55.เถรคาถา ปัญจกนิบาต 12 เรื่อง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 2 เมษายน 2008.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    เถรคาถา ปัญจกนิบาต
    ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในปัญจกนิบาต


    ๑. ราชทัตตเถรคาถา
    สุภาษิตสอนให้พิจารณาสังขาร

    [๓๓๕] ภิกษุไปป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิงคนหนึ่งซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า มี
    หมู่หนอนฟอนกัดกินอยู่ ก็ธรรมดาคนที่ชอบสวยชอบงามบางพวก ได้
    เห็นซากศพอันเป็นของเลวทราม ย่อมเกลียด แต่ความกำหนัดรักใคร่
    ย่อมเกิดแก่เขา เขาเป็นเหมือนคนตาบอด เพราะไม่เห็นของไม่สะอาด
    ที่ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ในซากศพนั้น ภายในเวลาหม้อข้าวสุกหนึ่ง
    เราหลีกออกจากที่นั้น เรามีสติสัมปชัญญะ เข้าไปสู่ที่ควรแห่งหนึ่ง
    ทีนั้นการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันชอบจึงเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏ
    แก่เรา ความเหนื่อยหน่ายก็ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจาก
    กิเลส ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเลิศเถิด เพราะวิชชา ๓ เรา
    ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.


    ๒. สุภูตเถรคาถา
    สุภาษิตสอนไม่ให้ดีแต่พูด

    [๓๓๖] บุรุษผู้ประสงค์จะทำธุรกิจ เมื่อประกอบตนในกิจที่ไม่ควรประกอบ ถ้า
    เมื่อขืนประพฤติอยู่อย่างนั้น ก็ไม่พึงได้สำเร็จผล การประกอบในกิจที่
    ไม่ควรประกอบนั้น มิใช่ลักษณะบุญ ถ้าบุคคลใด ไม่ถอนความเป็นอยู่
    อย่างลำบากแล้วมาสละธรรมอันเอกเสีย บุคคลนั้นก็พึงเป็นดังคนกาลี
    ถ้าสละทิ้งคุณธรรมแม้ทั้งปวง ผู้นั้นก็พึงเป็นเหมือนคนตาบอด เพราะ
    ไม่เห็นธรรมที่สงบและธรรมไม่สงบ บุคคลพึงทำอย่างใด พึงพูดอย่าง
    นั้นแล ไม่พึงทำอย่างใด ไม่พึงพูดอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อม
    กำหนดรู้ว่า บุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูดนั้นมีมาก ดอกไม้งาม มีสีแต่ไม่มี
    กลิ่น ฉันใด วาจาอันเป็นสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำอยู่
    ก็ฉันนั้น ดอกไม้งาม มีสี มีกลิ่น ฉันใด วาจาอันเป็นสุภาษิตย่อม
    มีผลแก่บุคคลผู้ทำอยู่ ฉะนั้น.


    ๓. คิริมานันทเถรคาถา
    สุภาษิตเย้ยฟ้าท้าฝน

    [๓๓๗] ฝนตกเสียงไพเราะเหมือนเพลงขับ กุฏีของเรามุงดีแล้ว มีประตู
    หน้าต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้สงบอยู่ในกุฏีนั้น ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงมา
    เถิดฝน ฝนตกไพเราะเหมือนเพลงขับ กุฏีของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้า
    ต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้มีจิตสงบอยู่ในกุฏีนั้น ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงมา
    เถิดฝน ฯลฯ เราเป็นผู้ปราศจากราคะ อยู่ในกุฏีนั้น ฯลฯ เราเป็นผู้
    ปราศจากโทสะอยู่ในกุฏีนั้น ฯลฯ เราเป็นผู้ปราศจากโมหะอยู่ในกุฏีนั้น
    ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงมาเถิดฝน.


