เล่าเรื่องน่ารู้จาก"พระไตรปิฎก"

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 23 ธันวาคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อเอ่ยถึง " พระไตรปิฎก" หลายคนจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัวและยากจะเข้าถึง ซึ่งอาจเกิดจากภาษาที่ใช้ ทั้งที่พระไตรปิฎกถือได้ว่าเป็นตำราหรือคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรได้เรียนรู้

    ได้รวบรวมคำสอนหลักขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้มีการถอดความ และจัดทำพระไตรปิฎกออกมาในภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ เป็นพระไตรปิฎกฉบับประชาชนบ้าง ฉบับเยาวชนบ้าง รวมทั้งมีคัดเลือกเนื้อหาสาระบางส่วนที่น่าสนใจมาเผยแพร่

    ทำให้คนทั่วไปได้ทราบเรื่องราวในพระไตรปิฎกมากขึ้น

    คำว่า "พระไตรปิฎก" มาจากคำว่า "ไตร" ที่แปลว่า สาม และ "ปิฎก" หมายถึง กระจาด ตะกร้า หรือบางแห่งก็แปลว่า คัมภีร์

    เมื่อรวมความแล้ว หมายถึง ที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหรือ 3 คัมภีร์ คือ

    1.พระวินัยปิฎก เป็นเรื่องเกี่ยวกับวินัยหรือศีลของพระสงฆ์

    2.พระสุตตันตปิฎก เป็นเรื่องคำสอนทั่วๆ ไป ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในที่ต่างๆ มีการเอ่ยชื่อบุคคล สถานที่และประวัติตามท้องเรื่อง

    3.พระอภิธรรมปิฎก เป็นข้อธรรมะล้วน กล่าวถึงความเป็นไปแห่งชีวิตและจุดหมายปลายทางของชีวิต หรือนิพพาน

    ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ยังไม่มีการแบ่งชัดเจนเช่นนี้ มีแต่เพียงการรวบรวมข้อธรรมะของพระพุทธเจ้าและพระวินัยเป็นข้อๆ แล้วซักซ้อมท่องจำกันมา

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาษาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกสมัยนั้นยากแก่การเข้าใจ จึงได้มีการอธิบายความพระไตรปิฎกขึ้นภายหลัง เรียกกันว่า อรรถกถา แปลว่า คำอธิบายพระไตรปิฎกโดยพระเถระผู้ใหญ่ ที่เรียกว่า พระอรรถกถาจารย์

    ปัจจุบันเรามักได้ยินคนพูดว่า ศาสนาเสื่อมลงๆ เพราะคนในสังคมผิดศีล ขาดธรรมกันมากขึ้น ในเรื่องพระศาสนาจะตั้งอยู่ได้นานหรือไม่นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวตอบข้อสงสัยข้อนี้ของพระสารีบุตร ว่า พระศาสนาของพระพุทธเจ้าวิปัสสี สิขี และเวสสภู อยู่ไม่ได้นาน เนื่องจากเมื่อแสดงธรรมแก่สาวกแล้ว พระพุทธเจ้าเหล่านี้ มิได้มีการบัญญัติเป็นพระวินัยเอาไว้ เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานหายตามไปด้วย <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนในสมัยพระพุทธเจ้ากกุธสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะ ดำรงอยู่ได้นาน เพราะเมื่อแสดงธรรมแล้ว ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ด้วย เมื่อทั้งสามพระองค์ปรินิพพาน พระศาสนายังคงสืบเนื่องต่อไปได้

    กล่าวโดยสรุปคือ ความเสื่อมและความเจริญแห่งพระศาสนามาจากการมีพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้คอยควบคุมความประพฤติผู้เข้ามาบวชในพุทธศาสนานั่นเอง ทั้งนี้เพราะพระวินัย คือ ข้อปฏิบัติหรือศีลของพระ เป็นรากฐานแห่งความดีต่างๆ พระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดเนื้อนาบุญแห่งพระศาสนา หากพระสงฆ์อยู่ในพระวินัยและปฏิบัติดี ย่อมทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชน แต่หากพุทธสาวกมิได้ทำตามพุทธบัญญัติ ย่อมทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือ อันนำมาซึ่งความเสื่อมสลายไปในที่สุด

    การกำเนิดวันพระ มาจากดำริของพระเจ้าพิมพิสาร ที่เห็นว่าทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำและ 15 ค่ำ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา มักจะมาประชุมเพื่อกล่าวธรรมของตน และชาวบ้านก็จะพากันไปฟังด้วยความเลื่อมใส พระองค์จึงอยากให้พระสงฆ์กระทำเช่นนั้นบ้าง จะได้ความรักและความศรัทธาเลื่อมใสจากประชาชน จึงนำพระดำรินี้ไปทูลขอต่อพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์

    พระพุทธองค์ ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมกันในทุกวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ และ 8 ค่ำแห่งปักษ์ แต่ปรากฏว่าในครั้งนั้น พระภิกษุเมื่อประชุมกันแล้ว พากันนิ่งเฉยไม่พูดอะไร ชาวบ้านก็พากันตำหนิ ว่าทำไมประชุมกันแล้ว ไม่แสดงธรรม <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงอนุญาตให้มีการแสดงธรรมในวันดังกล่าว ซึ่งเรียกกันภายหลังว่า "วันพระ" หรือ "วันธรรมสวนะ" และต่อมาทรงเห็นว่า ควรนำเอาศีลของภิกษุ 227 ข้อ มาแสดงในวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ที่เรียกว่า สวดปาติโมกข์ด้วย

