เที่ยวให้เป็นในยุคธรรมชาติแปรปรวน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 15 พฤษภาคม 2007.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปีนี้ ทำให้สภาพธรรมชาติเกิดความแปรปรวนไปทั่วทั้งทางบกและทางทะเล โดยผลกระทบส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ครั้งนี้ตกกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายๆแห่งในบ้านเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    สำหรับผู้ที่รักการเดินทางท่องเที่ยว หากต้องการที่จะออกท่องเที่ยวในช่วงนี้ที่อากาศแปรปรวนบ่อย ควรจะศึกษาเรียนรู้วิธีการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย และศึกษาการสังเกตความผิดปกติของธรรมชาติในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆไว้ ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ทั้งนี้ก็เพื่อความมีสติในการรับมือกับวิกฤตธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น และเพื่อความปลอดภัยของตัวนักท่องเที่ยวเอง

    เที่ยวน้ำตกให้ปลอดภัย

    ดูเหมือนว่าเหตุการณ์เศร้าสลด น้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มที่คร่าชีวิตผู้คนไป 38 ศพ ที่น้ำตกสายรุ้ง น้ำตกไพรสวรรค์ อ.ย่านตาขาว และน้ำตกลำปลอก น้ำตกโตนเต๊ะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง จะเป็นอุทาหรณ์สำคัญต่อการตื่นตัวด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกับการท่องเที่ยวน้ำตก ซึ่งหน้าฝนนี้เป็นช่วงที่น้ำตกหลายๆแห่งดูสวยงามเพราะมีปริมาณน้ำมาก ทำให้ช่วงนี้มีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวน้ำตกกันเป็นจำนวนมาก

    วินิจ รังผึ้ง บรรณาธิการอนุสาร อสท. ได้บอกถึงวิธีการเที่ยวน้ำตกให้ปลอดภัยไว้ว่า ต้องเริ่มจากต้องตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางทุกครั้ง, การปฏิบัติตนขณะลงเล่นน้ำตก หรือกิจกรรมอื่นๆในสายน้ำ ให้สังเกตระดับน้ำในลำธารและสีของสายน้ำ หากน้ำมีระดับเพิ่มขึ้น หรือสีของน้ำเปลี่ยนจากน้ำใสเป็นสีแดงขึ้น ขุ่นขึ้น กระแสน้ำไหลเชี่ยวแรงขึ้น ให้รีบขึ้นจากสายน้ำทันที, พยายามสังเกตและฟังเสียงที่ดังผิดปกติ เพราะน้ำป่าที่เชี่ยวไหลหลากล้นลงมาจากบนภูเขานั้น จะก่อให้เกิดเสียงดังขึ้นกว่าเสียงของสายน้ำปกติ เตรียมตัวมองทางหนีทีไล่ไว้ให้พร้อมเผื่อเกิดวิกฤติขึ้นมาจะได้หนีขึ้นที่สูงได้ทัน

    การลงเล่นน้ำตกควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่อย่างเคร่งครัด เช่นไม่ลงเล่นน้ำในบริเวณเขตหวงห้าม ซึ่งอาจจะมีอันตรายจากน้ำวน หรือกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวแรง และไม่ควรปีนป่ายขึ้นไปตามริมหน้าผาน้ำตกหรือบนพื้นที่อันตรายเพราะอาจลื่นพลัดตกลงมาได้, หากมีความจำเป็นต้องเข้าไปตั้งแค้มป์ในป่า ไม่ควรตั้งแค้มป์ใกล้ชิดริมลำธารมากเกินไป เพราะในตอนกลางคืนขณะพักผ่อนนอนหลับอาจจะมีน้ำป่าบ่าไหลลงมาก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ จึงควรเลือกทำเลตั้งแค้มป์ที่ปลอดภัยจากระดับน้ำ หรือพ้นจากหุบเขาที่เคยเป็นร่องน้ำเก่า หรือช่องทางน้ำไหลเดิมแม้จะเป็นร่องน้ำที่แห้งไม่มีน้ำแล้วก็ตาม

