ไฟล์ที่ห้า สิ่งที่ควรรู้ ในการปฎิบัติกรรมฐาน นั่นก็คือนิวรณ์ และสังโยชน์

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 27 กันยายน 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2017[/MUSIC]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    คราวนี้ ขอให้ทุกคนนั่งตัวตรง การนั่งตัวตรงของเราไม่ได้หมายความว่าไปเกร็งร่างกายแต่ว่ายืดตัวขึ้นให้ตรง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เสีย หลับตาเบา ๆ นึกย้อนเข้าไปในศรีษะของเราเหมือนกับเราเหลือบตาขึ้นมองกระโหลกศรีษะข้างใน แล้วมองย้อนลงไปถึงจุดศูนย์กลางของร่างกายเรา กำหนดใจให้นิ่ง ๆ ไว้ตรงนั้น พร้อมกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แม้ว่าจะหายใจเข้า จะหายใจออกอยู่ ให้กำหนดความรู้สึกไว้นิดเดียวที่ลมหายใจเท่านั้น ความรู้สึกส่วนใหญ่ทั้งหมดให้นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายของเรา ศูนย์กลางกายของเราเป็นจุดที่ ร่างกายจะสามารถ เข้าถึงความสงบได้ดีที่สุ มีพลังที่จะต่อสู้กับกิเลสได้มากที่สุด วันนี้เรามาดูว่าเราสามารถทำจิตให้นิ่งอยู่อย่างนี้ได้นานเท่าไหร่

    ศูนย์กลางกายคือที่สุดของลมหายใจเข้าออกของเรา กำหนดความรู้สึกไม่ต้องปักแน่นมาก เอาแค่ให้แน่วแน่อยู่ภายใน ไม่ต้องใส่ใจกับภายนอก กำหนดความรู้สึกส่วนหนึ่งรู้สึกอยู่กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนาไปสุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย หายใจออกพร้อมกับคำภาวนาออกมาสุดที่ปลายจมูก แต่ว่ากำลังใจส่วนใหญ่ให้ปักนิ่งอยู่ในร่างกายของตัวเอง การที่เราส่งใจข้างออกมันเป็นสาเหตุของความทุกข์ทั้งหมด เพราะเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เรามักกั้นมันไว้ไม่ทัน จะสติ สมาธิ ปัญญาของเราไม่ทันกับมัน มันก็จะวิ่งเข้ามาอยู่ในใจของเรา ทำให้เกิดความทุกข์แก่เราได้ วันนี้เรามากำหนดใจให้อยู่ภายในจริง ๆ อย่าส่งออกนอก นอกจากความรู้ส่วนหนึ่งที่แบ่งให้กับลมหายใจเข้าออกแล้ว ความรู้สึกส่วนใหญ่ให้อยู่ข้างในให้หมด การปฏิบัติของเราทุกครั้ง
    ให้หวังผลสูงสุดคือพระนิพพาน เมื่อเริ่มปฏิบัติ ให้ทุกคนตั้งใจว่า ขณะนี้ศีลของเราทุกสิกขาบทบริสุทธิ์ครบถ้วน การปฏิบัติของเรานี้ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถ้ามันตายลงไปตอนนี้ เราปรารถนาที่เดียวคือพระนิพพาน ให้ตัดสินใจเช่นนี้เสมอ ให้คิดอยู่เสมอว่าเราต้องตาย ความตายมาถึงเราได้ทุกเวลา ความตายอยู่แค่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกอีกก็ตาย หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าอีกก็ตาย ลมหายใจของเราเป็นที่รวมของชีวิต เป็นที่รวมของความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ มันหายใจเข้าแล้วมันก็หายใจออก มันหายใจออกแล้วมันก็หายใจเข้า หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ เปลี่ยนแปลงดังนี้อยู่ทุกวัน ๆ ทุกเวลาทุกนาที ทุกลมหายใจมีแต่ความไม่เที่ยงเป็นปกติ การที่ต้องหายใจเข้า หายใจออก คือการทำหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่ากำหนดความรู้สึกตามมันไป ก็จะเห็นว่าลมหายใจของเราประกอบด้วยความทุกข์เป็นปกติ ทุกข์ของการที่ต้องหายใจเข้า ทุกข์ของการที่ต้องหายใจออก ถ้าไม่ทำหน้าที่ดังนี้มันตาย จึงต้องตะเกียกตะกายหายใจกันต่อไปอยู่ท่ามกลางความทุกข์อย่างนี้ มันไม่มีอะไรทรงตัว ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีอะเป็นเรา เป็นของเรา ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นเพียงภาพลมที่เป็นสมบัติของโลกเท่านั้น ถึงวาระ ถึงเวลา ที่หมดลมหายใจเข้า หมดลมหายใจออก ร่างกายนี้ก็เสื่อมสลายตามกันไป ลมก็กลับคืนไปสู่ภาพลม ดังนั้นทุกลมหายใจของเรานี้ อยู่กับความไม่เที่ยง อยู่กับความเป็นทุกข์ อยู่กับความไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อยู่กับความตายตลอดเวลา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า พระองค์ท่านระลึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก คือระลึกดังนี้ รู้อยู่ว่าหายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกมันก็ตาย รู้อยู่ว่าหายใจออกถ้าไม่หายใจเข้ามันก็ตาย ความตายมันอยู่กับเราตลอดเวลา ถ้าเราเกิดมาอีก มีร่างกายแบบนี้อีก มันก็จะทุกข์แบบนี้อีก อยู่กับความตายแบบนี้อีก ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นตาย พ้นเกิดได้มีแต่แดนพระนิพพานเท่านั้น การที่เราจะไปพระนิพพานได้ จะต้องสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง เพื่อที่จะสลัดตัวเองให้หลุดจากสิ่งร้อยรักทั้งปวง สิ่งร้อยรักเราให้ติดอยู่ใน วัฒฐะสงสาร เรียกว่าสังฆโยชน์ มันมีอยู่ 10 อย่างด้วยกัน

    อย่างแรกคือ สักกายะทิฐิ คือความเห็นว่าตัวเราเป็นของเรา อันนี้แก้ด้วยการพิจารณา ในกายะทตานุสติกรรมฐาน ในจตุธาตุวัฏฐาน คือพยายามให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่แท่งทึบ ประกอบด้วยอวัยวะภายนอกภายในที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งเสื่อมสลายไปก็เจ็บป่วย พังไปก็ถึงแก่ความตาย หรือว่าแยกมันออกเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ให้เห็นจริง ๆ ว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของเรา กระจายออกแล้วรวมเข้า รวมเข้าแล้วกระจายออก กระจายออกแล้วรวมเข้า สลับไปสลับมาดังนี้ จนกระทั่งเห็นจริง ๆ ว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นเครื่องอาศัยที่ประกอบไปด้วยความทุกข์เท่านั้น

    ข้อที่สองคือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้ทุ่มเทจิตใจให้ความเคารพต่อท่านทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง พวกเราทั้งหมดมีตัววิจิกิจฉานี้น้อยแล้ว ถ้าเราไม่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ไม่มาปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนาดังนี้ การที่เราเป็นผู้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติในทาน ในศีล ในภาวนา แปลว่าวิจิกิจฉาเรามีน้อยเหลือเกินแทบไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้

    ข้อที่สามคือ ศีลพตฺปรามาส หมายถึงความไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง จากภาษาบาลีแปลว่าลูบคลำในศีล คือจับ ๆ คลำ ๆ เท่านั้น ยังไม่เอาจริงเอาจัง เราต้องตั้งหน้าตั้งตารักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ อย่าทำให้ศีลขาดศีลพร่องต้วยตัวเราเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ อย่ายินดีเมื่อเห็นคนอื่นเขาทำ

    ข้อที่สี่ คือกามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อันนี้จะต้องแก้ด้วย กายทตานุกรรมฐาน การฝึกพระกรรมฐาน มรณานุสติ ให้รู้อยู่เสมอว่าเราจะตาย ตัวเราก็ตาย ตัวเขาก็ตาย สภาพร่างกายที่แท้จริงเต็มไปด้วยความสกปรก มันประกอบไปด้วยอวัยวะภายในภายนอก มีแต่เหงื่อไคล น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ถึงเวลาก็ส่งกลิ่นเหม็น มีชีวิตอยู่ก็ต้องชำระสะสางมันอยู่ทุกวัน สภาพของเราก็ดีของเขาก็ดี เป็นอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาตาย ก็เน่าก็เปื่อยก็โทรมไป ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ได้ ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ น่าชอบใจ น่ายินดี พยายามมองให้เห็นดังนี้

    ข้อต่อไปคือพยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นคนอื่นเขา ผูกเอาไว้ในใจไม่ยอมละไม่ยอมวาง ให้รู้อยู่เสมอว่าตัวเรานี้อยู่ในกองทุกข์ ตัวบุคคลอื่นก็อยู่ในกองทุกข์ เราเองจะโกรธเกลียดเขาหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว เขาเองจะรู้ว่าเราโกรธเราเกลียดหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ต่างคนต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ถ้าเขาทำให้เราไม่พอใจเรื่องที่เขาทำนั้นเราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูก็ดี ให้พิจารณาดูว่าสิ่งที่เขานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้ามันถูกต้องเขาคือกระจก ที่ส่องให้เราเห็นหน้าตัวเอง ว่าเรานั้นน่าเกลียดน่าชังเพียงใด เราก็ไม่ควรไม่โกรธไปเกลียดเขา เพราะว่าเขาเป็นครู เป็นผู้ที่ทำให้เราเห็นตัวตนที่แท้จริงของเรา แต่ถ้าสิ่งที่เขาทำให้เราเห็น พูดให้เราได้ยิน ไม่เป็นความจริง ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องไปโกรธเขา บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญาขนาดไม่รู้ไม่เห็นว่าอะไรเป็นความจริงนั้น เราจะโกรธจะเคืองเขาไปให้เสียเวลาทำไม โกรธเขาไปเราก็ลงนรก ไม่อาจจะหลุดพ้นได้ ก็ให้อภัยเขา พยายามใช้ตัวเมตตาพรหมวิหาร เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน รักสุข เกลียดทุกข์ เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้น เป็นทุกข์ เป็นโทษ ทั้งกับตัวเองและคนอื่นขนาดไหน เขาถึงได้ทำไป ในเมื่อเขาไม่รู้เราก็ควรให้อภัยเขามองให้เห็นว่า คนธรรมดาของคนที่ไม่ร็เขามีการกระทำดังนั้น ๆ

    ข้อที่หก คือรูปราคะ หมายความว่าความยินดีในรูปทั้งปวง

    ข้อที่ เจ็ดคืออรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูปทั้งปวง
    ทั้ง 2 ข้อนี้หมายเอาสิ่งที่เราเห็น และเราไม่เห็นเป็นส่วนของนามธรรม ที่ละเอียดที่สุดก็คือการทรงทาน หรือการทรงอรูปทาน ทั้งสองอย่างนี้จะทำให้จิตเราสงบเยือกเย็น ปราศจากความหวั่นไหวในรัก โลภ โกรธ หลง ตลอดเวลาที่เราทรงได้ จะทำให้เรายินดี เราพอใจ ไปยึดไปเกาะในมัน จนกลายเป็นเครื่องร้อยรักเราให้ไปติดอยู่ในโลกนี้ต่อไป วิธีที่ดีที่สุดก็คือใช้กำลังของทาน หรือว่ารูปทานที่เราทำได้นั้น ส่งไปเกาะพระนิพพานแทน จับภาพพระแทน ตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหน นอกจากอยู่บนพระนิพพาน เอากำลังสมาธิ สมาบัตินั้นเกาะท่าน เราอยู่กับท่านคืออยู่บนพระนิพพาน ถ้าอย่างนี้เป็นการใช้กำลังของทานและอรูปทานในทางที่ถูกไม่ถือว่าใช้เป็นเครื่องร้อยรักเราให้ติดอยู่กับวัฏุฐะ