    ๔. สมุนเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงผลการปฏิบัติธรรม

    [๓๓๘] ท่านพระอุปัชฌายะปรารถนาธรรมใด ในบรรดาธรรมทั้งหลายเพื่อเรา
    อนุเคราะห์ เราผู้จำนงหวังอมตนิพพาน กิจที่ควรในธรรมนั้นเราทำเสร็จ
    แล้ว ธรรมที่มิใช่สิ่งที่อ้างว่าท่านกล่าวมาอย่างนี้ เราได้บรรลุแล้ว ทำให้
    แจ้งแล้วด้วยตนเอง เรามีญาณอันบริสุทธิ์ หมดความสงสัย จึงได้
    พยากรณ์ในสำนักของท่าน เรารู้จักขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในก่อน ทิพยจักษุ
    เราได้ชำระแล้ว ประโยชน์ของตนเราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระ
    พุทธเจ้าเราได้ทำแล้ว สิกขา ๓ อันเราผู้ไม่ประมาท ได้ฟังดีแล้วใน
    สำนักของท่าน อาสวะทั้งปวงของเราสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี
    ท่านเป็นผู้มีความเอ็นดู อนุเคราะห์สั่งสอนเราด้วยวัตรอันประเสริฐ
    โอวาทของท่านไม่ไร้ประโยชน์ เราได้ศึกษาอยู่ในสำนักของท่าน.


    ๕. วัฑฒเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญมารดา

    [๓๓๙] โยมมารดาของเราดีแท้ เพราะได้แนะนำเราให้รู้สึกตัว เหมือนบุคคล
    แทงพาหนะด้วยประตัก ฉะนั้น เราได้ฟังคำของโยมมารดาที่พร่ำสอน
    แล้วได้ปรารภความเพียร มีจิตตั้งมั่น ได้บรรลุโพธิญาณอย่างสูงสุด เรา
    เป็นพระอรหันต์ควรแก่ทักษิณา มีวิชชา ๓ ได้เห็นอมตธรรม ชนะเสนา
    แห่งมาร ไม่มีอาสวะอยู่ อาสวะของเราเหล่าใด ได้มีแล้วทั้งภายในทั้ง
    ภายนอก อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด เราตัดขาดแล้ว และไม่เกิดขึ้นอีก
    ต่อไป โยมมารดาของเราเป็นผู้แกล้วกล้า ได้กล่าวเนื้อความนี้กะเรา
    แม้เมื่อเราผู้เป็นบุตรของท่านไม่มีกิเลส กิเลสอันเป็นดังหมู่ไม้ในป่าของ
    ท่านคงจะไม่มีเป็นแน่ ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว อัตภาพนี้มีในที่สุด
    สงสาร คือความเกิดตายสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.


    ๖. นทีกัสสปเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญพระพุทธองค์

    [๓๔๐] พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา เพื่อประโยชน์แก่เราหนอ
    เพราะเราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อเราเป็น
    ปุถุชนยังมืดมนอยู่ สำคัญว่า การบูชายัญนี้เป็นความบริสุทธิ์ จึงได้
    บูชายัญสูงๆ ต่ำๆ และได้บูชาไฟ แล่นไปสู่การถือทิฏฐิ ลุ่มหลง
    ไปด้วยการเชื่อถือ เป็นคนตาบอดไม่รู้แจ้ง สำคัญความไม่บริสุทธิ์ว่าเป็น
    ความบริสุทธิ์ บัดนี้ เราละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว ทำลายภพทั้งปวงหมดแล้ว
    เราบูชาไฟ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เราขอ
    นมัสการพระตถาคต ความลุ่มหลงทั้งปวงเราละหมดแล้ว ตัณหาอันจะ
    นำไปสู่ภพเราทำลายแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.


