สิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องรู้และรับผิดชอบโลกใบนี้ร่วมกัน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <center>
    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
    บรรยากาศของโลกเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา (Dynamic) ภูมิอากาศของโลกจึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง ขึ้นอยู่กับปัจจัยสาเหตุนานาประการ ตัวอย่างเช่น การระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงช่วงเดือนหรือปี การพุ่งชนของอุกาบาตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิบปี การเพิ่มขึ้นของมลภาวะทางอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับศตวรรษ การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรและขนาดของแผ่นน้ำแข็ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของวงโคจรโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบนับล้านปี การเคลื่อนที่ของทวีปและการเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับพันล้านปี ดังกราฟในภาพที่ 1
    [​IMG]
    ภาพที่ 1 ปัจจัยและคาบการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก
    ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
    ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ และวงโคจรของโลก ปัจจัยภายในได้แก่ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของก๊าซในบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก ซึ่งพอสรุปรวมได้ดังนี้
    [​IMG] พลังงานจากดวงอาทิตย์
    [​IMG] วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
    [​IMG] องค์ประกอบของบรรยากาศ
    [​IMG] อัลบีโด หรือความสามารถในการสะท้อนแสงของบรรยากาศ และพื้นผิวโลก
    [​IMG] น้ำในมหาสมุทร
    [​IMG] แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
    [​IMG] การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
    ทุกปัจจัยที่กล่าวมามีผลกระทบต่อบรรยากาศโลกโดยตรง และมีผลกระทบต่อกันและกัน ซึ่งยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม ดังที่แสดงในภาพที่ 2
    [​IMG]
    ภาพที่ 2 ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง
    ความแปรปรวนของแสงดวงอาทิตย์
    พลังงานจากดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์มีขนาดไม่คงที่ ในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะดวงอาทิตย์มีขนาดเล็กและมีแสงสว่างน้อยกว่าปัจจุบัน ดวงอาทิตย์ขยายตัวใหญ่ขึ้นเนื่องจากการเผาไหม้ก๊าซไฮโดรเจนที่อยู่ภายใน เมื่อพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น ความสว่างก็ยิ่งมากขึ้นด้วย อีกประมาณ 5 พันล้านปี ดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่เท่าวงโคจรของดาวอังคาร
    นอกจากนี้ปริมาณและพื้นที่ของจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ในแต่ละวันยังไม่เท่ากัน ดวงอาทิตย์จะมีจุดมากเป็นวงรอบทุกๆ 11 ปี สิ่งนี้มีผลกระทบต่อพลังงานที่โลกได้รับด้วย
    วัฏจักรมิลานโควิทช์
    ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ชาวเซอร์เบียชื่อ มิลูติน มิลานโควิทช์ (Milutin Milankovitch) ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเป็นคาบเวลาระยะยาว เกิดขึ้นจากปัจจัย 3 ประการคือ
    1. วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เปลี่ยนแปลงขนาดความรี (รีมาก - รีน้อย) เป็นวงรอบ 96,000 ปี เมื่อโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์อุณหภูมิก็จะสูงขึ้น เมื่อโลกอยู่ไกลอุณหภูมิก็จะต่ำลง
    2. แกนหมุนของโลกส่าย (เป็นวงคล้ายลูกข่าง) รอบละ 21,000 ปี ทำให้แต่ละพื้นที่ของโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี
    3. แกนของโลกเอียงทำมุมระหว่าง 21.5 - 24.5 องศา กับระนาบของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ กลับไปมาในคาบเวลา 41,000 ปี แกนของโลกเอียงเป็นสาเหตุทำให้เกิดฤดูกาล ปัจจุบันแกนของโลกเอียง 23.5 องศา หากแกนของโลกเอียงมากขึ้น ก็จะทำให้ขั้วโลกได้รับแสงอาทิตย์มากขึ้นในฤดูร้อนและน้อยลงในฤดูหนาว ซึ่งมีผลทำให้ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากขึ้น
    กราฟในภาพที่ 3 แสดงให้เห็นอิทธิพลของปัจจัยทั้งสามทำให้ภูมิอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงและต่ำสลับกันไปเป็น วัฏจักร โดยที่แต่ละคาบนั้นมีระยะเวลาและความรุนแรงไม่เท่ากัน
    [​IMG]
    ภาพที่ 3 ปัจจัยของวัฏจักรมิลานโควิทช์
    องค์ประกอบของบรรยากาศ
    สัดส่วนของก๊าซในบรรยากาศ ไม่ใช่สิ่งคงตัว แต่ก่อนโลกของเราเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซออกซิเจนเพิ่งจะเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงของคลอโรฟิลล์ในสิ่งมีชีวิตเมื่อประมาณ 2 พันปีที่แล้วมานี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทสิ่งมีชีวิต) ก๊าซบางชนิดมีผลกระทบต่ออุณหภูมิของบรรยากาศโดยตรง เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน เนื่องจากเป็นก๊าซเรือนกระจก ก๊าซบางชนิดไม่มีผลกระทบต่ออุณหภูมิของบรรยากาศโดยตรง แต่จะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและองค์ประกอบทางเคมีของบรรยากาศ เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซโอโซน
    [​IMG]
    ภาพที่ 4 องค์ประกอบของบรรยากาศโลกในอดีต
    น้ำในมหาสมุทร
    น้ำในมหาสมุทรมีหน้าที่ควบคุมภูมิอากาศโดยตรง ความชื้นในอากาศมาจากน้ำในมหาสมุทร ความเค็มของน้ำทะเลมีผลต่อความจุความร้อนของน้ำ การไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรจึงมีผลกระทบต่อภูมิอากาศบนพื้นทวีปโดยตรง ระบบการไหลเวียนของน้ำใต้มหาสมุทรที่เรียกว่า “แถบสายพานยักษ์” (Great conveyor belt) สร้างผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก เป็นวงรอบ 500 – 2,000 ปี
    [​IMG]
    ภาพที่ 5 แถบสายพานยักษ์
    อัลบีโด
    อุณหภูมิของพื้นผิวและบรรยากาศของโลกจะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดกลืนและสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ แผ่นน้ำแข็ง ก้อนเมฆ สะท้อนรังสีคืนสู่อวกาศ และฝุ่นละอองที่แขวนลอยในอากาศ ทำให้พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิต่ำ ขณะที่ป่าไม้และน้ำดูดกลืนพลังงาน ทำให้พื้นผิวมีอุณหภูมิสูง เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิว ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิด้วย (รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่อง “สมดุลของพลังงาน”)
    แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
    ร้อยละ 75 ของน้ำจืดบนโลก สะสมอยู่ที่เกาะกรีนแลนด์ ในมหาสมุทรอาร์คติก และบนทวีปแอนตาร์คติก ในรูปของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก หากแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกทั้งสองละลายหมดจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 66 เมตร พื้นที่เกาะและบริเวณชายฝั่งจะถูกน้ำท่วม อัลบีโดของพื้นผิวและปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่ในน้ำทะเลจะเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศ
    การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
    เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่อง “วัฏจักรวิลสัน” ในบทธรณี) กระบวนการธรณีแปรสันฐาน หรือ เพลตเทคโทนิคส์ (Plate Tectonics) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างบนผิวโลก อันเป็นปัจจัยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เช่น ก๊าซจากภูเขาไฟ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบรรยากาศ ฝุ่นละอองภูเขาไฟกรองรังสีจากดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัลบีโด และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
    การศึกษาบรรยากาศของโลกในอดีต
    ในการพยากรณ์อากาศนั้น นักอุตุนิยมวิทยาได้ข้อมูลอากาศมาจากสถานีตรวจอากาศภาคพื้น ประกอบกับข้อมูลจากบอลลูน เครื่องบิน และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา แต่ทว่าในการสืบค้นข้อมูลสภาพอากาศในอดีตนับหมื่นหรือแสนปีนั้น นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาจากฟองก๊าซซึ่งถูกกักขังไว้ในแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก เมื่อหิมะตกลงมาทับถมบนพื้นผิว มันจะมีช่องว่างสำหรับอากาศ กาลเวลาต่อมาหิมะที่ถูกทับถมตกผลึกกลายเป็นน้ำแข็งกักขังฟองก๊าซไว้ข้างใน (ดังที่แสดงในภาพที่ 6) เพราะฉะนั้นแผ่นน้ำแข็งแต่ละชั้นย่อมเก็บตัวอย่างของบรรยากาศไว้ในยุคสมัยที่แตกต่างกัน ยิ่งเจาะน้ำแข็งลงไปลึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้ฟองอากาศเก่าแก่โบราณมากขึ้นเท่านั้น วิธีการตรวจวัดเช่นนี้สามารถได้ฟองอากาศซึ่งมีอายุถึง 110,000 ปี สถานีขุดเจาะแผ่นน้ำแข็งเพื่อการวิจัยบรรยากาศที่สำคัญมี 2 แห่งคือ ที่เกาะกรีนแลนด์ ในมหาสมุทรอาร์คติกใกล้ขั้วโลกเหนือ และที่สถานีวิจัยวอสตอค ในทวีปแอนตาร์คติกใกล้ขั้วโลกใต้
    [​IMG]
    ภาพที่ 6 การกักขังฟองก๊าซของแผ่นน้ำแข็ง
    นักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจวัดอายุของฟองก๊าซ ได้จากการศึกษาก๊าซและฝุ่นละอองที่ถูกสะสม เทียบกับเหตุการณ์ทางธรณีในยุคนั้น หรือไม่ก็ใช้การตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอน ในฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในก้อนน้ำแข็ง ภาพที่ 7 แสดงให้เห็นถึงปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของอากาศแปรผันตามไปด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจก ดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้โลกอบอุ่น ในบางช่วงเวลาอุณหภุมิต่ำมากจนกลายเป็นยุคน้ำแข็ง ในช่วงเวลาโลกร้อนสลับกันไป ด้วยสาเหตุของวัฎจักรมิลานโควิทช์ และปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
    [​IMG]
    ภาพที่ 7 กราฟแสดงอุณหภูมิและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอดีต

    </center> <hr noshade="noshade">
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การทำลายป่าฝนเขตร้อน
    สิ่งมีชีวิตทุกชนิดและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน นับตั้งแต่จุลชีพขนาดเล็กไปจนถึงสัตว์ใหญ่เช่น มนุษย์ ถ้าสปีชีส์ใดสปีชีส์หนึ่งสูญพันธุ์ไปก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสปีชีส์อื่นด้วย เช่น ถ้ามนุษย์ทำให้นกเงือกสูญพันธุ์ พืชพันธุ์บางชนิดในป่าก็อาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย เนื่องจากขาดตัวกลางซึ่งทำหน้าที่นำเมล็ดไปแพร่พันธุ์ เมื่อพืชบางชนิดสูญพันธุ์ ปริมาณออกซิเจนในอากาศก็เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสมุนไพรบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์ และระบบนิเวศทั้งหมด
    [​IMG]
    ภาพที่ 1 โครงสร้างของป่าฝน
    ป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain forest) คือป่าที่มีปริมาณฝนตกอย่างน้อยปีละ 250 เซนติเมตร เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก ร้อยละ 70 – 90 ของทุกสปีชีส์บนพื้นผิวโลกอยู่ในป่าเขตนี้ และยังเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนที่สำคัญที่สุดของโลก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันป่าฝนเขตร้อนมีพื้นที่เหลืออยู่เพียง 6% ของพื้นผิวโลก และกำลังถูกบุกรุกทำลายอย่างรวดเร็ว ป่าฝนส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ได้แก่ ทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้ (ภาพที่ 2)
    ป่าเปรียบเสมือนบ้านของเรา บรรพบุรุษของมนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทลิง (Primates) อุบัติขึ้นในป่าฝนเขตร้อนเมื่อประมาณ 50 ล้านปีที่แล้ว ป่าเป็นทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร เราได้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ป่ามิเพียงแค่ให้ชีวิต แต่ยังให้คุณภาพของชีวิตอีกด้วย ร้อยละ 25 ของสมุนไพรซึ่งเป็นยารักษาโรคได้มาจากป่า ป่าฝนเขตร้อนเปรียบเสมือนปอดของโลก ทำหน้าที่ตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมลภาวะในอากาศไว้ในดิน ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจน ต้นไม้ดูดซับความชื้นตรึงน้ำไว้บนพื้นผิวทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์ เมื่อพืชคายน้ำทำให้อากาศมีความชื้นและเกิดเมฆ เมื่อฝนตกรากไม้ช่วยดูดซับน้ำในดินมิให้เกิดน้ำท่วม และยึดเกาะเม็ดดินให้ติดกันเป็นกลุ่มก้อนมิให้ถล่มทะลาย
    [​IMG]
    ภาพที่ 2 พื้นที่ป่าฝนเขตร้อน
    ผลกระทบของการตัดไม้ทำลายป่า
    ในยุคหินเก่าเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว มีประชากรมนุษย์อยู่บนโลกเพียงประมาณ 1 – 5 ล้านคน ดำรงชีวิตด้วยการกินพืชและล่าสัตว์ เช่นเดียวกับสัตว์ผู้ล่าทั้งหลาย จนประมาณ 1 หมื่นล้านปีที่แล้ว มนุษย์มีวิวัฒนาการหาเลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งเริ่มยุคโลหะเมื่อ 5,000 ล้านปีมานี้ มนุษย์เริ่มรู้จักสร้างเครื่องมือจากโลหะ การตัดไม้เริ่มต้นตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามจำนวนประชากรมนุษย์ยังคงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งมนุษย์ได้คิดค้นยาปฏิชีวนะ เมื่อประมาณ พ.ศ.1900 ทำให้อัตราการตายน้อยกว่าอัตราการเกิดมาก จำนวนประชากรมนุษย์จึงทวีขึ้นอย่างสะสมตั้งแต่นั้นมา จนมาถึงยุคปฏิวัติทางอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ พ.ศ.2390 มนุษย์ใช้เครื่องจักรกลในการสร้างผลผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวก จึงเกิดการบริโภคพลังงานปริมาณมหาศาล ประกอบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัยและทำเกษตรกรรมซึ่งรวมถึงพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ ผืนป่าได้ถูกถางโค่นเพื่อนำไม้มาเป็นพลังงาน และวัตถุดิบในการผลิต เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น เลื่อยไฟฟ้า และรถแทรกเตอร์ถูกนำมาใช้ ทำให้การตัดไม้ถางป่าเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว พื้นที่ป่าของโลกลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    [​IMG]
    ภาพที่ 3 อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์

    การลดความหลากหลายทางชีวภาพ
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ร้อยละ 70 - 90 ของทุกสปีชีส์บนพื้นผิวโลก อาศัยอยู่ในป่าฝนเขตร้อน การตัดไม้ทำลายป่าทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปประมาณ 50 – 100 สปีชีส์ในแต่ละวัน พื้นที่ป่าฝน 1 ตารางกิโลเมตรครั้งหนึ่งเคยมีพืชพันธุ์ เห็ดรา และสัตว์อยู่หลายร้อยสปีชีส์ ปัจจุบันกลายเป็นแปลงเกษตรซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่เพียงไม่กี่สปีชีส์ เช่น อ้อย ข้าวโพด สับปะรด มันสำปะหลัง การทำลายพืชพรรณอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะทำให้มนุษย์ขาดแคลนยารักษาโรคในอนาคต เนื่องจากร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์ยาได้มาจากป่าฝนเขตร้อน นอกจากนั้นการหักล้างถางป่ายังส่งผลกระทบต่อสัตว์โดยตรง เพราะป่าคือถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ สัตว์บางชนิดต้องสูญพันธุ์ไปเพราะไม่มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย และขาดแคลนอาหาร สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศ ผูกพันกันในห่วงโซ่อาหาร (ภาพที่ 4) เมื่อสปีชีส์หนึ่งสูญพันธุ์ก็จะส่งผลถึงสปีชีส์อื่นต่อๆ กันไป สัตว์บางชนิดที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วไม่ทัน ก็จะสูญพันธุ์ไปโดยง่าย
    [​IMG]
    ภาพที่ 4 ความสัมพันธ์แบบห่วงโซ่อาหาร
    คุณภาพดิน และการพังทะลายของดิน
    ดินมีคุณสมบัติต่างจากกรวดและทราย ตรงที่ดินมีองค์ประกอบของสารอินทรีย์หรือซากสิ่งมีชีวิต ดินมีกำเนิดมาจากป่า ตะกอนซากพืชซากสัตว์สะสมตัวบนพื้นป่า และถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ กลายเป็นธาตุอาหารปะปนอยู่กับกรวดและทรายขนาดเล็ก เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ชั้นดินของป่าฝนมีความหนากว่าชั้นดินของป่าแล้ง อย่างไรก็ตามดินของป่าฝนจะมีคุณสมบัติเป็นกรด เมื่อต้นไม้ถูกถางโค่นเปิดโอกาสให้แสงอาทิตย์สัมผัสกับหน้าดินโดยตรง ถ้าหากดินมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 25?C ธาตุอาหารเช่น ไนโตรเจนจะถูกทำลาย ทำให้พืชพรรณอื่นๆ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งเราจะเห็นได้จากการทำไร่เลื่อนลอยย้ายที่เพาะปลูก เพราะดินขาดธาตุอาหาร อีกประการหนึ่งเนื้อดินที่ปราศจากสิ่งปกคลุมจะร้อนระอุและแตกเป็นแผ่น เมื่อเนื้อดินไม่มีรากพืชคอยยึดเหนี่ยวให้ติดกันเป็นกลุ่มก้อน เวลาฝนตกหนัก น้ำที่ไหลบ่าจะพัดพาดินให้พังทลาย กลายเป็นโคลนถล่ม เรามักจะได้ยินข่าวอยู่เสมอว่า บางหมู่บ้านจะถูกโคลนถล่มเมื่อเกิดน้ำท่วม เนื่องจากผืนป่าบริเวณต้นน้ำถูกทำลาย (ภาพที่ 5)
    [​IMG]
    ภาพที่ 5 โคลนถล่มที่บ้านน้ำก้อ จ.เพชรบูรณ์
    น้ำท่วม
    ตามปกติ เนื้อดินของพื้นป่าจะมีรูโพรง เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ และมีรากพืช เมื่อเกิดฝนตก น้ำจะไม่ไหลบ่าในทันที แต่จะไหลซึมเข้าไปตามรูโพรงเหล่านี้ พืชดูดเอาสารละลายที่เกิดจากน้ำและแร่ธาตุในดินมาสร้างเนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโต พืชทำหน้าที่เป็นอุโมงค์เชื่อมต่อระหว่างผืนดินและบรรยากาศ เมื่อพืชคายน้ำก็จะถ่ายเทไอน้ำกลับคืนสู่บรรยากาศ ดังเช่น วัฏจักรน้ำในภาพที่ 6 แต่เมี่อป่าถูกทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยลง ทำให้ปริมาณรูพรุนบนพื้นดินลดลงด้วย น้ำไม่สามารถไหลซึมสู่พื้นดิน และน้ำในดินก็ไม่สามารถระเหยสู่บรรยากาศ เพราะไม่มีอุโมงค์ถ่ายเท ฝนที่ตกลงมาจึงได้แต่ไหลบ่าไปตามพื้นดิน
    [​IMG]
    ภาพที่ 6 วัฏจักรน้ำ

