(๙) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 9 กรกฎาคม 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ครั้งที่ ๑๑๗
    บรรยายวันจันทร์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๐๕
    เรื่อง

    มหาสติปัฏฐาน
    (ข้อว่า สมฺปชาโน ต่อ)


    วันนี้ จะได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏบาน เฉพาะข้อที่ว่าด้วยสัมปชัญญะ สืบต่อไป

    ถ. สัมปชัญญะข้อที่ ๒ แปลและหมายความว่าอย่างไร?

    ต. สัมปชัญญะข้อที่ ๒ คือสัปปายสัมปชัญญะ แปลว่ากำหนดรู้อารมณ์เป็นที่สบายและไม่เป็นที่สบาย

    ถ. สัปปายะ มีเท่าไร อะไรบ้าง?
    ต. สัปปายะมี ๘ คือ
    ๑.อาวาสสัปปายะ ที่อยู่ที่อาศัยเป็นที่สบาย
    ๒. โคจรสัปปายะ โคจรคือ ที่เที่ยวภิกษาเป็นที่สบาย หรืออารมณ์เป็นที่สบาย
    ๓.บุคคลสัปปายะ บุคคลเป็นที่สบาย
    ๔. โภชนสัปปายะ โภชนะคืออาหารเป็นที่สบาย
    ๕. อุตุสัปปายะ ฤดูเป็นที่สบาย คือมีอากาศดีไม่เย็นไม่ร้อนจัดพอดี
    ๖. ภัสสสัปปายะ ถ้อยคำเป็นที่สบาย
    ๗. อิริยาบถสัปปายะ อิริยาบถเป็นที่สบาย

    ๘. ธัมมสัปปายะ ธรรมเป็นที่สบาย คือถูกอัธยาศัย
    ถ. รู้อารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายนั้น มีเท่าไรอะไรบ้าง?
    ต. อารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายนั้น มี ๒ อย่างคือ อารมณ์ภายนอก ๑ อารมณ์ภายใน ๑
    ๑. อารมณ์ภายนอก ได้แก่ อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่ารักใคร่ชอบใจน่าปรารถนา น่าอยากได้ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น และอนิฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ มีรูปที่ไม่ดี เสียงที่ไม่ไพเราะ กลิ่นที่เหม็นเป็นต้น

    ๒. อารมณ์ภายใน ได้แก่ อารมณ์ คือ พระกรรมฐาน อารมณ์คือพระกรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คืออารมณ์ของสมถกรรมฐาน ๑ อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ๑

