๘จุดท่องเที่ยวพุทธมณฑล ธรรมะสัญจรตามรอยพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 5 ตุลาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>๘จุดท่องเที่ยวพุทธมณฑล ธรรมะสัญจรตามรอยพระพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>4 ตุลาคม 2550 19:13 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] เมื่อพูดถึงพุทธมณฑลภาพหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนเห็นจนชินตาคือ ภาพการเวียนเทียนรอบๆ พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



    ด้วยเหตุที่พุทธมณฑลถูกยกฐานะเป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาโลกบนพื้นที่๒,๕๐๐ไร่ ของพุทธมณฑลถูกสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ได้รับการออกแบบวางผังอย่างประณีต ทั้งในเชิงพุทธศาสนคติ และภูมิสถาปัตย์ บนพื้นที่จัดสร้างอาคารวิหารต่างๆ ที่สวยงาม สร้างสถานที่จำลองสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของพุทธศาสนิกชนควรหาโอกาสเข้าไปกราบไหว้ขอพรพระประธานพุทธมณฑล รวมทั้งศึกษาเรียนรู้ประวัติพระพุทธศานา โดยมีการจำลองสถานที่อันเกี่ยวของกับพุทธประวัติไว้อย่างสมบูรณ์
    อย่างไรก็ตามในโอกาสอันเป็นมงคล วันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช วันที่๓ ตุลาคม และในโอกาสเดียวกัน ก็เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ครบรอบ๕ ปี รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดงานเฉลิมฉลองและจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ อย่างสมพระเกียรติ
    นางจุฬารัตน์บุณยากร ผอ.พศ. บอกว่า กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การจัดกิจกรรม ธรรมมะสัญจรตามรอยพระพุทธศาสนา นั่งรถรางชมสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล และสถานที่สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาโดยรอบพุทธมณฑล และจัดนิทรรศการ๕ ปีสนองวิถีพุทธ...ตามรอยพระพุทธองค์ ขึ้นซึ่งมี ๘ จุดสำคัญที่น่าสนใจ คือ
    ๑. พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญ ประดิษฐานอยู่ใจกลางพุทธมณฑล เป็นพระพุทธรูปปางลีลา หล่อด้วยโลหะสำฤทธิ์ มีพระเกตุมาลาเป็นเปลวสูงเหนือพระเศียร ทรงห่มจีวรเฉวียงบ่า พาดผ้าสังฆาฏิ อยู่ในท่าย่างพระบาท และมีบัวรองพระบาท ส่วนการจัดวางที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป นั้น เนื่องจากองค์พระพุทธรูปเป็นแบบปางลีลา จึงจัดพื้นที่ให้มีความยาวไปข้างหน้าพอสมควร ให้เสมือนว่าทรงพระดำเนินไปข้างหน้า
    ๒. พิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทย๒ ชั้น มีลักษณะเป็นวงกลม ๒ ระดับ คือ วงกลมใน และวงกลมนอก รูปวงกลมแหวนด้านนอก ด้านล่างเป็นบริเวณจัดแสดง แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
    ๑. ส่วนการแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งในแต่ละแผนก ผู้เข้าชมสามารถเดินทะลุถึงกันได้ ๒.ส่วนจัดนิทรรศการการบรรยาย และ ๓.ส่วนบริการห้องน้ำห้องสุขา ฯลฯ เปิดบริการตั้งแต่ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ
    ๓. วิหารพุทธมณฑล เป็นพุทธสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ๒๕ พุทธศตวรรษ ขนาด ๒,๕๐๐มม. (๒.๕๐เมตร) เป็นอาคารชั้นเดียวสร้างแบบอาคารสถาปัตยกรรมไทย ผนังวิหารทำเป็น ๒ ชั้น เพื่อให้ประตู หน้าต่างเลื่อนเข้าภายในกำแพงได้ พื้นและผนังภายใน ตั้งแต่หน้าต่างลงมา จรดพื้นปู ด้วยกระเบื้องหินอ่อนอย่างดี หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว ลวดลายภายนอกเป็นประติมากรรม รูปพระพุทธรูป ๘ องค์ และพระโพธิสัตว์ ๒ องค์ เป็นภาพนูนสูง
    ๔. ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และรับรองพระอาคันตุกะ มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง ๒๓ เมตร สูง ๑๒.๕๖เมตร หันหน้าไปทางทิศเหนือ ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร ๒ ชั้น จำนวน ๔ หลังคา ใต้ถุนสูง บันไดทางขึ้นด้านหน้าสร้างเป็นศาลาโถง ทรงไทยจตุรมุข สำหรับเป็นที่พักจอดรถรับส่ง
    ๕. มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน เป็นวิหารที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อนขนาด ๑.๑๐x๒.๐๐เมตร จำนวน ๑,๔๑๘แผ่น ด้านบนโดยรอบองค์เจดีย์ เป็นภาพวาดพุทธประวัติ ภาพจิตกรรมฝาผนัง พุทธประวัติ ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎก การประดิษฐานพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และประวัติความเป็นมา พร้อมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานการจารึกพระไตรปิฎกหินอ่อน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิชาการทางพระพุทธศาสนา
    ๖. อุทยานสังเวชนียสถาน๔ ตำบล (ประสูติตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน) คืออาณาบริเวณรัศมีวงกลมรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล กำหนดทิศตามพุทธประวัติ โดยถือองค์พระประธานพุทธมณฑลเป็นหลัก รูปสัญลักษณ์ในสังเวชนียสถานแต่ละตำบล ได้กำหนดให้ใช้หินแกรนิต ซึ่งเป็นหินที่แข็งแรง และมีความคงทน มาแกะสลักสังเวชนียสถาน
    ๗. ห้องประชุมของคณะกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นห้องสำหรับการประชุมมหาเถรสมาคม การประชุมพระสังฆาธิการ การดำเนินการขอพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นต้น โดยใช้ห้องประชุมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ อาคารหอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ เป็นสถานที่ประชุม มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุด มีอำนาจปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร ควบคุมส่งเสริมศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ และรักษาหลักการ
    ๘. หอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ ลักษณะอาคารเป็นสถาปัตยกรรมไทย ๒ ชั้น มีห้องอ่านหนังสือที่สามารถจุผู้ใช้บริการได้ ๕๐๐ คน ภายในหอสมุดจัดเรียงหนังสือตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน มีหนังสือลงทะเบียนและจัดหมู่แล้ว จำนวน ๒๓,๘๘๕เล่ม เทปธรรมะและวิดีโอ ลงทะเบียนและจัดหมวดหมู่แล้ว อีกจำนวน ๖,๙๐๙รายการ โดยเปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
    ทั้งนี้ผอ.พศ. พูดทิ้งท้ายว่า "ครั้งหนึ่งในชีวิต พุทธศาสนิกชนไทยบางคนอาจจะตั้งใจไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย เนปาล สถานที่กำเนิดพระพุทธศาสนา ผู้ที่มีกำลังทรัพย์อาจจะเป็นเรื่อง่าย ส่วนผู้ที่ไม่มีกำลังทรัพย์ ขอให้มาที่พุทธมณฑลก็ได้ เรียนรู้พุทธประวัติได้เช่นเดียวกัน มาพุทธมณฑลวันเดียว อาจจะดีกว่าไปเที่ยวอินเดียและเนปาล"
    สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนประชาชน นักเรียน นักศึกษา ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๐๐น. ณพุทธมณฑล จ.นครปฐม ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โทร.๐-๒๔๔๑-๔๕๐๘ หรือwww.onab.go.th

