ใครมีสุนัขขอเชิญให้นำสุนัขไปบริจาคโลหิต

ในห้อง 'ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์' ตั้งกระทู้โดย zipper, 29 มิถุนายน 2005.

  1. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    ได้ข่าวมาว่าตอนนี้เค้ามีธนาคารเลือดสุนัขแล้ว ใครที่มีสุนัขก็สามารถนำสุนัขไปบริจาคเลือดได้ ที่ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โทรศัพท์ (๐๒) ๙๔๒-๘๗๕๖-๕๙
    อันนี้เป็นรายละเอียดเอามาให้อ่าน
    <hr>
    <p><font size="+3" color="#CC0000">ธนาคารเลือดสุนัข</font></p><font size="-1"><a href="http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0509010248&srcday=2005/02/01&search=no" target="_blank"><b>เทคโนโลยีชาวบ้าน</b> รายงานพิเศษ
    วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๓๕๒</a></font>
    <hr noshade>
    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สิ่งสำคัญที่ต้องรักษา สามารถยืดชีวิตเพื่อนรักไว้ให้ยาวนานที่สุดก็คือ &quot; สุขภาพ&quot; แต่บางครั้งโรคภัยไข้เจ็บก็อยู่เหนือการควบคุม เช่น ในกรณีที่สุนัขแสนรักป่วยหนักต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ความต้องการถ่ายเลือดในการรักษาสุนัขป่วยในแต่ละครั้งมีปริมาณมาก อีกทั้งการขาดแคลนเลือดสำรองในกรณีฉุกเฉินหรือการผ่าตัดต่างๆ

