ไฟล์ที่สิบ สังฆานุสติ

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 12 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2058[/MUSIC]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ความจริง ว่าวัดมีงาน มันเป็นการทดสอบอารมณ์ปฏิบัติของเราได้ดีที่สุด ว่าสิ่งทั้งหมดที่เราทำมามันใช้ประโยชน์ได้จริงแค่ไหน สมัยหลวงพ่อเครื่องเสียงหายาก มันมีแต่เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เป็นแผ่นครั่ง หลวงพ่อถึงขนาดลงทุนซื้อเครื่องเสียงแล้วยกให้ห้องข้าง ๆ ไป ในเมื่อมีเครื่องมีแผ่น มันก็เปิดกันดังสนั่น แล้วหลวงพ่อก็นั่งภาวนา ท่านอยากรู้ว่า สามารถที่จะสู้กับเสียงได้จริง ๆ หรือเปล่า พอภาวนาอารมณ์ใจทรงตัว เริ่มเป็นปฐมฌาน จิตกับประสาทมันเริ่มแยกจากกัน สิ่งต่าง ๆ ที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก มันเริ่มไม่สนใจ จิตมันจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ถ้าทรงฌานสูงขึ้นไปกว่านั้น ตั้งแต่ฌานสองฌานสาม ขึ้นไปเสียงมันเบาลงแทบจะไม่ได้ยินเลย ถ้าถึงฌานสี่นี่เสียงมันดับสนิท ไม่รับรู้อาการภายนอก เมื่อซื้อให้มันเครื่องหนึ่ง สามารถสู้ได้แน่ ก็ซื้อให้อีกเครื่องหนึ่ง ให้ห้องข้าง ๆ ตอนแรกซื้อให้ห้องทางซ้าย แล้วก็ซื้อให้ห้องทางขวา ให้มันเปิดแข่งกันแล้วท่านก็ภาวนา ปรากฏว่าสู้ได้สบายมาก สมัยผมเข้าเวรหน้าห้องหลวงพ่อที่วัดท่าซุง ผมก็ซื้อเทปมาเปิดฟัง เทปเพลงโดยเฉพาะเพลงเพราะ ๆ ที่ผมชอบ ในชีวิตผมชอบเสียงผู้หญิงไม่กี่คน อย่างของวงจันทร์ ไพโรจน์ ผ่องศรี วรนุช ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ หรือสุนทรี เวชานนท์ เสียงพวกนี้นี่มันจะติดใจผมมากตอนสมัยเป็นฆราวาส พอบวชเข้ามาก็รู้ว่าการที่เราจะละ จะตัดอะไรบางอย่างมันไม่ใช่หนีมัน แต่ต้องวิ่งไปชนกับมัน ผมก็ซื้อเทปมา แล้วก็เปิดฟังหน้าห้องหลวงพ่อนั่นแหละ เป็นคนอื่นเปิดเทปในนั้น โดนตีกบาลแยก แต่ผมเปิดฟังหลวงพ่อไม่ว่าสักคำ เพราะท่านรู้ว่าเรากำลังสู้กับตัวเอง เพลงที่เราชอบ เสียงที่เราชอบ ถึงเวลาเราสามารถรักษาอารมณ์ให้ทรงต้วอยู่ได้มั้ย ใหม่ ๆ มันก็ไหลตามไป เผลอหน่อยเดียวไปตั้งครึ่งค่อนเพลง ก็ตั้งหน้าจับอารมณ์ภาวนากันใหม่ คราวนี้ไอ้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่เราชอบ จิตมันจะเคลื่อน จะคล้อยตามไปได้ง่าย สติ สมาธิต้องทรงตัวจริง ๆ ต้องจดจ่ออยู่แต่เฉพาะหน้าจริง ๆ พอสู้กันตรงนั้น จนกระทั่งผมมั่นใจว่า ยังไงก็จะไม่แพ้เสียงนี้แล้ว ก็ปรากฏว่า พอดีออกไปธุดงค์ ได้ลองของ ไอ้จุดที่ไปก็คือบ้าน
    ตะพนที่ บ้านกะเหรี่ยง มันสูงจากระดับน้ำทะเล พันสองร้อยกว่าเมตร อากาศเดือนเมษามันหนาวพอพอกับดอยอินทนนท์ได้ ผมไปพักที่นั่น ก็ปรากฏว่ามันเป็นงานประจำปีของเขา ไอ้ความที่ชาวบ้านเขาหวังดีกลัวเราจะหนาว เขาก็นิมนต์ผมเข้าไปพักในห้องเครื่องไฟ เพราะว่ามันเป็นรั้วรอบขอบชิด เขาต้องทำแข็งแรง กันคนขโมย มันก็เลยพลอยกันลมหนาวลมร้อนได้สบายด้วย แล้วคราวนี้มันเป็นงานประจำปี คนทั้งหมู่บ้านเขาต้องใช้ไฟฟ้า มันนิมนต์พระอยู่กับเครื่อง แล้วมันก็ติดเครื่องด้วย ก็ปรากฏว่าผมหลับสบายไม่รู้เรื่อง ไม่ถึงเวลามันไม่ตื่น เพราะว่าพอภาวนาไป ภาวนาไป หูมันดับ มันไม่รับรู้อาการภายนอก มันก็เลยเป็นการทดสอบที่ดีที่สุด

    คราวนี้พวกคุณทั้งหมด เมื่อคืนส่วนใหญ่แล้วที่รักษากำลังใจไม่ได้ เพราะว่าคุณไปใส่ใจในเสียง ไอ้การที่คุณไปใส่ใจในเสียง ก็คือคุณไปสนใจในมัน ฟังแล้วบางทีก็คิดตาม คล้อยตาม เราชอบเราไม่ชอบ หรือเนื้อหามันจะเป็นอย่างไร ใจคุณส่งออก พอไปสนใจกับมัน เสียงมันก็มีอิทธิพล คุณก็นอนไม่หลับ ถ้าหากว่ากำลังใจทั้งหมด ความรู้สึกทั้งหมดของคุณอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้า อยู่กับลมหายใจออก หายใจเข้า ผ่านจมูก ตามดูลงไป ผ่านกึ่งกลางอก ตามดูลงไป ลงไปสุดที่ท้องตามดูลงไป หายใจออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ปลายจมูก ถ้ากำลังใจของเราอยู่อย่างนี้ หรืออยู่กับภาพพระ หายใจเข้าให้ภาพพระไหลตามลมหายใจเข้าไป ภาพพระองค์เล็กๆ ไหลลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลตามลมหายใจออกมาขึ้นไปอยู่บนศรีษะเป็นองค์ใหญ่ ถ้าคุณสนใจอยู่แค่นี้เสียงทำอะไรคุณไม่ได้ แต่คราวนี้เราไปสนใจกับข้างนอกมันมากกว่า แล้วเสร็จแล้วก็ยังไปปรุงไปแต่ง ด้วยการที่เอาตัวกูของกูเป็นที่ตั้ง คือมานะถือตัวถือตนว่ากูปฏิบัติดี ได้พวกนั้นมันระยำ ถ้าเราคิดอย่างนี้ใช้ไม่ได้ คนเราทุกคน สรรพสัตว์ทั้งหมด ไม่มีใครดี ไม่มีใครเลว มีแต่คนกำลังเป็นไปตามกรรมเท่านั้น การสมมติคำว่าดี คำว่าเลวขึ้นมา เพื่อที่เราจะแยกแยะได้สะดวกเท่านั้น ไม่ใช่สมมติขึ้นมาแล้วให้เราไปแบกมัน บุคคลที่ทำดีตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การกระทำของเขาทำให้เขาตกอยู่ในกระแสสีขาว ซึ่งมันจะไหลทวนกระแสโลกขึ้นไปสู่ข้างบนอยู่เสมอ ไปสู่ภพภูมิที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป บุคคลที่กระทำสิ่งที่คัดค้านคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเขาตกอยู่ในกระแสสีดำ พาไหลลงอยู่ตลอดเวลา ลงไปสู่ความเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นทำ เขาคิดว่าดี เขาจึงทำ ในเมื่อเขาคิดว่าดี เราเองเห็นว่ามันไม่ดี ก็แสดงว่าเราต้องคุ้นเคยกับความไม่ดีนั้นมาก่อน เราต้องเคยกระทำความไม่ดีนั้นมาก่อน เมื่อเราทำมาแล้ว เราก้าวพ้นมาแล้ว เราเห็นทุกข์เห็นโทษของมันแล้ว บุคคลอื่นมากระทำสิ่งนั้น มารับช่วงส่งนั้นจากเรา ก็แปลว่าเขาคือทายาท คือผู้รับมรดก เท่ากับเป็นลูกเราหลานเรานั่นเอง ในเมื่อลูกหลานมันตกอยู่ในความทุกข์ความลำบาก เราจะไปโกรธลูก โกรธหลาน ไม่พอใจในลูกในหลาน หรือว่าควรจะเมตตาสงสารเขา หรือว่าเราควรจะแผ่เมตตาต่อเขา ตั้งใจว่าเมื่อใดก็ตามที่เขารู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่วอย่างชัดเจน ถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราจะยื่นมือไปช่วยเขา แต่ถ้าขณะจิตที่เขายังมืดยังบอดอยู่ เราไม่สามารถจะช่วยเหลือเขาได้ ไม่สามารถจะแนะนำเขาได้ เราก็ควรจะเกิดความเวทนาสงสารเขา ปรารถนาจะให้เขาพ้นทุกข์ สิ่งที่เขาทำเขาเห็นว่าดีเขาจึงทำ เมื่อเขาเห็นว่าดีเขาจึงทำ โดยที่ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงเป็นอย่างไร เขาน่าสงสารเพียงไหน ถ้าเรารู้จักคิด รู้จักพิจารณา รู้จักนำเอาพรหมวิหารสี่มาประกอบ รู้จักการให้อภัย เราก็ไม่ต้องเก็บเอาอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงมาอยู่ในใจของเรา เขาทั้งหลายเหล่านั้นยังเป็นผู้ที่อ่อนด้วยกำลังของความดี ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงเป็นอย่างไร เขายังต้องอาศัยสิ่งภายนอกมากระตุ้น สิ่งภายนอกที่กระตุ้นทางตา ได้เห็นแสงเห็นสีต่าง ๆ ที่สวยงามพออกพอใจของเขา ได้ยินเสียงบรรดาดนตรีต่าง ๆ ที่เป็นที่พออกพอใจของเขา ได้กลิ่นที่มันหอมชื่นใจตามที่เขาปรารถนา ได้รสที่มันอร่อยตามที่เขาต้องการ ได้สัมผัสที่มันอ่อนนุ่มตามที่ปรารถนา แล้วเขาก็เก็บทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาในใจ เมื่อเก็บเข้ามาในใจ กำลังใจมันยินดีกับสิ่งนั้น ก็เกิดความปราบปลื้ม เกิดความปิติขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว โดยที่ไม่รู้เสียด้วยว่าความปิตินั้นเกิดจากอะไร ในเมื่อเกิดความปิติความยินดีขึ้นมา รู้สึกว่าตัวเองมีความสุข เมื่อห่างสิ่งนั้นมาไม่มีการกระตุ้น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเหมือนเดิม ก็รู้สึกว่าตัวเองขาดความสุข หงุดหงิด กลัดกลุ้ม กระวนกระวายใจ เขาก็จำเป็นต้องเดินไปหาสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นอีก เพื่อที่จะกระตุ้นตัวเองขึ้นมา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เลยมารุมล้อมรอบข้างของเราอยู่ กลายเป็นกระแสการทดสอบเรา ว่าเราเองที่ตั้งใจจะละ จะละ เราละมันได้เท่าไหร่ เราเองมาตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติความดี เมื่อก้าวถึงความสุข ความเยือกเย็นใจ ก็รู้ว่า นี่เป็นความสุข ความเยือกเย็นใจจริง ๆ ต้องสร้างมันขึ้นมาในใจของเรา ไม่สามารถที่จะไปกระตุ้นด้วยสิ่งภายนอกได้ เพราะการกระตุ้นเร้า จากสิ่งภายนอกนั้น มันเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ถ้าเราสร้างให้มันมีอยู่ในจิตในใจของเรา มันจะเป็นความสุข ความปิติ ความสงบเยือกเย็นที่ยั่งยืนแท้จริง เรารู้ว่าสิ่งนี้ดีแน่ เพราะวองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี หลวงปู่หลวงพ่อก็ดี สั่งสอนเรามา เราทำแล้ว เราเห็นผลแล้วว่าดี เราก็ทำสิ่งนี้ ส่วนคนทั้งหลายทั้งปวงที่เขามาสนุกกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องกระตุ้น ทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยที่ไม่ใช่เสริมสร้างขึ้นภายในใจอย่างพวกเรา เขาก็เห็นว่าดี ต่างคนต่างทำในสิ่งที่ ตัวเองเห็นว่าดี ดังนั้นจึงไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก มีแต่คนที่กำลังเป็นไปตามกรรม เรารู้อยู่ว่าเขาอยู่ในสถานะที่กำลังไหลลงต่ำ กำลังไหลลงไปหาความทุกข์ที่มากขึ้น มากขึ้น ทับถมพูนทวีขึ้นทุกที สร้างความทุกข์ยากลำบากทำให้ต้องเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ได้ เราควรจะโกรธหรือควรจะให้อภัยเขา ตัวเราเองทำความดี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราทำดีเพราะอยากดี แต่ที่เราทำดีแต่เพราะรู้ว่าสิ่งนี้ดีเราจึงทำ ก็อย่าเอาตัวมานะถือตัวถือตนไปคิดว่าเราดี เขาเลว พยายามมองให้เห็น ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่ เจ็บตายเช่นเดียวกับเราทั้งหมด ตราบใดที่เขายังไม่รู้ทุกข์ที่แท้จริง ยังไม่ดิ้นรนให้พ้นทุกข์เขาก็ยังจ่อมจมอยู่กับความทุกข์เช่นนั้น เขาทั้งหลายเหล่านั้นน่าสงสาร ดังนั้นจึงสมควรให้อภัยเขา ดึงกำลังใจของเราอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่กับความรู้สึกที่หวังดี ปรารถนาดี รักเขาเสมอตัวเรา สงสารปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ ถ้าหากว่าเขาทำความดีได้เราก็พลอยยินดีเมื่อเขาอยู่ดีมีสุข แต่ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือสิ่งใดได้เพราะกระแสโลกมันแรงเกินไป เราก็ต้องรักษาใจให้เป็นอุเบกขา ไม่หวั่นไหวกับสิ่งกระทบต่าง ๆ ถึงจะเรียกได้ว่าเราเป็นพระโยคาวจร คือเป็นผู้สอนตน เป็นผู้ปฏิบัติตน ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อก้าวไปสู่การพ้นทุกข์ โอกาสที่เราจะมีเตรื่องทดสอบแบบนี้ไม่ใช่จะหาได้ง่าย ๆ ถ้าเราอยู่อยู่ปีหนึ่งเต็ม ๆ เราถึงจะเจอครั้งหนึ่ง เมื่อมีเครื่องทดสอบที่ดีแบบนี้ ถ้าเราสอบตก ไปยินร้าย คือไปโกรธไปขุ่นเคืองมัน ก็แปลว่ากำลังใจของเรายังใช้ไม่ได้ พยายามดึงกำลังใจของเราให้รวมต้วอยู่กับอารมณ์ใจเฉพาะหน้า ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ให้อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้อยู่กับพระนิพพาน ที่พึ่งอื่นใดของเราไม่มีนอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิ่งที่จะเป็นเครื่องยึดเครื่องเกาะให้เราพ้นจากวัฏฏะสงสารอันน่ากลัวนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าพระนิพพาน ดังนั้นให้กำลังใจของเราอยู่กับพระพุทธเจ้า ให้กำลังใจของเราอยู่กับพระธรรม ให้กำลังใจของเราอยู่กับหลวงปู่หลวงพ่อ