    มีคนกล่าวไว้ว่า "สตรีเป็นศัตรูแห่งพรหมจรรย์" บางคนอาจคิดว่าเป็นการกล่าวร้ายผู้หญิง ในพระไตรปิฎกมีการพูดถึง "สตรีเป็นมลทินของภิกษุ"

    โดยมีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ พระอุทายี เป็นพระในสกุลเมืองสาวัตถี ท่านชอบเข้าออกในสกุลเป็นประจำ สมัยนั้นท่านมีหญิงสาวที่พ่อแม่ได้ยกให้ไว้แล้วเป็นอุปัฏฐากอยู่

    วันหนึ่งท่านไปบ้านหญิงดังกล่าว และหญิงสาวอยู่ในห้อง ท่านก็ตามเข้าไปในห้องคุยกันสองต่อสอง ปรากฏว่านางวิสาขามหาอุบาสิกา ไปบ้านนั้นพอดีเห็นพระอุทายีทำเช่นนั้น ก็กล่าวติเตียนว่าปฏิบัติตนไม่เหมาะสม แต่พระอุทายีไม่สนใจ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า

    พระองค์ให้มีการประชุมสงฆ์สอบสวนเรื่องนี้ เมื่อได้ความจริง ทรงตำหนิว่า พระอุทายีทำไม่เหมาะ ไม่ควร จะเป็นเหตุให้ผู้ไม่เลื่อมใสพระพุทธศาสนา ยิ่งไม่เลื่อมใส ส่วนใครที่เลื่อมใส ก็อาจจะคลายความเลื่อมใสลง เมื่อกล่าวติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุนั่งในที่ลับหูหรือลับตากับหญิง หนึ่งต่อหนึ่งอีกต่อไป ซึ่งพระวินัยข้อนี้ยังใช้อยู่จนปัจจุบัน

    จากเรื่องนี้จะเห็นว่าที่กล่าวว่าผู้หญิงทำให้ภิกษุเป็นมลทิน เพราะว่าหากผู้หญิงเข้าใกล้พระเมื่อใด แม้จะเพียงคุยกัน และไม่มีอะไรกัน แต่จะทำให้พระมัวหมอง และถูกกล่าวหาได้โดยง่าย ยิ่งอยู่ในที่ลับตาคน ยิ่งไม่เหมาะ และพระภิกษุแม้จะบวชถือศีล 227 ข้อ แต่มิใช่ผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ยังมีความเป็นปุถุชนอยู่ หากอยู่ใกล้ชิดกันโอกาสจะเกิดเรื่องไม่ดีไม่งามนั้นมีง่าย

    เรื่องนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงปรารภกับพระอานนท์ว่า ถ้ามีผู้หญิงมาบวชเมื่อไร จะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พระศาสนาตั้งอยู่ได้ไม่นาน และคงด้วยเหตุผลนี้ เมื่อพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระมารดาบุญธรรมของพระองค์มาขอบวชเป็นภิกษุณีองค์แรก พระวินัยของภิกษุณีจึงมีถึง 311 ข้อมากกว่าพระภิกษุเสียอีก รวมทั้งมีครุธรรมที่ต้องปฏิบัติอีกด้วย

    ทำอย่างไรสามี-ภริยาจะพบกันทุกชาติ มีเรื่องเล่าว่า สมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปรับบิณฑบาตที่บ้านคฤหบดีผู้หนึ่ง คฤหบดีและคฤหปตานี สามีภริยาได้ถวายบังคมและทูลถึงความจริงใจและความซื่อสัตย์ที่ทั้งสองมีต่อกันให้พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าตั้งแต่อยู่กินกันมาทั้งคู่ไม่เคยคิดนอกใจกันเลย ไม่ว่าด้วยกายหรือใจ และทูลต่อว่าหากทั้งสองปรารถนาจะพบและเป็นสามี-ภริยากันอีกในทุกๆ ชาติจะเป็นไปได้หรือไม่

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ถ้าสามีภริยาปรารถนาจะพบกันอีกในภายหน้าย่อมเป็นไปได้ หากคนทั้งสองนั้นมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีการบริจาคเสมอกันและมีปัญญาเสมอกัน

    ทั้งหมดนี้ คือ เนื้อหาสาระบางส่วนที่ปรากฏใน พระไตรปิฎก ซึ่งหลายๆ เรื่องเราอาจจะคาดไม่ถึงว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้ด้วยหรือ เช่น เหตุที่ทำให้สตรีสวยงาม วิธีแก้ง่วง การป้องกันงูกัด เสน่ห์หญิงเสน่ห์ชาย เป็นต้น ท่านที่สนใจไปหาอ่านเพิ่มเติมได้

    โดยเฉพาะพระไตรปิฎกสำหรับเยาวชน อ่านได้ง่าย สนุก และได้เรียนรู้หลักธรรมในระดับหนึ่งhttp://www.matichon.co.th/khaosod/v...nid=TURNd053PT0=&day=TWpBd055MHhNaTB5TXc9PQ==
     
  2. wan60

    wan60 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +590
    อนุโมทนาครับ
    มีโอกาสผมก็จะสร้างพระไตรปิฎกให้กับวัดที่ขาดแคลนสักชุด เป็นมงคลชีวิตของความเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง

    ขอให้คำอธิฐานนี้สำเร็จด้วยเถิด
     
  3. อิสวาร์ยาไรท์

    อิสวาร์ยาไรท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,608
    ค่าพลัง:
    +1,955
    ข อ บ คุณ ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...