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด &quot;ธนาคารเลือดสุนัข&quot; อีกหนึ่งบริการของโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สำหรับเลือดที่ได้มาแล้ว จำเป็นต้องมีกระบวนการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเลือดทุกหยดมีคุณค่า ทางโรงพยาบาลจึงต้องจัดเก็บอย่างดี ต้องแยกและจัดเก็บเลือดไว้ให้นาน เพื่อที่จะสามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่าการถ่ายเลือดเพียงหนึ่งครั้ง ในทุกปีที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลจึงต้องขอบริจาคเลือดอยู่ตลอด เพราะว่าการผ่าตัดในบางครั้งสุนัขที่ผ่าตัดเสียเลือดมาก หรือกรณีอุบัติเหตุ โรคพยาธิในเม็ดเลือดอย่างรุนแรงก็จำเป็นที่จะต้องมีเลือดที่จะรองรับในจุดนี้ด้วย
    <p>&nbsp;</p><p></p><p><font size="+2" color="#CC0000">การให้เลือดปลอดภัยไร้ปัญหา</font></p>
    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เลือดของสุนัขก็คล้ายกับเลือดของมนุษย์คือ ประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดและน้ำเลือด และเลือดที่ได้รับบริจาคจากสุนัขก็สามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ เพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ความต้องการของสุนัขป่วยที่ต้องการที่จำเพาะ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของเลือดที่ได้รับบริจาคสุนัข แต่โดยทั่วไปสุนัขที่ต้องการเลือดมักจะต้องการเม็ดเลือดแดง หรือน้ำเลือดมากที่สุด<table width="275" border="0" cellspacing="0" cellpadding="5" align="left"><tr><td bgcolor="#F2E6E6"><p><font size="+2" color="#0066CC">วิธีการ ในการบริจาคเลือดสุนัข</font></p><p><font size="-1">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;หลังจากเจ้าของตัดสินใจ นำสุนัขแสนรัก ร่วมกันทำบุญ โดยติดต่อยัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของโรงพยาบาลสัตว์ มก. แล้ว เจ้าหน้าที่จะนำสุนัขมาตรวจเช็กสุขภาพ และตรวจเลือดกับสัตวแพทย์ หากสุนัขมีผลตรวจเลือดผิดปกติ ทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้ทราบทันที </font></p><p><font size="-1">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้ว สัตวแพทย์จะให้ยาซึม เพื่อป้องกันสุนัขดิ้นระหว่างการเจาะเลือด เนื่องจากบริเวณที่ใช้ในการเจาะเลือด คือบริเวณลำคอ ถ้าสุนัขดิ้นอาจเกิดอันตรายได้ การวางยาซึมนี้จะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ หากแต่สุนัขจะมีอาการง่วงซึมเท่านั้น </font></p><p><font size="-1">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ในการบริจาค ๑ ครั้ง จะเก็บเลือดปริมาณ ๑ ยูนิต (Unit) หรือ ๓๕๐ ซีซี ซึ่งโดยปกติความสามารถในการให้เลือด จะอยู่ระหว่าง ๑๐-๒๐ ซีซี ต่อน้ำหนัก ๑ กิโลกรัม และความถี่ในการบริจาคเลือดทุกๆ ๔-๖ เดือน เมื่อสามารถเก็บผลเลือด ได้ตามความต้องการแล้ว สัตวแพทย์จะให้ยาบำรุงเลือด พร้อมบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด โดยการบริจาคจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น </font></p><p><font size="-1">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;จากวิธีการนี้ ท่านกับเจ้าตูบแสนรักก็ถือว่าได้ ทำบุญช่วยเหลือสัตว์อื่นๆ ได้แล้วค่ะ</font></p>
    </td><td>&nbsp;</td></tr></table><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;การให้เลือด หรือเม็ดเลือดแดง มักจะใช้กรณีเพื่อการรักษาโรคโลหิตจาง (anemia) นอกจากนี้แล้ว สุนัขอาจจะต้องการเลือด ในกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุ หรือกรณีผ่าตัดศัลยกรรม หรือกรณีที่สัตว์ป่วย ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ หรือกรณีที่เม็ดเลือดแดงในร่างกาย ถูกทำลายอย่างรุนแรง (จากโรค เช่น พยาธิในเม็ดเลือดแดง เป็นต้น) </p>
    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สำหรับน้ำเลือด (plasma) ประกอบด้วย โปรตีน หรือเอนไซม์ต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญ เกี่ยวกับการทำให้เลือดมีการแข็งตัว (clot) มักมีความจำเป็น สำหรับการรักษาภาวะเลือดออก (bleeding) อันเนื่องมาจากโรคตับ หรือกรณีที่เกิดเลือดออก จากการได้รับสารหนู (rodent poison) นอกจากนี้ น้ำเลือดยังมีความจำเป็นสำหรับสุนัขป่วย ที่มีระดับโปรตีน หรืออัลบูมินในเลือดต่ำ ส่วนประกอบอื่นๆ ของน้ำเลือด เช่น cryoprecipitate จะใช้สำหรับการรักษาโรคเลือดไหลไม่หยุด (hemophillia) หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาภาวะเลือดออกไม่หยุด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ทางโรงพยาบาลได้จัดมาตรการต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของสุนัข ผู้มาบริจาคเลือด เช่น ตรวจสุขภาพก่อนเก็บเลือดทุกครั้ง และการให้ยาซึมก็ไม่มีผลใดๆ ต่อสัตว์ การบริจาคเลือดกลับเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่สัตว์ที่มาอีกทางหนึ่ง เพราะเท่ากับเป็นการถ่ายเลือดเก่าออกไป และทำให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นมา

    &nbsp;

    <font size="+2" color="#CC0000">ที่มาของเลือด</font>

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เลือดในธนาคารเลือด ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับมาจากสุนัขที่มาบริจาคเลือด มีสุนัขหลายพันธุ์ที่มาให้เลือดเป็นประจำ ซึ่งมีปรากฏในรายชื่อสุนัขใจบุญ โดยผู้นำสุนัขมาบริจาคเลือดให้มาติดต่อหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลสัตว์ จากนั้นจะมีการตรวจร่างกาย ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ การเก็บเลือดก็จะเกิดขึ้น โดยสุนัขที่บริจาคเลือดจะไม่ได้รับความเจ็บปวดใดๆ การเก็บเลือดจะใช้ระยะเวลาประมาณ ๕-๑๕ นาที ขั้นตอนต่างๆ จะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการในธนาคารเลือดของคน

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สุนัขที่มาบริจาคเลือดจะได้รับการตรวจกรอง (screened) โรคที่สามารถติดต่อกันได้ทางเลือด เพื่อเป็นหลักประกันว่า สุนัขที่เข้าสู่กระบวนการบริจาคเลือดมีสุขภาพดี โดยปกติแล้วเราจะรับสุนัขที่มีหมู่เลือดในกลุ่ม &quot;universal blood type&quot; หรือสุนัขที่มีหมู่เลือด ที่สามารถเข้ากับหมู่เลือดอื่นๆ ได้ทั้งหมด ถ้าเปรียบเทียบกันในคนก็คือคนหมู่เลือด โอ เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงปฏิกิริยาทางเคมี ของการเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือด จากการให้เลือด แต่เนื่องจากเราไม่สามารถเลือกสุนัขที่มาบริจาคได้ การรับบริจาคจึงไม่จำกัด เพียงแต่ก่อนการให้เลือด จะต้องมีตรวจการเข้ากันได้ของหมู่เลือดเท่านั้นเอง เลือดที่เก็บจากสุนัขใจบุญ จะถูกเก็บไว้ในถุงพลาสติกที่ปราศจากเชื้อโรค

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ขั้นตอนการเก็บและรักษา จะทำให้เลือดปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรค และเก็บไว้ในตู้เก็บเลือด เช่นเดียวกับธนาคารเลือดของคน โดยปกติเลือดที่ได้รับบริจาค มีการกำหนดวันหมดอายุปรากฏอยู่ และทำลายเมื่อหมดอายุ แต่เนื่องจากความต้องการเลือดยังมีอยู่มาก เลือดจึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ทั้งนี้ก่อนการให้เลือด หรือองค์ประกอบของเลือดอื่นๆ กับสุนัข สัตวแพทย์จะตรวจการเข้ากันได้ของหมู่เลือด (crossmatch) เสียก่อน เพื่อความมั่นใจว่า เลือดที่จะให้กับสุนัขไม่มีปฏิกิริยาต่อสุนัขที่ได้รับเลือด เลือดจะถูกถ่ายให้กับสุนัขที่ต้องการเลือด ด้วยการให้ทางสายยางผ่านเข้าหลอดโลหิตดำ (ในลักษณะเดียวกับการให้สารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ) อย่างช้าๆ อัตราเร็วของการให้ และปริมาณเลือดที่จะให้กับสุนัข จะขึ้นอยู่กับความจำเป็น ความต้องการและขนาดของสุนัข
    &nbsp;

    <font size="+2" color="#CC0000">คุณสมบัติของสุนัขที่สามารถบริจาคเลือด</font>
    <table width="275" border="0" cellspacing="1" cellpadding="5" align="right">
    <tr><td>&nbsp;</td><td bgcolor="#F2E6E6">
    <font size="+2" color="#0066CC">กลุ่มเลือดสุนัข</font>

    <font size="-1">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ส่วนกลุ่มเลือดของสุนัข มีทั้งหมด ๘ กรุ๊ป คือ DEA 1.1, DEA 1.2, DEA 3, DEA 4, DEA 5, DEA 6, DEA 7, DEA 8 ต่างจากมนุษย์คือ สุนัขจะไม่มี Antibody ในน้ำเลือด (Plasma) แต่จะมีสารเคลือบผิวเม็ดเลือด Antigen สำหรับหมู่เลือด DEA 1.1, DEA 1.2 ไม่สามารถเป็นผู้บริจาคเลือดได้ แต่สามารถรับเลือดได้คล้ายกลุ่ม AB ในมนุษย์ ส่วนกรุ๊ปเลือดอื่นๆ สามารถเป็นผู้บริจาคเลือดหรือรับเลือดกันได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นกรุ๊ปเลือดเดียวกัน แต่จะต้องมีการตรวจเลือดว่าเข้ากันได้หรือไม่ ส่วนกลุ่มที่สามารถบริจาคโลหิต ให้กับทุกกลุ่มเลือด (Universal dohor) คือกลุ่ม DEA 4</font>

    <font size="-1">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;โดยประโยชน์ของเลือด สำคัญมากในการผ่าตัด กรณีที่สุนัขอยู่ในภาวะเสียเลือดมากๆ เช่น ตัดม้าม ตัดตับ ตัดไต การตัดก้อนเนื้อในช่องท้อง หรือใช้ในกรณีสัตว์จำเป็นต้องผ่าตัด แต่สภาพสัตว์ป่วยหนัก หรือไม่พร้อมสำหรับการผ่าตัด เช่น โลหิตจาง หรือมีปัญหาการแข็งตัวของเลือด </font>