    ๑. อารมณ์ของสมถกรรมฐาน มีอยู่ ๔๐ อย่าง มีกสิน ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ เป็นต้น
    ๒. อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน มีอยู่ ๖ อย่าง ได้แก่วิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ธาุตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท
    ถ. กำหนด รู้อารมณ์ เป็นที่สบายและไม่สบายนั้น คือ กำหนดอย่างไร ยกตัวอย่าง
    ต. กำหนดอย่างนี้ คือ
    ๑. การไปไหว้พระเจดีย์ การไปไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ มีประโยชน์อยู่ แต่ถ้ามีหญิงชายพากันแต่งตัวไปในงานนั้นอย่างสวยงาม ราวกะว่านางฟ้า และไปกันมากๆ เพื่อจะไปบูชาพระเจดีย์นั้นเป็นการใหญ่ ต่างก็พากันสัญจรไปมาอยู่ขวักไขว่ ดุจรูปจิตรกรรมอันแพรวพราว ฉะนั้น การไปไหว้พระเจดีย์ของนักปฏิบัติะรรมในคราวเช่นนั้น อาจจะเป็นอาการบ่อเกิดกิเลสน้อยใหญ่ต่างๆ นานา เช่น เกิดโลภะ เพราะประสบอิฏฐารมณ์ เกิดโทสะ เพราะกระทบอนิฏฐารมณ์ เกิดโมหะ เพราะมัชฌัตตารมณ์ และอาจต้องกายสังสัคคาบัติก็ได้ อาจจะเกิดอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ก็ได้
    ถ้าการไปไหว้พระเจดีย์มีแต่ก่อให้เกิดโทษ เกิดกิเลสต่างๆ อย่างนี้ไม่ควรไป เพราะที่นั่นเป็นอสัปปายะ คือเป็นสถานที่ไม่สะดวกสบาย เป็นสถานที่มีภัยเฉพาะหน้า ถ้าตรงกันข้าม คือไม่ก่อให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะเป็นต้น ดังกล่าวมาสมควรไป เพราะที่นั่นเป็นสัปปายะ มีแต่ก่อให้เกิดความสบาย
    ข. การเห็นพระสงฆ์ การเห็นพระเถระผู้มีบริษัทบริวารมาก มีประโยชน์อยู่ แต่ถ้าภายในบ้านพวกมนุษย์พากันทำปรำใหญ่แล้ว ฟังธรรมตลอดคืน มีคนมาประชุมกันมากมาย และมีอันตรายเกิดขึ้นได้ ที่นั่นเป็นอสัปปายะ ถ้าตรงกันข้าม คือไม่มีคนมามากและไม่มีอันตราย ที่นั้นเป็นที่สบายสมควรไปในที่เช่นนั้นได้
    ค. การเห็นอสุภะ คือซากศพมีประโยชน์โดยแท้ เพราะได้โอกาสเจริญกรรมฐานได้ โอกาสบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา สามารถจะเป็นพลวปัจจัยให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานในเวลาอันไม่ช้า ข้อนี้มีตัวอย่างมามากแล้ว เช่นมีเรื่องเล่าไว้ว่า
    ภิกษุรูปหนึ่ง พาสามเณรไปตัดไม้ชำระฟันในป่า สามเณรได้เดินหลีกออกจากหนทางล่วงหน้าไปในป่าก่อน ได้เห็นซากศพแล้วเจริญสมถกรรมฐาน มีซากศพนั้นเป็นอารมณ์ จนได้บรรลุปฐมฌาณแล้วกระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาพิจารณาสังขาร คือรูปนาม จนได้บรรลุมมค ๓ ผล ๓ คือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคมมิล อนาคามิมรรค อนาคามิผล ได้ยืนกำหนดกรรมฐานต่อไปอีก เพื่อให้ได้บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผลสูงขึ้นไปอีก แต่ภิกษุหนุ่มที่ไปด้วยกัน เมื่อไม่เห็นสามเณรก็ได้ตะโกนเรียกก่อน เธอคิดว่า "ตั้งแต่วันที่เราบวชมาจนกรทั่งบัดนี้ เรายังไม่เคยให้พระท่นเรียกถึง ๒ ครั้งเลย เราจะปฏิบัติต่อเพื่อให้ได้คุณวิเศษเบื้องสูงในวันอื่น" ดังนี้ จึงได้ตอบรับท่านไปว่า "กึ ภนฺเต" อะไร ขอรับ ภิกษุหนุ่มพูดว่า จงมานี่ เธอก็รีบมาทันที แล้วกราบเรียนท่านว่า "ภนฺเต อิมินา ตาว มคฺเคน คนฺตวา มยา จิโตกาเส มุหุตฺตํ ปุรตฺถามุโข ฐตฺวา โอโลเกถ" ขอนิมนต์ท่านเดินไปทางนี้ก่อน แล้วยืนบ่ายหน้าแลดูตรงที่กระผมยืนสักครู่หนึี่งเถิดขอรับ ภิกษุหนุ่มนั้นได้ปฏิบัติตามที่สามเณรบอกทุกประการ ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุคุณวิเศษเช่นเดียวกับสามเณรนั้น คือได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ เป็นพระอนาคามี

    อสุภะอันเดียวเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาล แก่คนทั้ง ๒ คน อย่างที่บรรยายมาแล้วนี้ ด้วยเหตุนั้น อสุภะจึงชื่อว่ามีประโยชน์แท้ แต่ว่าอสุภะของมาตุคามไม่เป็นสัปปายะแก่บุรุษ และอสุภะของบุรุษก็ไม่เป็นสัปปายะแก่มาตุคามเช่นเดียวกัน อารมณ์ที่เป็นสภาคกันเท่านั้นจึงเป็นสัปปายะ

