เรื่องเด่น อริยมรรคมีองค์แปด เรื่องสัมมาวาจา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 5 ธันวาคม 2016.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    สัมมาวาจา


    สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต4 (เว้นจาก วจีทุจริต4)

    การงดเว้นจากการพูดเท็จ
    งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
    งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
    งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ



    ?temp_hash=7f9fef1eb6231f4c59af11a73db10e42.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    หลักธรรมเกี่ยวกับสัมมาวาจา

    ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก
    ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด

    ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน

    หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน

    สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง

    ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง
    ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน

    ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน

    เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน

    กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

    ละคำหยาบ
    เว้นขาดจากคำหยาบ
    กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษเพราะหู
    ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ


    ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ

    พูดถูกกาล

    พูดแต่คำ ที่เป็นจริง

    พูดอิงอรรถ

    พูดอิงธรรม

    พูดอิงวินัย

    พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด

    ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร


    รู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้นั้น เป็น สัมมาทิฐิ
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาวาจา

    พวกสัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมากัมมันตะ
    พวกสัมมาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาอาชีวะ
    พวกสัมมาวายามะย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาวายามะ

    พวกสัมมาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาสติ

    พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาสมาธิ ฯ



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ..........
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    กุศลจากการพูดอ่อนหวาน
    ครั้งหนึ่งพระโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก เดินทางไปยังสวรรค์ เห็นทิพยวิมานหลังหนึ่งใหญ่โตงดงามงดงาม
    พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า
    "วิมานของท่านสูงมาก ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ มียอด ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วมณี ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร?"
    เทพบุตรตนนั้นตอบพระเถระว่า
    "เพราะข้าพเจ้าได้ทำกุศลด้วยเหตุเพียงพูดอ่อนหวาน ประพฤติด้วยใจ บุคคลผู้ทำบุญด้วยเหตุเพียงพูดอ่อนหวานและยังใจให้เลื่อมใสเท่านี้ จักดำรงอยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้สิ้นพันปี และพรั่งพร้อมไปด้วยทิพยกามคุณ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมนั้น"
    ______________________
    จากเรื่อง "ทวารปาลกวิมาน" ในวิมานวัตถุ, ขุททกนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก



    15697742_588582261335305_5462843854511879105_n.jpg

    https://www.facebook.com/buddhisttr...2993079227558/588582261335305/?type=3&theater
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=18ea88ea644445c8138f0978dd93a304.jpg






    เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น
    **************************
    สรุปหลักเกณฑ์การตรัสวาจาของพระพุทธเจ้า ๖ ข้อ คือ
    ๑. วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ๒. วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็น ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ๓. วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
    ๔. วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ๕. วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ๖. วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
    *********************
    เกณฑ์ในการตรัสวาจาของพระพุทธเจ้า
    [๘๖] ขณะนั้นเอง กุมารน้อยยังนอนหงายอยู่บนพระเพลาของอภัยราชกุมาร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอภัยราชกุมารว่า “ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัย
    ความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้ากุมารน้อยนี้อาศัยความประมาทของพระองค์หรือของหญิง พี่เลี้ยง พึงนำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ปาก พระองค์จะพึงปฏิบัติกับกุมารน้อยนั้นอย่างไร”
    อภัยราชกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะนำออกเสีย ถ้าหม่อมฉันไม่อาจจะนำออกแต่ทีแรกได้ หม่อมฉันก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะ แล้วงอนิ้วมือขวา ล้วงเอาไม้หรือก้อนกรวดพร้อมด้วยเลือดออกเสีย ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร เพราะหม่อมฉันมีความเอ็นดูในกุมารน้อย”

    “ราชกุมาร ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน รู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
    ตถาคตรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย”



    ม.ม.(ไทย) ๑๓/๘๖/๘๗-๘๘ มจร.
    ดูรายละเอียดในอภยราชกุมารสูตร
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ ภาษาไทยhttp://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=8
    ภาษาบาลี http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=13&A=1783
    อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2018
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=d6878e53a95303e04d0950b58faec7fb.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=d6878e53a95303e04d0950b58faec7fb.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=475fbc6ea4aadf593b3a9e5d7afd245c.jpg