    <font size="-1">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;นอกจากนี้ เลือดสุนัข ยังใช้ช่วยชีวิต สัตว์ที่ได้รับยาเบื่อหนูกลุ่ม Wafarin ซึ่งฤทธิ์ของยา จะไปยับยั้งสารที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำให้สุนัขเลือดจะไหลไม่หยุด อีกทั้งใช้รักษาโรคทางกรรมพันธุ์บางโรค ใช้รักษาสภาวะที่สัตว์มีภาวะขาดอาหาร อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในลูกสัตว์ หรือแม้แต่ใช้รักษาสัตว์ในสภาวะฉุกเฉิน ที่มีภาวะเลือดออกในอวัยวะภายใน เช่น ในช่องท้อง หรือในช่วงอก เป็นต้น</font></td></tr></table>
    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เลือดที่ได้จากการบริจาคจะเป็นเลือด ล้วนมาจากสุนัขที่มีสุขภาพดี ก่อนการให้เลือดกับสุนัขตัวรับเลือด จะได้รับการตรวจถึง ความเข้ากันได้ของหมู่เลือด ดังนั้น ความเสี่ยงต่อการให้เลือดจึงมีน้อยมาก

    แต่สุนัขบางตัวเมื่อได้รับเลือดแล้ว อาจจะมีไข้เกิดขึ้นได้ หรืออาจจะพบว่าหน้าบวมเล็กน้อย (mild facial swelling) ในระหว่าง หรือหลังการให้เลือดก็ได้ ภาวะนี้สัตวแพทย์สามารถแก้ไขได้ สุนัขที่ป่วยด้วยโรคที่ค่อนข้างรุนแรง และต้องได้รับการให้เลือดซ้ำ อาจจะพัฒนาปฏิกิริยาการตอบสนอ งต่อการได้รับเลือดได้

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สำหรับสุนัขที่สามารถ บริจาคเลือดได้ ควรมีคุณสมบัติดังนี้

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๑. เป็นสุนัขอายุระหว่าง ๑-๖ ปี ไม่จำกัดเพศ พันธุ์ (ถ้าเป็น เพศเมีย ต้องรอให้หมดประจำเดือนก่อน) มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า ๒๐ กิโลกรัม

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๒. มีประวัติการทำวัคซีน ได้แก่ ป้องกันวัคซีนรวม เช่น ลำไส้อักเสบ ไข้หัด ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซีส วัคซีนพิษสุนัขบ้า โรคพยาธิหนอนหัวใจ

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๓. ไม่มีประวัติของ โรคพยาธิในเม็ดเลือด

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๔. ไม่เคยรับการผ่าตัดใหญ่ ในระยะ ๑-๒ เดือน ก่อนบริจาคโลหิต

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๕. สุนัขมีสุขภาพแข็งแรง

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ทั้งนี้ หากสุนัขมีคุณสมบัติครบถ้วน ก่อนถึงวันนัดบริจาคโลหิต ควรงดน้ำและอาหาร เพื่อความปลอดภัยในการให้ยาซึม และเมื่อท่านนำสุนัขมาบริจาคโลหิต ให้กับทางโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนได้ จากนั้นสุนัขก็จะเข้าสู่ขั้นตอน การให้เลือด เพื่อช่วยเหลือชีวิตสุนัขตัวอื่นๆ ต่อไป

    &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ <b>โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</b> บางเขน เลขที่ ๕๐ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ (๐๒) ๙๔๒-๘๗๕๖-๕๙ (ให้บริการ วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ น. วันศุกร์ ๐๘.๓๐-๑๑.๐๐ น. วันหยุดราชการ ๐๘.๓๐-๑๑.๐๐ น. บริการตรวจรักษาสัตว์ฉุกเฉินนอกเวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.)
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    น้ำหนักกับอายุไม่ถึงอ่ะ.......ไว้จะรีบขุนให้โตก่อนนะคะ

    แล้วจะพาไป.......จะเจ็บมั้ยเนี่ย สงสาร..
     
