53.เถรคาถาติกนิบาต 16 เรื่อง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 30 มีนาคม 2008.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    เถรคาถา ติกนิบาต
    ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในติกนิบาต


    ๑. อังคณิกภารทวาชเถรคาถา
    สุภาษิตชี้ผลการเลือกทางที่ถูกต้อง

    [๓๐๗] เมื่อเราแสวงหาความบริสุทธิ์โดยอุบายไม่สมควร ได้บูชาไฟอยู่ในป่า
    เมื่อเราไม่รู้ทางแห่งความบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญตบะต่างๆ ความสุขนั้น
    เราได้แล้วเพราะข้อปฏิบัติอันสบาย ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรม
    อันดีงาม วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว เราทำกิจพระพุทธศาสนาสำเร็จแล้ว
    เมื่อก่อนเราเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม แต่บัดนี้เราเป็นพราหมณ์ สำเร็จ
    วิชชา ๓ ล้างบาปแล้ว เป็นผู้มีความสวัสดี รู้จบไตรเพท.


    ๒. ปัจจยเถรคาถา
    สุภาษิตชี้ผลการทำจริง

    [๓๐๘] เราบวชแล้วได้ ๕ วัน ยังเป็นเสขบุคคลอยู่ ยังไม่ได้บรรลุอรหัต
    ความตั้งใจได้มีแล้วแก่เราผู้เข้าไปสู่วิหารว่า เมื่อเรายังถอนลูกศร คือ
    ตัณหาขึ้นไปไม่ได้ เราจักไม่กิน จักไม่ดื่ม จักไม่ออกไปจากวิหาร จัก
    ไม่เอนกายลงนอน เชิญท่านดูความเพียร ความบากบั่นของเราผู้ตั้งจิต
    อธิษฐาน ความเพียรอย่างมั่นคงอยู่อย่างนี้ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว
    เราทำกิจพระพุทธศาสนาสำเร็จแล้ว.


    ๓. พากุลเถรคาถา
    สุภาษิตสอนให้พูดจริงทำจริง

    [๓๐๙] ผู้ใดปรารถนาจะทำการงานที่ทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมพลาดจาก
    ฐานะอันนำมาซึ่งความสุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง พึงทำอย่างใด
    พึงพูดอย่างนั้น ไม่พึงทำอย่างใด ไม่พึงพูดอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลาย
    ย่อมกำหนดรู้ว่า บุคคลผู้ไม่ทำ มีแต่พูดนั้นมีมาก นิพพานที่พระสัมมา
    สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก ปราศจาก
    กิเลสธุลี ปลอดโปร่ง เป็นที่ดับทุกข์.


    ๔. ธนิยเถรคาถา
    สุภาษิตสอนการเป็นสมณะ

    [๓๑๐] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย ไม่ควร
    ดูหมิ่นจีวร ข้าวและน้ำของสงฆ์ ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
    ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย พึงเสพที่นอน ที่นั่ง ตามมีตามได้ เหมือน
    งูและหนูขุดรูอยู่ ฉะนั้น ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ ปรารถนาจะ
    เป็นผู้อยู่สบาย พึงยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ และพึงเจริญธรรมอย่าง
    เอก คือความไม่ประมาท.


    ๕. มาตังคปุตตเถรคาถา
    สุภาษิตชี้โทษความเกียจคร้าน

    [๓๑๑] ขณะทั้งหลายย่อมล่างพ้นบุคคล ผู้สละการงานโดยอ้างเลศว่า เวลานี้
    หนาวนัก ร้อนนัก เย็นนัก ก็ผู้ใดเมื่อทำกิจของลูกผู้ชาย ไม่สำคัญ
    ความหนาวและร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข เรา
    จักแหวกหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา แฝก หญ้าปล้อง และ
    หญ้ามุงกระต่ายด้วยอก พอกพูนวิเวก.


    ๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา
    สุภาษิตชี้ทางแห่งความสุข

    [๓๑๒] สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรมอันวิจิตร เป็นพหูสูต มีปกติอยู่ใน
    เมืองปาฏลีบุตร ท่านขุชชโสภิตะซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำนี้ เป็นสมณะผู้หนึ่ง
    ในจำนวนสมณะเหล่านั้น สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรมวิจิตร เป็น
    พหูสูต มีปกติอยู่ในเมืองปาฏลีบุตร ท่านผู้มาด้วยกำลังฤทธิ์ดังลมพัด
    ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำนี้ ก็เป็นสมณะผู้หนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น ขุชช
    โสภิตภิกษุนี้ ได้รับความสุขด้วยการประกอบดี การบูชาดี การชนะ
    สงคราม และการประพฤติพรหมจรรย์เนืองๆ.


    ๗. วารณเถรคาถา
    สุภาษิตสอนข้อควรศึกษา

    [๓๑๓] ในหมู่มนุษย์ นรชนใดเบียดเบียนสัตว์อื่น นรชนนั้นย่อมเสื่อมจาก
    ความสุขในโลกทั้งสอง คือ โลกนี้และโลกหน้า นรชนใดมีจิตประกอบ
    ด้วยเมตตา อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง นรชนผู้เช่นนั้น ย่อมได้ประสบ
    บุญเป็นอันมาก ควรศึกษาถ้อยคำสุภาษิต การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ
    การอยู่แต่ผู้เดียวในที่อันสงัด และธรรมเครื่องสงบระงับจิต.


    ๘. ปัสสิกเถรคาถา
    สุภาษิตชี้ผลการแนะนำให้คนทำดี

    [๓๑๔] ก็บรรดาหมู่ญาติผู้ไม่มีศรัทธา ถ้ามีคนมีศรัทธาแม้สักคนหนึ่งเป็นนัก
    ปราชญ์ ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นประโยชน์แก่พวก
    พ้อง ญาติทั้งหลายอันข้าพระองค์ข่มขี่อนุเคราะห์ ตักเตือน ให้ทำ
    สักการบูชาในภิกษุทั้งหลาย ด้วยความรักในญาติและเผ่าพันธุ์ ญาติ
    เหล่านั้นทำกาละล่วงไปแล้ว ได้รับความสุขในไตรทิพย์ พี่ชาย น้อง
    ชาย และมารดาของข้าพระองค์เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณบันเทิงอยู่.


    ๙. ยโสชเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับการอยู่ผู้เดียว

    [๓๑๕] นรชนผู้มีใจไม่ย่อท้อ เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าวและน้ำ มีร่างกายซูบ
    ผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เหมือนกับเถาหญ้านาง ภิกษุถูก
    เหลือบยุงทั้งหลายกัดแล้วในป่าใหญ่ พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตราย
    เหล่านั้น เหมือนช้างในสงคราม ภิกษุอยู่ผู้เดียวย่อมเป็นเหมือนพรหม
    ผู้อยู่ ๒ องค์เหมือนเทพเจ้า ผู้ที่อยู่ด้วยกันมากกว่า ๓ องค์ขึ้นไปเหมือน
    ชาวบ้าน ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้อยู่
    แต่ผู้เดียว.


    ๑๐. สาฏิมัตติยเถรคาถา
    สุภาษิตสอนการพึ่งลำแข้งตนเอง

    [๓๑๖] เมื่อก่อนท่านมีศรัทธา แต่วันนี้ท่านไม่มีศรัทธา สิ่งใดที่เป็นของท่าน
    ขอสิ่งนั้นจงเป็นของท่านนั่นแหละ ทุจริตของเราไม่มี เพราะศรัทธาไม่
    เที่ยงกลับกลอก ศรัทธานั้นเราเคยเห็นมาแล้ว คนทั้งหลายประเดี๋ยวรัก
    ประเดี๋ยวหน่าย ดูกรท่านผู้เป็นมุนี ท่านจะเอาชนะในคนเหล่านั้นได้
    อย่างไร บุคคลย่อมหุงอาหารไว้เพื่อนักปราชญ์ทุกๆ สกุล สกุลละเล็ก
    ละน้อย เราจักเที่ยวไปบิณฑบาต กำลังแข้งของเรายังมีอยู่.