    ภาวะเรือนกระจก
    ต้นไม้ทำหน้าที่เสมือนพ่อค้าคนกลางซึ่งแลกเปลี่ยนก๊าซชนิดต่างๆ ระหว่างพื้นดินกับบรรยากาศ (ภาพที่ 7) ฉะนั้นเมื่อพ่อค้าถูกฆ่าตายแล้ว ตลาดการแลกเปลี่ยนก๊าซย่อมซบเซา การเปลี่ยนแปลงปริมาณพืชมีผลกระทบต่อองค์ประกอบของบรรยากาศโดยตรง หน้าที่หลักของต้นไม้คือ การตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมาสังเคราะห์อาหารด้วยแสง แล้วปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมา นั่นก็หมายความว่า ต้นไม้ช่วยลดภาวะเรือนกระจกซึ่งเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เมื่อต้นไม้โดนตัดโค่นและถูกเผา การกระทำนี้นอกจากเป็นการระงับการลดภาวะเรือนกระจกแล้ว ยังเป็นการเพิ่มภาวะเรือนกระจกอีกด้วย เนื่องจากการเผาไหม้ทำให้คาร์บอนซึ่งถูกสะสมอยู่ในเนื้อไม้ ถูกแพร่กระจายออกสู่บรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนั้นการเปลี่ยนสภาพสิ่งปกคลุมดิน (Land cover) เช่น เปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้กลายเป็นพื้นที่การเกษตร ย่อมทำให้อัลบีโด (ค่าการสะท้อนแสง) ของพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของบรรยากาศด้วย


    สภาวะกรด และมลภาวะทางอากาศ
    เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการเผาไหม้มวลชีวภาพ เช่น ป่าไม้ ทำให้เกิดก๊าซซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เมื่อเกิดการควบแน่นในอากาศ น้ำฝนจะทำปฏิกิริยากับก๊าซเหล่านี้กลายเป็นฝนกรด ตกลงมาทำให้พื้นดินและสิ่งแวดล้อมมีฤทธิ์เป็นกรดตามไปด้วย เมื่อน้ำไหลบ่าไปสะสมรวมกันในแหล่งน้ำค่าความเป็นกรดก็จะสูงขึ้น และเมื่อถึงค่า pH 5 สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากการเผาป่าจะทำให้สภาวะแวดล้อมเป็นกรดแล้ว ยังทำให้เกิดสารแขวนลอยในอากาศซึ่งมีผลกระทบต่ออุณหภูมิบรรยากาศ และสุขภาพของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การลดลงของโอโซน (Ozone Depletion)
    โอโซน (O3) เป็นก๊าซซึ่งประกอบด้วยธาตุออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเกาะป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โอโซนไม่ใช่ก๊าซที่มีเสถียรภาพสูง มันมีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 - 30 สัปดาห์แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากก๊าซออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนและโมเลกุลชนิดอื่น (M) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลาง แล้วให้ผลผลิตเป็นก๊าซโอโซนออกมา ตามตารางที่ 1
    [​IMG]
    ก๊าซโอโซนมีความสามารถดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ต แต่จะสลายตัวเมื่อกระทบกับแสงแดด (visible light) เกิดเป็นก๊าซออกซิเจนและออกซิเจนอะตอมเดี่ยว และเมื่อออกซิเจนเดี่ยวรวมตัวกับก๊าซโอโซนอีกครั้ง จะให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจนออกมา ตามตารางที่ 2
    [​IMG]
    เมื่อเปรียบเทียบตารางที่ 1 และ 2 จะพบว่าก๊าซโอโซนสลายตัวได้รวดเร็วกว่าก๊าซออกซิเจน และการสร้างก๊าซโอโซนให้เกิดขึ้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยโมเลกุลของธาตุชนิดอื่นด้วย ดังนั้นปริมาณของก๊าซโอโซนในอากาศจึงขึ้นอยู่กับอัตราการผลิตซึ่งมากกว่าอัตราการเสื่อมสลาย
    บทบาทของก๊าซโอโซน
    ก๊าซโอโซนมีสองบทบาทคือ เป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายในตัวเดียวกันขึ้นอยู่ว่าวางตัวอยู่ที่ใด โอโซนเป็นก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้บรรยากาศมีอุณหภูมิสูง และดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เราแบ่งก๊าซโอโซนเป็น 2 บทบาท คือ

    [​IMG] โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone) เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน เมื่อโอโซนอยู่ในบรรยากาศชั้นล่างหรือเหนือพื้นผิว มันจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เนื่องจากเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า “ออกไปสูดโอโซนให้สบายปอด” จึงเป็นความเข้าใจผิด
    [​IMG] โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) ในธรรมชาติโอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 – 30 กิโลเมตร ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย จะถูกฆ่าตาย

    สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
    สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเรียกสั้นๆ ว่า “สาร CFC” หรืออีกชื่อหนึ่ง “ฟรีออน” (Freon) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มิได้เกิดเองตามธรรมชาติ หากแต่มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณพื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน ดังตารางที่ 3
    [​IMG]
    ถ้าหากคลอรีนจำนวน 1 อะตอมทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียวก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุลได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วเกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง ดังที่แสดงในภาพที่ 1
    [​IMG]
    ภาพที่ 1 การทำลายโอโซนของสาร CFC

    การลดลงของโอโซน

    นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติก บริเวณขั้วโลกใต้ เกิดขึ้นจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม – กันยายน (ขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคม ซึ่งแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทำให้คลอรีนอะตอมอิสระแยกตัวออกและทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน ซึ่งเรียกว่า “รูโอโซน” (Ozone hole) ดังในภาพที่ 2 แสดงถึงความหนาแน่นของชั้นโอโซน (มีหน่วยเป็นด๊อบสัน) จะเห็นว่า ชั้นโอโซนในปี พ.ศ.2541 มีความบางกว่าเมื่อปี พ.ศ.2522
    [​IMG]
    ภาพที่ 2 การลดลงของโอโซน (ที่มา: NASA)
    การเกิดปรากฏการณ์รูโอโซนเป็นอันตรายมากต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่เบื้องล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นเหนือเมืองใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น นานาชาติจึงทำความร่วมมือภายใต้ “ข้อตกลงมอลทรีออล” (Montreal Protocol) ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปลายศตวรรษที่แล้ว ในการยกเลิกการใช้สาร CFC ในอุตสาหกรรม และใช้สารชนิดอื่นที่ไม่ทำลายโอโซนแทน แต่อย่างไรก็ตามสาร CFC ก็ยังคงลอยตกค้างอยู่ในบรรยากาศ อีกหลายทศวรรษกว่าจะสลายตัวไป
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    เอลนีโญ/ลานีญา
    เอลนีโญ (El Niño) เป็นคำภาษาสเปน แปลว่า บุตรพระคริสต์ หรือพระเยซู เป็นชื่อของกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งทะเลของประเทศเปรูลงไปทางใต้ทุกๆ 2 – 3 ปี โดยเริ่มประมาณช่วงเทศกาลคริสต์มาส กระแสน้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2 – 3 เดือน และบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามปีถัดไป เป็นคาบเวลาที่ไม่แน่นอน และมีผลทางระบบนิเวศและห่วงลูกโซ่อาหาร ปริมาณปลาน้อย นกกินปลาขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้ง เกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรง ในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศ และกระแสน้ำในมหาสมุทรทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร ปรากฏการณ์เอลนีโญมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” หรือเรียกอย่างสั้นๆ ว่า ENSO ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
    สภาวะปกติ
    โดยปกติบริเวณเส้นศูนย์สูตรโลกเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรู ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตกจนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมาทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเล และการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู (ภาพที่ 1)
    [​IMG]
    ภาพที่ 1 สภาวะปกติ
    ปรากฏการณ์เอลนีโญ
    เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซีย และออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้ ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง (ภาพที่ 2)
    [​IMG]
    ภาพที่ 2 ปรากฏการณ์เอลนีโญ
    ปรากฏการณ์ลานีญา
    ลานีญา (La Niña) แปลว่า บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ แต่ทว่ารุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันตก ก่อให้เกิดธาตุอาหาร ฝูงปลาชุกชุม ตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู (ภาพที่ 3)
    [​IMG]
    ภาพที่ 3 ลานีญา
    เราอาจกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ภาพถ่ายจากดาวเทียมโทเพกซ์/โพซิดอน (NASA) ในภาพที่ 4 แสดงให้เห็นความต่างระดับของน้ำทะเลบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก สีขาวแสดงระดับน้ำซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 14 เซนติเมตร สีม่วงหรือสีเข้มแสดงระดับน้ำซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ -18 เซนติเมตร ขณะเกิดลานีญา - เอลนีโญ
    [​IMG]
    ภาพที่ 4 ระดับน้ำพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    สถิติเเละสถานการณ์การใช้พลังงานโลกปี 2007
    ถามท่านว่า น้ำมันเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเชื้อเพลิงที่ใช้ทั้งหมดบนโลก?

    เนื่องจากในช่วง7ปีที่ผ่านมา สื่อมวลชนเเละหน่วยงานต่างๆได้ให้ความสนใจกับราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูดเเละผลกระทบของราคาน้ำมันมาก หลายคนคงจะเดาว่า 80% หรือ 50% หรือ สองในสาม ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเกินความเป็นจริงทั้งสิ้น

    เพราะจริงๆเเล้วคำตอบคือเเค่เกือบหนึ่งในสาม ลดลงมาจาก50%ในช่วงวิกฤติการน้ำมันในปี1973


    เเม้ว่าสัดส่วนของน้ำมันจะลดลงเเต่ความต้องการยังมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง30ปีที่ผ่านมา การบริโภคน้ำมันได้เพิ่มขึ้นจาก 2700ล้านตันเป็น 3800ล้านตัน สมมุติว่าในอดีตใช้น้ำมัน 6หน่วย ปัจจุบันใช้ 11.1หน่วย ในปี2030 คาดกันว่าตัวเลขการบริโภคจะขึ้นไปถึง 14หน่วย

    ในการสรรหาพลังงานที่ถูกกว่า เราได้หันไปใช้ พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์เเละถ่านหิน เเต่ก็ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีพลังงานที่ไม่มีวันหมดอย่างพลังงานชีวภาพ พลังงานสุริยะเเละพลังงานลมมาใช้อย่างจริงจัง บทบาทของพลังงานทดเเทนที่ไมมีวันหมดนี้เป็นเเค่ 11% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ทั้งหมด เป็นตัวเลขที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นจาก 30ปีก่อนมากนัก

    โลกเราใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้าน้อยกว่าในปี 1973 เเม้ว่ากำลังไฟฟ้าที่ผลิตนั้นจะเพิ่มขึ้นจาก 6100 พันล้าน Watt hour เป็น 17500 พันล้าน Watt hourก็ตาม เเค่สหรัฐฯกับจีนรวมกันก็ผลิตไฟฟ้า 46% ของไฟฟ้าทั้งหมดบนโลกเเล้ว

    เเล้วน้ำมันที่ไม่ได้เอาไปผลิตไฟฟ้าหละ เอาไปใช้ในส่วนไหน การขนส่งคือจำเลยครับ 58%ของน้ำมันบนโลกถูกนำไปใช้กับการขนส่ง เพิ่มขึ้นจาก 42%เมื่อสามสิบปีที่เเล้ว

    ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินเเละนิวเคลียร์เพิ่มส่วนเเบ่งของเชื้อเพลิงที่ใช้ขึ้นมามาก โดยเฉพาะอันหลังสุดเพิ่มจากไม่ถึง1% มาเป็น 6.5%ในปัจจุบัน มากกว่าพลังงานน้ำถึง 3 เท่า เหตุการณ์ที่เชอร์โนบิลไม่ได้มีผลในเเง่ลบมากนัก

    ด้านพลังงานนิวเคลียร์ สหรัฐฯ จีนเเละญี่ปุ่นเป็นผู้นำด้านการผลิต 3ประเทศนี้ผลิตสองในสามของพลังงานนิวเคลียร์ทั้งหมดบนโลก หลายประเทศหันไปพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น 80%ของไฟฟ้าในฝรั่งเศส เเละ 50%ของไฟฟ้าในสวีเดนกับยูเครน มาจากพลังงานนิวเคลียร์

    พูดถึงพลังงานไม่มีวันหมด ซึ่งเป็นเเค่ 0.4%ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด เเม้จะช่วยรักษาสิ่งเเวดล้อม เเต่ก็ไม่สามารถทำให้ประเทศที่รวยหายจากอาการเสพติดน้ำมันได้ อย่างเช่นสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก สหรัฐฯนำเข้าน้ำมันสองบาร์เรลจากทุกๆบาร์เรลที่ผลิตได้

    มหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศใหม่อย่างจีนกำลังหิวโหยร้องเรียกหาเเหล่งพลังงาน จีนเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ6 เเชมป์กับรองเเชมป์นั้นต้องยกให้ซาอุดิอาระเบียกับรัสเซียตามลำดับ นอกจากนั้น จีนยังเป็นผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดในโลก ที่สองเป็นสหรัฐฯ ส่วนอันดับสามเป็นอินเดีย

    พลังงานน้ำจีนก็ไม่ได้น้อยหน้า หนึ่งในเเปดของไฟฟ้าทั้งหมดในจีนมาจากพลังงานน้ำ เเต่ความสำคัญของพลังงานน้ำในจีนสู้ไม่ได้เมื่อเทียบกับนอรเวย์(99%ของไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด) บราซิล (83%) เเละเวเนซุเอลา (71%)

    การเผาผลาญพลังงานปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก ตัวการสำคัญคือน้ำมันกับถ่านหิน จาก 15600พันล้านตันในปี 1973 ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาสูงขึ้นถึงปริมาณ 26500พันล้านตันในปัจจุบัน เกือบครึ่งของปริมาณเหล่านี้เป็นฝีมือของประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญเเล้ว

    ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ฟังดูน่ากลัวทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องผลกระทบของการเรือนกระจกเเละการควบคุมมัน ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องในการประชุมกลุ่มG8ซึ่งได้ประกาศว่าจะช่วยป้องกันภาวะโลกร้อนเเละช่วยพัฒนาพลังงานที่สะอาดกว่า

    สรุปได้ว่าในช่วงครึ่งเเรกของศตวรรษนี้ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเเละถ่านหินจะยังเป็นเเหล่งเชื้อเพลิงหลักอยู่ พลังงานที่ไม่มีวันหมดจะยังไม่มีบทบาทสำคัญมากนัก การพัฒนาพลังงานจะมุ่งไปที่การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เเละลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งหลายบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Walmart เเละ GE กำลังให้ความสำคัญ เเละเป็นต้นเเบบของ “Green Technology”

