๖๐ ปีแห่งอานิสงส์บารมีธรรม

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 width=600 align=center><TBODY><TR><TD align=middle>๖๐ ปีแห่งอานิสงส์บารมีธรรม</TD></TR><TR><TD align=middle>คัดลอกมาจาก ไทยโพสต์ โดย เปลวสีเงิน
    http://www.thaniyo.net/



    -------------------------------------------

    </TD></TR><TR><TD>"พระเจ้าอยู่หัว" พระองค์นี้ของเรา ก็คือเทพ

    ผู้จะขึ้นสู่ภาวะแห่งเทพนั้น ขึ้นมาด้วยการบำเพ็ญ ตบะ-บารมี อันบ่มด้วยความเพียรสม่ำเสมอ-เพียบพร้อมในศีลในธรรมสูงยิ่งระดับหนึ่ง

    "ระดับหนึ่ง" นั้น ก็นับว่าสูงที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย "น้อยนัก" จะเพียรพยายามจนบังเกิดอานิสงส์ส่งเสริมเข้าสู่ภาวะแห่งเทพ

    ฉะนั้น...

    กราบเถอะ

    ไหว้เถอะ

    บูชาเถอะ

    กราบ-ไหว้-บูชา พระเจ้าแผ่นดิน "เทพในมวลหมู่มนุษย์" ด้วยใจมั่น ใจบริสุทธิ์ ใจศรัทธา อันเปลื้องสิ้นแล้วซึ่งมลทินคือความเคลือบแคลงสงสัย ขัดข้อง-ขุ่นเคืองใดๆ ทั้งมวล

    ความเป็นสิริมงคล ย่อมเป็นอานิสงส์ประเสริฐสู่ผู้นั้น

    ทำไมผมจึงว่า "ความเป็นสิริมงคล" จึงเกิดขึ้นได้กับผู้กราบ-ไหว้บูชาพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ของเรา?

    งานเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ตรงนี้เป็นคำตอบง่ายๆ อย่างหนึ่งได้ว่า สังคมโลกนี้มี "พระมหากษัตริย์" ในหลายต่อหลายประเทศสืบเนื่องกันมา


    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>การที่มนุษย์คนหนึ่งได้รับยกย่องให้เป็น ๑ ในมวลหมู่มนุษย์ ณ ชาตินั้นๆ นั่นก็ยากยิ่งอยู่แล้ว

    แต่ ๑ คือพระมหากษัตริย์ที่เป็นได้ยากยิ่ง นั้น

    ยังไม่เคยมีให้ปรากฏแม้สัก ๑ ในโลกนี้เลยว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใดจะทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานต่อเนื่องได้ถึง ๖๐ ปี!?

    ก็มี "องค์พระภูมิพลอดุลยเดชฯ" พระเจ้าแผ่นดินของไทยเรา พระองค์เดียวนี้ ณ วาระนี้แหละ!

    นี่คืออะไร?

    นี่คือ อานิสงส์แห่งการสั่งสมด้วยบำเพ็ญ "ศีล-ธรรม" บนความพากเพียรอันยิ่งยวด จนเกิดเป็นตบะบารมี..

    ศีล-ธรรม ที่ปฏิบัติด้วยความเพียรอันยิ่งยวด นี้คืออะไร..?

    ก็คือ "ทศพิธราชธรรม" เป็นอาทิ!

    "การเพียรทำความดีเป็นคุณธรรมของมนุษย์ การช่วยเหลือคนทำดีเป็นคุณธรรมของสวรรค์" ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต ท่านเคยกล่าวเช่นนั้น

    ก็ด้วยความพากเพียรอันครัดเคร่งในทศพิธราชธรรมของพระองค์ดังประจักษ์แล้วตลอด ๖๐ ปีนั่นแล ก่อเกิดเป็นตบะบารมีให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราเข้าสู่ภาวะ

    "องค์สมมุติเทพ" ที่เหนือเทพทั่วไปด้วย..ชั้นภูมิแห่งธรรม!