    ๗. คยากัสสปเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงความเป็นพุทธทายาท

    [๓๔๑] เราลงไปลอยบาปในแม่น้ำคยา ที่ท่าคยาผัคคุ วันละ ๓ ครั้ง คือ เวลาเช้า
    เวลาเที่ยง เวลาเย็น เพราะคิดเห็นว่า บาปใดที่เราทำไว้ในชาติก่อน
    บัดนี้ เราจะลอยบาปนั้นในที่นี้ ความเห็นอย่างนี้ ได้มีแก่เราในกาลก่อน
    บัดนี้ เราได้ฟังวาจาอันเป็นสุภาษิต เป็นบทอันประกอบด้วยเหตุผล
    แล้วพิจารณาเห็นเนื้อความได้ถ่องแท้ตามความเป็นจริง โดยอุบายอัน
    ชอบ จึงได้ล้างบาปทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีมลทิน หมดจด สะอาด เป็น
    ทายาทผู้บริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุทรของพระ
    พุทธเจ้า เราได้หยั่งลงสู่กระแสน้ำ คือ มรรคอันมีองค์ ๘ ลอยบาป
    ทั้งปวง แล้วเราได้บรรลุวิชชา ๓ และได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.


    ๘. วักกลิเถรคาถา
    สุภาษิตปฏิญาณเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
    [๓๔๒] ดูกรภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ซึ่งเป็นที่ปราศจากโคจร เป็นที่เศร้าหมอง
    ถูกโรคลมครอบงำ จักทำอย่างไร?
    ท่านพระวักกลิเถระกราบทูลว่า
    ข้าพระองค์จะยังปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไปสู่ร่างกาย ครอบงำ
    ปัจจัยอันเศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่ จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕
    พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่ เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลาย
    ผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ มีความ
    พร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้าพระองค์จึงจักอยู่ในป่าใหญ่
    เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้มีพระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหฤทัย
    ตั้งมั่น จึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันอยู่ในป่า
    ใหญ่.


    ๙. วิชิตเสนเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต

    [๓๔๓] เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์ กักช้างไว้ที่ประตูนคร
    ฉะนั้น เราจักไม่ประกอบจิตไว้ในธรรมอันลามก จักไม่ยอมให้จิตตกลง
    ไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิดในร่างกาย เจ้าถูกเรากักขังไว้แล้ว จักไปตาม
    ชอบใจไม่ได้ เหมือนช้างได้ช่องประตู ฉะนั้น ดูกรจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้
    เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนืองๆ ดังก่อนมิได้ นายควาญ
    ช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ให้อยู่ใน
    อำนาจด้วยขอ ฉันใด เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจ ฉันนั้น นาย
    สารถีผู้ฉลาดในการฝึกม้าให้ดี เป็นผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้
    ฉันใด เราจักฝึกเจ้าให้ตั้งอยู่ในพละ ๕ ฉันนั้น จักผูกเจ้าไว้ด้วยสติ
    จักฝึกจักบังคับเจ้าให้ทำธุระด้วยความเพียร เจ้าจักไม่ได้ไปไกลจาก
    อารมณ์ภายในนี้ละนะจิต.


    ๑๐. ยสทัตตเถรคาถา
    สุภาษิตตำหนิคนปัญญาทราม

    [๓๔๔] คนมีปัญญาทราม คิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อม
    เป็นผู้ไกลจากสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น คนมีปัญญาทราม คิด
    จะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
    เหมือนพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น คนมีปัญญาทราม คิดจะยกโทษ ฟัง
    คำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเหี่ยวแห้งในสัทธรรม เหมือนปลาใน
    น้ำน้อย ฉะนั้น คนมีปัญญาทราม คิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่าน
    ผู้ชนะมาร ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา ฉะนั้น
    ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ผู้นั้นทำ
    อาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ พึงได้บรรลุ
    ความสงบอย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน.


    ๑๑. โสณกุฏิกัณณเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงความภูมิใจในการเป็นพุทธสาวก

    [๓๔๕] เราได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลส ไม่มีอาสวะ ได้เห็น
    พระผู้มีพระภาค และได้อยู่ร่วมกับพระองค์ในวิหารเดียวกัน พระผู้มี
    พระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว พระศาสดา
    ผู้ฉลาดในธรรมเป็นเครื่องอยู่ ได้เสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร เมื่อนั้น
    พระโคดมทรงลาดผ้าสังฆาฏิแล้ว สำเร็จสีหไสยา ทรงละความขลาด
    กลัวเสียแล้ว เหมือนราชสีห์อยู่ในถ้ำภูเขา ลำดับนั้น ท่านโสณะผู้เป็น
    สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กล่าววาจาไพเราะ ได้ภาษิตสัทธรรม
    ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ท่านโสณะกำหนดรู้
    เบญจขันธ์แล้ว อบรมอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ พึงได้บรรลุความสงบ
    อย่างยิ่ง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน.