    ข้อที่แปดคือตัวมานะ ถือตัวถือตน มีทั้งการถือตัวถือตนด้วยความหยิ่งทนง คือเห็นว่าเราดีกว่าเขาเราเหนือกว่าเขา มีทั้งการเห็นการถือตัวถือตน ในลักษณะที่น้อยเนื้อต่ำใจ คือว่าเราต่ำต้อยกว่าเขา เราสู้เขาไม่ได้อันนี้เป็นการยึดถือในมานะทั้งปวงเช่นกัน ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า ไม่ว่าตัวตนคนสัตว์ เราหรือเขาก็ตาม ดังนั้น ให้ทุกคนเอาใจจดจ่ออยู่กับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามงานอยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนแต่เป็นเช่นนี้ ดังนั้นไม่ว่าจะคน จะสัตว์ จะผู้หญิง จะผู้ชาย จะข้าวของเครื่องใช้ทุกอย่างมีความเสมอกัน คือสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ 4 ให้เป็นรูปเป็นร่างก็ดี ให้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยก็ดี ให้เป็นที่อาศัยก็ดี ล้วนแล้วแต่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีใครดีกว่า ไม่มีใครเสมอกัน ไม่มีใครเลวกว่า ทุกคน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นไปตามกรรม
    ที่ตนสร้างมา มองให้เห็นตรงจุดนี้ จะได้ไม่ไปมานะ ถือตัวถือตน

    ข้อที่เก้า คืออุทัตจะ คือความฟุ้งซ่าน อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง พลุกพล่านไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ ให้จับลมหายใจเข้าออกให้เป็นการสมาบัติให้ได้ แล้วเอากำลังนั้นเกาะพระนิพพานแทน ก็จะตัดความฟุ้งซ่านนี้ได้

    ข้อสุดท้าย สังฆโยชน์ข้อสุดท้าย คืออวิชชา อวิชชาคือความรู้ไม่ครบ รู้ไม่หมด หรือที่บางท่านแปลว่าความไม่รู้นั้น ประกอบขึ้นมาจากสองสิ่ง คือฉันทะ รู้สึกพอใจในมัน จึงเกิดราคะ คือยินดีอยากมีอยากได้ ตัวนี้ต้องระวังให้จงหนัก เผลอเมื่อไหร่มันเกาะใจเราเมื่อนั้น ต้องสร้างสติ สมาธิ ปัญญาให้สมบูรณ์จริง ๆ ตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น อย่าไปยินดีหรือไม่ยินดีกับมัน ยินดีนั้นเป็นราคา ไม่ยินดีนั้นเป็นโทสะ พยายามวางใจให้นิ่ง วางใจให้ทรงตัวเป็นอุเบกขา สักแต่ว่าเห็นรูปให้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น อย่าไปพิจารณาว่าเป็นหญิงเป็นชาย อย่าไปพิจารณาว่าสวยหรือไม่สวย หล่อหรือไม่หล่อ อย่าไปฟุ้งซ่านคิดต่อว่าถ้าเป็นสามีหรือภรรยาเราแล้วจะเป็นอย่างไร หูได้ยินเสียง ให้สักแต่ว่าได้ยินอยู่ตรงนั้น อย่าไปยินดีกับมัน อย่าไปพอใจกับมัน ถ้ายินดีเมื่อไหร่ พอใจเมื่อไหร่ มันก็จะเกิดความอยากมี อยากได้เมื่อนั้น
    จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด ล้วนแล้วแต่อยู่ในลักษณะเดียวกัน ต้องรู้เท่าทัน ต้องหยุดมันให้ได้ ถ้าสามารถทำดังนี้ได้ ทันทีที่ตาเห็นรูปปัญญาจะบอกว่า ถ้าเราคิดมันจะออกไปในแง่ไหน ในเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของการคิดคือจะพาให้เราติดอยู่ในวัฏฐะ เวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จบ ต้องเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นมาร เป็นพรหม วนเวียนไม่มีที่สุดดังนี้ เมื่อ เห็นทุกข์เห็นโทษดังนี้ ก็จะหยุดมันเอาไว้แค่นั้น สามารถที่จะระงับมันไว้ได้ไม่ปรุงแต่งต่อ ในเมื่อสามารถหยุดมันตรงนั้น ดับมันตรงนั้น มันคือนิโรธ การเข้าถึงความดับ สังฆโยชน์ต่างก็ไม่สามารถทำอันตรายเราได้ ถ้าเราดับมันได้อย่างสิ้นเชิง เราก็จะพ้นทุกข์ พ้นการเวียนตายเวียนเกิด ดังนั้นให้เราทุกคนพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ในสังฆโยชน์ทั้ง สิบข้อ

    สมัยอาตมาปฏิบัติใหม่ ๆ หลวงพ่อให้เขียนติดหัวนอนเอาไว้ ตื่นเช้าขึ้นมาลืมตาดู วันนี้มันมีข้อไหนที่เรายังทำไม่ได้ เราต้องทำให้ได้ ว้นนี้มันมีข้อไหนที่มันร้อยมันรัด มันยึด มันติดในใจเราอยู่ เราต้องแกะมันออก สลัดมันออก ปลดมันออกให้ได้ อริยะสัจคือสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้นั้น ที่สำคัญคือรู้ในทุกข์ ดังนั้นว่าสังฆโยชน์ทุกข้อ ล้วนแล้วแต่พาให้เราเกิดทุกข์ ในเมื่อสาเหตุใหญ่ของการพาให้เกิดทุกข์คือการมีร่างกายนี้ ถ้าเราพิจารณาจนเห็นอย่างแท้จริงว่าร่างกายของนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีความยินดีในมัน ไม่มีความปรารถนาในมัน ทุกข์นั้นก็จบลง การเวียนตายเวียนเกิดก็จะสิ้นสุดลง ความทุกข์นั้นท่านบอกว่า กาลิเยยันติเม คือให้เรากำหนดรู้ รู้แล้ววางลง ไม่จำเป็นต้องไปแบกในมัน รู้ว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นทุกข์
    แล้วก็ปล่อยมันอยู่ตรงนั้น ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสมบัติของร่างกาย การที่เราจะอยู่กับมันต่อไป อย่างไรก็ไม่เกิน หนึ่งร้อยปี การที่เราทุกข์ทรมาน อยู่หนึ่งร้อยปีมนุษย์ ถ้าเปรียบกับการเวียนตายเวียนเกิดนับกัปป์ไม่ถ้วนแล้วไซร์ มันก็เป็นเวลาชั่วแว๊บเดียวเท่านั้นเหมือนกับเราหลับตาลงแล้วลืมตาขึ้เท่านั้น ระยะเวลาแค่นิดเดียวแค่นี้ทำไมเราจะอยู่กับมันไม่ได้ เราก็กำหนดใจให้รู้ให้เห็นในทุกข์นั้น ให้รู้ว่าสิ่งที่มีค่าที่สุดได้เกิดอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว สิ่งที่ไม่อาจจะทุ่มเททรัพย์สินเงินทองเท่าไหร่ก็ตามซื้อหามาได้นั้นอยู่ตรงหน้าเราแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องทนทุกข์ยากลำบาก เสริมสร้างบารมี เป็นอย่างน้อย สี่อสงไขยกับนับแสนมหากัปป์ ถึงจะตรัสรู้ ถึงจะมีปัญญาญาณทะลุเห็นทุกข์นี้ได้ แต่ขณะนี้สิ่งที่เห็นได้ลำบาก ต้องใช้ปัญญาอย่างมหาศาล ปรากฏให้เห็นเด่นชัดอยู่เบื้องหน้านี้แล้ว ดังนั้นเราจึงควรจะยินดี ควรจะดีใจ ว่าขณะนี้ร่างกายแสดงความทุกข์ให้เราเห็น เราไม่สามารถจะซื้อหาด้วยทรัพย์สินเงินทองใด ใด ไม่สามารถจะเรียกร้องให้ม้นปรากฏขึ้นได้ แต่ขณะนี้มันแสดงให้เห็น ปรากฏให้เห็นอยู่แล้ว ในเมื่อทุ่มเทเงินทองเท่าไหร่ไม่อาจจะซื้อหาได้ ดังนั้นความทุกข์จึงมีคุณค่ามหาศาล มีคุณค่ายิ่งกว่าทองเท่าภูเขา มีคุณค่ายิ่งกว่าโครตเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก เราก็จะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว ความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะคอยกระตุ้นเตือนเราให้เรารู้ตัวอยู่เสมอ จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในวัฏฐะสงสาร จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของเรา จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของคนอื่นเขา ถ้าหากว่าหนดรู้ได้ดังนี้
    กำหนดเห็นได้ดังนี้เราก็จะเป็นผู้ที่มีความสุข เพราะเราปล่อยวางในทุกข์ทั้งปวง เราจะเป็นผู้ที่เข้าถึงนิพพาน เป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนตายเวียนเกิด พยายามพิจารณาสังฆโยชน์ทั้งหมดให้รู้ว่าถ้ามันร้อยรัดเรา มันจะดึงเราตกอยู่ในห้วงทุกข์ แต่ขณะนี้แม้มันดึงเราอยู่ในห้วงทุกข์ แต่เราก็เห็นทุกข์ชัดเจนแล้ว ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกเราที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ขอมาเกิดอีก จะเป็นเทวดาเป็นพรหมที่หลุดพ้นทุกข์ชั่วคราวเราก็ไม่เอา เราต้องการที่เดียวคือพระนิพพาน

    เมื่อมาถึงจุดนี้ ให้ส่งใจเกาะพระนิพพานไว้ การส่งใจออกนอกจะมีคุณค่าที่สุดต่อเมื่อส่งไปเกาะพระนิพพานไว้ ส่งไปเกาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ตั้งใจว่าถ้าเราตายวันนี้เราขอมาอยู่ที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น ทำใจจดจ่อมั่นคงอยู่กับพระนิพพานตรงหน้า ให้รู้ถึงความว่าง ความโปร่งเบา ความใสสะอาดแห่ง ความเยือกเย็นของพระนิพพาน ให้อารมณ์พระนิพพานนี้เต็มอยู่ในจิตในใจของเรา เต็มอยู่ในกายของเรา ทุกวันทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ให้พยายามประคับประคองรักษาอารมณ์พระนิพพานนี้ ไว้อยู่กับเรานานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ยิ่งนานเท่าไหร่กิเลสมันก็ยิ่งตายลงไปมากเท่านั้น ยิ่งลดน้อยลงไปมากเท่านั้น โอกาสที่เราจะเข้าสู่พระนิพพานของเราก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จิตของเราจดจ่ออยู่กับภาพพระนิพพานที่ใสสะอาด สว่าง สงบ อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นแก้วแพรวพราวผ่องใสอยู่ตรงหน้า อยู่ในวิมานที่เกิดจากบุญบารมีที่เราสร้างสมมา ที่สว่างไสวแพรวพราวอยู่ตรงนี้ มีสติรู้อยู่เมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ รู้ตัวเมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ ทำให้ได้มากที่สุด ทำให้ได้นานที่สุดในแต่ละวัน ในอิริยาบทไหน ๆ ก็ตามให้กำหนดเอาไว้ดังนี้ ประคับประคองให้อยู่กับเราให้นานที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพื่อความสุขในปัจจุบัน และความสุขในอนาคต คือเมื่อตายแล้วให้ไปอยู่ในนิพพานนี้

    ให้ค่อย กำหนดสติถอนกำลังใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ เพื่อที่เราจะได้กลับมาสวดมนต์ทำวัดของเราต่อไป

