เขื่อน-มลพิษ-ภาวะโลกร้อน ตัวการใหญ่ก่อปัญหา "ภัยแล้ง"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 มีนาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    เขื่อน-มลพิษ-ภาวะโลกร้อน ตัวการใหญ่ก่อปัญหา "ภัยแล้ง"

    [​IMG]

    จากรายงานเรื่อง "ภาวะเสี่ยงภัยของแม่น้ำ 10 สายสำคัญของโลก" จากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ที่เปิดเผยออกมา เนื่องในวันน้ำโลก 22 มี.ค.

    นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ขั้นวิกฤตและน่าเป็นห่วงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่ต้องอาศัยสายน้ำในการทำมาหากิน ดำรงชีวิตและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ในรายงานฉบับนี้ยังระบุถึงสาเหตุสำคัญของความเสื่อมโทรมและแห้งขอดของแม่น้ำทั้ง 10 สาย ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มลพิษ และการสร้างเขื่อน

    "การขาดการวางแผนและการป้องกันความเสื่อมโทรมของแม่น้ำที่ถูกวิธีและทั่วถึง ทำให้เรารู้ว่า ในอีกไม่นานหลังจากนี้ น้ำในแม่น้ำสายสำคัญของโลกจะเหือดแห้งและหายไปตลอดกาลได้ ดังนั้นเหมือนกับความพยายามของทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้ความสนใจแก้ไขปัญหาวิกฤตจากภาวะโลกร้อน เราจึงอยากให้มีผู้นำในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาด ท่ามกลางภาวะ ฉุกเฉินที่เรากำลังเผชิญอยู่" จามี่ พิทท็อค ผู้อำนวยการโครงการแม่น้ำสะอาดจาก WWF สากล กล่าว

    รายงานระบุว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบและสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมากับสภาพการเปลี่ยนแปลงไปของธรรมชาติ เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ระบบนิเวศของน้ำสะอาดเปลี่ยนแปลงไปจนน่าใจหาย ขณะที่ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเคยเป็นเกราะป้องกันและกำแพงพิงหลังให้กับระบบนิเวศก็ต้องสูญเสียสมดุลไปด้วยเช่นกัน

    โดยแม่น้ำ 10 สายที่รายงานกล่าวถึงเป็นแม่น้ำในทวีปเอเชียกว่า 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำแยงซีในจีน แม่น้ำโขงในลาว แม่น้ำสาละวินในพม่า แม่น้ำคงคาในอินเดีย และแม่น้ำอินดุสในปากีสถาน

    ส่วนอีก 5 สายอยู่ในภูมิภาคอื่นๆ ประกอบด้วย แม่น้ำดานูบในยุโรป แม่น้ำลา พลาต้า และแม่น้ำริโอ แกรนด์/ริโอ บราโว ในสหรัฐ แม่น้ำไนล์-ทะเลสาบวิคตอเรียในแอฟริกา และแม่น้ำมัวร์เรย์-ดาร์ลิง ในออสเตรเลีย

    ขณะที่ปัจจุบันมีประชากรกว่า 41% ของโลกที่ต้องดำเนินชีวิตและต้องพึ่งพาสายน้ำ แต่ในอนาคตซึ่งเหลือเวลาอยู่อีกไม่มาก แม่น้ำที่ผู้คนใช้จะเหลือน้ำน้อยลงและเกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากรน้ำจากผู้ที่อยู่อาศัยปลายน้ำกับต้นน้ำอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    ความน่าหวาดหวั่นที่รายงานฉบับนี้ พยายามชี้ให้เห็นอีกข้อคือ การตัดขาดของสายน้ำ โดย ฮาล์ บอยล์ นักเขียนรางวัลพูลิเซอร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับนี้ระบุว่า ไม่อาจจะไม่มีเวลามากมายนัก แต่มันก็เป็นความจริงว่า แม่น้ำสายสำคัญและยิ่งใหญ่ของโลกหลายแห่งจะไม่ได้ทอดสายยาวไกลลงสู่ท้องทะเลเหมือนที่ผ่านมา

    เช่นในกรณีของ แม่น้ำริโอ แกรนด์/ริโอ บราโว ซึ่งทอดตัวตามแนวพรมแดนสหรัฐ-เม็กซิโก ในบางฤดูกาล กลับเหือดแห้งและมีน้ำไหลน้อย ไม่เพียงพอที่จะไหลลงอ่าวเม็กซิโกด้วยซ้ำไป

    หรือในกรณีแม่อินดุส ในปากีสถาน แม่น้ำมัวร์เรย์-ดาร์ลิงในออสเตรเลีย และแม่น้ำโคโลราโดในฝั่งอเมริกาตะวันตก ก็มีสถานการณ์ไม่แตกต่างกัน โดยแม้จะมีเส้นทางเดินของสายน้ำเหล่านี้ แต่น้ำในแม่น้ำก็มหาสมุทรได้ยากยิ่ง

