(๘) ตำนานมูลศาสนา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 12 กันยายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    พระกกุสนธพุทธเจ้า

    ครั้นนั้นพระกกุสนธพุทธเจ้า พระองค์ลงมาบังเกิดในโลก พระองค์เป็นบุตรของอัคคิทัตพราหมณ์ นางวิสาขาพราหมณีเป็นมารดา เกิดในเมืองเขมนคร อัครสาวกฝ่ายขวาชื่อ วิธูร ฝ่ายซ้ายชื่อ สัญชีวะ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากชื่อพุทชิธะ นางภิกษุณีฝ่ายขวาชื่อสาขา ฝ่ายซ้ายชื่อนางสารัมภา ไม้คโชก (ในอรรถกถาชาดก ปฐมภาคว่า มหาสิริสรุกฺโข แปลกันมาว่า ไม้ซีกใหญ่) เป็นไม้มหาโพธิ์ พระพุทธองค์สูง ๔๐ ศอก พระชนมายุของพระองค์ ๔๐,๐๐๐ ปี ครั้งนั้นพระสมณโคดมโพธิสัตว์ พระองค์บังเกิดเป็นพระยามีนามว่า เขมะ พระยาเมขะได้ถวายเครื่องบริขารต่างๆ เป็นทานแก่พระศาสด เป็นต้นว่า บาตรและผ้า ยาห้ามพยาธิ แล้วออกผนวชในสำนักพระศาสดา เรียนเอาปิฎกทั้ง ๓ เพื่อปฏิบัติให้งามในพระศาสนา แล้วพระกกุสันธพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า พระเขมะภิกษุองค์นี้จักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในภัททกัลป์นี้ เมื่อสิ้นศาสนาของพระองค์ไปแล้ว อายุสัตว์ทั้งหลายก็ลดน้อยถอยลงมาถึง ๑๐ ปี แล้วก็เจริญขึ้นไปถึงอสงไขยปี แล้วถอยลงมาถึง ๓๐,๐๐๐ ปี

    พระโกนาคมน์พุทธเจ้า

    ครั้งนั้น พระโกนาคมน์พุทธเจ้า พระองค์ก้ลงมาบังเกิดในโลก เป็นบุตรยัญญทัตพราหมณ์ นางอุตตราพราหมณีเป็นมารดา เกิดใเมืองโสภวดีนคร อัครสาวกฝ่ายขวาชื่อภิยโยสะ ฝ่ายซ้ายชื่ออุตตร ไม้มะเดื่ออุทุมพรเป็นไม้มหาโพธิ์ พระพุทธองค์ สูง ๒๐ ศอก พระชนมายุ ๓๐,๐๐๐ ปี ครั้งนั้นพระสมณโคดมโพธิสัตว์ บงเกิดเป็นพระยามีนามว่า พระยาปัพพตะ พระยาปัพพตะได้เข้าไปฟังธรรมในสำนักพระศาสดา แล้วได้ให้มหาทานด้วยผ้าต่างๆ เป็นต้นว่า ผ้าอันบังเกิดในจัตตาเทศและในชินเทส (ในอรรถกถาชาดก ปฐมภาค ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๗ บาลีเป็นดังนี้ ปตฺตุณฺณจีนปฏฺฏ โกเสยฺย กมฺพล ทุกลานิ เจว สุวณฺณปฏฺฏกญฺจ ทตฺวา) ผ้าโกศัย ผ้าทุกุล และผ้ากัมพล แล้วพระองค์ก็ตั้งความปรารถนาต่อพระพักตร์พระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์ที่เป็นบริวาร ออกผนวชเรียนเอาปิฎกทั้งสามเพื่อปฏิบัติในพระศาสนา ครั้งนั้นพระโกนาคมน์พุทธเจ้าพระองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า พระภิกษุปัพพตะองค์นี้จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในภัททกัลป์นี้แล ครั้นสิ้นศาสนาของพระศาสดาไปแล้ว อายุสัตว์ทั้งหลายก็ลดน้อยถอยลงมาถึง ๑๐ ปี แล้วกลับเจริญขึ้นไปถึงอสงไขยปี แล้วก็ลดถอยลงมาถึง ๒๐,๐๐๐ ปี

