เลี้ยงลูกด้วยเพลง (4) บทเพลงของแม่และชินบัญชร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 26 พฤศจิกายน 2014.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณมิตรรักแฟนเพลงที่กรุณาไปอุดหนุน “Nodame Cantabile” รักใสๆ หัวใจคลาสสิก ฉบับที่ผมเรียบเรียงและตั้งใจพิมพ์ออกมาให้เป็นแรงบันดาลใจเบื้องต้นสำหรับคนที่จะเข้าสู่โลกแห่งความงามของเพลงคลาสสิกแบบทางลัดกัน

    ย้ำว่าคนที่ซื้อหนังสือเล่มนี้ไปที่งานสัปดาห์หนังสือที่ศูนย์สิริกิติ์ จะได้รับแผ่นซีดี MP3 รวมแทร็กเพลงคลาสสิกทั้ง 70 เพลงที่สอดแทรกอยู่ในซีรี่ส์เรื่องนี้ตลอดทั้ง 11 ตอนให้ไปนอนฟังกันทั้งคืน เพื่อเป็นไกด์ให้แก่คนที่ชอบซีรี่ส์เรื่องนี้และอยากจะไปตามหาเพลงคลาสสิกมาฟังกันให้เพลิดเพลินอีกหน่อหนึ่ง

    สำนักพิมพ์บอกว่า ขายดิบขายดีเชียวแหล่ะครับซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะแถมแผ่นเพลงก็ได้ ผมก็อยากกระซิบว่าให้รีบๆ เก็บไว้ เพราะเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในอนาคตนั้นในการพิมพ์ครั้งที่สอง อาจจะไม่มีแถมแบบนี้ก็ได้ครับ



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เอาว่าใครที่อยากจะคุยกับผมจะเรื่องเพลงคลาสสิกหรือเรื่องโนดาเมะ วันอาทิตย์นี้ (19 ตุลา 51) ก็เจอกันได้ครับตอนราวๆ บ่ายโมงผมจะแวะไปที่บู๊ทของสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์และสำนักพิมพ์ผู้จัดการครับ


    <CENTER>******************************************************</CENTER>
    อาจจะมีคำถามขึ้นมาถึงบทความซีรี่ส์ขนาดยาวที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ว่า ทำไมเสียงเพลงถึงมีความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกเป็นอย่างยิ่ง หรืออาจจะมากกว่าการรับรู้ในแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการดูดนมนะครับ เพราะการดูดนั้นดูเหมือนจะเป็นสัญชาติญาณเลย

    คือพอตอนเด็กก็ดูดนมแม่ พอโตขึ้นมาหน่อยก็ดูดและหาทางสร้างแม่คนขึ้นมาใหม่

    คำตอบอยู่ตรงที่ว่า เพราะเด็กนั้นพัฒนาการรับฟังมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เป็นประสาทการรับรู้ที่เติบโตอย่างโดดเด่นที่สุด เมื่อเทียบกับประสาทตา หรือประสาทการรับรู้ในเรื่องของกลิ่น ขณะที่ ‘เสียง’ นั้นเด็กรับรู้ได้เลย และเมื่อแม่ร้องเพลง แม่พูด หรือแม่ขี้เมาท์ ลูกก็จะรับรู้ตลอด

    ...ผมอดจะนึกถึงคำพูดของพระท่านถึงว่าไว้ว่า วาจาแม่นั้นศักดิ์สิทธิ์ เพราะอะไรที่แม่พูดไว้ก็จะทำให้ลูกนั้นกลายเป็นสิ่งที่แม่บอกไว้เสมอ