    ........จบ ไฟล์ที่ ห้า.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2005
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    คราวนี้ ขอให้ทุกคน นั่งตัวตรง การนั่งตัวตรงของเราไม่ได้หมายความว่าไปเกร็งร่างกายแต่ว่า ยืด ตัวขึ้นให้ตรง
    ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เสีย หลับตาเบา ๆ นึกย้อนเข้าไปในศรีษะของเราเหมือนกับเราเหลือบตาขึ้นมองกระโหลกศรีษะข้างใน แล้วมองย้อนลงไปถึงจุดศูนย์กลางของร่างกายเรา
    กำหนดใจ ให้ นิ่ง ๆ ไว้ตรงนั้น พร้อมกับ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แม้ว่าจะหายใจเข้า จะหายใจออก อยู่ ให้กำหนดความรู้สึกไว้นิดเดียวที่ลมหายใจเท่านั้น
    ความรู้สึกส่วนใหญ่ทั้งหมดให้นิ่งอยู่ที่ ศูนย์กลางกายของเรา ศูนย์กลางกายของเราเป็นจุดที่ ร่างกายจะสามารถ เข้าถึงความสงบได้ดีที่สุ มีพลังที่จะต่อสู้กับกิเลสได้มากที่สุด วันนี้เรามาดูว่าเราสามารถทำจิตให้นิ่งอยู่อย่างนี้ได้นานเท่าไหร่​
    ศูนย์กลางกาย คือ ที่สุดของลมหายใจเข้าออกของเรา กำหนดความรู้สึกไม่ต้องปักแน่นมาก เอาแค่ให้แน่วแน่อยู่ภายใน ไม่ต้องใส่ใจกับภายนอก
    กำหนดความรู้สึกส่วนหนึ่งรู้สึกอยู่กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนาไปสุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
    หายใจออกพร้อมกับคำภาวนาออกมาสุดที่ปลายจมูก แต่ว่ากำลังใจส่วนใหญ่ให้ปักนิ่งอยู่ในร่างกายของตัวเอง การที่เราส่งใจข้างออก มันเป็น สาเหตุของความทุกข์ทั้งหมด
    เพราะเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เรามักกั้นมันไว้ไม่ทัน จะสติ สมาธิ ปัญญาของเราไม่ทันกับมัน มันก็จะวิ่งเข้ามาอยู่ในใจของเรา
    ทำให้เกิดความทุกข์แก่เราได้ วันนี้เรามากำหนดใจให้อยู่ภายในจริง ๆ อย่าส่งออกนอก นอกจากความรู้ส่วนหนึ่งที่แบ่งให้กับลมหายใจเข้าออกแล้ว ความรู้สึก ส่วนใหญ่ให้อยู่ ข้างใน ให้หมด การปฏิบัติของเราทุกครั้ง
    ให้หวังผล สูงสุด คือ"พระนิพพาน" เมื่อเริ่มปฏิบัติ ให้ทุกคนตั้งใจว่า ขณะนี้ ศีลของเราทุกสิกขาบทบริสุทธิ์ครบถ้วน
    การปฏิบัติของเรานี้ ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถ้ามันตายลงไปตอนนี้

    เราปรารถนาที่เดียวคือ พระนิพพาน ให้ตัดสินใจเช่นนี้เสมอ

    ให้คิดอยู่เสมอว่า เราต้องตาย ความตายมาถึงเราได้ทุกเวลา ความตายอยู่แค่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกอีกก็ตาย หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าอีกก็ตาย
    ลมหายใจของเราเป็นที่รวมของชีวิต เป็นที่รวมของความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ มันหายใจเข้าแล้วมันก็หายใจออก มันหายใจออกแล้วมันก็หายใจเข้า หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้
    เปลี่ยนแปลงดังนี้อยู่ทุกวัน ๆ ทุกเวลาทุกนาที ทุกลมหายใจมีแต่ความไม่เที่ยงเป็นปกติ การที่ต้องหายใจเข้า หายใจออก คือการทำหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง
    ถ้าหากว่ากำหนดความรู้สึกตามมันไป ก็จะเห็นว่าลมหายใจของเราประกอบด้วยความทุกข์เป็นปกติ ทุกข์ของการที่ต้องหายใจเข้า ทุกข์ของการที่ต้องหายใจออก ถ้าไม่ทำหน้าที่ดังนี้มันตาย
    จึงต้องตะเกียกตะกายหายใจกันต่อไป อยู่ท่ามกลางความทุกข์อย่างนี้ มันไม่มีอะไรทรงตัว ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา
    ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นเพียงภาพลมที่เป็นสมบัติของโลกเท่านั้น ถึงวาระ ถึงเวลา ที่หมดลมหายใจเข้า หมดลมหายใจออก ร่างกายนี้ก็เสื่อมสลายตามกันไป
    ลมก็กลับคืนไปสู่ภาพลม ดังนั้นทุกลมหายใจของเรานี้ อยู่กับความไม่เที่ยง อยู่กับความเป็นทุกข์ อยู่กับความไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อยู่กับความตายตลอดเวลา
    ที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวว่า พระองค์ท่านระลึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก คือ ระลึกดังนี้ รู้อยู่ว่าหายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกมันก็ตาย รู้อยู่ว่าหายใจออกถ้าไม่หายใจเข้ามันก็ตาย ความตายมันอยู่กับเราตลอดเวลา
    ถ้าเราเกิดมาอีก มีร่างกายแบบนี้อีก มันก็จะทุกข์แบบนี้อีก อยู่กับความตายแบบนี้อีก ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นตาย พ้นเกิดได้มีแต่แดนพระนิพพานเท่านั้น
    การที่เราจะไปพระนิพพานได้ จะต้องสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง เพื่อที่จะสลัดตัวเองให้หลุดจากสิ่งร้อยรักทั้งปวง สิ่งร้อยรักเราให้ติดอยู่ใน วัฎฏสงสาร เรียกว่า สังฆโยชน์ มันมีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน

    อย่างแรก คือ สักกายะทิฐิ คือความเห็นว่าตัวเราเป็นของเรา อันนี้แก้ด้วยการพิจารณา ในกายะทตานุสติกรรมฐาน ในจตุธาตุวัฏฐาน
    คือพยายามให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่แท่งทึบ ประกอบด้วยอวัยวะภายนอกภายในที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งเสื่อมสลายไปก็เจ็บป่วย พังไปก็ถึงแก่ความตาย
    หรือว่าแยกมันออกเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ให้เห็นจริง ๆ ว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของเรา กระจายออกแล้วรวมเข้า รวมเข้าแล้วกระจายออก กระจายออกแล้วรวมเข้า สลับไปสลับมาดังนี้ จนกระทั่งเห็นจริง ๆ ว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นเครื่องอาศัยที่ประกอบไปด้วยความทุกข์เท่านั้น

    ข้อที่สอง คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้ทุ่มเทจิตใจให้ความเคารพต่อท่านทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    พวกเราทั้งหมดมีตัววิจิกิจฉานี้น้อยแล้ว ถ้าเราไม่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ไม่มาปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนาดังนี้ การที่เราเป็นผู้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติในทาน ในศีล ในภาวนา แปลว่าวิจิกิจฉาเรามีน้อยเหลือเกินแทบไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้

    ข้อที่สาม คือ ศีลพตฺปรามาส หมายถึงความไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง จากภาษาบาลีแปลว่าลูบคลำในศีล คือจับ ๆ คลำ ๆ เท่านั้น ยังไม่เอาจริงเอาจัง
    เราต้องตั้งหน้าตั้งตารักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ อย่าทำให้ศีลขาดศีลพร่องต้วยตัวเราเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ อย่ายินดีเมื่อเห็นคนอื่นเขาทำ

    ข้อที่สี่ คือ กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อันนี้จะต้องแก้ด้วย กายทตานุกรรมฐาน การฝึกพระกรรมฐาน มรณานุสติ
    ให้รู้อยู่เสมอว่าเราจะตาย ตัวเราก็ตาย ตัวเขาก็ตาย สภาพร่างกายที่แท้จริงเต็มไปด้วยความสกปรก มันประกอบไปด้วยอวัยวะภายในภายนอก มีแต่เหงื่อไคล น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ถึงเวลาก็ส่งกลิ่นเหม็น
    มีชีวิตอยู่ ก็ต้องชำระสะสางมันอยู่ทุกวัน สภาพของเราก็ดีของเขาก็ดี เป็นอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาตาย ก็เน่าก็เปื่อยก็โทรมไป ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ได้ ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ น่าชอบใจ น่ายินดี พยายามมองให้เห็นดังนี้

    ข้อต่อไป คือ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นคนอื่นเขา ผูกเอาไว้ในใจ ไม่ยอมละไม่ยอมวาง ให้รู้อยู่เสมอว่าตัวเรานี้อยู่ในกองทุกข์ ตัวบุคคลอื่นก็อยู่ในกองทุกข์
    เราเองจะโกรธเกลียดเขาหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว เขาเองจะรู้ว่าเราโกรธเราเกลียดหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ต่างคนต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    ถ้าเขาทำให้เราไม่พอใจเรื่องที่เขาทำนั้นเราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูก็ดี ให้พิจารณาดูว่าสิ่งที่เขานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้ามันถูกต้อง เขาคือกระจก ที่ส่องให้เราเห็นหน้าตัวเอง
    ว่าเรานั้นน่าเกลียดน่าชังเพียงใด เราก็ไม่ควรไม่โกรธไปเกลียดเขา เพราะว่าเขาเป็นครู เป็นผู้ที่ทำให้เราเห็นตัวตนที่แท้จริงของเรา แต่ถ้าสิ่งที่เขาทำให้เราเห็น พูดให้เราได้ยิน ไม่เป็นความจริง ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องไปโกรธเขา
    บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญาขนาดไม่รู้ไม่เห็นว่าอะไรเป็นความจริงนั้น เราจะโกรธจะเคืองเขาไปให้เสียเวลาทำไม โกรธเขาไปเราก็ลงนรก ไม่อาจจะหลุดพ้นได้ ก็ให้อภัยเขา พยายามใช้ตัวเมตตาพรหมวิหาร เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน รักสุข เกลียดทุกข์ เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้น เป็นทุกข์ เป็นโทษ ทั้งกับตัวเองและคนอื่นขนาดไหน เขาถึงได้ทำไป ในเมื่อเขาไม่รู้เราก็ควรให้อภัยเขามองให้เห็นว่า คนธรรมดาของคนที่ไม่รู้เขามีการกระทำดังนั้น ๆ

    ข้อที่หก คือ รูปราคะ หมายความว่าความยินดีในรูปทั้งปวง

    ข้อที่เจ็ด คือ อรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูปทั้งปวง

    ทั้ง ๒ ข้อนี้ หมายเอา สิ่งที่เราเห็น และ เราไม่เห็น เป็นส่วนของนามธรรม ที่ละเอียดที่สุดก็คือการทรงทาน หรือการทรงอรูปทาน
    ทั้งสองอย่างนี้จะทำให้จิตเราสงบเยือกเย็น ปราศจากความหวั่นไหวในรัก โลภ โกรธ หลง ตลอดเวลาที่เราทรงได้ จะทำให้เรายินดี เราพอใจ ไปยึดไปเกาะในมัน จนกลายเป็นเครื่องร้อยรักเราให้ไปติดอยู่ในโลกนี้ต่อไป

    วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ใช้กำลังของทาน หรือว่ารูปทานที่เราทำได้นั้น ส่งไปเกาะพระนิพพานแทน จับภาพพระแทน ตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหน
    นอกจากอยู่บนพระนิพพาน เอากำลังสมาธิ สมาบัตินั้นเกาะท่าน เราอยู่กับท่านคืออยู่บนพระนิพพาน ถ้าอย่างนี้ เป็นการใช้กำลังของทาน และอรูปทานในทางที่ถูก ไม่ถือว่าใช้เป็นเครื่องร้อยรักเราให้ติดอยู่กับวัฏุฏะ