    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    โลกนี้ทั้งโลก วุ่นวายอยู่อย่างนี้ก็เพราะวาจา
    พูดปดบ้าง ส่อเสียดบ้าง เพ้อเจ้อเหลวไหลบ้าง
    ยุยงส่งเสริมให้เค้าแตกร้าวกันบ้าง พูดให้ผู้อื่นเสียหายบ้าง

    เรื่องวาจานี้ ฆ่าคนได้เป็นอันมาก

    ...แล้วส่วนใหญ่ ก็ฆ่าตนเองด้วย...


    ให้ใคร่ครวญยอมรับกฎแห่งกรรมเข้าไว้ การระวังเรื่องวาจา ก็จะมีมากขึ้นตามลำดับ

    จักไม่มีการพูดให้สะเทือนใจใคร และไม่พูดตำหนิกรรมของใคร ผู้ใดอีก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    dHruo4g_H-yWlsZHUaO-Lh_xFO2kJerLEvHW1WCm5cIJKfpB6ivmr_UDRMJuPdEbSQIJxg7g&_nc_ht=scontent.fbkk5-4.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    51608123_570895996655289_6449009187262300160_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    วิธีพูดคุยกันเพื่อความรักความสามัคคี
    ************
    ชนเหล่าใดเป็นคนมักโกรธ ฟุ้งซ่าน โอ้อวด พูดเพ้อเจ้อ ชนเหล่านั้นชื่อว่ายึดถือถ้อยคำที่ไม่ประเสริฐ มองดูเรื่องผิดพลาดของกันและกัน

    ชนเหล่าใดชื่นชมทุพภาษิต ความพลั้งพลาด ความหลงลืม ความพ่ายแพ้ของกันและกัน พระอริยะไม่พูดถึงเรื่องนั้นของชนเหล่านั้น

    แต่ถ้าบัณฑิตรู้จักกาลอันเหมาะสมแล้ว ประสงค์จะพูด ควรมีความรู้ ไม่โกรธ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่โอ้อวด ไม่ใจเบาหุนหันพลันแล่น ไม่คอยจับผิด พูดแต่เรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม เป็นเรื่องที่พระอริยะประพฤติกันมา

    เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ เขาไม่พูดริษยา บุคคลควรชื่นชมถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ไม่ควรเลื่อมใสถ้อยคำที่เป็นทุพภาษิต ไม่ควรใส่ใจถึงความแข่งดี และไม่ควรคอยจับผิด ไม่ควรพูดทับถม ไม่ควรพูดย่ำยี ไม่ควรพูดเหลาะแหละ

    เพื่อความรู้ เพื่อความเลื่อมใส สัตบุรุษทั้งหลายจึงมีการปรึกษากัน พระอริยะทั้งหลายย่อมปรึกษากันเช่นนั้นแล

    นี้เป็นการปรึกษากันของพระอริยะทั้งหลาย บุคคลผู้มีปัญญารู้เรื่องนี้แล้ว ไม่ควรถือตัว ควรปรึกษากัน
    ************
    ข้อความบางตอน ใน กถาวัตถุสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=112

    พระไตรปิฎกภาษาบาลี http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=5315

    อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=507

    So5LCQ_Yhq477pAsGd26fPPF7C3px_NqMka6lnans2-U&_nc_ohc=iImYyhu0_FMAX9WMlP3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    จะพูดจะทำอะไรให้นึกถึงใจคนอื่น
    *************
    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน เป็นอย่างไร
    คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    ๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ข้อที่บุคคลพึงปลงชีวิตเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยาก
    ตาย รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงปลงชีวิตผู้อื่น ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
    รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้

    ๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงถือเอาสิ่งของของเราที่เราไม่ให้ด้วยอาการขโมยนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยอาการขโมยนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้

    ๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงประพฤติล่วงภรรยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงประพฤติล่วงภรรยาของผู้อื่นนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ แม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
    ประพฤติผิดในกามด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อม
    บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้

    ๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการพูดเท็จนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง
    ข้อที่เราพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการพูดเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จด้วยวจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้

    ๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วยการพูดส่อเสียดนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
    อนึ่ง ข้อที่เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการพูดส่อเสียดข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น ฯลฯ วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้

    ๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยคำหยาบนั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่น ด้วยคำหยาบนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ฯลฯ วจีสมาจารนี้
    ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้

    ๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยการพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
    อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่นด้วยการพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
    ...........
    ข้อความบางตอนใน เวฬุทวาเรยยสูตร
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://www.84000.org/tipitaka/_mcu/m_siri.php?B=19&siri=325

    อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1454

    1RpQEy8RZCID-IenVxDYMWB3_kZObXCiwQOcwUg78v5k&_nc_ohc=EThjRHZEdygAX_KnLEV&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    #จงรักษาวาจาไว้ให้ดี
    อย่าพูดปดมดเท็จที่ไม่ตรงความจริง อย่าพูดคำหยาบหรือด่าคนอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคี คือยุให้คนแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ ด้านใจ จงรักษาใจไว้ด้วยดี คือไม่อยากได้ของ ๆ ใครที่เขาไม่เต็มใจให้ ไม่โกรธแค้นอาฆาตพยาบาทใคร ไม่เมาใจจนเห็นผิดคิดว่าตัวเป็นคนประเสริฐ อารมณ์เท่านี้เป็นพื้นฐานที่จะให้เข้าถึงพระนิพพาน เมื่อรักษากายใจได้ดังนี้แล้ว ต่อไปใจจะสะอาดขึ้นทีละน้อย ๆ จนไม่ต้องระวังทั้งกาย วาจา ใจ จะทรงไว้แต่ความดีอย่างเดียว ในที่สุดก็ถึงนิพพาน
    ถ้ารักษาใจ กาย วาจา ได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านคงคิดว่าลูกเป็นลูกของท่าน พ่อเองก็ต้องเข้าใจว่าลูกเป็นลูกของพ่อด้วย เพราะต่างคนต่างระวังด้วยกัน ในช่วงที่ยังระวังอยู่นี้จงอย่าเมาคิดว่าเราเป็นพระอริยะ ถ้าขืนเมาอยู่จะไม่พบความเป็นพระอริยะ ด้วยหลงคิดว่าดีแล้วเลยไม่ทำดีต่อไป เมื่อไรถ้าเรายังไม่มีโอกาสเข้าไปอยู่ที่นิพพานแน่นอน คือตายแล้วเข้าไปอยู่ที่นิพพาน จงอย่าคิดว่าเราดี จงจำคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ท่านสอนไว้ว่า
    "#จงกล่าวโทษโจทความผิดตนเองไว้เสมอ"
    เมื่อมองหาผิดก็จะค่อย ๆ หมดความผิด เพราะกลัวจะผิด เมื่อกลัวผิดมันก็จะไม่ผิด เมื่อไม่ผิดก็เหลือแต่ถูก ตัวถูกคือตัวบริสุทธิ์ที่ท่านเรียกว่าอริยะ คือสะอาดที่สุด ถ้ากาย วาจา ใจ สะอาดสิ้นเชิง เมื่อนั้นก็จะเลิกทะนง เมื่อหมดทะนง อารมณ์ก็สบาย เมื่ออารมณ์สบายแสดงว่าใจสะอาด แต่อย่าลืมว่า ถ้ายังไม่ตายไปนอนที่นิพพานเป็นปกติ จงอย่าคิดว่าเราดี
    #ที่มาจากหนังสือคำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุงเล่มที่๖ #หน้าที่๔๘ #โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    {หลวพ่อฤาษีลิงดำ}
    วัดท่าซุง
    อ.เมือง
    จ.อุทัยธานี
    Ao76_2UR5sp44to1m9u-vMBuKngz-GjvwMWKNj5Cphvv&_nc_ohc=ciQv8BFBsvgAX8Onikv&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ผลกรรมของคนชอบพูดส่อเสียด

