ไฟล์ที่สอง อานาปานสติ,ภาพพระ,พุทธคุณ

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 22 กันยายน 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2014[/MUSIC]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    เรื่องหยาบๆ แค่การปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดประตู ถ้ายังหลง ๆ ลืม ๆ อยู่การปฏิบัติจะไม่มีผลเพราะว่าของหยาบเราทำไม่ได้ ของละเอียดก็เข้าไม่ถึง เราต้องยิ่งปฏิบัติยิ่งละเอียดรอบคอบขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงจะใช้ได้ เรื่องอื่น ๆ อาจจะมีหลงมีลืมไปบ้างตามสภาพร่างกายที่มันแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่เป็นไร แต่เรื่องอะไรก็ตามที่มันจะก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่าให้มันหลงลืม ขอย้ำอีกทีว่าส่วนหยาบเรายังทำไม่ได้ ส่วนละเอียดเราก็จะเข้าไม่ถึง ทุกคนนั่งในท่าสบายทั้งตัว นั่งตัวตรง ๆ บาลีบอกว่าอุทุมกายัง ตั้งกายให้ตรงแต่ไม่ใช่เกร็งร่างกาย เป็นการนั่งตัวตรงตามสบาย ๆ อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง กร้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งอย่าไปเกร็งอย่าไปฝืนมัน ปิดปากลงเบา ๆ ปลายลิ้นแตะเพดานไว้ แตะไม่ใช่กด หลับตาลง เหมือนกับเรานึกย้อนเข้าไปในกระโหลกศรีษะของเรา จนกระทั่งมันค่อย ๆ ไหลลงไปในอกลงไปสุดที่ท้อง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่จุดของลมหายใจที่ท้อง หายใจเข้านึกว่าพุทธ หายใจออกนึกว่าโธ หรือใช้คำภาวนาใดก็ได้ที่เราถนัด ที่แนะนำให้ใช้พุทธโธเพราะว่าสั้นดี สามารถจับคำภาวนาได้ง่าย กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอกลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอกไปสุดที่ปลายจมูก การกำหนดลมหายใจนั้น ไม่ใช่การบังคับลมหายใจ เป็นการกำหนดความรู้สึกตามลมหายใจเข้าไป ตอนนั้นร่างกายมันต้องการลมหายใจแรงก็ดี ต้องการเบาก็ดี ต้องการยาวก็ดี ต้องการสั้นก็ดี เราแค่กำหนดรู้เท่านั้น เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า ถ้ามันส่งไปที่อื่น ไปนึกถึงเรื่องอื่น ให้ดึงมันกลับมาอยู่กับลมหายใจของเรา พอมันเคลื่อนไปเราดึงกลับมา พอมันเคลื่อนไปเราดึงกลับมา ทำไปนาน ๆความคล่องตัวมีมาก อารมณ์ใจทรงตัว แค่นึกปุ๊บความรู้สึกก็จะอยู่กับลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทั้งปวง ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกสติจะไม่ตั้งมั่นทรงตัว สมาธิจะเกิดไม่ได้ ดังนั้นการปฏิบัติทุกวัน เราทิ้งลมหายใจไม่ได้ หายใจเข้ารู้อยู่ หายใจออกรู้อยู่ เหล่านี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่จุดสุดของลมหายใจ คือไว้ที่ท้อง มันจะเป็นฐานที่ 3 ฐานที่ 7 อย่างไรแล้วแต่เราถนัด ให้รู้ว่าลมหายใจมันลงไปไปสุดตรงนั้น นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เรารักเราชอบมากที่สุด จะเป็นพระปางอะไรก็ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไรก็ได้ เป็นภาพพระพุทธเจ้าในลักษณะพระสงฆ์ก็ได้ ในลักษณะพระพุทธองค์ที่เรารักเราชอบก็ได้ ในกายพระวิสุทธิเทพก็ได้ เมื่อหายใจเข้าให้ไปสุดที่พระพุทธรูป หายใจออก พระพุทธรูปไหลตามลมหายใจออกมา หายใจเข้าพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆใสสว่างไหลตามลมเข้าไป ผ่านกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระพุทธรูป ไหลออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก หายใจเข้าภาพพระไหลเข้าสว่างไสว อยู่ในท้อง หายใจออกภาพพระไหลออก สว่างไสวอยู่ที่ปลายจมูก

    คราวนี้กำหนดลมหายใจนิ่งที่ภาพพระที่อยู่ที่ท้อง หายใจเข้าพระก็สว่างขึ้น หายใจออกพระก็สว่างขึ้น หายใจเข้าพระก็สว่างขึ้น หายใจออกพระก็สว่างขึ้น ให้อยู่นิ่งอยู่ที่ท้อง กำหนดความรู้สึกอยู่ทีท้องเพียงอย่างเดียว