    พระกัสสปพุทธเจ้า

    ในกาลนั้นพระกัสสปพุทธเจ้าพระองค์ก็ลงมาบังเกิดในมนุษยโลก พรหมทัตพราหมณ์เป็นบิดา นางธนวดีพราหมณีเป็นมารดา พระองค์เกิดในเมืองพาราณสีนคร อัครสาวกฝ่ายขวาชื่ออติสสะ ฝ่ายซ้ายชื่อภารทวาช ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อสัพพมิตตะ นางภิกษุณีฝ่ายขวาชื่ออนุลา ฝ่ายซ้ายชื่อนางอุรุเวฬา ไม้นิโครธเป็นไม้มหาโพธิ พระพุทธองค์สูง ๒๐ ศอก พระชนมายุของพระองค์ ๒๐,๐๐๐ ปี ครั้งนั้น พระสมณโคดมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นมานพมีนามว่าโชติปาลมาณพๆ รู้จบไตรเภท และเป็นสหายกันกับด้วยฆติการ ได้ยินข่าวสาส์นจากฆติการว่าพระพุทธเจ้าลงมาอุบัติบังเกิดขึ้นในโลก ก็มีความยินดียิ่งนัก จึงเข้าไปสู่ำสำนักของพระศาสดาเพื่อสดับพระธรรมเทศนา เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระศาสดาแล้ว ก็ขอบวชเป็นภิกษุเรียนเอาปิฎกทั้ง ๓ เพื่อปฏิบัติให้ดีให้งามในพระศาสนา ในกาลนั้นพระกัสสปพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า พระภิกษุโชติปาลองค์นี้จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในภัททกัลป์นี้แล

    สมัยพระสมณโคดมโพธิสัตว์

    นับตั้งแต่พระสมณโคดมโพธิสัตว์ได้รับพุทธพยากรณ์ ในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๔ พระองค์ลำดับมา มีพระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นต้น มีพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นปริโยสาน ตั้งแต่นั้นมาพระองค์มิได้ไปตกอยู่ในมหาอเวจีหรือในโลกันตริกนรก และมิได้ไปบังเกิดเป็นเปรตเป็นต้นว่า นิชฌามตัณหิกะ หรือกาฬกัญชิกะเปรต มิได้ไปบังเกิดเป็นสัตว์ติรัจฉาน เป็นต้นว่าสัตว์ที่เล็กกว่านกกระจาบ และเมื่อบังเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มิได้เป็นสตรี หรือเป็นคนใบ้บ้าวิกลวิการเสียหูเสียตาแม้แต่อย่างหนึ่งอย่างใด และมิได้ไปบังเกิดในสุกข (ในปฐมสมโพธิ ฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ว่าเป็นมิลักขประเทศ) ประเทศหรือในท้องแห่งนางทาสี ไม่ถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ และไม่ทำอนันตริยากรรม ย่อมถือลัทธิว่าสัตว์บังเกิดด้วยกรรมแต่ง และจักไม่ไปบังเกิดในอสัญญีสัตว์ อรูปภพและสุทธาวาสภูมิ ย่อมมีใจน้อมไปในการออกบรรพชา เพื่อกระทำให้เป็นประโยชน์แก่โลกทั้งหลาย เหมือนเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นเวสสันดร พระองค์ได้ให้วัตถุข้าวของเป็นทานสิ่งละ ๗๐๐ พร้อมทั้งอัครมเหสีและพระราชบุตรพระราชธิดา ครั้นพระองค์จุติจากชาติอันนั้นก็ได้ไปบังเกิดในชั้นดุสิตมีนามว่า ดุสิตเทวราช เป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลายอยู่ตราบเท่าจนสิ้นอายุ ๔๐,๐๐๐ ปีทิพย์ ถ้าจะคิดเป็นปีในมนุษยโลกนี้ถึง ๔๗ โกฏิ ๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษยโลกเรานี้แล


    อ่านต่อโกลาหล ๓
     

แชร์หน้านี้

Loading...