    ครั้งก่อนๆ เราเรียนเรื่องพุทธานุสสติ มาแล้ว ธรรมานุสสติมาแล้ว คราวนี้ก็มาคิดถึงเรื่องของสังฆนุสสติ การระลึกถึงพระสงฆ์ ไม่ใช่นึกแค่นึกว่าเป็นหลวงปู่องค์นั้น เป็นหลวงพ่อองค์นี้ แต่ให้ดูปฏิปทาการปฏิบัติของท่าน ว่าหลวงปู่องค์นั้น ท่านปฏิบัติของท่านอย่างไร สร้างกาย วาจาใจของท่านอย่างไร ท่านถึงได้ยกตนขึ้นเป็นกัลยาณชน เป็นพระอริยะชน จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน หรือเป็นพระโพธิสัตย์ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ พิจารณาดูตามประวัติของพระเถระ สมัยพุทธกาลก็ได้ อย่างพระสาลีบุตรมหาเถระเจ้าเป็นผู้ที่เลิศด้วยปัญญา ไม่มีผู้ใดปัญญาเหนือกว่านอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น พระสาลีบุตรนอกจากเลิศด้วยปัญญาแล้วยังเป็นผู้กอรปด้วยความกตัญญูอย่างยิ่ง ถ้าท่านทราบว่าพระอัสชิ พระอรหันต์หนึ่งในปัญจวัคคี อยู่ทางทิศไหน ท่านจะนอนหันศรีษะไปทางทิศนั้น คือเคารพผู้เป็นบูรพาจารย์ คนแรกที่นำธรรมะเข้ามาหาท่าน ว่าไม่ว่าอาจารย์อยู่ทางด้านไหน ท่านจะไม่หันเท้าไปทางนั้น ท่านก็จะนอนหันศรีษะไปทางที่พระอัสชิอยู่ตลอดเวลา เมื่อราคะพราหมณ์ เป็นพราหมณ์แก่ยากจน ปรารถนาการบวช ไม่มีใครรับรองให้ เพราะว่าคิดว่าหลวงตาแก่ ๆ บวชเข้ามาก็เอาดีไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ใครรู้คุณของพราหมณ์นี้บ้าง พระสาลีบุตร กล่าวว่าท่านรู้คุณของพราหมณ์นี้เคยบิณฑบาตรแล้ว ราคะพราหมณ์ ใส่ข้าวให้หนึ่งทัพพี พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นสาลีบุตรเธอจงให้การอุปสมบทแก่ราคะพราหมณ์นี้เถิด พระสาลีบุตรอุปสมบท คือบวชให้ราคะพราหมณ์ด้วยจิตกตัญญูต่อข้าวหนึ่งทัพพี แล้วเราก็ได้พระอรหันต์ ขีนางค์สงฆ์คือพระราคะเถระ ที่เป็นหลวงตาที่ว่านอนสอนง่ายที่สุดในโลก แม้กระทั่งพระใหม่ที่พึ่งบวช กล่าวตักเตือนท่านก็น้อมรับ กลายเป็นพระผู้เลิศในทางอ่อนน้อมถ่อมตน กลายเป็นพระผู้เลิศในทางว่านอนสอนง่ายขึ้นมา วาระสุดท้ายของชีวิต ท่านเป็นโรคกระเพาะ คือกระเพาะทะลุ ถ่ายเป็นโลหิต เป็นกระโถน ๆ รู้ว่าตัวเองถึงเวลาจะนิพพานแล้ว ไปกราบทูลลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลาแล้วไปไหน ชวนน้อง ๆ ของท่าน คือท่านอุปเสนะ ท่านจารา ท่านอุปจาระ ท่านศรีสุปจาระ ท่านกุณทะ ท่านเรวัตตะ กลับไปบ้าน ไปสงเคราะห์แม่ ถ้าหากว่าท่าน ไม่มีจิตกตัญญู คิดว่าตัวเราพ้นแล้ว คนอื่นเป็นอย่างไรก็ช่าง แม่ของท่านซึ่งมีลูกเจ็ดคนเป็นพระอรหันต์หมด แต่ตนเองเป็นมิจฉาทิฐิ ก็จะตกอบายภูมิอย่างที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ท่านป่วยหนักกระทั่งใกล้ตายแล้วก็ยังกลับไปเทศน์ สงเคราะห์แม่ จนกระทั่งท่านกลายเป็นพระโสดาบัน เมื่อแม่กลายเป็นพระโสดาบัน รู้ว่าลูกคือพระสงฆ์มีคุณความดีขนาดไหน ลูกก็หมดลมหายใจพอดี