    ข้อที่แปด คือ ตัวมานะ ถือตัวถือตน มีทั้งการถือตัวถือตนด้วยความหยิ่งทนง คือเห็นว่าเราดีกว่าเขาเราเหนือกว่าเขา
    มีทั้งการเห็นการถือตัวถือตน ในลักษณะที่น้อยเนื้อต่ำใจ คือว่าเราต่ำต้อยกว่าเขา เราสู้เขาไม่ได้อันนี้เป็นการยึดถือในมานะทั้งปวงเช่นกัน
    ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า ไม่ว่าตัวตนคนสัตว์ เราหรือเขาก็ตาม ดังนั้น ให้ทุกคนเอาใจจดจ่ออยู่กับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามงานอยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนแต่เป็นเช่นนี้ ดังนั้นไม่ว่าจะคน จะสัตว์ จะผู้หญิง จะผู้ชาย จะข้าวของเครื่องใช้ทุกอย่างมีความเสมอกัน
    คือสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ ๔ ให้เป็นรูปเป็นร่างก็ดี ให้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยก็ดี ให้เป็นที่อาศัยก็ดี ล้วนแล้วแต่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
    ไม่มีใครดีกว่า ไม่มีใครเสมอกัน ไม่มีใครเลวกว่า ทุกคน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นไปตามกรรมที่ตนสร้างมา มองให้เห็นตรงจุดนี้ จะได้ไม่ไปมานะ ถือตัวถือตน

    ข้อที่เก้า คือ อุทัตจะ คือความฟุ้งซ่าน อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง พลุกพล่านไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ ให้จับลมหายใจเข้าออกให้เป็นการสมาบัติให้ได้ แล้วเอากำลังนั้นเกาะพระนิพพานแทน ก็จะตัดความฟุ้งซ่านนี้ได้

    ข้อสุดท้าย สังฆโยชน์ข้อสุดท้ายคือ อวิชชา อวิชชาคือความรู้ไม่ครบ รู้ไม่หมด หรือที่บางท่านแปลว่าความไม่รู้นั้น
    ประกอบขึ้นมาจากสองสิ่ง คือฉันทะ รู้สึกพอใจในมัน จึงเกิดราคะ คือยินดีอยากมีอยากได้ ตัวนี้ต้องระวังให้จงหนัก เผลอเมื่อไหร่มันเกาะใจเราเมื่อนั้น
    ต้องสร้างสติ สมาธิ ปัญญาให้สมบูรณ์จริง ๆ ตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น อย่าไปยินดีหรือไม่ยินดีกับมัน ยินดีนั้นเป็นราคะ ไม่ยินดีนั้นเป็นโทสะ พยายามวางใจให้นิ่ง วางใจให้ทรงตัวเป็นอุเบกขา
    สักแต่ว่าเห็นรูปให้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น อย่าไปพิจารณาว่าเป็นหญิงเป็นชาย อย่าไปพิจารณาว่าสวยหรือไม่สวย หล่อหรือไม่หล่อ อย่าไปฟุ้งซ่านคิดต่อว่าถ้าเป็นสามีหรือภรรยาเราแล้วจะเป็นอย่างไร
    หูได้ยินเสียง ให้สักแต่ว่าได้ยินอยู่ตรงนั้น อย่าไปยินดีกับมัน อย่าไปพอใจกับมัน ถ้ายินดีเมื่อไหร่ พอใจเมื่อไหร่ มันก็จะเกิดความอยากมี อยากได้เมื่อนั้น
    จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด ล้วนแล้วแต่อยู่ในลักษณะเดียวกัน ต้องรู้เท่าทัน ต้องหยุดมันให้ได้
    ถ้าสามารถทำดังนี้ได้ ทันทีที่ตาเห็นรูป ปัญญาจะบอกว่า ถ้าเราคิดมันจะออกไปในแง่ไหน ในเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของการคิดคือจะพาให้เราติดอยู่ในวัฏฏะ เวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จบ
    ต้องเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นมาร เป็นพรหม วนเวียนไม่มีที่สุดดังนี้
    เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษดังนี้ ก็จะหยุดมันเอาไว้แค่นั้น สามารถที่จะระงับมันไว้ได้ไม่ปรุงแต่งต่อ ในเมื่อสามารถหยุดมันตรงนั้น ดับมันตรงนั้น มันคือ นิโรธ การเข้าถึงความดับ
    สังฆโยชน์ต่างก็ไม่สามารถทำอันตรายเราได้ ถ้าเราดับมันได้อย่างสิ้นเชิง เราก็จะ พ้นทุกข์ พ้นการเวียนตายเวียนเกิด

    ดังนั้นให้เราทุกคนพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ในสังฆโยชน์ทั้ง สิบข้อ

    สมัยอาตมาปฏิบัติใหม่ ๆ หลวงพ่อให้เขียนติดหัวนอนเอาไว้ ตื่นเช้าขึ้นมาลืมตาดู วันนี้มันมีข้อไหนที่เรายังทำไม่ได้ เราต้องทำให้ได้
    ว้นนี้มันมีข้อไหนที่มันร้อยมันรัด มันยึด มันติดในใจเราอยู่ เราต้องแกะมันออก สลัดมันออก ปลดมันออกให้ได้

    อริยะสัจ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้ นั้น ที่สำคัญคือรู้ในทุกข์

    ดังนั้นว่าสังฆโยชน์ทุกข้อ ล้วนแล้วแต่พาให้เราเกิดทุกข์ ในเมื่อสาเหตุใหญ่ของการพาให้เกิดทุกข์คือการมีร่างกายนี้ ถ้าเราพิจารณาจนเห็นอย่างแท้จริงว่าร่างกายของนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีความยินดีในมัน ไม่มีความปรารถนาในมัน ทุกข์นั้นก็จบลง
    การเวียนตายเวียนเกิดก็จะสิ้นสุดลง ความทุกข์นั้นท่านบอกว่า กาลิเยยันติเม คือให้เรากำหนดรู้ รู้แล้ววางลง ไม่จำเป็นต้องไปแบกในมัน รู้ว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นทุกข์
    แล้วก็ปล่อยมันอยู่ตรงนั้น ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสมบัติของร่างกาย การที่เราจะอยู่กับมันต่อไป อย่างไรก็ไม่เกิน หนึ่งร้อยปี
    การที่เราทุกข์ทรมาน อยู่หนึ่งร้อยปีมนุษย์ ถ้าเปรียบกับการเวียนตายเวียนเกิดนับกัปป์ไม่ถ้วนแล้วไซร์ มันก็เป็นเวลาชั่วแว๊บเดียวเท่านั้นเหมือนกับเราหลับตาลงแล้วลืมตาขึ้เท่านั้น
    ระยะเวลาแค่นิดเดียวแค่นี้ทำไมเราจะอยู่กับมันไม่ได้ เราก็กำหนดใจให้รู้ให้เห็นในทุกข์นั้น ให้รู้ว่าสิ่งที่มีค่าที่สุดได้เกิดอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว สิ่งที่ไม่อาจจะทุ่มเททรัพย์สินเงินทองเท่าไหร่ก็ตามซื้อหามาได้นั้นอยู่ตรงหน้าเราแล้ว
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องทนทุกข์ยากลำบาก เสริมสร้างบารมี เป็นอย่างน้อย สี่อสงไขยกับนับแสนมหากัปป์ ถึงจะตรัสรู้ ถึงจะมีปัญญาญาณทะลุเห็นทุกข์นี้ได้
    แต่ขณะนี้สิ่งที่เห็นได้ลำบาก ต้องใช้ปัญญาอย่างมหาศาล ปรากฏให้เห็นเด่นชัดอยู่เบื้องหน้านี้แล้ว
    ดังนั้นเราจึงควรจะยินดี ควรจะดีใจ ว่าขณะนี้ร่างกายแสดงความทุกข์ให้เราเห็น เราไม่สามารถจะซื้อหาด้วยทรัพย์สินเงินทองใด ใด
    ไม่สามารถจะเรียกร้องให้ม้นปรากฏขึ้นได้ แต่ขณะนี้มันแสดงให้เห็น ปรากฏให้เห็นอยู่แล้ว ในเมื่อทุ่มเทเงินทองเท่าไหร่ไม่อาจจะซื้อหาได้ ดังนั้นความทุกข์จึงมีคุณค่ามหาศาล มีคุณค่ายิ่งกว่าทองเท่าภูเขา มีคุณค่ายิ่งกว่าโครตเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก
    เราก็จะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว ความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะคอยกระตุ้นเตือนเราให้เรารู้ตัวอยู่เสมอ จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในวัฏฏสงสาร จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของเรา จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของคนอื่นเขา ถ้าหากว่ากำหนดรู้ได้ดังนี้

    กำหนดเห็นได้ดังนี้เราก็จะเป็นผู้ที่มีความสุข เพราะเราปล่อยวางในทุกข์ทั้งปวง เราจะเป็นผู้ที่เข้าถึงนิพพาน เป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนตายเวียนเกิด
    พยายามพิจารณาสังฆโยชน์ทั้งหมดให้รู้ว่าถ้ามันร้อยรัดเรา มันจะดึงเราตกอยู่ในห้วงทุกข์
    แต่ขณะนี้แม้มันดึงเราอยู่ในห้วงทุกข์ แต่เราก็เห็นทุกข์ชัดเจนแล้ว ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกเราที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ขอมาเกิดอีก จะเป็นเทวดาเป็นพรหมที่หลุดพ้นทุกข์ชั่วคราวเราก็ไม่เอา เราต้องการที่เดียวคือ พระนิพพาน

    เมื่อมาถึงจุดนี้ ให้ส่งใจเกาะพระนิพพานไว้ การส่งใจออกนอก จะมีคุณค่าที่สุดต่อเมื่อส่งไปเกาะพระนิพพานไว้ ส่งไปเกาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้

    ตั้งใจว่าถ้าเราตายวันนี้เราขอมาอยู่ที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น ทำใจจดจ่อมั่นคงอยู่กับพระนิพพานตรงหน้า ให้รู้ถึงความว่าง ความโปร่งเบา ความใสสะอาดแห่ง ความเยือกเย็น ของพระนิพพาน

    ให้อารมณ์พระนิพพานนี้เต็มอยู่ในจิตในใจของเรา เต็มอยู่ในกายของเรา ทุกวันทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ให้พยายามประคับประคอง รักษาอารมณ์พระนิพพานนี้ ไว้อยู่กับเรา นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

    ยิ่งนานเท่าไหร่กิเลสมันก็ยิ่งตายลงไปมากเท่านั้น ยิ่งลดน้อยลงไปมากเท่านั้น โอกาสที่เราจะเข้าสู่พระนิพพานของเราก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

    จิตของเราจดจ่ออยู่กับภาพพระนิพพานที่ใสสะอาด สว่าง สงบ อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นแก้วแพรวพราวผ่องใสอยู่ตรงหน้า อยู่ในวิมานที่เกิดจากบุญบารมีที่เราสร้างสมมา ที่สว่างไสวแพรวพราวอยู่ตรงนี้

    มีสติรู้อยู่เมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ รู้ตัวเมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ ทำให้ได้มากที่สุด ทำให้ได้นานที่สุดในแต่ละวัน ในอิริยาบทไหน ๆ ก็ตามให้กำหนดเอาไว้ดังนี้ ประคับประคองให้อยู่กับเราให้นานที่สุด เท่าที่จะทำได้
    เพื่อความสุขในปัจจุบัน และความสุขในอนาคต คือเมื่อตายแล้วให้ไปอยู่ในนิพพานนี้

    ให้ค่อย กำหนดสติถอนกำลังใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ เพื่อที่เราจะได้กลับมาสวดมนต์ทำวัตรของเราต่อไป ...............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2005
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ลองเทสต์เจ๋ยๆ อ่ะจ๊ะ..