    นั่นคือ ๖๐ ปี มิใช่เพราะพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุเท่านั้น

    หากแต่ "ชั้นภูมิแห่งธรรม" ที่พระองค์ทรงพากเพียรนั้น ไม่ปรากฏว่าจะมีชั้นกษัตริย์พระองค์ใด "เคี่ยวกรำ" ในพากเพียรให้เทียมถึงพระองค์ได้

    เหตุเยี่ยงนั้นตะหาก... "๖๐ ปี" บนความงอกงามไพศาลใต้ร่มเงามหาเศวตฉัตร จึงคือพลานุภาพแห่งอานิสงส์จากทศพิธราชธรรม เป็นอาทิ สร้างประวัติศาสตร์ให้ปรากฏ.. มีเพียง ๑ พระมหากษัตริย์ของโลก!

    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>เยี่ยงนี้..สิริมงคลจะไม่บังเกิดกับผู้กราบไหว้-บูชาองค์พระมหากษัตริย์ผู้เหนือเทพทั่วไปด้วยชั้น "ภูมิแห่งธรรม" อันประจักษ์แล้วได้อย่างไร!

    ผู้จงรักด้วยภักดีไม่คลอนคลาย เปลื้องแล้วซึ่งความสงสัย และความมักใหญ่ใฝ่สูง

    มีแต่เจริญประการเดียว!

    ในทางกลับกัน ผู้กล่าวจงรักภักดี แต่จิตคลอนคลาย ซ่อนเงื่อนปมไว้ซึ่งความสงสัย และความมักใหญ่ใฝ่สูง

    อวัง สิโร ความเป็นผู้มีหัวลง เสื่อมถอย-ต่ำทรามประการเดียว!

    ประการใดเล่าคือ "ทศพิธราชธรรม" อันมีอานิสงส์ประเสริฐล้ำปานนั้น?

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร แสดงถวายในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันจันทร์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ความว่า

    ทศพิธราชธรรม

    "...ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ

    อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโกธนํ

    อิจฺเจเต กุสเล ธมฺเม จิเต ปสฺสาหิ อตฺตนิ

    ตโต เต ชายเต ปิติ โสมนสฺสญฺจนปฺปกํ"

    แสดงความเป็นไทยว่า ขอพระองค์ผู้เป็นบรมกษัตริยาธิราช จงทรงพระปรีชาสามารถพิจารณาเห็นราชธรรมที่เป็นกุศลส่วนชอบ ๑๐ ประการ ให้ดำรงในพระราชสันดานเป็นนิตย์ ดังนี้

    ทานํ การให้ ๑

    สีลํ การตั้งสังวรรักษากายวาจาให้สะอาดปราศจากโทษ ๑

    ปริจฺจาคํ การบริจาคสละ ๑

    อาชฺชวํ ความซื่อตรง ๑

    มทฺทวํ ความอ่อนโยน ๑

    ตปํ การกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว ๑

    อกฺโกธํ การไม่โกรธ ๑

    อวิหึสญฺจ การไม่เบียดเบียนผู้อื่นตลอดถึงสัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก ๑

    ขนฺติญฺจ ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทนเป็นเบื้องหน้า ๑

    อวิโกธนํ การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรง และดำรงอาการคงที่ไม่ให้วิการด้วยอำนาจยินดียินร้าย ๑

    บรรจบเป็นกุศลส่วนชอบ ๑๐ ประการ...

    ทศพิธราชธรรมนี้ เมื่อพิจารณาด้วยดีจักเห็นได้ว่า มิใช่เป็นธรรมเฉพาะท่านผู้ปกครองประชาชนชั้นสูงสุดเท่านั้น แต่เป็นธรรมสำหรับผู้ปกครองทั่วไป ตั้งแต่ส่วนใหญ่ เช่น ประมุขของประเทศชาติ และรัฐบาล ตลอดถึงส่วนน้อย เช่น หัวหน้าครอบครัว ทั้งเป็นธรรมสำหรับผู้อยู่ในปกครองด้วย เพราะการปกครองจักดำเนินไปได้เรียบร้อยดี ผู้อยู่ในปกครองก็จำต้องประพฤติธรรมนี้ด้วยตามฐานะ เพราะฉะนั้น ราชธรรมนี้จึงเป็นธรรมสำหรับคนที่อยู่ด้วยกันเป็นหมู่เหล่า ตั้งแต่ครอบครัวหนึ่งจนถึงประเทศชาติ หรือทั้งหมด พึงประพฤติต่อกันเพื่ออยู่ด้วยกันเป็นสุขสงบ และมีความเจริญ..."

