49./จ.31 มี.ค.51/ เถรคาถาอีก 10 เรื่อง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 30 มีนาคม 2008.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๒
    ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในทุกนิบาต วรรคที่ ๒


    ๑. มหาจุนทเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญการฟัง

    [๒๖๘] การฟังดีเป็นเหตุให้ฟังเจริญ การฟังเป็นเหตุให้เจริญปัญญา บุคคลจะรู้
    ประโยชน์ก็เพราะปัญญา ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้
    ภิกษุควรส้องเสพเสนาสนะอันสงัด ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุให้จิต
    หลุดพ้นจากสังโยชน์ ถ้ายังไม่ได้ประสบความยินดีในเสนาสนะอันสงัด
    และธรรมนั้น ก็ควรเป็นผู้มีสติรักษาตนอยู่ในหมู่สงฆ์.


    ๒. โชติทาสเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม

    [๒๖๙] ชนเหล่าใดแลพยายามในทางร้ายกาจ ย่อมเบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลาย
    ด้วยการกระทำอันเจือด้วยความผลุนผลันก็ดี ด้วยการกระทำมีความ
    ประสงค์ต่างๆ ก็ดี ชนเหล่านั้นกระทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ฉันใด แม้ผู้อื่น
    ก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ตน ฉันนั้น เพราะนรชนทำกรรมใดไว้ดีหรือชั่วก็ตาม
    ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำไว้นั้นโดยแท้.


    ๓. เหรัญญิกานิเถรคาถา
    สุภาษิตชี้โทษคนพาล

    [๒๗๐] วันและคืนย่อมล่วงไปๆ ชีวิตย่อมดับไป อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป
    เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อย ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลทำบาปกรรมอยู่
    ย่อมไม่รู้สึกตัว ต่อภายหลังเขาจึงได้รับทุกข์อันเผ็ดร้อน เพราะบาปกรรม
    นั้นมีวิบากเลวทราม.


    ๔. โสมมิตตเถรคาถา
    สุภาษิตชี้โทษความเกียจคร้าน

    [๒๗๑] เต่าตาบอดเกาะขอนไม้เล็กๆ จมลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตร
    อาศัยคนเกียจคร้านดำรงชีพ ย่อมจมลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
    บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้านผู้มีความเพียรเลวทรามเสีย ควรอยู่ร่วมกับ
    บัณฑิตทั้งหลายผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้เพ่งฌาน มีความเพียร
    อันปรารภแล้วเป็นนิตย์.


    ๕. สัพพมิตตเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับคน

    [๒๗๒] คนเกี่ยวข้องในคน คนยินดีกะคน คนถูกคนเบียดเบียน และคนเบียด
    เบียนคน ก็จักต้องการอะไรกับคนหรือกับสิ่งที่คนทำให้เกิดแล้วแก่คน
    เล่า ควรละคนที่เบียดเบียนคนเป็นอันมากไปเสีย.


    ๖. มหากาลเถรคาถา
    สุภาษิตชี้โทษอุปธิ

    [๒๗๓] หญิงชื่อกาฬี มีร่างกายใหญ่ ดำดังกา หักขาซ้ายขาขวา แขนซ้ายแขนขวา
    และทุบศีรษะของซากศพ ให้มันสมองไหลออกดังหม้อทธิแล้ววางไว้
    ตามเดิม นั่งอยู่ ผู้ใดแลไม่รู้แจ้งเป็นคนเขลา ก่อให้เกิดกิเลส ผู้นั้น
    ย่อมเข้าถึงทุกข์ร่ำไป เพราะฉะนั้น บุคคลรู้ว่าอุปธิเป็นเหตุเกิดทุกข์
    จึงไม่ควรก่อกิเลสให้เกิด เราอย่าถูกเขาทุบศีรษะนอนอยู่อย่างนี้อีกต่อไป.


    ๗. ติสสเถรคาถา
    สุภาษิตชี้โทษลาภสักการะ

    [๒๗๔] ภิกษุศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ได้ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน ที่นั่ง
    ย่อมชื่อว่าได้ข้าศึกไว้มาก ภิกษุรู้โทษในลาภสักการะว่าเป็นภัยอย่างนี้แล้ว
    ควรเป็นผู้มีลาภน้อย มีจิตไม่ชุ่มด้วยราคะ มีสติงดเว้นความยินดีในลาภ.


    ๘. กิมพิลเถรคาถา
    สุภาษิตสรรเสริญการยินดีในธรรม

    [๒๗๕] พระศากยบุตรทั้งหลายผู้เป็นสหายกันในปาจีนวังสทายวัน ได้พากันละ
    โภคะไม่น้อย มายินดีในการเที่ยวบิณฑบาต ปรารภความเพียร มีจิต
    เด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ละความยินดีในโลก มายินดีอยู่
    ในธรรม.


    ๙. นันทเถรคาถา
    สุภาษิตชี้ทางปฏิบัติ

    [๒๗๖] เรามัวแต่ประกอบการประดับตกแต่ง เพราะไม่มีโยนิโสมนสิการ มีใจ
    ฟุ้งซ่าน กลับกลอก ถูกกามราคะเบียดเบียน เราได้ปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ
    ตามที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ฉลาดในอุบาย ได้ทรง
    สั่งสอนแนะนำ แล้วถอนจิตจมลงในภพขึ้นได้.


    ๑๐. สิริมาเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับการสรรเสริญและนินทา

    [๒๗๗] ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถึงชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญ
    เปล่า เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ถึงชนเหล่าอื่น
    จะติเตียน ชนเหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว.

    ที่มา... http://www.palungjit.org/thai/index.php?page=25&cat=26&u_sort=uptime&u_order=desc

    ผมตั้งใจไว้ว่าจะพยายามซ้อมอ่านไปเรื่อยๆ จนกว่างานจะเข้าที่เข้าทางเรียบร้อย หรือเสร็จสมบูรณ์ครับ เพราะการซ้อมแต่ละครั้งที่ได้แก่ตัวผมก็คือ ประสบการณ์และความมั่นใจ ตลอดทั้งคุ้นเคยกับงานมากขึ้นๆ ทำให้รู้สึกรักงานมากครับ

    อ่านซ้อมอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 เที่ยว รู้สึกว่าจะคล่องมากไปหน่อย คือรู้สึกว่าเร็วไปน่ะครับ[​IMG][​IMG]

    มีอะไรติชม เชิญทุกท่านไม่ต้องเกรงใจนะครับ

    [​IMG][music]http://palungjit.org/attachments/a.300482/[/music][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...