    นี่คือพระสาลีบุตรมหาเถระเจ้า ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ในบรรดาสาวกทั้งปวงไม่มีปัญญาผู้ใดยิ่งไปกว่าท่านอีก ในความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ กตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่เลี้ยงดูตนมา กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ก็คิดว่าท่านก็ไม่เป็นรองใคร เราคิดถึงตรงจุดนี้ คุณของพระสงฆ์ตรงจุดนี้ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำตาม ทำให้ได้ เราจะได้เป็นสุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ เป็นสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ที่ปฏิบัติดีแล้ว อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ญายะปฏิปันโน เป็นผู้ยังธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองและแผ่ไพศาลออกไป สามิจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติโดยชอบแล้วคือปฏิบัติดี ปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน ปฏิบัติสมควรแต่การเป็นปูชนียบุคคล ปฏิบัติสมควรต่อการที่ผู้อื่นเคารพกราบไหว้ ปฏิบัติสมควรแก่การที่ผู้อื่นให้การอนุเคราะห์สงเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่ หรือเราจะนึกถึงพระเถระรูปอื่น ๆ อย่างพระมหาโมคคัลลาเถระเจ้า เป็นพระมหาอัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เลิศด้วยฤทธิ์ สามารถเผยแผ่พระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กว้างไกลไปในชมพูทวีป เป็นผู้ที่มีปกติ ไปนรก ไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน พบผู้ใดทำความดีอย่างไรได้เป็นเทวดาอย่างไร เป็นนางฟ้าอย่างไร เป็นพรหมอย่างไรก็นำมาประกาศต่อมหาชน เพื่อให้คนเหล่านั้นได้ทำตาม เห็นคนลงนรกอย่างไรเพราะทำความชั่วอย่างไร ก็นำมาประกาศต่อมหาชน เพื่อให้เขาเหล่านั้นจะได้ไม่กระทำความชั่วนั้น ๆ หรือว่าอย่างพระอัญญาโกญทัญญะเถระ พระอรหันต์องค์แรกของโลก ที่เป็นสาวกอรหันต์ หลังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จไปโปรดสงเคราะห์ ท่านมีดวงตาเห็นธรรม กลายเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา เป็นผู้เลิสทางรัตตัญญู คือมีประสบการณ์มาก เพราะว่าบวชเป็นพราหมณ์มาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ ท่านมีความดีอย่างไร เราดูตรงจุดนั้น ทำตามตรงจุดนั้น หรือว่าพระมหาสัจจายนะเถระเจ้า เป็นผู้เลิศในปฏิสัมภิทายัง เทศน์สั่งสอนผู้อื่นได้เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์เอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับรองไว้ จึงได้มีพระเทตระสูตร ที่เป็นคำเทศน์ของท่านอยู่ในพระไตรปิฏกด้วย หรืออย่างพระอานนท์มหาเถระเจ้า ผู้เป็นเอตทัพพะ ถึงห้าประการ ท่านเป็นพระอนุชา หรือน้องชายต่างแม่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุปัจถากพระพุทธเจ้าตั้งแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าสู่พระปรินิพพาน เป็นผู้ที่รู้รอบ รู้ว่าการไหนควร การไหนไม่ควร ที่จะนำคนเข้าหาพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ เป็นผู้ที่รอบคอบ พระพุทธเจ้าไปเทศน์ที่ใดก็ตาม ขอพรเอาไว้ว่าให้กลับมาเทศน์ให้ฟังอีกรอบหนึ่ง ท่านจึงเป็นผู้ที่จดจำพระไตรปิฏกได้ทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ เป็นกำลังที่สำคัญที่สุดในการสังฆายนาพระไตรปิฏก รวบรวมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่เรา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราคิดให้ถึง มองให้เห็น หรือไม่ก็มาดูพระเถระในยุคหลัง ๆ มา อย่างหลวงปู่ทวด มรณภาพไปเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว เกียรติคุณของท่านก็ยังคงขจรขจาย เอ่ยถึงหลวงปู่ทวดคนต้องรู้ว่าวัดช้างไห้ หรืออย่างหลวงปู่ครูบาศรีวิชัย มรณะภาพไปเนิ่นนานเหลือเกินแล้ว แต่คุณความดีก็ยังครอบคลุม ทั่วแค้วนลานนาไทย ตลอดจนกระทั่งทั่วประเทศ หรืออย่างหลวงปู่มั่น ท่านสร้างพระให้เป็นพระได้มากมายมหาศาลเหลือเกิน แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ ที่มีโอกาสแค่เห็นท่านแค่ทางหน้าต่างรถไฟเพียงแค่แว๊บเดียว คำสอนที่ได้รับก็คือ ตั้งใจทำให้ดีนะ ตั้งใจภาวนานะ ปรากฏว่าลูกศิษย์ของท่านสามารถเป็นหลักชัยของหมู่ชนจำนวนมาก หรือไม่ก็หลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆัง เจ้าของต้นตำหรับสมเด็จวัดระฆังอันลือลั่นสนั่นเมือง แต่ละท่านมีปฏิปทาอย่างไร สมเด็จท่านมีปกติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ กล่าววาจาดี กล่าววาจาไพเราะ ไม่เคยขึ้งโกรธใคร ไม่เคยตำหนิใคร กระทั่งสุนัขนอนขวางทางอยู่ หลวงพ่อสมเด็จยังเดินเลี่ยงไป เพื่อที่จะได้ไม่ไปรบกวนสุนัขนั้น แต่ละท่านแต่ละองค์มีปฏิปทาอย่างไร หรือหลวงปู่ปานก็ดี หลวงพ่อฤษีลิงดำก็ดี มีปฏิปทาความดีอย่างไร เรานึกถึง ระลึกถึง น้อมเอาคุณนั้นเข้ามาอยู่ใจจิตในใจของเรา นึกถึงรูปของท่านก็ได้ นึกถึงความดีของท่านก็ได้ แล้วตั้งใจทำตาม โดยคิดว่าท้ายที่สุดทุกท่านทุกองค์ก็เข้าสู่พระนิพพานเช่นกัน เราเองเมื่อตายไปแล้วก็ขอไปอยู่กับท่านคืออยู่บนพระนิพพาน ถ้าเราจับสังฆาสุสสติดังนี้ กำหนดเป็นภาพพระ
    พระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่เรารัก เราชอบ พร้อมกับลมหายใจเข้าออก กำหนดว่าท้ายสุดทุกท่านก็อยู่บนพระนิพพาน เราก็เอาใจจับพระนิพพานไว้ หรือไม่ก็กำหนดภาพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระสงฆ์ที่ชอบเรารัก เราเคารพซ้อนอยู่ในกายของท่าน ก็นึกว่าตอนนี้เราอยู่กับพระพุทธจ้า อยู่กับหลวงพ่อ อยู่บนพระนิพพาน กำหนดใจไว้อยู่อย่างนี้ทุกวัน ๆ ประกอบกับลมหายใจเข้าออก เพื่อให้กรรมฐานทรงตัว อย่าลืมว่าหลวงปู่หลวงพ่อทุกรูปทุกนามท้ายสุดก็มรณภาพ ท้ายสุดก็ไปพระนิพพาน พระผู้ทรงความดีขนาดนั้น ไม่มีใครอยู่ยงดำรงขันธ์ ล้วนแล้วแต่ตายทั้งสิ้น เราเองก็ต้องตาย ตายแล้วถ้าเราเกิดก็ทุกข์อีก ดังนั้นเราไปนิพพานดีกว่า ก็เอาจิตเกาะพระนิพพานไว้แทนดังนี้ แล้วพยายามรักษาอารมณ์ที่สุข ที่เยือกเย็นนี้ไว้อยู่กับเราให้นานที่สุด เราก็จะเข้าถึงความพ้นทุกข์เช่นเดียวกับท่านในอนาคตเช่นกัน

    คราวนี้ทุกคนก็คลายกำลังใจออกมาช้า ๆ ระมัดระวัง รักษาประคับประคองมันเอาไว้ เพื่อเราจะได้ทำหน้าที่ของเราต่อไป

    ....จบไฟล์เสียงที่สิบ....
     
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    test จ้า(ยังไม่เสร็จ)

    ความจริง ว่าวัดมีงาน มันเป็นการทดสอบอารมณ์ปฏิบัติของเราได้ดีที่สุด ว่าสิ่งทั้งหมดที่เราทำมามันใช้ประโยชน์ได้จริงแค่ไหน
    สมัยหลวงพ่อเครื่องเสียงหายาก มันมีแต่เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เป็นแผ่นครั่ง หลวงพ่อถึงขนาดลงทุนซื้อเครื่องเสียงแล้วยกให้ห้องข้าง ๆ ไป ในเมื่อมีเครื่องมีแผ่น มันก็เปิดกันดังสนั่น แล้วหลวงพ่อก็นั่งภาวนา ท่านอยากรู้ว่า สามารถที่จะสู้กับเสียงได้จริง ๆ หรือเปล่า พอภาวนาอารมณ์ใจทรงตัว เริ่มเป็นปฐมฌาน จิตกับประสาทมันเริ่มแยกจากกัน สิ่งต่าง ๆ ที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก มันเริ่มไม่สนใจ จิตมันจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ถ้าทรงฌานสูงขึ้นไปกว่านั้น ตั้งแต่ฌานสองฌานสาม ขึ้นไปเสียงมันเบาลงแทบจะไม่ได้ยินเลย ถ้าถึงฌานสี่นี่เสียงมันดับสนิท ไม่รับรู้อาการภายนอก เมื่อซื้อให้มันเครื่องหนึ่ง สามารถสู้ได้แน่ ก็ซื้อให้อีกเครื่องหนึ่ง ให้ห้องข้าง ๆ ตอนแรกซื้อให้ห้องทางซ้าย แล้วก็ซื้อให้ห้องทางขวา ให้มันเปิดแข่งกันแล้วท่านก็ภาวนา ปรากฏว่าสู้ได้สบายมาก
    สมัยผมเข้าเวรหน้าห้องหลวงพ่อที่วัดท่าซุง ผมก็ซื้อเทปมาเปิดฟัง เทปเพลงโดยเฉพาะเพลงเพราะ ๆ ที่ผมชอบ ในชีวิตผมชอบเสียงผู้หญิงไม่กี่คน อย่างของวงจันทร์ ไพโรจน์ ผ่องศรี วรนุช ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ หรือสุนทรี เวชานนท์ เสียงพวกนี้นี่มันจะติดใจผมมากตอนสมัยเป็นฆราวาส
    พอบวชเข้ามาก็รู้ว่าการที่เราจะละ จะตัดอะไรบางอย่างมันไม่ใช่หนีมัน แต่ต้องวิ่งไปชนกับมัน ผมก็ซื้อเทปมา แล้วก็เปิดฟังหน้าห้องหลวงพ่อนั่นแหละ เป็นคนอื่นเปิดเทปในนั้น โดนตีกบาลแยก แต่ผมเปิดฟังหลวงพ่อไม่ว่าสักคำ เพราะท่านรู้ว่าเรากำลังสู้กับตัวเอง
    เพลงที่เราชอบ เสียงที่เราชอบ ถึงเวลาเราสามารถรักษาอารมณ์ให้ทรงต้วอยู่ได้มั้ย ใหม่ ๆ มันก็ไหลตามไป เผลอหน่อยเดียวไปตั้งครึ่งค่อนเพลง ก็ตั้งหน้าจับอารมณ์ภาวนากันใหม่ คราวนี้ไอ้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่เราชอบ จิตมันจะเคลื่อน จะคล้อยตามไปได้ง่าย สติ สมาธิต้องทรงตัวจริง ๆ ต้องจดจ่ออยู่แต่เฉพาะหน้าจริง ๆ พอสู้กันตรงนั้น
    จนกระทั่งผมมั่นใจว่า ยังไงก็จะไม่แพ้เสียงนี้แล้ว ก็ปรากฏว่า พอดีออกไปธุดงค์ ได้ลองของ ไอ้จุดที่ไปก็คือบ้านตะพนที่ บ้านกะเหรี่ยง มันสูงจากระดับน้ำทะเล พันสองร้อยกว่าเมตร อากาศเดือนเมษามันหนาวพอพอกับดอยอินทนนท์ได้ ผมไปพักที่นั่น ก็ปรากฏว่ามันเป็นงานประจำปีของเขา ไอ้ความที่ชาวบ้านเขาหวังดีกลัวเราจะหนาว เขาก็นิมนต์ผมเข้าไปพักในห้องเครื่องไฟ เพราะว่ามันเป็นรั้วรอบขอบชิด เขาต้องทำแข็งแรง กันคนขโมย มันก็เลยพลอยกันลมหนาวลมร้อนได้สบายด้วย แล้วคราวนี้มันเป็นงานประจำปี คนทั้งหมู่บ้านเขาต้องใช้ไฟฟ้า มันนิมนต์พระอยู่กับเครื่อง แล้วมันก็ติดเครื่องด้วย ก็ปรากฏว่าผมหลับสบายไม่รู้เรื่อง ไม่ถึงเวลามันไม่ตื่น เพราะว่าพอภาวนาไป ภาวนาไป หูมันดับ มันไม่รับรู้อาการภายนอก มันก็เลยเป็นการทดสอบที่ดีที่สุด