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกเลื่อนภาพพระขึ้นมาตรงจุดกลางอก ตรงที่เรารู้สึกว่าลมหายใจผ่าน แรงที่สุด หายใจเข้าลมหายใจเข้าที่จมูก ผ่านองค์พระที่ใสสว่างอยู่กลางอก ลงไปสุดที่ท้อง ความรู้สึกอยู่ที่ส่วนใหญ่อยู่ที่พระที่สว่างไสวอยู่กลางอก หายใจออกจากท้องผ่านภาพพระที่สว่างไสวกลางอกมาสุดที่ปลายจมูก หายใจเข้าภาพพระอยู่กลางอกสว่างไสว หายใจออกภาพพระที่อยู่กลางอกสว่างไสว แล้วกำหนดความรู้สึกเลื่อนภาพพระขึ้นมาอยู่ในศรีษะของเรา จะชัดหรือไม่ชัดไม่เป็นไร
    ให้เรามั่นใจว่ามีพระอยู่เป็นใช้ได้ อย่าไปใช้สายตาบังคับเห็น เอาความรู้สึกเท่านั้น
    ว่านั่นเป็นองค์พระ พระอยู่ในศรีษะของเรา หายใจเข้าลมหายใจเข้าที่จมูกพระสว่างไสวอยู่ในศรีษะของเรา ลมหายใจผ่านอกลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกลมหายใจจากท้องผ่านอกลงไปสุดที่ปลายจมูก แต่ภาพพระนั้นสว่างไสวอยู่ในกระโหลกศรีษะของเรา หายใจเข้าภาพพระในกระโหลกศรีษะของเราสว่างไสวไปทั่ว หายใจออกภาพพระในกระโหลกศรีษะของเราสว่างไสวไปทั่ว

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมด เลื่อนภาพพระไปอยู่ตรงหน้าของเรา กะว่าอยู่ห่างสักประมาณช่วงแขนเอื้อมถึง ไปสว่างไสวลอยอยู่ข้างหน้า หายใจเข้าภาพพระก็สว่าง หายใจออกภาพพระก็สว่าง เอาใจจดจ่ออยู่กับภาพพระตรงหน้าของเรา อย่าใช้สายตา ให้กำหนดความรู้สึกสบายสบาย ขอย้ำอีกทีอย่าใช้สายตา จะเห็นชัดหรือไม่ชัดก็ตามให้เรารู้สึกว่ามีภาพพระอยู่ตรงหน้าก็ใช้ได้แล้ว หายใจเข้าภาพพระตรงหน้าสว่างไสว หายใจออกภาพพระตรงหน้าก็สว่างไสว

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดเลื่อนภาพพระไปอยู่ข้างหลัง ไปอยู่ด้านหลังของเรา ในระดับเดียวกับศรีษะเรา หันหน้ามาด้านเดียวกับเรา หายใจเข้านึกถึงพระทางด้านหลังสว่างไสวอยู่ หายใจออกนึกถึงภาพพระด้านหลังที่สว่างไสวอยู่ หายใจเข้านึกถึงพระทางด้านหลังสว่างไสวอยู่ หายใจออกนึกถึงภาพพระด้านหลังที่สว่างไสวอยู่ พุทธโธภาพพระข้างหลังสว่างไสว พุทธโธภาพพระข้างหลังสว่างไสวนึกอยู่อย่างนั้น ความรู้สึกอย่าให้เลื่อนไปที่อื่นถ้าจะรู้ลมหายใจเข้าออกพร้อมคำภาวนา ให้เป็นความรู้สึกส่วนน้อย จาก 2 ส่วน 3 ส่วนเท่านั้น ความรู้สึก 7 ส่วน 8 ส่วนกำหนดนิ่งอยู่ที่ภาพพระเท่านั้น

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดเลื่อนภาพพระขึ้นไปอยู่บนศรีษะ ภาพพระลอยอยู่เหนือศรีษะของเรา สว่างไสวอยู่ตรงนั้น ตอนนี้เราไม่ต้องไปสนใจเรื่องปลายจมูก หายใจเข้าคิดว่าลมหายใจขาวสะอาดไหลจากพระ ผ่านกระหม่อมของเราลงไปที่อก ลงไปที่ท้อง หายใจออกลมหายใจไหลออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก ออกไปทางกระหม่อมสุดที่ภาพพระนั้น หายใจเข้าเหมือนกับหายใจจากเหนือศรีษะลงไป หายใจออกเหมือนกับออกไปที่เหนือศรีษะที่เป็นภาพพระนั้น

    ความรู้สึกให้กำหนดไว้ที่ภาพพระ ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาพพระ ตอนนี้พระสว่างไสวอยู่ที่เหนือศรีษะของเรา หายใจเข้าลมหายใจที่ขาวใสสะอาดไหลตามลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกลมหายใจที่ขาวสว่างสะอาดไหลออกไปสุดที่องค์พระ ความสว่างไสวของพระกำหนดลงมาให้คลุมกายเราทีละน้อย ๆ ไม่ต้องพรึบพรั่บเลยทีเดียว ค่อยๆ ลงมา ลงมาที่ศรีษะ สว่างไปแล้ว สว่างถึงลูกตา ระดับดวงตา ถึงระดับใบหู ถึงระดับคาง สว่างลงไปถึงหัวไหล่ ถึงต้นแขน ถึงกลางอก ถึงท้อง ถึงสว่นกลาง ถึงตลอดร่าง หายใจเข้าภาพพระสว่างขึ้น ตัวเราก็สว่างขึ้น หายใจออก ภาพพระสว่างขึ้นตัวเราก็สว่างขึ้น หายใจเข้าภาพพระสว่างตัวเราสว่าง หายใจออกภาพพระสว่างตัวเราสว่าง

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกใหม่หายใจเข้าภาพพระไหลลงจากศรีษะลงไปที่ท้องจากองค์ใหญ่เป็นเล็กลงไปสุดอยู่ที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลจากท้องไปสุดอยู่ที่ศรีษะ กลายเป็นองค์ใหญ่ หายใจเข้าองค์เล็กไปสุดอยู่ที่ท้อง หายใจออกองค์ใหญ่ไปสุดอยู่ทีศรีษะ พุทธโธภาพพระใสใสไปอยู่ที่ท้องเป็นองค์เล็ก พุทธโธ ภาพพระใสใสขึ้นไปอยู่ที่ศรีษะเป็นองค์ใหญ่

