อานิสงส์ของศีล

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 7 มิถุนายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    อานิสงส์ของศีล


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 align=center bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่งที่สามารถเดินข้ามแม่น้ำอจิรวดีไปฟังธรรมได้ด้วยอำนาจคุณของศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยพระพุทธเจ้านามว่า กัสสปะ ในวันหนึ่งมีอุบาสกคนหนึ่งซึ่งเป็นพระโสดาบัน ได้โดยสารเรือไปค้าขายต่างเมืองกับช่างตัดผมคนหนึ่ง ก่อนออกเดินทาง ภรรยาของช่างตัดผมได้ฝากให้อุบาสกช่วยดูแลสามีของตนพร้อมกับสั่งว่า

    "ท่านเจ้าค่ะ ขอท่านได้ช่วยดูแลสามีดิฉันด้วยนะคะ สุขทุกข์ของสามี ดิฉันขอมอบให้เป็นภาระของท่านก็แล้วกัน"

    เรือออกเดินทางไปได้ ๗ วัน ก็เจอพายุกระหน่ำจนเรืออับปางลงกับทะเลราวกับเรือไทนานิคล่ม ชายทั้ง ๒ ได้เกาะแผ่นกระดานแผ่นหนึ่งลอยคอจนมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ด้วยความหิวนายช่างตัดผมได้ฆ่านกปิ้งกินและชวนอุบาสกกินด้วยกัน แต่อุบาสกไม่กินเพราะคิดว่า "สถานการณ์เช่นนี้ มีแต่พระรัตนตรัยเท่านั้นจะเป็นที่พึ่งเราได้" จึงนั่งระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอยู่

    ขณะนั้นพญานาคผู้บนเกาะนั้นได้เนรมิตร่างเป็นเรือลำใหญ่ มีเทวดาประจำทะเลเป็นต้นเรือ บรรทุกทรัพย์สินเงินทองเต็มลำ มีเสากระโดงทำด้วยแก้วมณีสีอินทนิล ใบเรือทำด้วยทองเชือกทำด้วยเงิน แล่นมาที่เกาะนั้น พร้อมประกาศว่า

    "มีใครจะไปด้วยไหม"

    อุบาสกร้องตอบว่า "ข้าพเจ้าจะไปด้วย"


    นายต้นเรือพูดว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านขึ้นมาเถอะครับ"


    อุบาสกจึงชวนนายช่างตัดผมขึ้นเรือไปด้วยกัน แต่นายต้นเรือร้องห้ามไว้ว่า "ขึ้นมาได้เฉพาะท่านคนเดียวเท่านั้น อีกคนหนึ่งขึ้นไม่ได้"

    อุบาสกถามว่า "ทำไมละท่าน"

    นายต้นเรือตอบว่า "เพราะคนนั้นไม่มีศีลจึงรับไปด้วยไม่ได้ เรือลำนี้รับเฉพาะคนมีศีลเท่านั้น"

    อุบาสกพูดว่า "เอาเถอะ ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอแบ่งให้ส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้รักษาศีลให้แก่เขาก็แล้วกัน"

    นายช่างตัดผมก็รับคำอนุโมทนาในบุญกุศลว่า "ข้าพเจ้าขออนุโมทนา"

    เทวดาจึงนำชายทั้ง ๒ ขึ้นเรือแล้วนำไปส่งจนถึงฝั่งพร้อมทั้งมอบทรัพย์สมบัติให้อีกด้วย แล้วกล่าวให้โอวาทเป็นคาถาว่า


    "ดูเถิด นี่แหละผลของศรัทธา ศีล และจาคะ พญานาคแปลงตนเป็นเรือนำอุบาสกผู้มีศรัทธาไป บุคคลพึงคบหาสัตบุรุษเท่านั้น พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะการอยู่ร่วมกับสัตบุรุษนายช่างตัดผมจึงถึงความสวัสดี"


    เมื่อกล่าวจบก็พาพญานาคกลับวิมานของตนไป


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=Wga_Details cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=7 height=21>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD width=7 height=21>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell vAlign=bottom bgColor=#fcf4b5>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ผู้มีศีลตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=bottom bgColor=#ebcf70>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.dhammathai.org/chadoknt/chadoknt219.php
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    ธมฺโม หเว รกฺขติธมฺมจารี<O:p</O:p


    พระธรรมนี่แหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    บุญสำเร็จได้ด้วยการ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    ขอให้ทุกท่านมีความเจริญยิ่งขึ้นในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
     
