เสรี ศุภราทิตย์ประเมิน”น้ำท่วม” เร่งสำรวจน้ำเขาใหญ่รับมือบทเรียนปี63

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 26 กันยายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    จากสถานการณ์ฝนตกหนักจากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้หลายพื้นที่ต้องประสบภัย“น้ำท่วม”หนัก กอปรกับกรมชลประทานกำลังเร่งระบายน้ำเหนือเขื่อนลงมายังพื้นที่ภาคกลาง

    ทางด้านผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเพจ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ถึงการติดตามสถานการณ์จากพายุเตี้ยนหมู่ มาตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา

    ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 25 ก.ย. “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” ได้ลงพื้นที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา เพื่อสำรวจการไหลของน้ำ โดยนำไปเทียบเคียงกับสถานการณ์อุทกภัยใหญ่ที่ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อปี 2563 ด้วย


    e0b8a0e0b8a3e0b8b2e0b897e0b8b4e0b895e0b8a2e0b98ce0b89be0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a1e0b8b4e0b899e0b899.jpg

    เมื่อวันที่ 23 ก.ย. “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” โพสต์ข้อความไว้ว่า ขอให้ติดตาม เฝ้าระวังฝนตกหนัก และหนักมากตามแนวร่องฝนจากอิทธิพลพายุโซนร้อน “Dianmu” (เตี้ยนหมู่) แถบสีชมพูที่ผมส่งมา

    โดยตั้งแต่เช้าวันศุกร์ที่ 24 กันยายน ประมาณ 10.00 น. ภาคอีสานกลาง-ใต้ (อุบลราชธานี มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ)

    จากนั้น วันเสาร์ที่ 25 กันยายนตั้งแต่ช่วงบ่าย 13.00 น.เริ่มเข้าสู่ภาคกลางตอนบน (เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร นครสววรค์ และตาก) และเคลื่อนตัวเข้าประเทศพม่าเช้าวันที่ 26 กันยายน

    ดังนั้นชุมชนที่ลุ่มต่ำ ชุมชนใกล้พื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ชุมชนริมเชิงเขา ควรระมัด ระวังจัดการความเสี่ยงตัวเองโดยย้ายยานพาหนะไปที่ปลอดภัย ย้ายทรัพย์สินพ้นน้ำ อพยพไปยังที่ปลอดภัย เนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรง และความเสียหายเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา และเส้นทางพายุ

    ผมกำลังประเมินพื้นที่เฉพาะแห่งที่มีความเสี่ยงสูง และถ้าแล้วเสร็จจะโพสให้รับทราบทันทีต่อไป ด้วยความห่วงใยทุกท่านครับ


    ขณะที่เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 64 “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” และทีมงานได้ออกไปประเมินสถานการณ์น้ำ และฝนที่เขาใหญ่ และอำเภอปากช่อง โดยระบุข้อความด้วยว่า ด้วยความห่วงใยต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2553 และ 2563 ประกอบกับอำเภอปากช่องยังขาดระบบเตือนภัยที่มีความแม่นยำสูง


    b8a0e0b8a3e0b8b2e0b897e0b8b4e0b895e0b8a2e0b98ce0b89be0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a1e0b8b4e0b899e0b899-1.jpg

    ผม และทีมงานจึงได้พัฒนาแบบจำลองคาดการณ์ และประเมินความรุนแรงของน้ำท่วม (ดูรูปที่แนบมาข้างซ้ายเป็นเหตุการณ์ปี 2563) ซึ่งพบว่าแม้ฝนจะตกไม่มากที่ต้นน้ำเขาใหญ่ แต่หากมีฝนมากในลุ่มน้ำสาขา ก็ทำให้อำเภอปากช่อง (ซึ่งอยู่ปลายน้ำ) เกิดน้ำท่วมได้



    เมื่อประเมินอิทธิพลของพายุโซนร้อน Dianmu (เตี้ยนหมู่ ) พบว่า ปริมาณฝนสะสมทั้งต้นน้ำ และลำคลองสาขายังน้อยกว่าจุดวิกฤติที่จะทำให้น้ำท่วมอำเภอปากช่องได้ (ระดับน้ำที่ต้นน้ำซึ่งสีน้ำใส และปลายน้ำในตัวอำเภอปากช่องสีน้ำขุ่นจากคลองสาขาต่างๆตามรูปแนบข้างขวา) ยังต่ำกว่าระดับตลิ่งประมาณ 4-6 เมตร

    จึงขอเรียนให้ชาวปากช่องอย่าได้กังวลกับพายุลูกนี้ อย่างไรก็ตามต้องติดตามสภาพอากาศต่อไปในช่วงเดือนตุลาคมนะครับ เพราะยังไม่หมดฤดูฝน

    อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง



    ขอบคุณที่มา
    https://www.komchadluek.net/news/485491
     

แชร์หน้านี้

Loading...