    คราวนี้ให้กำหนดใจนิ่งอยู่ที่ภาพพระที่อยู่บนศรีษะ น้อมจิตน้อมใจกราบลงตรงจุดนั้น ให้ตั้งใจว่านั่นคือองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะนี้พระองค์ท่านมาโปรดเรา การที่จะเกิดมาเป็นคนสักชาติหนึ่งก็แสนยาก เกิดมาแล้วจะได้พบพระพุทธศาสนาก็แสนยาก พบพระพุทธศาสนาจะได้ฟังธรรมก็แสนยาก ได้ฟังธรรมแล้วจะเกิดความเลื่อมใสก็แสนยาก เลื่อมใสแล้วจะปฏิบัติตามให้ได้ผลก็แสนยาก ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่เหนือเศียร เหนือเกล้าของเรา พระรัศมีที่ใสสว่างครอบคลุมลงมา ทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจของเราสว่างไสวไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นพระอริยะมนุษย์ สุดประเสริฐ มีพระปัญญาธิคุณอันล้ำเลิศ สามารถตรัสรู้พบเห็นอริยะสัจ ที่ไม่มีใครพบเห็นได้ พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ตรากตรำพระวรกายสั่งสอนสัตว์โลกอยู่ 45 ปีเต็ม ๆ 45 ปีที่พระองค์ท่านอดตาหลับขับตานอนสอนพวกเรา เนื่องจากเพราะเห็นว่าพวกเราจะโปรดได้ จะสังเคราะห์ได้ ในแต่ละคืนพระองค์ท่านจะได้บรรทมสักชั่วโมง 2ชั่วโมงก็แสนยาก ในบาลีกล่าวถึงพุทธกิจ 5 ประการว่า สุพรรณเห ปิงทะปาตันจะ เช้าขึ้นมาก็เสด็จออกบิณฑบาตร พระองค์ท่านทรงเสด็จบิณฑบาตรตลอดพระชนม์ชีพ สายันห์เห ธรรมเทศนัง ตอนบ่ายก็เทศน์โปรดสั่งสอนประชาชน ปโรเส ภิกขุโอวาทัง ค่ำลงมาให้โอวาทสั่งสอนพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี และศิษย์ภาวนาทั้งหลาย อรรครเตเทวกรรหานัง เที่ยงคืนไปแล้วแก้ปัญญหาให้กับตนที่เค้าสงสัย หรือเทศน์โปรดเทวดาตนที่มาขอฟังธรรม ปฏิเสวะ คตกาเล พภาพเทวิโลกะนัง พอใกล้รุ่งอย่างเช่นตอนนี้เวลานี้พระองค์ท่านก็จะสอดส่องตรวจดูอุปนิสัยสัตว์โลก ว่าสมควรจะเสด็จไปโปรดผู้ใด สรุปแล้วลองคิดง่าย ๆ ดูว่าพระองค์ท่านมีเวลาบรรทมคือนอนอย่างพวกเราคืนหนึ่งกี่ชั่วโมง พระองค์ท่าน
    ตรากตรำพระวรกายลักษณะนี้ 45 ปีเต็ม ๆ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ เพื่อสงเคราะห์พวกเรา เห็นว่าพวกเราสอนได้ มีโอกาสที่จะทำเพื่อความหลุดพ้นได้ พระองค์ท่านทุ่มเทชีวิตจนกระทั่งวาระสุดท้ายก็เพื่อพวกเรา และขณะนี้พระองค์ท่านเสด็จอยู่เหนือเศียรเหนือเกล้าของเรา พร้อมที่จะรับเราไปสู่พระนิพพาน พร้อมที่จะสนับสนุนความดีในทุก ๆด้านของเรา พระองค์ท่านประทับอยู่อย่างนั้นทุกวันทุกเวลาไม่ได้ไปไหน แต่เราเคยเอาจิตใจจดจ่อกับพระองค์ท่านสักวันละเท่าไหร่ กี่นาที กี่ชั่วโมง หรือว่าลืมโดยสิ้นเชิง พระองค์ท่านประกอบไปด้วยพระบริสุทธิคุณคือชำระจิตใจของท่านให้ผ่องใสจากกิเลสได้อย่างวิเศษยิ่ง ไม่มีใครทำได้ดีกว่าพระองค์ท่านอีกแล้ว เมื่อประกอบไปด้วยปัญญาธิคุณอันล้ำเลิศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ พระบริสุทธิ์คุณอันสิ้นเชิงนี่แหละ พระองค์ท่านถึงเป็นพระพุทธเจ้า คำประพันธ์สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าเราสวดอยู่ทุกวัน อันว่าอิติปิโส ภควา แม้เพราะเหตุนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น อรหังสัมมาสัมพุทธโธ เป็นพระผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้โดยชอบ วิชชาจรณสัมปัณโณ ถึงพร้อมเพียบพร้อมในเรื่องความรู้และความประพฤติที่ดีทั้งปวง สุขโต พระองค์ท่านไปดีแล้ว ในทางโลกคือจะไปที่ไหนก็ตามก็สร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ให้เกิ ปลูกฝังธรรมะในจิตในใจของคน ในทางธรรมพระองค์ท่านไปพระนิพพานแน่นอนแล้ว โลกะวิทูรย์ เป็นผู้รู้แจ้งในโลก โลกคือหมู่สัตว์ กี่ภพกี่ภูมิ กี่หมู่กี่เหล่าพระองค์ท่านรู้แจ้งเห็นจริงหมด ใครสร้างกรรมอย่างไรถึงได้รับผลแห่งความทุกข์พระองค์ท่านรู้หมด ใครสร้างบุญอย่างไรถึงได้รับผลของความสุขพระองค์ท่านรู้หมด จะทำอย่างไรถึงจะหลุดพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงพระองค์ท่านรู้ทั้งหมด รู้โลกภายในคือกายนี้ รู้โลกภายนอกคือกายคนอื่น รู้โอกรรตโลก คือโลกนี้ที่เป็นที่อยู่ทั้งหมดนี้ตลอดถึงดวงดาวจักรวาลทุกจักรวาลพระองค์ท่านรู้หมดรู้ครบจึงชื่อว่าโลกวิทูรย์ อนุตตโล ปุริสธรรมสารถิ ทรงเป็นผู้ควบคุม ผู้ฝึกสอนที่ยอดเยี่ยมไม่มีใครเหนือไปกว่านี้อีกแล้ว สัทถาเทวมนุษย์ถานัง พระองค์ท่านเป็นศาสดาคือเป็นครู สอนทั้งมนุษย์และเทวดา สอนทั้งคนทั้งเทวดา นางฟ้า ปนไปด้วย พุทโธ ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตืน อยู่ตลอดเวลา จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่ง พระองค์ท่านรู้ตัวอยู่ตลอด รู้ว่าร่างกายนี่มันทุกข์ รู้ว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจมอยู่ในกองทุกข์ รู้ว่าร่างกายนี่มันต้องตาย หายใจเข้าไม่หายใจออกมันก็ตาย หายใจออกไม่หายใจเข้ามันก็ตาย รู้ว่าตายแล้วพระองค์ท่านไปพระนิพพาน ภควา ถือเอาของศัพท์ว่าเป็นผู้มีโทษ เสด็จไปที่ใดก็ตามสร้างความสมบูรณ์พูนสุขทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งอริยทรัพย์และโลกีย์ทรัพย์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย อีกศัพท์หนึ่งกล่าวว่าเป็นผู้จำแนกแจกธรรม คือนำธรรมะไปสั่งสอนคนอื่นเขา พระองค์ท่านตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง แล้วสอนธรรมะนั้นแก่ผู้อื่นให้ตรัสรู้ตาม บัดนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นอัจฉริยะมนุษย์สุดประเสริฐล้ำเลิศกว่าผู้ใด ประทับอยู่เหนือเศียรเหนือเกล้าของพวกเราแล้ว ทุกวันทุกเวลาให้มากที่สุดในแต่ละวัน เอาจิตจดจ่ออยู่กับพระองค์ท่านตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา พระพุทธเจ้าไม่ที่ตรงไหนเลย นอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคืออยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่ บนพระนิพพาน เอาใจเกาะภาพนี้ไว้คือเอาใจเกาะพระนิพพาน หายใจเข้าพระรัศมีที่สว่างไสวก็ครอบคลุมกายเรามา หายใจออก พระรัศมีที่สว่างไสวก็ครอบคลุมกายของเราเรามา หายใจเข้าครั้งหนึ่ง หายใจออกครั้งหนึ่ง นึกถึงภาพพระองค์ท่าน นึกถึงคำภาวนา คือเราเข้าไปไกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่งหายใจเข้าใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่งหายใจออกใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง ให้ตั้งใจว่าขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ขอเกิดมามีมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากเร่าร้อนนี้เราไม่ขอมาเกิดอีก การเป็นเทวดาเป็นพรหมที่มีสุขชั่วคราวเราก็ไม่ปรารถนา ตายเมื่อไหร่เราขอไปอยู่พระนิพพานกับพระองค์ท่านเท่านั้น หายใจเข้าภาพพระไหลตามลมหายใจเข้าไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลตามลมหายใจออกมาอยู่ที่เหนือศรีษะ ทุกวันทุกเวลาให้มากที่สุด เอาใจเกาะไว้ดังนี้ให้ได้ ตอนนี้ให้แบ่งความรู้สึกออกเป็นสองส่วน ความรู้สึกสัก 20 30% ให้คลุมภาพพระ ไว้อย่างนั้นจดจ่อไว้อย่างนั้น ความรู้สึกที่เหลือทั้งหมดกำหนดให้กายมันเคลื่อนไหวเพื่อทำหน้าที่ของเรา ตั้งใจว่าเราจะทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นธรรมะบูชา สังฆะบูชา ถ้ามันตายวันนี้เราขอไปพระนิพพาน กำหนดใจให้มั่นคงดังนี้แล้วเตรียมตัวทำวัดต่อได้

