หลวงปู่ทองสุข สัมปันโน ทายาทธรรม"หลวงปู่สาธุ์"

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 14 มิถุนายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>"พระครูโพธิคุณสถิต" หรือ "หลวงปู่ทองสุข สัมปันโน" อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยนิมิต และอดีตเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิชื่อดังในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จ.ร้อยเอ็ด จ.บุรีรัมย์ เป็นผู้สืบทอดสายธรรมจาก หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม วัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม บูรพาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

    อัตโนประวัติ หลวงปู่ทองสุข เกิดในสกุล สังฆะทิพย์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2472 ณ บ้านเมืองเจีย ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โยมบิดา-มารดา ชื่อ พ่อตุ่ย และแม่สอน สังฆะทิพย์

    ในช่วงวัยเยาว์เรียนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านหัวหมูคณา นุสรณ์ ก่อนลาออกมาช่วยงานครอบครัวทำไร่ทำนา ตามวิถีชาวชนบทอีสาน

    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดทองนพคุณ โดยมีพระครูจันทร์ศรีตลคุณ วัดโพธิ์ชัยนิมิต เป็นพระอุปัชฌาย์

    ภายหลังอุปสมบท ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนิมิต มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ จากสำนักเรียนวัดห้วยถั่วใต้ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นอกจากนี้ ยังศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว กับพระครูจันทร์ศรีตลคุณ ทำให้ท่านมีความรู้ด้านอักขระโบราณอีกแขนงหนึ่ง

    พระทองสุข ยังให้ความสนใจศึกษาด้านวิทยาคม ในยุคนั้นชื่อเสียงของหลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม วัดบ้านเหล่า โด่งดังไปทั่วทั้งอีสานกลางและอีสานใต้ ในฐานะพระเกจิผู้เรืองวิท ยาคมสายเขมรที่สืบสายมาจากพระครูสีหราช บูรพาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนกับหลวงปู่สาธุ์

    หลวงปู่สาธุ์ ได้ถ่ายทอดวิชาให้ไม่ว่าจะเป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี กันบ้านกันเมือง

    กล่าวได้ว่า หลวงปู่ทองสุข เป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่สาธุ์

    เมื่อท่านมีพรรษามากขึ้น โยมบิดา-มารดา ได้นิมนต์ให้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนิมิต เพื่อโปรดญาติโยมพี่น้อง โดยหลวงปู่ทองสุขก็รับนิมนต์ จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดแห่งนี้ตราบจนวาระสุดท้าย <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลังจากหลวงปู่กลับมาจำพรรษาอยู่วัดบ้านเกิด ด้วยความที่เป็นพระเคร่งครัดในพระธรรมวินัย วัตรปฏิบัติจำเริญรอยตามหลวงปู่สาธุ์ ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่ญาติโยมอย่างรวดเร็ว ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระกัมมัฏฐานรูปหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่และจังหวัดข้างเคียงกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

    ในแต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ รวมทั้งปรารถนาวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน เหรียญกลมเล็กรุ่น 1 ที่เข้มขลัง

    สำหรับปัจจัยที่ได้จากการบริจาคจากศรัทธาของญาติโยม หลวงปู่ได้นำมาพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดแห่งนี้ อาทิ อุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ เป็นต้น

    อีกทั้ง หลวงปู่ทองสุข ยังชมชอบธรรมชาติป่าไม้ ท่านจึงนำพาญาติโยมและพระภิกษุ-สามเณรร่วมปลูกต้นไม้ในวันสำคัญตลอดปี ทำให้บรรยากาศภายในวัดมีแต่ความร่มรื่น

    หลวงปู่ทองสุข มีตำแหน่งงานด้านปก ครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2506 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยนิมิตและเจ้าคณะตำบลปะหลาน พ.ศ.2533 เป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.2542 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2517 ได้รับพระราช ทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรีที่ พระครูโพธิคุณสถิต พ.ศ.2527 ได้รับพระ ราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโท ในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม

    และมีผลงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านพระปริยัติธรรม รวมทั้งงานสาธารณูป การมากมาย ทำให้วัดโพธิ์ชัยนิมิต เจริญรุ่ง เรืองตราบจนปัจจุบัน

    ช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงปู่ทองสุข ที่ได้ล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย หลวงปู่อาพาธบ่อยครั้ง สุดท้ายได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 สิริอายุ 80 พรรษา 60

    ณ วันนี้ถึงแม้ หลวงปู่ทองสุข จะละสังขารไปแล้ว แต่คุณงามความดีของท่านยังคงปรากฏอยู่ในใจของชาวสารคามไปตลอดกาล
    ˹ѧ
     

แชร์หน้านี้

Loading...