    ถาม : พวกที่ชอบพูดส่อเสียด กรรมของเขาจะเป็นอย่างไรเจ้าคะ ?
    ตอบ : กรรมของเขาจะเป็นอย่างไร ? ก็เป็นอย่างนางปิสุณาวาที
    ครอบครัวนี้คงเป็นครอบครัวที่พ่อแม่สร้างกรรมไว้สาหัสสากรรจ์เลย ลูกแต่ละคนแสบไส้ไปคนละอย่าง
    นางปิสุณาวาทีชอบยุคนให้แตกกัน เห็นใครที่ไหนเขาทะเลาะกันด้วยฝีมือตัวเอง แล้วจะมีความสุขมาก
    อีกคนหนึ่งชอบลักชอบขโมย เห็นอะไรอะไรของชาวบ้านก็หยิบฉวยของเขาไปเรื่อย
    คนที่สามก็สารพัดที่จะกิน เจออาหารดีเลวอย่างไรฟาดกระจายหมด
    แม้พ่อแม่จะทนไหว เพราะด้วยความรักลูกก็ยังเลี้ยงอยู่ แต่คนร่วมหมู่บ้านเขาทนไม่ไหวด้วย เขาก็จับทั้งสามคนลอยแพออกทะเลไป
    บุญยังดีไปเจอเรือโจรสลัด เขารับขึ้นเรือมา นายโจรเห็นเป็นผู้หญิงสวย ก็สงสัยว่าทำไมถึงโดนลอยแพมา พอสังเกตดูรู้ชัดเข้าก็คิดว่า...นิสัยคนเราต้องแก้ไขกันได้ นายโจรเขามีความสามารถ ปกครองพวกลูกน้องตั้งเยอะตั้งแยะ ก็จะลองแก้ไขดู
    คนช่างกินก็ให้ไปเป็นแม่ครัว เคยเห็นแม่ครัวเป็นคนช่างกินบ้างไหม ? คนต้องทำครัวทั้งวัน ทำไปทำมาก็หมดอารมณ์ไปเอง..ใช่ไหม ? ...รอดไปรายหนึ่ง
    คนช่างขโมยก็ยกกุญแจคลังสมบัติให้ดูแล ให้เฝ้าคลังสมบัติเอาไว้ อะไร ๆ ก็เป็นของตัวเองแล้ว ไม่รู้จะขโมยอะไร ก็เลยเลิกนิสัยขโมยได้
    แต่ของนางปิสุณาวาทีแก้ไม่ตก ไปยุลูกเรือคนโน้นคนนี้ ให้เขาทะเลาะเบาะแว้งกันยุ่งไปหมดทั้งเรือ เขาจะตีกันตาย จนนายโจรทนไม่ไหว หมดหนทางที่จะแก้แล้ว ก็เลยจับใส่แพลอยต่อไป คราวนี้ก็ต้องลอยเท้งเต้งไปคนเดียว
    เมื่อถูกลอยต่อไป...บุญของนางยังดีอยู่ ไปเจอนกอินทรีใหญ่ ๒ ตัวผัวเมีย บินมาหากินในทะเลหรือว่าจะบินกลับฝั่งก็ไม่รู้ เห็นนางเข้าก็สงสาร จึงตั้งใจจะช่วย แต่ที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ สมัยนั้นคนกับสัตว์พูดภาษาเดียวกันได้ นกเขาตั้งใจจะช่วย จากนั้นนกอินทรี ๒ ผัวเมียก็แกะเอาไม้แพมาหนึ่งอัน ให้นางปิสุณาวาทีเกาะอยู่ตรงกลาง แล้วพาบินเข้าฝั่ง