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #f58105 3px dashed; BORDER-TOP: #f58105 3px dashed; BORDER-LEFT: #f58105 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #f58105 3px dashed" cellSpacing=5 cellPadding=5 bgColor=#fbbe7d><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #8a643c 3px dashed; BORDER-TOP: #8a643c 3px dashed; BORDER-LEFT: #8a643c 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #8a643c 3px dashed" bgColor=#f6dabc>
    คราวนี้ ขอให้ทุกคน นั่งตัวตรง การนั่งตัวตรงของเราไม่ได้หมายความว่าไปเกร็งร่างกายแต่ว่า ยืด ตัวขึ้นให้ตรง

    ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เสีย หลับตาเบา ๆ นึกย้อนเข้าไปในศรีษะของเราเหมือนกับเราเหลือบตาขึ้นมองกระโหลกศรีษะข้างใน แล้วมองย้อนลงไปถึงจุดศูนย์กลางของร่างกายเรา
    กำหนดใจ ให้ นิ่ง ๆ ไว้ตรงนั้น พร้อมกับ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แม้ว่าจะหายใจเข้า จะหายใจออก อยู่ ให้กำหนดความรู้สึกไว้นิดเดียวที่ลมหายใจเท่านั้น
    ความรู้สึกส่วนใหญ่ทั้งหมดให้นิ่งอยู่ที่ ศูนย์กลางกายของเรา ศูนย์กลางกายของเราเป็นจุดที่ ร่างกายจะสามารถ เข้าถึงความสงบได้ดีที่สุ มีพลังที่จะต่อสู้กับกิเลสได้มากที่สุด วันนี้เรามาดูว่าเราสามารถทำจิตให้นิ่งอยู่อย่างนี้ได้นานเท่าไหร่​
    ศูนย์กลางกาย คือ ที่สุดของลมหายใจเข้าออกของเรา กำหนดความรู้สึกไม่ต้องปักแน่นมาก เอาแค่ให้แน่วแน่อยู่ภายใน ไม่ต้องใส่ใจกับภายนอก
    กำหนดความรู้สึกส่วนหนึ่งรู้สึกอยู่กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนาไปสุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
    หายใจออกพร้อมกับคำภาวนาออกมาสุดที่ปลายจมูก แต่ว่ากำลังใจส่วนใหญ่ให้ปักนิ่งอยู่ในร่างกายของตัวเอง การที่เราส่งใจข้างออก มันเป็น สาเหตุของความทุกข์ทั้งหมด
    เพราะเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เรามักกั้นมันไว้ไม่ทัน จะสติ สมาธิ ปัญญาของเราไม่ทันกับมัน มันก็จะวิ่งเข้ามาอยู่ในใจของเรา
    ทำให้เกิดความทุกข์แก่เราได้ วันนี้เรามากำหนดใจให้อยู่ภายในจริง ๆ อย่าส่งออกนอก นอกจากความรู้ส่วนหนึ่งที่แบ่งให้กับลมหายใจเข้าออกแล้ว ความรู้สึก ส่วนใหญ่ให้อยู่ ข้างใน ให้หมด การปฏิบัติของเราทุกครั้ง
    ให้หวังผล สูงสุด คือ"พระนิพพาน" เมื่อเริ่มปฏิบัติ ให้ทุกคนตั้งใจว่า ขณะนี้ ศีลของเราทุกสิกขาบทบริสุทธิ์ครบถ้วน
    การปฏิบัติของเรานี้ ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถ้ามันตายลงไปตอนนี้

    เราปรารถนาที่เดียวคือ พระนิพพาน ให้ตัดสินใจเช่นนี้เสมอ

    ให้คิดอยู่เสมอว่า เราต้องตาย ความตายมาถึงเราได้ทุกเวลา ความตายอยู่แค่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกอีกก็ตาย หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าอีกก็ตาย
    ลมหายใจของเราเป็นที่รวมของชีวิต เป็นที่รวมของความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ มันหายใจเข้าแล้วมันก็หายใจออก มันหายใจออกแล้วมันก็หายใจเข้า หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้
    เปลี่ยนแปลงดังนี้อยู่ทุกวัน ๆ ทุกเวลาทุกนาที ทุกลมหายใจมีแต่ความไม่เที่ยงเป็นปกติ การที่ต้องหายใจเข้า หายใจออก คือการทำหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง
    ถ้าหากว่ากำหนดความรู้สึกตามมันไป ก็จะเห็นว่าลมหายใจของเราประกอบด้วยความทุกข์เป็นปกติ ทุกข์ของการที่ต้องหายใจเข้า ทุกข์ของการที่ต้องหายใจออก ถ้าไม่ทำหน้าที่ดังนี้มันตาย
    จึงต้องตะเกียกตะกายหายใจกันต่อไป อยู่ท่ามกลางความทุกข์อย่างนี้ มันไม่มีอะไรทรงตัว ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา
    ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นเพียงภาพลมที่เป็นสมบัติของโลกเท่านั้น ถึงวาระ ถึงเวลา ที่หมดลมหายใจเข้า หมดลมหายใจออก ร่างกายนี้ก็เสื่อมสลายตามกันไป
    ลมก็กลับคืนไปสู่ภาพลม ดังนั้นทุกลมหายใจของเรานี้ อยู่กับความไม่เที่ยง อยู่กับความเป็นทุกข์ อยู่กับความไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อยู่กับความตายตลอดเวลา
    ที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวว่า พระองค์ท่านระลึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก คือ ระลึกดังนี้ รู้อยู่ว่าหายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกมันก็ตาย รู้อยู่ว่าหายใจออกถ้าไม่หายใจเข้ามันก็ตาย ความตายมันอยู่กับเราตลอดเวลา
    ถ้าเราเกิดมาอีก มีร่างกายแบบนี้อีก มันก็จะทุกข์แบบนี้อีก อยู่กับความตายแบบนี้อีก ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นตาย พ้นเกิดได้มีแต่แดนพระนิพพานเท่านั้น
    การที่เราจะไปพระนิพพานได้ จะต้องสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง เพื่อที่จะสลัดตัวเองให้หลุดจากสิ่งร้อยรักทั้งปวง สิ่งร้อยรักเราให้ติดอยู่ใน วัฎฏสงสาร เรียกว่า สังฆโยชน์ มันมีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน

    อย่างแรก คือ สักกายะทิฐิ คือความเห็นว่าตัวเราเป็นของเรา อันนี้แก้ด้วยการพิจารณา ในกายะทตานุสติกรรมฐาน ในจตุธาตุวัฏฐาน
    คือพยายามให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่แท่งทึบ ประกอบด้วยอวัยวะภายนอกภายในที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งเสื่อมสลายไปก็เจ็บป่วย พังไปก็ถึงแก่ความตาย
    หรือว่าแยกมันออกเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ให้เห็นจริง ๆ ว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของเรา กระจายออกแล้วรวมเข้า รวมเข้าแล้วกระจายออก กระจายออกแล้วรวมเข้า สลับไปสลับมาดังนี้ จนกระทั่งเห็นจริง ๆ ว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นเครื่องอาศัยที่ประกอบไปด้วยความทุกข์เท่านั้น

    ข้อที่สอง คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้ทุ่มเทจิตใจให้ความเคารพต่อท่านทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    พวกเราทั้งหมดมีตัววิจิกิจฉานี้น้อยแล้ว ถ้าเราไม่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ไม่มาปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนาดังนี้ การที่เราเป็นผู้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติในทาน ในศีล ในภาวนา แปลว่าวิจิกิจฉาเรามีน้อยเหลือเกินแทบไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้

    ข้อที่สาม คือ ศีลพตฺปรามาส หมายถึงความไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง จากภาษาบาลีแปลว่าลูบคลำในศีล คือจับ ๆ คลำ ๆ เท่านั้น ยังไม่เอาจริงเอาจัง
    เราต้องตั้งหน้าตั้งตารักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ อย่าทำให้ศีลขาดศีลพร่องต้วยตัวเราเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ อย่ายินดีเมื่อเห็นคนอื่นเขาทำ

    ข้อที่สี่ คือ กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อันนี้จะต้องแก้ด้วย กายทตานุกรรมฐาน การฝึกพระกรรมฐาน มรณานุสติ
    ให้รู้อยู่เสมอว่าเราจะตาย ตัวเราก็ตาย ตัวเขาก็ตาย สภาพร่างกายที่แท้จริงเต็มไปด้วยความสกปรก มันประกอบไปด้วยอวัยวะภายในภายนอก มีแต่เหงื่อไคล น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ถึงเวลาก็ส่งกลิ่นเหม็น
    มีชีวิตอยู่ ก็ต้องชำระสะสางมันอยู่ทุกวัน สภาพของเราก็ดีของเขาก็ดี เป็นอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาตาย ก็เน่าก็เปื่อยก็โทรมไป ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ได้ ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ น่าชอบใจ น่ายินดี พยายามมองให้เห็นดังนี้

    ข้อต่อไป คือ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นคนอื่นเขา ผูกเอาไว้ในใจ ไม่ยอมละไม่ยอมวาง ให้รู้อยู่เสมอว่าตัวเรานี้อยู่ในกองทุกข์ ตัวบุคคลอื่นก็อยู่ในกองทุกข์
    เราเองจะโกรธเกลียดเขาหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว เขาเองจะรู้ว่าเราโกรธเราเกลียดหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ต่างคนต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    ถ้าเขาทำให้เราไม่พอใจเรื่องที่เขาทำนั้นเราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูก็ดี ให้พิจารณาดูว่าสิ่งที่เขานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้ามันถูกต้อง เขาคือกระจก ที่ส่องให้เราเห็นหน้าตัวเอง
    ว่าเรานั้นน่าเกลียดน่าชังเพียงใด เราก็ไม่ควรไม่โกรธไปเกลียดเขา เพราะว่าเขาเป็นครู เป็นผู้ที่ทำให้เราเห็นตัวตนที่แท้จริงของเรา แต่ถ้าสิ่งที่เขาทำให้เราเห็น พูดให้เราได้ยิน ไม่เป็นความจริง ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องไปโกรธเขา
    บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญาขนาดไม่รู้ไม่เห็นว่าอะไรเป็นความจริงนั้น เราจะโกรธจะเคืองเขาไปให้เสียเวลาทำไม โกรธเขาไปเราก็ลงนรก ไม่อาจจะหลุดพ้นได้ ก็ให้อภัยเขา พยายามใช้ตัวเมตตาพรหมวิหาร เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน รักสุข เกลียดทุกข์ เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้น เป็นทุกข์ เป็นโทษ ทั้งกับตัวเองและคนอื่นขนาดไหน เขาถึงได้ทำไป ในเมื่อเขาไม่รู้เราก็ควรให้อภัยเขามองให้เห็นว่า คนธรรมดาของคนที่ไม่รู้เขามีการกระทำดังนั้น ๆ

    ข้อที่หก คือ รูปราคะ หมายความว่าความยินดีในรูปทั้งปวง

    ข้อที่เจ็ด คือ อรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูปทั้งปวง

    ทั้ง ๒ ข้อนี้ หมายเอา สิ่งที่เราเห็น และ เราไม่เห็น เป็นส่วนของนามธรรม ที่ละเอียดที่สุดก็คือการทรงทาน หรือการทรงอรูปทาน
    ทั้งสองอย่างนี้จะทำให้จิตเราสงบเยือกเย็น ปราศจากความหวั่นไหวในรัก โลภ โกรธ หลง ตลอดเวลาที่เราทรงได้ จะทำให้เรายินดี เราพอใจ ไปยึดไปเกาะในมัน จนกลายเป็นเครื่องร้อยรักเราให้ไปติดอยู่ในโลกนี้ต่อไป

    วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ใช้กำลังของทาน หรือว่ารูปทานที่เราทำได้นั้น ส่งไปเกาะพระนิพพานแทน จับภาพพระแทน ตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหน
    นอกจากอยู่บนพระนิพพาน เอากำลังสมาธิ สมาบัตินั้นเกาะท่าน เราอยู่กับท่านคืออยู่บนพระนิพพาน ถ้าอย่างนี้ เป็นการใช้กำลังของทาน และอรูปทานในทางที่ถูก ไม่ถือว่าใช้เป็นเครื่องร้อยรักเราให้ติดอยู่กับวัฏุฏะ

