เรื่องเทศน์กัณฑ์มัทรีที่อัมพวา

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย NATTAYA nurse, 26 ธันวาคม 2009.

  1. NATTAYA nurse

    NATTAYA nurse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +781
    เรื่องเทศน์กัณฑ์มัทรีที่อัมพวา

    [​IMG]









    ปรากฏว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีวิธีการดัดนิสัยและให้สติบุคคลอื่นด้วยวิธีการที่แปลกประหลาดพิสดารและได้ผลดีเสมอ ถ้าจะว่าแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นนักปกครองที่ดีที่สุดที่มีวิธีการณ์ไม่ซ้ำแบบใครเลย ดังจะกล่าวแต่ละเรื่องดังนี้
    ในครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระราชดำริให้วัดต่างๆ มีการตกแต่งเรือเข้าประกวด และเสด็จมาประทับทอดพระเนตรอยู่ที่ตำหนักแพ (ท่าราชวรดิษฐ์) วัดต่างๆ ได้ส่งเรือเขาประกวดกันเป็นอันมาก และต่างก็ประกวดประขันกันในด้านความงดงามอย่างถึงขนาด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเรือของวัดต่างๆ ที่ผ่านตำหนักแพไปอย่างทรงสำราญพระราชหฤทัย แต่พอถึงตอนเรือของวัดระฆังฯ ปรากฏว่าเป็นเรือสำปั้นขนาดย่อมเก่าๆ มีเณร ๒ องค์พายหัวและท้าย กลางลำมีลิงตัวหนึ่งผูกไว้กับหลัก มีป้ายแขวนคอลิงตัวนั้นอยู่แผ่นหนึ่งและมีตัวหนังสือเขียนว่า "ขายหน้าเอาผ้ารอด" พอทอดพระเนตรเห็นเข้า ก็ทรงพระพิโรธ และทรงพระดำรัสถามข้าราชบริพารว่า "เรือของวัดอะไร?" เมื่อได้ทรงทราบว่าเป็นเรือของวัดระฆังๆ ก็ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระราชวังเสียพร้อมกับ พระราชดำรัสว่า "เขาไม่เล่นกับเรา" ครั้นอยู่มา มีข้าราชบริพารผู้หนึ่งไปถามเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่า "คำว่า ขายหน้าเอาผ้ารอดนั้น หมายความว่ากระไร?" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้อธิบายว่า "ธรรมดาพระสมณะย่อมหาสมบัติใดๆ ได้ยาก เพราะได้รับเครื่องอุปโภคจากการภิกขาจาร หรือผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย จึงย่อมไม่มีทุนทรัพย์ในอันที่จะนำมาลงทุนซื้อหาสิ่งใดๆ เพื่อตกแต่งประดับประดาเรือให้สวยงามได้ แต่มีอยู่ประการหนึ่ง ที่จะทำได้เช่นนั้น คือต้องขายผ้าใตรเสีย เพื่อเอาเงินมาลงทุนประดับเรือ จึงยอมขายหน้าเพื่อเอาผ้าไตรรอดไว้ก่อน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะได้เอาไว้ห่มครองสังขารกันความร้อนหนาว"
    นับแต่นั้นมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงดำริให้มีการประกวดเรือของวัดอีกเลย การกระทำของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในครั้งนี้เป็นการทูลถวายพระสติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แม้ว่าจะเป็นการเสี่ยงอยู่มากก็นับว่าได้ผลดี
    ในครั้งหนึ่ง พระที่วัดระฆังฯ ๒ องค์เกิดทะเลาะกันถึงกับด่าถึงโยมผู้ชายซึ่งกันและกันคำหนึ่ง "พ่อ" สองคำก็ "พ่อ" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ยินเข้า และได้เอาดอกไม้ธูปเทียนมายังที่ซึ่งพระทั้ง ๒ กำลังทะเลาะกันอยู่ พอมาถึงก็ยกมือจบดอกไม้ธูปเทียนขึ้นกล่าวว่า "พ่อทั้งสองจ๊ะ,พ่อเก่งเหลือเกินจ้ะ ลูกขอฝากเนื้อฝากตัวบ้าง" พระทั้งสององค์เห็นเช่นนั้นก็รู้สึกตกใจและละอายใจอย่างยิ่งต่างได้กราบขอขมาต่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และสัญญาว่าจะไม่ทะเลาะกันอีกเลย
