51.เถรคาถาอีก 10 เรื่อง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 30 มีนาคม 2008.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๔
    ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในทุกนิบาต วรรคที่ ๔


    ๑. มิคสิรเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงผลการบวช

    [๒๘๘] เมื่อใด เราได้บวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลุดพ้นจาก
    กิเลส ได้บรรลุธรรมอันผ่องแผ้วแล้ว ล่วงเสียซึ่งกามธาตุ เมื่อนั้น
    จิตของเราผู้เพ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นดังพรหม หลุดพ้นแล้ว
    จากกิเลสทั้งปวง และมารู้ชัดว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ เพราะความ
    สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง.


    ๒. สิวกเถรคาถา
    สุภาษิตเย้ยตัณหา

    [๒๘๙] เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหา
    นายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้น
    ชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือน
    บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลส
    ของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน
    เราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพ
    นี้เอง


    ๓. อุปวาณเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญพระพุทธองค์

    [๒๙๐] ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้เสด็จไปดีแล้วในโลก
    เป็นมุนี ถูกลมเบียดเบียนแล้ว ถ้าท่านมีน้ำร้อน ขอจงถวายแด่พระผู้มี-
    พระภาคผู้เป็นมุนีเถิด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้อันบุคคลบูชา
    แล้ว กว่าเทวดาและพรหมทั้งหลาย แม้บุคคลควรบูชา อันบุคคล
    สักการะแล้ว กว่าพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศล ผู้อันบุคคลพึง
    สักการะ อันบุคคลนอบน้อมแล้ว กว่าเหล่าพระขีณาสพที่บุคคลควร
    นอบน้อม เราปรารถนาจะนำน้ำร้อนไปถวายพระองค์.


    ๔. อิสิทินนเถรคาถา
    สุภาษิตชี้โทษของกาม

    [๒๙๑] อุบาสกทั้งหลายผู้ทรงธรรมกล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เราได้เห็นแล้ว
    อุบาสกเหล่านั้นเป็นผู้กำหนัด รักใคร่ห่วงใยในแก้วมณี บุตรธิดา และ
    ภรรยา เราได้เห็นแล้ว เพราะอุบาสกเหล่านั้น ไม่รู้ธรรมในพระพุทธ
    ศาสนานี้แน่แท้ แม้ถึงอย่างนั้นก็ได้กล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง แต่
    กำลังญาณเพื่อจะตัดราคะของอุบาสกเหล่านั้น ไม่มี เพราะฉะนั้น อุบาสก
    เหล่านั้นจึงติดอยู่ในบุตรภรรยาและในทรัพย์.


    ๕. สัมพหุลกัจจานเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับผู้รักสงบ

    [๒๙๒] ฝนก็ตก ฟ้าก็กระหึ่ม เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่คนเดียว เมื่อเราอยู่ในถ้ำ
    อันน่ากลัวคนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว หรือขนลุก
    ขนพองมิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่ผู้เดียว ไม่มีความกลัว
    หรือสะดุ้งหวาดเสียวนี้ เป็นธรรมดาของเรา.


    ๖. ขิตณเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงผลการอบรมจิต

    [๒๙๓] จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็น
    ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
    ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน จิตของเราตั้งมั่น
    ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา จิตของเราไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
    ความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เราอบรม
    จิตได้แล้วอย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงเราแต่ที่ไหนๆ


    ๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงการไม่ยอมแพ้กิเลส

    [๒๙๔] ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรีเพื่อจะหลับ
    โดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้ง ปรารถนาแล้วเพื่อประกอบ
    ความเพียร.
    ครั้นพระโสณะได้ฟังดังนั้นก็สลดใจ ยังหิริและโอตตัปปะให้เข้าไปตั้งไว้แล้ว อธิษฐาน
    **อัพโภคาสิกังคธุดงค์ กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาที่ ๒ นี้ว่า
    ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกลงจากคอช้าง เราตายเสียในสงครามประเสริฐ
    กว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร.


    ๘. นิสภเถรคาถา
    สุภาษิตแสดงความมุ่งหมายของการบวช

    [๒๙๕] วิญญูชนละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจแล้ว ออกบวชด้วยศรัทธา
    แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ และเรา
    มีสติสัมปชัญญะรอเวลาอันควรเท่านั้น.


    ๙. อุสภเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับความฝัน

    [๒๙๖] เราฝันว่าได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบนคอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยัง
    หมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูกมหาชนพากันมารุมมุงดูอยู่ จึงลงจากคอช้าง
    กลับลืมตาตื่นขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ได้ความสลดใจว่า ความฝันนี้เราไม่มี
    สติสัมปชัญญะนอนหลับฝันเห็นแล้ว ครั้งนั้น เราเป็นผู้กระด้างด้วยความ
    มัวเมาเพราะชาติสกุล ได้ความสังเวชแล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ.


    ๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา
    สุภาษิตเตือนตนมิให้ง่วงเหงา

    [๒๙๗] กัปปฏกุรภิกษุเกิดความวิตกผิดว่า เราจักนุ่งห่มผ้าผืนนี้แล้วจักเลี้ยงชีพ
    ตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคืออมตธรรมของเรา มีอยู่เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ
    เราเอาบาตรตักน้ำคืออมตธรรมใส่หม้ออมตะ เพื่อสั่งสมณานทั้งหลาย
    ดูกรกัปปฏะ ท่านอย่ามานั่งโงกง่วงอยู่ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เมื่อเรา
    แสดงธรรมอยู่ในที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่ ดูกร
    กัปปฏะ ท่านนั่งโงกง่วงอยู่ในท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้ ไม่รู้จักประมาณเลย.

    ที่มา.. http://www.palungjit.org/thai/index.php?page=26&cat=26&u_sort=uptime&u_order=desc


    วันนี้เกิดศรัทธามากอยากอัพหลายๆกระทู้ ให้ได้มากๆและฝึกเยอะๆครับ ให้มีคุณภาพด้วย ลองดูกัน...



    [​IMG][MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.300499/[/music][​IMG]




    ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ

    หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต-เกี่ยวกับจีวร มี
    ๑.ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล
    ๒.เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน

    หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต-เกี่ยวกับบิณฑบาต มี
    ๓.ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ
    ๔.สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
    ๕.เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว
    ๖.ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร
    ๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม

    หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต -เกี่ยวกับเสนาสนะมี
    ๘.อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า
    ๙.รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้
    ๑๐.**อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง
    ๑๑.โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า
    ๑๒.ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้

    หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต-เกี่ยวกับความเพียร มี
    ๑๓.เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ)

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...