เคอร์ฟิว 10 จังหวัด “สีแดงเข้ม” ห้ามออกนอกบ้าน 3 ทุ่ม-ตี 4 เริ่มแล้ววันนี้

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 12 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    fe0b8b4e0b8a7-10-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894-e0b8aae0b8b5e0b981e0b894e0b887e0b980.jpg
    FILE PHOTO : Madaree TOHLALA / AFP

    เคอร์ฟิว 10 จังหวัดสีแดงเข้ม เริ่มตั้งด่าน ห้ามออกจากบ้าน ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตราการการควบคุมพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้มพิเศษ ตามที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เกี่ยวกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 27) ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ลงนามโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

    สำหรับพื้นที่ควบคุมพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้มพิเศษ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา ได้กำหนดห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ในระหว่างเวลา 21.00 -04.00 น. ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับแต่วันที่ข้อกำหนดฉบับนี้บังคับใช้ โดยจะเริ่มใช้มาตรการตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

    อย่างไรก็ มีบุคคล 5 ประเภท ที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านได้ โดยให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอย่างอื่น และเอกสารรับรองความจำเป็น ประกอบด้วย

    1.สาธารณสุข ผู้ป่วยที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านสาธารสุข

    2.ขนส่งสินค้าเพื่อประชาชน ผู้ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตทางการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณีย์ พัสดุภัณฑ์ สิ่งพิมพ์ สินค้าเพื่อส่งออกหรือนำเข้า

    3.ขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ผู้ปฏิบัติงานขนส่งสาธารณะ ผู้ขนส่งและผู้เดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยานหรือสถานีขนส่ง ผู้ขนส่งและประชาชนที่เดินทางไปยังที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ศูนย์พักคอยรอการส่งตัว หรือระบบแยกกักเพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในชั้นแรก ผู้โดยสารและผู้เกี่ยวข้องที่จำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในเวลานั้น

    4.บริการหรืออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ผู้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง หรือผู้ประสบภัย ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและอาหาร ผู้บริการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ผู้จัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย

    ผู้บริการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรคมนาคม ผู้บริการงานช่วยเหลือกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภัยพิบัติ ผู้บริการด้านธนาคาร ตลาดทุน การประกันภัย ผู้จำเป็นต้องดำเนินงานกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือต้องติดต่อราชการกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่

    5.การประกอบอาชีพที่จำเป็น ผู้ทำงานตามรอบเวลา กะ หรือการทำงานตามผลัดเปลี่ยนเวรยาม หรือตามเวลาที่กำหนดไว้ตามปกติของทางราชการและเอกชน การทำงานในโรงงาน งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษาหรืองานเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินงานได้ งานดูแลรักษาความปลอดภัย งานด้านเกษตรกรรม ประมง ปศุสัตว์ การตรวจรักษาสัตว์ ถ้ามีความจำเป็นอื่น ให้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตามกฎหมายกำหนด

    สำหรับกรณีอื่น ๆ นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ต้องขอเอกสารรับรองความจำเป็น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ตามตัวอย่างแบบรับรองความจำเป็นเท่านั้น หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดและต้องระวางโทษตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

    ผิด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดนอะไร


    ข้อมูลจาก ราชกิจานุเบกษา พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระบุว่าผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามกฎหมายนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ในมาตรา 18

    ขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/politics/news-711314
     

แชร์หน้านี้

Loading...