สถานการณ์การเกิดไฟป่า

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ความรู้เรื่องไฟป่า
    นิยามของไฟ
    “ไฟ” เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากขบวนการทางเคมี เมื่อองค์ประกอบที่จำเป็น 3 ประการ คือ เชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน มารวมตัวกันในสัดส่วนที่เหมาะสมที่จะเกิดการสันดาป(Combustion) และทำให้การสันดาปสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง การสันดาปเป็นปรากฎการณ์ในทางตรงกันข้ามกับการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) โดยที่การสังเคราะห์แสงเป็นการสะสมพลังงานอย่างช้าๆ ในขณะที่การสันดาปเป็นการปลดปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถเปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างชัดเจนจากสมการเคมี ดังนี้
    การสังเคราะห์แสง (Photosynthesis)
    CO<sub>2</sub> + H<sub>2</sub>O+ Solar Energy ® (C<sub>6</sub>H<sub>12</sub>O<sub>5</sub>) <sub>n</sub>+ O<sub>2</sub>
    การสันดาป (Combustion)
    (C<sub>6</sub>H<sub>12</sub>O<sub>5</sub>) <sub>n</sub> + O2 + Kindling Temperature ® CO<sub>2</sub> + H<sub>2</sub>O + Heat


    นิยามของไฟป่า
    US Forest Service อ้างโดย Brown and Davis (1973) ให้คำจำกัดความของไฟป่า ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายว่า “ไฟที่ปราศจากการควบคุม ลุกลามไปอย่างอิสระ แล้วเผาผลาญเชื้อเพลิงธรรมชาติในป่า ได้แก่ ดินอินทรีย์ ใบไม้แห้ง หญ้า กิ่งก้านไม้แห้ง ท่อนไม้ ตอไม้ วัชพืช ไม้พุ่ม ใบไม้สด และในระดับหนึ่งสามารถเผาผลาญต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่

    โดยลักษณะสำคัญที่แยกแยะไฟป่าออกจากไฟที่เผาตามกำหนด (Prescribe Burning) คือ ไฟป่ามีการลุกลามอย่างอิสระ ปราศจากการควบคุม ในขณะที่ไฟที่เกิดจากการเผาตามกำหนดจะมีการควบคุมการลุกลามให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น

    สำหรับประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและขอบเขตการจัดการไฟป่า จึงกำหนดคำนิยามของไฟป่าว่า ไฟที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตาม แล้วลุกลามไปได้โดยอิสระปราศจากการควบคุม ทั้งนี้ไม่ว่าไฟนั้นจะเกิดขึ้นในป่าธรรมชาติหรือสวนป่า”
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    องค์ประกอบของไฟป่า (สามเหลี่ยมไฟ)

    เช่นเดียวกับการเกิดไฟโดยทั่วไป ไฟป่าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบที่จำเป็น 3 ประการ คือเชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน มารวมตัวกันในสัดส่วนที่เหมาะสมที่จะเกิดการสันดาป (Combustion) และทำให้การสันดาปสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสำหรับไฟป่าแล้วองค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้มีลักษณะเฉพาะดังนี้ี้


    1. เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงในการเกิดไฟป่า ได้แก่ อินทรียสารทุกชนิดที่ติดไฟได้ ได้แก่ ต้นไม้ ไม้พุ่ม กิ่งไม้ ก้านไม้ ตอไม้ กอไผ่ ลูกไม้เล็กๆ หญ้า วัชพืช รวมไปถึงดินอินทรีย์ (Peat Soil) และชั้นถ่านหินที่อยู่ใต้ผิวดิน (Coal Seam)


    2. ออกซิเจน ออกซิเจนเป็นก๊าซที่เป็นองค์ประกอบหลักของอากาศโดยทั่วไป ในป่าจึงมีออกซิเจนกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ปริมาณและสัดส่วนของออกซิเจนในอากาศในป่า ณ จุดหนึ่งๆ อาจผันแปรได้บ้างตามการผันแปรของความเร็วและทิศทางลม


    3. ความร้อน แหล่งความร้อนที่ทำให้เกิดไฟป่าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แหล่งความร้อนจากธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า การเสียดสีของกิ่งไม้ การรวมแสงอาทิตย์ผ่านหยดน้ำค้าง ภูเขาไฟระเบิด และแหล่งความร้อนจากมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการจุดไฟในป่าด้วยสาเหตุต่างๆกัน


    องค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ เรียกว่า สามเหลี่ยมไฟ หากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไป ไฟป่าจะไม่เกิดขึ้น หรือไฟป่าที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังลุกลามอยู่ก็จะดับลง ความรู้เรื่องสามเหลี่ยมไฟในข้อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าทั้งวงจร

