หลวงพ่อเที่ยงวัดระฆังโฆสิตาราม เปิดที่มารูปเหมือนสมเด็จจีวรลายดอกบวบ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 19 กรกฎาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    ผมเรียกท่านเจ้าคุณว่าหลวงพ่อ ด้วยความเคารพมาตั้งแต่ครั้งท่านดำรงเป็นเจ้าคุณชั้นราช ที่พระราชวิสุทธิเวทีรู้จักกับท่านโดยการแนะนำของเพื่อนรุ่นพี่ตั้งแต่ พ.ศ.2534 จวบปัจจุบันก็เกือบ 19 ปีเต็ม ที่ได้เข้าออกคณะ 4 ของหลวงพ่อ ตั้งแต่กุฏิยาวเป็นเรือนไม้เสาโยกไปโยกมาโน่น
    หลวงพ่อเที่ยง ท่านบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 16 ปี เดิมท่านเป็นคนนครราชสีมา อยู่ที่อำเภอโนนสูง ท่านเกิดเมื่อ 30 มิถุนายน 2478 พออายุครบได้มาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านดอนชมพู ท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามตั้งแต่เป็นสามเณร มาเพื่อเรียนหนังสือ ครั้นถึงเวลาก็กลับไปบวชพระที่บ้าน แล้วจึงมาศึกษาต่อที่วัดระฆังฯ
    ท่านได้รับความเมตตาจากหลวงปู่นาคเป็นพิเศษ ในเรื่องของการส่งเสริมให้ศึกษา ท่านศึกษาจนกระทั่งจบเปรียญธรรม 9 ประโยค และในเรื่องอื่นๆ ด้วย ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวง และเป็นเจ้าคณะภาค 11 ดูแลในเขตจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์
    หลวงพ่อเที่ยง เมื่อวันวานมีปฏิปทาอย่างไร วันนี้ก็เหมือนเดิมทุกประการ เช้าในช่วงเวลาแปดโมงกว่าๆ ท่านจะลงพระอุโบสถเป็นประจำเพื่อทำวัตรสวดมนต์ จากนั้นพอเก้าโมงเศษท่านก็จะฉันภัตตาหาร โดยฉันเพียงหนเดียวเป็นอาหารมังสวิรัติ หลวงพ่อบอกว่าฉันอาหารมังสวิรัติทำให้สุขภาพแข็งแรงดี แม้ปีนี้อายุ 74 แล้ว แต่ท่านก็ยังแข็งแรงทำงานเพื่อพระศาสนาได้อีกมาก
    หลวงพ่อท่านทำอะไรต่างๆ เอง แม้จะเทกับข้าวออกจากถุง จากปิ่นโตที่ญาติโยมมาถวาย เพราะท่านไม่ปรารถนาให้เป็นธุระของผู้อื่น มันยุ่งยากลำบากเขา ท่านมักจะดำเนินการเองทั้งสิ้น ที่สำคัญท่านเป็นพระกรรมฐาน ก่อนจำวัดหลวงพ่อจะนั่งกรรมฐานทุกคืนอย่างน้อยก็สองชั่วโมง และเมื่อลุกขึ้นตื่นแล้วก็จะนั่งกรรมฐานทันที ท่านทำอย่างนี้มาหลายสิบปีแล้ว ปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านมักจะสร้างระฆังไปแจกตามวัดวาอารามชนบท หรือบางครั้งก็หล่อพระพุทธรูปไปแจก แม้แต่รูปของหลวงปู่โตอันศักดิ์สิทธิ์ ท่านก็ยังหล่อเอาไปแจกตามวัดที่ได้ทำเรื่องขอท่านมา
    โดยหลวงพ่อได้ร่วมกับญาติโยมที่เขาปรารถนาร่วมบุญการปฏิบัติกรรมฐานของท่าน ความจริงท่านปรารถนาเพียงแค่ให้จิตใจสงบเท่านั้น และศึกษาเรื่องการทำงานของจิต แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็ปรากฏต่อผลของการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อ นั่นคือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาส ได้มาปรากฏในนิมิต และแนะนำอะไรต่อมิอะไรให้ท่านหลายสิ่งหลายอย่างในการปฏิบัติธรรม