    สรุปจากนิตยสาร Forbes
    โดย Paul Maidment
    เเหล่งที่มา http://www.forbes.com/2006/10/06/energy-oil-ethanol-biz-energy_cx_pm_1009overview_energy06.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2007
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody> <tr> <td width="10">
    </td> <td bgcolor="#a5b6cb" valign="top">ทฤษฎีทวีปเลื่อน กับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก</td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> ความรู้ใหม่นี้ถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นในเวลานั้น จึงได้มีการค้นคว้ากันอย่างกว้างขวางเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม เฮสได้ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์แห่งรัฐนาวีอเมริกัน ชื่อ โรเบิร์ต ดิเอซ (Robert S. Dietz) พิสูจน์ความจริงนี้ ให้เห็นด้วยการสำรวจพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก จนเป็นผลสำเร็จโดยอาศัยหลักการสะท้อนคลื่นเสียงใต้น้ำ นักทำแผนที่ในยุคนั้น ได้เดินทางทิ้งระเบิดจากเรือสำรวจ เพื่อตรวจจับเสียงสะท้อนใต้ท้องทะเล เป็นระยะทางนับพันกิโลเมตร ในที่สุดก็สามารถจัดทำแผนที่พื้นมหาสมุทรทั่วโลก ทีมสำรวจได้พบสันเขาใต้น้ำเพิ่มขึ้น ในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นแนวยาว เชื่อมติดต่อกันกับสันเขาใต้น้ำ ในมหาสมุทรแอตแลนติก ภาพของโลกที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้ดูเหมือนลูกเบสบอล ที่เต็มไปด้วยรอยตะเข็บ
    เฟรเดอริก ไวน์ (Frederick Vine) และ ดรัมมอนด์ แมททิวส์(Drammond Matthews) สองนักธรณีวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร ได้พยายามอธิบายเรื่องทวีปเลื่อน โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสนามแม่เหล็กโลก และคุณสมบัติของหินละลาย ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ เมื่อหินละลายพุ่งขึ้นมาสู่เปลือกโลก สารแม่เหล็กที่มากับหินละลาย จะวางตัวตามแนวแม่เหล็กโลกในทิศเหนือใต้ในขณะนั้น เมื่อสนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนแปลงไป ก็จะทำให้แนวงอกของทวีปเปลี่ยนตาม และทำให้ทวีปเลื่อนอย่างเปลี่ยนทิศทาง
    </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> จอห์น ทูโซ วิลสัน (John Tuzo Wilson ค.ศ. ๑๙๐๘-๑๙๙๓) นักภูมิฟิสิกส์ชาวแคนาดา เป็นอีกผู้หนึ่งที่เสนอแนวความคิดสำคัญ ที่ช่วยให้ทฤษฎีทวีปเลื่อนยุคใหม่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในวัยหนุ่มวิลสันเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งในขณะนั้น แฮรี เฮส มาเป็นอาจารย์ผู้บรรยาย ที่มีอายุมากกว่าเพียงสองปี วิลสันสนใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ฮาวายและหมู่เกาะภูเขาไฟใกล้เคียง โดยได้ตั้งสมมุติฐานว่า หมู่เกาะเหล่านี้อาจถือกำเนิดมาจาก Hot Spot อันเป็นพลังงานความร้อนมหาศาล ของหินละลายที่พวยพุ่งขึ้นมา จากส่วนลึกของชั้นแมนเทิล (mantle) ใต้เปลือกโลก สมมุติฐานเรื่อง Hot Spot ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๓ ใน The Canadian Journal of Physics
    อีกสองปีถัดมา วิลสันได้ให้ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง ต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น บริเวณรอยเลื่อนซานอันเดรส (San Andreas) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ว่า มีลักษณะไม่เหมือนกับขอบของแผ่นเปลือกโลกที่อื่น ๆ นั่นคือ ไม่ได้จัดอยู่ในลักษณะการแยกออกจากกัน หรือเคลื่อนที่เข้าหากันแล้วมุดซ้อนกัน แต่น่าจะแบ่งได้เป็นแบบที่ ๓ นั่นก็คือ การเคลื่อนที่สวนทางกันในลักษณะเฉือนกัน โดยมิได้ส่งผลกระทบต่อลักษณะภูมิประเทศ เท่าสองแบบข้างต้น
    ตลอดทศวรรษ ๑๙๖๐-๑๙๗๐ ยังมีความรู้ และการค้นพบใหม่ ๆ ของนักวิทยาศาสตร์อีกหลายกลุ่ม ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราว เกี่ยวกับทวีปเลื่อนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ความรู้ความคิดใหม่ ๆ เหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นมาสู่ทฤษฎีทวีปเลื่อนยุคใหม่ ที่นอกจากจะอธิบายการเคลื่อนที่ และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแผ่นเปลือกโลกแล้ว ยังทำให้เราได้เรียนรู้ถึงพลังงานมหาศาล ภายใต้เปลือกโลก พลังที่แยกผืนทวีปมหึมาออกจากกัน ยกแผ่นดินที่ราบขึ้นเป็นเทือกเขา พลังที่สำแดงอำนาจทำลายล้าง ในรูปของภูเขาไฟที่ก้าวร้าวดุดัน หรือคลื่นแผ่นดินไหวที่ถล่มอาคารบ้านเรือนจนพังทลาย บิดรางรถไฟเหล็กกล้าให้คดงอ รวมถึงพลังที่แปรเปลี่ยนกระแสน้ำในทะเล ให้กลายเป็นคลื่นยักษ์ เข้าถาโถมทำลายเมืองชายฝั่งจนราบเป็นหน้ากลอง
    ทฤษฎีนี้รู้จักกันในชื่อ "เพลตเทคโทนิก" (Plate Tectonics)
    <hr color="#a5b6cb" noshade="noshade" size="1" width="90%"> </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td bgcolor="#a5b6cb" valign="top">เพลตเทคโทนิก--การเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> บางทีภูผาหินที่แข็งแกร่งหรือผืนดินอันมั่นคงที่เราได้เห็น และสัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน อาจเป็นภาพลวงตา เพราะแท้จริงแล้วผืนแผ่นดิน ที่เราอาศัยอยู่นี้ก็เป็นเพียงชั้นเปลือกโลก (crust) ที่เปราะบาง และแตกร้าว ล่องลอยไปมาเหมือนแพหินขนาดใหญ่ บนมหาสมุทรของหินละลาย หรือแมกม่า (magma)
    เปลือกโลกแตกออกเป็นแผ่นหินใหญ่หลายชิ้น ชิ้นส่วนของเปลือกโลกเหล่านี้ เราเรียกว่า "แผ่นเปลือกโลก" หรืออาจเรียกทับศัพท์ว่า "เพลต" (plate) โดยมีเพลตอยู่ ๑๖ ชิ้นที่ประกอบกันเข้าเป็นเปลือกโลก แบ่งเป็นแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทร อย่างไรก็ตามขอบของแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นไม่ได้ประกบกันเข้าอย่างแผ่นภาพต่อ แผ่นเปลือกโลกบางแผ่น เคลื่อนที่ในลักษณะเลื่อนตัวแยกออกจากกัน (spreading) ดังนั้นบริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจึงเคลื่อนตัวออกจากกัน (diverging boundary) บางแผ่นก็เลื่อนเข้าไปชนกัน (collision) จนเกิดการเกยกัน ระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น (converging boundary) หรือเปลือกโลกแผ่นใดแผ่นหนึ่ง อาจจะมุดลอดอยู่ใต้เปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง (subduction) สิ่งสำคัญที่ทำให้โลกของเรา ต่างจากแผ่นภาพต่อโดยสิ้นเชิง ก็คือ แผ่นเปลือกโลกทั้ง ๑๖ แผ่นที่ประกอบกันเข้าเป็นเปลือกโลกนั้น มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา บางทีก็เคลื่อนที่ผ่านกัน และเฉียดกันในทิศทางที่สวนกัน จนเกิดเป็นรอยเลื่อนด้านข้างขนาดใหญ่ (transform fault) อัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นนั้น นับว่าช้ามาก ๆ โดยเฉลี่ยแล้วเพียงแค่ ๒.๕ ซม. ต่อปี หรือเทียบง่าย ๆ ว่าพอ ๆ กับเล็บมือของเราที่งอกออกมาในแต่ละปี
    การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่น ซึ่งมีทิศทางที่แตกต่างกัน ได้สร้างให้เกิดภูมิประเทศแบบต่าง ๆ ขึ้นในโลก ในขณะเดียวกับที่ดวงอาทิตย์ ก็ทำหน้าที่สลักเสลา กัดกร่อนภูมิประเทศที่โลกสร้างขึ้นมาด้วยแสงแดด ลม และน้ำ งานของโลกในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเปลือกโลก ได้เริ่มขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่เข้ามาชนกัน เทือกเขาหิมาลัย เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอันหนึ่ง ของลักษณะภูมิประเทศ ที่เกิดจากการเคลื่อนตัวเข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลก
    เทือกเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก ยอดเขาเอเวอร์เรสต์บนเทือกเขาหิมาลัยมีความสูงถึง ๘,๘๔๘ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง คงยากที่ใครจะนึกว่า ดินแดนหลังคาโลกนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นทะเลมาก่อน อย่างไรก็ตามระลอกคลื่น ที่ปรากฏบนพื้นผิวของหน้าผา และซากดึกดำบรรพ์ของแอมโมไนต์ ที่พบในบริเวณแม่น้ำลำธารบนเทือกเขา ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ดี ถึงความอัศจรรย์ของธรรมชาติ
    </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> แอมโมไนต์มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปลาหมึก แต่มีเปลือกคล้ายเปลือกหอยห่อหุ้มร่างกาย แอมโมไนต์ว่ายไปมาเมื่อประมาณ ๒๐๐-๖๕ ล้านปีก่อน ในมหายุคเมโซโซอิก (mezozoic) ในยุคนั้นไดโนเสาร์ครอบครองพื้นทวีป ขณะที่แอมโมไนต์ครองพื้นทะเล แต่หลังจากที่มหายุคเมโซโซอิกปิดฉากลงอย่างกะทันหัน ด้วยสาเหตุบางอย่าง ทั้งแอมโมไนต์และไดโนเสาร์ต่างก็สาบสูญไปพร้อม ๆ กัน ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงก่อนหน้าที่แผ่นเปลือกโลกอินเดีย จะแยกมาจากแผ่นดินใหญ่กอนด์วานา (gondwanaland) ในซีกโลกตอนใต้ และเคลื่อนตัวมาทางทิศเหนือ ผ่านเส้นศูนย์สูตรมาชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียน
    เมื่อแผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนที่มาใกล้แผ่นเปลือกโลกยูเรเชียน พื้นที่เปลือกโลกบริเวณรอยต่อ ระหว่างแผ่นดินทั้งสอง ก็ถูกแรงดันจนโค้งงอ ในที่สุดก็โผล่พ้นทะเล เกิดเป็นเกาะขึ้นหลายเกาะ และกลายเป็นทะเลตื้น ๆ ในเวลาต่อมาเมื่อแผ่นเปลือกโลกทั้งสองเคลื่อนที่เข้าชนกันแล้ว แผ่นเปลือกโลกอินเดีย ได้มุดซ้อนเข้าไปใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเชียน ซากสิ่งมีชีวิตที่ทับถมอยู่ในทะเล จึงถูกดันให้ยกตัวสูงขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัย และในขณะเดียวกัน ก็เกิดที่ราบสูงทิเบตกว้างใหญ่ขึ้น คลื่นกระทบจากการชนกันทำให้เกิดรอยย่นบนเปลือกโลกเป็นบริเวณกว้าง กลายเป็นแนวเทือกเขาทอดยาวมากกว่า ๓,๐๐๐ กิโลเมตร และยาวติดต่อกันมาถึงภาคเหนือของประเทศไทย ในปัจจุบันเทือกเขาหิมาลัยยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราเฉลี่ย ๑ เมตรในเวลา ๕,๐๐๐ ปี เนื่องมาจากแผ่นเปลือกโลกทั้งสองยังคงเคลื่อนที่อยู่
    การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ในลักษณะที่แผ่นหนึ่งมุดลอดลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง (มักจะเกิดจากการที่แผ่นมหาสมุทร ซึ่งมีความหนาแน่นกว่ามุดลอดลงไปใต้แผ่นทวีป) นอกจากจะทำให้เกิดการดันตัวขึ้นเป็นเทือกเขาแล้ว บางกรณียังทำให้เกิดร่องลึก (trench) ในพื้นมหาสมุทรด้วย กล่าวคือขณะที่แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ข้างใต้งัดให้แผ่นเปลือกโลกแผ่นบนสูงขึ้น จนเกิดเป็นเทือกเขา ตัวมันเองก็จะจมลึกลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งลึกลงไปใต้เปลือกโลกเท่าไร อุณหภูมิก็จะยิ่งสูงขึ้น พร้อมกับความดันภายใต้พื้นผิวโลกก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อลงไปสู่ความลึกประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก แผ่นเปลือกโลกที่เป็นหินแข็งก็จะอ่อนตัวลง กลายเป็นหินละลายหรือแมกม่า ในที่สุดหินละลายก็จะถูกดันกลับขึ้นสู่เปลือกโลกเบื้องบน ตามรอยต่อหรือรอยแตกร้าวของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เทือกเขาที่เกิดขึ้นมีการปะทุของแมกม่า กลายเป็นภูเขาไฟที่มีพลัง ตัวอย่างของกรณีนี้ได้แก่ เทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ เทือกเขาในประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น
    </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> การแยกตัวออกจากกันของแผ่นเปลือกโลกได้ก่อให้เกิดเปลือกโลกขึ้นมาใหม่ เพราะตลอดแนวที่เปลือกโลก แยกออกจากกันจะมีการปะทุของแมกม่า จนกลายเป็นแนวร่องภูเขาไฟ แมกม่าเมื่อดันตัวสู่ผิวโลกจะกลายเป็นลาวา และเมื่อลาวาเย็นตัวลง ก็จะกลายเป็นเปลือกโลกแผ่นใหม่ ซึ่งจะดันแผ่นเปลือกโลกเก่าให้เคลื่อนที่ไป เมื่อมีแผ่นเปลือกโลกใหม่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง แผ่นเปลือกโลกใหม่ก็จะดันให้แผ่นเปลือกโลกเก่าเคลื่อนที่ต่อไปอีก กระบวนการนี้จะค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ ทีละน้อย ๆ แต่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันนับแสนนับล้านปี กระบวนการเช่นนี้เป็นกระบวนการเดียวกับ ที่ร่องลึกกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งสร้างเปลือกโลกใหม่ตลอดเวลา ดันให้ทวีปแอฟริกา เคลื่อนห่างออกจากทวีปอเมริกาไปทีละน้อย จนทำให้ผืนทวีปแอฟริกา และอเมริกาแยกออกจากกันในที่สุด ส่วนตัวอย่างเปลือกโลกบริเวณที่กำลังเริ่มแยกตัวออกจากกัน ก็ได้แก่ บริเวณที่เรียกว่า East African Vallay จากการศึกษาพบว่าแผ่นเปลือกโลกโซมาเลียน กำลังค่อย ๆ เคลื่อนที่ออกจากแผ่นเปลือกโลกแอฟริกัน ด้วยความเร็ว ๒ ซม. ต่อปี โดยในราวล้านปีข้างหน้า รอยแยกนี้จะกว้างถึง ๒๐ กม. มีการคาดหมายกันว่า กระบวนการเช่นนี้จะทำให้แผ่นดินแอฟริกาตะวันออก ในส่วนที่เป็นประเทศเคนยา แทนซาเนีย เอธิโอเปีย ยูกันดา ฯลฯ กลายเป็นเกาะ แยกตัวออกจากทวีปแอฟริกาในอีก ๕๐ ล้านปีข้างหน้า ปรากฏการณ์เช่นนี้ ได้เคยเกิดขึ้นกับทะเลแดงมาแล้วในอดีตเช่นกัน กล่าวคือแผ่นดินแอฟริกา และแผ่นดินที่เป็นคาบสมุทรอาระเบียในอดีต เคยเชื่อมติดเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน แล้วเกิดการเลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้า ๆ กินเวลานับล้านปี จนทำให้แนวที่เปลือกโลกแยกตัว มีระดับต่ำกว่าน้ำทะเล และเมื่อรอยแยกนี้ ได้ขยายออกจนไปจรดท้องทะเล ก็ทำให้น้ำทะเลไหลทะลักเข้ามาอย่างช้า ๆ ในที่สุดบริเวณดังกล่าวก็กลายเป็นทะเลแดง แบ่งแยกคาบสมุทรอาระเบีย ออกจากทวีปแอฟริกาเช่นในปัจจุบัน
    และในกรณีที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าหากันตรง ๆ แต่เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่สวนทางกัน หรือเคลื่อนที่แบบเฉียดกัน ก็จะทำให้เปลือกโลกเกิดเป็นร่องแนวรอยเลื่อนที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน จากทางอากาศ ตัวอย่างของกรณีนี้ ได้แก่รอยเลื่อนซานอันเดรสในสหรัฐอเมริกา ที่เห็นเป็นแนวรอยเลื่อนยาวติดต่อกันนับพันกิโลเมตร
    การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกแม้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะกว่าที่รอยแยกบนเปลือกโลกจะผลักดันให้ผืนทวีปแยกออกจากกัน หรือกว่าที่แผ่นดินจะยกตัวสูงขึ้นเป็นเทือกเขา ก็ต้องใช้เวลานับล้าน ๆ ปี แต่ถึงกระนั้นผลกระทบจากแรงดันมหาศาล จากการที่เปลือกโลกเคลื่อนตัวเข้าหากัน ก็ก่อให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรง มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน หินละลายที่ดันตัวขึ้นสู่เบื้องบนตามรอยต่อ หรือรอยแตกร้าวของเปลือกโลก ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด ที่ถล่มทลายเมืองทั้งเมืองให้ย่อยยับ แรงดันมหาศาลจากการเกยกันของแผ่นเปลือกโลก จนทำให้แผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ไถลเลื่อนออกจากกัน ก็ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากต่อมาก และหากการเคลื่อนตัวนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทร ก็จะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ "สึนะมิ" ที่ถล่มทำลายเมืองชายฝั่งจนราบมาแล้วหลายครั้ง
    โดยเฉพาะในกรณีของแผ่นดินไหวนั้น สิ่งที่น่าหวาดหวั่นที่สุดก็คือ เราแทบไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้าได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด
    <hr color="#a5b6cb" noshade="noshade" size="1" width="90%"> </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td bgcolor="#a5b6cb" valign="top">แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์ </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> ในสมัยโบราณ หลายประเทศในโลก มีตำนานที่ใช้อธิบายถึงปรากฏการณ์แผ่นดินไหว นิยายปรัมปราของชาวฮินดูบอกว่า มีช้างแปดเชือกหนุนผืนแผ่นดินอยู่ เมื่อมันสะบัดหัว ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น ชาวมองโกเลียเชื่อว่ามีกบยักษ์นอนหลับหนุนโลก หากมันตื่นขึ้น และขยับตัวเมื่อไร ก็จะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อนั้น ไทยเรามีปลาอานนท์ ส่วนญี่ปุ่นก็มีปลาดุกยักษ์นามาสุ ที่ถูกเทพเจ้าสั่งให้ทำหน้าที่หนุนผืนแผ่นดินไว้
    ปัจจุบันเรามีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ชัดเจน โดยไม่ต้องอาศัยเพียงจินตนาการเช่นคนยุคก่อน เรารู้สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว รู้ถึงระดับแรงสั่นสะเทือนของมัน รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ อีกมาก แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่อาจหาคำตอบที่สำคัญที่สุด เกี่ยวกับแผ่นดินไหว
    ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกคุกคามทั้งจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และคลื่นยักษ์สึนะมิ เนื่องจากทำเลที่ตั้งนอกจากจะเป็นเกาะแล้ว ยังตั้งอยู่บนสามแยกอันตราย สามแยกที่ว่านี้ก็คือรอยต่อของเปลือกโลกสามแผ่น อันได้แก่ แผ่นทวีปยูเรเชียน แผ่นมหาสมุทรฟิลิปปินส์ และแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก รอยต่อระหว่างแผ่นเป็นลักษณะมุดตัวซ้อนกัน โดยแผ่นมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่า มุดเข้าไปใต้แผ่นทวีป ทำให้พื้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีพร้อมทั้งแนวภูเขาไฟที่มีพลัง และรอยแตกรอยเลื่อนหลายแห่ง จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผ่นดินไหว
    ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และได้ลงทุนศึกษาค้นคว้า เรื่องแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าความรู้ที่ได้จะช่วยทำนาย และเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้เพราะถึงแม้การเกิดแผ่นดินไหวทุกครั้ง จะมีศูนย์กลางของการเกิด ซึ่งเรียกว่า "ศูนย์กลางแผ่นดินไหว" และมีรอบของการเกิดแผ่นดินไหวที่เรียกว่า "คาบอุบัติซ้ำ" ที่น่าจะทำให้สามารถพยากรณ์ การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ แต่เนื่องจากรอยเลื่อนตัวหนึ่ง จะก่อให้เกิดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ตลอดแนวรอยเลื่อน ทั้งยังเกิดในเวลาที่ต่างกัน การพยากรณ์โดยยึดศูนย์กลางของการเกิด และคาบอุบัติซ้ำจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยทั่วไปแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ซึ่งมีรอบการเกิดสั้นจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก ขณะที่การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งรอบการเกิดยาวนานกว่า (อาจนับเป็นร้อยหรือพัน ๆ ปี) จะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง ทว่าแต่ละครั้งก็จะก่อความเสียหายอย่างรุนแรง
    </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> อย่างไรก็ตาม ความพยายามของมนุษย์ก็ไม่จบสิ้นลงง่าย ๆ ปัจจุบันยังมีการศึกษาวิจัย ในแนวทางอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การวัดค่าความเครียดความเค้นของเปลือกโลก วัดก๊าซเรคอน วัดการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลก รวมถึงการบันทึกประวัติการเลื่อนตัว ของรอยเลื่อนต่าง ๆ ตามความยาวทั้งหมดจากการมีตะกอนทับถม และแผ่นดินไหวที่เกิดต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก
    ด้วยเหตุนี้การศึกษาแผ่นดินไหว จึงมุ่งไปสู่การวางแผนรับมือ เมื่อเกิดอุบัติภัยมากกว่าการพยากรณ์ล่วงหน้า ที่ญี่ปุ่นมีการออกแบบอาคารสำนักงาน ที่ลดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวลงได้ถึงร้อยละ ๖๕ ตัวอาคารจะมีการถ่ายน้ำหนัก จากระบบไฮโดรลิก โดยปรับตำแหน่ง และควบคุมการถ่ายน้ำหนักด้วยคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่คล้ายกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคน ที่ยืนโหนอยู่บนรถเมล์
    ส่วนที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็มีการออกแบบสร้างอาคารโรงพยาบาล ที่ลดแรงสั่นสะเทือน มีการวางระบบท่อไฟฟ้า และท่อแก๊สที่ยืดหยุ่น เพื่อให้โรงพยาบาลยังคงเหลือรอดอยู่ เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
    นอกจากนี้ยังมีการค้นคิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยประเมินความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคอย การรายงานผลสำรวจความเสียหาย ตามขั้นตอนอย่างเป็นทางการ และสามารถดำเนินการช่วยเหลือ ผู้ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างทันท่วงที โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้ ชื่อ EPEDAT (Early Post Earthquake Damage Assessment Tool) มันจะคำนวณความเสียหายตามขนาดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น โดยจะประเมินและแสดงตำแหน่งอาคาร ที่อาจจะถล่มลงมา รวมทั้งจุดที่อาจจะมีผู้บาดเจ็บจากอาคารถล่ม
    เวลา ๒๔ ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหว เป็นชั่วโมงทองที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพราะผู้เคราะห์ร้ายจะมีโอกาสรอดชีวิตสูง การกู้ภัยสากลของอังกฤษ ได้ทดลองนำอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงมาใช้ในการกู้ภัย เช่น นำกล้องไฟเบอร์ออปติกขนาดเล็ก ที่ใช้ในทางการแพทย์หย่อนลงไป ตามซอกหลืบของอาคาร เพื่อส่องหาผู้รอดชีวิต หรือใช้เครื่องวัดเสียงอัลตราโซนิก ที่ช่วยให้ได้ยิน แม้กระทั่งเสียงที่เบาที่สุดอย่างเสียงเคาะเบา ๆ ในระยะห่างไปหลายเมตร เสียงเหล่านี้สำคัญมาก เพราะในการช่วยเหลือ มักได้ยินเสียงก่อนจะมองเห็นตัว อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ได้นำไปใช้กู้ภัยที่โกเบด้วย
    </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> คนญี่ปุ่นเรียนรู้ และพยายามหาวิธีปรับตัว เพื่ออยู่ร่วมกับภัยธรรมชาติได้อย่างน่าทึ่ง ชาวเมืองชายฝั่งทะเลบางเมือง ที่เคยถูกคลื่นยักษ์ซึนามิ ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเลเข้าโถมซัดทำลาย ได้ร่วมกันสร้างกำแพง และประตูยักษ์ไว้รอรับมือกับสึนะมิลูกต่อไป โดยในเวลาปรกติ ประตูจะเปิดเป็นทางสัญจรเหมือนประตูเมืองสมัยโบราณ แต่ในยามฉุกเฉินประตูเมืองจะปิด เพื่อป้องกันกองทัพน้ำที่จะเข้าทำลายเมือง
    เมืองที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟ ก็มีการสร้างลำรางขนาดใหญ่ ที่ดูคล้ายคลองชลประทานยักษ์ คลองนี้สร้างขึ้นมา เพื่อรองรับหินละลาย หรือลาวาจากภูเขาไฟ เป็นการเบี่ยงเบนให้สายธารลาวาระบายลงสู่ทะเล จะเรียกเป็นถนนซูเปอร์ไฮเวย์ สำหรับลาวาก็ว่าได้ ช่วงเวลาที่ภูเขาไฟเกรี้ยวกราด ก็จะมีการอพยพชาวเมืองไปอยู่ที่อื่น เป็นการชั่วคราว พอเหตุการณ์สงบก็กลับมาเสี่ยงภัยกันใหม่ เรื่องย้ายหนีอย่างถาวรนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง เพราะว่าที่ดินที่ญี่ปุ่นนั้นมีราคาแพงมาก ในวันครบรอบปี ของการเกิดภัยพิบัติในแต่ละเมืองที่กล่าวมา ชาวเมืองก็จะมาร่วมรำลึกถึงผู้จากไป และซักซ้อมแผนอพยพร่วมกัน
    ส่วนในเมืองใหญ่ก็มีการติดตั้งสื่อเตือนภัย มีการให้ความรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว มีการซักซ้อมแผนอพยพ ตั้งแต่ระดับนักเรียนอนุบาล จนถึงผู้ใหญ่วัยทำงาน โดยทั่วไปก่อนการเกิดแผ่นดินไหว มักจะมีการไหวเตือน (fore shock) โดยเราสามารถตรวจจับแรงสั่นสะเทือนระลอกแรกนี้ ได้ก่อนที่แรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงจะเข้าโจมตี การเดินทางมาถึงของคลื่นทั้งสองระลอก มีระยะห่างกันโดยเฉลี่ยประมาณ ๕-๒๐ วินาที ดังนั้นจากการมีเครือข่ายเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ดี ชาวญี่ปุ่นจึงได้อาศัยช่วงเวลาที่แตกต่างนี้ มาใช้ประโยชน์ในการทำสื่อเตือนภัย โดยเครื่องตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน จะถูกเชื่อมกับสื่อเตือนภัยที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อแรงสั่นสะเทือนคลื่นแรกมาถึง สัญญาณเตือนภัยจะดังขึ้น ประชาชนก็จะหลบเข้าสู่ที่ปลอดภัยโดยทันที เช่น หลบอยู่ใต้โต๊ะหรืออยู่ห่างจากตู้ใบใหญ่ ฯลฯ และเมื่อผ่านเหตุการณ์เฉพาะหน้าไปแล้ว ทุกคนจะรู้หน้าที่ว่า จะต้องเดินออกจากตัวอาคาร เพื่อไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นเด็กอนุบาล เด็ก ๆ จะเดินจูงมือกันเป็นขบวนอย่างสงบ เพื่อจะได้ไม่พลัดหลงในระหว่างทาง นอกจากนี้ยังมีการฝึกซ้อมพิเศษ สำหรับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เรื่องการจ่ายก๊าซหุงต้มทางท่อไปตามบ้าน เพื่อจะได้รีบตัดก๊าซได้ทันท่วงที ป้องกันการเกิดไฟไหม้ใหญ่ เช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วที่โกเบ
    </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> ที่ญี่ปุ่นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ภายในพิพิธภัณฑ์ จะมีบ้านจำลองที่จำลองสถานการณ์แผ่นดินไหวขนาดต่าง ๆ ไว้ เป็นการสร้างประสบการณ์ ในการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหว ให้แก่ผู้สนใจ โดยมีรายละเอียดสำหรับการเตรียมตัว ในสถานการณ์ต่าง ๆ ไว้อย่างครบครัน อาทิ ถ้าอยู่ในห้องรับแขก จะต้องทำอย่างไร ถ้าอยู่ในครัวจะต้องทำอย่างไร ทั้งยังมีห้องรมควัน ที่จะช่วยให้รู้ว่าหากก๊าซหุงต้มรั่วกระจายไปทั่วบ้านจะมีวิธีเอาตัวรอดอย่างไร คนญี่ปุ่นมีโอกาสได้ฝึกซ้อมในสถานการณ์จำลองข้างต้น เพราะรัฐบาลของเขาให้ความสำคัญ ต่อการเตรียมพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหวอย่างจริงจัง
    แม้ว่าปรากฏการณ์แผ่นดินไหวจะดูห่างไกลกับชีวิตคนไทยมาก เมื่อเทียบกับคนในประเทศที่ตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อน อย่างญี่ปุ่น จนทำให้หลายคนคิดว่า การเตรียมตัวเพื่อตั้งรับกับภัยธรรมชาติประเภทนี้ ดูจะกลายเป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับเรา ความคิดเช่นนี้ถึงจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ก็เป็นความคิดที่มองข้ามความจริงบางอย่างไป เพราะที่จริงแล้ว ใช่ว่าคนไทยจะไม่เคยพบเจอกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว
    <hr color="#a5b6cb" noshade="noshade" size="1" width="90%"> </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td bgcolor="#a5b6cb" valign="top">คนไทยกับแผ่นดินไหวในเมืองไทย</td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top">
    เดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๑๘ แผ่นดินไหวทั่วภาคกลาง ได้สร้างความตื่นเต้นในหมู่คนไทย ซึ่งไม่ค่อยได้พบเจอกับปรากฏการณ์เช่นนี้ การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น ก่อให้เกิดกระแสความเชื่อที่ว่า "อีกห้าปีโลกจะแตก" ถึงขนาดมีผู้นำมาแต่งเป็นเพลงลูกทุ่ง ร้องกันจนฮิตไปพักหนึ่ง ความเชื่อเรื่องโลกแตกจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ฮือฮาอยู่พักใหญ่ก่อนจะลืมเลือนกันไปเมื่อเวลาผ่าน
    แผ่นดินไหวครั้งนั้น ไม่ได้ส่งผลสะเทือนแก่คนไทยมากมายนัก นอกจากจะทำให้ผู้คนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน และเกิดความเสียหายเล็กน้อย ต่างกันอย่างมากกับแผ่นดินไหวที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในเดือนกันยายน ปี ๒๕๓๗ ความรุนแรงขนาด ๕.๑ ริคเตอร์ ได้ก่อความเสียหายแก่โรงพยาบาล รวมทั้งวัด และโรงเรียนต่าง ๆ หลายแห่ง เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้คนไทย ได้กฎกระทรวงมหาดไทยเบื้องต้นฉบับหนึ่ง (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๔๐) ที่ระบุให้อาคารในพื้นที่เสี่ยงภัย ต้องออกแบบก่อสร้าง ให้ต้านทานแผ่นดินไหวได้อย่างเหมาะสม กฎหมายฉบับนี้ อาจนับเป็นก้าวย่างสำคัญของเรา ในการตั้งรับกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว
    ถ้ายึดถือโครงร่างแผ่นเปลือกโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียตะวันออก ในช่วงอายุทางธรณีกาลล่าสุด (Late Cenozoic) เป็นเกณฑ์ จะพบว่าส่วนของประเทศไทย และประเทศใกล้เคียงเป็นส่วนใต้สุดของแผ่นเปลือกโลก ชนิดแผ่นทวีปที่เรียกว่า แผ่นทวีปยูเรเชียน (Eurasian Plate) ซึ่งล้อมรอบด้วยแผ่นเปลือกโลก ชนิดแผ่นมหาสมุทรอีกสองแผ่น คือ แผ่นอินเดีย (Indian Plate เป็นส่วนหนึ่งของ Indian- Australian Plate) ซึ่งมีเขตรอยต่อเปลือกโลก ตั้งแต่ตะวันตกของประเทศไทย อ้อมหมู่เกาะอันดามัน และเกาะนิโคบาร์ไปตามแนวตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านด้านนอกของหมู่เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวา และแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Plate) โดยมีรอยต่อระหว่างแผ่น อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย แผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่นนี้ ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ โดยมีลักษณะทั้งชน และมุดซ้อนกัน เป็นผลให้ชั้นหินแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียน ที่รวมถึงประเทศไทย เกิดรอยย่น คดโค้ง โก่งตัวเป็นเทือกเขา และมีรอยเลื่อน (fault) รอยแตก รอยแยก ที่เป็นเหตุแห่งการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าแผ่นดินไหวในประเทศไทย อาจเกิดขึ้นได้จาก
    </td> </tr> <tr> <td width="10">
    </td> <td valign="top"> ๑. แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศ ส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา โดยบริเวณที่จะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ
    ๒. แผ่นดินไหวที่เกิดจากแนวรอยเลื่อนภายในประเทศที่ยังสามารถเคลื่อนตัว หรือที่เรียกว่า รอยเลื่อนมีพลัง ซึ่งมีอยู่ราวเก้าแห่ง ส่วนใหญ่แนวรอยเลื่อนเหล่านี้จะอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดจากสาเหตุการชนกันของแผ่นทวีปอินเดียกับยูเรเชียน
    ข้อมูลเหล่านี้คงทำให้เราไม่อาจปฏิเสธ การเกิดขึ้นและมีอยู่ของปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ในประเทศไทยได้อีกต่อไป แต่สิ่งที่น่าคิด และน่าติดตามก็คือ นับจากกฎกระทรวงฉบับปี ๒๕๔๐ ก้าวย่างต่อไปของเรา ในการรับมือกับแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นจะเป็นเช่นไร
    เป็นไปได้แค่ไหนที่ในสถานการณ์ปรกติ การปลูกสร้างอาคารใหม่ในพื้นที่เสี่ยง จะถูกควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เป็นไปได้ไหม ที่จะมีการเผยแพร่ความรู้ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวให้แก่ประชาชน ที่อาศัยในจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว รวมถึงผู้อยู่อาศัยในอาคารสูง หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงได้รับทราบ เป็นไปได้แค่ไหน ที่เราจะมีแผนรับมือกับแผ่นดินไหวเอาไว้ล่วงหน้า มีระบบสาธารณูปโภค และโรงพยาบาลที่มั่นคงพอจะเหลือให้ใช้ ได้ในยามฉุกเฉิน เป็นไปได้แค่ไหน ที่จะมีการจัดสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ตลอดจนการฝึกฝนหน่วยกู้ภัย ให้รู้จักวิธีช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย จากซากปรักหักพังอย่างถูกวิธี ฯลฯ
    ช่วงปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรง ที่เกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ ของโลก ดูจะกระตุ้นให้คนไทยหันมาสนใจ เรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวอีกครั้ง อาจฟังดูเป็นเรื่องดีถ้าความตื่นตัวครั้งนั้น จะไม่มาพร้อมกับกระแสโลกแตก น้ำท่วมโลก ตลอดจนภัยพิบัติร้ายแรง ที่เชื่อกันว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ ๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ เมื่อดาวนพเคราะห์เรียงตัวกันเป็นรูปไม้กางเขน
    น่าเสียดายที่ความตื่นตระหนกของเรา มักอยู่ห่างไกลจากพื้นฐานความเป็นจริง ขาดความตระหนักรู้ ทั้งยังสามารถลืมเลือนความรู้สึก ตลอดจนเหตุการณ์ร้ายแรงใด ๆ ไปได้ง่าย เพียงเมื่อเวลาผ่านไป อีกไม่นานเรื่องโลกแตก น้ำท่วมโลก คงหายไปจากความคิด และแผ่นดินไหว ก็คงถูกนับเป็นเรื่องไกลตัวเช่นที่ผ่านมา จริงอยู่ที่ประเทศไทยตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินที่มั่นคง และห่างจากขอบของแผ่นเปลือกโลกพอสมควร จนยากที่จะพบกับหายนะ จากแผ่นดินไหว แต่เราอาจลืมไปว่า ความประมาท ก็เป็นที่มาของหายนะเช่นกัน
    ถึงวันนี้ตึกถล่ม โป๊ะล่ม รถบรรทุกก๊าซคว่ำ ไฟไหม้โรงแรม หรือโรงงานที่ไม่มีทางหนีไฟ ฯลฯ อาจเริ่มเลือนหายไปจากสมองของเรา เราวางเฉย แม้ว่าประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนขอบเปลือกโลกอันเปราะบาง และอยู่ไม่ไกลจากเรา จะประกาศแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไว้ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจไม่นาน-- อาจเพราะเราเองก็มีท่อก๊าซ และเขื่อนกักเก็บน้ำจำนวนมหาศาล พาดทับอยู่บนรอยเลื่อนเช่นกัน
    คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่เราจะได้ตระหนักว่า ความเสี่ยงเหล่านี้ แอบแฝงอยู่กับเราตลอดเวลา และอาจเรียกร้องค่าตอบแทนราคาแพง ในวันใดวันหนึ่ง

