เซาะกรุงปีละ12ม.ทะเลกลืนนับหมื่นไร่ผลกระทบโลกร้อน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 12 กรกฎาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>เซาะกรุงปีละ12ม.ทะเลกลืนนับหมื่นไร่ผลกระทบโลกร้อน</TD></TR><TR><TD vAlign=top>11 กรกฎาคม 2550 23:49 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] โลกร้อนทำอ่าวไทยตอนบนวิกฤติหนัก "นากุ้ง-บ้าน" จมทะเลนับหมื่นไร่ ชาวบางขุนเทียนโอดถมหินป้องกันจนหนี้ท่วม กรมทรัพยากรธรณีชี้สภาวะโลกร้อนบวกแผ่นดินทรุด น้ำทะเลรุกชายฝั่ง กทม.สูญ 12 เมตรต่อปี ขณะที่หาดบางแสนคลื่นทะเลซัดเขื่อนกั้นถนนพัง ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึงครึ่งเมตร


    ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ฝนตกมากกว่าปกติ อากาศร้อนเกินกว่าจะรับไหวเท่านั้น แต่ยังทำให้น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งจนพื้นดินชายฝั่งสูญหายไป โดยเฉพาะชายทะเลบางขุนเทียนจมหายไปปีละ 12 เมตร และจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 5 จังหวัดตอนบน ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ตลอดระยะทาง 106.5 กิโลเมตรแล้ว ถูกน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งไปแล้วกว่า 13,700 ไร่
    ผู้สื่อข่าว "คม ชัด ลึก" ออกสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน บริเวณกรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา พบว่า พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดข้างต้นกำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรง โดยพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรง จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เป็นบ่อกุ้งที่เรียงรายอยู่เต็มชายฝั่งทะเล ที่บุกเบิกป่าชายเลนมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่ปัจจุบันถูกน้ำทะเลรุกเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่ำ 500 เมตร ส่วนที่พบสูงสุดกินพื้นที่ชายฝั่งเข้ามาถึง 2 กิโลเมตร
    โดยพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียน ชุมชนคลองประมง กว่า 100 หลังคาเรือน ซึ่งเคยอยู่ห่างจากชายทะเล ประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันต้องถอยร่นประตูระบายน้ำ เพื่อใช้เลี้ยงกุ้งมาแล้วหลายครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่พยายามนำหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะจนเป็นหนี้เป็นสินกันถ้วนหน้า แต่น้ำทะเลก็ยังทะลักท่วมที่ดินร่วมเข้ามา 200-500 เมตร
    นายประสูตร ช้างเจริญ อายุ 52 ปี ผู้ใหญ่บ้านชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน กทม. กล่าวว่า สมัยอยู่ชั้น ป.4 เคยช่วยพ่อวัดที่ดินออกโฉนด จำได้ว่าจะออกโฉนดได้จะต้องอยู่ห่างจากทะเลหลายกิโลเมตร เดิมทีพื้นที่นี้เคยมีแนวป่าชายเลนหนาทึบ มีต้นแสมนับพันๆ ไร่ แต่ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะขุดรากถอนโคนจนหมด และเริ่มกินเข้ามาในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านแล้ว
    "ตั้งแต่เกิดพายุเกย์เมื่อปี 2532 ปัญหาการกัดเซาะเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เดิมพื้นที่นี้จะมีดินตะกอนงอกใหม่ ตอนนี้กลับหดหายไปเรื่อยๆ รวมกว่า 3,700 ไร่ ผมและชาวบ้านที่ทำนากุ้งอาศัยน้ำทะเลจากธรรมชาติ ต้องย้ายประตูน้ำหนีมา 3-4 ครั้งแล้ว ย้ายครั้งหนึ่งก็ห่างจากจุดเดิม 100-200 เมตร" นายประสูตร กล่าว
    นายประสูตร กล่าวอีกว่า การย้ายประตูระบายน้ำแต่ละครั้งต้องลงทุนนับแสนบาท บางคนต้องกู้เงินมาทำ แถมยังต้องซื้อหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่น แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ ต้องสูญเสียที่ดินไปแล้วหลายร้อยไร่ ไม่ต่างจาก นางอนงค์ จันทอง ลูกบ้านวัย 45 ปี บอกว่า สมัยก่อนที่ดินทำกินอยู่ห่างจากทะเลเป็นกิโล ตอนนี้น้ำทะเลรุกเข้ามาในที่ดินกว่า 100 เมตรแล้ว ต้องซื้อหินมาเป็นแนวกันคลื่น แต่ก็กันไม่อยู่
    ชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเดียวกับนายประสูตรและนางอนงค์ แต่ไกลออกจากอีกฝั่งทะเลอ่าวไทย ชาวบ้าน ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กลับได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะไม่ต่างไปจากทะเลบางขุนเทียน