    อันนั้นคำพระบอก...แต่ถ้าคิดไว้ในแง่วิทยาศาสตร์ มันก็คงเหมือนกัน เพราะลูกจะบันทึกสิ่งที่แม่พูด สิ่งที่แม่พ่น ออกมาไว้ในเซลล์สมองของเขาตลอด ถ้าวาจาแม่ก้าวร้าว หรือ รุนแรง ลูกก็จะซึมซับรูปแบบของการใช้เสียงรุนแรงแบบนั้นเอาไว้ในหัว แล้วมันก็จะค่อยๆ เจริญเติบโต หรือพัฒนาในรูปแบบที่ถูกโปรแกรมมาตั้งแต่ต้นนี้

    บอกตามตรงครับเดือนกว่าๆ นี่ บางครั้งผมก็อดน้อยใจเจ้าหนูเชลโล่ไม่ได้ แหม...ไอ้เราทั้งล้างก้น เช็ดอึ ไปจนกระทั่งอาบน้ำ แต่ถึงเวลาพูดด้วยดูเหมือนเจ้าเชลโล่ทำท่าจะคุยกะแม่เขาเท่านั้น ที่สำคัญถ้าจะยิ้ม เชลโล่ก็จะยิ้มแบบไม่มีเงื่อนไขกับแม่ของเขาและคุณย่าเท่านั้น

    สำหรับผมนั้นเชลโล่เขาจะยิ้มเหมือนกับ “มีโควต้า”...นั้นคือ ตื่นมาเจอเราคุยด้วยยิ้มให้ 1 ครั้ง แล้วก็ทำตาเหลือกไปเหลือกมาตามสไตล์เด็กอ่อน....มองหน้าเราก็มองแป๊ปเดียว ตอนตื่นตอนบ่ายยิ้มอีกครั้ง หรือถ้าผมกลับจากทำงานค่ำๆ ถ้าเขาไม่หลับก็ยิ้มอีกครั้งตอนอุ้มไปฟังเพลง หลังจากนั้นก็หมดโควตายิ้ม

    แต่ถ้าเสียงย่ากะแม่มาเมื่อไหร่ เขาจะหันขวับไปเลยยิ้มกัน แถมทำท่าเหมือนจะคุยกับแม่กับย่าด้วยซ้ำไป

    พูดถึงเสียงเพลงนี้ผมเคยเล่าให้ฟังไปแล้วว่า เมื่อหยิบเพลงของโมทซาร์ตมาเปิดให้เขาฟัง เชลโล่จะทำท่าเหมือนอยู่ในภวังค์ อารมณ์ดี พูดง่ายๆ ถ้าทำกิจกรรมอะไรอยู่ก็จะตอบสนองต่อเสียงเพลงของโมทซาร์ตด้วยอาการนุ่มนวลและเป็นจังหวะ อย่างการดูดนมนั้นภรรยาผมนี่บอกชัดเลยว่า ให้เปิดเพลงของโมทซาร์ต เพราะเขาจะดูดแบบ ‘ไม่ป๊าปๆๆ’ ซึ่งทำให้แม่เจ็บหัวนมเป็นยิ่งนัก ซึ่งตามปรกติถ้าเขาหิวจัดๆ เขาจะดูดแบบเอากันให้ตายไปข้างนึงแบบนั้นนะครับ

    ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมก็เลยขอภรรยาทำการทดลองอีกขั้นนึง นั่นคือ ขณะที่เปิดเพลงโมทซาร์ตแล้วดูดนมกันแบบนุ่มนวลและเป็นจังหวะอยู่นั้น ผมก็จะเปลี่ยนเพลงในแบบอื่นๆ ดู...อันนี้ด้วยความอยากรู้นะครับ ผมเอาเพลง My Spirit will Go On ของวง Dragon force มาเปิดให้เขาได้ยิน

    เสียงเพลงของวงเมโลดิค พาวเวอร์ เมตัล วงนั้นทำให้เชลโล่ตาเหลือกคล้ายๆ ว่าตกใจ หรือ มันเร้าเกินเหตุ เจ้าหนูหยุดดูดนม เอาปากออกจากแหล่งอาหารของเขา แล้ววาดมือ วาดเท้าแบบแรงมาก เรียกว่าออกจากภวังค์แห่งความงดงามของโมทซาร์ตทีเดียว