    คราวนี้พวกคุณทั้งหมด เมื่อคืนส่วนใหญ่แล้วที่รักษากำลังใจไม่ได้ เพราะว่าคุณไปใส่ใจในเสียง ไอ้การที่คุณไปใส่ใจในเสียง ก็คือคุณไปสนใจในมัน ฟังแล้วบางทีก็คิดตาม คล้อยตาม เราชอบเราไม่ชอบ หรือเนื้อหามันจะเป็นอย่างไร ใจคุณส่งออก พอไปสนใจกับมัน เสียงมันก็มีอิทธิพล คุณก็นอนไม่หลับ
    ถ้าหากว่ากำลังใจทั้งหมด ความรู้สึกทั้งหมดของคุณอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้า อยู่กับลมหายใจออก หายใจเข้า ผ่านจมูก ตามดูลงไป ผ่านกึ่งกลางอก ตามดูลงไป ลงไปสุดที่ท้องตามดูลงไป หายใจออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ปลายจมูก ถ้ากำลังใจของเราอยู่อย่างนี้ หรืออยู่กับภาพพระ หายใจเข้าให้ภาพพระไหลตามลมหายใจเข้าไป ภาพพระองค์เล็กๆ ไหลลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลตามลมหายใจออกมาขึ้นไปอยู่บนศรีษะเป็นองค์ใหญ่ ถ้าคุณสนใจอยู่แค่นี้เสียงทำอะไรคุณไม่ได้ แต่คราวนี้เราไปสนใจกับข้างนอกมันมากกว่า แล้วเสร็จแล้วก็ยังไปปรุงไปแต่ง ด้วยการที่เอาตัวกูของกูเป็นที่ตั้ง คือ มานะถือตัวถือตน ว่ากูปฏิบัติดี ได้พวกนั้นมันระยำ ถ้าเราคิดอย่างนี้ใช้ไม่ได้
    คนเราทุกคน สรรพสัตว์ทั้งหมด ไม่มีใครดี ไม่มีใครเลว มีแต่คนกำลังเป็นไปตามกรรมเท่านั้น การสมมติคำว่าดี คำว่าเลวขึ้นมา เพื่อที่เราจะแยกแยะได้สะดวกเท่านั้น ไม่ใช่สมมติขึ้นมาแล้วให้เราไปแบกมัน
    บุคคลที่ทำดีตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การกระทำของเขาทำให้เขาตกอยู่ในกระแสสีขาว ซึ่งมันจะไหลทวนกระแสโลกขึ้นไปสู่ข้างบนอยู่เสมอ ไปสู่ภพภูมิที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป บุคคลที่กระทำสิ่งที่คัดค้านคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเขาตกอยู่ในกระแสสีดำ พาไหลลงอยู่ตลอดเวลา ลงไปสู่ความเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา
    สิ่งที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นทำ เขาคิดว่าดี เขาจึงทำ ในเมื่อเขาคิดว่าดี เราเองเห็นว่ามันไม่ดี ก็แสดงว่าเราต้องคุ้นเคยกับความไม่ดีนั้นมาก่อน เราต้องเคยกระทำความไม่ดีนั้นมาก่อน เมื่อเราทำมาแล้ว เราก้าวพ้นมาแล้ว เราเห็นทุกข์เห็นโทษของมันแล้ว บุคคลอื่นมากระทำสิ่งนั้น มารับช่วงส่งนั้นจากเรา ก็แปลว่าเขาคือทายาท คือผู้รับมรดก เท่ากับเป็นลูกเราหลานเรานั่นเอง ในเมื่อลูกหลานมันตกอยู่ในความทุกข์ความลำบาก เราจะไปโกรธลูก โกรธหลาน ไม่พอใจในลูกในหลาน หรือว่าควรจะเมตตาสงสารเขา หรือว่าเราควรจะแผ่เมตตาต่อเขา ตั้งใจว่าเมื่อใดก็ตามที่เขารู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่วอย่างชัดเจน ถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราจะยื่นมือไปช่วยเขา แต่ถ้าขณะจิตที่เขายังมืดยังบอดอยู่ เราไม่สามารถจะช่วยเหลือเขาได้ ไม่สามารถจะแนะนำเขาได้ เราก็ควรจะเกิดความเวทนาสงสารเขา ปรารถนาจะให้เขาพ้นทุกข์
    สิ่งที่เขาทำเขาเห็นว่าดีเขาจึงทำ เมื่อเขาเห็นว่าดีเขาจึงทำ โดยที่ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงเป็นอย่างไร เขาน่าสงสารเพียงไหน ถ้าเรารู้จักคิด รู้จักพิจารณา รู้จักนำเอาพรหมวิหาร๔ มาประกอบ รู้จักการให้อภัย เราก็ไม่ต้องเก็บเอาอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงมาอยู่ในใจของเรา เขาทั้งหลายเหล่านั้นยังเป็นผู้ที่อ่อนด้วยกำลังของความดี ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงเป็นอย่างไร เขายังต้องอาศัยสิ่งภายนอกมากระตุ้น สิ่งภายนอกที่กระตุ้นทางตา ได้เห็นแสงเห็นสีต่าง ๆ ที่สวยงามพออกพอใจของเขา ได้ยินเสียงบรรดาดนตรีต่าง ๆ ที่เป็นที่พออกพอใจของเขา ได้กลิ่นที่มันหอมชื่นใจตามที่เขาปรารถนา ได้รสที่มันอร่อยตามที่เขาต้องการ ได้สัมผัสที่มันอ่อนนุ่มตามที่ปรารถนา แล้วเขาก็เก็บทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาในใจ เมื่อเก็บเข้ามาในใจ กำลังใจมันยินดีกับสิ่งนั้น ก็เกิดความปลาบปลื้ม เกิดความปิติขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว โดยที่ไม่รู้เสียด้วยว่าความปิตินั้นเกิดจากอะไร ในเมื่อเกิดความปิติความยินดีขึ้นมา รู้สึกว่าตัวเองมีความสุข เมื่อห่างสิ่งนั้นมาไม่มีการกระตุ้น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเหมือนเดิม ก็รู้สึกว่าตัวเองขาดความสุข หงุดหงิด กลัดกลุ้ม กระวนกระวายใจ เขาก็จำเป็นต้องเดินไปหาสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นอีก เพื่อที่จะกระตุ้นตัวเองขึ้นมา
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เลยมารุมล้อมรอบข้างของเราอยู่ กลายเป็นกระแสการทดสอบเรา ว่าเราเองที่ตั้งใจจะละ จะละ เราละมันได้เท่าไหร่ เราเองมาตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติความดี เมื่อก้าวถึงความสุข ความเยือกเย็นใจ ก็รู้ว่า นี่เป็นความสุข ความเยือกเย็นใจจริง ๆ ต้องสร้างมันขึ้นมาในใจของเรา ไม่สามารถที่จะไปกระตุ้นด้วยสิ่งภายนอกได้ เพราะการกระตุ้นเร้า จากสิ่งภายนอกนั้น มันเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ถ้าเราสร้างให้มันมีอยู่ในจิตในใจของเรา มันจะเป็นความสุข ความปิติ ความสงบเยือกเย็นที่ยั่งยืนแท้จริง
    เรารู้ว่าสิ่งนี้ดีแน่ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี หลวงปู่หลวงพ่อก็ดี สั่งสอนเรามา เราทำแล้ว เราเห็นผลแล้วว่าดี เราก็ทำสิ่งนี้ ส่วนคนทั้งหลายทั้งปวงที่เขามาสนุกกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องกระตุ้น ทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยที่ไม่ใช่เสริมสร้างขึ้นภายในใจอย่างพวกเรา เขาก็เห็นว่าดี ต่างคนต่างทำในสิ่งที่ ตัวเองเห็นว่าดี ดังนั้นจึงไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก มีแต่คนที่กำลังเป็นไปตามกรรม เรารู้อยู่ว่าเขาอยู่ในสถานะที่กำลังไหลลงต่ำ กำลังไหลลงไปหาความทุกข์ที่มากขึ้น มากขึ้น ทับถมพูนทวีขึ้นทุกที สร้างความทุกข์ยากลำบาก ทำให้ต้องเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ได้ เราควรจะโกรธหรือควรจะให้อภัยเขา ตัวเราเองทำความดี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราทำดีเพราะอยากดี แต่ที่เราทำดีแต่เพราะรู้ว่าสิ่งนี้ดีเราจึงทำ ก็อย่าเอาตัวมานะถือตัวถือตนไปคิดว่าเราดี เขาเลว พยายามมองให้เห็น ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่ เจ็บตายเช่นเดียวกับเราทั้งหมด ตราบใดที่เขายังไม่รู้ทุกข์ที่แท้จริง ยังไม่ดิ้นรนให้พ้นทุกข์เขาก็ยังจ่อมจมอยู่กับความทุกข์เช่นนั้น เขาทั้งหลายเหล่านั้นน่าสงสาร ดังนั้นจึงสมควรให้อภัยเขา ดึงกำลังใจของเราอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่กับความรู้สึกที่หวังดี ปรารถนาดี รักเขาเสมอตัวเรา สงสารปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ ถ้าหากว่าเขาทำความดีได้เราก็พลอยยินดีเมื่อเขาอยู่ดีมีสุข แต่ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือสิ่งใดได้เพราะกระแสโลกมันแรงเกินไป เราก็ต้องรักษาใจให้เป็นอุเบกขา ไม่หวั่นไหวกับสิ่งกระทบต่าง ๆ ถึงจะเรียกได้ว่าเราเป็นพระโยคาวจร คือเป็นผู้สอนตน เป็นผู้ปฏิบัติตน ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อก้าวไปสู่ การพ้นทุกข์
    โอกาสที่เราจะมีเครื่องทดสอบแบบนี้ไม่ใช่จะหาได้ง่าย ๆ ถ้าเราอยู่อยู่ปีหนึ่งเต็ม ๆ เราถึงจะเจอครั้งหนึ่ง เมื่อมีเครื่องทดสอบที่ดีแบบนี้ ถ้าเราสอบตก ไปยินร้าย คือไปโกรธไปขุ่นเคืองมัน ก็แปลว่ากำลังใจของเรายังใช้ไม่ได้ พยายามดึงกำลังใจของเราให้รวมต้ว อยู่กับอารมณ์ใจเฉพาะหน้า ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ให้อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้อยู่กับพระนิพพาน ที่พึ่งอื่นใดของเรา ไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิ่งที่จะเป็นเครื่องยึดเครื่องเกาะให้เราพ้นจากวัฏฏะสงสารอันน่ากลัวนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าพระนิพพาน
    ดังนั้นให้กำลังใจของเราอยู่กับพระพุทธเจ้า ให้กำลังใจของเราอยู่กับพระธรรม ให้กำลังใจของเราอยู่กับหลวงปู่หลวงพ่อ