    การกำหนดสัปปายะ คืออารมณ์เป็นที่สบาย อย่างนี้เรียกว่า สัปปายะสัมปชัญญะ

    ถ. สัมปชัญญะข้อที่ ๓ แปลและหมายความว่าอย่างไร?
    ต. สัมปชัญญะข้อที่ ๓ คือโคจรสัมปชัญญะ แปลว่ากำหนดรู้โคจร
    โคจรมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    ๑. กมฺมฏฺฐานโคจรํ โคจร คือ พระกรรมฐาน
    ๒. ภิกฺขาจารโคจรํ โคจร คือ ที่เที่ยวภิกขาจาร
    โคจร คือพระกรรมฐานนั้น จำแนกออกเป็น ๒ อย่างคือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนโคจร คือที่เที่ยวภิกขาจารนั้น มิได้กำหนดไว้ เพราะมีมากด้วยกัน สุดแท้แต่ความเหมาะสมและไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย

    ผู้ใดได้เรียนพระกรรมฐานทั้ง ๒ อย่าง คือทั้งสมถและวิปัสสนาแล้ว เวลาจะไปไหนมาไหน เ่ช่น ไปเที่ยวภิกขาจาร ก็มีกรรมฐานไปด้วย และเวลากลับก็มีกรรมฐานมาด้วย การไปการมาของผู้นั้นชื่อ โคจรสัมปชัญญะ

    ถ. โคจรสัมปชัญญะ แบ่งออกเป็นเท่าไร อะไรบ้าง?
    ต. แบ่งออกเป็น ๔ คือ
    ๑. อิเธกจฺโจ ภิกฺขุ หรติ น ปจฺจาหรติ ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ เวลาไปไหนๆ ก็ตาม มีกรรมฐานไปด้วย แต่เวลากลับไม่มีกรรมฐานมาด้วย

    ๒. เอกจฺดจ ปจฺจาหรติ น หรติ ภิกษุบางรูป เวลากลับมีกรรมฐานมาด้วย แต่เวลาไปไม่มี

    ๓. เอกจฺโจ ปน เนว หรติ น ปจฺจาหรติ ภิกษุบางรูป เวลาไปก็ไม่มีกรรมฐานด้วย เวลากลับก็ไม่มีกรรมฐานมาด้วย

    ๔. เอกจฺโจ หรติ จ ปจฺจาหรติ จ ภิกษุบางรูป เวลาไปก็มีกรรมฐานไปด้้วย เวลากลับก็มีกรรมฐานมาด้วย
    ถ. โคจรแต่ละข้อนั้น มีอธิบายขยายความเป็นประการใด
    ต. มีอธิบายขยายความเป็นดังนี้ คือ

    ๑. ภิกษุใด ทำใจให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์ ๕ ด้วยการเดินจงกรมและนั่งกรรมฐานทั้งวัน ครั้นถึงกลางคืนก็พักผ่อนในยามที่ ๑ ที่ ๒ แล้วลุกขึ้นเดินจงกรม นั่งกรรมฐานในปัจฉิมยาม ต่อจากนั้น ทำวัตรที่ลานพระเจดีย์ และที่ลานพระศรีมหาโพธิ์ รดน้ำต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งน้ำใช้น้ำฉันไว้ ทำวัตรพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ มีบริกรรมศีรษะเป็นต้นแล้ว เข้าไปสู่ห้องเจริญกรรมฐาน ครั้นได้เวลาภิกขาจารก็ลุกขึ้นเตรียมตัวไปบิณฑบาตร ทำกรรมฐานไปทุกขณะมิได้ขาด เวลาออกจากเสนาสนะก็มีกรรมฐานไปสู่ลานพระเจดีย์ก็มีกรรมฐาน เช่นพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น จะไปสู่ที่ไหนๆ ก็ไม่เคยละกรรมฐานเลย
    ถ้าหากมีกรรมฐานบทอื่นอยู่ในใจ ท่านยืนที่บันไดพักกรรมฐานนั้นไว้ก่อน ดุจบุคคลเอามือถือห่อสิ่งของไว้ ฉะนั้น แล้วก็เจริญกรรมฐานที่มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์จนเกิดปิติ ขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ใหญ่ ๓ ครั้ง ไหว้พระเจดีย์ใหญ่ทั้ง ๔ ทิศ ต่อจากนั้นจึงทำประทักษิณพระเจดีย์องค์เล็กๆ แล้วไหว้พระเจดีย์ทั้ง ๘ ทิศ