    เพลงของ Dragon Force นั้น ในความเป็นจริงก็เป็นบทเพลงที่ไพเราะมากนะครับ เป็นวงโปรดวงหนึ่งของผม นอกจาก Helloween และ Animetal โครงสร้างและการเรียบเรียงเพลงของวงนี้มีกลิ่นอายของดนตรีคลาสสิกในยุคโรแมนติกอยู่มาก อีกทั้งเมโลดี้ก็อยู่ในขั้นงดงามเอามากๆ แต่มันอาจจะไม่เหมาะในช่วงเวลาแห่งการดูดนมก็ได้

    อย่างไรก็ดี ภรรยาผมชอบเพลงนี้นะครับ เวลาที่เชลโล่ทำท่าเมาขี้ตาแบบว่า เมื่อถึงเวลาต้องกินนมแล้วแต่ยังไม่ยอมกิน บทเพลงของ Dragon Force จะช่วยให้เขาหลุดจากอาการเมาขี้ตาได้อย่างชะงัด เขาจะตื่นขึ้น เขาจะทำท่าเหมือนอยากจะออกกำลังกาย และจะกินนมต่อไป

    ที่ผมทดลองดูแบบนี้ส่วนหนึ่งก็เพราะ หลายๆ คอมเมนท์ในคอลัมน์นี้ที่ช่วยกันแนะนำว่า ให้ลองฟังเพลงเทียนแห่งธรรมบ้าง ให้ลองฟังเสียงพระสวดบ้าง หรือแม้กระทั่งเพลงร็อกอย่าง เลด เซปปลิน ก็ได้ลองมาหมดแล้ว ก็พอจะมองเห็นว่าเพลงในแต่ละแบบนี้มีผลกับเชลโล่ทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่าเพลงของโมทซาร์ตเท่านั้น

    การที่เพลงนั้นส่งผลให้เด็กแสดงพฤติกรรมต่างๆ เขาเรียกกว่า โมทซาร์ต เอฟเฟคท์ ( Mozart Effect) พูดง่ายๆ ก็คือ เสียงต่างๆ ที่ส่งผลต่อเด็กให้แสดงออกทางพฤติกรรม หรือ มีการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ก็เรียกว่า โมทซาร์ต เอฟเฟคท์ ทั้งนั้น ทั้งเพลงป็อป เพลงร็อก เพลงคลาสสิก และเพลงแจ๊ซ

    ความจริงจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องดนตรีต่อเซลล์สมองนั้น ตอนนี้มีหลายทฤษฏีมาก แต่เกือบทุกอันนั้นเป็นเรื่องของอิทธิพลของเสียงที่มีผลต่อการสร้างเซลล์ต่างๆ และการปรับสภาพให้พร้อมต่อการเรียนรู้ของเขา ว่ากันว่าดนตรีที่ดีที่มีความกลมกลืนและผสมผสานของเสียง มีท่วงทำนองที่พอเหมาะไม่โฉ่งฉ่าง ไม่เร่งเร้าเกินเหตุ จะสามารถกระตุ้นเซลล์ประสาทของเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 0-3 ปีให้เซลส์นั้นแตกแขนงออกมาอย่างมากมาย มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ฟังเสียงดีๆ ส่งผลให้ความสามารถในเรื่องของการเรียนรู้และรับรู้ดีขึ้น อีกทั้งความสุนทรีย์จะไปกระตุ้นส่วนสมองที่ควบคุมด้านสติปัญญา ความสนใจ และความจำในบริเวณสมองส่วนที่เรียกว่า “นีโอคอร์เท็กซ์” เอากันสั้นๆ ก็คือ การฟังดนตรีดีๆ ซักหนึ่งชิ้นจะช่วยให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนพร้อมๆ กัน