    เรื่อง ไตรเทพ ไกรงู
    ภาพ ประเสริฐ เทพศรี

    -->[​IMG]
    เมื่อพูดถึงพุทธมณฑลภาพหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนเห็นจนชินตาคือ ภาพการเวียนเทียนรอบๆ พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    [​IMG]
    ด้วยเหตุที่พุทธมณฑลถูกยกฐานะเป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาโลกบนพื้นที่๒,๕๐๐ไร่ ของพุทธมณฑลถูกสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ได้รับการออกแบบวางผังอย่างประณีต ทั้งในเชิงพุทธศาสนคติ และภูมิสถาปัตย์ บนพื้นที่จัดสร้างอาคารวิหารต่างๆ ที่สวยงาม สร้างสถานที่จำลองสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของพุทธศาสนิกชนควรหาโอกาสเข้าไปกราบไหว้ขอพรพระประธานพุทธมณฑล รวมทั้งศึกษาเรียนรู้ประวัติพระพุทธศานา โดยมีการจำลองสถานที่อันเกี่ยวของกับพุทธประวัติไว้อย่างสมบูรณ์
    อย่างไรก็ตามในโอกาสอันเป็นมงคล วันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช วันที่๓ ตุลาคม และในโอกาสเดียวกัน ก็เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ครบรอบ๕ ปี รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดงานเฉลิมฉลองและจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ อย่างสมพระเกียรติ
    นางจุฬารัตน์บุณยากร ผอ.พศ. บอกว่า กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การจัดกิจกรรม ธรรมมะสัญจรตามรอยพระพุทธศาสนา นั่งรถรางชมสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล และสถานที่สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาโดยรอบพุทธมณฑล และจัดนิทรรศการ๕ ปีสนองวิถีพุทธ...ตามรอยพระพุทธองค์ ขึ้นซึ่งมี ๘ จุดสำคัญที่น่าสนใจ คือ [​IMG]
    ๑. พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญ ประดิษฐานอยู่ใจกลางพุทธมณฑล เป็นพระพุทธรูปปางลีลา หล่อด้วยโลหะสำฤทธิ์ มีพระเกตุมาลาเป็นเปลวสูงเหนือพระเศียร ทรงห่มจีวรเฉวียงบ่า พาดผ้าสังฆาฏิ อยู่ในท่าย่างพระบาท และมีบัวรองพระบาท ส่วนการจัดวางที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป นั้น เนื่องจากองค์พระพุทธรูปเป็นแบบปางลีลา จึงจัดพื้นที่ให้มีความยาวไปข้างหน้าพอสมควร ให้เสมือนว่าทรงพระดำเนินไปข้างหน้า
    ๒. พิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทย๒ ชั้น มีลักษณะเป็นวงกลม ๒ ระดับ คือ วงกลมใน และวงกลมนอก รูปวงกลมแหวนด้านนอก ด้านล่างเป็นบริเวณจัดแสดง แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
    ๑. ส่วนการแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งในแต่ละแผนก ผู้เข้าชมสามารถเดินทะลุถึงกันได้ ๒.ส่วนจัดนิทรรศการการบรรยาย และ ๓.ส่วนบริการห้องน้ำห้องสุขา ฯลฯ เปิดบริการตั้งแต่ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ [​IMG]
    ๓. วิหารพุทธมณฑล เป็นพุทธสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ๒๕ พุทธศตวรรษ ขนาด ๒,๕๐๐มม. (๒.๕๐เมตร) เป็นอาคารชั้นเดียวสร้างแบบอาคารสถาปัตยกรรมไทย ผนังวิหารทำเป็น ๒ ชั้น เพื่อให้ประตู หน้าต่างเลื่อนเข้าภายในกำแพงได้ พื้นและผนังภายใน ตั้งแต่หน้าต่างลงมา จรดพื้นปู ด้วยกระเบื้องหินอ่อนอย่างดี หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว ลวดลายภายนอกเป็นประติมากรรม รูปพระพุทธรูป ๘ องค์ และพระโพธิสัตว์ ๒ องค์ เป็นภาพนูนสูง