    เล่ากันว่าในการจาริกไปตามชนบท เพื่อหลบเลี่ยงการตั้งให้เป็นพระสมณศักดิ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คราวหนึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้จาริกไปตามหมู่บ้านในชนบทแห่งหนึ่งทางภาคอิสาน ในขณะที่ผ่านป่าละเมาะแห่งหนึ่ง ได้เห็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งติดแร้วอยู่ ท่านจึงได้ปลดปล่อยสัตว์ป่าตัวนั้นไป แล้วเอาขาของท่านเข้าไปใส่ไว้ในแร้วนั้นแทน จบพลบค่ำ นายพรานได้มาเห็นพระแก่ๆ องค์หนึ่งมาติดแร้วของเขาอยู่ จึงได้ถามเรื่องราวว่า "หลวงพ่อมาจากไหน? ทำไมจึงมาติดแร้ว?" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ตอบแก่ชายผู้นั้นว่า "อาตมภาพได้เดินทางผ่านมาทางนี้ และได้เห็นสัตว์ตัวหนึ่งติดแร้วของพ่ออยู่ อาตมภาพรู้สึกเวทนาสัตว์ที่น่าสงสารตัวนั้น จึงได้ปล่อยไปเสีย และเอาตัวของอาตมาเข้าจำนองไว้แทน สุดแต่พ่อจะเอาไปฆ่าแกงเถอะจ๊ะ" เมื่อนายพรานได้ยินเช่นนั้น ได้บังเกิดความเลื่อมใสเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เจ้าพระคุณรีบจัดแจงปลดแร้วออก และนิมนต์ท่านไปที่บ้าน ทั้งจัดการต้อนรับอย่างดีที่สุด เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้กล่าวขอบิณฑบาตชีวิตสัตว์ทั้งหลายไว้ นายพรานผู้นั้นก็รับคำทุกประการ
    กล่าวกันว่า ในคืนหนึ่ง มีขโมย ๒ คน คิดกันเขาไปขโมยของในหอสวดมนต์ซึ่งเป็นที่จำวัดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขะโมยทั้งสองนัดแนะกันว่า คนหนึ่งจะเข้าไปค้นข้างในและอีกคนหนึ่งรอรับที่หัวบันได คืนที่เข้าไปค้นข้างในไม่เห็นอะไร เพราะคืนนั้นเป็นคืนข้างแรม มืดมาก เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั่งซุ่มดูขะโมยทั้ง สองอยู่ใกล้กับบันไดนั้น แต่คนที่เข้าไปค้นของไม่เห็นท่าน ส่วนคนที่อยู่หัวบันได้เห็นท่าน และเข้าใจว่าเป็นเพื่อนของตน จึงสะกิดท่านให้ส่งของออกมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ส่ง บาตร , กระโถน, ป้านน้ำร้อน, จีวร, และพัดให้แก่ขโมยผู้นั้นไปจนหมด สักครู่หนึ่งขโมยคนที่เข้าไปค้นข้างบนก็ลงมาข้างล่าง และเมื่อเห็นสิ่งของเหล่านี้กองอยู่ จึงเข้าใจว่าเพื่อนของตนขึ้นไปขนลงมา จึงได้ช่วยกันขนของเหล่านี้รีบออกจากวัดระฆังฯไป พอพ้นเขตวัดจึงได้เกิดซักถามกันขึ้น คนที่ได้ขึ้นไปค้นข้างบนหอสวดมนต์บอกว่า "ไม่พบของอะไรเลย" อีกคนหนึ่งก็ว่า "ของเหล่านี้ไม่ได้ส่งลงมาดอกหรือ?" คนนั้นก็ปฏิเสธว่า "เปล่า" จึงเป็นอันรู้ว่า ชะรอยเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั่นเองที่ช่วยส่งของลงมาให้ บาปของเขาที่ทันตาเห็นก็คือ เขาทั้งสองนอนไม่หลับตลอดคืน ปรึกษากันไม่ตกว่า จะทำอย่างไรกับสิ่งของเหล่านี้ดี ครั้นรุ่งขึ้นแต่เช้ามืดขะโมยทั้งสองจึงได้ตกลงใจรีบนำเอาสิ่งของที่ขโมยไปกลับมาถวายคืนให้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ๆ จึงได้ขอบิณฑบาตต่อขโมยทั้งสองว่า "ต่อไปจงอย่าได้ริอ่านถือเอาสิ่งของของผู้อื่นโดยเจามิได้ยกให้อีกเลย" ขโมยทั้งสองก็รับคำสัญญากับท่านทุกประการ
    มีอีกหนึ่งที่ค่อนข้างขบขันอยู่สักหน่อย คือในครั้งที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ คิดจะบูรณะพระอุโบสถและก่อพระปรางค์ (พระปรางค์องค์ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้) ที่วัดระฆังฯ ในวันหนึ่งขณะที่พวกถกุลีมอญกำลังขนทรายจากเรือขึ้นวัด เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ไปยืนดูอยู่กุลีมอญคนหนึ่งซึ่งไม่รู้จักเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ออกปากไล่ท่านไม่ให้ยืนเกะกะ มอญว่า "หลวงต๊า, หลีกไป๊อย่าเกะกะ(หลวงตา, หลีกไป อย่าเกะกะ)" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยืนเฉยเสีย มอญจึงว่า "หลวงต๊า,นี้ดื่อ (หลวงตานี้ดื้อ)" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ หัวเราะหึๆ แล้วเปรยออกมาเรียบๆ ว่า "อ้ายมอญๆ" แล้วก็เดินจากที่นั่นไป ปรากฏว่า มอญชนทรายตั้งแต่เช้าจนเย็นก็ไม่หมดลำเรือสักที จึงพากันมานั่งพักเหนื่อยอยู่ข้างกองทราย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เดินมาเห็นเข้า จึงถามเป็นเชิงล้อเป็นสำเนียงมอญว่า "ผ่อม๊อญ, เป็นหยั่งไง๊จึงมานั่งหอบฮั่กๆ" (พ่อมอญเป็นยังไง จึงมานั่งหอบฮักๆ?) มอญจึงว่า "หล่วงต๊า เป็นหยั่งไง๊ ข่นทร๊ายไม่หมด" (หลวงตาเป็นยังไงขนทรายไม่หมด) เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงว่า "ไปขนเถอะประเดี๋ยว ก็อเสร็จ" มอญจึงพากันไปขนต่อ ไม่ทันพลบค่ำก็เสร็จ มอญพากันประหลาดใจและเลื่อมใสเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กันมาก
    รุ่งขึ้นได้พากันไปซื้ออาหารมาทำถวายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ฉันแบบสำรวมอย่างที่เคยฉัน ทำให้มอญแปลกใจมาก เพราะไม่เคยเห็น มิหนำซ้ำพอฉันเสร็จก็เอาน้ำใส่จานเป็นเชิงล้างจานแล้วยกขึ้นซด มอญอดรนทนไม่ได้ ถึงกับออกปากว่า "หล่วงต๊าท่ำอย่างง๊ายๆ" (หลวงตาทำอย่างไงๆ)
    เล่ากันว่า มีหลวงตาองค์หนึ่ง อายุรุ่นราวคราวเดียวกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มักจะจำวัดตื่นสายไม่ได้ไปบิณฑบาตเสมอๆ จึงเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็แวะฉันที่หน้ากุฏิหลวงตาองค์นั้นเสมอหลวงตาองค์นั้นรู้เข้าจึงต้องรีบตื่นแต่เช้า ไปบิณฑบาตเหมือนพระอื่นๆ
    นี้ก็เป็นบุคคลิกภาพอันหนึ่งที่ใช้ตักเตือนคนอื่นๆ ที่ได้ผลโดยไม่ต้องพูดกันเลย.ได้แก่เรื่องลูกศิษย์ขนาดเขื่องของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้พากันลวงเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่า "วันนี้เขานิมนต์ไปเทศน์" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    จึงว่า "เขานิมนต์พรุ่งนี้ไม่ใช่หรือ?" พวกศิษย์เหล่านั้นก็ช่วยกันยืนยันว่า "วันนี้ ไม่ใช่พรุ่งนี้" ทั้งนี้เพราะลูกศิษย์ขนาดเขื่องๆ เหล่านั้นพากันขาดแคลนของอุปโภคนั่นเอง อดใจรออยู่ไม่ได้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็รู้เท่าทันในความคิดของเขาเหล่านั้นดี แต่แกล้งกล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้นก็ไปสิ" พวกลูกศิษย์ก็พากันดีใจ รีบแบกพัดและหีบคัมภีร์พาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ลงเรือพายไปยังบ้านที่เขานิมนต์ไว้ โดยคิดเสียว่า เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปถึงบ้านผู้นิมนต์แล้ว อย่างไรเสียก็ต้องไปเทศน์ในวันนั้นเพราะใครๆ ก็ต้องเกรงใจเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กันทั้งนั้น แต่เผอิญเจ้าของบ้านยังเตรียมตัวไม่ทัน เมื่อไปถึงบ้านผู้นิมนต์ เจ้าของบ้านจึงกราบเรียนถามว่า "หลวงพ่อมีธุระอันใดหรือ?" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ว่า "ก็มาเทศน์อย่างไรเล่า" เจ้าของบ้านก็ว่า "นิมนต์หลวงพ่อพรุ่งนี้มิใช่วันนี้ดอก" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงว่า "นั่นนะซิจ๊ะ, ฉันก็ว่าพรุ่งนี้ แต่เจ้าพวกนี้สิเขาเคี่ยวเข็ญฉันว่าวันนี้ ฉันเลยต้องมาจ้ะ เพราะตัวคนเดียวเขาหลายคนสู้เขาไม่ได้จ้ะ" เจ้าของบ้านและคนในบ้านนั้นก็พากันหัวเราะ ไปตามๆกัน แต่พวกลูกศิษย์ขนาดเขื่องๆ เหล่านั้นไม่กล้าเข้าหน้าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปหลายวัน และแต่นั้นมา ก็มิได้คิดอ่านเช่นนี้อีกต่อไป ทั้งๆที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่ได้ว่ากล่าวแต่ประการใด จะเห็นได้ว่าวิธีการลงโทษของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นพิสดารและได้ผลลึกซึ้งเสียยิ่งกว่าวิธีอื่นใดทั้งสิ้น

