เสียงอ่าน พระอภิธรรม

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย mw user, 16 มิถุนายน 2006.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    เสียงอ่าน พระอภิธรรม

    1. วิสุทธิมรรค พรหมวิหารนิเทส (2 แผ่น Master)
    2. มิลินทปัญหา (2 แผ่น mp3)
    3. พระอภิธรรม ฉบับสำหรับประชาชน (2 แผ่น mp3)
    4. พระธรรมสังคณีปกรณ์ (2 แผ่น mp3, 13 แผ่น Master) -->ปรากฎการณ์แห่งจิต
    5. พระวิภังค์ปกรณ์ (2 แผ่น mp3, 19 แผ่น Master)
    6. ธาตุกถา-ปุคคลบัญญ้ติ (2 แผ่น MP3) -- เหมาะกับนักสงสัย /ชอบเทียบ
    7. กถาวัตถุ (2 แผ่น MP3) --> เหมาะกับนักโต้คำ

    ส่วน
    8. ยมกปกรณ์ มหาปัฏฐาน
    พร้อมอรรถกถา คือ
    อัฏฐสาลินี (พระสังคณีในคำเรียกปกติ - พุทธลีลา โปรดพระมารดา ท่านแสดงไว้ที่นีชัดเจนมาก),
    สัมโมหวิโนทนี (พระวิภังค์) และ
    ปรมัตถทีปนี (5 ปกรณ์)
    อยู่ระหว่างจัดเก็บเสียง...
    รายละเอียด หรือสนใจ แจ้งได้ครับ
    บอกก่อนว่า ไม่ใช่เสียงพระเอกหนังนะครับ
    ย้ายไป เชิญครับ .. บทพระอภิธรรม
    สารบัญแผ่น ขอบอก
    (verygood)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2006
  2. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    บ่อยครั้งทีผมสงสัยเกี่ยวกับความดี หลังจากที่ค้นหาจึงได้พบ
    ดังจะขอยกเป็นบทเล็กน้อย เพียงบางหัวข้อ สำหรับท่านที่สนใจ
    ดังนี้

    นโม เม อนุตฺตราภิธมฺมานํ.

    สุขสฺเสตํ ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานิ
    ภิกษุทั้งหลาย ที่เรียกว่า บุญ บุญ นี้ คำว่า บุญ
    เป็นคำแทนเรียกความสุข
    (อรรถกาสังคณี เล่ม 1 ภาค 1 หน้าที่ 156)

    พึงทราบจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ โดยนัยที่กล่าวแล้วในจิตดวงที่ ๒
    ที่ ๓ ที่ ๔ นั่นแหละ. ในจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ เหล่านี้ การเปลี่ยนไป
    แห่งเวทนาและการลดปีติอย่างเดียว.
    คำที่เหลือ กับนัยแห่งการเกิดขึ้นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.
    แม้ในการบริกรรมของกรุณาและมุทิตา ความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗
    ที่ ๘ เหล่านี้ ได้รับรองแล้วในมหาอรรถกถาทีเดียว.
    จิตเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง.
    กามาวจรกุศลจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดบัณฑิตพึงแสดงด้วยบุญกิริยา-
    วัตถุ ๑๐ ประการ ถามว่าแสดงอย่างไร ?
    ตอบว่า พึงแสดง ชื่อบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เหล่านี้ คือ
    ๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน
    ๒. สีลมัย " " ด้วยศีล
    ๓. ภาวนามัย " " ด้วยภาวนา
    ๔. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคตด้วยนอบน้อม
    ๕. เวยยาวัจจสหคตะ " ด้วยการขวนขวาย
    ๖. ปัตตานุปทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ
    ๗. อัพภานุโมทนมัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา
    ๘. เทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    ๙. สวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
    ๑๐. ทิฏฐุชุกรรม.
    (อรรถกถาพระธรรมสังคณี เล่ม 1 ภาค 1 หน้าที่ 427-428)