    **********************************************************************************

    *ภาษาบาลี หลายคำ ผู้ถอดคำไม่มีความเชี่ยวชาญ รบกวนผู้รู้ช่วยแก้ไขด้วยค่ะ*
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2005
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    greeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeed น้องแป้ง ขออนุโมทนาบุญ
    วันหยุดผมจะมาช่วย เรื่องช่องไฟการพิมพ์ การเว้นวรรค์ และช่วยดูคำเท่าที่รู้
     
  4. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    ไฟล์ที่สอง อานาปานสติ,ภาพพระ,พุทธคุณ


    เรื่องหยาบ ๆ แค่การปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดประตู ถ้ายังหลง ๆ ลืม ๆ อยู่การปฏิบัติจะไม่มีผล เพราะว่าของหยาบเราทำไม่ได้ ของละเอียดก็เข้าไม่ถึง เราต้องยิ่งปฏิบัติ ยิ่งละเอียดรอบคอบขึ้นไปเรื่อย ๆถึงจะใช้ได้ เรื่องอื่น ๆ อาจจะมีหลง มีลืมไปบ้าง ตามสภาพร่างกายที่มันแก่ขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เป็นไร แต่เรื่องอะไรก็ตาม ที่มันจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ อย่าให้มันหลงลืม

    ขอย้ำอีกทีว่าถ้าหากว่าส่วนหยาบ เรายังทำไม่ได้ ส่วนละเอียดเราจะเข้าไม่ถึง

    ทุกคนนั่งในท่าสบายของตัว นั่งตัวตรง ๆ บาลีบอกว่า ”อุชุมกายัง” ตั้งกายให้ตรง แต่ไม่ใช่เกร็งร่างกาย เป็นการนั่งตัวตรงตามสบาย ๆ อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง อย่าไปเกร็งอย่าไปฝืนมัน ปิดปากลงเบา ๆ ปลายลิ้นแตะเพดานไว้ แตะไม่ใช่กด หลับตาลง เหมือนกับเรานึกย้อนเข้าไปในกะโหลกศีรษะของเรา จนกระทั่งมันค่อย ๆ ไหลลงไปในอกลงไปสุดที่ท้อง กำหนดวามรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่สุดของลมหายใจที่ท้อง หายใจเข้านึกว่าพุทธ หายใจออกนึกว่าโธ หรือใช้คำภาวนาใดก็ได้ที่เราถนัด ที่แนะนำให้ใช้พุทธโธเพราะว่าสั้นดี สามารถจับคำภาวนาได้ง่าย กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอกลงไปสุดที่ท้อง หายใจออก ออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอกมาสุดที่ปลายจมูก การกำหนดลมหายใจนั้น ไม่ใช่การบังคับลมหายใจ เป็นการกำหนดความรู้สึกตามลมหายใจเข้าไป ตอนนั้นร่างกายมันต้องการลมหายใจแรงก็ดี ต้องการเบาก็ดี ต้องการยาวก็ดี ต้องการสั้นก็ดี เราแค่กำหนดรู้เท่านั้น เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่กับลมหายใจเข้า-ออกเฉพาะหน้า ถ้ามันส่งไปที่อื่น ไปนึกถึงเรื่องอื่น ให้ดึงมันกลับมาอยู่กับลมหายใจเข้า-ออกใหม่ พอมันเคลื่อนไปเราดึงกลับมา พอมันเคลื่อนไปเราดึงกลับมา ทำไปนาน ๆความคล่องตัวมีมาก อารมณ์ใจทรงตัว แค่นึกปุ๊บความรู้สึกทั้งหมดก็จะอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทั้งปวง ถ้าไม่มีลมหายใจเข้า-ออก สติจะไม่ตั้งมั่นทรงตัว สมาธิจะเกิดได้ยาก
    ดังนั้นการปฏิบัติในทุกวัน เราทิ้งลมหายใจเข้า-ออกไม่ได้ หายใจเข้ารู้อยู่ หายใจออกรู้อยู่


    คราวนี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไว้ที่จุดสุดของลมหายใจ คือไว้ที่ท้อง มันจะเป็นฐานที่ 3 ฐานที่ 7 อย่างไรแล้วแต่เราถนัด ให้รู้ว่าลมหายใจมันลงไปสุดตรงนั้น

    นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เรารักเราชอบมากที่สุด จะเป็นพระปางอะไรก็ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไรก็ได้ เป็นภาพพระพุทธเจ้าในลักษณะพระสงฆ์ก็ได้ ในลักษณะพระพุทธองค์ที่เรารักเราชอบก็ได้ ในกายพระวิสุทธิเทพก็ได้

    เมื่อหายใจเข้าให้ไปสุดที่พระพุทธรูป หายใจออก พระพุทธรูปไหลตามลมหายใจออกมา หายใจเข้าพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ใสสว่างไหลตามลมเข้าไป ผ่านกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระพุทธรูป ไหลออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก หายใจเข้าภาพพระไหลเข้า สว่างไสวอยู่ในท้อง หายใจออกภาพพระไหลออก สว่างไสวอยู่ที่ปลายจมูก

    คราวนี้กำหนดใจนิ่งอยู่ที่ภาพพระที่อยู่ที่ท้อง หายใจเข้าพระก็สว่างขึ้น หายใจออกพระก็สว่างขึ้น หายใจเข้าพระก็สว่างขึ้น หายใจออกพระก็สว่างขึ้น ให้อยู่นิ่งอยู่ที่ท้อง กำหนดความรู้สึกหยุดอยู่ที่ท้องแห่งเดียว

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกเลื่อนภาพพระขึ้นมาตรงจุดกลางอก ตรงที่เรารู้สึกว่าลมหายใจผ่าน แรงที่สุด หายใจเข้าลมหายใจเข้าที่จมูก ผ่านองค์พระที่ใสสว่างอยู่กลางอก ลงไปสุดที่ท้อง ความรู้สึกส่วนใหญ่อยู่ที่องค์พระที่อยู่กลางอก หายใจออกจากท้องผ่านภาพพระที่สว่างไสวอยู่กลางอกมาสุดที่ปลายจมูก หายใจเข้าภาพพระอยู่กลางอกสว่างไสว หายใจออกภาพพระที่อยู่กลางอกสว่างไสว