    เปรียบเทียบกันแล้วอรรถประโยชน์ที่เพลงดีๆ มีผลต่อเด็ก นั้นก็เหมือนการสร้างคอนโดนะครับ ต่อให้โครงสร้างภายนอกและภายในอาจจะไปได้เร็วหรือเสร็จตามเวลาที่ต้องการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไอ้คอนโดนั้นจะน่าอยู่ เพราะ คุณเจ้าของก็ต้องไปเติมเต็มส่วนต่างๆ ให้อีก ไล่มาตั้งแต่การประดับตบแต่ง ลงสี และซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้าน...ไอ้ทั้งหมดทั้งปวงนี้ จะทำอย่างวิลิศมาหราอย่างไรก็ได้ ถ้าเผื่อโครงสร้างมันดีและมีพื้นที่มากพอ แต่ถ้าโครงสร้างไม่ดี ต่อเติมโน่นนี่แล้วเกิดทรุด เกิดโย้ขึ้นมา ไอ้แบบนี้ก็ไม่ไหว

    เพลงดีๆ ก็คือการเตรียมโครงสร้างทางสมอง อารมณ์ และประสาทไว้ให้สมบูรณ์แบบ จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของพ่อ-แม่ หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดการเติม ตบแต่ง และค่อยๆ ใส่เครื่องประดับ หรือ เพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ ให้กับเขาลงไป ต้องควบคุมให้เกิดระเบียบ ต้องควบคุมให้อ่านหนังสือ ให้ทำการบ้าน สอนให้เขารู้จักผิดชอบชั่วดี...อย่างงั้นแหล่ะครับ ถึงจะได้เห็นเด็กที่เราภูมิใจ
    <CENTER>*********************************************************</CENTER>
    แต่ผมก็มีข้อสังเกตอีกว่า เพลงคลาสสิกของโมทซาร์ตนั้น อาจจะไม่มีพลังมากเท่ากับเพลงที่คุณแม่ร้องแบบเพี้ยนๆ หรือ ร้องได้นิดๆ หน่อยๆ อันนี้ก็เรื่องจริงอีกเหมือนกันว่า เสียงร้องของแม่และย่าทำให้เขายิ้มได้พอๆ กันกับเสียงเพลงของโมทซาร์ต

    ผมเองสังเกตหลายครั้งว่า เพลงแม่กาเหว่าเอย เนี่ยครับทำให้สมาธิของเชลโล่และระยะเวลาที่เขามองหน้าคุณย่านี่ นานกว่าหน้าพ่อและหน้าแม่เสียอีก ทั้งๆที่เสียงนั้นต้องบอกว่า เกือบจะไม่เป็นทำนองเลย ซึ่งก็แปลกดีเหมือนกัน ก็เลยไปค้นต่อว่า จริงๆแล้วมีบทความที่ว่าด้วยเสียงเพลงในลักษณะเพลงกล่อมเด็กที่เป็นน้ำเสียงโมโนโทนแบบนี้เหมือนกัน

    คือนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มนึง เขาเชื่อว่า ประสาทของเด็กแรกเกิด 0-3 เดือนนั้นยังไม่ละเอียดมากพอที่จะได้ยินเสียงดนตรีที่ซับซ้อนมากๆ เขาเชื่อว่าเด็กจะรับรู้เสียงที่ชัดเจนที่สุดในหมู่เครื่องดนตรีนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นวงดนตรี 10 ชิ้นที่บรรเลงออกมานั้น เด็กจะยังแยกไม่ออกมาว่า นี่คือเสียงเครื่องไม้ เครื่องทองเหลือง หรือ เครื่องสาย แต่เขาจะจับทำนองโดยรวมออกมา

