โรคระบาดที่มาทุกร้อยปี : กาฬโรค, อหิวาตกโรค, ไข้หวัดใหญ่สเปน สู่ไวรัสโคโรนา

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 9 เมษายน 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b2e0b894e0b897e0b8b5e0b988e0b8a1e0b8b2e0b897e0b8b8e0b881e0b8a3e0b989e0b8ade0b8a2e0b89be0b8b5.jpg

    ในครั้งนี้ Sanook Campus เราจะพาเพื่อนๆ มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์โรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นมาบนโลกนี้กันหน่อยว่า การประมวลเหตุการณ์โรคระบาดใหญ่ ในทุกหนึ่งร้อยปีนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง

    ปี ๒๒๖๓ (1720) – โรคระบาดกาฬโรค


    ในปี ๒๒๖๓ กาฬโรค (Black Death) โรคร้ายแรงในสยาม อันดับแรก คือ กาฬโรค หรือ “โรคห่า” กาฬโรคระบาดไปหลายภูมิภาคทั่วโลก จนถึงแถบอุษาคเนย์ เนื่องมาจากการติดต่อค้าขายทางสำเภากับชาติจีน กล่าวได้ว่ากาฬโรคระบาดในช่วงเวลาคาบเกี่ยวก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นโรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ครั้งนั้นเป็นการระบาดครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของยุโรป มีคนเสียชีวิตทั้งหมด ๑๐๐,๐๐๐ ในเมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส คาดกันว่ากาฬมรณะมีจุดกำเนิดในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมจนถึงไครเมียในปี พ.ศ. ๑๘๘๖ และมีหมัดหนูตะวันออกซึ่งอาศัยอยู่ในหนูท้องขาวที่ติดมากับเรือพาณิชย์ของเจโนวานำโรคจากไครเมียแพร่กระจายไปทั่วลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงส่วนที่เหลือของยุโรปผ่านคาบสมุทรอิตาลี

    ปี ๒๓๖๓ (1820) – โรคระบาดอหิวาตกโรค


    ในปี ๒๓๖๓ อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (Cholera) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า “ลงราก” จึงเรียกโรคนี้ว่า “โรคลงราก” การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ได้ระบาดไปยังประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยตรงกับสมัย รัชกาลที่ ๒ การระบาดรุนแรงของอหิวาตกโรคครั้งแรกไว้ว่า ในปี ๒๓๖๓ ที่มีการระบาดจากอินเดีย เข้ามาไทย ผ่านทางปีนัง ทำให้มีคนตายจำนวนมาก จนเผาศพไม่ทัน กองอยู่ในวัดต่าง ๆ ถนนหนทางเกลื่อนกลาดเต็มไปด้วยซากศพ ประชาชนอพยพหนีออกจากเมืองด้วยความกลัว พระสงฆ์ทิ้งวัด การระบาดครั้งนี้มีคนตายในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียงประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ทั่วโลกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน

    ปี ๒๔๖๓ (1920) – โรคระบาดไข้หวัดใหญ่สเปน


    ในปี ๒๔๖๓ ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) ซึ่งถือเป็นการระบาดครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ไข้หวัดใหญ่สเปน ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ ๑ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปราว ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ คน ทำให้เป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เมื่อทหารอาสาเดินทางจากยุโรปกลับมาที่สยาม พวกเขาได้นำโรคระบาดใหม่กลับมาด้วย และมันระบาดในประเทศอย่างหนัก มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ถึง ๒,๓๑๗,๖๓๓ คน คิดเป็นอัตราการติดเชื้อถึง ๓๖.๖% ของประชากร

    ปี ๒๕๖๓ (2020) – การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา


    ต้นปี ๒๕๖๓ เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (Corona Virus) ซึ่งมีที่มาจากประเทศจีน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานในตลาด หรือมีประวัติเดินทางไปที่ตลาดค้าส่งอาหารทะเลแห่งหนึ่งกลางเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าสัตว์หลายชนิด เช่น นก, ไก่ฟ้า, งู, เครื่องในกระต่าย และสัตว์ป่าอื่น ๆ และขณะนี้ตลาดดังกล่าวได้มีการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีผู้ป่วยทั่วโลกราว ๑,๔๐๐,๐๐๐ คน เสียชีวิต ๘๒,๑๓๓ คน

    ขอบคุณที่มา
    https://www.sanook.com/campus/1400055/
     

แชร์หน้านี้

Loading...