    นายสุนทร ขำเอี่ยม อายุ 52 ปี ต้องย้ายบ้านมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อตอนอายุได้ 11 ขวบ ครั้งนั้นชุมชนชายทะเล 20 ครอบครัว ประสบปัญหาน้ำทะเลรุก จึงพากันอพยพหนีน้ำกันมาทั้งชุมชน และอีก 10 ปีต่อมาก็ต้องย้ายหนีกันอีกครั้ง โดยย้ายออกมาไกลจากจุดเดิมมาก เพราะทุกคนตั้งใจว่าจะไม่ย้ายไปไหนอีก แต่สุดท้ายก็ต้องย้ายหนีภัยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนที่ดินทำกินจมอยู่ใต้ทะเลเหลือแต่หน้าโฉนดเท่านั้น
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใครที่ผ่านมาที่ชุมชน ต.สองคลอง จะสังเกตเห็นโบสถ์วัดหงษ์ทอง สร้างโดดเด่นอยู่กลางน้ำทะเลที่ขึ้นลงตลอดเวลา พระครูปรีชาประภากร เจ้าอาวาสวัด บอกว่า เดิมทีในโฉนดที่ดินของวัดระบุเนื้อที่ครอบครองทั้งสิ้น 21 ไร่ แต่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 8 ไร่เท่านั้น และโบสถ์ที่สร้างอยู่กลางน้ำเดิมทีก็เป็นที่ดินของวัดนั่นเอง
    นายทวีศักดิ์ สุขศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สองคลอง กล่าวว่า พื้นที่ในความดูแลของ อบต.สองคลอง มี 10 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่เสี่ยงภัยการกัดเซาะชายฝั่ง 6 หมู่บ้าน โดยมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาลมพายุพัดบ้านเรือนได้รับความเสียหายทุกปี ที่ผ่านมา อบต.และหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือด้วยการทำโครงการลงหินใหญ่สร้างแนวเขื่อน ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การลงถุงใยหินบรรจุทราย และปลูกป่าชายเลน แต่ให้ผลสำเร็จเพียงโครงการละ 10-20% เท่านั้น
    ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในขณะที่ชาวบ้านพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนหลายจังหวัด กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่กลุ่มทุนหมู่บ้านจัดสรรกลับเลือกลงทุนในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมากขึ้น อย่างหมู่บ้านจัดสรรใน ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งอยู่ห่างจากชายทะเลเพียง 1-2 กิโลเมตร โดยผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกวิตกกังวลกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะที่อาจจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด
    นางภัทรวดี เสมอภาค อายุ 44 ปี หนึ่งในเจ้าของทาวน์เฮ้าส์ใกล้ทะเล บอกว่า ตอนที่ซื้อบ้านไม่ได้คำนึงถึงเรื่องปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ แต่ก็ยังไม่รู้สึกกลัวปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับ นางสุมาลี มีเอี่ยม อายุ 51 ปี ที่เพิ่งถมดินปลูกบ้านสูงกว่าเดิม 1 เมตร และอยู่ห่างหมู่บ้านจัดสรรเพียง 500 เมตร ยอมรับว่า ตั้งแต่เริ่มมีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ รู้สึกว่าแผ่นทรุดลงไปเยอะมาก ทำให้น้ำเอ่อท่วมเกือบครึ่งเมตรประจำทุกปี แต่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมมากเหมือนตอนพายุเข้าเมื่อ 10 ปีก่อน
    ส่วนที่ จ.ชลบุรี ก็เกิดปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งเช่นกัน โดยเฉพาะชายหาดบางแสน สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.ชลบุรี โดยนายสวัสดิ์ หอมปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี เปิดเผยกับ "คม ชัด ลึก" ว่า ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา บริเวณชายหาดบางแสนและหาดวอนนภา มีคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่งต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้พื้นที่ริมฝั่งทะเลได้รับความเสียหายอย่างมาก จนเทศบาลเมืองแสนสุขต้องเร่งหามาตรการรับมือกับปัญหาดังกล่าวเป็นการด่วน
    นายสวัสดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่หาดบางแสนมีการทำถนนบริเวณชายหาดเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม แต่ก็ถูกคลื่นซัดจนพังเสียหาย เทศบาลเมืองแสนสุขต้องสร้างเขื่อนกั้นป้องกันการกัดเซาะ ซึ่งในระยะแรกได้ผลเป็นอย่างดี กระทั่งต้นปี 2549 เป็นต้นมา พบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีคลื่นลมแรงผิดปกติ ทำให้เขื่อนดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลกระทบมาจากปัญหาโลกร้อน