    ระหว่างที่นกอินทรีใหญ่ ๒ ตัวใช้กรงเล็บขยุ้มไม้หิ้วนางไปอยู่ นางปิสุณาวาทีทนคันปากไม่ไหว ไต่ไปทางอินทรีที่เป็นผัว ทำกระซิบกระซาบอยู่พักหนึ่ง แล้วอีกสักพักก็ไต่ไปทางเมียบอกว่า "ผัวแกน่ะเจ้าชู้เหลือเกิน เผลอหน่อยเดียวเกี้ยวฉันเข้าซะแล้ว" นางนกตัวเมียก็โกรธขึ้นมา แทนที่จะหิ้วนางปิสุณาวาทีต่อไป ก็เลิกแล้วหันไปตีผัวแทน ฝ่ายผัวก็จำเป็นที่จะต้องป้องกันตัว จึงปล่อยไม้ที่ขยุ้มไว้ นางปิสุณาวาทีเลยตกทะเลจมน้ำตาย..!
    แต่ถึงตายแล้วก็ยังไม่หมดฤทธิ์ ศพโดนซัดลอยไปติดที่ชายฝั่งหน้าวัดแห่งหนึ่ง พระท่านเห็นเข้าก็สังเวชศพที่ตาย จึงช่วยกันเอาศพไปเผา..ใช่ไหม ? ปรากฏว่าพอซากศพไปอยู่ในวัด พระทั้งวัดก็เลยทะเลาะเบาะแว้งกัน ท่านนั้นว่าควรเผา ท่านนี้ว่าควรฝัง บ้างก็ว่าต้องสืบหาญาติก่อน เมื่อตกลงกันไม่ได้พระก็วางมวยกันเอง..! อะไรจะฤทธิ์มากขนาดนี้..!
    พอได้สติว่า คงจะเป็นเพราะศพนี้แน่ ก็หามเอาไปทิ้งที่ป่าช้า จัดการเผาจนเหลือแต่เศษกระดูกและหัวกะโหลก พอดีพวกนักเลงเหล้าเขาไปต้มเหล้ากินกันในป่าช้า หาหินมาทำเชิงตะกอนได้ไม่ครบ คว้าได้หัวกะโหลกมาก็ยัดเข้าไป ปรากฏว่าทุกวันกินเหล้ากันก็ไม่มีอะไร อย่างเก่งก็เมาคลานกลับบ้านไปหลับ วันนั้นตีกันหัวร้างคางแตกหมด แล้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ใครกินเหล้าออกอาการเดียวกัน คือต้องมีเรื่องทะเลาะกันจนได้ทุกครั้ง
    ดังนั้น..เราจะเห็นว่า โทษของการกล่าววาจาส่อเสียดนั้นรุนแรงเพียงใด ขนาดเหลือแต่หัวกะโหลกก็ยังมีฤทธิ์
    พวกเราเคยไปเจอใครที่เขาชอบส่อเสียดมาบ้างหรือเปล่า ? คำว่า "ส่อเสียด" นั้น ความหมายที่แท้จริง คือ ยุคนอื่นให้เขาแตกกัน "ปิสุณาวาที" แปลว่า วาจาส่อเสียด
    จะมี
    มุสาวาทา พูดโกหก
    ผรุสวาทา พูดคำหยาบ
    สัมปลัปปวาทา พูดเพ้อเจ้อ
    ปิสุณาวาทา พูดส่อเสียด
    ...ชื่อเขาบอกตรงเลย ขนาดนายโจรที่แก้ไขเรื่องอะไรก็แก้ได้ แต่สันดานพูดส่อเสียดนี่แก้ไม่ได้ เลยต้องจับลอยแพต่อไป