    รักในหลวง เทิดทูนในหลวง เป็นสิ่งดี..รักในหลวง เทิดทูนในหลวง แต่ไม่น้อมนำธรรม และกระแสพระราชดำรัสมาเป็น "ธงนำ" ในการดำรงแห่งความเป็นพสกนิกร และประชาชนของชาติ..ไม่เป็นสิ่งดี.

    </TD></TR><TR><TD align=middle>

    พระผู้ถึงพร้อมวิชชาและจรณะ

    </TD></TR><TR><TD>"ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม" พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ชนส่วนใหญ่ต่างเข้าใจเพียงคำกล่าวขานแต่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงเคร่งครัด และสมบูรณ์ด้วย "ทศพิธราชธรรม"

    ก็ใช่แล้ว แต่ไม่เพียงธรรมในหมวด "ทศพิธราชธรรม" เท่านั้น จากพระราชจริยาวัตรอันก่อเกิดเป็นพระมหาบารมีจวบจนโลกนี้มีพระองค์เพียง ๑ ที่ทรงครองสิริราชสมบัติได้ยาวนานมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป นับจากวันนี้ นั่นมิใช่ด้วยเพราะพระองค์ทรงเจริญด้วยพระชนมายุประการเดียว แต่ประการสำคัญคือ พระองค์ทรงเจริญด้วยการปฏิบัติธรรมเข้าสู่ภาวะอีกชั้นหนึ่งแล้ว

    เรามักได้ยิน หรือบางคนเคยสวดภาวนาอยู่บ่อยๆ ด้วยซ้ำในบท..อิติปิโสภะคะวา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณะสัมปันโน โลกะวิทู...

    ก็มักสวดกันไปตามบท แต่หาเข้าใจความไม่ อันคำว่า วิชชาจรณะสัมปันโน นั้น สำคัญนัก!

    วิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันรวมเรียกว่า "วิชชาจรณะ" นั้น เป็นธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญดีแล้วโดยมิต้องสงสัย มิเช่นนั้น พระบารมี พระบุญญาธิการ จะไม่แผ่ไพศาล "มั่นคง" จนมิสามารถประมาณได้ ดังเป็นอยู่ขณะนี้

    "วิชชา" หมายถึง ความรู้ ความแจ่มแจ้ง เป็นผลของการที่ได้ศึกษาและฝึกเพียร ประพฤติ ปฏิบัติ ตามขั้นตอน

    "จรณะ" หมายถึง แนวทางปฏิบัติ

    "วิชชาและจรณะ" นี้ ผู้ช่วย ศ.สมศรี ปทุมสูตร ผู้ช่วย ศ.ประยงค์ วิริยะวิทย์ และรอง ศ.อาภรณ์ พุกกะมาน จากจุฬาฯ ทำงานวิจัยไว้ว่า

    "การถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ หมายถึง การปฏิบัติจนเกิดผล รู้ชัดในผลที่เกิดกับตน และรู้ชัดในแนวทางที่ปฏิบัติจนเกิดผลนั้น ตรงกับภาษาที่พูดกันแพร่หลายว่า รู้มรรครู้ผล เกิดมรรคเกิดผล ได้มรรคได้ผล

    ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ ในพุทธศาสนา จึงเป็น ผู้ปฏิบัติขัดเกลาตนด้วยการลดละ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ความติดยึดต่างๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจ จนสะอาด สิ้นเกลี้ยง เกิดผล คือ พ้นทุกข์ โดยรู้ชัดว่า จนพ้นทุกข์นั้นๆ แล้ว และรู้ชัดด้วยว่า ทำอย่างไรจึงได้พ้นทุกข์นั้นๆ

    วิชชา ๘ ก็คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี โสตทิพย์ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ

    ส่วน จรณะ ๑๕ ก็ประกอบด้วยหัวข้อธรรมหมวดใหญ่ ๔ หมวด คือ ศีล ๑ อปัณณกธรรม ๓ สัทธรรม ๗ และฌาน ๔

    ครับ..ก็บอกแต่หัวข้อหลักๆ เท่านั้นนะครับ เพราะเนื้อที่จำกัด อีกอย่าง เรื่องธรรมะนั้น ไม่ใช่เรี่องรู้จากการอธิบาย แต่ควรต้องรู้จากการปฏิบัติ สิ่งที่ผมจะบอกคือ ผู้ใดถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้นั้น ทะลุอนาคต ทะลุใจคน และทะลุนั้น คือ "รู้ทะลุ" นั่นเอง.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325
     

แชร์หน้านี้

Loading...