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top">http://www.sarakadee.com

    </td> <td align="center" valign="top" width="30">
    </td> </tr> </tbody></table>
    <center> <table bgcolor="#bad1e4" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="bottom">
    </td> <td align="center" valign="bottom">[​IMG]</td></tr></tbody></table></center>​

    </td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    วันหนึ่งเมื่อภาวะโลกร้อน พาความมืดมาเยือนจริงๆ

    สุทธิชัย หยุ่น

    ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ส่งออกถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก...แปลว่าเขาส่งออกวัตถุที่ไปสร้างพิษในอากาศให้กับประเทศอื่นด้วย
    ถ้าเราไม่ตื่นตัวเรื่อง 'โลกร้อน' หรือ global warming อย่างเป็นรูปธรรม, อีกหน่อยเราก็อาจจะต้องเผชิญกับวิกฤติแห่งความผันแปรของอากาศโดยไม่ได้ตระเตรียมอะไรไว้ล่วงหน้าเลย
    เหมือนหนึ่งเราไม่ได้อยู่ร่วมโลกเดียวกับคนอื่น ที่เขากำลังถกแถลงประเด็นนี้กันอย่างกว้างขวางและเอาจริงเอาจังกันแล้ว
    ไม่ต้องดูหนังเรื่อง An Inconvenient Truth ที่มีอดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ ของสหรัฐ เป็นพระเอก ก็ควรจะรู้ว่าประเด็นเรื่องโลกร้อน ไม่ใช่เรื่องพูดกันเล่นๆ อีกต่อไปแล้ว
    วันก่อน, ออสเตรเลียทำให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยการให้นครซิดนีย์ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนั้น ปิดไฟให้มืดทั้งเมืองเป็นเวลา 1 ชั่วโมงเต็ม
    เปล่า เขาไม่ได้มีปัญหาไฟฟ้าวันนี้, แต่รัฐบาลของนายกฯ จอห์น เฮาเวิร์ด ต้องการให้ประชาชนของเขาได้ตระหนักถึงปัญหาเรื่อง global warming ด้วยการทำอะไรที่จะเป็นข่าวไปทั่วโลก...และให้ทุกบ้านทุกครัวเรือนได้รู้ว่า หากไม่ทำอะไรเพื่อป้องกันภาวะโลกร้อน และเรือนกระจก (greenhouse effect) อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแล้วไซร้, ความมืดมิดจะเข้าไปปกคลุมทั้งเมืองอย่างที่ลองทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
    รัฐบาลเลือกปิดไฟทั่วเมืองใหญ่แห่งนี้เริ่มตั้งแต่ 1 ทุ่มครึ่งของคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วง 'ไพร์มไทม์' หรือ 'ชั่วโมงทอง' ของคืนวันก่อนสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้คนคับคั่งกลางถนนที่สุด
    และให้เห็นภาพของ Opera House ตรงอ่าวซิดนีย์ของเขา ดำมืดไปต่อหน้าต่อตาอย่างนั้นเพื่อก่อให้เกิดภาพที่จะตราตรึงความรู้สึกของคนออสเตรเลียไปอีกนาน
    รัฐบาลออสเตรเลียเรียกการรณรงค์ครั้งนี้ ว่าเป็น 'Earth Hour' หรือ 'ชั่วโมงแห่งโลก'
    น่าสนใจว่า นี่มิใช่เพียงเป็นเสียงเรียกร้องจากกลุ่มเอ็นจีโอ หรือนักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากแต่ยังได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากรัฐบาลกลาง, รัฐบาลท้องถิ่น และที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดคือการยื่นมือมาร่วมการรณรงค์ด้วยอย่างแข็งขันของเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจทั้งหลายในประเทศ
    ประชากรทั้ง 4 ล้านคนของซิดนีย์ ประกาศร่วมมือกันในเรื่องนี้เพราะต้องการจะสร้างความตื่นตัวให้ทั้งประเทศและทั้งโลก ได้เห็นถึงความร้ายแรงของการคุกคามของภาวะโลกร้อนที่จะไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของประเทศใดประเทศหนึ่ง, หากแต่เป็นหายนะของทุกประเทศในโลก โดยไม่มีข้อยกเว้นอีกต่อไปแล้ว
    เรื่องนี้วางแผนกันมาหลายเดือนล่วงหน้า และทุกตึกในเมืองประกาศเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ครั้งนี้ด้วยการปิดไฟกันอย่างถ้วนหน้า
    ภัตตาคารทั้งหลายทั้งปวง ต่างก็เข้าร่วมแผนนี้... ด้วยการจุดเทียนให้ลูกค้ากินข้าวใต้แสงเทียน
    นั่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สร้างให้ผู้คนได้เห็นจิตวิญญาณของการประสานเสียงเพื่อให้เกิดความสำนึกร่วมอย่างทั่วหน้า
    ในการรณรงค์ครั้งนี้, ประชาชนทั่วประเทศจะช่วยกันปิดไฟและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในตึกและบ้านช่องทั้งหลาย
    ประมาณกันว่า ถ้าช่วยกันอย่างนี้, เฉพาะออสเตรเลียเองจะสามารถลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 5 ในปีหน้า
    ออสเตรเลียเป็นประเทศของคนมีสตางค์ และถ้านับตามหัวประชากรแล้ว, เขาปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สพิษอย่างอื่นขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเหมือนกัน
    ต้องไม่ลืมว่าออสเตรเลียก็ทำอะไรที่ถูกทั้งโลกวิพากษ์ในทางเสียๆ หายๆ พร้อมกับสหรัฐมาก่อนแล้ว เพราะไม่ยอมลงนามในอนุสัญญาเกียวโต ว่าด้วยการร่วมมือกันลดการปล่อยแก๊สพิษขึ้นในชั้นบรรยากาศ
    ออสเตรเลียจึงต้องสำนึกบาปด้วยการประกาศจะลงทุนในการค้นคว้าวิจัยหาทางผลิตพลังงานสะอาดด้วยงบฯ ใหม่ล่าสุด ประมาณ 379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือใกล้ๆ 14,000 ล้านบาท
    เมื่อต้องเผชิญกับภัยแล้งที่ร้ายแรงที่สุดในศตวรรษปีนี้, เขาจึงรู้ว่าจะล้อเล่นกับภาวะโลกร้อนต่อไปไม่ได้อีกแล้ว
    หรือเรายังคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเรา?