    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=8dffcccffa753eef5e5ebebd62b6d7e9.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    #พึงปล่อยวาจาที่ดี
    #ไม่ควรปล่อยวาจาที่ชั่ว
    .....
    เราจะพูดใหม่ว่า
    ควรเปล่งหรือควรพูดแต่วาจาที่ดี
    ไม่ควรเปล่งหรือพูดวาจาที่ชั่ว
    ..
    วาจาชั่วนั้น
    โดยใจความสำคัญ
    ก็อยู่ในขอบเขตของวจีทุจริต ๔
    คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด
    พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
    ..
    ส่วนวาจาที่ดีก็คือวจีสุจริต ๔
    คือ เว้นจากพูดเท็จ
    เว้นจากการพูดส่อเสียด
    เว้นคำหยาบ และเว้นคำเพ้อเจ้อ
    พูดแต่วาจาจริง
    ประสานสามัคคี
    อ่อนหวานและมีประโยชน์
    ..
    การที่จะทำอย่างนี้ได้ก็ต้องฝึก
    ที่สำคัญคือฝึกใจให้อดทน
    ต่อคำด่าว่าเสียดสี
    ไม่สนใจต่อคำเพ้อเจ้อของผู้อื่น
    ..
    พระเถระรูปหนึ่งชื่ออภัย
    คืนหนึ่งกล่าวธรรมกถา
    ว่าด้วยเรื่องอริยวงศ์ ๔ คือ
    สันโดษด้วยจีวร
    บิณฑบาต เสนาสนะ
    และการพอใจยินดีในภาวนา
    ชาวบ้านเลื่อมใส
    ธรรมเทศนาของท่าน
    พากันมาบูชาเป็นหมู่ใหญ่
    ..
    พระเถระอีกรูปหนึ่งรู้สึกริษยาท่าน
    จึงด่าว่า "พระอภัยทำให้โกลาหล
    วุ่นวายทั้งคืนโดยอ้างเลศว่า
    กล่าวอริยวงศ์"
    ..
    เมื่อเสร็จแล้ว
    พระเถระทั้งสองเดินกลับ
    ไปยังที่อยู่ของตน ไปทางเดียวกัน
    พระเถระรูปนั้น
    ก็ด่าว่าพระอภัยไปตลอดทาง
    พระอภัยไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว
    ..
    เมื่อมาถึงทางแยก
    จะเข้าที่อยู่ของตน
    พระอภัยไหว้พระเถระรูปนั้น
    แล้วแยกกัน พระเถระรูปนั้น
    ทำเป็นเหมือนไม่เห็น
    ไม่ได้ยินคำพูดของพระอภัย
    แล้วหลีกไป
    ..
    เมื่อกลับมาถึงที่อยู่
    พวกลูกศิษย์ถามท่านว่า
    เมื่อถูกด่าอยู่ทำไมท่านอาจารย์
    ไม่โต้ตอบว่ากระไรเลย
    ..
    พระเถระตอบว่า
    "ความอดทนเป็นภาระของเรา
    ความไม่อดทนหาใช่ภาระไม่
    จิตของเรามิได้พราก
    จากกรรมฐานเลย
    แม้ชั่วระยะเวลายกเท้าก้าวเดิน"
    ..
    ความอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นนี้
    เป็นความอดทนอันประเสริฐ
    ท่านสรภังคดาบสได้กล่าวไว้
    (ปรากฏ) ในสรภังคชาดกว่า
    ..
    "บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว
    ย่อมไม่เศร้าโศกทุกเมื่อ
    ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญ
    การละความลบหลู่คุณของผู้อื่น
    บุคคลควรอดทนต่อคำหยาบ
    ที่คนอื่นกล่าวแล้ว
    สัตบุรุษ (คนดี) ทั้งหลาย
    กล่าวความอดทนนั้นว่าสูงสุด"
    ..
    ท่านสรภังคดาบสกล่าวต่อไปว่า
    "บางทีคนอดทนต่อคำล่วงเกิน
    ของผู้สูงกว่าได้เพราะความกลัว
    จำเป็นต้องอดทน
    ..
    ผู้อดทนต่อคำของผู้เสมอกันได้
    เพราะเกรงกำลังของกัน
    ส่วนผู้ใดอดทนต่อ
    คำล่วงเกินของผู้ต่ำต้อยกว่าตนได้