    เมื่อไหว้พระเจดีย์ ไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์อย่างนี้แล้ว พักพุทธานุสสติกรรมฐานไว้ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ต่อไป แม้จะไปสู่ที่ใกล้บ้านก็มี ห่มจีวรก็ดี ไปบิณฑยาตก็มี ก็มีกรรมฐานไปด้วย มิได้ขาด มิได้ประมาทเลยแม้แต่น้อย

    ในลำดับนั้น พวกมนุษย์เห็นท่านแล้วพากันลุกขึ้นต้อนรับว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรามาแล้วรับบาตร นิมนต์นั่งโรงฉันหรือในเรือน ถวายข้ายาคู ภัตตาหารยังไม่เสร็จตราบใด ตราบนั้นก็ล้างเท้าของท่าน เอาน้ำมันทา นั่งอยู่ตรงข้างหน้า ถามปัญหาธรรมในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ฟังธรรมกถาของท่าน ถึงแม้ว่าพวกมนุษย์ไม่นิมนต์ให้แสดงธรรม ก็ควรกล่าวธรรมกถาอนุโมทนา เพราะพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวเตือนไว้ว่า "ชนสงฺคหตฺถํ ธมฺมกถา นาม กตฺตพฺพาเยว" ขึ้นชื่อว่าธรรมกถา ภิกษุควรกระทำโดยแท้ เพื่อสงเคราะห์ประชาชน การแสดงธรมก็ดี การกล่าวอนุโมทนาก็ดี ให้อยู่ในขอบเขตของธรรม คือให้มีกรรมฐานติดอยู่เสมอ ดังหลักฐานที่ท่านเตืือนไว้ว่า "ธมฺมกถา หิ กมฺมฏฺฐานวินิมุตฺตา นาม นตฺถิ" จริงอยู่ธรรมกถา ชื่อว่าพ้นจากกรรมฐานไปย่อมไม่มี ดังนี้ เพราะฉะนั้น เวลาฉันอาหารก็ต้องมีกรรมฐานเป็นเรือนใจเสมอเวลากล่าวอนุโมทนาก็ต้องมีกรรมฐานเสมอ

    เวลาออกจากบ้านพวกมนุษย์ตามส่งเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินทางไปถึงที่พัก พวกภิกษุสามเณรพากันลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตร รับจีวร ถามเรื่องโน้นเรื่องนี้ ต่างๆ นานา จนไม่มีโอกาสจะได้ทำกรรมฐาน อย่างนี้้เรียกว่าเวลาไปมีกรรมฐาน แต่เวลากลับไม่กรรมฐานกลับมาด้วย


    ๒. ภิกษุผู้ทำวัตรปฏิบัติที่ลานพระเจดีย์ ที่ลานต้นพระศรีมหาโพธิ จนร้อน มีเหงื่อไหลออกจากสรีระ กรรมฐานไม่ขึ้นสู่วิถี ไปบิณฑบาตรก็รีบๆ ร้อนๆ ครั้นเข้าไปสู่บ้านก็เป็นเวลาชาวบ้านเขาปล่อยวัวควายออกจากคอกได้ข้าวยาคูแล้วไปสู่อาสนศาลา พอฉันไปได้สัก ๒-๓ ช้อน ความกระวนกระวายก้หายไป จึงได้ทำกรรมฐานไป ฉันไป ฉันข้าวยาคูเสร็จแล้วล้างบาตร ล้างปากได้โอกาสเจริญกรรมฐานในระหว่างฉัน ต่อจากนั้นจึงเป็นไปบิณฑบาตรที่บ้าน ได้อาหารแล้ว เวลากลับก็มีกรรมฐานมาด้วย เวลาฉันก็มีกรรมฐานด้วย อย่างนี้เรียกว่า เวลาไปไม่มีกรรมฐานแต่เวลากลับมีกรรมฐานมาด้วย