     
  2. su37berkut

    su37berkut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    422
    ค่าพลัง:
    +1,121
    อนุโมทนา...สาธุ แก้ให้นิดหนึ่งนะครับ

    มีอีกหนึ่งที่ค่อนข้างขบขันอยู่สักหน่อย คือในครั้งที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ คิดจะบูรณะพระอุโบสถและก่อพระปรางค์ (พระปรางค์องค์ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้) ที่วัดระฆังฯ ในวันหนึ่งขณะที่พวกถกุลีมอญกำลังขนทรายจากเรือขึ้นวัด เจ้าพระคุณสมเด็จฯ

    พระปรางค์วัดระฆังองค์ใหญ่นี้ ไม่ใช่สมเด็จท่านก่อขึ้นครับ
    พระปรางค์องค์นี้ ถือว่ารูปทรงแปลกประหลาด ผิดเพี้ยนตามหลักปรางค์ทั่วไป
    สันนิษฐานว่า สร้างแต่สมัยอยุธยา และได้รับการบูรณะในสมัย ร.3
    พร้อมกับหล่อพระประธานในพระอุโบสถขึ้นใหม่
    เพราะสมัย ร.4 ไม่นิยมปรางค์ ทำแต่เจดีย์ทรงระฆังครับ...
     
  3. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทนาค่ะ^ ^

    ท่านสมเด็จช่างมีวิธีที่ไม่เหมือนใครจริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...