    ในฐานะนี้ ชื่อว่า การประมวลซึ่งบุญ ๖ อย่าง ที่ทรงถือเอาอีก
    จริงอยู่ บุญที่กระทำเอง (สยงฺการํ) ก็มี
    บุญที่ผู้อื่นกระทำ (ปรงฺการํ) ก็มี
    บุญที่ทำด้วยมือของตนก็มี
    บุญที่สั่งให้คนอื่นกระทำก็มี
    บุญที่เกิดด้วย ความไม่รู้ก็มี
    บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุญที่ทำตามธรรมดาของตน ชื่อว่า
    สยังการ.
    บุญที่เห็นคนอื่นกระทำก็กระทำ ชื่อว่า ปรังการ.
    บุญที่ทำด้วยมือของตนเอง ชื่อว่า สาหัตถิกะ.
    บุญที่ใช้ให้บุคคลกระทำ ชื่อว่า อาณัตติกะ.
    บุญที่เชื่อกรรมและผลแล้วกระทำ ชื่อว่า สัมปชานกตะ.
    บุญที่ไม่รู้กรรมก็ดี ผลก็ดีกระทำแล้ว ชื่อว่า อสัมปชานกตะ.
    บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุคคลแม้เมื่อกระทำเองก็ย่อมกระทำ
    ด้วยกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ
    เมื่อจะทำอาศัยผู้อื่นก็ดี
    เมื่อกระทำด้วยมือของตนก็ดี
    เมื่อใช้ให้ผู้อื่นกระทำก็ดี
    ก็ย่อมการทำด้วยกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน.
    แต่การกระทำด้วยความรู้ ย่อมประกอบด้วยญาณ ๔ ดวง.
    การกระทำด้วยความไม่รู้ ย่อมไม่ประกอบด้วย ญาณ ๔ ดวง
    (อรรถกถาสังคณี เล่ม 1 ภาค 1 หน้าที่ 436-7)

    สภาวะที่ชื่อว่า บุญ เพราะอรรถว่า ย่อมชำระ
    กรรมอันเป็นการทำของตน คือ ย่อมยังอัชฌาศัยของผู้กระทำตนนั้นให้บริบูรณ์
    และยังภพอันน่าบูชาให้เกิดขึ้น
    (อรรถกถาวิภังค์ เล่ม 2 ภาค 1 หน้า 466)

    เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็น
    ใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน
    (อรรถกถาวิภังค์ เล่ม 2 ภาค 1 หน้า 468)

    (เฉพาะดวงที่ 1)
    [๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส
    สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียง เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์
    มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
    หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
    ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์
    วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
    ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
    อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ)
    กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
    กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
    กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ
    มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
    ฯลฯ
    (พระธรรมสังคณีปกรณ์ หน้า 28)
    ****

    ผมสังสัย ตั้งแต่เริ่มเรียนศาสนา ส่วนลึกไม่สามารถมองเห็นภาพได้
    เกี่ยวกับเรื่องบุญ บาป อยู่ที่ไหน ดับสูญได้หรือ ! สำแดงเมื่อใด ! ..
    ที่ตามติดจิตนั้นดังเงาตัว
    ทำไม ถึงต้องว้าเหว่ ทำไมต้องการเพื่อน ?? !!!!
    พอดีมาพบข้อความ อันทำให้พอจะเข้าใจว่า ทำไมถึงต้องหมั่นในธรรมขาว (ครั้งละนิด
    ช่วยเหลือทีละหน่อย) และอย่าข้องแวะกับธรรมอันดำ (แม้นิด) ...
    <HR>
    [๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
    มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.
    (พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ - หน้าที่ 29)


    พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า
    ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง
    ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไป
    แก่จิตทั้งปวง
    เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศล อกุศล
    และมหากิริยาจิตฝ่ายโลกียะ จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน
    ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี.
    ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติ
    อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก.
    อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต
    เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร.
    ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร
    พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
    (อรรถกถา พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228)


    [๑๗๐๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม หรือ?
    ส. ถูกแล้ว
    ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า โลกเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์เป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกระชับ เหมือนลิ่มสลักแห่งรถ ที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น บุคคลได้เกียรติ ความสรรเสริญเพราะกรรม และได้ความเสื่อม การถูกฆ่า การถูกจองจำ ก็เพราะกรรม บุคคลรู้ชัดซึ่งกรรมนั้นว่า เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน ฉะนี้แล้ว ไฉนจะพึงกล่าวว่า กรรมไม่มีในโลกเล่า ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

    (กถาวัตถุปกรณ์ หน้าที่ 738)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2006
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    wowwwwwww
    คุณอ่านเองหรือเปล่าครับ

    ผมขอเอา cd ทั้งมาลง ที่เว็ป
    ประมาณ อีก 2 เดือน

    น่าสนใจมาก อาจจะทำเนือ้หาสตามที่คุณอ่านให้คนเลือกฟังได้ทั้งเสียงอ่านและอ่านหนังสือ
     
