"เนเธอร์แลนด์"ไอเดียหวือ สร้าง"เกาะทิวลิป"ป้องน้ำท่วม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 18 ธันวาคม 2007.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    เนเธอร์แลนด์"ไอเดียหวือ สร้าง"เกาะทิวลิป"ป้องน้ำท่วม



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>แผนที่โลกเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะหลายชาติร่ำรวย ถมทะเลมาเพิ่มพื้นที่ดิน อย่างดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นำดินมาถมทำเป็นเกาะรูปต้นปาล์มกลางทะเลมาแล้ว

    มาคราวนี้เนเธอร์แลนด์อยากสร้างเกาะเป็นรูป "ดอกทิวลิป" ในทะเลเหนือบ้าง และแน่นอน ย่อมมีกระแสทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

    สาเหตุที่เนเธอร์แลนด์ต้องการสร้างเกาะมาจากปัญหาพื้นดินที่อยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำทะเลมาก เสี่ยงต่อน้ำท่วม ทำให้รัฐสภาเนเธอร์แลนด์ตั้งคณะกรรมาธิการสรรหาวิธีพัฒนาชายฝั่งด้วยการถมเกาะแห่งใหม่ในทะเลเหนือ ซึ่งเกาะแห่งนี้จะเป็นทั้งที่อยู่อาศัยของประชาชน เป็นที่ทำฟาร์มและเป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งยังช่วยปกป้องชายฝั่ง

    ฝ่ายเห็นด้วยชี้ว่า การถมเกาะมีข้อดี เช่น เกลี่ยประชากรจากแผ่นดินใหญ่ไปอยู่บนเกาะใหม่ ลดความแออัด ทั้งยังช่วยปกป้องชายฝั่งจากน้ำทะเลที่สูงขึ้น เพราะถ้าน้ำทะเลสูงแล้ว น้ำจะท่วมเนเธอร์แลนด์ทันที และบริษัทของประเทศยังได้แสดงฝีมือเรื่องการจัดระบบน้ำซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน

    ส่วนฝ่ายไม่เห็นด้วยชี้ว่า โครงการนี้แพงแสนแพงและทำลายระบบนิเวศ

    นายจู๊บ แอตสมา นักการเมืองจากพรรคคริสเตียนเดโมแครต ฝ่ายสนับสนุนให้สร้างเกาะ กล่าวว่า "ชาวเนเธอร์แลนด์ต้องการที่ดินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย การขาดแคลนที่ดินทำให้ที่ดินมีราคาแพง ส่งผลกระทบต่อพื้นที่สำหรับการเกษตร ซึ่งเนเธอร์แลนด์มีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก และเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าการเกษตรมากเป็นลำดับ 3 ของโลก" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พื้นดินเนเธอร์แลนด์มีระดับต่ำมาก ทำให้ประชาชนกลัวปัญหาน้ำท่วมชาติจนมิดมากกว่ากลัวปัญหาผู้ก่อการร้ายเข้ามาวินาศกรรม อย่างไรก็ตาม ประชาชนเชื่อมั่นว่า นักวิทยาศาสตร์ของชาติมีความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการป้องกันน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี เพราะที่ผ่านมาแสดงฝีมือให้ประจักษ์ในระดับประเทศและระดับชาติอยู่หลายครั้งหลายหน

    นางมาเรีย เฮนแมน จากบริษัทอินโนเวชั่นแพลตฟอร์ม มีความเห็นว่า "เนเธอร์แลนด์มีความรู้เรื่องน้ำเป็นอย่างดี มีการนำความรู้เรื่องน้ำไปใช้กับหลายๆ ประเทศ แต่ยังขาดความสร้างสรรค์ ซึ่งควรจะทำการทดลองเรื่องการเปลี่ยนน้ำ ลมและคลื่นไปเป็นพลังงานทดแทนให้มากขึ้นกว่านี้"