    หลวงพ่อได้เล่าให้ฟังว่า พอหลวงปู่โตปรากฏในนิมิตก็เกิดความปีติแทรกเข้ามา อิ่มเอิบใจมาก ท่านมาแล้วบอกว่าให้ตามมานี่ ในความรู้สึกเหมือนเราลุกเดินตามท่านไปจริงๆ ท่านพาไปสวนที่ไหนไม่ทราบ ที่พื้นดินนั้นเดินสบาย มีเปลือกหมากร่วงหล่นกองกับพื้น ทำให้เดินแล้วนุ่มเท้าจัง เดินไปถึงกระต๊อบหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นหลังเล็กๆ ท่านบอกว่าให้รอยู่ที่นี่ก่อน...แล้วท่านเดินไปไหนไม่ทราบเดินเร็วมาก เดินหายไปเลยแล้วก็ไม่เห็นกลับมาเสียที ในใจนึกขึ้นได้ว่านี่อยู่ในพรรษาต้องกลับวัดเพราะจะค่ำแล้ว ก็เลยสะดุ้งตื่น ค่อยๆ ลืมตาขึ้น คลายออกจากสมาธิ
    จากนั้นหลวงปู่ก็ไม่เคยมาอีกเลย...แต่การนั่งกรรมฐานของหลวงพ่อยังปฏิบัติไปต่อเนื่อง กระทั่งวันหนึ่ง จู่ๆ ขณะที่ท่านจำวัด ได้ยินเสียงหัวเราะจึงค่อยๆ ลืมตาแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น เห็นเป็นรูปหลวงปู่โตมานั่งอยู่ที่หัวนอนแล้วก็หัวเราะ พออีกสองวันเดินทางไปโคราช รถที่เขาพาไปก็เก่ามาก นี่ขับไปกว่าจะถึงก็เป็นกังวลตลอดทาง ครั้นขากลับมาพอมาถึงรังสิตล้อหลังแซงล้อหน้า....หลุดออกมาทั้งยวง มิน่าทำไมหลวงปู่โตมานั่งหัวเราะที่หัวนอน แต่ก็ปลอดภัยไม่มีเหตุอะไรร้ายแรง
    หลวงพ่อเที่ยงท่านสื่อกับหลวงปู่โตผ่านพลังจิตของสมาธิและการท่องพระคาถาชินบัญชร คราวหนึ่งผมได้อาราธนานิมนต์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และหลวงพ่อเที่ยง ไปสวดมนต์เปิดร้านอาหาร ท่านเจ้าประคุณสมเด็จถามหลวงพ่อเที่ยงว่า พระคาถาชินบัญชรตกลงมีของประเทศไหนบ้าง เห็นศรีลังกาก็มี ของอินเดียก็มี พม่าก็มี หลวงพ่อเที่ยงท่านเรียนไปว่า พระคาถานี้ต้นแบบแต่เดิมมาจากไทยนี่แหละ เป็นของโบราณ ตอนสยามวงศ์ไปเผยแพร่ที่ลังกาก็นำเอาไปด้วย ตอนหลังพระศรีลังกามาเผยแพร่ในสยามก็ได้นำเอาพระคาถาบทนี้กลับมาด้วยอีกคราวหนึ่ง
    ได้ถามหลวงพ่อเที่ยงว่า การสร้างรูปเหมือนของหลวงปู่โตนั้น ที่สร้างในยุคสมัยก่อนที่เก่าที่สุดคงจะเป็นรูปเหมือนที่ตั้งอยู่ในวิหารวัดระฆังฯ ที่สร้างขึ้นมาแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีอยู่ที่วัดระฆังฯ และวัดเกศไชโยเท่านั้น ส่วนรูปเหมือนที่มีขนาดเล็กๆ ที่สร้างเป็นจีวรลายดอกบวบ คล้ายๆ ศิลปะพระยุครัตนโกสินทร์นั้นสร้างเมื่อครั้งใด หลวงพ่อท่านบอกว่า น่าจะเป็นยุคหลังๆ สร้างแถวๆ เสาชิงช้ามากกว่า เพราะยุคสมัยรัชกาลที่ 7 ปลายๆ มีการสร้างกันเยอะมากที่นั่น สร้างแล้วก็ขอซื้อไปถวายให้วัดต่างๆ ปลุกเสกบ้าง หรือถวายให้วัดไปเลยบ้าง ในยุคหลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ มีคนนำมาให้ท่านสวดคาถาชินบัญชรปลุกเสกอยู่บ่อยครั้ง ท่านก็เมตตาทำให้ เห็นว่าเอาไปบูชาแล้วดี บางคนทำมาค้าขายก็ร่ำรวยขึ้น
    ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของเรื่องรูปเหมือนหลวงปู่โต กับจีวรลายดอกบวบที่น่าศึกษา จะอย่างไรก็ตามรูปเหมือนของหลวงปู่โต ไม่ว่าจะสร้างที่ไหนต่างก็มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกันหมด หากได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้วอย่างถูกต้อง.

    หลวงพ่อเที่ยงวัดระฆังโฆสิตาราม เปิดที่มารูปเหมือนสมเด็จจีวรลายดอกบวบ | ไทยโพสต์
     
  2. ศรนารายณ์ธนูทอง

    ศรนารายณ์ธนูทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +1,865
    ที่วัดโล่สุทธาวาส ปางจับยามสามตา ตามประวัติ ว่าท่านจารยันต์ตรีนิสิงเห ขนาดเท่ากลักไม้ขีด เป็นชนวนหล่อด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...