    แล้วกำหนดความรู้สึกเลื่อนภาพพระขึ้นมาอยู่ในศีรษะของเรา จะชัดหรือไม่ชัดไม่เป็นไร ให้เรามั่นใจว่ามีภาพพระอยู่ก็ใช้ได้ อย่าไปใช้สายตาบังคับเห็น เอาความรู้สึกเท่านั้น ว่านั่นเป็นองค์พระ พระอยู่ในศีรษะของเรา หายใจเข้าลมหายใจเข้าที่จมูก พระสว่างไสวอยู่ในศีรษะของเรา ลมหายใจผ่านอกลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกลมหายใจออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอกลงมาสุดที่ปลายจมูก
    แต่ภาพพระนั้นสว่างไสวอยู่ในศีรษะของเรา หายใจเข้าภาพพระในกะโหลกศีรษะของเราสว่างไสวไปทั่ว หายใจออกภาพพระในกะโหลกศีรษะของเราสว่างไสวไปทั่ว

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมด เลื่อนภาพพระไปตรงหน้าของเรา กะว่าอยู่ห่างสักประมาณช่วงแขนเอื้อมถึง ไปสว่างไสวลอยอยู่ข้างนอกตรงหน้า หายใจเข้าภาพพระก็สว่าง หายใจออกภาพพระก็สว่าง เอาใจจดจ่ออยู่กับภาพพระตรงหน้าของเรา อย่าใช้สายตา ให้กำหนดความรู้สึกสบายสบาย
    ขอย้ำอีกทีอย่าใช้สายตา จะเห็นชัดหรือไม่ชัดก็ตามให้เรารู้สึกว่ามีภาพพระอยู่ตรงหน้าก็ใช้ได้แล้ว หายใจเข้าภาพพระตรงหน้าเราสว่างไสว หายใจออกภาพพระตรงหน้าเราสว่างไสว

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมด เลื่อนภาพพระไปอยู่ข้างหลัง ไปอยู่ด้านหลังของเรา ในระดับเดียวกับศีรษะของเรา หันหน้ามาด้านเดียวกับเรา หายใจเข้านึกถึงภาพพระข้างหลังสว่างไสวอยู่ หายใจออกนึกถึงภาพพระข้างหลังที่สว่างไสวอยู่ พุทธโธภาพพระข้างหลังสว่างไสว พุทธโธภาพพระข้างหลังสว่างไสวนึกอยู่อย่างนั้น ความรู้สึกอย่าให้เลื่อนไปที่อื่น ถ้าจะรู้ลมหายใจเข้าออกพร้อมคำภาวนา ให้เป็นความรู้สึกส่วนน้อย สัก 2 ส่วน 3 ส่วนเท่านั้น อีก 7 ส่วน 8 ของเราทั้งหมด กำหนดนิ่งอยู่ที่ภาพพระเท่านั้น

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกทั้งหมด เลื่อนภาพพระขึ้นไปอยู่บนศีรษะ ภาพพระลอยอยู่เหนือศีรษะของเรา สว่างไสวอยู่ตรงนั้น ตอนนี้เราไม่ต้องไปสนใจเรื่องปลายจมูก หายใจเข้าคิดว่าลมหายใจขาวสะอาดไหลจากพระ ผ่านกระหม่อมของเราลงไปที่อก ลงไปที่ท้อง หายใจออกลมหายใจไหลออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก ออกไปทางกระหม่อมสุดที่ภาพพระนั้น หายใจเข้าเหมือนเราหายใจจากเหนือศีรษะลงไป หายใจออกเหมือนกับออกไปที่เหนือศีรษะที่ตรงภาพพระนั้น

    ความรู้สึกให้กำหนดไว้ที่ภาพพระ ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาพพระ ตอนนี้พระสว่างไสวอยู่เหนือศีรษะของเรา หายใจเข้าลมหายใจที่ขาวใสสะอาดไหลตามลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกลมหายใจที่ขาวสว่างสะอาด ไหลออกไปสุดที่องค์พระ ความสว่างไสวของพระ กำหนดลงมาให้คลุมกายเราทีละน้อย ๆ ไม่ต้องพรึบพรั่บไปทีเดียว ค่อยๆ ลงมา ลงมาที่เหนือศีรษะ สว่างไปแล้ว สว่างลงมาถึงลูกตา ถึงระดับดวงตา ถึงระดับใบหู ถึงระดับคาง สว่างลงไปถึงหัวไหล่ ถึงต้นแขน ถึงกลางอก ถึงท้อง ถึงเชิงกราน ถึงตลอดร่าง หายใจเข้า ภาพพระสว่างขึ้น ตัวเราก็สว่างขึ้น หายใจออกภาพพระสว่างขึ้น ตัวเราก็สว่างขึ้น หายใจเข้าภาพพระสว่างตัวเราสว่าง หายใจออกภาพพระสว่างตัวเราสว่าง

    คราวนี้กำหนดความรู้สึกใหม่ หายใจเข้าภาพพระไหลจากศีรษะลงไปที่ท้อง จากองค์ใหญ่เป็นเล็กลงไปสุดอยู่ ที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลออกจากท้องขึ้นไปอยู่บนศีรษะ กลายเป็นองค์ใหญ่ หายใจเข้าองค์เล็กลงไปสุด
    ที่ท้อง หายใจออกองค์ใหญ่ไปสุดอยู่ที่ศีรษะ พุทธโธ ภาพพระใสใสไปอยู่ที่ท้องเป็นองค์เล็ก พุทธโธ ภาพพระใสใสขึ้นไปอยู่ที่ศีรษะเป็นองค์ใหญ่