    ในข้อมูลที่ผมไปค้นนั้น เขาว่าเพลงที่ให้ผลต่อเด็กมากในการทดลองคือ ‘เพลงสวดในโบสถ์’ ประเภท Passion ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกันแล้ว ผมว่าเสียงร้องเพลงแม่กาเหว่าของคุณย่าเชลโล่ หรือ เสียงสวดมนต์ ‘ชินบัญชร’ ของแผ่นที่แจกจากวัดอินทร์ บางขุนพรหมเมื่อก่อนนั้นก็น่าจะให้ลักษณะของเสียงในแบบเดียวกัน

    ผมเลยคิดว่า ถ้าคุณแม่คนไหนหรือคุณพ่อคนไหนเขินที่จะร้องเพลงให้ลูกฟังละก็ ลองสวดชินบัญชรให้ลูกฟัง ซึ่งผมลองแล้วครับ จะได้ผลที่น่าตะลึงเหมือนกันนั่นคือ ลูกหลับปุ๋ยไปเลย แถมยังจะได้ความขลังที่เป็นเกราะแก้ว 108 ประการในการคุ้มครองลูกของเราอีกนะครับ

    แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็เอาแบบภรรยาผมนะครับ คือพูดคุยกับเขา เขาจะหือๆ อือๆ ตอบหรือไม่ตอบ เธอก็พูดกับเขาเหมือนกับกำลังสนทนากันอยู่ ก็ใช้ได้เหมือนกันครับ เพราะ ดูเหมือนเด็กจะรับรู้ความรักและความอบอุ่นจากแม่ได้โดยที่ไม่สนท่วงทำนองเพี้ยน หรือ เหน่อ หรือแอคเซนท์ไม่ดีทีเดียวแหล่ะ

    เหนืออื่นใดผมคิดว่าพ่อกับแม่นั่นแหล่ะครับต้องเป็นคนที่สังเกตว่าลูกของเขานั้นสนองตอบต่อน้ำเสียงหรือเพลงแบบไหน โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าเด็กทุกคนจะมีเซลส์ในการมีรสนิยมที่เหมือนกัน ซึ่งความรักของพ่อและแม่น่าจะสามารถจับจุดได้เองว่าเลือดเนื้อของเรานั้นชอบอะไรครับ

    วันนี้ทิ้งท้ายด้วยเพลงที่ผมว่า เชลโล่ฟังแล้วอารมณ์ดีอีกเพลงหนึ่ง นั่นคือ Violin Sonata No.5 หรือที่รู้จักมักคุ้นในนาม Spring Sonata ผลงานชิ้นนี้เบโธเฟนเขียนขึ้นเพื่ออุทิศให้ท่านเคาน์ มอร์ริทซ์ ฟอน ฟรีส์ ในปี 1801 ซึ่งท่านเคาน์ท่านนี้เป็นผู้อุปถัมป์ของเบโธเฟนเขา อีกเพลงหนึ่งที่เบโธเฟนอุทิศให้ท่านเคาน์ท่านนี้ก็คือ ซิมโฟนี่ หมายเลข 7 ของเขานั่นเอง เชลโล่นั้นได้ยินเพลงท่อนแรกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จากซีรี่ส์เรื่องโนดาเมะในฉากที่ จิอากิ กับ มิเนะ เล่นด้วยกัน แต่พอเขาคลอดออกมา ผมพบว่าเขาชอบท่อน 2 (Adagio molto espressivo) ของเพลงนี้มากกว่าเลยเอามาใฟ้ฟังกันครับ

    ฟังเพลงนี้ อุ้มลูกไป มองดูหน้าต่างนอกบ้านเห็นฝนพรำๆ นั้นได้อารมณ์สันติชะมัดเลยครับ

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40></TD></TR><TR><TD class=date vAlign=center align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><!--<table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tr><td height="1" bgcolor="#CCCCCC">[​IMG]</td></tr></table>-->โดย ต่อพงษ์</TD></TR><TR><TD class=date vAlign=center align=left>[​IMG]17 ตุลาคม 2551 11:12 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...