1. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    จากการสำรวจข้อมูลทางวิชาการและรายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศพบว่า ตั้งแต่เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก จรดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้วนแต่มีโอกาสสูงที่จะเกิดโศกนาฏกรรมจากแผ่นดินไหวได้


    หากพิจารณาจากสถิติข้อมูลการเกิดและระดับความรุนแรงในอดีต บวกกับหลักฐานใหม่ๆ ที่บ่งบอกถึงข้อมูลธรณีโครงสร้าง ณ ปัจจุบัน อาทิ รอยเลื่อน การเลื่อนตัวของรอยเลื่อนและเปลือกโลก เป็นต้น

    ในแถบเอเชียใต้มีจุดที่ถือเป็นพื้นที่อันตรายอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะเทือกเขาหลายแห่งตั้งแต่หิมาลัย การาโกรัม ปาเมียร์ และฮินดูกูช โดยเฉพาะในแถบหิมาลัย


    จากข้อมูลในอดีตพบว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ที่มีแรงสั่นสะเทือนตั้งแต่ 8 ริกเตอร์ขึ้นไป ถึง 6 ครั้ง ได้แก่ ปี 2346, 2346, 2440, 2448, 2477 และ 2493


    แต่นับจากนั้นพื้นที่แถบนี้ก็สงบลงจนมีผู้คนเข้าไปตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดใหญ่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

    จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยโคโลราโดซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ระบุว่า หากเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณของเทือกเขาหิมาลัย จะสร้างความเสี่ยงให้กับประชากรในพื้นที่กว่า 50 ล้านคน ครอบคลุมตั้งแต่บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เนปาล และปากีสถาน

    ในอินเดีย พื้นที่ตอนเหนือของประเทศตั้งแต่ศรีนคร ชัมมู แคชเมียร์ เรื่อยไปจนถึงแคว้นอัสสัม หิมาจัลประเทศ ปัญจาบ และเดลี ถือเป็นโซนอันตรายของแผ่นดินไหวมาตั้งแต่อดีต


    โดยจากการจัดระดับความเสี่ยงของทางการอินเดีย พื้นที่ในโซนนี้อยู่ที่ระดับ 4-5 โดยเป็นพื้นที่เสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวสูงถึงสูงมาก

    นายสตีเฟน จี.เวสโนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกยุคใหม่ ของมหาวิทยาลัยเนวาดาเตือนว่า แผ่นดินไหวที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง มีโอกาสเกิดขึ้นได้เกือบตลอดเวลาในที่ใดที่หนึ่งบนแนวเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นใน 10-20 ปีข้างหน้า หรือเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

    ที่ผ่านมา แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในอินเดียได้ทำให้เปลือกโลกเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามธรรมชาติ 1.6 นิ้วทุกปี โดยการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งขึ้นไปทางเหนือของทวีปเอเชียและอีกส่วนมุ่งตรงไปที่เทือกเขาหิมาลัย ทำให้เกิดแรงอัดสะสมในบริเวณดังกล่าว


    ยิ่งกว่านั้น ในทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรง รอยเลื่อนจะเลื่อนไปไกลถึง 3-6 หลา แต่หากเป็นแผ่นดินใหญ่ที่มีความรุนแรงระหว่าง 8.5-9 ริกเตอร์ ก็จะทำให้รอยเลื่อนไปได้ไกลถึง 15-20 เมตรในแต่ละครั้ง ซึ่งไม่มีใครคาดคะเนได้ว่ารอยเลื่อนทั้งสองส่วนนั้นจะเกิดปะทุขึ้นมาวันใด อันไหนเกิดก่อนหรือเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

    ในภูมิภาคเอเชีย หากไม่นับรวมญี่ปุ่นที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งก็ค่อนข้างสงบมาตลอด หลังจากที่เคยเกิดแผ่นดินไหวระดับแรงๆ มาแล้วในช่วงปี 2440-2500 ประมาณ 10-15 ครั้ง เฉพาะประเทศจีนเคยเกิดแผ่นดินไหวแรงๆ ระดับ 7.5 ริกเตอร์ขึ้น 2 ครั้งในช่วงทศวรรษ 1970

    จากข้อมูลของ Global Seismic Hazard Assessment Program พบว่าโซนอันตรายของจีนกระจายอยู่ในหลานโจว ปักกิ่ง เทียนสิน และจีนตอนใต้เป็นบริเวณกว้าง ขณะที่ญี่ปุ่นมีโซนอันตรายเกือบทั้งประเทศ ระดับความรุนแรงแตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงสูงมาก

    ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่อยู่ในโซนอันตรายสูง ได้แก่ พม่า บริเวณตอนกลางของประเทศ อินโดนีเซีย (แถบสุมาตรา) และฟิลิปปินส์ (พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ)

    ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ จากผลสำรวจสภาพธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยไอดาโฮในเมืองโมสโค สหรัฐอเมริกา ระบุว่ามี 5 รัฐสำคัญทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาที่เป็นจุดเสี่ยงของการเกิดแผ่นดินไหวขั้นรุนแรง ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย เนวาดา ยูทาห์ อะแลสกา และไอดาโฮ

    ขณะที่จอห์น รันเดิล ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เดวิส วิเคราะห์จากข้อมูลและสถิติแล้วพบว่า มีความเป็นไปได้ถึง 25% ที่ซาน ฟรานซิสโกจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ หรือมากกว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า และยังมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวถึง 75% ในอีก 45 ปีต่อไป



    เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนซานแอนเดรีย ความยาวขนาด 80 ไมล์ทาบแนวชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย และเป็นเส้นรอยต่อของเปลือกโลก 2 แผ่นที่ยังมีพลังอยู่

    http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=13316
     
  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,705
    ค่าพลัง:
    +51,934
    ศึกษาประวัติศาสตร์...ให้ศึกษาที่ชั้นของหิน
    จารึก...ประวัติของโลก

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...