2511)

    การกัดแก้วด้วยกรดตามสไตล์ผม จึงไม่มีใครรับรองว่า ถูกต้องหรือไม่ แต่ลูกน้องช่างแก้วต่อมาหลายท่านก็ยังคงปรึกษางานกัดแก้วกับผมอยู่ถึงคนสุดท้ายคือปีเตอร์ขณะนั้นเป็นผู้จัดการโรงงานแก้วโลตัสคริสตัลระยองเมื่อประมาณ พ.ศ. 2550-2560
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    เปรียบเทียบกับองค์หลวงปู่ทิมหน้าตัก 5 นิ้วที่แค่แคะปูนแม่พิมพ์ออก ผิวท่านก็ฝ้าแล้ว และรุ่นหลวงปู่ทิมนี้ผมไม่ขัด ไม่กัดกรดเพิ่ม
    633DCF60-B55E-464B-AA9A-A8DF44426B28.jpeg
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ตอนที่โรงงานกัดกรดแก้วโรงงานแรกของคุณพ่อผมเช่าตึกแถวสองชั้นสองคูหาในคลองถมเมื่อประมาณ พ.ศ. 2499-2509 นั้น คุณพ่อไปโรงงานทุกเช้าและเย็น ไปผสมกรดเพื่อให้คนงาน 2-3 คนได้แช่โป๊ะแก้วโคมไฟ โดยถ้ามีอะไรสงสัยก็ถือตัวอย่างเดินจากคลองถม ผ่านโรงภาพยนต์แคปปิตอล เดินมาเข้าวัดตึก วัดชัยชนะสงคราม ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านจิ่งเซ่งโคมไฟฟ้าของคุณพ่อคุณแม่ผม
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    การกัดกรดแก้วมีหลายวัตถุประสงค์ หลายวิธีปฏิบัติ และหลายโจทย์ เช่น วัตถุประสงค์ที่ 1 ต้องการทำให้แก้วที่มีผิวเรียบลื่นเงามันแวววาว ให้เป็นแก้วที่มีผิวสากด้านไม่เงา (ส่วนจะสากด้านระดับไหนอีกเรื่องนึง) วัตถุประสงค์ที่ 2 ตรงข้ามจากวัตถุประสงค์ที่ 1 สุดท้ายคือวัตถุประสงค์ที่ 3 ทำให้ผิวแก้วทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนหายคม (ส่วนจะหายคมในระดับไหนนั้น นั่นว่ากันต่อไป)
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ผมจะเล่าวัตถุประสงค์ที่ 3 ก่อน เพราะถือว่าพบได้ไม่มาก คือชิ้นงานแก้วบางชิ้นที่อาจมีแม่พิมพ์เหล็กที่เวลาประกบกัน อาจจะมีการไม่แน่น ทำให้น้ำแก้วที่ปกติแล้วหนืด แต่เมื่อประกอบกับทีที่ช่างกำลังกินลิโพแล้วแรงเยอะเกิน จึงกดก้านโยกแรงเกิน ทำให้น้ำแก้วล้นตะเข็บ ซึ่งปกติช่างปืนไฟจะลบตะเข็บตอนแก้วยังร้อนก่อนเข้าเตาอบ ถ้าออกจากเตาอบแล้วจะลบด้วยปืนไฟไม่ได้
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ซึ่งปกติกรณีอย่างนี้ เขาจะทิ้งชิ้นงานลงถังแก้วแตกเพื่อรีไซเคิ้ล แต่บางทีของน้อยและเร่งส่ง ผนวกกับงานอื่นแทรกโรงงานแก้ว ทำให้โรงงานแก้วผลิตให้ใหม่ไม่ทัน จึงต้องเก็บทุกชิ้นส่งมาแผนกกัดกรด เพื่อใช้กรดเข้มข้นกัดลบตะเข็บ ช่างต้องเสียเวลาดูแลใกล้ชิด เพราะไม่เช่นนั้น นอกจากตะเข็บแล้ว ส่วนอื่นก็จะถูกลบไปด้วย หรือลวดลายส่วนอื่นก็จะเลือนๆ

    ถือว่าผมได้เล่าวัตถุประสงค์ที่ 3 จบแล้วนะครับ และไม่อยากให้ใครต้องเจอเคสแบบนี้ กรดกัดแก้วที่เข้มข้นนั้นอันตรายสูงมาก

