อารมณ์ใจของพระอรหันต์บนแดนพระนิพพาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 26 กุมภาพันธ์ 2024.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,753
    0001 (62).jpg

    อารมณ์ใจของพระอรหันต์บนแดนพระนิพพาน


    พอคุยเสร็จจากจุดนี้แล้ว ท่านก็บอกให้ไปพระนิพพาน ก็ไปที่วิมาน พอเข้าไปข้างในเขาก็มากันพร้อม แต่งตัวกันสวยสดงดงามดี

    สักครู่หนึ่งสมเด็จท่านก็เสด็จมา ท่านตรัสว่า "ถามพวกที่อยู่นิพพานซิ อารมณ์จริงๆเขาเป็นอย่างไร"
    ไอ้เราขึ้นไปบนนั้นมันก็สบาย มีแต่เบาๆก็เลยถามแม่ศรี พอถามเขาก็เปล่งแสงปล๊าบ แสงสว่างจัดเต็มที่ ก็เลยถามว่า

    "เอาแสงนี่มาใช้แล้วรึ"

    "มันถึงเวลาที่จะต้องใช้แล้ว"

    เลยถาม "อารมณ์ของพระนิพพานมันเป็นอย่างไร"

    "มันก็ไม่มีอารมณ์อะไร อารมณ์อย่างเทวดาก็ไม่มี อารมณ์อย่างพรหมก็ไม่มี จะมานั่งห่วงว่าคนนั้นจะแก่ มันก็ไม่มี ห่วงว่าคนนั้นจะป่วย มันก็ไม่มี ห่วงว่าคนโน้นมันจะเหนื่อย มันก็ไม่มี มันไม่มีอะไรจะห่วงทั้งหมดอารมณ์มันเฉยๆ

    ถึงเขาจะเป็นลูก เป็นน้อง เป็นพี่ เป็นสามี เป็นภรรยา อารมณ์เดิมมันก็ไม่มี ไอ้ความเนื่องถึงกันในอดีตมันก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่อยู่บนนี้แล้วอารมณ์มันปล่อยหมด แต่คำว่าพันธะมันยังมีอยู่นิดหนึ่ง ก็ห่วงพวกที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์"

    "ห่วงแล้วจิตมันเป็นอย่างไร มันทุกข์ไหม"

    "ไม่ทุกข์หรอก มีกังวลอยู่หน่อยเดียวว่าทำอย่างไรเขาถึงจะเป็นพระอรหันต์ จะหาวิธีใดให้เขามานิพพานได้"

    "สมมุติว่า เขามีกำลังมานิพพานไม่ได้ล่ะ จะมีกังวลไหม"

    "ไม่มีกังวล เพราะรู้ว่ากำลังเขาไม่พอ เราก็จะมีทางอย่างเดียวคือ ชี้แนว แนะแนวโดยความเข้าใจ เวลาที่จิตเขาเป็นทิพย์ก็จะสร้างความเข้าใจให้เกิดว่า การที่จะเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงนะ ควรจะทำอย่างไร ให้เขาเกิดอารมณ์ความรู้สึกเอง"

    นี่แทนที่พระพุทธเจ้าจะอธิบาย กลายเป็นแม่ศรีสอนฉัน เขาก็นั่งอธิบายให้ฟัง แล้วเขาก็ถามว่า

    "อย่างหลวงพี่นะ เวลาที่ขึ้นมาบนนี้ มีกังวลไหม"

    "ฉันจะไปกังวลอะไรอีก ขนาดฉันอยู่เมืองมนุษย์ ฉันยังไม่กังวลเลย"

    "หลวงพี่ห่วงใครบ้างล่ะ"

    "ตัวฉันยังไม่ห่วง แล้วฉันจะไปห่วงใคร"

    สมเด็จท่านก็เลยตรัสว่า "ถูก ตัวคุณคุณก็ไม่ห่วง แล้วก็คำว่าห่วงใครจริงๆ มันก็ไม่มี แต่ทว่าพระหรือว่าฆราวาสก็ตาม ถ้าทำจิตให้ถึงอารมณ์ที่สุดได้แล้ว ก็อย่าลืมว่าถ้าขันธ์ 5 มันมีอยู่ ภาระมันก็ยังมี
    นี่เราไม่ห่วงก็จริง แต่ว่าเราก็ต้องทำงานตามหน้าที่

    ฉะนั้นความหนักในขณะที่ทรงขันธ์ 5 มันจึงยังมีอยู่ แต่ว่าขณะใดที่จิตมันยังทรงขันธ์ 5 อยู่ ก็ควรจะทำอารมณ์ให้เบาเหมือนกับขึ้นมาอยู่บนนิพพาน"

    ทำอย่างไรรู้ไหม ก็ต้องใช้คาถา "ช่างมัน ช่างมัน ช่างมัน"

    ช่าง จนกระทั่งน้ำหนักที่ ชั่งมัน เหมือนกับ ชั่งอากาศ

    แล้วสมเด็จท่านก็ตรัสว่า

    "ขณะที่ทรงร่างกายอยู่ ควรจะทำจิตเหมือนกับตอนอยู่บนนิพพาน แต่ว่ากิจอันหนึ่ง ที่จะพึ่งทำนั้นก็คือ ภาระของขันธ์ 5 ถือว่าเราทำเพื่อให้มันทรงอยู่ มันยังไม่ดับ แต่ว่าอย่ามีอารมณ์กังวล มันอยากกินก็ให้มันกิน มันอยากขี้ก็ให้มันขี้ มันอยากนอนก็ให้มันนอน

    ทำสภาวะเหมือนกับว่า เสือตัวร้ายที่เราเลี้ยงมันไว้ แต่เรากำลังจะโดดหนีเสือ แต่เสือมันยังไม่ไป เมื่อเราอยู่กับเสือ เราก็มีความรังเกียจเสือ เราให้มันกินเพราะความจำใจ เราเอาใจมันเพราะความจำใจ แต่เนื้อแท้จริงๆเราไม่ต้องการมันเลย"

    ก็เป็นอันว่าให้ทุกๆท่านพยายามรักษากำลังใจ ขณะใดที่เรายังทรงขันธ์ 5 อยู่ ก็ให้ทำอารมณ์ใจเหมือนกับเราละขันธ์ 5 ไปอยู่ที่นิพพาน

    อย่าให้มีอารมณ์ยุ่ง มันมีหน้าที่ก็ให้เป็นหน้าที่ แต่ว่าใจอย่าให้มันยุ่ง ทำทุกอย่างเพื่อเราละโลกนี้ คือ มนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก ถือว่าโลกทั้งสามนี้มีสภาพเหมือนพยัคฆ์ร้ายที่คอยทำอันตรายเรา เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน


    (จาก ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 177 เดือนธันวาคม 2538 หน้า 20-22)
     

แชร์หน้านี้

Loading...