    ข้อที่แปด คือ ตัวมานะ ถือตัวถือตน มีทั้งการถือตัวถือตนด้วยความหยิ่งทนง คือเห็นว่าเราดีกว่าเขาเราเหนือกว่าเขา
    มีทั้งการเห็นการถือตัวถือตน ในลักษณะที่น้อยเนื้อต่ำใจ คือว่าเราต่ำต้อยกว่าเขา เราสู้เขาไม่ได้อันนี้เป็นการยึดถือในมานะทั้งปวงเช่นกัน
    ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า ไม่ว่าตัวตนคนสัตว์ เราหรือเขาก็ตาม ดังนั้น ให้ทุกคนเอาใจจดจ่ออยู่กับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามงานอยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนแต่เป็นเช่นนี้ ดังนั้นไม่ว่าจะคน จะสัตว์ จะผู้หญิง จะผู้ชาย จะข้าวของเครื่องใช้ทุกอย่างมีความเสมอกัน
    คือสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ ๔ ให้เป็นรูปเป็นร่างก็ดี ให้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยก็ดี ให้เป็นที่อาศัยก็ดี ล้วนแล้วแต่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
    ไม่มีใครดีกว่า ไม่มีใครเสมอกัน ไม่มีใครเลวกว่า ทุกคน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นไปตามกรรมที่ตนสร้างมา มองให้เห็นตรงจุดนี้ จะได้ไม่ไปมานะ ถือตัวถือตน

    ข้อที่เก้า คือ อุทัตจะ คือความฟุ้งซ่าน อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง พลุกพล่านไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ ให้จับลมหายใจเข้าออกให้เป็นการสมาบัติให้ได้ แล้วเอากำลังนั้นเกาะพระนิพพานแทน ก็จะตัดความฟุ้งซ่านนี้ได้

    ข้อสุดท้าย สังฆโยชน์ข้อสุดท้ายคือ อวิชชา อวิชชาคือความรู้ไม่ครบ รู้ไม่หมด หรือที่บางท่านแปลว่าความไม่รู้นั้น
    ประกอบขึ้นมาจากสองสิ่ง คือฉันทะ รู้สึกพอใจในมัน จึงเกิดราคะ คือยินดีอยากมีอยากได้ ตัวนี้ต้องระวังให้จงหนัก เผลอเมื่อไหร่มันเกาะใจเราเมื่อนั้น
    ต้องสร้างสติ สมาธิ ปัญญาให้สมบูรณ์จริง ๆ ตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น อย่าไปยินดีหรือไม่ยินดีกับมัน ยินดีนั้นเป็นราคะ ไม่ยินดีนั้นเป็นโทสะ พยายามวางใจให้นิ่ง วางใจให้ทรงตัวเป็นอุเบกขา
    สักแต่ว่าเห็นรูปให้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น อย่าไปพิจารณาว่าเป็นหญิงเป็นชาย อย่าไปพิจารณาว่าสวยหรือไม่สวย หล่อหรือไม่หล่อ อย่าไปฟุ้งซ่านคิดต่อว่าถ้าเป็นสามีหรือภรรยาเราแล้วจะเป็นอย่างไร
    หูได้ยินเสียง ให้สักแต่ว่าได้ยินอยู่ตรงนั้น อย่าไปยินดีกับมัน อย่าไปพอใจกับมัน ถ้ายินดีเมื่อไหร่ พอใจเมื่อไหร่ มันก็จะเกิดความอยากมี อยากได้เมื่อนั้น
    จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด ล้วนแล้วแต่อยู่ในลักษณะเดียวกัน ต้องรู้เท่าทัน ต้องหยุดมันให้ได้
    ถ้าสามารถทำดังนี้ได้ ทันทีที่ตาเห็นรูป ปัญญาจะบอกว่า ถ้าเราคิดมันจะออกไปในแง่ไหน ในเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของการคิดคือจะพาให้เราติดอยู่ในวัฏฏะ เวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จบ
    ต้องเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นมาร เป็นพรหม วนเวียนไม่มีที่สุดดังนี้
    เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษดังนี้ ก็จะหยุดมันเอาไว้แค่นั้น สามารถที่จะระงับมันไว้ได้ไม่ปรุงแต่งต่อ ในเมื่อสามารถหยุดมันตรงนั้น ดับมันตรงนั้น มันคือ นิโรธ การเข้าถึงความดับ
    สังฆโยชน์ต่างก็ไม่สามารถทำอันตรายเราได้ ถ้าเราดับมันได้อย่างสิ้นเชิง เราก็จะ พ้นทุกข์ พ้นการเวียนตายเวียนเกิด

    ดังนั้นให้เราทุกคนพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ในสังฆโยชน์ทั้ง สิบข้อ

    สมัยอาตมาปฏิบัติใหม่ ๆ หลวงพ่อให้เขียนติดหัวนอนเอาไว้ ตื่นเช้าขึ้นมาลืมตาดู วันนี้มันมีข้อไหนที่เรายังทำไม่ได้ เราต้องทำให้ได้
    ว้นนี้มันมีข้อไหนที่มันร้อยมันรัด มันยึด มันติดในใจเราอยู่ เราต้องแกะมันออก สลัดมันออก ปลดมันออกให้ได้

    อริยะสัจ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้ นั้น ที่สำคัญคือรู้ในทุกข์

    ดังนั้นว่าสังฆโยชน์ทุกข้อ ล้วนแล้วแต่พาให้เราเกิดทุกข์ ในเมื่อสาเหตุใหญ่ของการพาให้เกิดทุกข์คือการมีร่างกายนี้ ถ้าเราพิจารณาจนเห็นอย่างแท้จริงว่าร่างกายของนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีความยินดีในมัน ไม่มีความปรารถนาในมัน ทุกข์นั้นก็จบลง
    การเวียนตายเวียนเกิดก็จะสิ้นสุดลง ความทุกข์นั้นท่านบอกว่า กาลิเยยันติเม คือให้เรากำหนดรู้ รู้แล้ววางลง ไม่จำเป็นต้องไปแบกในมัน รู้ว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นทุกข์
    แล้วก็ปล่อยมันอยู่ตรงนั้น ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสมบัติของร่างกาย การที่เราจะอยู่กับมันต่อไป อย่างไรก็ไม่เกิน หนึ่งร้อยปี
    การที่เราทุกข์ทรมาน อยู่หนึ่งร้อยปีมนุษย์ ถ้าเปรียบกับการเวียนตายเวียนเกิดนับกัปป์ไม่ถ้วนแล้วไซร์ มันก็เป็นเวลาชั่วแว๊บเดียวเท่านั้นเหมือนกับเราหลับตาลงแล้วลืมตาขึ้เท่านั้น
    ระยะเวลาแค่นิดเดียวแค่นี้ทำไมเราจะอยู่กับมันไม่ได้ เราก็กำหนดใจให้รู้ให้เห็นในทุกข์นั้น ให้รู้ว่าสิ่งที่มีค่าที่สุดได้เกิดอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว สิ่งที่ไม่อาจจะทุ่มเททรัพย์สินเงินทองเท่าไหร่ก็ตามซื้อหามาได้นั้นอยู่ตรงหน้าเราแล้ว
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องทนทุกข์ยากลำบาก เสริมสร้างบารมี เป็นอย่างน้อย สี่อสงไขยกับนับแสนมหากัปป์ ถึงจะตรัสรู้ ถึงจะมีปัญญาญาณทะลุเห็นทุกข์นี้ได้
    แต่ขณะนี้สิ่งที่เห็นได้ลำบาก ต้องใช้ปัญญาอย่างมหาศาล ปรากฏให้เห็นเด่นชัดอยู่เบื้องหน้านี้แล้ว
    ดังนั้นเราจึงควรจะยินดี ควรจะดีใจ ว่าขณะนี้ร่างกายแสดงความทุกข์ให้เราเห็น เราไม่สามารถจะซื้อหาด้วยทรัพย์สินเงินทองใด ใด
    ไม่สามารถจะเรียกร้องให้ม้นปรากฏขึ้นได้ แต่ขณะนี้มันแสดงให้เห็น ปรากฏให้เห็นอยู่แล้ว ในเมื่อทุ่มเทเงินทองเท่าไหร่ไม่อาจจะซื้อหาได้ ดังนั้นความทุกข์จึงมีคุณค่ามหาศาล มีคุณค่ายิ่งกว่าทองเท่าภูเขา มีคุณค่ายิ่งกว่าโครตเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก
    เราก็จะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว ความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะคอยกระตุ้นเตือนเราให้เรารู้ตัวอยู่เสมอ จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในวัฏฏสงสาร จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของเรา จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของคนอื่นเขา ถ้าหากว่ากำหนดรู้ได้ดังนี้

    กำหนดเห็นได้ดังนี้เราก็จะเป็นผู้ที่มีความสุข เพราะเราปล่อยวางในทุกข์ทั้งปวง เราจะเป็นผู้ที่เข้าถึงนิพพาน เป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนตายเวียนเกิด
    พยายามพิจารณาสังฆโยชน์ทั้งหมดให้รู้ว่าถ้ามันร้อยรัดเรา มันจะดึงเราตกอยู่ในห้วงทุกข์
    แต่ขณะนี้แม้มันดึงเราอยู่ในห้วงทุกข์ แต่เราก็เห็นทุกข์ชัดเจนแล้ว ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกเราที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ขอมาเกิดอีก จะเป็นเทวดาเป็นพรหมที่หลุดพ้นทุกข์ชั่วคราวเราก็ไม่เอา เราต้องการที่เดียวคือ พระนิพพาน

    เมื่อมาถึงจุดนี้ ให้ส่งใจเกาะพระนิพพานไว้ การส่งใจออกนอก จะมีคุณค่าที่สุดต่อเมื่อส่งไปเกาะพระนิพพานไว้ ส่งไปเกาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้

    ตั้งใจว่าถ้าเราตายวันนี้เราขอมาอยู่ที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น ทำใจจดจ่อมั่นคงอยู่กับพระนิพพานตรงหน้า ให้รู้ถึงความว่าง ความโปร่งเบา ความใสสะอาดแห่ง ความเยือกเย็น ของพระนิพพาน

    ให้อารมณ์พระนิพพานนี้เต็มอยู่ในจิตในใจของเรา เต็มอยู่ในกายของเรา ทุกวันทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ให้พยายามประคับประคอง รักษาอารมณ์พระนิพพานนี้ ไว้อยู่กับเรา นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

    ยิ่งนานเท่าไหร่กิเลสมันก็ยิ่งตายลงไปมากเท่านั้น ยิ่งลดน้อยลงไปมากเท่านั้น โอกาสที่เราจะเข้าสู่พระนิพพานของเราก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

    จิตของเราจดจ่ออยู่กับภาพพระนิพพานที่ใสสะอาด สว่าง สงบ อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นแก้วแพรวพราวผ่องใสอยู่ตรงหน้า อยู่ในวิมานที่เกิดจากบุญบารมีที่เราสร้างสมมา ที่สว่างไสวแพรวพราวอยู่ตรงนี้

    มีสติรู้อยู่เมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ รู้ตัวเมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ ทำให้ได้มากที่สุด ทำให้ได้นานที่สุดในแต่ละวัน ในอิริยาบทไหน ๆ ก็ตามให้กำหนดเอาไว้ดังนี้ ประคับประคองให้อยู่กับเราให้นานที่สุด เท่าที่จะทำได้
    เพื่อความสุขในปัจจุบัน และความสุขในอนาคต คือเมื่อตายแล้วให้ไปอยู่ในนิพพานนี้

    ให้ค่อย กำหนดสติถอนกำลังใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ เพื่อที่เราจะได้กลับมาสวดมนต์ทำวัตรของเราต่อไป ...............