    ๑๑. อุบาลีเถรคาถา
    สุภาษิตสอนพระบวชใหม่

    [๓๑๗] ภิกษุผู้ออกบวชด้วยศรัทธา ยังเป็นผู้ใหม่ต่อการศึกษา พึงคบหา
    กัลยาณมิตรผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ภิกษุผู้ออกบวชด้วยศรัทธา
    ยังเป็นผู้ใหม่ต่อการศึกษา พึงเป็นผู้ฉลาดอยู่ในสงฆ์ ศึกษาวินัยด้วย
    อำนาจการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติให้บริบูรณ์ ภิกษุผู้ออกบวชด้วยศรัทธา ยัง
    เป็นผู้ใหม่ต่อการศึกษา พึงเป็นผู้ฉลาดในสิ่งควรและไม่ควร ไม่ควรถูก
    ตัณหาครอบงำเที่ยวไป.


    ๑๒. อุตตรปาลเถรคาถา
    สุภาษิตสอนให้ละกาม

    [๓๑๘] เบญจกามคุณอันทำใจให้ลุ่มหลง ได้ยังเราผู้เป็นบัณฑิต ผู้สามารถค้น
    คว้าประโยชน์ให้ตกอยู่ในโลก เราได้แล่นไปในวิสัยแห่งมาร ถูกลูกศร
    คือ ราคะเสียบอยู่ที่หทัย อย่างมั่นคง แต่สามารถเปลื้องตนออกจาก
    บ่วงแห่งมัจจุราชได้ เราละกามทั้งปวงแล้ว ทำลายภพได้หมดแล้ว ชาติ
    สงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.


    ๑๓. อภิภูตเถรคาถา
    สุภาษิตชี้โทษการเกิด

    [๓๑๙] ขอบรรดาญาติเท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้ทั้งหมดจงฟัง เราจักแสดง
    ธรรมแก่ท่านทั้งหลาย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ท่านทั้งหลายจง
    ปรารภความเพียร จงก้าวออกไป จงประกอบความเพียรในพระพุทธ
    ศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมัจจุราชเสีย เหมือนกุญชรหักไม้อ้อ ฉะนั้น
    ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร ทำที่
    สุดแห่งทุกข์ได้.


    ๑๔. โคตมเถรคาถา
    สุภาษิตสอนให้มุ่งสันติธรรม

    [๓๒๐] เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ได้ไปสู่นรกบ้าง ไปสู่เปตโลกบ้าง
    ไปสู่กำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอันเป็นทุกข์บ้าง เราได้เสวยทุกข์หลายอย่าง
    ตลอดกาลนาน เราได้อัตภาพเป็นมนุษย์บ้าง ได้ไปสู่สวรรค์บ้างเป็น
    ครั้งคราว เราเกิดในรูปภพบ้าง ในอรูปภพบ้าง ในเนวสัญญีนาสัญญี
    ภพบ้าง ภพทั้งหลายเรารู้แจ้งแล้วว่า ไม่มีแก่นสาร อันปัจจัยปรุงแต่ง
    ขึ้น เป็นของแปรปรวนกลับกลอก ถึงความแตกหักทำลายไปทุกเมื่อ
    ครั้นเรารู้แจ้งภพนั้นอันเป็นของเกิดในตนทั้งสิ้นแล้ว เป็นผู้มีสติ ได้
    บรรลุสันติธรรม.


    ๑๕. หาริตเถรคาถา

    [๓๒๑] เหมือนข้อ ๓๐๙.


    ๑๖. วิมลเถรคาถา
    สุภาษิตสอนการคบมิตร

    [๓๒๒] บุคคลปรารถนาความสุขอันแน่นอน พึงเว้นบาปมิตรแล้ว พึงคบหา
    กัลยาณมิตร และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของกัลยาณมิตรนั้น เต่าตาบอด
    เกาะขอนไม้เล็กๆ จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตรอาศัยคนเกียจ
    คร้านเป็นอยู่ ย่อมจมลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึง
    เว้นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย
    ผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งฌาน ปรารภความเพียรเป็นนิตย์.


    ที่มา.. http://www.palungjit.org/thai/index.php?page=26&cat=26&u_sort=uptime&u_order=desc



    [​IMG][MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.300684/[/music][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2008
  2. karnjanikarn

    karnjanikarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +129
    รักขอโมทนากับพี่ผ่อนคลายด้วยนะคะ
    สาธุค่ะ

    กัลชณิกานติ์ ธีรสุชานันท์
    รัก.
     

แชร์หน้านี้

Loading...