    ๓. ภิกษุทั้งหลายที่ดื่มข้าวยาคู เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ได้บรรลุพระอรหัตต์ในพระพุทธศาสนานับไม่ถ้วน เช่นในเกาะสีหฬเป็นตัวอย่าง แต่ภิกษุบางพวกคิดผิดไปว่า "พวกภิกษุที่อยู่บนอาสนะในบ้าน ดื่มข้าวยาคูเจริญกรรมฐานได้บรรลุพระอรหัตต์ไม่มี" ดังนี้ จึงเป็นผู้ประมาททอดธุระในการเจริญกรรมฐาน ทำลายวัตรทั้งหลายเสีย มีใจพัวพันอยู่กับเครื่องกังวลใจ ๕ อย่าง จึงเหินห่างกรรมฐานสำคัญผิดคิดว่า กรรมฐานไม่มีประโยชน์ จึงเข้าบ้านคลุกคลีอยู่กับคฤหัสถ์ เที่ยวบ้าง ฉันภัตตาหารบ้าง เวลากลับก็เป็นผู้มีใจเปล่ากลับมา คือมิได้มีกรรมฐานเป็นเรือนใจมาด้วยอย่างนี้เรียกว่า เวลาไปก็ไม่มีกรรมฐาน เวลากลับก้ไม่มีกรรมฐานอีก

    ๕. ภิกษุใดเวลาไปก็มีกรรมฐานไปด้วย เวลากลับก็มีกรรมฐานกลับมาด้วย หมายความว่า เจริญกรรมฐานทั้งไปและกลับ ไม่ยอมละไม่ยอมเว้นซึ่งกรรมฐานเลย ภิกษุนั้นเรียกว่า มีวัตรคือกรรมฐานทั้งไปและกลับ จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลายผู้หวังประโยชน์โสตถิผลแก่ตน บวชในพระศาสนานี้จะอยูรวมกันสัก ๑๐-๒๐-๓๐-๔๐ -๕๐-๖๐-๑๐๐ รูป หรือมากกว่านั้นก็ตาม ตั้งกติกาักันไว้ว่า "ท่านทั้งหลาย พวกเราบวชมาเพื่อเป็นผู้ไม่มีหนี้ ไม่มีภัย ต้องการพ้นจากทุกข์ เพราะฉะนั้น เวลาไป เวลายืน เวลานั่ง เวลานอน จงพยายามปฏิบัติกำจัดกิเลส" ดังนี้ ครั้งทำกติกาวางระเบียบในการปฏิบัติไว้อย่างนี้ เมื่อจะไปสู่ภิกขาจาร พากันนั่งกรรมฐานบนก้อนหินเีสียก่อนแล้วจึงไป หากว่ากิเลสเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ในขณะเดินไป ผู้นั้นต้องข่มกิเลสให้สงบระงับลวไปในที่นั้นก่อน ถ้าไม่สามารถต้องยืนอยู่เฉยๆ ผู้ที่มาทีหลังก็ต้องยืนอยู่ที่นั้นตักเตือนกัน ตัวเองก็ต้องตักเตือนตัวเองด้วยการเจริญวิปัสสนาอย่างเต็มที่จนหยั่งลงสู่อริยภูมิ เมื่อข่มอยู่ไม่สามารถจะหยั่งลงสู่อริยภูมิได้ ก็ต้องข่มกิเลสนั้นด้วยอำนาจแห่งกรรมฐานไปเถิด หากว่ายกเท้าขึ้นไป ก็ต้องเอากลับมาไว้ที่เดิมอีก เหมือนกับมหาปุสสเทวเถระ