    สัตบุรุษทั้งหลายกล่าว
    ความอดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด"
    ..
    พราหมณ์ ๔ พี่น้องโกรธพระศาสดา
    จึงด่าว่าด้วยประการต่างๆ
    แต่พระองค์ทรงเอาชนะได้
    ด้วยความอดทน
    พราหมณ์เหล่านั้นบวชหมด
    และได้บรรลุอรหัตตผลทุกท่าน
    ..
    ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน
    สรรเสริญพระคุณของพระศาสดา
    ว่ามีพระคุณน่าอัศจรรย์
    แม้พรหมณ์ด่าอยู่
    ก็มิได้ทรงด่าตอบเลย
    คงมีพระอาการแช่มชื่น
    กลับทรงทำพระองค์
    ให้เป็นที่พึ่ง
    ของพราหมณ์เหล่านั้นเสียอีก
    ..
    พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย
    เพราะประกอบด้วยขันติ
    เราจึงไม่ประทุษร้าย
    ในบุคคลที่ประทุษร้าย
    เราจึงเป็นที่พึ่งพิงของมหาชน"
    ..
    และได้ตรัสต่อไปว่า
    "ผู้ใดไม่ประทุษร้าย
    ซึ่งบุคคลผู้ด่า ผู้ประหาร และจองจำ
    เขาอดกลั้นไว้ได้
    เราเรียกผู้เช่นนั้น
    ซึ่งมีขันติเป็นกำลัง
    เป็นพวกพ้อง
    ว่าเป็นพราหมณ์"
    ..
    พุทธบริษัทควรต้องพยายาม
    ดำเนินตามคำสอนและปฏิปทา
    ของพระสาวกผู้เป็นบัณฑิต
    คือมีความอดทน
    ต่อคำล่วงเกินหยาบช้าของผู้อื่น
    เมื่อเห็นว่าคำล่วงเกินหยาบช้า
    เป็นความไม่ดี
    ทำไมเล่าเราจะต้องทำ
    สิ่งที่ไม่ดีเช่นนั้นด้วย
    เราควรมีความอดทน
    เสงี่ยมสุภาพ อ่อนหวาน นุ่มนวล
    เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า
    ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร
    ..
    คำส่อเสียด
    เป็นคำยุให้คนแตกแยก
    นำความที่เขาพูดไม่ดี
    จากข้างโน้นมาบอกแก่ข้างนี้
    นำความที่เขาพูดไม่ดีจากข้างนี้
    ไปบอกข้างโน้น
    เพื่อให้เขารักตัว
    หรือเพื่อให้เขาแตกกัน
    เป็นเรื่องจริงบ้าง แต่งขึ้นบ้าง
    เพิ่มเติมเสริมต่อบ้าง
    คนที่เสื่อมจากคุณความดี
    เป็นคนแรกก็คือตัวเองนั่นเอง
    จึงควรเว้นเสีย
    พูดแต่วาจาอันเป็นไป
    เพื่อความสามัคคี
    เป็นผลดีแก่คนทุกฝ่าย
    ..
    คำเพ้อเจ้อ คือวาจาไร้สาระ
    เสียเวลาเสียประโยชน์
    ทั้งของตนและของคนฟัง
    ควรเว้น
    พูดวาจาที่มีประโยชน์
    ต่อความสำนึกที่ดี
    วาจาที่เป็นแนวทาง
    แห่งการดำเนินชีวิต
    ..
    คำพูดของพระศาสดา
    และของนักปราชญ์ทั้งหลาย
    ซึ่งโลกจดจำบันทึกไว้
    ได้ศึกษาเล่าเรียน
    ถือเป็นแนวทางสำหรับดำเนินชีวิต
    ก็เพราะเป็นวาจาที่มีประโยชน์
    คำพูดของผู้หลักผู้ใหญ่
    ที่เด็กจดจำไว้ใช้เป็นคู่มือชีวิต
    ก็เพราะเป็นวาจาที่มีประโยชน์เช่นกัน
    เพราะฉะนั้น
    ควรเปล่งวาจาที่มีประโยชน์
    ..
    คำเท็จ คือหลอกลวงผู้อื่น
    และทำให้เขาต้องเดือดร้อน
    ลำบาก เพราะคำเท็จของเรา
    ทำให้เขาเสียทรัพย์
    เสียชื่อเสียง
    เกียรติยศ
    เช่น การใส่ความเขา
    พูดหลอกลวงเอาทรัพย์เขา
    เป็นพยานเท็จเพื่อค่าจ้าง
    ทำให้ฝ่ายหนึ่งต้องติดคุก
    หรือเสียทรัพย์ล่มจม
