เมื่ออ่านพระไตรปิฎกไม่จบ ก็พูด “พระธรรมวินัย” ผิดๆ ถูกๆ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 20 มกราคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    e0b988e0b8b2e0b899e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b984e0b895e0b8a3e0b89be0b8b4e0b88ee0b881e0b984e0b8a1e0b988.jpg

    คนข้างวัด/อุทัย บุญเย็น

    แม้ในบางสิกขาบท (ในพระไตรปิฎก) พระพุทธเจ้าจะใช้คำว่า “มหาโจร” กับพระภิกษุผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คฤหัสถ์จะเรียกพระว่า “โจร” หรือ “อสัชชี” ได้ง่ายๆ

    เพราะ ในพระไตรปิฎกให้เคารพพระภิกษุจนกระทั่งแม้แต่มีเศษจีวรนิดเดียวติดตัวเพื่อแสดงว่าท่านเป็นพระ อันแสดงว่าพระศาสนายังไม่สูญ

    หลวงพ่อพระพยอมเคยเล่าว่า คนสมัยก่อนจะเตะพระลูกชายเพื่อทำโทษ ยังถลกจีวร (สบง) เตะกันเอาไม่ลบหลู่จีวร

    เมื่อได้ฟังคฤหัสถ์กล่าวลบหลู่พระสงฆ์ด้วยวาจาอันไม่บังควร ให้รู้สึกไม่สบายใจ

    เคยสังเกตกิริยาของท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพผู้เรียบเรียง “พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน” และสอบพระนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ เห็นแต่ความอ่อนน้อมที่ท่านแสดงต่อพระเณร ไม่มีอาการแข็งกระด้างเลย

    เมื่อ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนวิจารณ์พระสงฆ์แรงๆ ทางสยามรัฐ ก็นึกว่าท่านไม่นับถือพระเณร แต่เวลาท่านพูดกับพระเณร ก็เห็นแต่ความอ่อนน้อมในการใช้วาจาของท่าน อย่างอุบาสก (คฤหัสถ์) พูดกับพระ

    คราววิวาทะเรื่อง “จิตว่าง” กับท่านพุทธทาสภิกขุ ที่คุรุสภาเมื่อหลายสิบปีก่อน ท่าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชก็ใช้วาจานอบน้อมต่อท่านพุทธทาสเป็นอย่างดีไม่ใช้วาจาจ้วงจาบแต่อย่างใด

    ได้ฟังคฤหัสถ์ใช้คำว่า “โจร” และ “อลัชชี” กับพระที่จับเงินทองในสมัยนี้ ก็ไม่สบายใจ

    จริงอยู่ พระพุทธเจ้าเคยตรัสในบางสิกขาบท (วินัยสงฆ์) ติเตียนพระภิกษุที่กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมว่าเป็นเหมือน “มหาโจร” ก็ไม่ได้หมายความว่า ให้คฤหัสถ์เลิกนับถือกราบไหว้พระสงฆ์เพราะแม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็เคารพสงฆ์

    การแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์เป็นกิริยาอันเป็นบุญพระพุทธเจ้าให้ครุธรรม 8 ประการในการบวชภิกษุณีครั้งแรก มีข้อหนึ่งระบุว่า ให้ภิกษุณีแม้จะบวชมานาน ต้องกราบไหว้พระภิกษุผู้เพิ่งบวช แสดงว่า ทรงให้เคารพพระภิกษุเสมอ

    เคยตั้งข้อสังสัยว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ถ้าให้มาตุคาม (สตรี) บวชเป็นภิกษุณี ศาสนาของพระพุทธองค์จะมีอายุได้แค่ 500 ปี

    ศาสนาของพระพุทธเจ้า ที่ต่อมาฝรั่งเรียกว่า “พุทธศาสนา (Buddihism)” นั้น เดิมที ทรงใช้คำว่า “ธรรมวินัย” หรือ “พรหมจรรย์” หมายความว่า เมื่อมีภิกษุณี ความเป็นอยู่อย่างมีพรหมจรรย์ของภิกษุจะน้อยลง ตีความว่า อายุของพุทธศาสนาจะสั้นลง

    แต่ไม่ได้หมายความว่า การประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าจะสูญสิ้นไปด้วยเวลาใดเวลาหนึ่ง

    จึงมีพระดำรัสว่า “โลกจักไม่ว่างจากพระอรหันต์” หรือมีคำว่า “อกาลิโก” (คำสอนหรือธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่จำกัดด้วยกาลเวลา)

    มีอยู่คำหนึ่ง ที่ชอวนให้เข้าใจผิด คือคำว่า “สมมติสงฆ์” มีผู้เข้าใจว่า พระสงฆ์เป็นเพียงพระโดยสมมติ คือไม่ใช่พระแท้เพราะเราใช้คำว่า “สมมติ” ในความหมายว่า ไม่ใช่ความจริง หรือไม่ใช่ของจริง

    แท้จริงคำว่า “สมมติ” ในความหมายเดิม หมายถึงเป็นที่รู้กัน เป็นที่รับรู้ทั่วกัน หรือเป็นการแต่งตั้งขึ้นซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน

    เพราะ ฉะนั้น สมมติสงฆ์ก็คือพระนั่นแหละ ไม่ใช่ของปลอมไม่ใช่คฤหัสถ์ที่สักแต่ว่าห่มจีวรเท่านั้น พระภิกษุที่เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล ก็ล้วนแต่เป็นสมมติสงฆ์ ต่อเมื่อได้บรรลุธรรมเป็นอริยะ จึงเรียกว่า “อริยสงฆ์”