    ครั้งก่อนๆ เราเรียนเรื่องพุทธานุสสติ มาแล้ว ธรรมานุสสติมาแล้ว คราวนี้ก็มาคิดถึงเรื่องของสังฆานุสสติ การระลึกถึงพระสงฆ์ ไม่ใช่นึกแค่นึกว่าเป็นหลวงปู่องค์นั้น เป็นหลวงพ่อองค์นี้ แต่ให้ดูปฏิปทาการปฏิบัติของท่าน ว่าหลวงปู่องค์นั้น ท่านปฏิบัติของท่านอย่างไร สร้างกาย วาจาใจของท่านอย่างไร ท่านถึงได้ยกตนขึ้นเป็นกัลยาณชน เป็นพระอริยะชน จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน หรือเป็นพระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
    พิจารณาดูตามประวัติของพระเถระ สมัยพุทธกาลก็ได้ อย่างพระสาลีบุตรมหาเถระเจ้าเป็นผู้ที่เลิศด้วยปัญญา ไม่มีผู้ใดมีปัญญาเหนือกว่านอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
    พระสาลีบุตรนอกจากเลิศด้วยปัญญาแล้วยังเป็นผู้กอปด้วยความกตัญญูอย่างยิ่ง ถ้าท่านทราบว่าพระอัสชิ พระอรหันต์หนึ่งในปัญจวัคคี อยู่ทางทิศไหน ท่านจะนอนหันศรีษะไปทางทิศนั้น คือเคารพผู้เป็นบูรพาจารย์ คนแรกที่นำธรรมะเข้ามาหาท่าน ว่าไม่ว่าอาจารย์อยู่ทางด้านไหน ท่านจะไม่หันเท้าไปทางนั้น ท่านก็จะนอนหันศรีษะไปทางที่พระอัสชิอยู่ตลอดเวลา
    เมื่อราคะพราหมณ์ เป็นพราหมณ์แก่ยากจน ปรารถนาการบวช ไม่มีใครรับรองให้ เพราะว่าคิดว่าหลวงตาแก่ ๆ บวชเข้ามาก็เอาดีไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ใครรู้คุณของพราหมณ์นี้บ้าง"
    พระสาลีบุตร กล่าวว่า ท่านรู้คุณของพราหมณ์นี้ เคยบิณฑบาตรแล้ว ราคะพราหมณ์ ใส่ข้าวให้หนึ่งทัพพี
    พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้นสาลีบุตรเธอจงให้การอุปสมบทแก่ราคะพราหมณ์นี้เถิด" พระสาลีบุตรอุปสมบท คือบวชให้ราคะพราหมณ์ด้วยจิตกตัญญูต่อข้าวหนึ่งทัพพี แล้วเราก็ได้พระอรหันต์ ขีนางค์สงฆ์คือพระราคะเถระ ที่เป็นหลวงตาที่ว่านอนสอนง่ายที่สุดในโลก แม้กระทั่งพระใหม่ที่พึ่งบวช กล่าวตักเตือนท่านก็น้อมรับ กลายเป็นพระผู้เลิศในทางอ่อนน้อมถ่อมตน กลายเป็นพระผู้เลิศในทางว่านอนสอนง่ายขึ้นมา
    วาระสุดท้ายของชีวิต ท่านเป็นโรคกระเพาะ คือกระเพาะทะลุ ถ่ายเป็นโลหิต เป็นกระโถน ๆ รู้ว่าตัวเองถึงเวลาจะนิพพานแล้ว ไปกราบทูลลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลาแล้วไปไหน ชวนน้อง ๆ ของท่าน คือท่านอุปเสนะ ท่านจารา ท่านอุปจาระ ท่านศรีสุปจาระ ท่านกุณทะ ท่านเรวัตตะ กลับไปบ้าน ไปสงเคราะห์แม่ ถ้าหากว่าท่าน ไม่มีจิตกตัญญู คิดว่าตัวเราพ้นแล้ว คนอื่นเป็นอย่างไรก็ช่าง แม่ของท่านซึ่งมีลูก๗คน เป็นพระอรหันต์หมด แต่ตนเองเป็นมิจฉาทิฐิ ก็จะตกอบายภูมิอย่างที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ท่านป่วยหนักกระทั่งใกล้ตายแล้ว ก็ยังกลับไปเทศน์ สงเคราะห์แม่ จนกระทั่งท่านกลายเป็นพระโสดาบัน เมื่อแม่กลายเป็นพระโสดาบัน รู้ว่าลูกคือพระสงฆ์มีคุณความดีขนาดไหน ลูกก็หมดลมหายใจพอดี

    นี่คือพระสาลีบุตรมหาเถระเจ้า ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ในบรรดาสาวกทั้งปวงไม่มีปัญญาผู้ใดยิ่งไปกว่าท่านอีก ในความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ กตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่เลี้ยงดูตนมา กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ก็คิดว่าท่านก็ไม่เป็นรองใคร เราคิดถึงตรงจุดนี้ คุณของพระสงฆ์ตรงจุดนี้ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำตาม ทำให้ได้ เราจะได้เป็นสุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ เป็นสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ที่ปฏิบัติดีแล้ว อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ญายะปฏิปันโน เป็นผู้ยังธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองและแผ่ไพศาลออกไป สามิจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติโดยชอบแล้วคือปฏิบัติดี ปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน ปฏิบัติสมควรแต่การเป็นปูชนียบุคคล ปฏิบัติสมควรต่อการที่ผู้อื่นเคารพกราบไหว้ ปฏิบัติสมควรแก่การที่ผู้อื่นให้การอนุเคราะห์สงเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่

    หรือเราจะนึกถึงพระเถระรูปอื่น ๆ อย่างพระมหาโมคคัลลาเถระเจ้า เป็นพระมหาอัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เลิศด้วยฤทธิ์ สามารถเผยแผ่พระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กว้างไกลไปในชมพูทวีป เป็นผู้ที่มีปกติ ไปนรก ไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน พบผู้ใดทำความดีอย่างไรได้เป็นเทวดาอย่างไร เป็นนางฟ้าอย่างไร เป็นพรหมอย่างไรก็นำมาประกาศต่อมหาชน เพื่อให้คนเหล่านั้นได้ทำตาม เห็นคนลงนรกอย่างไรเพราะทำความชั่วอย่างไร ก็นำมาประกาศต่อมหาชน เพื่อให้เขาเหล่านั้นจะได้ไม่กระทำความชั่วนั้น ๆ

    หรือว่าอย่างพระอัญญาโกญทัญญะเถระ พระอรหันต์องค์แรกของโลก ที่เป็นสาวกอรหันต์ หลังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จไปโปรดสงเคราะห์ ท่านมี ดวงตาเห็นธรรม กลายเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา เป็นผู้เลิศทางรัตตัญญู คือมีประสบการณ์มาก เพราะว่าบวชเป็นพราหมณ์มาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ ท่านมีความดีอย่างไร เราดูตรงจุดนั้น ทำตามตรงจุดนั้น

    หรือว่าพระมหาสัจจายนะเถระเจ้า เป็นผู้เลิศในปฏิสัมภิทายัง เทศน์สั่งสอนผู้อื่นได้เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์เอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับรองไว้ จึงได้มีพระเทตระสูตร ที่เป็นคำเทศน์ของท่านอยู่ในพระไตรปิฏกด้วย

    หรืออย่างพระอานนท์มหาเถระเจ้า ผู้เป็น เอตทัพพะ ถึง๕ประการ ท่านเป็นพระอนุชา หรือน้องชายต่างแม่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุปัจถากพระพุทธเจ้าตั้งแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าสู่พระปรินิพพาน เป็นผู้ที่รู้รอบ รู้ว่าการไหนควร การไหนไม่ควร ที่จะนำคนเข้าหาพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ เป็นผู้ที่รอบคอบ พระพุทธเจ้าไปเทศน์ที่ใดก็ตาม ขอพรเอาไว้ว่าให้กลับมาเทศน์ให้ฟังอีกรอบหนึ่ง ท่านจึงเป็นผู้ที่จดจำพระไตรปิฏกได้ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นกำลังที่สำคัญที่สุดในการสังฆายนาพระไตรปิฏก รวบรวมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่เรา

