"สมาธิ" ทางลัดศึกษากลไกสมอง

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 14 มิถุนายน 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"การฝึกสมาธิ" ส่งผลในทางที่ดีต่อการทำงานของสมอง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> บีบีซีนิวส์ - นักวิจัยออสซี่ระบุ การศึกษาพระที่ฝึกสมาธิช่วยชี้ทางสว่างในการทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของสมอง รวมถึงรู้วิธียับยั้งการตอบสนองพื้นฐานและโดยไม่สมัครใจของสมอง

    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (University of Queensland) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คเลย์ (University of California, Berkley) ได้ร่วมกันศึกษาพระทิเบต 76 รูปที่ผ่านการฝึกฝนการนั่งสมาธิระหว่าง 5-54 ปี ซึ่งพำนักอยู่ในสำนักสงฆ์บนภูเขาในอินเดีย และตีพิมพ์บทความลงในวารสาร "เคอร์เรนท์ ไบโอโลจี" (Current Biology) เปิดเผยข้อสรุปว่าพระที่ฝึกสมาธิช่วยชี้ทางสว่างในการทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของสมอง

    ในการทดลอง พระเหล่านี้จะได้รับแว่นพิเศษ ที่ทำให้ตาแต่ละข้างเห็นภาพต่างกัน โดยปกติแล้ว สมองจะสลับการรับรู้ภาพทีละภาพ ที่เรียกว่าการรับรู้อย่างมีเงื่อนไข หรือการแข่งกันมองเห็น ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นการตอบสนองพื้นฐานและโดยไม่สมัครใจ ทว่า พระที่เพ่งสมาธิที่ "จุดเดียว" กลับสามารถโฟกัสภาพได้ โดยพระองค์ที่ฝึกสมาธิเคร่งครัดและยาวนานที่สุดสามารถพุ่งความสนใจไปที่ภาพๆ เดียวจากหลายๆ ภาพนานถึง 12 นาที

    "พระเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่า ท่านสามารถสกัดข้อมูลภายนอกได้ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกในการทำความเข้าใจการทำงานของสมอง" โอลิเวีย คาร์เตอร์ (Olivia Carter) จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์กล่าวและเสริมว่า ควรทำการทดลองต่อไปด้วยการใช้เทคนิคการสร้างภาพ เพื่อให้รู้ชัดถึงความแตกต่างในสมองของพระ

    คาร์เตอร์กล่าวต่อไปว่า กระบวนการดังกล่าวจะทำให้นักวิจัยเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่า การทำสมาธิมีอิทธิพลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองอย่างไร ขณะที่คนๆ นั้นตัดสินใจว่าจะสนใจกับบางสิ่ง และกับสิ่งที่เกิดขึ้นขณะที่คนๆ นั้นเลือกที่จะไม่เพ่งพิจารณาข่าวร้าย หรือเลือกที่จะทำใจให้สงบ

    "พระสงฆ์ในพุทธศาสนามักบอกว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้น ท่านจะสามารถย่อยสลายสารและก้าวล่วงไปได้ คนที่ใช้สมาธิ ซึ่งรวมถึงทะไล ลามะเคยกล่าวว่า ความสามารถในการควบคุมและบังคับความคิดของตัวเองเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพจิตใจ"

    ทางด้าน ดร.โทบี คอลลินส์ (Dr Toby Collins) จากออกซ์ฟอร์ด เซนเตอร์ ฟอร์ เดอะ ไซนส์ ออฟ เดอะ ไมนด์ (Oxford Centre for the Science of the Mind) มองคล้ายกันว่า การทำสมาธิเป็นช่องทางในการเข้าสู่กระบวนการควบคุมกิจกรรมในสมอง และว่าแนวคิดที่ว่า การทำสมาธิเป็นการฝึกให้สมองเปิดรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวนั้น สอดคล้องกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ อีกทั้งคอลลินส์เสนอเพิ่มเติมว่า การศึกษาด้วยเทคนิคการสร้างภาพแบบ fMRI (functional magnetic resonance imaging) จะแสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    จาก
    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9480000079218
     

แชร์หน้านี้

Loading...