    ไปฟังเรื่องวัตถุประสงค์ที่ 1 และ 2 กันดีกว่า
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    คาดว่าพรุ่งนี้อาจว่างพอมาเขียนได้ ท่านที่ติดตามรอนะครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ขอนำมายังการกัดกรดแก้ว ในกรณีที่ใช้มากที่สุดในงานโคมไฟก็ตาม ในงานพระแก้วก็ตาม หรือในงานพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษในอดีตก็ตาม เราจะใช้ในกรณีดังนี้ครับ เอาที่เป็นส่วนมากนะครับ

    1 โป๊ะแก้วที่ขึ้นรูปจากแม่พิมพ์เหล็กแล้ว ผิวแก้วจะลื่นเรียบ เงา แวววาว แต่ในรุ่นนั้นต้องการให้เป็นผิวด้าน สากน้อยๆ ไม่สะท้อนแสง

    2 ในพระแก้วยุคหลังที่ผมสร้างหลังปี พ.ศ. 2550 ที่ต้องการผิวด้าน สากมือน้อยๆ ไม่สะท้อนแสง และเป็นงานละเอียด

    3 พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ถึง 2516 เดือน 6 ที่อยู่ในการสร้างของทุกโรงงานแก้ว ผมไม่ได้สร้าง ในช่วงเดือน 6 พ.ศ. 2516-2520 ผมกับปรมาจารย์แก้ว** เป็นผู้สร้าง มีบางรุ่นที่เจ้าของงานให้ทำผิวด้าน หรือเรียกผิวซาติน หลังช่วง 2516-2520 ก็ยังมีโรงงานสร้างต่อ ผมไม่ได้สร้าง

    หมายเหตุ
    ** = ปรมาจารย์ผมเป็นปรมาจารย์ที่สร้างพระแก้วที่เยี่ยมที่สุดของไทยมานานมาก ก่อนที่ท่านจะก่อสร้างโรงงานแก้วของท่านเองเมื่อ พ.ศ. 2508 และสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษแทบทุกรุ่น ต่อมาปี 2516 คุณพ่อผมเซ้งกิจการโรงงานแก้วของปรมาจารย์ต่อจากท่าน โดยมีปรมาจารย์ช่วยสอนต่ออีก 3 ปี
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ขออนุญาตไม่บอกชื่อน้ำยากัดกรดแก้วนะครับ ท่านหาเองได้ ผมไม่อยากบอกออกจากปากผม เพราะมันอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะเคยมีคนไทยนี่แหละครับ ใช้น้ำยานี้ไปฆ่าคนถึงแก่ชีวิตมาแล้ว
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    น้ำยานี้อันตราย ควรเป็นโรงงานที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่ถูกต้องของรัฐบาล มีการเรียกใช้บริการกำจัดสารเคมีผ่านบริษัทที่ถูกต้องตามกฏหมายนะครับ

    คำเตือน อันตรายถึงชีวิต กระโหลกไขว้ครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    โป๊ะแก้วโคมไฟในปี พ.ศ. 2498, 99 ที่คุณพ่อผมท่านซื้อโคมของนอกมาก๊อปปี้ โดยจ้างโรงงานแก้วในไทย 1 โรงบ้าง 2 โรงบ้าง ผลิตจากโรงงานจะเป็นผิวแก้วเรียบลื่น คุณพ่อเปิดโรงกัดกรด (ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย) ที่หลังโรงภาพยนต์แคปปิตอล ในคลองถม 2 คูหา ผสมให้เจือจางในระดับหนึ่ง แช่โป๊ะในน้ำยาท่วมชิ้นงาน ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ยกชิ้นงานขึ้นจากกะละมังน้ำยาไปแช่ในกะละมังน้ำเปล่า ก็จะได้ผิวด้าน สาก ไม่เงา
    3FE83935-3BD2-42DE-99A4-3D781A4AD8A6.jpeg
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    การผสมกรดกัดแก้ว ถ้าไม่มีสิ่งใดวัดหน่วยความเข้มใดๆ ให้ใช้วิธีนี้ครับ กรดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ถึงมือเรา ให้ถือว่า เข้มข้นที่สุด เพราะทุกครั้งที่จะผสม เราต้องถือจากตรงนี้ว่า เขาคือจุดที่เข้มสุดของเราแล้ว ในกรณีไม่มีถังผสมและถังแช่มาตราฐาน ให้ยึดถือกะละมังพลาสติคที่มีขนาดขอบกะละมังสูงท่วมมิดชิ้นงาน ให้เทน้ำเปล่าสะอาดลงในกะละมังให้สูงเกือบถึงขอบกะละมังนั้น (ทุกครั้งต้องใช้กะละมังขนาดเดียวกัน) เมื่อจะผสมกรด ให้ตวงกรดในถ้วยตวงที่สามารถวัดหน่วยได้ เช่น 1 ถ้วยแก้วตวงต่อน้ำ 1 กะละมังเป็นต้น กวนกรดกับน้ำในกะละมังให้เข้ากันช้าๆด้วยความระมัดระวัง เป็นอันเสร็จการผสมเป็นน้ำยากัดแก้วเจือจาง (วิธีง่ายๆ)
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    กะละมังน้ำยากัดแก้วเจือจางต้องวางไว้บนพื้นคอนกรีตที่มีขอบปูนสูงประมาณ 10-15 ซ.ม. จะไม่ยอมให้น้ำกรดแม้เจือจางแล้วนี้ไหลไปทางอื่น ขอบปูนนี้จะบังคับให้น้ำในขอบปูนนี้ไหลไปทางที่เราสามารถควบคุมได้ (ถ้าไม่ได้มาตราฐานก็คือไหลลงท่อระบายน้ำเสีย)
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    กะละมังน้ำเปล่าสะอาด (มีน้ำสะอาดไหลเข้าเพิ่มเติมตลอดเวลา) อาจใช้วิธีเปิดน้ำประปาไหลเข้าในอัตราค่อนข้างมากตลอดเวลาที่ทำงาน 08:00-12:00 13:00-17:00 น. ช่วงทำงานปกติ 18:00-21:00 ช่วงโอทีถ้างานเร่ง และถ้างานเร่งมาก 22:00-24:00 น. โดยปกติน้ำยากัดแก้วเจือจางที่เพิ่งผสมเสร็จใหม่ๆเวลา 08:00-17:00 ก็มักจะเททิ้ง