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราคิดให้ถึง มองให้เห็น หรือไม่ก็มาดูพระเถระในยุคหลัง ๆ มา อย่างหลวงปู่ทวด มรณภาพไปเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว เกียรติคุณของท่านก็ยังคงขจรขจาย เอ่ยถึงหลวงปู่ทวดคนต้องรู้ว่าวัดช้างไห้ หรืออย่างหลวงปู่ครูบาศรีวิชัย มรณะภาพไปเนิ่นนานเหลือเกินแล้ว แต่คุณความดีก็ยังครอบคลุม ทั่วแค้วนลานนาไทย ตลอดจนกระทั่งทั่วประเทศ
    หรืออย่างหลวงปู่มั่น ท่านสร้างพระให้เป็นพระได้มากมายมหาศาลเหลือเกิน แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ ที่มีโอกาสแค่เห็นท่านแค่ทางหน้าต่างรถไฟเพียงแค่แว๊บเดียว คำสอนที่ได้รับก็คือ ตั้งใจทำให้ดีนะ ตั้งใจภาวนานะ ปรากฏว่าลูกศิษย์ของท่านสามารถเป็นหลักชัยของหมู่ชนจำนวนมาก
    หรือไม่ก็หลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆัง เจ้าของต้นตำหรับสมเด็จวัดระฆังอันลือลั่นสนั่นเมือง แต่ละท่านมีปฏิปทาอย่างไร สมเด็จท่านมีปกติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ กล่าววาจาดี กล่าววาจาไพเราะ ไม่เคยขึ้งโกรธใคร ไม่เคยตำหนิใคร กระทั่งสุนัขนอนขวางทางอยู่ หลวงพ่อสมเด็จยังเดินเลี่ยงไป เพื่อที่จะได้ไม่ไปรบกวนสุนัขนั้น แต่ละท่านแต่ละองค์มีปฏิปทาอย่างไร
    หรือหลวงปู่ปานก็ดี หลวงพ่อฤษีลิงดำก็ดี มีปฏิปทาความดีอย่างไร เรานึกถึง ระลึกถึง น้อมเอาคุณนั้นเข้ามาอยู่ใจจิตในใจของเรา นึกถึงรูปของท่านก็ได้ นึกถึงความดีของท่านก็ได้ แล้วตั้งใจทำตาม โดยคิดว่าท้ายที่สุดทุกท่านทุกองค์ก็เข้าสู่พระนิพพานเช่นกัน เราเองเมื่อตายไปแล้วก็ขอไปอยู่กับท่านคืออยู่บนพระนิพพาน ถ้าเราจับสังฆานุสสติดังนี้ กำหนดเป็นภาพพระ พระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่เรารัก เราชอบ พร้อมกับลมหายใจเข้าออก กำหนดว่าท้ายสุดทุกท่านก็อยู่บนพระนิพพาน เราก็เอาใจจับพระนิพพานไว้ หรือไม่ก็กำหนดภาพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระสงฆ์ที่ชอบเรารัก เราเคารพซ้อนอยู่ในกายของท่าน ก็นึกว่าตอนนี้เราอยู่กับพระพุทธจ้า อยู่กับหลวงพ่อ อยู่บนพระนิพพาน กำหนดใจไว้อยู่อย่างนี้ทุกวัน ๆ ประกอบกับลมหายใจเข้าออก เพื่อให้กรรมฐานทรงตัว

    อย่าลืมว่าหลวงปู่หลวงพ่อทุกรูปทุกนามท้ายสุดก็มรณภาพ ท้ายสุดก็ไปพระนิพพาน พระผู้ทรงความดีขนาดนั้น ไม่มีใครอยู่ยงดำรงขันธ์ ล้วนแล้วแต่ตายทั้งสิ้น เราเองก็ต้องตาย ตายแล้วถ้าเราเกิดก็ทุกข์อีก ดังนั้นเราไปนิพพานดีกว่า ก็เอาจิตเกาะพระนิพพานไว้แทนดังนี้ แล้วพยายามรักษาอารมณ์ที่สุข ที่เยือกเย็นนี้ไว้อยู่กับเราให้นานที่สุด เราก็จะเข้าถึงความพ้นทุกข์เช่นเดียวกับท่านในอนาคตเช่นกัน

    คราวนี้ทุกคนก็คลายกำลังใจออกมาช้า ๆ ระมัดระวัง รักษาประคับประคองมันเอาไว้ เพื่อเราจะได้ทำหน้าที่ของเราต่อไป.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2005
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #f58105 3px dashed; BORDER-TOP: #f58105 3px dashed; BORDER-LEFT: #f58105 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #f58105 3px dashed" cellSpacing=5 cellPadding=5 bgColor=#fbbe7d>
    <TBODY>
    <TR>
    <TD style="BORDER-RIGHT: #8a643c 3px dashed; BORDER-TOP: #8a643c 3px dashed; BORDER-LEFT: #8a643c 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #8a643c 3px dashed" bgColor=#f6dabc>

    ความจริง ว่าวัดมีงาน มันเป็นการทดสอบอารมณ์ปฏิบัติของเราได้ดีที่สุด ว่าสิ่งทั้งหมดที่เราทำมามันใช้ประโยชน์ได้จริงแค่ไหน

    สมัยหลวงพ่อเครื่องเสียงหายาก มันมีแต่เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เป็นแผ่นครั่ง หลวงพ่อถึงขนาดลงทุนซื้อเครื่องเสียงแล้วยกให้ห้องข้าง ๆ ไป ในเมื่อมีเครื่องมีแผ่น มันก็เปิดกันดังสนั่น แล้วหลวงพ่อก็นั่งภาวนา ท่านอยากรู้ว่า สามารถที่จะสู้กับเสียงได้จริง ๆ หรือเปล่า พอภาวนาอารมณ์ใจทรงตัว เริ่มเป็นปฐมฌาน จิตกับประสาทมันเริ่มแยกจากกัน สิ่งต่าง ๆ ที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก มันเริ่มไม่สนใจ จิตมันจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ถ้าทรงฌานสูงขึ้นไปกว่านั้น ตั้งแต่ฌานสองฌานสาม ขึ้นไปเสียงมันเบาลงแทบจะไม่ได้ยินเลย ถ้าถึงฌานสี่นี่เสียงมันดับสนิท ไม่รับรู้อาการภายนอก เมื่อซื้อให้มันเครื่องหนึ่ง สามารถสู้ได้แน่ ก็ซื้อให้อีกเครื่องหนึ่ง ให้ห้องข้าง ๆ ตอนแรกซื้อให้ห้องทางซ้าย แล้วก็ซื้อให้ห้องทางขวา ให้มันเปิดแข่งกันแล้วท่านก็ภาวนา ปรากฏว่าสู้ได้สบายมาก
    สมัยผมเข้าเวรหน้าห้องหลวงพ่อที่วัดท่าซุง ผมก็ซื้อเทปมาเปิดฟัง เทปเพลงโดยเฉพาะเพลงเพราะ ๆ ที่ผมชอบ ในชีวิตผมชอบเสียงผู้หญิงไม่กี่คน อย่างของวงจันทร์ ไพโรจน์ ผ่องศรี วรนุช ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ หรือสุนทรี เวชานนท์ เสียงพวกนี้นี่มันจะติดใจผมมากตอนสมัยเป็นฆราวาส
    พอบวชเข้ามาก็รู้ว่าการที่เราจะละ จะตัดอะไรบางอย่างมันไม่ใช่หนีมัน แต่ต้องวิ่งไปชนกับมัน ผมก็ซื้อเทปมา แล้วก็เปิดฟังหน้าห้องหลวงพ่อนั่นแหละ เป็นคนอื่นเปิดเทปในนั้น โดนตีกบาลแยก แต่ผมเปิดฟังหลวงพ่อไม่ว่าสักคำ เพราะท่านรู้ว่าเรากำลังสู้กับตัวเอง
    เพลงที่เราชอบ เสียงที่เราชอบ ถึงเวลาเราสามารถรักษาอารมณ์ให้ทรงต้วอยู่ได้มั้ย ใหม่ ๆ มันก็ไหลตามไป เผลอหน่อยเดียวไปตั้งครึ่งค่อนเพลง ก็ตั้งหน้าจับอารมณ์ภาวนากันใหม่ คราวนี้ไอ้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่เราชอบ จิตมันจะเคลื่อน จะคล้อยตามไปได้ง่าย สติ สมาธิต้องทรงตัวจริง ๆ ต้องจดจ่ออยู่แต่เฉพาะหน้าจริง ๆ พอสู้กันตรงนั้น
    จนกระทั่งผมมั่นใจว่า ยังไงก็จะไม่แพ้เสียงนี้แล้ว ก็ปรากฏว่า พอดีออกไปธุดงค์ ได้ลองของ ไอ้จุดที่ไปก็คือบ้านตะพนที่ บ้านกะเหรี่ยง มันสูงจากระดับน้ำทะเล พันสองร้อยกว่าเมตร อากาศเดือนเมษามันหนาวพอพอกับดอยอินทนนท์ได้ ผมไปพักที่นั่น ก็ปรากฏว่ามันเป็นงานประจำปีของเขา ไอ้ความที่ชาวบ้านเขาหวังดีกลัวเราจะหนาว เขาก็นิมนต์ผมเข้าไปพักในห้องเครื่องไฟ เพราะว่ามันเป็นรั้วรอบขอบชิด เขาต้องทำแข็งแรง กันคนขโมย มันก็เลยพลอยกันลมหนาวลมร้อนได้สบายด้วย แล้วคราวนี้มันเป็นงานประจำปี คนทั้งหมู่บ้านเขาต้องใช้ไฟฟ้า มันนิมนต์พระอยู่กับเครื่อง แล้วมันก็ติดเครื่องด้วย ก็ปรากฏว่าผมหลับสบายไม่รู้เรื่อง ไม่ถึงเวลามันไม่ตื่น เพราะว่าพอภาวนาไป ภาวนาไป หูมันดับ มันไม่รับรู้อาการภายนอก มันก็เลยเป็นการทดสอบที่ดีที่สุด