    http://www.nationweekend.com/2007/04/06/NO10_104_news.php?newsid=1125

     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    วารีวิกฤติ ปัจจุบันและอนาคต

    ถึงแม้ว่า เราทุกคนจะรู้ดีว่า สามในสี่ของพื้นผิวโลกมีน้ำปกคลุม แต่เราหลายคนคงไม่รู้ว่า 97% ของน้ำที่โลกมีเป็นน้ำทะเลที่เค็ม จนมนุษย์ไม่สามารถนำมันไปใช้ในการบริโภคหรือเกษตรกรรมได้ ส่วนอีก 3% ที่เหลือ ซึ่งเป็นน้ำจืดก็ใช่ว่า เราจะนำมาใช้ได้หมด เพราะหนึ่งในสามของน้ำจืดเป็นน้ำแข็งที่ขั้วโลก ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า โลกมีน้ำให้มนุษย์ได้ใช้เพียง 2% เท่านั้นเอง ตัวเลขเหล่านี้หากนำมาคำนวณเป็นปริมาตร เราก็จะได้ว่า โลกมีน้ำทะเล 1,370 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร และน้ำจืด 4 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร
    เพราะปริมาณน้ำที่โลกมีไม่เปลี่ยนแปลง แต่ประชากรโลกเพิ่มตลอดเวลา ดังนั้น ปริมาณน้ำที่ทุกคน มีสิทธิ์ใช้จึงลดลงๆ ทุกปี ในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อนนี้ ประชากรโลกมีเพียง 2,500 ล้านคน ณ วันนี้ประชากรโลกมี 6,300 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นถึง 8,000 ล้านคน ในอนาคตอีก 50 ปี
    ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อ 50 ปีก่อน คนทุกคนมีน้ำใช้ 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร คนปัจจุบันมีสิทธิใช้น้ำเพียง 6 แสนลูกบาศก์เมตร และคนอนาคตจะมีสิทธิครอบครองน้ำ 4.5 แสนลูกบาศก์เมตร
    ตัวเลขเหล่านี้อาจทำให้คนหลายคนหลงผิดคิดว่า มนุษย์ทุกคนมีน้ำใช้อย่างบริบูรณ์ แต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะคนที่ร่อนเร่พเนจรในทะเลทรายเช่น พวก bedouin แทบไม่มีน้ำใช้เลย ส่วนชาวบังกลาเทศถูกน้ำท่วมทุกปี ข้อมูลลักษณะนี้ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่บางแห่งของโลกขาดแคลนน้ำ แต่บางแห่งก็มีน้ำมากไป เราจึงเห็นได้ชัดว่า ปัญหาการจัดการน้ำให้พอเพียงและพอเหมาะแก่กาลเทศะ มิได้เป็นปัญหาที่แก้ได้ง่ายเลย ในอดีตวิศวกรในประเทศที่พัฒนาแล้ว และที่กำลังพัฒนา มักแก้ปัญหาการบริหารและจัดการน้ำโดยวิธีสร้างเขื่อนเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในยามขาดแคลน แต่ในประเทศที่ด้อยพัฒนาและยากจน เทคโนโลยีเขื่อนไม่มี ด้วยเหตุนี้ประชากร 1,000 ล้านคนในประเทศเหล่านี้ จึงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มเป็นประจำ และอีก 2,800 ล้านคน ไม่มีน้ำสะอาดจะบริโภค ความแร้นแค้นเช่นนี้ทำให้คน 5-10 ล้านคน ต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่ระบาดทางน้ำ และทางเดินอาหารทุกปี
    ในขณะที่ประชาชนในหลายประเทศขาดน้ำ แต่ประชากรในอีกหลายประเทศที่มีน้ำใช้อย่างอุดมสมบูรณ์ ก็กลับใช้น้ำอย่างไม่คนึงคิดอะไรเลยเช่น เวลาน้ำขาดแคลน ก็ใช้วิธีสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในการปลูกข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิตจนทำให้ปริมาณน้ำบาดาลที่โลกมีร่อยหรอลงไปมาก ตัวเลขและข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นความอสมดุลของการมีน้ำและใช้น้ำของคนทั่วโลก
    และถ้าเรามองหน้าหาอนาคต เราก็จะเห็นว่า โลกกำลังมีปัญหาภาวะเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มทุกปี เวลาอากาศร้อนแม่น้ำบางสายของโลกเช่น แม่น้ำเหลือง Hai และ Huai ของจีน ในบางเวลาน้ำจะแห้งขอดนานเป็นเดือน ทะเล Aral ในรัสเซีย ซึ่งเคยมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก น้ำก็กำลังเหือดแห้งลงๆ จนนักนิเวศวิทยาคาดว่า ในอีก 10 ปี ทะเล Aral จะตื้นเขินจนทะเลใหญ่กลายเป็นทะเลสาบเล็กๆ 3 ทะเล หรือแม้แต่หิมะบนยอดเขาในเทือกเขา Rocky หรือ Sierra Nevada ในสหรัฐฯ ซึ่งเวลาละลายจะกลายเป็นสายน้ำหล่อเลี้ยงอเมริกาตะวันตก ก็กำลังลดปริมาตรลงทุกปี เพราะว่าอากาศร้อนทำให้หิมะละลายเร็วและมาก นักภูมิศาสตร์จึงคาดคะเนว่า ในศตวรรษหน้า เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส ฝนในอเมริกาจะตกมากขึ้น
    ปริมาณหิมะจะน้อยลงและหิมะจะละลายเร็วจนทำให้น้ำท่วมบ่อยขึ้น และเมื่อฝนตกน้อย การไหลของน้ำจืดสู่ทะเลจะลด ซึ่งมีผลทำให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเข้าสู่ผืนแผ่นดินใหญ่มากขึ้น และถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศน์ในอเมริกาตะวันตกจะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
    นอกจากปัจจัยด้านธรรมชาติที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาวารีวิกฤติแล้ว การอพยพย้ายถิ่นของคนก็มีส่วนเสริมความรุนแรงด้านนี้เช่นกัน เช่นเวลาคนชนบทอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น ปัญหาการสาธารณสุขในเมืองและความต้องการน้ำใช้ในเมืองก็จะทวีมากขึ้นด้วย เพราะผู้คนจะแก่งแย่งใช้น้ำกันมากขึ้น หรือเวลาน้ำไหลผ่านเมืองหลายเมืองหรือไหลผ่านประเทศหลายประเทศ ก็อาจมีกรณีพิพาทที่อาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังกรณีแม่น้ำ Tigris และ Euphrates ที่ไหลผ่านดินแดน Mesopotamia ซึ่งประกอบด้วย Turkey Iraq และ Syria การที่ตุรกีสร้างเขื่อนกักน้ำ 22 เขื่อน และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 19 โรงในบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำทั้งสองสายนี้ เพื่อเพิ่มผลผลิตฝ้ายทำให้น้ำที่ไหลสู่ Iraq มีปริมาณน้อย เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ จึงเป็นที่ไม่น่าสงสัยว่า เหตุใดประเทศทั้งสองจึงมีความตึงเครียดทางการทูตกัน นอกจากแม่น้ำทั้งสองนี้แล้ว โลกก็ยังมีแม่น้ำอื่นๆ อีกที่ไหลผ่านหลายประเทศเช่น แม่น้ำ Jordan ที่ไหลผ่าน Syria, Israel และ Jordan แม่น้ำไนล์ที่ไหลผ่าน Egypt และ Sudan หรือแม้แต่แม่น้ำโขงของเราก็มีสิทธิทำให้ไทยเรามีกรณีพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคต
    เพราะเหตุว่า ปีนี้เป็นปีที่สหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นปีแห่งน้ำจืด ดังนั้น เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ จึงได้มีการประชุมเรื่องสถานภาพของน้ำในโลก ที่เมือง Kyoto, Shiga และ Osaka ในญี่ปุ่น ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากบรรดาประเทศต่างๆ ทั่วโลกราว 10,000 คน ได้เห็นและเข้าใจภาวะวิกฤติที่จะเกิดในอนาคต ว่าจะมีคนนับ 1,000 ล้านคน ที่ได้น้ำที่ไม่บริสุทธิ์บริโภค และคนหลายร้อยล้านคนจะไม่มีน้ำทำเกษตรกรรม
    รายงานชื่อ World Water Development Report ขององค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวถึงประเด็นจำนวนประชากรโลกที่กำลังเพิ่มตลอดเวลา และมลภาวะของโลกที่กำลังร้ายยิ่งขึ้นๆ ว่า ต่างก็มีส่วนทำให้ภาวะการขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้นๆ จนถึงระดับที่ทำให้ในอีก 20 ปี (2566) คนทุกคนจะมีน้ำใช้น้อยลง 30% ซึ่งจะมีผลทำให้โลกมีความหิวโหยและโรคภัยไข้เจ็บระบาดมากขึ้น และความต้องการน้ำใช้นี้อาจผลักดันให้ประเทศต่างๆ ทำสงครามกันได้ ถ้าประเทศหนึ่งเก็บกักน้ำไว้ใช้เอง โดยไม่ให้ไหลสู่ประเทศข้างเคียง
    ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2546 J. Soussan แห่งมหาวิทยาลัย York ในประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ศึกษาสถานภาพของน้ำในประเทศบังกลาเทศได้รายงาน
    บังกลาเทศเป็นประเทศหนึ่งของโลกที่มีปัญหาน้ำรุนแรงมาก ประเทศนี้มีแม่น้ำพรหมบุตร และแม่น้ำคงคาไหลผ่านให้ประชากรชาวบังกลาเทศได้ทำการเกษตรกรรมและประมง ดังนั้น แม่น้ำทั้งสองนี้จึงเปรียบเสมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงคนบังกลาเทศทั้งประเทศ
    แต่ในขณะเดียวกัน บังกลาเทศก็ถูกสาปแช่งด้วยภัยมรสุม เพราะเมื่อถึงหน้าฝนพายุลมมรสุมพัดหนัก นำฝนมาตกหลายห่าในเวลาเพียง 4 เดือน ฝนจะตกหนักมาก ทำให้ระดับน้ำฝนสูงถึง 1 เมตร จนน้ำท่วมประเทศ การไม่มีระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ การไม่มีที่เก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนบังกลาเทศประสบอุทกภัยและโรคภัยนานาชนิดในหน้าฝน
    การขัดแย้งทางการเมืองกับอินเดีย ก็มีส่วนทำให้ปัญหาน้ำของบังกลาเทศเลวร้ายลงไปอีก เพราะแม่น้ำทั้งสองสายนี้ไหลมาจากอินเดียและในหน้าร้อนอินเดียได้เก็บกักน้ำไว้ใช้มาก จนทำให้ชาวนาบังกลาเทศไม่มีน้ำพอเพียงสำหรับทำเกษตรกรรม แต่พอถึงหน้าฝน ในขณะที่บังกลาเทศมีฝนตกหนักมาก อินเดียกลับเปิดเขื่อนปล่อยน้ำให้ไหลท่วมพื้นที่หลายส่วนของประเทศ นี่เป็นปัญหาเรื้อรังที่ได้ค้างคาใจผู้คนในสองประเทศนี้มานานหลายสิบปีแล้ว และยังไม่มีทางออก
    การเพิ่มจำนวนประชากรก็มีส่วนทำให้ปัญหาน้ำในบังกลาเทศเป็นปัญหาใหญ่ เพราะขณะนี้จำนวนประชากรได้เพิ่มจากเมื่อ 50 ปีก่อนถึง 4 เท่าตัว จนทำให้พื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรของประเทศที่คนอาศัยอยู่ถึง 920 คน ดังนั้น ในหน้าแล้งความขาดแคลนน้ำใช้ในเมืองจึงรุนแรง และในหน้าฝนปัญหาน้ำท่วมในเมืองก็หนักหน่วง ทุกข์ของคนบังกลาเทศจึงมีตลอดปี
    สหประชาชาติได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้โดยการขุดน้ำบาดาลให้คนบังกลาเทศได้ใช้ในหน้าแห้ง แต่ในปี พ.ศ. 2431 ก็ได้มีการสำรวจพบว่า บ่อบาดาลในบริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำ Bengal มีสาร arsenic ที่เป็นพิษ การดื่มบริโภคสารพิษนี้มีผลทำให้คนบังกลาเทศ 30 ล้านคน ล้มป่วยเป็นโรคผิวหนังและมะเร็ง ณ วันนี้นักวิทยาศาสตร์ของบังกลาเทศจึงกำลังแก้ไขปัญหา arsenic เป็นพิษ ทั้งในน้ำและในคน
    สำหรับการควบคุมน้ำจากอินเดียนั้น บังกลาเทศได้ทำสัญญาการควบคุมน้ำในแม่น้ำคงคาในปี พ.ศ. 2539 กับอินเดียสนธิสัญญานี้มีผลบังคับใช้ 30 ปี ซึ่งก็คงบรรเทาภัยน้ำในบังกลาเทศได้ระดับหนึ่ง
    เท่าที่กล่าวมานี้ เราจะเห็นได้ว่า ทางออกที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการและใช้น้ำคือ เราต้องมีวิธีที่ใช้กระบวนการแบบบูรณาการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนและธรรมชาติ การพยากรณ์อากาศที่ถูกต้องและล่วงหน้านานเป็นเดือน ความสามารถเหล่านี้จะช่วยให้แก้ปัญหาน้ำท่วมดีขึ้นและแก้ปัญหาผลิตผลทางเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหายได้ดีขึ้นด้วย อนึ่ง การใช้น้ำที่ประหยัดเช่น กระบวนการชลประทานน้ำหยดที่เกษตรกรใช้น้ำหยดลงเฉพาะที่รากอย่างช้าๆ เพื่อให้เวลารากในการดูดซึมน้ำก็จะช่วยประหยัดน้ำได้มากตั้งแต่ 30-70% การละลายน้ำแข็งที่ขั้วโลกก็อาจจะทำได้ แต่โสหุ้ยในการดำเนินการจะสูงมาก จนแม้แต่ประเทศที่ร่ำรวยและขาดแคลนน้ำเช่น ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางก็มิคิดจะทำ เพราะคิดว่าวิธีทำน้ำจืดจากน้ำทะเลจะเป็นวิธีที่ประหยัดกว่า และนี่ก็คือปัญหาการหาน้ำมาใช้สำหรับโลกในอนาคต
    เพราะสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตต้องการน้ำ ดังนั้น ชีวิตใดขาดน้ำชีวิตนั้นก็จะขาดใจครับ