    "ความจริงแล้ว การกักกั้นสายน้ำเป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายที่น่าหวาดกลัว เพราะทำให้แม่น้ำไหลลงสู่จุดหมายปลายทางยากขึ้น เนื่องจากการสร้างเขื่อนและอุโมงค์ไปกั้นทางน้ำไหล กลับยิ่งทำลายวงจรชีวิต การอยู่อาศัยของผู้คนตาม ริมน้ำ และเป็นการตัดเส้นทางน้ำให้เหลือน้อยลงมากยิ่งขึ้น" บอยล์กล่าว

    คำถามก็คือ แล้วเรื่องนี้มันสำคัญอย่างไร คำตอบจากรายงานระบุว่า การทำลายแม่น้ำเป็นการทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะน้ำสะอาดและมีความหลากหลายทางชีวภาพย่อมทำให้ทุกชีวิตที่อาศัยแม่น้ำและสายน้ำได้รับประโยชน์ เนื่องจากสายน้ำที่สะอาดและมีความหลากหลายทางชีวภาพย่อมเป็นแหล่งสร้างอาหาร สร้างรายได้ และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์แก่ผู้คน

    ในรายงานยังระบุถึงสาเหตุหลักที่สำคัญในการทำลายสายน้ำและอาจทำให้โลกขาดน้ำในอนาคตว่ามีอยู่ 6 ประการ โดยระบุว่าการสกัดกั้นสายน้ำที่เกินความจำเป็น แม้จะมีเหตุผลในการช่วยเหลือเกษตรกรด้านการเกษตรและการบริโภคภายในประเทศ แต่วิธีการกันน้ำไว้ใช้เฉพาะจุดประสงค์เดียว กลับทำให้แม่น้ำริโอ แกรนด์และคงคากลับประสบกับปัญหาน้ำแห้งอย่างเห็นได้ชัด

    ขณะที่การสร้างเขื่อนและโครงสร้างพื้นฐานกลับทำให้แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำลา พลาต้า และ แม่น้ำดานูบสกปรกและทำให้ผู้อยู่อาศัยแม่น้ำเหล่านี้ไม่สามารถใช้ดื่มกินได้เหมือนในอดีต ส่วนการรุกรานสิ่งมีชีวิตในน้ำ ก็ทำให้แม่น้ำมัวร์เรย์-ดาร์ลิงถูกคุกคามด้วยความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ

    รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น จนเกิดสิ่งที่เรียกกันทั่วไปว่า ภาวะโลกร้อน ก็ทำให้ขาดน้ำในแม่น้ำอินดุส ซึ่งโดยปกติต้องอาศัยการละลายของน้ำแข็งบนภูเขาหิมาลัยไหลลงสู่แม่น้ำแห่งนี้ และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความสามารถในการวางไข่ของปลาก็น้อยลง และทำให้ผู้คนที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำไนล์-ทะเลสาบวิกตอเรีย ในแอฟริกาประสบปัญหาขาดน้ำและความมั่นคงทางการเมือง

    นอกจากนี้การจับปลาในแม่น้ำโขงด้วยการที่ผิดธรรมชาติ ก็มีส่วนสำคัญที่คุกคามแม่น้ำและทำให้ปลาในแม่น้ำแห่งนี้มีจำนวนลดลงอย่างน่าตกใจ และปัจจัยคุกคามแม่น้ำข้อสุดท้ายคือ มลพิษซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แม่น้ำแยงซีในจีนสกปรกและใช้บริโภคไม่ได้ ซึ่งมลพิษในน้ำนี้เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เกิดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เกิดเขื่อน และการใช้น้ำและทรัพยากรอย่างไม่ระมัดระวังท่ามกลางการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว

    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วและเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาจัดการและหามาตรการแก้ไข เพราะในไม่ช้าภาวะโลกขาดน้ำอาจเกิดขึ้น และถึงเวลานั้นหลายสิ่งก็อาจจะสายเกินกว่าจะแก้ไขแล้ว

    -------------------
    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02p0109260350&day=2007/03/26&sectionid=0201
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,705
    ค่าพลัง:
    +51,934
    *** กรรม...รับมือยาก ****

    แล้ง...แล้วท่วมหนัก !!!!!!
    เตรียม...ขุด ลอก ถาก ถาง ...ทางเดินน้ำให้ลงที่ต่ำ ลงคลอง ลงแม่น้ำให้เร็วที่สุด...อย่าให้อุดตัน หรือ ไหลช้า
    น้ำท่วม ปี๔๙... คือ บทเรียน "กรรม"....ถ้าเตรียมการ ปี๕๐ ได้...จะรับมือ "กรรม น้ำปี ๕๐" ได้บ้าง...จากหนักมาก....จะเป็นหนักไม่มาก

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ใช่ช่วงนี้น้ำแล้งน่าจะช่วยกันขุดลอกคลองกันได้แล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...