    คำเท็จเหล่านี้มีโทษมาก ไม่ควรพูด
    ..
    ควรพูดแต่คำจริง
    ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
    คือยุติธรรม
    คำจริงอันก่อให้เกิด
    ความรื่นรมย์ใจ ซาบซึ้ง
    เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดำเนินตาม
    เว้นคำจริงบางอย่าง
    อันก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
    อันทำให้เขาละอาย
    เช่นการประจานเขา เป็นต้น
    ..
    หนังสือเล่มนี้
    ได้เก็บพระพุทธภาษิต
    จากพระสุตตันตปิฎก
    สังยุตตนิกาย เล่ม ๑๕
    แล้วขยายพระพุทธภาษิตนั้น
    พอเป็นแนวทางแห่งการ
    เพิ่มพูนปัญญา ศรัทธา
    และความเพียรของสาธุชน
    ผู้สนใจในพระพุทธศาสนา
    ต้องการรู้และปฏิบัติตาม
    ..
    อันผู้เลื่อมใสพระรัตนตรัยนั้น
    ถ้าต้องการความบริสุทธิ์
    และปฏิบัติตามโดยชอบ
    ย่อมจะได้บรรลุจุดมุ่งหมาย
    แห่งการถึงพระรัตนตรัยอย่างแน่นอน
    แต่การปฏิบัติตามโดยชอบ
    ย่อมจะมีไม่ได้
    ถ้าขาดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง
    ..
    หวังว่าหนังสือเล่มนี้
    คงจะอำนวยประโยชน์
    ในด้านความเข้าใจอันถูกต้อง
    ต่อพุทธธรรม และเป็นประโยชน์
    ในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย
    ..........
    พระไตรปิฎกฉบับขยายความ
    ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ
    เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
    rNQmC75tN3YmLF7u38BNRBo&_nc_ohc=8AsKE_RPXZ8AX_VgH1Z&tn=kCvwuuuHDyY7OkbX&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    PguyKtl-YU5F42RSYPCfP3ga0BOESfQGVtKHTKIiIp9T&_nc_ohc=YrbAfky_RfUAX_BTIqS&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    az-O-wh98nG8vHDklfDJdS0D_YeInVoWx97rL0lc4obN&_nc_ohc=KwRG8ACKuWgAX_cFVqH&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.jpg


    ‘สัมมาวาจา’ ที่แปลว่า การเจรจาชอบ
    ในสังคมที่มีบุคคลหลายหมู่คณะอยู่ร่วมกัน มีผู้คนเจรจาติดต่อกันผ่านอุปกรณ์การสื่อสารอันรวดเร็ว และง่ายดายขึ้นนั้น ย่อมทำให้ ‘วจีทุจริต’ หรือการประพฤติชั่วทางวาจาปรากฏขึ้นอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ คำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด และคำเพ้อเจ้อเหลวไหล ล้วนเป็นต้นเหตุใหญ่ของความวิวาทบาดหมาง ความขุ่นเคือง และความคลางแคลงใจกัน
    เพราะฉะนั้นจึงขอสาธุชนทุกท่าน อาศัยดิถีอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่มาบรรจบถึง เป็นโอกาสทบทวนจิตใจและตั้งปณิธานว่าจะดำเนินชีวิตด้วย ‘ปิยวาจา’ พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะสำหรับกาลเทศะ เพื่อความผาสุกร่มเย็นของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมประเทศชาติสืบไป
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=ece5454f9d297bf02cd51ebe003722db.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...