    ดังนั้นวันใดหากมีโอที จะผสมใหม่เวลา 18:00 ใช้ถึง 21:00 ก็ตาม หรือใช้ถึง 24:00 ก็ช่าง เราจะเททิ้งตอนเลิกงาน เพราะสาเหตุความเจือจางมากขึ้นนั่นเอง
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ความเจือจางจะเพิ่มมากขึ้นนั้น ขึ้นกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น กรณีชิ้นงานไม่สะอาด มีสิ่งที่ติดชิ้นงานลงในกะละมังด้วย ดังนั้น จึงควรต้องคัดชิ้นงานที่สกปรกไปล้างให้สะอาดก่อน แล้วนำไปผึ่งลมหรือทำให้แห้งสนิท เพราะน้ำคือปัจจัยการเพิ่มความเจือจางที่ดีที่สุด (แต่ในที่นี้เราต้องการความเจือจางคงที่ทั้งวัน)
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    นำชิ้นงานแช่น้ำกรดเจือจางในกะละมังให้ท่วมมิด ตั้งนาฬิกาปลุก (แยกกะละมังละเรือน) พอถึงเวลาที่กำหนด เช่น 10 นาที ให้รีบนำชิ้นงานขึ้นจากกะละมังกรด มาลงกะละมังน้ำล้นด้วยความรวดเร็ว คือขึ้นจากกรดลงน้ำเปล่าในไม่กี่วินาที จากกะละมังน้ำล้นยกขึ้นไปล้างน้ำเปล่าในพื้นที่ที่เตรียมไว้ เช็ดแห้ง บรรจุกลับใส่กล่อง

    เป็นอันเสร็จการกักกรดแก้วเพื่อทำให้ผิวแก้วจากเงาเป็นด้าน
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    บางกรณีที่เจ้าของงานต้องการให้ชิ้นงานบางรุ่นเป็นผิวด้านแค่ภายนอก คือไม่ต้องการให้ภายในมีผิวด้าน ก็ทำได้ด้วยการใช้ถังพลาสติคที่เตรียมไว้ (บางทีต้องสั่งทำ) เอาชิ้นงานวางไว่ที่พื้นถัง ใช้คนตักน้ำกรดเจือจางรดภายนอกของชิ้นงาน น้ำยากรดเจือจางจะไหลลงสู่ถังด้านล่าง ช่างจะตักน้ำกรดเจือจางจากด้านล่างรดชิ้นงาน ตลอดเวลา 10 นาทีนั้น ช่างแทบหยุดไม่ได้เลย

    ชิ้นงานระดับนี้ได้แก่ พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษบางรุ่น และโป๊ะแก้วโคมไฟบางรุ่น หรือบางขนาด เช่นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่ากะละมังหรือถัง รวมทั้งสินค้าบางชนิดที่เขาถือว่า การกัดกรดที่ไม่กัดทั้งชิ้นงานเป็นเกรดที่มีคุณภาพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...