    ๔. ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และรับรองพระอาคันตุกะ มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง ๒๓ เมตร สูง ๑๒.๕๖เมตร หันหน้าไปทางทิศเหนือ ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร ๒ ชั้น จำนวน ๔ หลังคา ใต้ถุนสูง บันไดทางขึ้นด้านหน้าสร้างเป็นศาลาโถง ทรงไทยจตุรมุข สำหรับเป็นที่พักจอดรถรับส่ง
    ๕. มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน เป็นวิหารที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อนขนาด ๑.๑๐x๒.๐๐เมตร จำนวน ๑,๔๑๘แผ่น ด้านบนโดยรอบองค์เจดีย์ เป็นภาพวาดพุทธประวัติ ภาพจิตกรรมฝาผนัง พุทธประวัติ ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎก การประดิษฐานพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และประวัติความเป็นมา พร้อมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานการจารึกพระไตรปิฎกหินอ่อน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิชาการทางพระพุทธศาสนา [​IMG]
    ๖. อุทยานสังเวชนียสถาน๔ ตำบล (ประสูติตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน) คืออาณาบริเวณรัศมีวงกลมรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล กำหนดทิศตามพุทธประวัติ โดยถือองค์พระประธานพุทธมณฑลเป็นหลัก รูปสัญลักษณ์ในสังเวชนียสถานแต่ละตำบล ได้กำหนดให้ใช้หินแกรนิต ซึ่งเป็นหินที่แข็งแรง และมีความคงทน มาแกะสลักสังเวชนียสถาน
    ๗. ห้องประชุมของคณะกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นห้องสำหรับการประชุมมหาเถรสมาคม การประชุมพระสังฆาธิการ การดำเนินการขอพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นต้น โดยใช้ห้องประชุมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ อาคารหอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ เป็นสถานที่ประชุม มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุด มีอำนาจปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร ควบคุมส่งเสริมศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ และรักษาหลักการ
    ๘. หอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ ลักษณะอาคารเป็นสถาปัตยกรรมไทย ๒ ชั้น มีห้องอ่านหนังสือที่สามารถจุผู้ใช้บริการได้ ๕๐๐ คน ภายในหอสมุดจัดเรียงหนังสือตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน มีหนังสือลงทะเบียนและจัดหมู่แล้ว จำนวน ๒๓,๘๘๕เล่ม เทปธรรมะและวิดีโอ ลงทะเบียนและจัดหมวดหมู่แล้ว อีกจำนวน ๖,๙๐๙รายการ โดยเปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
    ทั้งนี้ผอ.พศ. พูดทิ้งท้ายว่า "ครั้งหนึ่งในชีวิต พุทธศาสนิกชนไทยบางคนอาจจะตั้งใจไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย เนปาล สถานที่กำเนิดพระพุทธศาสนา ผู้ที่มีกำลังทรัพย์อาจจะเป็นเรื่อง่าย ส่วนผู้ที่ไม่มีกำลังทรัพย์ ขอให้มาที่พุทธมณฑลก็ได้ เรียนรู้พุทธประวัติได้เช่นเดียวกัน มาพุทธมณฑลวันเดียว อาจจะดีกว่าไปเที่ยวอินเดียและเนปาล"


    สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนประชาชน นักเรียน นักศึกษา ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๐๐น. ณพุทธมณฑล จ.นครปฐม ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โทร.๐-๒๔๔๑-๔๕๐๘ หรือwww.onab.go.th

    เรื่อง ไตรเทพ ไกรงู
    ภาพ ประเสริฐ เทพศรี
    <TABLE align=center><TBODY></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    -------------

    ที่มา: คมขัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/10/05/j001_159230.php?news_id=159230
     

แชร์หน้านี้

Loading...