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    น้องตาทำinterfaceได้ดีมาก
     
  6. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,386
    ค่าพลัง:
    +22,313
    ตอนนี้ ก็ขอให้ทุกคน นั่งตัวตรง การนั่งตัวตรงของเราไม่ได้หมายความว่าไปเกร็งร่างกาย เพียงแต่ว่า ยืดตัวขึ้นให้ตรง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เสีย หลับตาเบาๆ นึกย้อนเข้าไปในศรีษะของเราเหมือนกับเราเหลือบตาขึ้นมองกระโหลกศรีษะข้างใน แล้วมองย้อนลงไปถึงจุดศูนย์กลางของร่างกายเรา กำหนดใจให้นิ่งๆ ไว้ตรงนั้น พร้อมกับ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แม้ว่าจะหายใจเข้าอยู่ จะหายใจออกอยู่ ให้กำหนดความรู้สึกไว้นิดเดียวที่ลมหายใจเท่านั้น

    ความรู้สึกส่วนใหญ่ทั้งหมดให้นิ่งอยู่ที่ ศูนย์กลางกายของเรา ศูนย์กลางกายของเราเป็นจุดที่ร่างกายจะสามารถเข้าถึงความสงบได้ดีที่สุด มีพลังที่จะต่อสู้กับกิเลสได้มากที่สุด วันนี้เรามาดูว่าเราสามารถทำจิตให้นิ่งอยู่อย่างนี้ได้นานเท่าไหร่

    ศูนย์กลางกาย คือ ที่สุดของลมหายใจเข้าออกของเรา

    กำหนดความรู้สึกไม่ต้องปักแน่นมาก เอาแค่ให้ แ น่ ว แ น่ อ ยู่ ภ า ย ใ น.. ไม่ต้องใส่ใจกับภายนอก

    กำหนดความรู้สักส่วนหนึ่งรู้สึกอยู่กับลมหายใจเข้าออก

    หายใจเข้า พร้อมกับคำภาวนาไปสุดอยู่ที่ ศูนย์กลางกาย...
    หายใจออก พร้อมกับคำภาวนาออกมาสุดที่ ปลายจมูก..

    แต่ว่ากำลังใจส่วนใหญ่ให้ปักนิ่งอยู่ในร่างกายของตัวเอง


    xxxxxxxxxxxxxx


    การที่เราส่งใจออกข้างนอก มันเป็น สาเหตุของความทุกข์ทั้งหมด

    เพราะเมื่อ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เรามักจะกั้นมันไว้ไม่ทัน จะสติ สมาธิ ปัญญาของเราไม่ทันกับมัน มันก็จะวิ่งเข้ามาอยู่ในใจของเรา ทำให้เกิดความทุกข์แก่เราได้


    xxxxxxxxxxxxxx


    วันนี้เรามากำหนดใจให้อยู่ภายในจริงๆ อย่าส่งออกนอก นอกจากความรู้ส่วนหนึ่งที่แบ่งให้กับลมหายใจเข้าออกแล้ว ความรู้สึก ส่วนใหญ่ให้อยู่ข้างในทั้งหมด

    การปฏิบัติของเราทุกครั้ง ให้หวังผลสูงสุดคือ "พระนิพพาน"

    เมื่อเริ่มปฏิบัติ ให้ทุกคนตั้งใจว่า ขณะนี้ศีลของเราทุกสิกขาบทบริสุทธิ์ครบถ้วน
    การปฏิบัติของเรานี้ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถ้ามันตายลงไปตอนนี้ เราปรารถนาที่เดียวคือ พระนิพพาน ให้ตัดสินใจไว้เช่นนี้เสมอ ให้คิดอยู่เสมอว่า เราต้องตาย ความตายมาถึงเราได้ทุกเวลา ความตายอยู่แค่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกอีกก็ตาย หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าอีกก็ตาย

    ลมหายใจของเราเป็นที่รวมของชีวิต เป็นที่รวมของความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ มันหายใจเข้าแล้วมันก็หายใจออก มันหายใจออกแล้วมันก็หายใจเข้า หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้
    เปลี่ยนแปลงดังนี้อยู่ทุกวันๆ ทุกเวลาทุกนาที ทุกลมหายใจเข้าออกมีแต่ความไม่เที่ยงเป็นปกติ การที่ต้องหายใจเข้า ต้องหายใจออก คือการทำหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่ากำหนดความรู้สึกตามลงไป ก็จะเห็นว่าลมหายใจของเราประกอบด้วยความทุกข์เป็นปกติ ทุกข์ของการที่ต้องหายใจเข้า ทุกข์ของการที่ต้องหายใจออก ถ้าไม่ทำหน้าที่ดังนี้มันก็ตาย จึงต้องตะเกียกตะกายหายใจกันต่อไปอยู่ท่ามกลางความทุกข์อย่างนี้ มันไม่มีอะไรทรงตัว ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา

    ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นเพียงธาตุลมที่เป็นสมบัติของโลกเท่านั้น ถึงวาระ ถึงเวลา ที่หมดลมหายใจเข้า หมดลมหายใจออก ร่างกายนี้ก็เสื่อมสลายตายพังไป ลมก็กลับคืนไปสู่ธาตุลม ดังนั้นทุกลมหายใจของเรานี้ อยู่กับความไม่เที่ยง อยู่กับความเป็นทุกข์ อยู่กับความไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อยู่กับความตายตลอดเวลา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวว่า พระองค์ท่านระลึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก คือ ระลึกดังนี้ รู้อยู่ว่าหายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกมันก็ตาย รู้อยู่ว่าหายใจออกถ้าไม่หายใจเข้ามันก็ตาย ความตายมันอยู่กับเราตลอดเวลา ถ้าเรามีการเกิดมาอีก มีร่างกายแบบนี้อีก มันก็จะทุกข์แบบนี้อีก อยู่กับความตายแบบนี้อีก ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นตาย พ้นเกิดได้ มีแต่แดนพระนิพพานเท่านั้น


    xxxxxxxxxxxxxxx


    การที่เราจะไปพระนิพพานได้ จะต้องสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง เพื่อจะ สลัด ตัวเองให้หลุดจาก สิ่งร้อยรัด ทั้งปวง

    สิ่งร้อยรัดเราให้ติดอยู่ใน วัฎฏสงสาร เรียกว่า สังโยชน์ มันมีอยู่ ๑๐อย่างด้วยกัน


    อย่างแรก คือ สักกายะทิฐิ คือ ความเห็นว่าตัวเราเป็นของเรา อันนี้แก้ด้วยการพิจารณาใน กายะทตานุสติกรรมฐาน ใน จตุธาตุวัฏฐาน คือพยายามให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่แท่งทึบ ประกอบไปด้วยอวัยวะภายนอกภายในที่เป็นเครื่องจักรกลต่างๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งเสื่อมสลายไปก็เจ็บป่วย พังไปก็ถึงแก่ความตาย หรือว่าแยกมันออกเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ให้เห็นจริงๆ ว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของเรา กระจายออกแล้วรวมเข้า รวมเข้าแล้วกระจายออก กระจายออกแล้วรวมเข้า สลับไปสลับมาดังนี้ จนกระทั่งเห็นจริงๆ ว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นเครื่องอาศัยที่ประกอบไปด้วยความทุกข์เท่านั้น


    ข้อที่สอง คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้ทุ่มเทจิตใจให้ความเคารพต่อท่านทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง พวกเราทั้งหมดมีตัววิจิกิจฉานี้น้อยแล้ว ถ้าเราไม่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ไม่มาปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนาดังนี้ การที่เราเป็นผู้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติในทาน ในศีล ในภาวนา แปลว่าตัววิจิกิจฉาเรามีน้อยเหลือเกิน แทบไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้


    ข้อที่สาม คือ ศีลพตฺปรามาส หมายถึง ความไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง จากภาษาบาลีแปลว่าลูบคลำในศีล คือจับๆ คลำๆ เท่านั้น ยังไม่เอาจริงเอาจัง
    เราต้องตั้งหน้าตั้งตารักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ อย่าทำให้ศีลขาดศีลพร่องต้วยตัวเราเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ อย่ายินดีเมื่อเห็นคนอื่นเขาทำ


    ข้อที่สี่ คือ กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อันนี้จะต้องแก้ด้วย กายคตานุสติกรรมฐาน อสุภะกรรมฐาน มรณานุสติ ให้รู้อยู่เสมอว่าเราจะตาย ตัวเราก็ตาย ตัวเขาก็ตาย สภาพร่างกายที่แท้จริงเต็มไปด้วยความสกปรก มันประกอบไปด้วยอวัยวะภายในภายนอก มีแต่เหงื่อไคล น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ถึงเวลาก็ส่งกลิ่นเหม็น มีชีวิตอยู่ ก็ต้องชำระสะสางมันอยู่ทุกวัน สภาพของเราก็ดีของเขาก็ดี เป็นอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาตายก็เน่าก็เปื่อยก็โทรมไป ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ได้ ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ น่าชอบใจ น่ายินดี พยายามมองให้เห็นดังนี้


    ข้อต่อไป คือ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นคนอื่นเขา ผูกเอาไว้ในใจ ไม่ยอมละไม่ยอมวาง ให้รู้อยู่เสมอว่าตัวเรานี้อยู่ในกองทุกข์ ตัวบุคคลอื่นก็อยู่ในกองทุกข์ เราเองจะโกรธเกลียดเขาหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว เขาเองจะรู้ว่าเราโกรธเราเกลียดหรือเปล่าเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ต่างคนต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

    ถ้าเขาทำให้เราไม่พอใจเรื่องที่เขาทำนั้นเราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูก็ดี ให้พิจารณาดูว่า :
    • สิ่งที่เขาว่านั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้ามันถูกต้อง เ ข า คื อ ก ระ จ ก ที่ส่องให้เราเห็นหน้าตัวเอง ว่าเรานั้นน่าเกลียดน่าชังเพียงไร เราก็ไม่ควรไม่โกรธไปเกลียดเขา เพราะว่าเขาเป็นครู เป็นผู้ที่ทำให้เราเห็นตัวตนที่แท้จริงของเรา
    • แต่ถ้าสิ่งที่เขาทำให้เราเห็น พูดให้เราได้ยิน ไม่ใช่ความเป็นจริง ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องไปโกรธเขา ...บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญาขนาดไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไรนั้น เราจะโกรธจะเคืองเขาไปให้ เสียเวลาทำไม ..... โกรธเขาไปเราก็ลงนรก ไม่อาจจะหลุดพ้นได้ ก็ให้อภัยขา พยายามใช้ตัว เมตตาพรหมวิหาร เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน รักสุข เกลียดทุกข์ ..เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้น เป็นทุกข์ เป็นโทษ ทั้งกับตัวเองและคนอื่นขนาดไหน เขาถึงได้ทำไป ในเมื่อเขาไม่รู้เราก็ควรจะให้อภัยเขา มองให้เห็นว่าธรรมดาของคนที่ไม่รู้เขามีการกระทำดังนั้นๆ....
    ต่อไป ข้อที่หก คือ รูปราคะ หมายความว่า ความยินดีในรูปทั้งปวง


    ข้อที่เจ็ด คือ อรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูปทั้งปวง

    ทั้ง ๒ ข้อนี้ หมายเอาสิ่งที่เราเห็น และ เราไม่เห็น เป็นส่วนของนามธรรม ที่ละเอียดที่สุดก็คือการทรงฌาณ หรือการทรงอรูปฌาณ
    ทั้งสองอย่างนี้จะทำให้จิตเราสงบเยือกเย็น ปราศจากความหวั่นไหวใน รัก โลภ โกรธ หลง ตลอดเวลาที่เราทรงได้ จะทำให้ เราไปยินดี เราพอใจ ไปยึดไปเกาะในมัน จนกลายเป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ไปติดอยู่ในโลกนี้ต่อไป

    วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ใช้กำลังของฌาณ หรือว่ารูปฌาณที่เราทำได้นั้น ส่งไปเกาะพระนิพพานแทน จับภาพพระแทน

    ตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหน นอกจากอยู่บนพระนิพพาน เอากำลังสมาธิ สมาบัตินั้นเกาะท่าน เราอยู่กับท่านคืออยู่บนพระนิพพาน ถ้าอย่างนี้ เป็นการใช้กำลังของฌาณ และอรูปฌาณในทางที่ถูก ไม่ถือว่าใช้เป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฏุฏะ


    ข้อที่แปด คือ ตัวมานะ ถือตัวถือตน มีทั้งการถือตัวถือตนด้วยความหยิ่งทนง คือเห็นว่าเราดีกว่าเขาเราเหนือกว่าเขา มีทั้งการเห็น การถือตัวถือตนในลักษณะที่น้อยเนื้อต่ำใจ ถือว่าเราต่ำต้อยกว่าเขา เราสู้เขาไม่ได้ อันนี้เป็นการยึดถือในมานะทั้งปวงเช่นกัน ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า ไม่ว่าตัวตนคนสัตว์ เราหรือเขาก็ตาม.... ดังนั้นให้ทุกคนเอาใจจดจ่ออยู่กับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า... ตามงานอยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นเช่นนี้ ดังนั้นไม่ว่าจะคน จะสัตว์ จะผู้หญิง จะผู้ชาย จะข้าวของเครื่องใช้ทุกอย่างมีความเสมอกัน
    คือสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ ให้เป็นรูปเป็นร่างก็ดี ให้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยก็ดี ให้เป็นที่อาศัยก็ดี ล้วนแล้วแต่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
    ไม่มีใครดีกว่า ไม่มีใครเสมอกัน ไม่มีใครเลวกว่า ทุกคน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นไปตามกรรมที่ตนสร้างมา มองให้เห็นตรงจุดนี้ จะได้ไม่ไปมานะ ถือตัวถือตน


    ข้อที่เก้า คือ อุทัจจะ คือความฟุ้งซ่าน อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง คิดพล่านไปสู่อารมณ์ต่างๆ ให้จับลมหายใจเข้าออกให้เป็นฌาณสมาบัติให้ได้ แล้วเอากำลังนั้นเกาะพระนิพพานแทน ก็จะตัดความฟุ้งซ่านนี้ได้


    ตัวสุดท้าย สังโยชน์ข้อสุดท้ายคือ อวิชชา อวิชชาคือความ รู้ไม่ครบ รู้ไม่หมด หรือที่บางท่านแปลว่า ความไม่รู้ นั้น ประกอบขึ้นมาจากสองสิ่งคือ } ฉันทะ รู้สึกพอใจในมัน จึงเกิด -->ราคะ คือ ยินดีอยากมีอยากได้ <-- ตัวนี้ต้องระวังให้จงหนัก เผลอเมื่อไหร่มันเกาะใจเราเมื่อนั้น

    ต้องสร้างสติ สมาธิ ปัญญาให้สมบูรณ์จริงๆ ตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น อย่าไปยินดีหรือไม่ยินดีกับมัน ยินดีนั้นเป็นราคะ ไม่ยินดีนั้นเป็นโทสะ พยายามวางกำลังใจให้นิ่ง วางกำลังใจให้ทรงตัวเป็น อุเบกขา สักแต่ว่าเห็นรูปให้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น อย่าไปพิจารณาว่าเป็นหญิงเป็นชาย อย่าไปพิจารณาว่าสวยหรือไม่สวย หล่อหรือไม่หล่อ อย่าไปฟุ้งซ่านคิดต่อว่าถ้าเป็นสามีภรรยาเราแล้วจะเป็นอย่างไร หูได้ยินเสียง ให้สักแต่ว่าได้ยินอยู่ตรงนั้น อย่าไปยินดีกับมัน อย่าไปพอใจกับมัน ถ้ายินดีเมื่อไหร่ พอใจเมื่อไหร่ มันก็จะเกิดความอยากมี อยากได้เมื่อนั้น จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด ล้วนแล้วแต่อยู่ลักษณะเดียวกัน ต้องรู้เท่าทัน ต้องหยุดมันให้ได้ ถ้าสามารถทำดังนี้ได้ ทันทีที่ตาเห็นรูป ปัญญาจะบอกว่า ถ้าเราคิดมันจะออกไปในแง่ไหน ในเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของการคิดคือจะพาให้เราติดอยู่ในวัฏฏะ เวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จบ ต้องเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นมาร เป็นพรหม วนเวียนไม่มีที่สุดดังนี้ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษดังนี้ ก็จะหยุดมันเอาไว้แค่นั้น สามารถที่จะระงับมันไว้ได้ไม่ปรุงแต่งต่อ ในเมื่อสามารถหยุดมันตรงนั้น ดับมันตรงนั้น มันคือ นิโรธ การเข้าถึงความดับ สังโยชน์ต่างๆ ก็ไม่สามารถทำอันตรายเราได้ ถ้าเราดับมันได้อย่างสิ้นเชิง เราก็จะ พ้นทุกข์ พ้นการเวียนตายเวียนเกิด


    xxxxxxxxxxxxxxx


    ดังนั้นให้เราทุกคนพิจารณาอยู่เสมอๆ ในสังโยชน์ทั้ง สิบข้อ

    สมัยอาตมาปฏิบัติใหม่ๆ หลวงพ่อให้เขียนติดหัวนอนเอาไว้ ตื่นเช้าขึ้นมาลืมตาดู วันนี้มันมีข้อไหนที่เรายังทำไม่ได้ เราต้องทำให้ได้ ว้นนี้มันมีข้อไหนที่มันร้อยมันรัด มันยึด มันติดในใจเราอยู่ เราต้องแกะมันออก สลัดมันออก ปลดมันออกให้ได้

    อริยะสัจ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้นั้น ที่สำคัญที่สุดคือรู้ในทุกข์ ดังนั้นว่าสังโยชน์ทุกข้อ ล้วนแล้วแต่พาให้เราเกิดทุกข์ ในเมื่อสาเหตุใหญ่ของการพาให้เกิดทุกข์คือการมีร่างกายนี้ ถ้าเราพิจารณาจนเห็นอย่างแท้จริงว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีความยินดีในมัน ไม่มีความปรารถนาในมัน ทุกข์ทั้งหลายก็จะจบลง การเวียนตายเวียนเกิดก็จะสิ้นสุดลง ความทุกข์นั้นท่านบอกว่า ปริณยยันติเม คือให้เรากำหนดรู้ รู้แล้ววางลง ไม่จำเป็นต้องไปแบกในมัน รู้ว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นทุกข์ แล้วก็ปล่อยมันอยู่ตรงนั้น


    ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสมบัติของร่างกาย การที่เราจะอยู่กับมันต่อไป อย่างไรก็ไม่เกิน หนึ่งร้อยปี การที่เราทุกข์ทรมาน อยู่หนึ่งร้อยปีมนุษย์ ถ้าเปรียบว่าการเวียนตายเวียนเกิดนับกัปป์ไม่ถ้วนแล้วไซร์ มันก็เป็นเวลาชั่วแว๊บเดียวเท่านั้นเหมือนกับเราหลับตาลงแล้วลืมตาขึ้นเท่านั้น ระยะเวลาแค่นิดเดียวแค่นี้ทำไมเราจะอยู่กับมันไม่ได้ เราก็กำหนดใจให้รู้ให้เห็นในทุกข์นั้น ให้รู้ว่าตอนนี้สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดได้เกิดอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว สิ่งที่ไม่อาจจะทุ่มเททรัพย์สินเงินทองเท่าไหร่ก็ตามซื้อหามาได้นั้นอยู่ตรงหน้าเราแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องทนทุกข์ยากลำบาก เสริมสร้างบารมี เป็นเวลาอย่างน้อย สี่อสงไขยกับนับแสนมหากัปป์ ถึงจะตรัสรู้ ถึงจะมีปัญญาญาณเล็งทะลุเห็นทุกข์นี้ได้ แต่ขณะนี้สิ่งที่เห็นได้ยาก ต้องใช้ปัญญาอย่างมหาศาล ปรากฏให้เห็นเด่นชัดอยู่เบื้องหน้าแล้ว ดังนั้นเราจึงควรจะยินดี ควรจะดีใจ ว่าขณะนี้ร่างกายแสดงความทุกข์ให้เราเห็น เราไม่สามารถจะซื้อหาด้วยทรัพย์สินเงินทองใดๆ ไม่สามารถจะเรียกร้องให้ม้นปรากฏขึ้นได้ แต่ขณะนี้มันแสดงให้เห็น ปรากฏให้เห็นอยู่แล้ว ในเมื่อทุ่มเทเงินทองเท่าไหร่ไม่อาจจะซื้อหาได้ ดังนั้นความทุกข์จึงมีคุณค่ามหาศาล มีคุณค่ายิ่งกว่าทองเท่าภูเขา มีคุณค่ายิ่งกว่าโครตเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก

    เราก็จักเห็นว่าจริงๆ แล้ว ความทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะคอยกระตุ้นเตือนเราให้เรารู้ตัวอยู่เสมอ จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในวัฏฏสงสาร จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของเรา จะได้ไม่ไปหลงไปยึดไปติดในร่างกายของคนอื่นเขา ถ้าหากว่ากำหนดรู้ได้ดังนี้กำหนดเห็นได้ดังนี้เราก็จะเป็นผู้มีความสุข เพราะเราปล่อยวางในทุกข์ทั้งปวง เราจะเป็นผู้เข้าถึงนิพพาน เป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนตายเวียนเกิด

    พยายามพิจารณาสังโยชน์ทั้งหมดให้รู้ว่าถ้ามันร้อยรัดเรา มันจะดึงเราตกอยู่ในห้วงทุกข์ แต่ขณะนี้แม้มันดึงเราอยู่ในห้วงทุกข์ แต่เราก็เห็นทุกข์ชัดเจนแล้ว ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกเราที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ขอมาเกิดอีก จะเป็นเทวดาเป็นพรหมพ้นทุกข์ชั่วคราวเราก็ไม่เอา เราต้องการที่เดียวคือ พระนิพพาน เมื่อมาถึงจุดนี้ ให้ส่งใจเกาะพระนิพพานไว้ การส่งใจออกนอก จะมีคุณค่าที่สุดก็ต่อเมื่อส่งไปเกาะพระนิพพานไว้ ส่งไปเกาะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ตั้งใจเอาไว้ว่า ถ้าหากว่าเราตายในวันนี้เราขอมาอยู่ที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น ทำใจจดจ่อมั่นคงอยู่กับอารมณ์พระนิพพานตรงหน้า ให้รู้ถึงความว่าง ความโปร่งเบา ความใสสะอาด ความเยือกเย็น ของพระนิพพาน ให้อารมณ์พระนิพพานนี้เต็มอยู่ในจิตในใจของเรา เต็มอยู่ในกายของเรา ทุกวัน ทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ให้พยายามประคับประคอง รักษาอารมณ์นี้ไว้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ยิ่งนานเท่าไหร่กิเลสมันก็ยิ่งตายลงไปมากเท่านั้น ยิ่งลดน้อยลงไปมากเท่านั้น โอกาสจะเข้าพระนิพพานของเราก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

    จิตของเราจดจ่ออยู่กับภาพพระนิพพานที่ใสสะอาด สว่าง สงบ อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นแก้วแพรวพราวผ่องใสอยู่ตรงหน้า อยู่ในวิมานที่เกิดจากบุญจากบารมีที่เราสร้างสมมา ที่สว่างไสวแพรวพราวอยู่ตรงนี้
    มีสติรู้อยู่เมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ รู้ตัวเมื่อไหร่กำหนดใจมาตรงนี้ ทำให้ได้มากที่สุด ทำให้ได้นานที่สุดในแต่ละวัน ในอิริยาบทไหนๆ ก็ตามให้พยายามกำหนดเอาไว้ดังนี้ ประคับประคองให้อยู่กับเราให้นานที่สุด เท่าที่จะพึงทำได้
    เพื่อความสุขในปัจจุบัน และความสุขในอนาคต คือเมื่อตายแล้วจะไปอยู่ในพระนิพพานเช่นนี้

    ให้ค่อยๆ กำหนดสติถอนกำลังใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ เพื่อที่เราจะได้ทำวัตรสวดมนต์ของเราต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...