    คราวนี้ให้กำหนดใจนิ่งอยู่ที่ภาพพระบนศีรษะ น้อมจิตน้อมใจกราบลงตรงจุดนั้น ให้ตั้งใจว่านั่นคือ”องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า” ขณะนี้พระองค์ท่านมาโปรดเรา การที่จะเกิดมาเป็นคนสักชาติหนึ่งก็แสนยาก เกิดมาแล้วจะได้พบพระพุทธศาสนาก็แสนยาก พบพระพุทธศาสนาจะได้ฟังธรรมก็แสนยาก ได้ฟังธรรมแล้วจะเกิดความเลื่อมใสก็แสนยาก เลื่อมใสแล้วจะปฏิบัติตามให้ได้ผลก็แสนยาก ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่เหนือเศียร เหนือเกล้าของเรา พระรัศมีที่ใสสว่างครอบคลุมลงมา ทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจของเราสว่างไสวไปหมด

    พระพุทธเจ้าเป็นพระอริยะมนุษย์ สุดประเสริฐ มีพระปัญญาธิคุณอันล้ำเลิศ สามารถตรัสรู้พบเห็นอริยะสัจ ที่ไม่มีใครพบเห็นได้ พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ตรากตรำพระวรกายสั่งสอนสัตว์โลกอยู่ 45 ปีเต็ม ๆ 45 ปีที่พระองค์ท่าน อดตาหลับขับตานอนสอนพวกเรา เนื่องจากเพราะเห็นว่าพวกเราจะโปรดได้ จะสงเคราะห์ได้ ในแต่ละคืนพระองค์ท่านจะได้บรรทมสักชั่วโมง สองชั่วโมงก็แสนยาก

    ในบาลีกล่าวถึงพุทธกิจ 5 ประการว่า

    “ปุญพรรณเห ปิงทะปาตันจะ” เช้าขึ้นมาก็เสด็จออกบิณฑบาตร พระองค์ท่านเสด็จบิณฑบาตรตลอดพระชนม์ชีพ

    “สายันห์เห ธรรมเทศนัง” ตอนบ่ายก็เทศน์โปรดสั่งสอนประชาชน

    “ปโทเส ภิกขุโอวาทัง” ค่ำลงมาให้โอวาทสั่งสอนพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี และสิกขวนาทั้งหลาย

    “อรรทร เต เทว ปัญหา นัง” เที่ยงคืนไปแล้วแก้ปัญหาให้กับ เทวดา พรหม ที่เค้าสงสัย หรือเทศน์โปรด เทวดา พรหม ที่มาขอฟังธรรม

    “ปจุเสวะ คตกาเล พภา พเท วิโลกะนัง” พอใกล้รุ่งอย่างเช่นตอนนี้เวลานี้ พระองค์ท่านก็จะสอดส่องตรวจดูอุปนิสัยสัตว์โลก ว่าสมควรจะเสด็จไปโปรดผู้ใด

    สรุปแล้วลองคิดง่าย ๆ ดูว่าพระองค์ท่านมีเวลาบรรทมคือนอนอย่างพวกเราคืนหนึ่งกี่ชั่วโมง พระองค์ท่านตรากตรำพระวรกายลักษณะนี้ 45 ปีเต็ม ๆ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ เพื่อสงเคราะห์พวกเรา เห็นว่าพวกเราสอนได้ มีโอกาสที่จะทำเพื่อความหลุดพ้นได้ พระองค์ท่านทุ่มเทชีวิต จนกระทั่งวาระสุดท้าย ก็เพื่อพวกเรา และขณะนี้พระองค์ท่านเสด็จอยู่เหนือเศียรเหนือเกล้าของเรา พร้อมที่จะรับเราไปสู่พระนิพพาน พร้อมที่จะสนับสนุนความดีในทุก ๆ ด้านของเรา

    พระองค์ท่านประทับอยู่อย่างนั้น ทุกวันทุกเวลา ไม่ได้ไปไหน แต่เราเคยเอาจิตใจจดจ่อกับพระองค์ท่านสักวันละเท่าไหร่ กี่นาที กี่ชั่วโมง หรือว่าลืมโดยสิ้นเชิง พระองค์ท่านประกอบไปด้วยพระบริสุทธิ์คุณคือชำระจิตใจของพระองค์ท่านให้ผ่องใสจากกิเลสได้อย่างวิเศษยิ่ง ไม่มีใครทำได้ดีกว่าพระองค์ท่านอีกแล้ว เมื่อประกอบไปด้วยพระปัญญาธิคุณอันล้ำเลิศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ พระบริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิงนี่แหละ พระองค์ท่านถึงเป็นพระพุทธเจ้า คำประพันธ์สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าเราสวดอยู่ทุกวัน อันว่า

    อิติปิโส ภควา แม้เพราะเหตุนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น


    อรหังสัมมาสัมพุทธโธ เป็นพระผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้โดยชอบ วิชชาจรณสัมปัณโณ ถึงพร้อมเพียบพร้อมไปด้วยความรู้และความประพฤติที่ดีทั้งปวง

    สุขโต พระองค์ท่านไปดีแล้ว ในทางโลกคือ จะไปที่ไหนก็ตามก็สร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ให้เกิด ปลูกฝังธรรมะในจิตในใจของคน ในทางธรรม พระองค์ท่านไปพระนิพพานแน่นอนแล้ว