    http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/criticalWater.html

     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="200"><tbody><tr bgcolor="#000099"><td bgcolor="#003366">
    แผ่นดินไหว
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#000000" height="2" width="117">
    </td> </tr> </tbody></table> ปรากฎการณ์แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่พื้นดินมีการสั่นไหวด้วยอิทธิพลบางอย่างที่อยู่ใต้ผิวโลก ซึ่งเมื่อเกิด เหตุการณ์นี้คลื่นใต้แผ่นดินจะพุ่งไปสู่บริเวณทุกส่วนของโลก และถ้าการสั่นไหวของแผ่นดินรุนแรง อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นที่อยู่ห่างไกล ออกไปนับหมื่นกิโลเมตรก็ยังสามารถรับคลื่นแผ่นดินไหวได้
    ผู้คนในสมัยโบราณมีความกลัวเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาก กวี Homer ของกรีกเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เทพเจ้า Poseidon แห่งท้องทะเลลึกทรงพิโรธ คนจีนโบราณคิดว่า แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อพญามังกรที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินขยับและเคลื่อนไหวลำตัว พร้อมกันนั้นก็ได้ส่งเสียงคำรามด้วย ส่วนคนญี่ปุ่นนั้นเชื่อว่า เวลาเทพเจ้าแห่งปลาชื่อ Namazu สะบัดหางไปมาจะทำให้เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหว แต่ Thales ผู้เป็นปราชญ์กรีกในสมัยพุทธกาลได้กล่าวโจมตีความเชื่อที่ว่า อะไรก็ตามที่เกิดจะต้องมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ภายใน โดยเขาคิดว่า การไหลของคลื่นในมหาสมุทรอย่างรุนแรงต่างหากที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
    มนุษย์เริ่มเข้าใจปรากฏการณ์ใต้ดินนี้ "ดี" ขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีมานี้เอง โดยได้พบว่าเวลาเกิดแผ่นดินไหว คลื่นแผ่นดินไหวทุกคลื่น จะดูเสมือนเคลื่อนที่ออกมาจากตำแหน่งหนึ่งใต้ดิน ซึ่งนักธรณีวิทยาเรียกตำแหน่งดังกล่าวนี้ว่า จุดโฟกัส และตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือ จุดโฟกัส มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า epicenter และตามปกตินั้นจุดโฟกัสของคลื่นแผ่นดินไหวมักจะอยู่ลึกใต้โลกลงประมาณ 15 กิโลเมตร แต่ในบางกรณี ระยะลึกของจุดโฟกัสอาจจะมากถึง 400 กิโลเมตรก็มี นักธรณีวิทยาประมาณว่าทุกวันจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น บนโลกนับ 1,000 ครั้ง แต่คนส่วนมากจะไม่รู้สึก เพราะมันสั่นและแผ่วเบาจนเกินไป เมื่อเหตุผลเป็นเช่นนี้ นั่นก็หมายความว่า 50% ของคลื่นแผ่นดินไหวอาจจะมีคนตรวจรับได้ แต่อีก 50% ที่เหลือที่เกิดในบริเวณที่ไม่มีคนอาศัย ก็จะไม่มีใครรู้สึกอะไรเลย
    อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในการที่จะตอบคำถามนี้ได้เราจำเป็นต้องรู้โครงสร้างของโลกก่อนว่า โลกเรานั้นมี โครงสร้างเป็นขั้นๆ คล้ายหัวหอม คือมีเปลือกนอกสุดห่อหุ้ม ซึ่งเปลือกนี้มีความหนาที่ไม่สม่ำเสมอเช่น กรณีเปลือกโลกที่เป็นทวีปจะหนา ประมาณ 70 กิโลเมตร และเปลือกโลกส่วนที่อยู่ท้องมหาสมุทร จะหนาประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 0.6% ของรัศมีโลกเท่านั้นเอง ลึกลงไปจากเปลือกโลกก็ถึงชั้นของโลกอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า mantle ตามปกติคลื่นแผ่นดินไหวในเปลือกโลกจะมีความเร็วประมาณ 7.2 กิโลเมตร/วินาที แต่ความเร็วของคลื่นในชั้น mantle จะสูงกว่าคือ 8.2 กิโลเมตร/วินาที นอกจากนี้คลื่นแผ่นดินไหวยังแบ่งออกเป็น สองชนิดได้แก่ คลื่น P และ คลื่น S (P = primary ปฐมภูมิ ส่วน S= secondary ทุติยภูมิ) ซึ่งเวลาคลื่นทั้งสองชนิดเคลื่อนที่ผ่านไป ในชั้นหินใต้ผิวโลก อนุภาคต่างๆ ในชั้นหินที่ถูกคลื่น P กระทบจะสั่นไปมาในแนวที่คลื่นพุ่งไป ดังนั้น ชั้นหินจึงตกอยู่ในสภาพถูกอัดและ ขยายตัว ส่วนในกรณีของคลื่น S นั้น อนุภาคต่างๆ ในชั้นหินจะเคลื่อนที่ในแนวขึ้นลงที่ตั้งฉากกับทิศการพุ่งไปของคลื่น คลื่น P นั้น ตามปรกติจะมีความเร็วมากกว่าคลื่น S ดังนั้นการวัดเวลาที่คลื่นทั้ง P และ S เดินทางถึงเครื่องรับสัญญาณ ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งต่างๆ บนผิวโลก จะทำให้นักธรณีวิทยารู้ทันทีว่า จุดโฟกัสของการระเบิดอยู่ที่ใด
    ปัจจุบันนักธรณีวิทยาเชื่อว่าปรากฎการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นด้วยเหตุผลสองประการคือ เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ และเกิดจากการ ปะทะกันหรือการแตกแยกจากกันของเปลือกโลก ความเข้าใจกลไกการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกได้ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถทำนายเวลา ที่แผ่นดินจะไหวได้ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่ต้องมีหน่วยเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า ที่ต้องการงบดำเนินการมากถึง 4,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยนิด เมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดตามมา
    เพราะประวัติการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในระยะเวลา 25 ปี ที่ผ่านมานี้ แสดงให้เห็นว่า ในกรณีแผ่นดินไหวที่เมือง Kobe ในประเทศ ญี่ปุ่น เมื่อยามเช้าตรู่ของวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2538 ได้ทำลายบ้านเมือง 200,000 หลัง มีคนเสียชีวิต 6,000 คน และบาดเจ็บ 34,000 คน หรือที่เมือง Spitak ในประเทศ Armenia เมื่อวันที 7 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ได้เกิดแผ่นดินไหวในยามเช้า ทำให้ผู้คนไม่ทันตั้งตัว จึงล้มตายถึง 25,000 คน และที่ประเทศเม็กซิโก ณ สถานที่ที่อยู่ห่างจาก Mexico City 400 กิโลเมตร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 ก็มีแผ่นดินไหว กรณีนี้มีคนตาย 7,500 คน และค่าเสียหาย 20,000 ล้านบาท และรายที่รุนแรงที่สุด ได้แก่ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ Tangshan ในประเทศจีน ในตอนดึกของวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ทำให้มีคนเสียชีวิตกว่า 250,000 คน และบาดเจ็บร่วม 800,000 คน ความเสียหายครั้งนั้นได้ทำให้จีนต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี จึงสร้าง Tangshan ให้มีชีวิตขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง
    เมื่อการบอกความเสียหายในเทอมของชีวิตที่สูญเสียเช่นนี้ มิสามารถบอกความรุนแรงของเหตุการณ์ได้โดยตรง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2178 C.F. Richter จึงได้เสนอมาตรการระบุความรุนแรงของภัยแผ่นดินไหวที่ผู้คนทั่วไปรู้จักกันจนทุกวันนี้ โดย Richter ได้แบ่งสเกล ความรุนแรงออกหลายระดับเช่นระดับ 2 แสดงว่า ดังและเป็นภัยได้มากเท่าๆ กับเหตุการณ์ฟ้าผ่า ระดับ 4 แสดงว่า มีความเสียหายเล็กน้อย เกิดขึ้น ระดับ 6 คือรุนแรงเทียบเท่าการระเบิดของลูกระเบิดปรมาณูที่สหรัฐฯ ทิ้งลง Hiroshima และระดับ 8.5 คือระดับโลกแตก ดังนั้น กรณีเมือง Tangshan ที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ระดับ 7.8 ในมาตร Richter จึงแสดงว่า เมืองได้รับภัยเสียหายราวกับถูกระเบิด ไฮโดรเจนถล่มทีเดียว
    ณ วันนี้ นักธรณีวิทยายังไม่ประสบความสำเร็จในการทำนายว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะอุบัติเมื่อไร และ ณ ที่ใด ถึงระดับดีมากเลย ดังนั้นในบางโอกาสเขาก็จะพบว่ามันได้เกิดในบางสถานที่ที่ไม่มีใครคิดถึงและเมื่อสภาพแวดล้อมของสถานที่แต่ละแห่งบนโลกไม่เหมือนกัน ดังนั้น ความเสียหายหรือความหายนะต่างๆ จึงไม่เหมือนกัน
    ถึงแม้เราจะขาดความสามารถระดับสูงในการพยากรณ์ภัยแผ่นดินไหวก็ตาม แต่นักธรณีวิทยาก็พอมีความรู้ว่า ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงนั้น แผ่นดินไหวอย่างนุ่มนวลก่อน และโดยอาศัยการติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังคลื่นแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งต่างๆ สัญญาณที่อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับจะถูกนำมาสังเคราะห์เพื่อให้รู้ตำแหน่งเวลาและความเป็นไปได้ที่จะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว
    สำหรับหนทางป้องกันที่ชัวร์ที่สุดคือ อพยพหนีให้ทันก่อนที่ปฐพีจะถล่ม และหลีกเลี่ยงอันตรายตึกถล่มทับ และไฟไหม้อาคาร และพยายามอยู่ในตึกที่ได้รับการออกแบบให้สามารถทนต่อการสั่นไหวของฐานตึกได้โดยไม่แตกหัก
    ถึงแม้ในอดีตปรากฏการณ์แผ่นดินไหวจะได้เคยทำลายอารยธรรม Minoan ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนแหลกลาญ เมื่อ 4,000 ปีก่อน และได้เคยถล่มนครบาป Sodom และ Gomarrah จนสาบสูญก็ตาม แต่เราก็มั่นใจว่า
    ในอนาคตอารยธรรมใดๆ คงไม่ถึงกับสาบสูญ เพราะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเป็นแน่ เพราะจำนวนประชากรของชาติต่างๆ มีมากคือ ไม่น้อยเหมือนในอดีต แต่นั่นก็หมายความว่า การมีผู้คนอาศัยในเมืองอย่างหนาแน่นมาก และการมีตึกระฟ้ามากจะมีผลทำให้คนตายมาก เวลาแผ่นดินไหวมากครับ



    http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/earthquake.html
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    "เอเชีย"โดนโลกร้อนถล่มหนักสุด

    [FONT=Tahoma,]*คณะกรรมการโลกร้อนเผยเอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนหนักสุด ทั้งขาดแคลนอาหารและน้ำ ส่วนอเมริกาเหนือก็โดนด้วย ทั้งคลื่นร้อนและพายุที่รุนแรงมากขึ้น*



    คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก หรือไอพีซีซี เผยรายงานฉบับล่าสุดเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ชี้ให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างไร โดยเอเชียจะกลายเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า และอาจจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำอย่างรุนแรง

    นายอชิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ตามรายงานของไอพีซีซีชี้ให้เห็นว่า เอเชียจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะโลกร้อน หากยังไม่มีมาตรการแก้ไขโดยเร่งด่วน ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวเกินกว่าที่จะทำเย่อหยิ่งไม่สนใจอีกต่อไป เพราะจะส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็คือเรื่องน่าเศร้าสำหรับมนุษย์

    รายงานของไอพีซีซีระบุว่า ภายในปี 2593 ประชากร 130 ล้านคนทั่วเอเชีย จะเสี่ยงต่อการขาดอาหาร เนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะมีทั้งความแห้งแล้งและเกิดอุทกภัยเพิ่มมากขึ้น พายุต่างๆ จะเกิดบ่อยขึ้น ในขณะที่แหล่งนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์ เช่น เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก และหมู่เกาะในอนุทวีปแอนตาร์กติก ก็จะตกอยู่ในอันตรายด้วย โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้กลุ่มหิมะบนเทือกสูงในประเทศนิวซีแลนด์ ลดหายไปถึง 1 ใน 4 พืชผลทางตอนใต้และตะวันออกของออสเตรเลียและตะวันออกของนิวซีแลนด์ก็จะลดลง

    ในรายงานระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้น ยังส่งผลถึงผลิตผลทางการเกษตรทั้งในจีนและบังกลาเทศ รวมทั้งภาวะขาดแคลนน้ำที่จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในอินเดีย เหมือนกับการที่ปริมาณน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลายันลดลง ขณะที่ชาวเอเชียเกือบร้อยล้านคนต้องประสบความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลที่คาดว่าจะสูงถึง 1-3 มิลลิเมตรทุกๆ ปี

    นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า ทวีปอเมริกาเหนือก็ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นด้วย โดยนครชิคาโกและลอสแองเจลิส ในสหรัฐอเมริกา อาจจะต้องเจอกับคลื่นความร้อนมากขึ้น ส่วนนิวยอร์กกับบอสตัน อาจจะต้องเผชิญกับพายุที่รุนแรงมากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมไม้ในอเมริกาเหนือก็จะต้องสูญเสียมากถึง 2 พันล้านดอลลาร์

    ทั้งนี้ รายงานฉบับดังกล่าวเป็นรายงานฉบับที่ 2 จากทั้งหมด 4 ฉบับ ที่นักวิทยาศาสตร์จากไอพีซีซี 441 คน ทำเป็นรายงานสรุปขึ้น โดยฉบับแรกเปิดเผยไปเมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา (เอพี)

    http://www.matichon.co.th.


    [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1003"><tbody><tr><td rowspan="2" valign="top"><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="585"><tbody><tr><td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="567"><tbody><tr><td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="567"><tbody><tr><td valign="top">หนุนป้ายเตือน "เครื่องบินภัยโลกร้อน"</td> </tr> <tr> <td valign="top">11 เมษายน 2550
    </td> </tr> <tr> <td class="Text_Story" valign="top"><!-- [​IMG] องค์กรผู้บริโภคในอังกฤษเสนอแนวคิดให้รัฐบาลติดป้ายประกาศเตือน "เครื่องบินเป็นสาเหตุก่อโลกร้อน" อ้างเครื่องบินเป็นตัวการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หวังใช้ข้อความเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคคล้ายกับคำเตือนข้างซองบุหรี่


    ไซมอน รีทอลแลค หัวหน้าฝ่ายศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอากาศโลกจากสถาบันวิจัยเพื่อนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงกำไรมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในอังกฤษ ระบุว่า มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า การเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    สถาบันวิจัยฯ จึงเสนอให้รัฐบาลติดป้ายประกาศเตือนไว้ที่ป้ายโฆษณาสายการบิน หรือโฆษณาท่องเที่ยวต่างประเทศ และสนามบิน เพื่อเปลี่ยนค่านิยมโดยสารเครื่องบินของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเสนอให้ขึ้นค่าโดยสารให้แพงขึ้นรวมถึงเก็บค่าชดเชยการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับผู้โดยสารด้วย
    ข้อเสนอดังกล่าวยังระบุให้นำรายได้จากภาษีการโดยสารเครื่องบินควรนำไปใช้เพื่อปรับปรุงการเดินทางโดยรถไฟแทน เนื่องจากเครื่องบินแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่ารถไฟ
    นอกจากนี้ ยังเสนอให้ผู้ผลิตรถยนต์ติดคำเตือนไว้กับโฆษณาขายรถยนต์รุ่นใหม่ เช่นเดียวกับข้อความที่กล่าวถึงเทคโนโลยีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึบจะทำโฆษณารณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักว่า "การขับรถก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน"






    --> องค์กรผู้บริโภคในอังกฤษเสนอแนวคิดให้รัฐบาลติดป้ายประกาศเตือน "เครื่องบินเป็นสาเหตุก่อโลกร้อน" อ้างเครื่องบินเป็นตัวการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หวังใช้ข้อความเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคคล้ายกับคำเตือนข้างซองบุหรี่
    ไซมอน รีทอลแลค หัวหน้าฝ่ายศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอากาศโลกจากสถาบันวิจัยเพื่อนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงกำไรมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในอังกฤษ ระบุว่า มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า การเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    สถาบันวิจัยฯ จึงเสนอให้รัฐบาลติดป้ายประกาศเตือนไว้ที่ป้ายโฆษณาสายการบิน หรือโฆษณาท่องเที่ยวต่างประเทศ และสนามบิน เพื่อเปลี่ยนค่านิยมโดยสารเครื่องบินของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเสนอให้ขึ้นค่าโดยสารให้แพงขึ้นรวมถึงเก็บค่าชดเชยการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับผู้โดยสารด้วย
    ข้อเสนอดังกล่าวยังระบุให้นำรายได้จากภาษีการโดยสารเครื่องบินควรนำไปใช้เพื่อปรับปรุงการเดินทางโดยรถไฟแทน เนื่องจากเครื่องบินแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่ารถไฟ
    นอกจากนี้ ยังเสนอให้ผู้ผลิตรถยนต์ติดคำเตือนไว้กับโฆษณาขายรถยนต์รุ่นใหม่ เช่นเดียวกับข้อความที่กล่าวถึงเทคโนโลยีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึบจะทำโฆษณารณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักว่า "การขับรถก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน"






    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="567"> <tbody><tr> <td height="20">
    </td> </tr> <tr> <td> <!---------------------------------open คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------> <!---------------------------------close คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------> </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> </td> <td width="8">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <!-- open banner center 1 --> <!-- <OBJECT classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,0,0" WIDTH="468" HEIGHT="60" id="perfect.swf" ALIGN="">


    <EMBED src="/imgs/ads/propertyperfect/perfect.swf" quality=high bgcolor=#FFFFFF WIDTH="468" HEIGHT="60" NAME="propertyperfect" ALIGN="" TYPE="application/x-shockwave-flash" PLUGINSPAGE="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer"></EMBED> </OBJECT> --> <!-- open banner center 2 --> </td> <td valign="top" width="215"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="210"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    <!-- open banner right1 --> <!-- [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    --> <!-- close banner right1 --> ​
    </td> </tr> <tr> <td> <!-- Open ข่าวเกี่ยวข้อง --> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="206"> <tbody><tr> <td width="13">[​IMG]</td> <td background="/images/images-rele/withn_102.jpg" width="180">
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images/images-rele/withn_108.jpg">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- Close ข่าวเกี่ยวข้อง --> </td> </tr> <tr> <td> <!-- open คอลัมภ์ เด่น --> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="206"> <tbody><tr> <td width="17">[​IMG]</td> <td width="168">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="/images2006/rc_06.jpg" valign="top">[​IMG]</td> <td valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="168"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td width="40">
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> <td background="/images2006/rc_07.jpg" valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images2006/rc_09.jpg"> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- close คอลัมภ์เด่น --> </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td> <!-- <table width="206" border="0" align="center" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tr> <td width="17">[​IMG]</td> <td width="182">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top">[​IMG]</td> <td valign="top" background="/images2006/rs_05.jpg"><marquee behavior="scroll" direction="up" height="138" scrollamount="1" scrolldelay="30" truespeed="truespeed" onmouseover="this.stop()" onmouseout="this.start()"> <table width="182" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"> <tr> <td width="50" height="20" valign="top">04:12 น.</td> <td valign="top" class="Text">รูนีย์อดไปบอลโลก</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">04:12 น. </td> <td valign="top" class="Text">แบล็คเบิร์นชนะเชลซี</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="style3">23:28 น. </td> <td valign="top" class="Text">ผจก.ทีมอังกฤษ</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">22:06 น. </td> <td valign="top" class="Text">ซีดาน แขวนสตั๊ด </td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="TextRed">21:53 น. </td> <td valign="top" class="Text">ผลฟุตซอลเอเชีย</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="TextRed">21:36 น. </td> <td valign="top" class="Text">ปู่ติ๊กทวงสิทธิ์</td> </tr> <tr> </tr> </table> </marquee> </td> <td valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images2006/rs_08.jpg"> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </table> -->
    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top">
    <!-- open banner ringh 2 --> <!-- [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    --> <!-- close banner ringh 2 --> ​
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#e2e2e2" valign="bottom">[​IMG]</td> <td valign="top"> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1003"><tbody><tr><td valign="bottom"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td width="20"> </td> <td class="Text" valign="middle">สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 <!--BEGIN WEB STAT CODE----> <script language="javascript1.1"> page="it_level3";</script> <script language="javascript1.1" src="http://hits.truehits.in.th/data/m0023375.js"></script><script src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></script><script src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></script><script language="javascript1.2">sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</script><script language="javascript1.3">sv=1.3; </script>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->
    <script language="javascript1.1"> x2="[​IMG]"; document.write(x2+x3); </script>[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> </td> <td>
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1003"><tbody><tr><td rowspan="2" valign="top"><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="585"><tbody><tr><td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="567"><tbody><tr><td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="567"><tbody><tr><td valign="top">เตือนเอเชียเสี่ยงขาดแคลนน้ำ-อาหารรุนแรง</td> </tr> <tr> <td valign="top">11 เมษายน 2550

    </td> </tr> <tr> <td class="Text_Story" valign="top"><!-- [​IMG] กรุงเทพฯ-ยูเอ็นเตือนโลกร้อนจะทำให้เอเชียเผชิญกับการขาดแคลนน้ำและอาหารอย่างรุนแรง ขณะที่หลายประเทศอาจพลิกวิกฤติโลกร้อนให้เป็นโอกาส


    นายอาคิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เปิดเผยรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก (ไอพีซีซี) เมื่อวันพุธ (11 เม.ย.) ที่เตือนว่า ภัยโลกร้อนจะทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและน้ำในทวีปเอเชียอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนกว่า 130 ล้านคน ภายในปี 2593 หากนานาประเทศไม่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลกโดยเร่งด่วน
    นายสไตเนอร์ กล่าวว่า ทวีปเอเชียจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า ซึ่งหากไม่หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก็จะทำให้เกิดหายนะต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ เหนือสิ่งอื่นใด คือ จะเกิดโศกนาฏกรรมต่อมวลมนุษยชาติ ไอพีซีซียังคาดด้วยว่า อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส ก็สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่หล่อเลี้ยงทุ่งข้าวในจีน ตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง 12 โดยผู้คนเกือบ 100 ล้านคนในเอเชีย จะเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วม เพราะระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะสูงขึ้นปีละ 1-3 เซนติเมตร
    นายสไตเนอร์ ยังเตือนด้วยว่า แม้แคนาดาและสหรัฐจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และมีเงินมากพอที่สู้กับภัยโลกร้อน แต่หลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ โดยเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐ เช่น นครชิคาโก นครลอสแองเจลีส จะเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น ขณะที่นครนิวยอร์กและนครบอสตันนั้น อาจจะเผชิญหน้ากับพายุรุนแรงมากขึ้น เช่นเดียวกับรัฐฟลอริดา รัฐเทกซัส ไปจนถึงรัฐอลาสกา และพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา
    ด้านนิตยสารนิวสวีก รายงานผลการศึกษาหลายชิ้นที่ระบุว่า หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.5-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะโรคมาลาเรีย และยุงลายที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก มีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 เท่า และทำให้มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74 ภายในปี 2593 ส่วนผู้ป่วยมาลาเรียอาจมากถึง 50-80 ล้านคนต่อปีภายในปี 2643 เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้พื้นที่และช่วงเวลาที่ยุงออกหากินกว้างขึ้นและยาวนานขึ้น
    อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็มีหลายประเทศที่อาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ เช่น ประเทศที่อยู่ละติจูดสูง เช่น แคนาดา รัสเซีย และแถบสแกนดิเนเวีย จะมีผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น และอาจมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการที่รีสอร์ทสกีตามภูเขาหลายแห่งที่เสี่ยงปิดกิจการ เพราะหิมะตกน้อยลง เริ่มคิดแปรสภาพสถานที่ให้กลายเป็นสปาภูเขา

    --> กรุงเทพฯ-ยูเอ็นเตือนโลกร้อนจะทำให้เอเชียเผชิญกับการขาดแคลนน้ำและอาหารอย่างรุนแรง ขณะที่หลายประเทศอาจพลิกวิกฤติโลกร้อนให้เป็นโอกาส
    นายอาคิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เปิดเผยรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก (ไอพีซีซี) เมื่อวันพุธ (11 เม.ย.) ที่เตือนว่า ภัยโลกร้อนจะทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและน้ำในทวีปเอเชียอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนกว่า 130 ล้านคน ภายในปี 2593 หากนานาประเทศไม่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลกโดยเร่งด่วน
    นายสไตเนอร์ กล่าวว่า ทวีปเอเชียจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า ซึ่งหากไม่หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก็จะทำให้เกิดหายนะต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ เหนือสิ่งอื่นใด คือ จะเกิดโศกนาฏกรรมต่อมวลมนุษยชาติ ไอพีซีซียังคาดด้วยว่า อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส ก็สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่หล่อเลี้ยงทุ่งข้าวในจีน ตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง 12 โดยผู้คนเกือบ 100 ล้านคนในเอเชีย จะเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วม เพราะระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะสูงขึ้นปีละ 1-3 เซนติเมตร
    นายสไตเนอร์ ยังเตือนด้วยว่า แม้แคนาดาและสหรัฐจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และมีเงินมากพอที่สู้กับภัยโลกร้อน แต่หลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ โดยเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐ เช่น นครชิคาโก นครลอสแองเจลีส จะเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น ขณะที่นครนิวยอร์กและนครบอสตันนั้น อาจจะเผชิญหน้ากับพายุรุนแรงมากขึ้น เช่นเดียวกับรัฐฟลอริดา รัฐเทกซัส ไปจนถึงรัฐอลาสกา และพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา
    ด้านนิตยสารนิวสวีก รายงานผลการศึกษาหลายชิ้นที่ระบุว่า หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.5-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะโรคมาลาเรีย และยุงลายที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก มีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 เท่า และทำให้มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74 ภายในปี 2593 ส่วนผู้ป่วยมาลาเรียอาจมากถึง 50-80 ล้านคนต่อปีภายในปี 2643 เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้พื้นที่และช่วงเวลาที่ยุงออกหากินกว้างขึ้นและยาวนานขึ้น
    อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็มีหลายประเทศที่อาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ เช่น ประเทศที่อยู่ละติจูดสูง เช่น แคนาดา รัสเซีย และแถบสแกนดิเนเวีย จะมีผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น และอาจมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการที่รีสอร์ทสกีตามภูเขาหลายแห่งที่เสี่ยงปิดกิจการ เพราะหิมะตกน้อยลง เริ่มคิดแปรสภาพสถานที่ให้กลายเป็นสปาภูเขา

    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="567"> <tbody><tr> <td height="20">
    </td> </tr> <tr> <td> <!---------------------------------open คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------> <!---------------------------------close คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------> </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> </td> <td width="8">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <!-- open banner center 1 --> <!-- <OBJECT classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,0,0" WIDTH="468" HEIGHT="60" id="perfect.swf" ALIGN="">


    <EMBED src="/imgs/ads/propertyperfect/perfect.swf" quality=high bgcolor=#FFFFFF WIDTH="468" HEIGHT="60" NAME="propertyperfect" ALIGN="" TYPE="application/x-shockwave-flash" PLUGINSPAGE="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer"></EMBED> </OBJECT> --> <!-- open banner center 2 --> </td> <td valign="top" width="215"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="210"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    <!-- open banner right1 --> <!-- [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    --> <!-- close banner right 1--> ​
    </td> </tr> <tr> <td> <!-- Open ข่าวเกี่ยวข้อง --> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="206"> <tbody><tr> <td width="13">[​IMG]</td> <td background="/images/images-rele/withn_102.jpg" width="180">
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images/images-rele/withn_108.jpg">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- Close ข่าวเกี่ยวข้อง --> </td> </tr> <tr> <td> <!-- open คอลัมภ์ เด่น --> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="206"> <tbody><tr> <td width="17">[​IMG]</td> <td width="168">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="/images2006/rc_06.jpg" valign="top">[​IMG]</td> <td valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="168"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td width="40">
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> <td background="/images2006/rc_07.jpg" valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images2006/rc_09.jpg"> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- close คอลัมภ์เด่น --> </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td> <!-- <table width="206" border="0" align="center" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tr> <td width="17">[​IMG]</td> <td width="182">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top">[​IMG]</td> <td valign="top" background="/images2006/rs_05.jpg"><marquee behavior="scroll" direction="up" height="138" scrollamount="1" scrolldelay="30" truespeed="truespeed" onmouseover="this.stop()" onmouseout="this.start()"> <table width="182" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"> <tr> <td width="50" height="20" valign="top">04:12 น.</td> <td valign="top" class="Text">รูนีย์อดไปบอลโลก</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">04:12 น. </td> <td valign="top" class="Text">แบล็คเบิร์นชนะเชลซี</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="style3">23:28 น. </td> <td valign="top" class="Text">ผจก.ทีมอังกฤษ</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">22:06 น. </td> <td valign="top" class="Text">ซีดาน แขวนสตั๊ด </td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="TextRed">21:53 น. </td> <td valign="top" class="Text">ผลฟุตซอลเอเชีย</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="TextRed">21:36 น. </td> <td valign="top" class="Text">ปู่ติ๊กทวงสิทธิ์</td> </tr> <tr> </tr> </table> </marquee> </td> <td valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images2006/rs_08.jpg"> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </table> -->
    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top">
    <!-- open banner ringh 2 --> <!-- <OBJECT classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,0,0" WIDTH="468" HEIGHT="60" id="perfect.swf" ALIGN="">


    <EMBED src="/imgs/ads/propertyperfect/perfect.swf" quality=high bgcolor=#FFFFFF WIDTH="468" HEIGHT="60" NAME="propertyperfect" ALIGN="" TYPE="application/x-shockwave-flash" PLUGINSPAGE="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer"></EMBED> </OBJECT> --> <!-- close banner ringh 2 --> ​
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#e2e2e2" valign="bottom">[​IMG]</td> <td valign="top"> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1003"><tbody><tr><td valign="bottom"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td width="20"> </td> <td class="Text" valign="middle">สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 <!--BEGIN WEB STAT CODE----> <script language="javascript1.1"> page="foreign_level3";</script> <script language="javascript1.1" src="http://hits.truehits.in.th/data/m0023375.js"></script><script src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></script><script src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></script><script language="javascript1.2">sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</script><script language="javascript1.3">sv=1.3; </script>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->
    <script language="javascript1.1"> x2="[​IMG]"; document.write(x2+x3); </script>[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> </td> <td>
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1003"><tbody><tr><td rowspan="2" valign="top"><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="585"><tbody><tr><td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="567"><tbody><tr><td valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="567"><tbody><tr><td valign="top">เตือนเอเชียเสี่ยงขาดแคลนน้ำ-อาหารรุนแรง</td> </tr> <tr> <td valign="top">11 เมษายน 2550
    </td> </tr> <tr> <td class="Text_Story" valign="top"><!-- [​IMG] กรุงเทพฯ-ยูเอ็นเตือนโลกร้อนจะทำให้เอเชียเผชิญกับการขาดแคลนน้ำและอาหารอย่างรุนแรง ขณะที่หลายประเทศอาจพลิกวิกฤติโลกร้อนให้เป็นโอกาส


    นายอาคิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เปิดเผยรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก (ไอพีซีซี) เมื่อวันพุธ (11 เม.ย.) ที่เตือนว่า ภัยโลกร้อนจะทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและน้ำในทวีปเอเชียอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนกว่า 130 ล้านคน ภายในปี 2593 หากนานาประเทศไม่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลกโดยเร่งด่วน
    นายสไตเนอร์ กล่าวว่า ทวีปเอเชียจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า ซึ่งหากไม่หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก็จะทำให้เกิดหายนะต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ เหนือสิ่งอื่นใด คือ จะเกิดโศกนาฏกรรมต่อมวลมนุษยชาติ ไอพีซีซียังคาดด้วยว่า อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส ก็สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่หล่อเลี้ยงทุ่งข้าวในจีน ตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง 12 โดยผู้คนเกือบ 100 ล้านคนในเอเชีย จะเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วม เพราะระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะสูงขึ้นปีละ 1-3 เซนติเมตร
    นายสไตเนอร์ ยังเตือนด้วยว่า แม้แคนาดาและสหรัฐจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และมีเงินมากพอที่สู้กับภัยโลกร้อน แต่หลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ โดยเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐ เช่น นครชิคาโก นครลอสแองเจลีส จะเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น ขณะที่นครนิวยอร์กและนครบอสตันนั้น อาจจะเผชิญหน้ากับพายุรุนแรงมากขึ้น เช่นเดียวกับรัฐฟลอริดา รัฐเทกซัส ไปจนถึงรัฐอลาสกา และพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา
    ด้านนิตยสารนิวสวีก รายงานผลการศึกษาหลายชิ้นที่ระบุว่า หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.5-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะโรคมาลาเรีย และยุงลายที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก มีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 เท่า และทำให้มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74 ภายในปี 2593 ส่วนผู้ป่วยมาลาเรียอาจมากถึง 50-80 ล้านคนต่อปีภายในปี 2643 เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้พื้นที่และช่วงเวลาที่ยุงออกหากินกว้างขึ้นและยาวนานขึ้น
    อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็มีหลายประเทศที่อาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ เช่น ประเทศที่อยู่ละติจูดสูง เช่น แคนาดา รัสเซีย และแถบสแกนดิเนเวีย จะมีผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น และอาจมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการที่รีสอร์ทสกีตามภูเขาหลายแห่งที่เสี่ยงปิดกิจการ เพราะหิมะตกน้อยลง เริ่มคิดแปรสภาพสถานที่ให้กลายเป็นสปาภูเขา

    --> กรุงเทพฯ-ยูเอ็นเตือนโลกร้อนจะทำให้เอเชียเผชิญกับการขาดแคลนน้ำและอาหารอย่างรุนแรง ขณะที่หลายประเทศอาจพลิกวิกฤติโลกร้อนให้เป็นโอกาส
    นายอาคิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เปิดเผยรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก (ไอพีซีซี) เมื่อวันพุธ (11 เม.ย.) ที่เตือนว่า ภัยโลกร้อนจะทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและน้ำในทวีปเอเชียอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนกว่า 130 ล้านคน ภายในปี 2593 หากนานาประเทศไม่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลกโดยเร่งด่วน
    นายสไตเนอร์ กล่าวว่า ทวีปเอเชียจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า ซึ่งหากไม่หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก็จะทำให้เกิดหายนะต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ เหนือสิ่งอื่นใด คือ จะเกิดโศกนาฏกรรมต่อมวลมนุษยชาติ ไอพีซีซียังคาดด้วยว่า อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส ก็สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่หล่อเลี้ยงทุ่งข้าวในจีน ตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง 12 โดยผู้คนเกือบ 100 ล้านคนในเอเชีย จะเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วม เพราะระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะสูงขึ้นปีละ 1-3 เซนติเมตร
    นายสไตเนอร์ ยังเตือนด้วยว่า แม้แคนาดาและสหรัฐจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และมีเงินมากพอที่สู้กับภัยโลกร้อน แต่หลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ โดยเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐ เช่น นครชิคาโก นครลอสแองเจลีส จะเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น ขณะที่นครนิวยอร์กและนครบอสตันนั้น อาจจะเผชิญหน้ากับพายุรุนแรงมากขึ้น เช่นเดียวกับรัฐฟลอริดา รัฐเทกซัส ไปจนถึงรัฐอลาสกา และพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา
    ด้านนิตยสารนิวสวีก รายงานผลการศึกษาหลายชิ้นที่ระบุว่า หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.5-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะโรคมาลาเรีย และยุงลายที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก มีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 เท่า และทำให้มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74 ภายในปี 2593 ส่วนผู้ป่วยมาลาเรียอาจมากถึง 50-80 ล้านคนต่อปีภายในปี 2643 เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้พื้นที่และช่วงเวลาที่ยุงออกหากินกว้างขึ้นและยาวนานขึ้น
    อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็มีหลายประเทศที่อาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ เช่น ประเทศที่อยู่ละติจูดสูง เช่น แคนาดา รัสเซีย และแถบสแกนดิเนเวีย จะมีผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น และอาจมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการที่รีสอร์ทสกีตามภูเขาหลายแห่งที่เสี่ยงปิดกิจการ เพราะหิมะตกน้อยลง เริ่มคิดแปรสภาพสถานที่ให้กลายเป็นสปาภูเขา

    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="567"> <tbody><tr> <td height="20">
    </td> </tr> <tr> <td> <!---------------------------------open คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------> <!---------------------------------close คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------> </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> </td> <td width="8">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <!-- open banner center 1 --> <!-- <OBJECT classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,0,0" WIDTH="468" HEIGHT="60" id="perfect.swf" ALIGN="">


    <EMBED src="/imgs/ads/propertyperfect/perfect.swf" quality=high bgcolor=#FFFFFF WIDTH="468" HEIGHT="60" NAME="propertyperfect" ALIGN="" TYPE="application/x-shockwave-flash" PLUGINSPAGE="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer"></EMBED> </OBJECT> --> <!-- open banner center 2 --> </td> <td valign="top" width="215"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="210"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    <!-- open banner right1 --> <!-- [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    --> <!-- close banner right 1--> ​
    </td> </tr> <tr> <td> <!-- Open ข่าวเกี่ยวข้อง --> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="206"> <tbody><tr> <td width="13">[​IMG]</td> <td background="/images/images-rele/withn_102.jpg" width="180">
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images/images-rele/withn_108.jpg">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- Close ข่าวเกี่ยวข้อง --> </td> </tr> <tr> <td> <!-- open คอลัมภ์ เด่น --> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="206"> <tbody><tr> <td width="17">[​IMG]</td> <td width="168">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="/images2006/rc_06.jpg" valign="top">[​IMG]</td> <td valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="168"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td width="40">
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td height="8">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> <td background="/images2006/rc_07.jpg" valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images2006/rc_09.jpg"> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <!-- close คอลัมภ์เด่น --> </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td> <!-- <table width="206" border="0" align="center" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tr> <td width="17">[​IMG]</td> <td width="182">[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top">[​IMG]</td> <td valign="top" background="/images2006/rs_05.jpg"><marquee behavior="scroll" direction="up" height="138" scrollamount="1" scrolldelay="30" truespeed="truespeed" onmouseover="this.stop()" onmouseout="this.start()"> <table width="182" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"> <tr> <td width="50" height="20" valign="top">04:12 น.</td> <td valign="top" class="Text">รูนีย์อดไปบอลโลก</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">04:12 น. </td> <td valign="top" class="Text">แบล็คเบิร์นชนะเชลซี</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="style3">23:28 น. </td> <td valign="top" class="Text">ผจก.ทีมอังกฤษ</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top">22:06 น. </td> <td valign="top" class="Text">ซีดาน แขวนสตั๊ด </td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="TextRed">21:53 น. </td> <td valign="top" class="Text">ผลฟุตซอลเอเชีย</td> </tr> <tr> <td height="20" valign="top" class="TextRed">21:36 น. </td> <td valign="top" class="Text">ปู่ติ๊กทวงสิทธิ์</td> </tr> <tr> </tr> </table> </marquee> </td> <td valign="top">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td background="/images2006/rs_08.jpg"> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </table> -->
    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top">
    <!-- open banner ringh 2 --> <!-- <OBJECT classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,0,0" WIDTH="468" HEIGHT="60" id="perfect.swf" ALIGN="">