    เล่าสืบๆ มาว่า ท่านบำเพ็ญวัตร คือทำกรรมฐานในการไปการมาอย่างนี้เป็นเวลา ๑๙ ปี พวกชาวนากำลังไถนาหว่านกล้าทำนาอยู่ใกล้ๆ ได้เห็นท่านกลับไปกลับมาบ่อยๆ เข้าใจว่าท่านหลงทาง หรือลืมสิ่งของ ถามท่านเท่าไรๆ ท่านก็ไม่สนใจในคำพูด มีแต่ทำกรรมฐานตลอดไป จนพรรษาที่ ๒๐ ท่านได้บรรลุพระอรหัตต์ ในวันที่ท่านบรรลุนั้น เทวดาผู้สถิตอยู่ใกล้ๆ ที่จงกรม ได้จุดประทีปส่องทางให้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะ ท้าวสหัมบดีพรหม พากันสู่ที่บำรุง

    พระมหาติสสเถระผู้อยู่ป่าได้เห็นแสงสว่างนั้น เข้าใจว่าเป็นแสงสว่างของไฟ ในวันที่ ๒ จึงกล่าว่า่ "ขึ้นชื่อว่าแสงสว่างต่างๆ เช่น แสงสว่างของดวงประทีปของแก้วมณี ทำความฟุ้งซ่านแก่ผู้ทำกรรมฐาน ให้ท่านปิดไว้เสีย ท่านก็รับทราบไว้แล้วได้เรียนให้พระมหาติสสเถระเข้าใจ ต่อภายหลัง ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง แล้วว่า ผู้ที่มีกรรมฐานทั้งไปและกลับ สามารถเป็นพลวปัจจัยให้ได้บรรลุคุณวิเศษได้อย่างนี้

    นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างอีกมาก เช่น พระมหานาคเถระ ได้ยินว่า ท่านบำเพ็ญวัตร คือพระกรรมฐานในการไปและการกลับเื่พื่อบูชาความเพียรอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าโดยการอธิษฐานจงกรม ๗ ปี เมื่อครบแล้วอธิษฐานจงกรมเจริญกรรมฐานต่ออีก ๑๖ ปี จึงได้บรรลุพระอรหัตต์ เวลาจะยกเท้าขึ้นก็มีจิตประกอบอยู่กับกรรมฐานเสมอไป ถ้าขณะใดเผลอ ขณะนั้น ท่านต้องเอาเท้ากลับมาที่เก่าก่อน ครั้นกำหนดได้ดีแล้วจึงไป การให้พรแก่พวกมนุษย์ผู้มาถวายภิกษา ผู้มาไหว้ด้วยคำเดียวเท่านั้นว่า "ฑีฆายุกา โหถ" ก็ทำให้กรรมฐานรั่วได้ เพราะฉะนั้นท่านจึงกำหนดทุกๆ อิริยาบถน้อยใหญ่ แม้จะดื่มน้ำ กลืนน้ำ ก็กำหนดกรรมฐานเสมอมิได้ขาด มิได้ประมาทเลย

    ตามตัวอย่างนี้ ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า ท่านเป็นผู้มีกรรมฐานทั้งไปและกลับ จัดเป็นโคจรสัมปชัญญะ

    ถ. การกำหนดกรรมฐานได้ดีทั้งไปและกลับอย่างนี้ จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไรบ้าง
    ต. ท่านแสดงไว้ในอรรถกถาพระอภิธรรม ชื่อสัมโมหวิโนทนี หน้า ๔๖๐ อย่างนี้คือ

