เปิดตัวผลงานแรกหอพระไตรปิฎกฯหนังสือวิทยาทานนโม ไตรสรณคมน์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    เปิดตัวผลงานแรก'หอพระไตรปิฎกฯ'หนังสือวิทยาทาน'นโม ไตรสรณคมน์'





    [​IMG]

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากความเป็นเลิศวิชาการด้านสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สังคมแขนงต่างๆ ของแต่ละคณะสร้างชื่อเสียงให้สถาบัน คณะอักษรศาสตร์ได้ก้าวไปอีกขึ้นหนึ่ง ได้จัดตั้งหอพระไตรปิฎกนานาชาติขึ้น เพื่อเป็นฐานคลังพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเถรวาท

    รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง (อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา) ประธานหอพระไตรปิฎกนานาชาติ กล่าวถึงที่มาการจัดตั้งหอพระไตรปิฎกฯ นี้ว่า ได้เริ่มมาแต่ปี 2543 ปัจจุบันเป็นสถานที่ประดิษฐานคลังพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีความสมบูรณ์ยิ่งแห่งหนึ่งของไทย ได้รวบรวมภาษาบาลี อักษรนานาชาติ ฉบับพิมพ์ ใบลาน และพับสา อาทิ พระไตรปิฎกสุวรรณภูมิ ไทเขิน ล้านนา พร้อมทั้งคำแปลเป็นภาษาต่างๆ รวมแล้วกว่า 2,000 เล่ม

    นอกจากเป็นคลังพระไตรปิฎกที่มีความสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ทางหอพระไตรปิฎกนานาชาติ ยังถ่ายทอดองค์ความรู้นี้เปิดหลักสูตรวิชาพระไตรปิฎกกับวิถีชีวิต สำหรับสอนนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย พร้อมได้จัดโครงการแปลและศึกษาพระไตรปิฎก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณว่าตลอดระยะเวลา 60 ปีแห่งการปกครองแผ่นดินโดยธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ ทรงนำหลักธรรมในพระไตรปิฎกมาปฏิบัติในลักษณะบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมในโครงการต่างๆ เป็นอันมาก ทางหอพระไตรปิฎกฯ ได้จัดโครงการแปลและศึกษาพระไตรปิฎกฯ จัดพิมพ์หนังสือชื่อ "นโม ไตรสรณคมน์" ขึ้น เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล ในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

    "นโม ไตรสรณคมน์" ถือเป็นหัวใจสำคัญของพระไตรปิฎกบทแรกๆ ทุกฉบับที่มีมาครั้งพุทธกาล และบท นโม ตสฺส ภควโต เป็นบทที่จัดวางเป็นบทปณามพระรัตนตรัยในเบื้องต้นของคัมภีร์ทุกเล่มพระไตรปิฎก ที่มีการทำปฐมมหาสังคายนาเมื่อ พ.ศ. 1 ในส่วนบทไตรสรณคมน์ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เป็นบทแรกของเนื้อหาคัมภีร์ขุททกปาฐะ พระสุตตันตปิฎก มีความสำคัญยิ่งในฐานะหลักสูตร หรือคู่มือเบื้องต้นของการศึกษาพระพุทธศาสนา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นประตูที่พาสู่ทุกขั้นตอนจวบจนถึงพระนิพพาน <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดร.สุภาพรรณ กล่าวต่อว่า หนังสือนโม ไตรสรณคมน์นี้ยังมีบทคัมภีร์ฉบับต่างๆ ที่ได้จากการแปลและศึกษานำมาใส่ไว้ในเล่ม อาทิ ฉบับฉัฏสังคีติ ภาษาบาลี อักษรพม่า พิมพ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นผลของการสังคายนานานาชาติครั้งแรกและครั้งเดียวของโลก โดยพระเถระผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกจากทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ไทย พม่า ลังกา เป็นต้น

    นอกจากนี้ มีพระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436) รัชกาลที่ 5 ถือเป็นชุดหายาก มีคุณค่าสูง เป็นต้นฉบับจริงอยู่ในหอพระไตรปิฎกฯ นี้ พิมพ์ชุดแรกของโลก พิมพ์ภาษาบาลี อักษรสยาม พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชุดนี้ไปยังวัดต่างๆ 500 วัด ทั่วประเทศในเวลานั้น

    พระไตรปิฎกฉบับนี้ มีการปริวรรตอักษรสยามเป็นอักษรโรมัน ซึ่งได้อัญเชิญพระราชนิพนธ์คาถาสรรเสริญพระรัตนตรัยในรัชกาลที่ 4 แสดงในอักษรโรมันด้วย เพื่อเป็นตัวอย่างการเทียบพยัญชนะและการออกเสียงอักษรสยาม-บาลี กับอักษรโรมัน-บาลี พร้อมพระราชทานแก่สถาบันสำคัญในต่างประเทศกว่า 260 แห่งทั่วโลก ได้นำมาตีพิมพ์บางบทในหนังสือเล่มนี้

    ดร.สุภาพรรณ กล่าวทิ้งท้ายหนังสือเล่มนี้ว่า เป็นผลงานแรกของหอพระไตรปิฎกฯ ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นทุนดำเนินการ เพื่อเป็นวิทยาทานผู้สนใจและศึกษาสารธรรมในพระไตรปิฎกได้เข้าถึงแก่นพระธรรมคำทรงสอนของสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า ศึกษาถ่องแท้แล้วสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนและสังคมส่วนรวม อีกทั้งเพื่อเป็นการสืบทอดพระไตรปิฎกและพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน

    ผู้สนใจหนังสือ "นโม ไตรสรณคมน์" ติดต่อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ 0-2218-9867-9


    ที่มา : ข่าวสด
     

แชร์หน้านี้

Loading...