เรื่องเด่น “มจร”ผนึกกำลังแปลพระไตรปิฏกฉบับสากลเสริมปัญญาไทย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 24 กรกฎาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    วันศุกร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560, 18.10 น.

    “มจร”ผนึกกำลังแปลพระไตรปิฏกฉบับสากลเสริมปัญญาไทย

    พิมพ์แจกวันวิสาขบูชาโลกประจำปี 2561



    e0b881e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b981e0b89be0b8a5e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b984e0b895e0b8a3e0b89b.jpg

    b881e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b981e0b89be0b8a5e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b984e0b895e0b8a3e0b89b-1.jpg

    b881e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b981e0b89be0b8a5e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b984e0b895e0b8a3e0b89b-2.jpg

    วันที่ 21 ก.ค.2560 พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso โดยอ้างอิงข้อมูลจาก วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ความว่า พระไตรปิฏกฉบับสากลคือนวัตกรรมสำคัญที่มหาจุฬาฯ ได้พัฒนาขึ้นในยุคไทยแลนด์ 4.0 และชาวพุทธทั่วโลกกำลังผนึกกำลังนักวิชาการแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาต่างๆ ได้แก่ ฮังการี นอร์เวย์ สเปน อินโดนีเซีย อาหรับ เวียดนาม จีน และภาษาไทย” นี่คือคำกล่าวของพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มหาจุฬาฯ และประธานกรรมการบริหารสมาคมวิสาขบูชาโลกและสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ในงานบูรพปัญญา ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมใหญ่ มจร

    สำหรับภาษาไทยนั้น มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เรียกว่า “คณะกรรมการดำเนินการแปลพระไตรปิฏกฉบับสากล” โดยมีพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. เป็นประธานกรรมการ และมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการชุดนี้ ได้ประชุมร่วมกัน 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายได้ประชุมกันเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560 และมีมติร่วมกันเกี่ยวกับการแปลคัมภีร์พระไตรปิฏกฉบับสากล ดังนี้

    1. อนุมัติทีมแปลพระไตรปิฏกฉบับสากล ทั้ง 3 นิกาย ดังนี้ (1) พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส เป็นหัวหน้าคณะทีมแปลพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) อาจารย์นัยนา นาควัชระ เป็นหัวหน้าคณะแปลพระพุทธศาสนาวัชรยาน และ (3) ผศ.ดร.สมหวัง แก้วสุฟอง หัวหน้าคณะทีมแปลพระพุทธศาสนามหายาน

    2. ทีมบรรณาธิการ ประกอบด้วย (1) พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. เป็นหัวหน้าคณะบรรณาธิการ (2) พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. ผู้ช่วยบรรณาธิการทีมแปลพระพุทธศาสนาเถรวาท (3) รศ.ดร.สำเนียง เลื่อมใส ผู้ช่วยบรรณาธิการทีมแปลพระพุทธศาสนามหายาน และ (4) อาจารย์พจนา จันทรสันติ ผู้ช่วยบรรณาธิการทีมแปลพระพุทธศาสนาวัชรยาน โดยมี ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล นายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ช่วยสนับสนุนทีมงานแปลทั้งมหายาน และวัชรยาน และมีนางสาวอรวรรณ โตปฐมวงศ์ เป็นผู้ประสานงานทีมงานแปลทั้งหมด

    การแปลพระไตรปิฏกฉบับสากลจะใช้เวลาทั้งสิ้น 8 เดือน ใช้เวลาบรรณาธิการ 3 เดือน และจัดพิมพ์ 2 เดือน ซึ่งจะทำให้สามารถแจกทันงานวิสาขบูชาโลกปีหน้าซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานเฉลิมฉลอง สำหรับพระไตรปิฏกภาษาอื่นๆ นั้น ขณะนี้ นักวิชาการชาวพุทธกำลังดำเนินการแปล เชื่อว่าจะสามารถนำมาแจกภายในงานวิสาขบูชาโลกปีหน้าได้เช่นเดียวกัน ในขณะที่พระไตรปิฏกสากลภาษาอังกฤษนั้น ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ และทีมบรรณาธิการกำลังดำเนินการปรับปรุงเพิ่มเติมก่อนที่จะเสนอให้พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. หัวหน้าบรรณาธิการ ให้ความเห็นชอบเพื่อจะได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่สองต่อไป

    อย่างไรก็ตามพระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการชุดดังกล่าว ได้แนะนำเนื้อหาในพระไตรปิฎกฉบับสากล ผ่านทางเฟซบุ๊ก “Phanna Som” เป็นตอนๆ โดยให้ชื่อคือ พระไตรปิฎกฉบับสากล: สาระสำคัญ” ขณะนี้ได้ 5 ตอนแล้ว สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่เฟซบุ๊กดังกล่าว



    ที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/86153
     

แชร์หน้านี้

Loading...