    หากอยู่ท่ามกลางฝนตก หรือฟ้าคะนองในธรรมชาติ ควรปิดโทรศัพท์มือถือหรือวิทยุ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าฝ่า หากไม่จำเป็นแล้วการทำกิจกรรมกลางแจ้งไม่ควรสวมเครื่องประดับที่ทำจากโลหะติดตัวไป, ในสายน้ำหรือตามโขดหินริมลำธารที่ส่วนใหญ่เปียกน้ำอยู่ตลอดเวลานั้น ค่อนข้างจะลื่นควรระมัดระวังในการเดิน และควรใช้รองเท้าเดินป่าที่กระชับ พื้นรองเท้าควรเป็นยางชนิดอ่อนและมีดอกยางซึ่งจะเกาะพื้นหินพื้นดินได้ดีกว่ารองเท้าพื้นแข็ง สุดท้ายไม่ควรอยู่ในชุดเสื้อผ้าที่เปียกหรืออยู่ในน้ำที่หนาวเย็นเป็นเวลานานๆ เกินไป เพราะร่างกายจะค่อยๆสูญเสียความร้อน และอาจจะเป็นตะคริวจมน้ำ หรือเป็นไข้ขึ้นได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>การเที่ยวน้ำตกช่วงหน้าฝนต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ด้าน เบญจวรรณ สุเนตรวรกุล ผอ.ททท.สำนักงานภาคกลางเขต 8 กล่าวว่า ในพื้นที่รับผิดชอบโดยภาคกลางเขต 8 มีจังหวัดที่มีน้ำตกอยู่เยอะ ทางน้ำตกต่างๆจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูต้นน้ำ ทันที่ที่เกิดเหตุการณ์ต้นน้ำมีปัญหา ไม่ว่าจะมีโคลน น้ำเป็นสีแดง หรือฝนตกมากๆ เจ้าหน้าที่จะรู้ตัวก่อน เพราะว่าเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีมาแล้ว ส่วนหนึ่งของกรมอุตุฯก็จะอยู่บนยอดเขาด้วย อันดับแรกเลยเจ้าหน้าที่จะเตือนถ้าเกิดว่าน้ำมีการเปลี่ยนสีอันนี้ต้องดู บางที่จุดที่เราเล่นน้ำฝนอาจไม่ตกก็จริงแต่ข้างบนฝนตก คือคนที่อยู่ต้นน้ำจะต้องมีวิทยุมาบอกคนที่อยู่ปลายน้ำ เจ้าหน้าที่เราก็จะไปบอกนักท่องเที่ยวอีกทีหนึ่ง

    ส่วนการระวังตัวน่าจะระวังทัน เพราะว่าเส้นทางตั้งแต่ต้นน้ำลงมาถึงปลายทางที่เรามีน้ำตก ประมาณ5-60 กิโลเมตร น้ำจะค่อยๆไหลลงไปเรื่อยๆประมาณ 5 ชั่วโมงกว่าน้ำจะเดินทางมาถึงตำแหน่งที่มีคนเล่นน้ำ ทางเราก็จะเตือนคนได้เรียบร้อย และทางฝั่งวังตะไคร้ก็มีสัญญาณเตือนภัยกว่า 10 จุด ส่วนทางน้ำตกต่างๆก็มีการระวังตัว ตื่นตัวกันมากขึ้น

    ในขณะที่ แก้ว คอนคำ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา บอกว่า ในป่าบ้านเราโดยเฉพาะป่าปางสีดาจะเป็นป่าดิบแล้ง ในช่วงหน้าแล้งน้ำจะหมดจากต้นไม้ เพราะฉะนั้นในช่วงฝนตกช่วงแรกๆต้นไม้จะกักเก็บน้ำไว้ก่อน ในช่วงนี้จะเป็นน้ำตกที่ไม่ค่อยสมบูรณ์และสวยงามนักเพราะป่ายังเก็บน้ำไว้ใช้ก่อนเป็นเดือนๆ

