หลวงปู่รอด วัดนายโรง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 12 มีนาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    เป็นชาวบางพรม ต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดนายโรง จนกระทั้งได้รับแต่งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนายโรง รูปที่ ๒ และเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ทำการอุปสมบทกุลบุตรในย่านคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ บางละมาด บางพรม ธนบุรี ตลอดจนบางกรวย บางใหญ่ บางคูเวียง นนทบุรี จนมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก
    หลวงปู่รอดนอกจากจะเป็นพระเถระที่มีความรู้ความชำนาญด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ยังมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นพิเศษในด้านพุทธาคมและเวทย์วิทยาคมอีกด้วยโดยเฉพาะ เรื่อง เบี้ยแก้ และลูกอมชานหมาก

    วัตถุมงคลของหลวงปู่รอด
    เบี้ยแก้ เป็นหอยชนิดหนึ่งในตระกูล Cypraea วงศ์ Cypraeidea จะมีลักษณะหลังนูนท้องแบน เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน ช่องปากยาวแคบเป็นลำราง ไปจนสุดปลายทั้งสองข้างริมปากทั้งสองด้านเป็นหยัก ๆ คล้ายฟัน ไม่มีแผ่นปิด คนทั่วไปจะเรียกว่า หอยเบี้ย ในสมัยโบราณเคยใช้หอยชนิดนี้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย แทนเงิน และเบี้ยชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เบี้ยจั่น เบี้ยแก้ว เบี้ยนาง อัตราการแลกเปลี่ยนจะอยู่ที่ ๑๐๐ เบี้ย เท่ากับ ๑ อัฐ หรือสตางค์ครึ่ง
    ครั้นนำมาประกอบพิธีปลุกเสกด้วยพุทธาคมและเวทย์วิทยาคม ตามกรรมวิธีหลวงปู่แล้ว เรียกว่า เบี้ยแก้ เชื่อกันว่า เป็นวัตถุมงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยให้ผู้ถือครองตั้งอยู่ในความดี และสามารถป้องกันหรือแก้ไขอันตรายต่าง ๆ จากคุณไสย และภูตผีปีศาจได้เป็นอย่างดี ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้น
    ส่วนประกอบและมวลสารของเบี้ยแก้
    เบี้ยแก้ของหลวงปู่จะประกอบด้วยวัตถุ ๔ อย่าง คือ
    ๑. หอยเบี้ย
    ๒. ปรอท
    ๓. ชันโรงใต้ดิน
    ๔. แผ่นตะกั่วนม
    หลวงปู่จะนำวัตถุทั้ง ๔ อย่างมาส่วนประกอบและมวลสาร หลังประกอบพิธีปลุกเสกด้วยพุทธาคมและเวทย์วิทยาคมตามกรรมวิธีของท่าน เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกแล้ว หลวงปู่จะมอบให้ลูกศิษย์ไว้ติดตัวเพื่อป้องกันและแก้ไขอันตรายต่าง ๆ ปัจจุบันเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด เป็นวัตถุมงคลที่มีค่าสูง และหาได้ยากมาก
    ลักษณะพิเศษเบี้ยแก้หลวงปู่รอด
    เบี้ยแก้ของหลวงปู่ จะมีลักษณะพิเศษที่พอสังเกตได้ดังนี้
    ๑. ตัวเบี้ย หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า เบี้ยพลู มีขนาดไม่ใหญ่เกินไปนัก จะมีขนาดความยาว
    ประมาณ ๓.๔ -๓.๕ ซ.ม. และกว้าง ๒.๔-๒.๕ ซ.ม.
    ๒. ลักษณะภายใน หากจับเขย่าดู จะมีเสียงดังเบา ๆ ซึ่งเป็นเสียงปรอทที่บรรจุไว้ภายใน
    ๓. บริเวณใต้ท้องเบี้ยแก้ จะมีชันโรงใต้ดินปิดอยู่ ตั้งปากเบี้ยจนถึงท้องเบี้ย และชันจะเกาะติด
    แน่นอยู่กับท้องเบี้ย
    ๔. เบี้ยแก้ทุกตัว จะหุ้มด้วยแผ่นตะกั่วนมอย่างดีและประณีตบรรจง โดยจะเปิดส่วนที่นูนของ
    เบี้ยไว้
    ๕. แผ่นตะกั่วที่หุ้มเบี้ยแก้ จะมีการลงอักขระกำกับไว้ โดยการใช้เหล็กจาร หากดูผิวเผินอาจจะ
    มองไม่เห็นชัด และตัวอักษรที่จารจะมีรอยเส้นเรียบ
    ๖. เบี้ยแก้ทุกเบี้ยจะถักด้ายหุ้มไว้ ในการถักด้ายจะมี ๒ แบบ คือ ถักหุ้มปิดหลังเบี้ย และถัก
    หุ้มเปิดหลังเบี้ย แล้วทาด้วยยางมะพลับ หรือยางหมาก ปิดทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
    http://www.itti-patihan.com/ประวัติ-หลวงปู่รอด-วัดนายโรง.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...