    คราวนี้พวกคุณทั้งหมด เมื่อคืนส่วนใหญ่แล้วที่รักษากำลังใจไม่ได้ เพราะว่าคุณไปใส่ใจในเสียง ไอ้การที่คุณไปใส่ใจในเสียง ก็คือคุณไปสนใจในมัน ฟังแล้วบางทีก็คิดตาม คล้อยตาม เราชอบเราไม่ชอบ หรือเนื้อหามันจะเป็นอย่างไร ใจคุณส่งออก พอไปสนใจกับมัน เสียงมันก็มีอิทธิพล คุณก็นอนไม่หลับ
    ถ้าหากว่ากำลังใจทั้งหมด ความรู้สึกทั้งหมดของคุณอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้า อยู่กับลมหายใจออก หายใจเข้า ผ่านจมูก ตามดูลงไป ผ่านกึ่งกลางอก ตามดูลงไป ลงไปสุดที่ท้องตามดูลงไป หายใจออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ปลายจมูก ถ้ากำลังใจของเราอยู่อย่างนี้ หรืออยู่กับภาพพระ หายใจเข้าให้ภาพพระไหลตามลมหายใจเข้าไป ภาพพระองค์เล็กๆ ไหลลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลตามลมหายใจออกมาขึ้นไปอยู่บนศรีษะเป็นองค์ใหญ่ ถ้าคุณสนใจอยู่แค่นี้เสียงทำอะไรคุณไม่ได้ แต่คราวนี้เราไปสนใจกับข้างนอกมันมากกว่า แล้วเสร็จแล้วก็ยังไปปรุงไปแต่ง ด้วยการที่เอาตัวกูของกูเป็นที่ตั้ง คือ มานะถือตัวถือตน ว่ากูปฏิบัติดี ได้พวกนั้นมันระยำ ถ้าเราคิดอย่างนี้ใช้ไม่ได้
    คนเราทุกคน สรรพสัตว์ทั้งหมด ไม่มีใครดี ไม่มีใครเลว มีแต่คนกำลังเป็นไปตามกรรมเท่านั้น การสมมติคำว่าดี คำว่าเลวขึ้นมา เพื่อที่เราจะแยกแยะได้สะดวกเท่านั้น ไม่ใช่สมมติขึ้นมาแล้วให้เราไปแบกมัน
    บุคคลที่ทำดีตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การกระทำของเขาทำให้เขาตกอยู่ในกระแสสีขาว ซึ่งมันจะไหลทวนกระแสโลกขึ้นไปสู่ข้างบนอยู่เสมอ ไปสู่ภพภูมิที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป บุคคลที่กระทำสิ่งที่คัดค้านคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเขาตกอยู่ในกระแสสีดำ พาไหลลงอยู่ตลอดเวลา ลงไปสู่ความเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา
    สิ่งที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นทำ เขาคิดว่าดี เขาจึงทำ ในเมื่อเขาคิดว่าดี เราเองเห็นว่ามันไม่ดี ก็แสดงว่าเราต้องคุ้นเคยกับความไม่ดีนั้นมาก่อน เราต้องเคยกระทำความไม่ดีนั้นมาก่อน เมื่อเราทำมาแล้ว เราก้าวพ้นมาแล้ว เราเห็นทุกข์เห็นโทษของมันแล้ว บุคคลอื่นมากระทำสิ่งนั้น มารับช่วงส่งนั้นจากเรา ก็แปลว่าเขาคือทายาท คือผู้รับมรดก เท่ากับเป็นลูกเราหลานเรานั่นเอง ในเมื่อลูกหลานมันตกอยู่ในความทุกข์ความลำบาก เราจะไปโกรธลูก โกรธหลาน ไม่พอใจในลูกในหลาน หรือว่าควรจะเมตตาสงสารเขา หรือว่าเราควรจะแผ่เมตตาต่อเขา ตั้งใจว่าเมื่อใดก็ตามที่เขารู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่วอย่างชัดเจน ถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราจะยื่นมือไปช่วยเขา แต่ถ้าขณะจิตที่เขายังมืดยังบอดอยู่ เราไม่สามารถจะช่วยเหลือเขาได้ ไม่สามารถจะแนะนำเขาได้ เราก็ควรจะเกิดความเวทนาสงสารเขา ปรารถนาจะให้เขาพ้นทุกข์
    สิ่งที่เขาทำเขาเห็นว่าดีเขาจึงทำ เมื่อเขาเห็นว่าดีเขาจึงทำ โดยที่ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงเป็นอย่างไร เขาน่าสงสารเพียงไหน ถ้าเรารู้จักคิด รู้จักพิจารณา รู้จักนำเอาพรหมวิหาร๔ มาประกอบ รู้จักการให้อภัย เราก็ไม่ต้องเก็บเอาอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงมาอยู่ในใจของเรา เขาทั้งหลายเหล่านั้นยังเป็นผู้ที่อ่อนด้วยกำลังของความดี ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงเป็นอย่างไร เขายังต้องอาศัยสิ่งภายนอกมากระตุ้น สิ่งภายนอกที่กระตุ้นทางตา ได้เห็นแสงเห็นสีต่าง ๆ ที่สวยงามพออกพอใจของเขา ได้ยินเสียงบรรดาดนตรีต่าง ๆ ที่เป็นที่พออกพอใจของเขา ได้กลิ่นที่มันหอมชื่นใจตามที่เขาปรารถนา ได้รสที่มันอร่อยตามที่เขาต้องการ ได้สัมผัสที่มันอ่อนนุ่มตามที่ปรารถนา แล้วเขาก็เก็บทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาในใจ เมื่อเก็บเข้ามาในใจ กำลังใจมันยินดีกับสิ่งนั้น ก็เกิดความปลาบปลื้ม เกิดความปิติขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว โดยที่ไม่รู้เสียด้วยว่าความปิตินั้นเกิดจากอะไร ในเมื่อเกิดความปิติความยินดีขึ้นมา รู้สึกว่าตัวเองมีความสุข เมื่อห่างสิ่งนั้นมาไม่มีการกระตุ้น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเหมือนเดิม ก็รู้สึกว่าตัวเองขาดความสุข หงุดหงิด กลัดกลุ้ม กระวนกระวายใจ เขาก็จำเป็นต้องเดินไปหาสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นอีก เพื่อที่จะกระตุ้นตัวเองขึ้นมา
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เลยมารุมล้อมรอบข้างของเราอยู่ กลายเป็นกระแสการทดสอบเรา ว่าเราเองที่ตั้งใจจะละ จะละ เราละมันได้เท่าไหร่ เราเองมาตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติความดี เมื่อก้าวถึงความสุข ความเยือกเย็นใจ ก็รู้ว่า นี่เป็นความสุข ความเยือกเย็นใจจริง ๆ ต้องสร้างมันขึ้นมาในใจของเรา ไม่สามารถที่จะไปกระตุ้นด้วยสิ่งภายนอกได้ เพราะการกระตุ้นเร้า จากสิ่งภายนอกนั้น มันเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ถ้าเราสร้างให้มันมีอยู่ในจิตในใจของเรา มันจะเป็นความสุข ความปิติ ความสงบเยือกเย็นที่ยั่งยืนแท้จริง
    เรารู้ว่าสิ่งนี้ดีแน่ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี หลวงปู่หลวงพ่อก็ดี สั่งสอนเรามา เราทำแล้ว เราเห็นผลแล้วว่าดี เราก็ทำสิ่งนี้ ส่วนคนทั้งหลายทั้งปวงที่เขามาสนุกกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องกระตุ้น ทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยที่ไม่ใช่เสริมสร้างขึ้นภายในใจอย่างพวกเรา เขาก็เห็นว่าดี ต่างคนต่างทำในสิ่งที่ ตัวเองเห็นว่าดี ดังนั้นจึงไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก มีแต่คนที่กำลังเป็นไปตามกรรม เรารู้อยู่ว่าเขาอยู่ในสถานะที่กำลังไหลลงต่ำ กำลังไหลลงไปหาความทุกข์ที่มากขึ้น มากขึ้น ทับถมพูนทวีขึ้นทุกที สร้างความทุกข์ยากลำบาก ทำให้ต้องเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ได้ เราควรจะโกรธหรือควรจะให้อภัยเขา ตัวเราเองทำความดี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราทำดีเพราะอยากดี แต่ที่เราทำดีแต่เพราะรู้ว่าสิ่งนี้ดีเราจึงทำ ก็อย่าเอาตัวมานะถือตัวถือตนไปคิดว่าเราดี เขาเลว พยายามมองให้เห็น ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่ เจ็บตายเช่นเดียวกับเราทั้งหมด ตราบใดที่เขายังไม่รู้ทุกข์ที่แท้จริง ยังไม่ดิ้นรนให้พ้นทุกข์เขาก็ยังจ่อมจมอยู่กับความทุกข์เช่นนั้น เขาทั้งหลายเหล่านั้นน่าสงสาร ดังนั้นจึงสมควรให้อภัยเขา ดึงกำลังใจของเราอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่กับความรู้สึกที่หวังดี ปรารถนาดี รักเขาเสมอตัวเรา สงสารปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ ถ้าหากว่าเขาทำความดีได้เราก็พลอยยินดีเมื่อเขาอยู่ดีมีสุข แต่ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือสิ่งใดได้เพราะกระแสโลกมันแรงเกินไป เราก็ต้องรักษาใจให้เป็นอุเบกขา ไม่หวั่นไหวกับสิ่งกระทบต่าง ๆ ถึงจะเรียกได้ว่าเราเป็นพระโยคาวจร คือเป็นผู้สอนตน เป็นผู้ปฏิบัติตน ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อก้าวไปสู่ การพ้นทุกข์
    โอกาสที่เราจะมีเครื่องทดสอบแบบนี้ไม่ใช่จะหาได้ง่าย ๆ ถ้าเราอยู่อยู่ปีหนึ่งเต็ม ๆ เราถึงจะเจอครั้งหนึ่ง เมื่อมีเครื่องทดสอบที่ดีแบบนี้ ถ้าเราสอบตก ไปยินร้าย คือไปโกรธไปขุ่นเคืองมัน ก็แปลว่ากำลังใจของเรายังใช้ไม่ได้ พยายามดึงกำลังใจของเราให้รวมต้ว อยู่กับอารมณ์ใจเฉพาะหน้า ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ให้อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้อยู่กับพระนิพพาน ที่พึ่งอื่นใดของเรา ไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิ่งที่จะเป็นเครื่องยึดเครื่องเกาะให้เราพ้นจากวัฏฏะสงสารอันน่ากลัวนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าพระนิพพาน
    ดังนั้นให้กำลังใจของเราอยู่กับพระพุทธเจ้า ให้กำลังใจของเราอยู่กับพระธรรม ให้กำลังใจของเราอยู่กับหลวงปู่หลวงพ่อ