  3. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    อีกอันนึง
    <hr>
    <b>ธนาคารเลือดสัตว์ อีกเส้นทางแห่งการกอบกู้ชีวิต สุนัขสัตว์เลี้ยงที่ภักดีต่อเจ้าของ คนรักสุนัขอย่านิ่งเฉย สัตวแพทย์ขอความร่วมมือช่วยกันบริจาคเลือดสุนัข ซึ่งกำลังขาดแคลนอย่างหนัก</b>


    นายสัตวแพทย์ พายุ ศรีสุภร แพทย์ประจำธนาคารเลือดสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศ กล่าวถึงที่มาของธนาคารเลือดสัตว์ว่า ก่อตั้งเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เดิมเรามีการถ่ายเลือดอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีธนาคารเลือดเพื่อบริการแก่สัตว์ที่ป่วย ทั้งจากอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน และที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเลือด ในต่างประเทศมีมานานแล้ว จึงได้มีการสร้าง ธนาคารเลือดแห่งนี้ขึ้น ตั้งอยู่ชั้น 3 ของโรงพยาบาล

    โดยธนาคารเลือดสัตว์ ขณะนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นเคสเดิมๆ ขึ้นอยู่กับทางเจ้าของสุนัขด้วย ทำให้เกิดวิกฤติการขาดเลือดมาตลอด ในช่วงแรกหากสุนัขมีความต้องการเลือด ทางเจ้าของก็ต้องจัดการหาจากสุนัข เพื่อนบ้าน หรือหาจากที่อื่น ส่วนใหญ่จะเป็นเคสหนักๆ ที่ส่งต่อมาจากคลินิก หรือสถานประกอบการอื่นๆ แต่บางครั้งเราก็ช่วยไม่ได้ เพราะไม่มีเลือดให้

    การเก็บเลือดจะเก็บเอาไว้ในถุงเก็บเลือดชนิดเดียวกับของคน ในการบริจาค 1 ครั้ง จะเก็บเลือดปริมาณ 1 ยูนิต หรือ 350 ซีซี ซึ่งโดยปกติความสามารถในการให้เลือดจะอยู่ระหว่าง 10-20 ซีซีต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ความถี่ในการบริจาคทุกๆ 4-6 เดือน ก่อนที่จะทำการเจาะเก็บเลือด สัตวแพทย์จะทำการวางยาซึมให้สุนัข เพื่อป้องกันสุนัขดิ้นระหว่างการเก็บเลือด เนื่องจากบริเวณที่ใช้เจาะเก็บเลือดคือบริเวณคอ ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ ทำให้ได้เลือดไว ไม่ทันแข็งตัว ถ้าสุนัขดิ้นอาจจะเกิดอันตรายได้ ยาซึมนี้จะ ทำให้สุนัขมีอาการง่วงซึมเท่านั้น และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ

    นายสัตวแพทย์พายุกล่าวต่อว่า ส่วนประกอบในเลือดแบ่งได้ เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ เม็ดเลือดแดง น้ำเลือด หลังจากการเจาะเก็บเลือด เลือดที่ได้จะนำมาแยกเป็น 2 ส่วน เม็ดเลือดแดงเก็บได้นาน 28 วัน ส่วนพลาสม่าจะถูกนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 5 ปี

    ซึ่งเม็ดเลือดแดงจะนำไปใช้ในกรณีของโรคโลหิตจาง พยาธิในเม็ดเลือดอย่างรุนแรง การเสียเลือดจากการผ่าตัด และเสียเลือดอย่าง รุนแรงจากอุบัติเหตุ ส่วนพลาสม่าจะนำไปใช้ในกรณีปัญหาการแข็งตัวของ เลือด หรือโรคเลือดบางชนิด หรือภาวะการขาดโปรตีนหรือขาดสารอาหาร และอาจนำผลิตภัณฑ์เลือดไปใช้ในกรณีพิเศษอื่นๆ

    เมื่อได้เลือดมาจะนำไปผ่านเครื่องปั่นเหวี่ยงแยกเลือด ปั่นด้วยความเร็วสูง 350 รอบต่อวินาที การใช้เลือดให้กับสุนัขจะขึ้นอยู่กับหมอจะพิจารณา ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า สุนัขหรือสัตว์เลี้ยงตัวนั้นขาดอะไรก็จะให้ สิ่งนั้น ไม่ใช่ให้ทั้งหมด เพราะข้อดีของการให้เลือดคือ ช่วยชีวิตสัตว์ได้ แต่ก็มีข้อเสียด้วยคือ อาจจะทำให้ได้รับสารที่ไม่ใช่ส่วนประกอบของร่างกายอาจจะเกิดปัญหาได้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้เลือด