    ทั้งสมมติสงฆ์ และอริยสงฆ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงให้ความเคารพ

    แม้จะเห็นพระภิกษุจับเงินทองหรือยินดีต่อเงินทอง ก็ไม่อยากให้เห็นว่าท่านเป็นอลัชชีหรือเป็นโจรในผ้าเหลือง

    ในมงคลสูตร มีอยู่ข้อหนึ่งใช้คำว่า “สมณานญจ ทสฺสนํ” แปลว่า การเห็นสมณะ หรือพระภิกษุ) เป็นอุดมมงคลอย่างหนึ่ง แสดงว่า พระภิกษุไม่ว่าท่านจะมีศีลหรือไม่มีศีล อย่างไรท่านก็เป็นพระหรือเป็นสมณะ ซึ่งเมื่อได้เห็นก็เป็นบุญ ควรแก่การพนมไหว้อยู่นั่นเอง

    สมัยนี้ บางทีคฤหัสถ์มีการศึกษา หรือได้อ่านหนังสือธรรมะมากกว่าพระสงฆ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คฤหัสถ์นั้นมีฐานะสูงกว่าพระสงฆ์

    คฤหัสถ์ก็ยังต้องกราบไหว้พระสงฆ์อยู่นั่นเอง

    แม้พระสงฆ์จะมีความเห็นในเรื่องอัตตา-อนัตตาต่างกันอยู่ แต่คฤหัสถ์ก็ไม่ยกตัวเองให้สูงกว่าพระ

    อยากให้คฤหัสถ์ชาวพุทธวางตัวกับพระสงฆ์ให้เหมาะสม คือให้แสดงความเคารพ ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว ต่อท่าน โดยเฉพาะการใช้วาจากับพระสงฆ์ ที่ไม่เหมาะแก่ฐานะของตน

    การเห็นพระภิกษุเป็น “โจร” เป็นเห็นตามข้อความในวินัยสงฆ์บางสิกขาบท ไม่พึงเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าให้เห็นพระเป็นโจรไปทั้งหมด

    มีอยู่เรื่องหนึ่ง อยากให้ชาวพุทธทำความเข้าใจให้ดี คือความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ทุกวันนี้ ฝ่ายบ้านเมือง (คือคฤหัสถ์) ตีกรอบให้พระสงฆ์อยู่ในกฎหมายของตน บางสมัยเรียกว่า “กฎพระสงฆ์” บางสมัยเรียกว่า “พ.ร.บ.” (หรือ พระราชบัญญัติ) ก็เพื่อสะดวกแก่การปกครอง หรือปกป้องคุ้มครอง

    ในความเป็นจริง พระสงฆ์มีกฎระเบียบโดยพระพุทธบัญญัติในรูป “สิกขาบท” มีระบบการปกครองของตนเอง แต่ยุคสมัยทำให้ท่านอยู่เป็นอิสระไม่ได้ เพราะต้องอยู่กับการปกครองของฝ่ายบ้านเมือง

    เขาให้มี “สมณศักดิ์” ท่านก็ต้องมี

    เขาให้เปิดบัญชีธนาคารรับเงินนิตยภัตตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ท่านก็ต้องเปิด

    เพราะอยู่ในระบบการปกครองของฝ่ายบ้านเมือง

    อันที่จริงในระบบการปกครองของพระพุทธเจ้าก็มีอยู่แต่เมื่อฝ่ายบ้านเมืองต้องการให้มี “ศาสนาแห่งชาติ” ก็จำเป็นต้องมีระบบการปกครองสงฆ์ด้วยกฎหมายของบ้านเมือง ทับไว้อีกชั้นหนึ่งโดยไม่ให้ขัดแย้งกับระบบการปกครองของพระพุทธเจ้า

    ระบบสมณศักดิ์ ถ้าคิดว่าไม่ดี ก็น่าจะกลับไปใช้ระบบเดิมของพระพุทธเจ้าได้ คือให้พระสงฆ์ปกครองกันเองด้วยอุปัชฌาย์อาจารย์ บริหารกิจการในวัดด้วยหน้าที่ต่างๆ ซึ่งแต่งตั้งกันโดยพระสงฆ์เอง เช่น มีเจ้าหน้าที่เก็บรักษาของสงฆ์ มีเจ้าหน้าที่แจกจ่ายบริการต่างๆ แก่พระสงฆ์ ฯลฯ

    พระสงฆ์ที่มีคุณสมบัติเดิ่นในด้านต่างๆ พระพุทธเจ้ายกย่องด้วย “เอตทัคคะ” ให้เป็นที่ปรากฏ

    อย่างไรก็ตาม ถ้าฝ่ายบ้านเมืองคิดว่าจะทำอย่างนั้นก็คงจะมีปัญหาได้อีก คือจำเป็นจะต้องมีองค์กรดูแลกัน ก็จะต้องมีองค์กรอย่าง “มหาเถรสมาคม”

    ในระบอบราชาธิปไตย จึงมีระบบสมณศักดิ์อยู่ในกฎหมาย ซึ่งเป็นที่มาของลาภสักการะครอบงำ พระสงฆ์อยู่

    เมื่อได้ข่าวว่า มีผู้คิดการใหญ่จะปฏิรูปการคณะสงฆ์ ก็ให้หนักใจแทน ไม่รู้ว่าจะทำกันอย่างไร?

    ขอขอบคุณที่มา
    https://siamrath.co.th/n/61617
     

แชร์หน้านี้

Loading...