  3. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    รักษาศีลต้องมีปัญญา

    บทความนี้จะขอแนะเคล็ดลับในการรักษาศีล สำหรับผู้ที่เห็นว่าจะรักษาศีลยากหรือรักษาไม่ได้สำหรับตน แต่ผู้ที่รักษาศีลได้เป็นปกติอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องอ่านอยู่แล้ว​
    ก่อนที่จะเข้าสู่เคล็ดลับในการรักษาศีล ก็ใคร่จะขอเขียนถึงปัญหาที่ว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องสมาทานศีล หรือตั้งใจรับศีลไว้ล่วงหน้าก่อน ? จะรอเอาไว้งดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่จะต้องให้ละเมิดศีล หรือล่วงศีลในขณะนั้นๆ เลยดีไหม ? ก็ขอบอกก่อนว่า ไม่ดี และไม่ดีแน่ๆ ด้วยเหตุผลดังนี้
    ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า การรักษาศีลนั้น ทำได้ ๓ วิธี คือ
    ๑. ตั้งใจรักษาไว้ก่อน ที่เรียกว่า สมาทานวิรัติ
    ๒. ตั้งใจงดเว้นเฉพาะหน้า ที่เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ
    ๓. มีศีลอยู่เป็นปกติ ที่เรียกว่า สมุทเฉทวิรัติ
    วิธีที่ ๑. การงดเว้นหรือรักษาศีลไว้ก่อนนั้น เหมือนกับการที่เรามีเกราะป้องกันตัวไว้แล้วอย่างดี เป็นที่สบายใจทั้งตนเองและผู้อื่น
    วิธีที่ ๒. การตั้งใจงดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ข้อนี้ค่อนข้างจะเสี่ยงเอามากๆ เพราะธรรมชาติจิตของคนเรานั้นมักเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก ยกตัวอย่าง เช่น
    ตามปกติบางคนอาจคิดว่า ถ้าเราพบเห็นคนที่เป็นศัตรูกัน เราจะไม่ทำร้ายหรือฆ่าเขา แต่เมื่อพบกันเข้าจริงๆ เขายั่วหรือด่าด้วยถ้อยคำรุนแรง เราอาจจะเผลอใจทำร้ายหรือฆ่าเขาก็ได้
    เห็นของใครทำลืมไว้ ถ้าเป็นของเล็กน้อยเราอาจไม่เอา แต่ถ้าเป็นของที่เราชอบหรือมีราคา ชนิดที่ลักทีเดียวก็รวยไปตลอดชาติ เราอาจจะเปลี่ยนใจเป็นลักก็ได้
    โดยปกติเรามีเมียแล้ว ไม่เคยคิดนอกใจ แต่ถ้าเกิดไปพบอีหนูเอ๊าะๆ และอวบๆ แถมเด็กมันก็ยั่วยวนกวนตัณหาเสียด้วย และอยู่ในสถานที่อำนวยให้ประกอบกามกิจได้ มันก็บ่แน่เหมือนกันนานาย !
    โดยปกติเราไม่กินเหล้า แต่เมื่อพบเพื่อนกำลังกินอยู่และเชื้อเชิญแกมบังคับ เราก็อาจจะกินได้โดยง่าย
    แต่ถ้าเราสมาทานศีลไว้ก่อน เราก็จะเตือนสติตนเองอยู่เสมอๆ ว่า อย่าดีกว่าเดี๋ยวศีลขาดๆ แต่ถ้าเราไม่มีเจตนางดเว้นไว้ก่อน กิเลสตัณหามันก็อาจจะเข้าข้างเราว่า ไม่เป็นไรหรอกน่า ก็เราไม่ได้รักษาศีลนี่นา จะเอาศีลที่ไหนมาขาดกันเล่า ?
    วิธีที่ ๓. ท่านว่าเป็นการรักษาศีลของพระอรหันต์ คือ พระอรหันต์ท่านหมดกิเลส ท่านจึงมีศีลโดยไม่ต้องรักษาอยู่แล้ว
    เอ้า ! มาว่าถึงคนที่เห็นว่าศีลรักษายากกันต่อไป

    สำหรับผู้ที่เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นในการรักษาศีล ก็แล้วกันไปไม่ต้องไปสนใจเขาหรอก แต่ที่เขียนนี้ก็เห็นว่า ยังมีคนอีกเป็นอันมากที่อยากจะรักษาศีล แต่เห็นว่ามันรักษายาก ก็เลยไม่สนใจที่จะรักษา คนที่ว่านี้เป็นคนจิตใจอ่อนแอและอ่อนปัญญาด้วยน่าสงสารมาก อยากได้ดีแต่ไม่อยากทำดี ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อุบายหรือปัญญามาช่วย ให้มันง่ายหรือสะดวกขึ้นโดยมีขั้นตอน ดังนี้
    ๑. รักษาศีลเป็นคราวๆ คือ โดยปกติเราคิดว่ารักษาไม่ได้หรือไม่อยากจะรักษาก็ตามที แต่ในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น ในวันเกิดครบรอบปี หรือรอบสัปดาห์ เราก็หัดรักษามันเสียสัก ๑ วัน หรือไปในงานพิธีต่างๆ ที่เขามีการให้ศีลกัน (ศีล ๕) เราก็รับเอามาเฉพาะวันนั้นเสียสักวัน หรือครึ่งค่อนวันก็ยังดีเพื่อสร้างความเคยชิน ทำบ่อยๆ เข้า มันก็จะเกิดความเคยชินไปเอง หรือในคราววันสำคัญทางศาสนา เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา เป็นต้น ก็เอากะเขาเสีย ๑ วัน มันก็จะทำได้ไม่ยาก เพราะงานประจำวัน (ราชการ) ก็หยุดให้ด้วย
    ๒. รักษาศีลเป็นข้อๆ คือ ถ้าเห็นว่าจะรักษากันทีเดียวหมดทั้ง ๕ ข้อ มันเกินสติปัญญานัก ก็หัดมารักษาศีลเป็นข้อๆ ข้อไหนที่เราเห็นว่ามันรักษาได้ง่าย และสะดวกที่สุดก็ให้สมาทานเป็น
     
  4. DD.

    DD. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    556
    ค่าพลัง:
    +103
    [​IMG] อนุโมทนาด้วยครับ สาธุ สาธุ [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...