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์การกัดเซาะของน้ำทะเล และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมริมชายหาดใน จ.ชลบุรี พบว่า ตั้งแต่ปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลใน จ.ชลบุรี เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณศาลาชายทะเลรวมใจ ในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรี ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึง 500 เซนติเมตร
    ด้านนายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในแต่ละพื้นที่มีความรุนแรงไม่เท่ากัน ต้องศึกษาก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติจนต้องมีการอพยพคนออกหรือไม่ ส่วนสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เกิดจากปัญหาการขุดน้ำบาดาลทำให้แผ่นดินทรุดในหลายพื้นที่ น้ำทะเลจึงรุกเข้ามามากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อน้ำทะเลกัดเซาะขอบบ่อได้แล้ว น้ำทะเลจะรุกเข้ามาอย่างง่ายดายและเป็นบริเวณกว้าง
    นายอภิชัย กล่าวด้วยว่า แม่น้ำสายต่างๆ ที่เคยพาตะกอนมาทับถมบริเวณอ่าวไทยได้หายไป เพราะมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ หรือมีการดูดทรายจากแม่น้ำ แถมยังมีการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมมีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า ชายฝั่งชายทะเลบางขุนเทียนมีการกัดเซาะ 12 เมตรต่อปี ถูกกัดเซาะกินพื้นที่ชายฝั่งไปแล้ว 600-700 เมตร และมีหน่วยงานต่างๆ เข้าไปแก้ปัญหา ทำให้ปัญหาการกัดเซาะลดเหลือ 8 เมตรต่อปี
    "กทม.เคยเป็นทะเลมาก่อน มีชายฝั่งทะเลอยู่แถว จ.พระนครศรีอยุธยา พอมีการสะสมตะกอนก็เกิดเป็นแผ่นดินเหมือนทุกวันนี้ กทม.อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1-2 เมตร เมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและแผ่นดินทรุดตัว ต้องศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย" อธิบดีกรมทรัพายากรธรณี กล่าว

    -->
    โลกร้อนทำอ่าวไทยตอนบนวิกฤติหนัก "นากุ้ง-บ้าน" จมทะเลนับหมื่นไร่ ชาวบางขุนเทียนโอดถมหินป้องกันจนหนี้ท่วม กรมทรัพยากรธรณีชี้สภาวะโลกร้อนบวกแผ่นดินทรุด น้ำทะเลรุกชายฝั่ง กทม.สูญ 12 เมตรต่อปี ขณะที่หาดบางแสนคลื่นทะเลซัดเขื่อนกั้นถนนพัง ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึงครึ่งเมตร
    ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ฝนตกมากกว่าปกติ อากาศร้อนเกินกว่าจะรับไหวเท่านั้น แต่ยังทำให้น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งจนพื้นดินชายฝั่งสูญหายไป โดยเฉพาะชายทะเลบางขุนเทียนจมหายไปปีละ 12 เมตร และจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 5 จังหวัดตอนบน ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ตลอดระยะทาง 106.5 กิโลเมตรแล้ว ถูกน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งไปแล้วกว่า 13,700 ไร่
    ผู้สื่อข่าว "คม ชัด ลึก" ออกสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน บริเวณกรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา พบว่า พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดข้างต้นกำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรง โดยพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรง จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เป็นบ่อกุ้งที่เรียงรายอยู่เต็มชายฝั่งทะเล ที่บุกเบิกป่าชายเลนมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่ปัจจุบันถูกน้ำทะเลรุกเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่ำ 500 เมตร ส่วนที่พบสูงสุดกินพื้นที่ชายฝั่งเข้ามาถึง 2 กิโลเมตร
    โดยพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียน ชุมชนคลองประมง กว่า 100 หลังคาเรือน ซึ่งเคยอยู่ห่างจากชายทะเล ประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันต้องถอยร่นประตูระบายน้ำ เพื่อใช้เลี้ยงกุ้งมาแล้วหลายครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่พยายามนำหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะจนเป็นหนี้เป็นสินกันถ้วนหน้า แต่น้ำทะเลก็ยังทะลักท่วมที่ดินร่วมเข้ามา 200-500 เมตร