    ๑๒. โกสิยเถรคาถา
    สุภาษิตยกย่องผู้เคารพครู

    [๓๔๖] ผู้ใดเป็นธีรชน เป็นผู้รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย อยู่ในโอวาทของครูนั้น
    และยังความเคารพให้เกิดในโอวาทของครูนั้น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีภักดี
    และชื่อว่าเป็นบัณฑิตและพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย อันตราย
    อันร้ายแรงเกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำบุคคลใดผู้พิจารณาอยู่ บุคคลนั้น
    ย่อมชื่อว่ามีกำลัง ชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรม
    ทั้งหลาย ผู้ใดแลตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เหมือนมหาสมุทร มีปัญญาลึกซึ้ง
    เห็นเหตุผลอันละเอียด ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ชื่อว่า
    เป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย ผู้ใดเป็นพหูสูต
    ทรงธรรมและประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นชื่อว่าผู้คงที่ เป็น
    บัณฑิตและพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย ผู้ใดรู้เนื้อความแห่ง
    สุภาษิต ครั้นรู้แล้วทำตามที่รู้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต อยู่ในอำนาจเหตุผล
    และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย.

    ที่มา .. http://www.palungjit.org/thai/index.php?page=28&cat=26&u_sort=uptime&u_order=desc


    [​IMG][MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.302023/[/MUSIC][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2008
  2. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    ขอบคุณครับคุณsiamesecat2005
     
  3. karnjanikarn

    karnjanikarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +129
    สาธุค่ะพี่ผ่อนคลาย ดีจังค่ะ

    กัลชณิกานติ์ ธีรสุชานันท์
    รัก.
     
  4. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    โอ เขินจังครับ ผมมานั่งฟังและดูหนังสือตาม แหมผมอ่านผิดก็มี อ่านพลาดก็มีครับ เช่น

    ๒. สุภูตเถรคาถา
    สุภาษิตสอนไม่ให้ดีแต่พูด

    [๓๓๖] บุรุษผู้ประสงค์จะทำธุรกิจ เมื่อประกอบตนในกิจที่ไม่ควรประกอบ ถ้า
    เมื่อขืนประพฤติอยู่อย่างนั้น ก็ไม่พึงได้สำเร็จผล การประกอบในกิจที่
    ไม่ควรประกอบนั้น มิใช่ลักษณะบุญ ถ้าบุคคลใด ไม่ถอนความเป็นอยู่
    อย่างลำบากแล้วมาสละธรรมอันเอกเสีย บุคคลนั้นก็พึงเป็นดังคนกาลี
    ถ้าสละทิ้งคุณธรรมแม้ทั้งปวง ผู้นั้นก็พึงเป็นเหมือนคนตาบอด เพราะ
    ไม่เห็นธรรมที่สงบและธรรมไม่สงบ บุคคลพึงทำอย่างใด พึงพูดอย่าง
    นั้นแล ไม่พึงทำอย่างใด ไม่พึงพูดอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อม
    กำหนดรู้ว่า บุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูดนั้นมีมาก ดอกไม้งาม มีสีแต่ไม่มี
    กลิ่น ฉันใด วาจาอันเป็นสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำอยู่
    ก็ฉันนั้น ดอกไม้งาม มีสี มีกลิ่น ฉันใด วาจาอันเป็นสุภาษิตย่อมไม่
    มีผลแก่บุคคลผู้ทำอยู่ ฉะนั้น.

    ไม่ ผมอ่านเกินมา ไว้จะว่างๆแก้นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...