    โลกะวิทูรย์ เป็นผู้รู้แจ้งในโลก โลกคือหมู่สัตว์ กี่ภพกี่ภูมิ กี่หมู่กี่เหล่า พระองค์ท่านรู้แจ้งเห็นจริงหมด ใครสร้างกรรมอย่างไรถึงได้รับผลของความทุกข์พระองค์ท่านรู้หมด ใครสร้างบุญอย่างไรถึงได้รับผลของความสุขพระองค์ท่านรู้หมด จะทำอย่างไรถึงจะหลุดพ้นจาก ความทุกข์โดยสิ้นเชิงพระองค์ท่านรู้ทั้งหมด รู้โลกภายในคือกายนี้ รู้โลกภายนอก คือกายคนอื่น รู้โอกาศโลก

    คือโลกนี้ที่เป็นที่อยู่ทั้งหมดนี้ ตลอดถึงดวงดาวจักรวาลทุกจักรวาลพระองค์ท่านรู้หมดรู้ครบ จึงชื่อว่าโลกวิทูรย์


    อนุตตโล ปุริสธรรมสารถิ ทรงเป็นสารถีคือผู้ควบคุม ผู้ฝึกสอนที่ยอดเยี่ยมไม่มีใครเหนือไปกว่านี้อีกแล้ว

    สัทถาเทวมนุษย์ถานัง พระองค์ท่านเป็นศาสดา คือเป็นครู ของทั้งมนุษย์และเทวดา สอนทั้งคนทั้งเทวดา นางฟ้า พรหม ไปด้วย


    พุทโธ ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีสติมั่นคงอยู่ตลอดเวลา จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่ง พระองค์ท่านรู้ตัวอยู่ตลอด รู้ว่าร่างกายนี่มันทุกข์ รู้ว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจมอยู่ในกองทุกข์ รู้ว่าร่างกายนี่มันต้องตาย หายใจเข้าไม่หายใจออกมันก็ตาย หายใจออกไม่หายใจเข้ามันก็ตาย รู้ว่าตายแล้วพระองค์ท่านไปพระนิพพาน


    ภควา ถือเอา 2 ศัพท์ว่าเป็นผู้มีโชค เสด็จไปที่ใดก็ตามสร้างความสมบูรณ์พูนสุขทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งอริยทรัพย์และโลกีย์ทรัพย์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย อีกศัพท์หนึ่งกล่าวว่าเป็นผู้จำแนกแจกธรรม คือนำธรรมะ ไปสั่งสอนคนอื่นเขา พระองค์ท่านตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง แล้วสอนธรรมะนั้นแก่ผู้อื่นให้ตรัสรู้ตาม


    บัดนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นอัจฉริยะมนุษย์สุดประเสริฐล้ำเลิศกว่าผู้ใด ประทับอยู่เหนือเศียรเหนือเกล้าของเราแล้ว ทุกวัน ทุกเวลาให้มากที่สุดในแต่ละวัน เอาจิตจดจ่ออยู่กับพระองค์ท่านตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา พระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่ไหนเลย นอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคืออยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่ บนพระนิพพาน

    เอาใจเกาะภาพนี้ไว้คือเอาใจเกาะพระนิพพาน หายใจเข้าพระรัศมีที่สว่างไสวก็ครอบคลุมกายของเรามา หายใจออก พระรัศมีที่สว่างไสวก็ครอบคลุมกายของเรามา หายใจเข้าครั้งหนึ่ง หายใจออกครั้งหนึ่ง นึกถึงภาพพระองค์ท่าน นึกถึงคำภาวนา คือเราใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจเข้า ใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจออกใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง


    ให้ตั้งใจว่า.. ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้ เราไม่ขอเกิดมามีมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์เย่าเร่าร้อนนี้เราไม่ขอมาเกิดอีก การเป็นเทวดาเป็นพรหมที่มีสุขชั่วคราวเราก็ไม่ปรารถนา ตายเมื่อไหร่เราขอไปอยู่พระนิพพานกับพระองค์ท่านเท่านั้น

    หายใจเข้าภาพพระไหลตามลมหายใจเข้าไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลตามลมหายใจออกมาอยู่ที่เหนือศีรษะ ทุกวันทุกเวลาให้มากที่สุด เอาใจเกาะไว้ดังนี้ให้ได้


    ตอนนี้ให้แบ่งความรู้สึกออกเป็นสองส่วน ความรู้สึกสัก 20 30% ให้คลุมภาพพระไว้อย่างนั้นจดจ่อกับภาพพระอย่างนั้น ความรู้สึกที่เหลือทั้งหมดกำหนดให้กายมันเคลื่อนไหวเพื่อทำหน้าที่ของเรา ตั้งใจว่าเราจะทำงานทุกอย่างเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา ถ้ามันตายวันนี้เราขอไปพระนิพพาน กำหนดใจให้มั่นคงดังนี้แล้วเตรียมตัวทำวัตรต่อได้

    **จบ 2**
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2005
  5. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    น้อง น้ำใส ทำได้ดีมากเลย ในหลายๆอัน
    ตรงที่การเน้น ประโยค ทำให้อ่านแล้วจับใจความได้เร็ว
    และจัดเรียง เว้นวรรค ทำให้ง่าย
     
  6. thongchat

    thongchat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ขอโมทนาบุญกับคุณแป้ง, คุณน้ำใส, คุณเว็บมาสเตอร์ และขอถามว่ามีวิธีการดาวน์โหลดไฟล์เสียงของหลวงพี่เล็กมาเก็บไว้มั๊ยครับ เพราะจะเอามาเปิดกับเครื่องเสียงฟัง เวลาปฏิบัติครับ

    ขอบคุณครับ
     
  7. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลยค่ะ >> กรรมฐาน ๔๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...