    เฮนแมนยอมรับว่า การสร้างเกาะนั้นต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นสามารถทำได้ อย่างรัฐบาลสหรัฐก็ยังขอคำแนะนำเรื่องการจัดการน้ำหลังจากที่น้ำท่วมเมืองนิวออร์ลีนส์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เนเธอร์แลนด์ยังมีบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องระบบน้ำและการพัฒนาชายฝั่งอยู่หลายแห่ง อย่าง "บริษัทบอสคาลิส" ที่ทำโครงการใหญ่ๆ อย่าง โครงการไซดาซีและโครงการเดลต้า ทั้งยังช่วยฮ่องกงสร้างเกาะใหม่ให้เป็นที่ตั้งของสนามบิน และกำลังทำ "โครงการเวฟ" ของโอมาน ซึ่งเป็นรีสอร์ตขนาดใหญ่ด้วยการถมดินที่บริเวณชายฝั่ง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนเกาะปาล์มของดูไบ เป็นฝีมือของ "บริษัทแวน ออร์ด" ที่นำทรายถึง 100 ล้านคิวบิกเมตรมาสร้างเกาะรูปต้นปาล์มจนเป็นที่ฮือฮา

    แอตสมา จากพรรคคริสเตียนเดโมแครต ยังกล่าวต่อไปว่า "บ้านผมตั้งอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมาก แต่น้ำไม่เคยท่วมบ้านเลย ทั้งนี้เป็นเพราะเรามีระบบการจัดการน้ำที่ดี"

    เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีประชากรต่อพื้นที่แออัดที่สุด ประชาชน 16 ล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของสกอตแลนด์ พื้นที่ 1 ใน 4 ของประเทศอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มของแม่น้ำใหญ่ 3 สาย บ้านเรือนและฟาร์มสมัยโบราณต้องสร้างบนเนินเพื่อป้องกันน้ำท่วม

    ในระยะแรกเนเธอร์แลนด์สร้างกังหัน 1,300 ตัว เพื่อปั๊มน้ำออกไปจากพื้นที่ต่ำ พอถึงศตวรรษที่ 19 มีการสร้างปั๊มพลังไอน้ำ เพื่อให้วิดน้ำออกไปได้เร็วยิ่งขึ้น ค.ศ. 1932 "โครงการไซดาซี" คือเขื่อน Afsluitdijk กั้นทะเลความยาว 32 กิโลเมตรเสร็จลง โดยกั้นทะเลสาบ IJsselmeer ออกจากทะเลเหนือ ทำให้พื้นที่ดิน 1,650 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่ระบายน้ำ จากนั้น ค.ศ. 1953 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,800 ราย ทำให้รัฐบาลต้องเร่งมือทำโครงการ "เดลต้า" เพื่อยกเขื่อนให้สูงขึ้น กั้นทะเลและสร้างกำแพงกันคลื่นจากลมพายุ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า ภายใน 100 ปีนี้ ระดับน้ำทะเลตามชายฝั่งของเนเธอร์แลนด์จะสูงขึ้นอีก 85 เซนติเมตร ถ้าเกิดพายุหนักๆ จะเสี่ยงต่อน้ำท่วมมาก

    ด้านนายเบิร์ต กรูธุยเซ่ย โฆษกบริษัทแวนออร์ด ผู้ก่อสร้างเกาะปาล์มให้กับดูไบ มีความเห็นเรื่องเกาะทิวลิปของชาติว่า "การสร้างเกาะรูปร่างตลก-น่ารักอย่าง ทิวลิป รองเท้าคล็อกและกังหันนั้นก็สนุกดีถ้าจะนำเอาไปวิจารณ์ แต่ไม่ควรคิดสร้างเกาะเช่นนี้อย่างจริงจัง เพราะชายทะเลดูไบนั้นมีคลื่นสูงเพียง 2 เมตร แต่ชายทะเลของเนเธอร์แลนด์มีคลื่นสูงถึง 10 เมตร การป้องกันชายฝั่งจากพายุจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก และต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลกว่าเกาะปาล์ม สิ่งที่น่าจะทำแทนสร้างเกาะทิวลิปคือ เพิ่มชายหาดให้มีความยาวขึ้น หรือย้ายสนามบินไปยังเกาะแห่งใหม่ เพราะเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เคยเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินชนอพาร์ตเมนต์"

    หันมาทางฝั่ง "มูลนิธิทะเลเหนือ" ซึ่งเป็นองค์กรสิ่งแวดล้อมอิสระ เห็นว่า เกาะที่สร้างใหม่นี้จะเป็นอุปสรรคต่อการประมง การเดินเรือสินค้ารวมทั้งกระทบต่อนกย้ายถิ่น และทะเลเหนือไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่า ที่จะสามารถทำอะไรกับผืนทะเลแห่งนี้ได้ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งนั้นเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd055MHhNaTB4T0E9PQ==
     

แชร์หน้านี้

Loading...