    ครั้งก่อนๆ เราเรียนเรื่องพุทธานุสสติ มาแล้ว ธรรมานุสสติมาแล้ว คราวนี้ก็มาคิดถึงเรื่องของสังฆานุสสติ การระลึกถึงพระสงฆ์ ไม่ใช่นึกแค่นึกว่าเป็นหลวงปู่องค์นั้น เป็นหลวงพ่อองค์นี้ แต่ให้ดูปฏิปทาการปฏิบัติของท่าน ว่าหลวงปู่องค์นั้น ท่านปฏิบัติของท่านอย่างไร สร้างกาย วาจาใจของท่านอย่างไร ท่านถึงได้ยกตนขึ้นเป็นกัลยาณชน เป็นพระอริยะชน จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน หรือเป็นพระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
    พิจารณาดูตามประวัติของพระเถระ สมัยพุทธกาลก็ได้ อย่างพระสาลีบุตรมหาเถระเจ้าเป็นผู้ที่เลิศด้วยปัญญา ไม่มีผู้ใดมีปัญญาเหนือกว่านอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
    พระสาลีบุตรนอกจากเลิศด้วยปัญญาแล้วยังเป็นผู้กอปด้วยความกตัญญูอย่างยิ่ง ถ้าท่านทราบว่าพระอัสชิ พระอรหันต์หนึ่งในปัญจวัคคี อยู่ทางทิศไหน ท่านจะนอนหันศรีษะไปทางทิศนั้น คือเคารพผู้เป็นบูรพาจารย์ คนแรกที่นำธรรมะเข้ามาหาท่าน ว่าไม่ว่าอาจารย์อยู่ทางด้านไหน ท่านจะไม่หันเท้าไปทางนั้น ท่านก็จะนอนหันศรีษะไปทางที่พระอัสชิอยู่ตลอดเวลา
    เมื่อราคะพราหมณ์ เป็นพราหมณ์แก่ยากจน ปรารถนาการบวช ไม่มีใครรับรองให้ เพราะว่าคิดว่าหลวงตาแก่ ๆ บวชเข้ามาก็เอาดีไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ใครรู้คุณของพราหมณ์นี้บ้าง"
    พระสาลีบุตร กล่าวว่า ท่านรู้คุณของพราหมณ์นี้ เคยบิณฑบาตรแล้ว ราคะพราหมณ์ ใส่ข้าวให้หนึ่งทัพพี
    พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้นสาลีบุตรเธอจงให้การอุปสมบทแก่ราคะพราหมณ์นี้เถิด" พระสาลีบุตรอุปสมบท คือบวชให้ราคะพราหมณ์ด้วยจิตกตัญญูต่อข้าวหนึ่งทัพพี แล้วเราก็ได้พระอรหันต์ ขีนางค์สงฆ์คือพระราคะเถระ ที่เป็นหลวงตาที่ว่านอนสอนง่ายที่สุดในโลก แม้กระทั่งพระใหม่ที่พึ่งบวช กล่าวตักเตือนท่านก็น้อมรับ กลายเป็นพระผู้เลิศในทางอ่อนน้อมถ่อมตน กลายเป็นพระผู้เลิศในทางว่านอนสอนง่ายขึ้นมา
    วาระสุดท้ายของชีวิต ท่านเป็นโรคกระเพาะ คือกระเพาะทะลุ ถ่ายเป็นโลหิต เป็นกระโถน ๆ รู้ว่าตัวเองถึงเวลาจะนิพพานแล้ว ไปกราบทูลลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลาแล้วไปไหน ชวนน้อง ๆ ของท่าน คือท่านอุปเสนะ ท่านจารา ท่านอุปจาระ ท่านศรีสุปจาระ ท่านกุณทะ ท่านเรวัตตะ กลับไปบ้าน ไปสงเคราะห์แม่ ถ้าหากว่าท่าน ไม่มีจิตกตัญญู คิดว่าตัวเราพ้นแล้ว คนอื่นเป็นอย่างไรก็ช่าง แม่ของท่านซึ่งมีลูก๗คน เป็นพระอรหันต์หมด แต่ตนเองเป็นมิจฉาทิฐิ ก็จะตกอบายภูมิอย่างที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ท่านป่วยหนักกระทั่งใกล้ตายแล้ว ก็ยังกลับไปเทศน์ สงเคราะห์แม่ จนกระทั่งท่านกลายเป็นพระโสดาบัน เมื่อแม่กลายเป็นพระโสดาบัน รู้ว่าลูกคือพระสงฆ์มีคุณความดีขนาดไหน ลูกก็หมดลมหายใจพอดี

    นี่คือพระสาลีบุตรมหาเถระเจ้า ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ในบรรดาสาวกทั้งปวงไม่มีปัญญาผู้ใดยิ่งไปกว่าท่านอีก ในความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ กตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่เลี้ยงดูตนมา กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ก็คิดว่าท่านก็ไม่เป็นรองใคร เราคิดถึงตรงจุดนี้ คุณของพระสงฆ์ตรงจุดนี้ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำตาม ทำให้ได้ เราจะได้เป็นสุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ เป็นสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ที่ปฏิบัติดีแล้ว อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ญายะปฏิปันโน เป็นผู้ยังธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองและแผ่ไพศาลออกไป สามิจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติโดยชอบแล้วคือปฏิบัติดี ปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน ปฏิบัติสมควรแต่การเป็นปูชนียบุคคล ปฏิบัติสมควรต่อการที่ผู้อื่นเคารพกราบไหว้ ปฏิบัติสมควรแก่การที่ผู้อื่นให้การอนุเคราะห์สงเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่

    หรือเราจะนึกถึงพระเถระรูปอื่น ๆ อย่างพระมหาโมคคัลลาเถระเจ้า เป็นพระมหาอัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เลิศด้วยฤทธิ์ สามารถเผยแผ่พระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กว้างไกลไปในชมพูทวีป เป็นผู้ที่มีปกติ ไปนรก ไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน พบผู้ใดทำความดีอย่างไรได้เป็นเทวดาอย่างไร เป็นนางฟ้าอย่างไร เป็นพรหมอย่างไรก็นำมาประกาศต่อมหาชน เพื่อให้คนเหล่านั้นได้ทำตาม เห็นคนลงนรกอย่างไรเพราะทำความชั่วอย่างไร ก็นำมาประกาศต่อมหาชน เพื่อให้เขาเหล่านั้นจะได้ไม่กระทำความชั่วนั้น ๆ

    หรือว่าอย่างพระอัญญาโกญทัญญะเถระ พระอรหันต์องค์แรกของโลก ที่เป็นสาวกอรหันต์ หลังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จไปโปรดสงเคราะห์ ท่านมี ดวงตาเห็นธรรม กลายเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา เป็นผู้เลิศทางรัตตัญญู คือมีประสบการณ์มาก เพราะว่าบวชเป็นพราหมณ์มาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ ท่านมีความดีอย่างไร เราดูตรงจุดนั้น ทำตามตรงจุดนั้น

    หรือว่าพระมหาสัจจายนะเถระเจ้า เป็นผู้เลิศในปฏิสัมภิทายัง เทศน์สั่งสอนผู้อื่นได้เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์เอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับรองไว้ จึงได้มีพระเทตระสูตร ที่เป็นคำเทศน์ของท่านอยู่ในพระไตรปิฏกด้วย

    หรืออย่างพระอานนท์มหาเถระเจ้า ผู้เป็น เอตทัพพะ ถึง๕ประการ ท่านเป็นพระอนุชา หรือน้องชายต่างแม่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุปัจถากพระพุทธเจ้าตั้งแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าสู่พระปรินิพพาน เป็นผู้ที่รู้รอบ รู้ว่าการไหนควร การไหนไม่ควร ที่จะนำคนเข้าหาพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ เป็นผู้ที่รอบคอบ พระพุทธเจ้าไปเทศน์ที่ใดก็ตาม ขอพรเอาไว้ว่าให้กลับมาเทศน์ให้ฟังอีกรอบหนึ่ง ท่านจึงเป็นผู้ที่จดจำพระไตรปิฏกได้ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นกำลังที่สำคัญที่สุดในการสังฆายนาพระไตรปิฏก รวบรวมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่เรา

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราคิดให้ถึง มองให้เห็น หรือไม่ก็มาดูพระเถระในยุคหลัง ๆ มา อย่างหลวงปู่ทวด มรณภาพไปเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว เกียรติคุณของท่านก็ยังคงขจรขจาย เอ่ยถึงหลวงปู่ทวดคนต้องรู้ว่าวัดช้างไห้ หรืออย่างหลวงปู่ครูบาศรีวิชัย มรณะภาพไปเนิ่นนานเหลือเกินแล้ว แต่คุณความดีก็ยังครอบคลุม ทั่วแค้วนลานนาไทย ตลอดจนกระทั่งทั่วประเทศ
    หรืออย่างหลวงปู่มั่น ท่านสร้างพระให้เป็นพระได้มากมายมหาศาลเหลือเกิน แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ ที่มีโอกาสแค่เห็นท่านแค่ทางหน้าต่างรถไฟเพียงแค่แว๊บเดียว คำสอนที่ได้รับก็คือ ตั้งใจทำให้ดีนะ ตั้งใจภาวนานะ ปรากฏว่าลูกศิษย์ของท่านสามารถเป็นหลักชัยของหมู่ชนจำนวนมาก
    หรือไม่ก็หลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆัง เจ้าของต้นตำหรับสมเด็จวัดระฆังอันลือลั่นสนั่นเมือง แต่ละท่านมีปฏิปทาอย่างไร สมเด็จท่านมีปกติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ กล่าววาจาดี กล่าววาจาไพเราะ ไม่เคยขึ้งโกรธใคร ไม่เคยตำหนิใคร กระทั่งสุนัขนอนขวางทางอยู่ หลวงพ่อสมเด็จยังเดินเลี่ยงไป เพื่อที่จะได้ไม่ไปรบกวนสุนัขนั้น แต่ละท่านแต่ละองค์มีปฏิปทาอย่างไร
    หรือหลวงปู่ปานก็ดี หลวงพ่อฤษีลิงดำก็ดี มีปฏิปทาความดีอย่างไร เรานึกถึง ระลึกถึง น้อมเอาคุณนั้นเข้ามาอยู่ใจจิตในใจของเรา นึกถึงรูปของท่านก็ได้ นึกถึงความดีของท่านก็ได้ แล้วตั้งใจทำตาม โดยคิดว่าท้ายที่สุดทุกท่านทุกองค์ก็เข้าสู่พระนิพพานเช่นกัน เราเองเมื่อตายไปแล้วก็ขอไปอยู่กับท่านคืออยู่บนพระนิพพาน ถ้าเราจับสังฆานุสสติดังนี้ กำหนดเป็นภาพพระ พระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่เรารัก เราชอบ พร้อมกับลมหายใจเข้าออก กำหนดว่าท้ายสุดทุกท่านก็อยู่บนพระนิพพาน เราก็เอาใจจับพระนิพพานไว้ หรือไม่ก็กำหนดภาพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระสงฆ์ที่ชอบเรารัก เราเคารพซ้อนอยู่ในกายของท่าน ก็นึกว่าตอนนี้เราอยู่กับพระพุทธจ้า อยู่กับหลวงพ่อ อยู่บนพระนิพพาน กำหนดใจไว้อยู่อย่างนี้ทุกวัน ๆ ประกอบกับลมหายใจเข้าออก เพื่อให้กรรมฐานทรงตัว

    อย่าลืมว่าหลวงปู่หลวงพ่อทุกรูปทุกนามท้ายสุดก็มรณภาพ ท้ายสุดก็ไปพระนิพพาน พระผู้ทรงความดีขนาดนั้น ไม่มีใครอยู่ยงดำรงขันธ์ ล้วนแล้วแต่ตายทั้งสิ้น เราเองก็ต้องตาย ตายแล้วถ้าเราเกิดก็ทุกข์อีก ดังนั้นเราไปนิพพานดีกว่า ก็เอาจิตเกาะพระนิพพานไว้แทนดังนี้ แล้วพยายามรักษาอารมณ์ที่สุข ที่เยือกเย็นนี้ไว้อยู่กับเราให้นานที่สุด เราก็จะเข้าถึงความพ้นทุกข์เช่นเดียวกับท่านในอนาคตเช่นกัน

    คราวนี้ทุกคนก็คลายกำลังใจออกมาช้า ๆ ระมัดระวัง รักษาประคับประคองมันเอาไว้ เพื่อเราจะได้ทำหน้าที่ของเราต่อไป.......







    </TABLE>
    </TR>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2005
  5. Jdin_buddhism

    Jdin_buddhism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +10,153
    สวยจังเลย น่าอ่านดีน่ะครับ สาธุ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...