    ปัจจุบัน โรงพยาบาลเรามีความต้องการเลือดสูงมาก เฉลี่ยมีรายที่จะต้องให้เลือด 2-3 รายต่อวัน แต่ผู้บริจาคมีน้อย ส่วนหนึ่งแจ้ง ความจำนงเอาไว้ แต่มีแค่ 100 รายเท่านั้น ในรายที่ต้องการใช้เลือด เราไม่มีให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเจ้าของสุนัขด้วย กรณีเร่งด่วนจริงๆ มีหลายรายเสียชีวิตไป ร.พ.เราขาดแคลนเลือดในการสำรองไว้ใช้

    นายสัตวแพทย์พายุกล่าวต่อว่า ซึ่งหากมีผู้ใจบุญนำสัตว์มาบริจาคเลือดมากๆ และอยู่ในขั้นเพียงพอแล้ว เราจะได้ส่งไปตามสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการอีก เช่น ที่โรงพยาบาลสัตว์กำแพงแสน

    สุนัขมีกรุ๊ปเลือด 8 กรุ๊ป คือกรุ๊ป DEA 1.1, 1.2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, กรุ๊ป DEA 8 สามารถให้เลือดได้กับทุกกรุ๊ป คุณสมบัติของสุนัขที่ สามารถบริจาคได้คือ ต้องอยู่ระหว่างอายุ 1-6 ปี ไม่จำกัดเพศ พันธุ์ (ถ้าเป็นเพศเมียต้องรอให้หมดประจำเดือนก่อน) มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 20 ก.ก. มีประวัติการทำวัคซีนครบ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจ วัคซีนรวม วัคซีนพิษสุนัขบ้า ไม่มีประวัติของโรคพยาธิในเม็ดเลือด ไม่เคยรับการผ่าตัดใหญ่ในระยะ 1-2 เดือน และต้องมีสุขภาพแข็งแรง

    หากสนใจบริจาคเลือดสามารถโทร.เข้ามาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก แจ้งความจำนงไว้ ทาง ร.พ.จะจดพันธุ์ เพศ และเบอร์โทร.เพื่อติดต่อ กลับ โดยเราจะมีเจ้าหน้าที่ทำการนัดหมายนำสุนัขมาบริจาคเลือดอีกครั้งหนึ่ง ในอนาคตจะจัดให้เป็นหนึ่งวันในหนึ่งสัปดาห์สำหรับรับบริจาคเลือด และมีแนวคิดว่าอาจจะนำรถรับบริจาคเคลื่อนที่ เพราะได้รับการร้องขอมา เหมือนกันว่าบางครั้งที่บ้านเจ้าของสุนัขเขาอาจจะมีเป็น 10 ตัว แต่ไม่ สามารถนำมาได้ บางคนก็บอกว่าเหนื่อยมากกว่าจะพามาได้ บางรายก็บอก ว่ามีเวลาไม่มากพอ

    ส่วนการจะไปนำเลือดจากสุนัขจรจัดของ กทม.คิดว่าเสี่ยงเกินไป เพราะเราไม่แน่ใจว่าเป็นโรคหรือไม่ มีการจัดทำวัคซีนครบหรือไม่ ซึ่งหากมีอะไรเกิดขึ้นจะมีปัญหาใหญ่ตามมา

    อยากให้ท่านเจ้าของสุนัขมั่นใจว่าการบริจาคเลือดไม่มีอันตรายใดๆ ต่อร่างกายของสุนัขทั้งสิ้น ยาที่ให้เป็นยานอนหลับบริเวณลำคอที่เจาะเลือด เราโกนขนให้เล็กที่สุดในตำแหน่งเส้นเลือดเท่านั้น และทำความสะอาด อย่างดีที่สุด มีการฆ่าเชื้อเช่นเดียวกับการทำผ่าตัดเลยทีเดียว อยากเชิญชวนผู้ใจบุญนำสัตว์เลี้ยงของท่านบริจาคเลือดมากๆ เพื่อสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ที่กำลังเจ็บป่วย

    http://www.thaipost.net/index.asp?bk=xcite&post_date=12/Jan/2545&news_id=46620&cat_id=200100
     
  4. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,864
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,512
    เพื่อน ช่วย เพื่อน ....

    สมุนของ แม่พี่ ที่เมืองไทยเพียบบ

    แม่พี่ ขุนไว้หลายตัว ทั้งในบ้าน และนอกบ้าน

    แข็งแรงสมบรูณ์ ทั้งน้านนน งานนี้ สั่งได้ [​IMG]

    ขอบคุณน้องเอก มากจ้า (})
     

แชร์หน้านี้

Loading...