    <EMBED src="/imgs/ads/propertyperfect/perfect.swf" quality=high bgcolor=#FFFFFF WIDTH="468" HEIGHT="60" NAME="propertyperfect" ALIGN="" TYPE="application/x-shockwave-flash" PLUGINSPAGE="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer"></EMBED> </OBJECT> --> <!-- close banner ringh 2 --> ​
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#e2e2e2" valign="bottom">[​IMG]</td> <td valign="top"> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1003"><tbody><tr><td valign="bottom"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td width="20"> </td> <td class="Text" valign="middle">สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 <!--BEGIN WEB STAT CODE----> <script language="javascript1.1"> page="foreign_level3";</script> <script language="javascript1.1" src="http://hits.truehits.in.th/data/m0023375.js"></script><script src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></script><script src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></script><script language="javascript1.2">sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</script><script language="javascript1.3">sv=1.3; </script>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->
    <script language="javascript1.1"> x2="[​IMG]"; document.write(x2+x3); </script>[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> </td> <td>
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ประชากรลุกล้ำดินแดนแห่ง “ภัยธรรมชาติ” มากเกิน เหตุหายนะทวีคูณ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="right" height="1" valign="bottom" width="1">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/linedot_hori.gif" height="1" valign="bottom">[​IMG]</td> <td align="left" height="1" valign="bottom" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" background="/images/linedot_vert.gif" valign="middle" width="1">[​IMG]</td> <td> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert.gif" valign="middle" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" height="1" valign="top" width="1">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/linedot_hori.gif" height="1" valign="top">[​IMG]</td> <td align="left" height="1" valign="top" width="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">ร่องรอยความเสียหายจาก "สึนามิ" ที่พัดถล่มเข้าบริเวณเขาหลัก จ.พังงาน พร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ ในแถบอันดามัน สร้างความเสียหายในวงกว้างต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ 50 ปี</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td align="left" height="12" valign="bottom">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff" valign="top"> <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="160"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ผลของเฮอริเคน "แคทรินา" ถล่มรัฐนิว ออรีนส์ ซึ่งเทียบสเกลความเสียหายได้มากพอๆ กับสึนามิเมื่อปีกลาย</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ประชาชนที่อยู่บนเส้นทางแห่งภัยธรรมชาติ หากไม่ต้องการสูญเสียมากนัก ควรเตรียมตัวให้พร้อม</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ภาพถ่ายดาวเทียมพยากรณ์ทิศทางเฮอริเคน "โอพีเลีย" พายุไต้ฝุ่นลูกถัดจากแคทรินา กำลังเข้าสู่ทวีปอเมริกา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า แผ่นดินชายฝั่งของอ่าวแถบทวีปอเมริกา ไม่เหมาะแก่การตั้งถิ่นที่อยู่ เพราะเป็นแหล่งพายุ</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">คลื่นยักษ์สึนามิที่พัดเข้าสู่โรงแรมริมชายหาดแห่งหนึ่งในมาเลเซียเมื่อปลายปีที่ผ่านมา</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="1" valign="middle" width="165">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> เอพี – การสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจาก “ภัยธรรมชาติ” ยังจะมีดำเนินต่อไป และทำท่าจะหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็เพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องขยับขยายย้ายมาตั้งชุมชนในดินแดนที่เป็นทางผ่านของพิบัติภัยต่างๆ อีกทั้งมาตรการระแวดระวังภัยที่เน้นพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลักดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าใดนัก

    ยอดผู้เสียชีวิตและไร้บ้านจากผลกระทบของพายุเฮอริเคน “แคทรีนา” ในนิว ออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา ช่วยเพิ่มจำนวนแห่งความสูญเสียอันเนื่องมาจากพิบัติภัยที่เกิดขึ้นก่อนๆ หน้านี้ ทั้งการสูญเสียของชาวนาจังหวัดอาเจะห์ในอินโดนีเซีย รวมถึงชาวประมงเมืองไตรโคมาลี (Trincomalee) ในศรีลังกา และชาวบ้านตาดำๆ ในอิหร่าน แม้กระทั่งชาวสลัมในสาธารณรัฐไฮติ ซึ่งภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถือได้ว่าเป็นการสำแดงเดชการลงทัณฑ์จากธรรมชาติเลยทีเดียว

    “เป็นโลกที่ชาวอเมริกันต้องเรียนรู้จากประเทศที่ยากจนที่สุด และยังต้องเรียนรู้ด้วยว่าเราไม่ควรตั้งเมืองใหญ่ๆ ไว้บนฝั่งแม่น้ำมิสซิสซิปปีอีก” เดนนิส มิเล็ตติ (Dennis S. Miletti) จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado) ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันภัยพิบัติชั้นแนวหน้าของหสรัฐฯ กล่าวและว่าเพราะเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในนิว ออร์ลีนส์ ทำให้เกิดความนิ่งนอนใจเกินไป

    “เราเชื่อใจในเทคโนโลยีและคิดว่าเพียงเท่านี้ชีวิตมนุษย์ก็จะปลอดภัยแล้ว แต่มันกลับไม่ใช่อย่างที่คิดไว้ จริงๆ แล้วเราอาศัยอยู่บนโลกที่ไม่มีความปลอดภัยเอาเสียเลย” มิเล็ตติ กล่าว

    ประชากรมากเกิน ขยายหลักแหล่งบนดินแดนแห่งภัยธรรมชาติ

    ทั้งนี้ รายงานอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในการประชุมเรื่องการป้องกันภัยพิบัติเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านระบุว่า จากตัวเลขสถิติผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชากรทั่วโลกนั้นแสดงให้เห็นว่า โลกของเราไม่ปลอดภัยมากขึ้นทุกขณะ โดยประชากรมากกว่า 2.5 พันล้านคนต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แผ่นดินไหว และพายุเฮอริเคน รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดอื่นๆ

    รายงานของยูเอ็นชี้ว่า ภัยพิบัติระหว่างปี 2537-2546 เพิ่มขึ้นถึง 60% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 20 ปีก่อน โดยตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมถึงเหยื่อจากธรณีพิบัติภัย “สึนามิ” เมื่อปลายปีที่แล้ว (2547) ซึ่งได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปอีกกว่า 180,000 คน เมื่อมันได้ซัดคลื่นยักษ์มาถล่มชายฝั่งอาเจะห์ ของอินโดนีเซียเรื่อยไปถึงเมืองไตรโคมาลีของศรีลังกา และเมืองอื่นๆ อีกมากมาย

    อย่างไรก็ตาม รายงานจากบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่อย่าง “มิวนิค รี” (Munich RE) ของเยอรมนี ระบุว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติในปี 2547 ถือเป็นจำนวนที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในวงการการประกันภัยโลกเลยทีเดียว ทำให้บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินไปกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย 1 ใน 4 นั้นมาจากผลกระทบของเฮอริเคนที่พัดเข้าทำลายฟลอริดา

    “ไม่ได้หมายความว่า มีภัยพิบัติเกิดมากขึ้นกว่าในอดีต หากแต่มีจำนวนคนที่อยู่บนทางผ่านของมันมากกว่าเก่าก็เท่านั้นเอง” โทมัส ลอสเตอร์ (Thomas Loster) ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทมิวนิค รี เผยถึงเหตุที่ทำให้ผู้คนประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติมากขึ้น

    ด้านนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลูเวน (University of Louvain) ของเบลเยียมให้ข้อมูลว่า ในช่วงทศวรรษ 1970 (หรือราว 30 ปีก่อน) มีแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากรเพียง 11% แต่ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 31% ในช่วงปี 2536-2546 โดยจำนวนหนึ่งในเหยื่อภัยพิบัติเหล่านี้คือ แผ่นดินไหวในอิหร่านเมื่อปี 2546 คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 26,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับเหยื่อที่ได้รับความสูญเสียในช่วง 30 ปีก่อน

    ขณะเดียวกัน โรเบิร์ต ฮามิงตัน (Robert M. Hamilton) ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว เจ้าหน้าที่เกษียณหน่วยงานป้องกันภัยพิบัติของสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ประชากรสหรัฐฯ ได้เพิ่มจำนวนและแพร่ขยายถิ่นฐานก้าวล้ำเข้าไปสู่ดินแดนอันตราย อย่างฟลอริดา แถบแอตแลนติก และตามชายฝั่งของอ่าว โดยเฉพาะเกาะที่คั่นอยู่ระหว่างแผ่นดินใหญ่กับแคลิฟอร์เนีย

    “หลายทศวรรษมาแล้ว เราไม่เคยมีการสร้างบ้านเรือนติดๆ กันบนชายฝั่งทะเลเหมือนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน” ฮามิงตันกล่าว พร้อมทั้งชี้ว่า การสร้างบ้านเรือนแบบนี้ดูเป็นการเปิดรับต่อหายนะมากเกินไป เช่น การก่อสร้างบนพื้นที่ระบายน้ำในส่วนที่เป็นปลักเป็นหนองในฟลอริดา และการก่อสร้างบนพื้นที่เชิงเขาในแคลิฟอร์เนีย เหล่านี้เป็นตัวการที่เพิ่มความเสียหายให้เกิดมากขึ้นเมื่อน้ำท่วม

    อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวรายนี้ กล่าวเสริมว่า เรากำลังก่อสร้างชุมชนที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นพื้นที่เปิดรับอันตรายจากสภาวะทางธรรมชาติ

    ด้านเทอรี เจ็กเกิล (Terry Jeggle) นักวางแผนเพื่อบรรเทาภัยพิบัติของยูเอ็น กล่าวว่า ยิ่งบ้านเมืองเจริญมากขึ้นเพียงใด หายนะก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเพียงนั้น ซึ่งระบบเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในเมืองนิว ออร์ลีนส์ ต้องขึ้นอยู่กับปั้มน้ำที่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าเดินเครื่อง และพลังงานไฟฟ้าก็ผลิตจากเชื้อเพลิงนำเข้าจากต่างประเทศมาอีกต่อหนึ่ง อันเป็นความผิดพลาดที่นำไปสู่ความผิดพลาดอื่นๆ ต่อไปไม่รู้จบ โดยเจ๊กเกิลย้ำว่า “ระบบที่ยุ่งยากซับซ้อนเชื้อเชิญให้เกิดผลที่ยุ่งยากตามมามากมายก่ายกอง”

    ผู้เชี่ยวชาญกังวลโลกร้อนกระตุ้นภัยธรรมชาติรุนแรงกว่าเดิม

    จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างพากันกลัวว่า ความเสียหายที่รุนแรงขึ้นกำลังจะตามมา โดยนักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ภาวะโลกร้อนเพิ่มความรุนแรงให้กับ พายุ น้ำท่วม คลื่นความร้อน และความแห้งแล้ง ทั้งนี้ นักอากาศวิทยากำลังศึกษาอยู่ว่า ความเปลี่ยนแปลงทางอากาศที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อการถ่ายเทพลังงานจากกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแล้วเพิ่มระดับความรุนแรงให้กับพายุเฮอริเคนได้หรือไม่ หรือมันจะเป็นเพียงการหมุนวนขึ้นของน้ำในลุ่มน้ำและอ่าวทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งนำไปสู่การเกิดพายุเท่านั้น

    อีกทั้ง แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหลายแบบในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แสดงผลออกมาว่า พายุได้ทวีความรุนแรงขึ้นมากกว่าระดับ 5 อันเป็นระดับการทำลายล้างสูงสุดที่กำหนดไว้เสียด้วยซ้ำ

    ทั้งนี้การคาดการณ์เกี่ยวกับประชากรที่ทวีความไม่แน่นอนในช่วงที่โลกวุ่นวายมากขึ้นนี้ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และบรรดาที่ปรึกษาต่างๆ ถูกกดันให้เร่งวางแผนและเตรียมการรับมือ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าเหล่าประเทศยากจนสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีกว่าในประเทศที่ร่ำรวย อาทิ ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเมื่อพายุเฮอริเคน “อีวาน” (Ivan) ถล่มคิวบาในปี 2547 เลย แม้ว่าพายุดังกล่าวจัดได้ว่ารุนแรงที่สุดในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่ออ่อนกำลังลงแล้วก็ยังคร่าชีวิตผู้คนได้ถึง 25 คนในสหรัฐฯ

    ทั้งนี้ ระบบการอพยพผู้คนในคิวบาได้รับการวางแผนอย่างละเอียด รวมถึงระบบการรายงานข้อมูลอย่างทันท่วงทีเกี่ยวกับประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือระหว่างการเคลื่อนย้าย เพื่อให้คนงานในประเทศเพื่อนบ้านได้รับรู้เหตุการณ์ตามไปด้วย

    เมื่อเกิดพายุไซโคลนขึ้นที่ชายฝั่งของบังคลาเทศ อาสาสมัครที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี 33,000 คนก็เตรียมพร้อมแล้วสำหรับการช่วยเหลือเพื่อนบ้านสร้างที่พักคอนกรีตแบบชั่วคราว ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบภัยจากพายุที่เกิดขึ้นในอ่าวเบงกอล

    นอกจากนี้ ในปี 2545 จาไมกา ยังได้มีการอพยพผู้คนครั้งใหญ่ในพื้นที่ราบต่ำชายฝั่งทะเลนอกเมืองคิงส์ตัน (Kingston) และรับมือกับมันได้เป็นอย่างดีในเวลาต่อมาเมื่อพายุอีวานซึ่งมีความสูงราว 20 ฟุตได้ถาโถมเข้าทำลายบ้านเรือนหลายร้อยหลังเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเหยื่อผู้เสียชีวิตเพียง 8 รายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในภาวะปกติ ประชาชนชาวจาไมกาจะได้รับการสอนวิธีการเสาะหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดพายุ นอกจากนี้ยังมีการฝึกฝนให้มีทีมงานรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมอีกด้วย

    อย่างไรก็ดี บาร์บาร่า คาร์บี (Barbara Carby) นักจัดการภัยพิบัติของจาไมกา ก็เป็นผู้หนึ่งที่เฝ้ามองสิ่งที่ไม่น่าเชื่ออย่างภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบนชายฝั่งสหรัฐฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ชาวสหรัฐฯ รู้แหล่งที่เกิดพายุได้เสมอมา พวกเขาจึงไม่ใส่ใจและไม่ระแวดระวังเพียงพอ รวมถึงไม่ได้ให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือตัวเองเมื่อเกิดพายุขึ้น</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#ffffff" width="100%"> โลกระอุทำเชื้อโรคกลายพันธุ์! อหิวาห์-ไข้เลือดออกมากับร้อน</td></tr> <tr><td colspan="2" bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="98%"><tbody><tr><td> [​IMG][​IMG] เมื่อวันที่ 11 มกราคม สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริติชเคานซิล สัมมนาเรื่อง “สังคม เศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อภาวะโลกร้อน (อาจ) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย”
    ผศ.ดร.กำพล รุจิวิชญ์ นักวิชาการ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่าจากโครงการศึกษายีนก่อโรคและรูปแบบดีเอ็นเอของเชื้ออหิวาตกโรค (Vibrio cholerae 01, 0139) สายพันธุ์ที่ทำให้ก่อโรคอหิวาตกโรคในคน โดยศึกษาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยในช่วงปี 2548-2551 เนื่องจากพบว่าในช่วงหลังการระบาดของเชื้ออุจจาระอย่างแรงมักจะเกิดตลอดขึ้นทั้งปีจากเดิมที่การระบาดของเชื้อโรคส่วนใหญ่จะเป็นช่วงหน้าร้อน เนื่องจากหน้าแล้งน้ำน้อยจะมีความเข้มข้นของสิ่งสกปรกเยอะ และถ้าไม่สะอาดจะทำให้ก่อเชื้อโรคได้ง่าย

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#ffffff" width="100%">ชั้นโอโซนขั้วโลกใต้เสียหายมากกว่าขั้วโลกเหนือ</td></tr> <tr><td colspan="2" bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="98%"><tbody><tr><td> [​IMG][​IMG]ชี้ “ขั้วโลกเหนือ” และ “ขั้วโลกใต้” สูญเสียชั้นโอโซนแตกต่างกันในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา โดยพบว่าชั้นโอโซนที่ขั้วโลกใต้เป็นรูโหว่มากกว่าขั้วโลกเหนือ
    สำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (โนอา) ศึกษาพบว่า ใจกลางชั้นโอโซนที่ขั้วโลกใต้เป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่และแผ่วงกว้าง เริ่มมาตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เพราะในตัวอย่างอากาศที่เก็บมาหลังปี 2523 บางตัวอย่างแทบไม่พบโอโซนเลยเมื่อเทียบกับหลายสิบปีก่อน ส่วนที่ขั้วโลกเหนือนั้นพบช่องโหว่โอโซนกระจัดกระจาย แต่ช่องโหว่ที่ใหญ่ที่สุดก็ไม่ใหญ่เท่าช่องที่พบทั่วไปที่ขั้วโลกใต้ ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคม สำนักงานอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซ่า) เคยรายงานว่า ช่องโหว่โอโซนที่พบในปีนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา โดยกินเนื้อที่เกือบ 17.6 ล้านตารางกิโลเมตร </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#ffffff" width="100%">วิตกระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 4 ฟุต ท่วมริมฝั่งสหรัฐอเมริกายันบังกลาเทศ</td></tr> <tr><td colspan="2" bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="98%"><tbody><tr><td> [​IMG]นักวิจัยสถาบันวิจัยผลกระทบสภาพดินฟ้าอากาศปอตสดาม รายงานในวารสารเชิงวิชาการ “วิทยาศาสตร์” ว่าภาวะอากาศของโลกที่อุ่นขึ้น จะทำให้ระดับน้ำในมหาสมุทร ตั้งแต่ริมฝั่งฟอริดาไปจนถึงบังกลาเทศ สูงขึ้นอีก 4 ฟุต 7 นิ้ว ภายในพ.ศ.2643 นี้
    นักวิจัยสเตฟาน ราห์มสตอร์ฟ ในคณะศึกษาวิจัยกล่าวว่า “การที่ระดับน้ำมหาสมุทรสูงขึ้นเร็วจำเป็นต้องเร่งเตรียมมือในการป้องกันรักษาริมฝั่งทะเลเอาไว้” เขากับ๕ระได้ศึกษาโดยยึดเอาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ อากาศ และระดับน้ำเป็นหลัก แทนจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ได้ตัวเลขออกมาว่า ระดับน้ำในมหาสมุทรอาจจะสูงขึ้น 50-140 เซนติเมตร ภายในพ.ศ.2643 นี้ ซึ่งสูงกว่าที่คณะระหว่างประเทศว่าด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้เสนอความเห็นต่อสหประชาชาติไว้ว่า ระดับน้ำจะสูงขึ้น 9 – 88 เซนติเมตร
    </td></tr></tbody></table> </td></tr></tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#ffffff" width="100%">อากาศโลกร้อนขึ้น 10 องศา จนมนุษย์ไม่อาจจะอยู่อาศัยได้</td></tr> <tr><td colspan="2" bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="98%"><tbody><tr><td> [​IMG]ผู้เชี่ยวชาญสภาพดิน ฟ้า อากาศของโลก เตือนว่า อากาศที่บางพื้นที่ของโลกใบนี้ อาจจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก 10 องศาเซลเซียส หรือ 18 องศาฟาเรนไฮด์ ภายในศตวรรษนี้ จนผู้คนไม่อาจอาศัยอยู่ได้อีกต่อไป นายบ็อบ สไปเซอร์ นักวิทยาศาสตร์ในคณะศึกษาร่วมของสถานีโทรทัศน์
    บีบีซี และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ ในสภาพดิน ฟ้า อากาศโลก กล่าวว่า โลกของเรากำลังมุ่งเข้าสู่สภาวะเรือนกระจก เหมือนกับยุคไดโนเสาร์ที่ต้องสูญพันธ์ไป

    ที่มา: ไทยรัฐ ฉบับวัน พุธ ที่ 24 มกราคม 2550
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...