    นายประสูตร ช้างเจริญ อายุ 52 ปี ผู้ใหญ่บ้านชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน กทม. กล่าวว่า สมัยอยู่ชั้น ป.4 เคยช่วยพ่อวัดที่ดินออกโฉนด จำได้ว่าจะออกโฉนดได้จะต้องอยู่ห่างจากทะเลหลายกิโลเมตร เดิมทีพื้นที่นี้เคยมีแนวป่าชายเลนหนาทึบ มีต้นแสมนับพันๆ ไร่ แต่ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะขุดรากถอนโคนจนหมด และเริ่มกินเข้ามาในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านแล้ว
    "ตั้งแต่เกิดพายุเกย์เมื่อปี 2532 ปัญหาการกัดเซาะเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เดิมพื้นที่นี้จะมีดินตะกอนงอกใหม่ ตอนนี้กลับหดหายไปเรื่อยๆ รวมกว่า 3,700 ไร่ ผมและชาวบ้านที่ทำนากุ้งอาศัยน้ำทะเลจากธรรมชาติ ต้องย้ายประตูน้ำหนีมา 3-4 ครั้งแล้ว ย้ายครั้งหนึ่งก็ห่างจากจุดเดิม 100-200 เมตร" นายประสูตร กล่าว
    นายประสูตร กล่าวอีกว่า การย้ายประตูระบายน้ำแต่ละครั้งต้องลงทุนนับแสนบาท บางคนต้องกู้เงินมาทำ แถมยังต้องซื้อหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่น แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ ต้องสูญเสียที่ดินไปแล้วหลายร้อยไร่ ไม่ต่างจาก นางอนงค์ จันทอง ลูกบ้านวัย 45 ปี บอกว่า สมัยก่อนที่ดินทำกินอยู่ห่างจากทะเลเป็นกิโล ตอนนี้น้ำทะเลรุกเข้ามาในที่ดินกว่า 100 เมตรแล้ว ต้องซื้อหินมาเป็นแนวกันคลื่น แต่ก็กันไม่อยู่
    ชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเดียวกับนายประสูตรและนางอนงค์ แต่ไกลออกจากอีกฝั่งทะเลอ่าวไทย ชาวบ้าน ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กลับได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะไม่ต่างไปจากทะเลบางขุนเทียน
    นายสุนทร ขำเอี่ยม อายุ 52 ปี ต้องย้ายบ้านมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อตอนอายุได้ 11 ขวบ ครั้งนั้นชุมชนชายทะเล 20 ครอบครัว ประสบปัญหาน้ำทะเลรุก จึงพากันอพยพหนีน้ำกันมาทั้งชุมชน และอีก 10 ปีต่อมาก็ต้องย้ายหนีกันอีกครั้ง โดยย้ายออกมาไกลจากจุดเดิมมาก เพราะทุกคนตั้งใจว่าจะไม่ย้ายไปไหนอีก แต่สุดท้ายก็ต้องย้ายหนีภัยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนที่ดินทำกินจมอยู่ใต้ทะเลเหลือแต่หน้าโฉนดเท่านั้น
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใครที่ผ่านมาที่ชุมชน ต.สองคลอง จะสังเกตเห็นโบสถ์วัดหงษ์ทอง สร้างโดดเด่นอยู่กลางน้ำทะเลที่ขึ้นลงตลอดเวลา พระครูปรีชาประภากร เจ้าอาวาสวัด บอกว่า เดิมทีในโฉนดที่ดินของวัดระบุเนื้อที่ครอบครองทั้งสิ้น 21 ไร่ แต่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 8 ไร่เท่านั้น และโบสถ์ที่สร้างอยู่กลางน้ำเดิมทีก็เป็นที่ดินของวัดนั่นเอง
    นายทวีศักดิ์ สุขศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สองคลอง กล่าวว่า พื้นที่ในความดูแลของ อบต.สองคลอง มี 10 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่เสี่ยงภัยการกัดเซาะชายฝั่ง 6 หมู่บ้าน โดยมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาลมพายุพัดบ้านเรือนได้รับความเสียหายทุกปี ที่ผ่านมา อบต.และหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือด้วยการทำโครงการลงหินใหญ่สร้างแนวเขื่อน ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การลงถุงใยหินบรรจุทราย และปลูกป่าชายเลน แต่ให้ผลสำเร็จเพียงโครงการละ 10-20% เท่านั้น
    ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในขณะที่ชาวบ้านพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนหลายจังหวัด กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่กลุ่มทุนหมู่บ้านจัดสรรกลับเลือกลงทุนในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมากขึ้น อย่างหมู่บ้านจัดสรรใน ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งอยู่ห่างจากชายทะเลเพียง 1-2 กิโลเมตร โดยผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกวิตกกังวลกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะที่อาจจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด
    นางภัทรวดี เสมอภาค อายุ 44 ปี หนึ่งในเจ้าของทาวน์เฮ้าส์ใกล้ทะเล บอกว่า ตอนที่ซื้อบ้านไม่ได้คำนึงถึงเรื่องปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ แต่ก็ยังไม่รู้สึกกลัวปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับ นางสุมาลี มีเอี่ยม อายุ 51 ปี ที่เพิ่งถมดินปลูกบ้านสูงกว่าเดิม 1 เมตร และอยู่ห่างหมู่บ้านจัดสรรเพียง 500 เมตร ยอมรับว่า ตั้งแต่เริ่มมีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ รู้สึกว่าแผ่นทรุดลงไปเยอะมาก ทำให้น้ำเอ่อท่วมเกือบครึ่งเมตรประจำทุกปี แต่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมมากเหมือนตอนพายุเข้าเมื่อ 10 ปีก่อน
    ส่วนที่ จ.ชลบุรี ก็เกิดปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งเช่นกัน โดยเฉพาะชายหาดบางแสน สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.ชลบุรี โดยนายสวัสดิ์ หอมปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี เปิดเผยกับ "คม ชัด ลึก" ว่า ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา บริเวณชายหาดบางแสนและหาดวอนนภา มีคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่งต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้พื้นที่ริมฝั่งทะเลได้รับความเสียหายอย่างมาก จนเทศบาลเมืองแสนสุขต้องเร่งหามาตรการรับมือกับปัญหาดังกล่าวเป็นการด่วน
    นายสวัสดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่หาดบางแสนมีการทำถนนบริเวณชายหาดเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม แต่ก็ถูกคลื่นซัดจนพังเสียหาย เทศบาลเมืองแสนสุขต้องสร้างเขื่อนกั้นป้องกันการกัดเซาะ ซึ่งในระยะแรกได้ผลเป็นอย่างดี กระทั่งต้นปี 2549 เป็นต้นมา พบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีคลื่นลมแรงผิดปกติ ทำให้เขื่อนดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลกระทบมาจากปัญหาโลกร้อน
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์การกัดเซาะของน้ำทะเล และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมริมชายหาดใน จ.ชลบุรี พบว่า ตั้งแต่ปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลใน จ.ชลบุรี เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณศาลาชายทะเลรวมใจ ในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรี ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึง 500 เซนติเมตร
    ด้านนายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในแต่ละพื้นที่มีความรุนแรงไม่เท่ากัน ต้องศึกษาก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติจนต้องมีการอพยพคนออกหรือไม่ ส่วนสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เกิดจากปัญหาการขุดน้ำบาดาลทำให้แผ่นดินทรุดในหลายพื้นที่ น้ำทะเลจึงรุกเข้ามามากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อน้ำทะเลกัดเซาะขอบบ่อได้แล้ว น้ำทะเลจะรุกเข้ามาอย่างง่ายดายและเป็นบริเวณกว้าง นายอภิชัย กล่าวด้วยว่า แม่น้ำสายต่างๆ ที่เคยพาตะกอนมาทับถมบริเวณอ่าวไทยได้หายไป เพราะมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ หรือมีการดูดทรายจากแม่น้ำ แถมยังมีการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมมีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า ชายฝั่งชายทะเลบางขุนเทียนมีการกัดเซาะ 12 เมตรต่อปี ถูกกัดเซาะกินพื้นที่ชายฝั่งไปแล้ว 600-700 เมตร และมีหน่วยงานต่างๆ เข้าไปแก้ปัญหา ทำให้ปัญหาการกัดเซาะลดเหลือ 8 เมตรต่อปี "กทม.เคยเป็นทะเลมาก่อน มีชายฝั่งทะเลอยู่แถว จ.พระนครศรีอยุธยา พอมีการสะสมตะกอนก็เกิดเป็นแผ่นดินเหมือนทุกวันนี้ กทม.อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1-2 เมตร เมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและแผ่นดินทรุดตัว ต้องศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย" อธิบดีกรมทรัพายากรธรณี กล่าว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    --------------
    Ref.
    http://www.komchadluek.net/2007/07/12/a001_126738.php?news_id=126738
     

แชร์หน้านี้

Loading...