    ๑. อุปนิสฺสยสมฺปนฺโน โหติ ปฐมวเย เอว อรหตฺตํ ปาปุณาติ ถ้ามีอุปนิสสัยจะได้บรรลุพระอรหัตต์ในปฐมวัย
    ๒. มชฺฌิมาวเย ปาปุณา ติ ถ้าไม่ได้บรรลุในมัชฌิมวัย จะได้บรรลุในปัจฉิมวัย
    ๓. ปจฺฉิมวเย ปาปุณาติ ถ้าไม่ได้บรรลุในมัชฌิมวัย จะได้บรรลุในปัจฉิมวัย
    ๔. มรณสมเย ปาปุณาติ ถ้าไม่ได้บรรลุในมัชเิมวัยจะได้บรรลุในเวลาใกล้จะตาย
    ๕. เทวปุตฺโต หุตฺวา ปาปุณาติ ถ้าไม่ได้บรรลุในเวลาใกล้จะตาย จะได้เกิดเป็นเทวบุตร แล้วจึงจะได้บรรลุ
    ๖. ปจฺเจกโพธึ สจฺฉิกโรติ ถ้าไม่ได้บรรลุในเวลาเป็นเทพบุตร จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
    ๗. พุทฺธานํ สมฺมุขีภาเว ปิปฺปาภิญฺโญ ถ้าไม่ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จะได้พบพระพุทธเจ้า แล้วได้สำเร็จมรรค ผล เร็วที่สุด ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า เช่น พระพาหิยทารุจิริยเถระ
    ๘. มหาปญฺโญ จะเป็นผู้มีปัญญามาก เช่น พระสาีรีบุตรเถระ
    ๙. มหิทฺธิโก จะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก เช่น พระมหาโมคคัลลานเถระ
    ๑๐. ธุตงฺคธโร จะเป็นผู้ทรงธุดงค์ เช่นพระมหากัสสปเถระ
    ๑๐. ทิฺพจักฺขุโก จะเ็ป็นผู้มีทิพพจักษ์ เช่น พระอนุรุทธเถระ
    ๑๒. วินยธโร จะเป็นผู้ทรงวินัย เช่นพระอุบาลีเถระ
    ๑๓. ธมฺมกถิโก จะเป็นพระธรรมกถึก เช่นพระปุณณมันตานีบุตรเถระ
    ๑๔. อารัญฺญิโก จะเป็นผู้ชอบอยู่ป่าเป็นวัตร เช่นพระเวัตตเถระ
    ๑๕. พหุสฺสสุโต จะเป็นพหูสูตร เช่นพระอานนท์เถระ
    ๑๖. สิกฺขากาโม จะเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เช่นพระราหุลเถระ ผู้เป็นพุทธบุตร ผู้ที่มีกรรมฐานทั้งไปและกลับ

    อย่างนี้เรียกว่า โคจรสมฺปชัญฺญํ สิกฺขาปตฺตํ แปลว่า โคจรสัมปชัญญะอันดี ถึงความเป็นยอด คือสูงสุด

    วันนี้ ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน เฉพาะตอนที่ว่าด้วยสัปปายสัมปชัญญะ มาก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้


    be happy1


    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

    คำบรรยาย: วิปัสสนากรรมฐาน เล่ม ๗
    หน้า ๗๒-๘๑



    ติโลกะวิชะยะราชะปัตติทานะคาถา

    ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ
    กาเยนะ วาจามะนะสา ติทะเส สุคะตัง กะตัง
    เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ เย จะ สัตตา อะสัญญิโน
    กะตัง ปุญยะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
    เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา
    เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ เทวา คันตวา นิเวทะยุง
    สัพเพ โลกัมหิ เย สัตตา ชีวันตาหาระเหตุกา
    มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ ละภันตุ มะมะ เจตะสาติฯ


    กุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งควรทำด้วยกาย วาจา ใจ
    เป็นเหตุจะให้ไปเกิดไตรทศเทวสถานโดยง่าย เราได้ทำแล้ว
    บรรดาสัตว์เหล่าใด ที่มีสัญญาก็ดี ที่ไม่มีสัญญาก็ดี
    บรรดาสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด
    จงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญที่เรากระทำแล้ว
    บรรดาสัตว์เหล่าใดที่ไม่รู้ว่าเราให้ส่วนบุญ
    ขอทวยเทพเจ้า จงช่วยไปบอกให้รู้
    บรรดาสัตว์ทั้งหมดในโลกที่เลี้ยงชีวิตด้วยอาหาร
    ขอบรรดาสัตว์ทั้งหมด
    จงได้อาหารที่พอใจด้วยจิตที่เราคิดเทอญ.




    เกิด แก่ เจ็บ ตาย.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...