52.เถรคาถาอีก 9 เรื่อง ในทุกนิบาต วรรคที่ ๕

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 30 มีนาคม 2008.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๕
    ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในทุกนิบาต วรรคที่ ๕


    ๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญพระรัตนตรัย

    [๒๙๘] น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระคุณสมบัติของพระศาสดา
    ของเราทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยประพฤติพรหมจรรย์ของพระสาวกผู้จัก
    ทำให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ พระสาวกเหล่าใดเป็นผู้ยังไม่ปราศจากขันธ์ ๕
    ในอสังไขยกัป พระกุมารกัสสปนี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น
    ร่างกายนี้มีในที่สุด สงสารคือการเกิดการตายมีในที่สุด บัดนี้ ภพใหม่
    ไม่มี.


    ๒. ธรรมปาลเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงชีวิตไม่ไร้ประโยชน์

    [๒๙๙] ภิกษุหนุ่มรูปใดแล เพียรพยายามอยู่ในพระพุทธศาสนา ก็เมื่อสัตว์
    ทั้งหลายนอกนี้พากันหลับแล้ว ภิกษุหนุ่มนั้นตื่นอยู่ ชีวิตของเธอไม่ไร้
    ประโยชน์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธ
    เจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม
    เนืองๆ เถิด


    ๓. พรหมาลิเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญผู้สงบ

    [๓๐๐] อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้
    เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ
    รู้คงที่ อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถี
    ฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็พากันรักใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว
    ไม่มีอาสวะ เป็นผู้คงที่.


    ๔. โมฆราชเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับกายเศร้าหมองใจผ่องใส

    [๓๐๑] ดูกรโมฆราช ภิกษุผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง แต่มีจิตผ่องใส ท่านเป็นผู้มีใจ
    ตั้งมั่นเป็นนิตย์ จักทำอย่างไรตลอดราตรีแห่งเวลาหนาวเย็นเช่นนี้
    ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ประเทศมคธล้วนแต่สมบูรณ์ด้วยข้าวกล้า ข้าพระ
    องค์พึงคลุมกายด้วยฟางแล้วนอนให้เป็นสุข เหมือนคนเหล่าอื่นที่มีการ
    เป็นอยู่เป็นสุข ฉะนั้น.


    ๕. วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงองค์คุณพระธรรมกถึก

    [๓๐๒] พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ดังนี้ คือ ไม่พึงยกตน ๑ ไม่ข่มบุคคล
    เหล่าอื่น ๑ ไม่พึงกระทบกระทั่งบุคคลเหล่าอื่น ๑ ไม่กล่าวคุณความดี
    ของตนในที่ชุมนุมชนเพื่อมุ่งลาภผล ๑ ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน กล่าวแต่พอ
    ประมาณ มีวัตร ๑ ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พึงเป็นผู้มีปกติเห็นเนื้อความ
    อันสุขุมละเอียด มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อม มีศีลตามเยี่ยง
    อย่างของพระพุทธเจ้านั้น พึงได้นิพพานไม่ยากเลย.


    ๖. จูฬกเถรคาถา
    สุภาษิตชมธรรมชาติและการปฏิบัติธรรม

    [๓๐๓] นกยูงทั้งหลายมีหงอนงาม ปีกก็งาม มีสร้อยคอเขียวงาม ปากก็งาม
    มีเสียงไพเราะ ส่งเสียงร่ำร้องรื่นรมย์ใจ อนึ่ง แผ่นดินใหญ่นี้ มีหญ้า
    เขียวชอุ่ม ดูงาม มีน้ำเอิบอาบทั่วไป ท้องฟ้าก็มีวลาหกอันงาม ท่านก็มี
    ใจเบิกบานควรแก่การงาน จงเพ่งฌานที่พระโยคาวจร ผู้มีใจดีเจริญแล้ว
    มีความบากบั่นในพระพุทธศาสนาเป็นอันดี จงบรรลุธรรมอันสูงสุด
    อันเป็นธรรมขาวผุดผ่อง ละเอียด เห็นได้ยาก เป็นธรรมไม่จุติแปรผัน.


    ๗. อนูปมเถรคาถา
    สุภาษิตสอนใจ

    [๓๐๔] จิตถึงความเพลิดเพลินเพราะธรรมใด ธรรมใดยกขึ้นสู่หลาว และจิตเป็น
    ดังหลาว เป็นดังท่อนไม้ ขอท่านจงเว้นธรรมนั้นๆ ให้เด็ดขาด ดูกรจิต
    เรากล่าวธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีโทษ เรากล่าวธรรมนั้นว่า เป็นเครื่อง
    ประทุษร้ายจิต พระศาสดาที่บุคคลได้ด้วยยาก ท่านก็ได้แล้ว ท่านอย่า
    ชักชวนเราในทางฉิบหายเลย.


    ๘. วัชชิตเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับการรู้อริยสัจ

    [๓๐๕] เมื่อเรายังเป็นปุถุชนมืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจ จึงได้ท่องเที่ยววนเวียน
    ไปมาอยู่ในคติทั้งหลาย ตลอดกาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
    กำจัดสงสารได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.


    ๙. สันธิตเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญอนิจจสัญญา

    [๓๐๖] เราเป็นผู้มีสติ ได้อนิจจสัญญาอันสหรคตด้วยพุทธานุสติ อยู่ที่โคน
    อัสสัตถพฤกษ์อันสว่างไสวไปด้วยแสงแห่งไฟและแก้วมณี และผ้ามีสี
    เขียวงาม ความสิ้นอาสวะเราได้บรรลุแล้วเร็วพลัน เพราะสัญญาที่เรา
    ได้แล้วในครั้งนั้นในกัปที่ ๓๑ แต่ภัททกัปนี้ไป.


    ที่มา .. http://www.palungjit.org/thai/index.php?page=26&cat=26&u_sort=uptime&u_order=desc



    [​IMG][MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.300560/[/music][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...