    เจ้าหน้าที่อช.ปางสีดา กล่าวต่อว่า ภายในอุทยานฯมีน้ำตกอยู่หลายแห่ง แต่ละแห่งจะมีเจ้าหน้าที่พร้อมอยู่แล้วทุกวัน ในฤดูการท่องเที่ยวหรือเสาร์-อาทิตย์ ก็จะมีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 20 ท่าน และก็มีห่วงยาง เสื้อชูชีพ พร้อม ฉะนั้นการเตรียมการที่อช.ปางสีดาถือว่ามีความพร้อม 100%

    "ที่อุทยานฯเรามีมาตรการที่ดี อันดับแรกเลยเจ้าหน้าที่จะเตือนถ้าเกิดว่าน้ำมีการเปลี่ยนสี บางที่จุดที่เราเล่นน้ำฝนอาจไม่ตกก็จริงแต่ข้างบนฝนตก คือคนที่อยู่ต้นน้ำจะต้องมีวิทยุมาบอกคนที่อยู่ปลายน้ำ เจ้าหน้าที่เราก็จะไปบอกนักท่องเที่ยวอีกทีหนึ่ง สำหรับตัวนักท่องเที่ยวที่สำคัญคือจะต้องเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ และก็ดูสีน้ำว่าน้ำเป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำไหม บางที่ข้างบนอาจจะใสก็จริงแต่ข้างล่างอาจจะขุ่น" เจ้าหน้าที่อช.ปางสีดา กล่าว

    เที่ยวทะเลให้ปลอดภัย

    แม้ช่วงนี้จะหมดฤดูกาลท่องเที่ยวทะเลอันดามันไปแล้ว พร้อมๆกับการห้ามเที่ยวอุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอันดามันหลายๆแห่ง ในขณะที่ทะเลฝั่งอ่าวไทยแม้จะยังคงเที่ยวได้ แต่ว่านักท่องเที่ยวก็ต้องดูสภาพอากาศและคลื่นลมให้ดี ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติภัยทางทะเล ดังกรณีของเด็กนักเรียนเสียชีวิตขณะลงเล่นน้ำที่บริเวณหาดแม่รำพึงสร้างความสะเทือนใจให้กับผู้ที่ทราบข่าวไปทั่ว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แม้ทะเลบางแห่งยังพอเที่ยวได้แต่นักท่องเที่ยวก็ต้องระมัดระวังตัวให้ดี </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ชายหาดแต่ละที่จะมีลักษณะทางธรณีวิทยาแตกต่างกัน ทำให้บางฤดูไม่เหมาะกับการเล่นน้ำ สำหรับฝั่งอ่าวไทยในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ไม่ควรลงเล่นน้ำเพราะเป็นช่วงที่คลื่นลมแรงกว่าปกติ เนื่องจากชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะเปิด เมื่อมีคลื่นเคลื่อนตัวเข้าหาฝั่งที่มีลักษณะตรงหรือโค้ง บวกกับความแรงที่ผิวน้ำและลักษณะความลึกที่ไม่เท่ากัน โอกาสที่จะเกิดการเบี่ยงเบนของคลื่นฝั่งซ้ายและขวาที่ปะทะกันทำให้เกิดแรงดันน้ำดูดลงไปใต้น้ำ

    ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงวิธีช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อถูกน้ำดูดว่า เวลาที่ถูกน้ำดูดลงไปคนว่ายน้ำแข็งจะพยายามต้านแรงว่ายกลับมาจุดเดิม แต่มักจะถูกน้ำพาไหลออกไปเรื่อยๆ วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นคือ ต้องว่ายเลี่ยง แต่คนที่ไม่รู้จะตกใจและพยายามว่ายเข้าหาฝั่ง

    ขณะที่ สิทธิชัย เสรีสงแสง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ด-เขาแหลมหญ้า จังหวัดระยอง กล่าวถึงมาตรการความปลอดภัยว่า ทางอุทยานฯมีการติดป้ายเตือนนักท่องเที่ยว และติดธงบริเวณหาดให้ระมัดระวังอันตรายจากการเล่นน้ำ มีการใช้รถออกตระเวนเตือนนักท่องเที่ยวเป็นประจำ โดยเฉพาะที่หาดแม่รำพึง ซึ่งถือเป็นพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากลักษณะของหาดเป็นแหลมยื่นออกมา และลาดเทลงไปในทะเล อีกทั้งยังเคยเกิดเหตุนักท่องเที่ยวจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง

    ด้าน กฤษฎา หอมสุด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราดได้กล่าวว่า การช่วยเหลือและป้องกันภัยทางทะเลเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก จึงต้องขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการร่วมด้วย เช่นจัดให้มีชูชีพ ช่วยควบคุมให้ผู้ประกอบการมีอุปกรณ์ที่เตรียมพร้อม มีมาตรฐานในการให้ความช่วยเหลือ

    ส่วนในทะเลจะมีเรือยางจากเจ้าหน้า พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ถ้าในช่วงนั้นมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเยอะ อาจมีการส่งเรือมาช่วย ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการประชุมผนึกกำลังกับหัวหน้าอุทยานฯ เพื่อควบคุมการท่องเที่ยวทางทะเล ฉะนั้นจึงมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาควบคุมงานตรงนี้โดยเฉพาะ ซึ่งตอนนี้อยู่ในตอนของการดำเนินการ โดยมุ่งเน้นที่ความปลอดภัย ความสะดวก และให้ผู้ควบคุมหรือผู้ประกอบการทั้งหลายดูแลนักท่องเที่ยวให้มีความสุขและปลอดภัยไปด้วยพร้อมๆกัน

    สำหรับตัวนักท่องเที่ยวเอง ก็ต้องเตรียมพร้อมด้วยเช่นกันคือ ต้องประสานงานกับคนนำเที่ยว สอบถามหาข้อมูลรวมทั้งเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการท่องเที่ยว การแต่งกายต้องรัดกุมเหมาะสม การใส่ชูชีพ การดูคลื่นลม อย่าดึงดันที่จะออกทะเลถ้ามีคลื่นลมแลง

    หน.อช.หมู่เกาะช้าง ยังกล่าวเสริมอีกว่า "การสังเกตว่าสมควรหรือไม่ที่จะออกทะเล ให้สังเกตจากชาวประมง ถ้าชาวประมงไม่ออกทะเลเราก็ไม่ควรที่จะออก ส่วนคลื่นลมสามารถดูด้วยตาเปล่าได้ หากมีฟองๆเกิดขึ้นเยอะก็ไม่ควรออกทะเล เพราะแสดงว่ายอดคลื่นมีการถูกลมพัดจนแตกกระจาย หรือหากลมพัดแรงก็ไม่ควรออกเช่นกัน แต่ถ้าคลื่นใหญ่แล้วยอดคลื่นไม่แตกกระจายสามารถออกได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง"

    และนั่นก็คือตัวอย่างบางส่วนของการเที่ยวให้เป็น เที่ยวอย่างปลอดภัย ซึ่งในภาวะที่ธรรมชาติแปรปรวนเช่นนี้อุบัติภัยทางธรรมชาติอันเกิดคาดเดาอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ การตื่นตัวการเตรียมตัวป้องกันไว้ จึงเป็นอีกหนึ่งหนทางในการช่วยผ่อนหนักเป็นเบาและช่วยให้เราท่องเที่ยวสนุกเพลิดเพลินขึ้น ซึ่งจากภาวะโลกร้อนเช่นนี้ มนุษย์จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่ทวีความแปรปรวนมากขึ้นเรื่อยๆ

    ส่วนสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เกิดจากการฝีมือมนุษย์ด้วยกันเองทั้งนั้น...

    ****************************************
    ****************************************

    ตรวจสอบสภาพอากาศโดยเข้าไปดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ www.tmd.go.th
    สอบถามสภาพพื้นที่ของสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติตามอุทยานแห่งชาติต่างได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.0-2562-0760 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาตินั้นๆ นอกจากนี้ยังสอบถามเรื่องสภาพความปลอดภัยของพื้นที่ได้จาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานเขตต่างๆ

    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000055219</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...