  4. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=11847
    ผมปวารณาตัวไว้แล้ว ไร้อามิสเจือปน ..
    ใช้เมื่อไหร่ ค่อยบอกก็ได้ครับ
    <br><i>ขอให้โปรเจคสำเร็จ ให้ใจหนักแน่น อย่าไหวเอนกับคลื่นลม หรือเสียงรบกวนนะครับ .. ผมขอช่วย เท่าที่มี ..</i>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2006
  5. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    คุณสมบัติ นักอภิธรรม (อีกอย่างหนึ่ง)
    (ทาน ศีล ศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา)

    1. มีจิตแบ่งปัน อยู่เป็นนิจ ในชีวิตประจำวัน
    2. สมาทาน และปฏิบัติอยู่ในศีลห้า (ขั้นต่ำ) เป็นนิจ ในชีวิตประจำวัน
    3. มีใจรักที่จะค้นคว้า
    4. พยายามส่งใจไปตามกระแส ระลึกตาม และเข้าใจ
    ถ้าไม่เข้าใจ .. ท่านจะไม่สามารถดำเนินไปต่อได้
    5. วางความใจร้อนเสีย .. ศึกษาอย่างต่อเนื่อง (ไม่ทิ้งกลางคัน ...)

    5.1 ปกรณ์เจ็ดที่จัดลำดับไว้สำหรับศึกษาแบบชั้นบันใด
    เริ่มตั้งแต่พระสังคณีว่า กุศล อกุศล ... อะไร /แบบไหน
    ที่เรียกว่า กุศล /อกุศล ฯลฯ แล้วท่านก็แจง /ขยายลักษณะ
    ของธรรม (กุศล/อกุศล) ไปเรื่อย .. จนถึงมหาปัฏฐาน ว่า
    เหตุ เป็นปัจจัย ฯลฯ แจงต้นตอหรือกุศลว่าเกิดมาได้อย่างไร ฯลฯ
    มหาปัฏฐาน เป็นปกรณ์ใหญ่นัก (สมชื่อ) รังสีทั้งหกวรรณะ
    (ฉัพพรรณรังสี) ได้แผ่ซ่านแล้วจากพระวรกาย
    เมื่อพระองค์พิจารณาธรรมมาถึงจุดนี้
    (อรรถกถา พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ภาค หน้าที่ 34)
    5.2 ควรรู้ภาษาบาลี ยิ่งมากยิ่งทำให้เข้าใจง่ายได้มาก
    เช่นเดียวเรียนแพทย์ เรียน IT ซึ่งต้องใช้
    ศัพท์เฉพาะของตัว ไม่สามารถจะขยายได้ (ซ้ำ ๆ) ถ้าขยาย ก็จะขยายอยู่
    อย่างนั้น ไปไหนไม่ได้ สำหรับท่านที่ทำหน้าที่อาจารย์ก็ต้องถึง
    ภาวะลำบากกายใจอย่างหนัก กับการที่ต้องขยายให้แก่ศิษย์
    ถ้าไม่รู้ภาษาเลย ก็ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปทีละหน่อย ทีละข้อ ก็สามารถเดิน
    ไปได้ พยายามพยุงศรัทธาให้มั่น



    <HR>
    มาถึงตรงนี้ ขอตั้งคำถามครับ .. ทำไมต้องอภิธรรม ?
    ผมสงสัยคำว่า กายในกาย ?? เวทนาในเวทนา ?? ที่เกิดขึ้นกับชีวิต ...ผมได้คำตอบแล้ว ผมมีเสียง เชิญครับ http://www.palungjit.org/club/mwuser/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2006
  6. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    4. พระธรรมสังคณีปกรณ์ (2 แผ่น mp3, 13 แผ่น Master) -->ปรากฎการณ์แห่งจิต
    5. พระวิภังค์ปกรณ์ (2 แผ่น mp3, 19 แผ่น Master)
    6. ธาตุกถา-ปุคคลบัญญ้ติ (2 แผ่น MP3) -- เหมาะกับนักสงสัย /ชอบเทียบ
    7. กถาวัตถุ (2 แผ่น MP3) --> เหมาะกับนักโต้คำ

    ------------

    ได้อ่านตามพระไตรปิฎกเลยไหมครับ
    ถ้าใช่ อ่านตามของฉบับไหนครับ
     
  7. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2006
  8. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    wowwwww อย่างนี้ ก็เอาไปใส่ในพระไตรอ่านเวสียงที่เรากำลังทำได้สบายเลย เพราะว่าเป้นฉบับเดียวกัน

    ------------------
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...