     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ชนิดของไฟป่า
    การแบ่งชนิดของไฟป่าที่ได้รับการยอมรับและใช้กันมายาวนานนั้น ถือเอาการไหม้เชื้อเพลิงในระดับต่างๆในแนวดิ่ง ตั้งแต่ระดับชั้นดินขึ้นไปจนถึงระดับยอดไม้ เป็นเกณฑ์ การแบ่งชนิดไฟป่าตามเกณฑ์ดังกล่าวทำให้แบ่งไฟป่าออกเป็น 3 ชนิด คือ ไฟใต้ดิน ไฟผิวดิน และไฟเรือนยอด (Brown and Davis,1973)
    1. ไฟใต้ดิน (Ground Fire) คือไฟที่ไหม้อินทรียวัตถุที่อยู่ใต้ชั้นผิวของพื้นป่า เกิดขึ้นในป่าบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าในเขตอบอุ่นที่มีระดับความสูงมากๆ ซึ่งอากาศหนาวเย็นทำให้อัตราการย่อยสลายอินทรียวัตถุต่ำ จึงมีปริมาณอินทรียวัตถุสะสมอยู่บนหน้าดินแท้ (Mineral soil) ในปริมาณมากและเป็นชั้นหนา โดยอินทรียวัตถุดังกล่าวอาจจะอยู่ในรูปของ duff, muck, หรือ peat ในบริเวณที่ชั้นอินทรียวัตถุหนามาก ไฟชนิดนี้อาจไหม้แทรกลงไปใต้ผิวพื้นป่า (Surface Litter)ได้หลายฟุตและลุกลามไปเรื่อยๆใต้ผิวพื้นป่าในลักษณะการครุกรุ่นอย่างช้าๆ ไม่มีเปลวไฟ และมีควันน้อยมาก จึงเป็นไฟที่ตรวจพบหรือสังเกตพบได้ยากที่สุดและเป็นไฟที่มีอัตราการลุกลามช้าที่สุด แต่เป็นไฟที่สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ป่าไม้มากที่สุด เพราะไฟจะไหม้ทำลายรากไม้ ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยทั้งป่าตายในเวลาต่อมา ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นไฟที่ควบคุมได้ยากที่สุดอีกด้วย
    ไฟใต้ดินโดยทั่วไปมักจะเกิดจากไฟผิวดินก่อนแล้วลุกลามลงใต้ผิวพื้นป่า ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนไม่สับสน ในที่นี้จึงขอแบ่งไฟใต้ดินออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ


    1.1 ไฟใต้ดินสมบูรณ์แบบ (True Ground Fire) คือไฟที่ไหม้อินทรียวัตถุอยู่ใต้ผิวพื้นป่าจริงๆ ดังนั้นเมื่อยืนอยู่บนพื้นป่าจึงไม่สามารถตรวจพบไฟได้ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เช่นเครื่องตรวจจับความร้อน เพื่อตรวจหาไฟชนิดนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนของไฟใต้ดินสมบูรณ์แบบ คือ ไฟที่ไหม้ชั้นถ่านหินใต้ดิน (Coal Seam Fire) บนเกาะกาลิมันตันของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงการเกิดปรากฎการณ์ เอล นีนโญ่ ในปี ค.ศ. 1982 ไฟถ่านหินดังกล่าวครุกรุ่นกินพื้นที่ขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ สร้างความยากลำบากในการตรวจหาขอบเขตของไฟและยังไม่สามารถควบคุมไฟได้ทั้งหมดจนถึงปัจจุบันนี้ ในบางพื้นที่กว่าจะทราบว่าไฟดังกล่าวไหม้ผ่านก็ต่อเมื่อไฟไหม้ผ่านไปแล้วเกือบสองปีและต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ทำลายระบบรากเริ่มยืนแห้งตายพร้อมกันทั้งป่า สำหรับประเทศไทยยังไม่เคยพบไฟใต้ดินสมบูรณ์แบบเช่นนี้มาก่อน


    1.2 ไฟกึ่งผิวดินกึ่งใต้ดิน (Semi-Ground Fire) ได้แก่ไฟที่ไหม้ในสองมิติ คือส่วนหนึ่งไหม้ไปในแนวระนาบไปตามผิวพื้นป่าเช่นเดียวกับไฟผิวดิน ในขณะเดียวกันอีกส่วนหนึ่งจะไหม้ในแนวดิ่งลึกลงไปในชั้นอินทรียวัตถุใต้ผิวพื้นป่า ซึ่งอาจไหม้ลึกลงไปได้หลายฟุต ไฟดังกล่าวสามารถตรวจพบได้โดยง่ายเช่นเดียวกับไฟผิวดินทั่วๆไป แต่การดับไฟจะต้องใช้เทคนิคการดับไฟผิวดินผสมผสานกับเทคนิคการดับไฟใต้ดิน จึงจะสามารถควบคุมไฟได้ ตัวอย่างของไฟชนิดนี้ได้แก่ไฟที่ไหม้ป่าพรุในเกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน ของประเทศอินโดนีเซีย และไฟที่ไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง และป่าพรุบาเจาะ ในจังหวัดนราธิวาส ของประเทศไทย (ภาพที่ 1.1)
    [​IMG]
    ภาพที่ 1.1 ไฟกึ่งผิวดินกึ่งใต้ดิน ในป่าพรุ
    2. ไฟผิวดิน (Surface Fire) คือไฟที่ไหม้ลุกลามไปตามผิวดิน โดยเผาไหม้เชื้อเพลิงบนพื้นป่า อันได้แก่ ใบไม้ กิ่งก้านไม้แห้งที่ตกสะสมอยู่บนพื้นป่า หญ้า ลูกไม้เล็กๆ ไม้พื้นล่าง กอไผ่ ไม้พุ่ม (ภาพที่ 1.2) ไฟชนิดนี้เป็นไฟที่พบมากที่สุดและพบโดยทั่วไปในแทบทุกภูมิภาคของโลก ความรุนแรงของไฟจะขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของเชื้อเพลิง โดยทั่วไปไฟชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายต้นไม้ใหญ่ถึงตาย แต่จะทำให้เกิดรอยแผลไฟไหม้ ซึ่งมีผลให้อัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้ลดลง คุณภาพของเนื้อไม้ลดลง ไม้มีรอยตำหนิ และทำให้ต้นไม้อ่อนแอจนโรคและแมลงสามารถเข้าทำอันตรายต้นไม้ได้โดยง่าย
    สำหรับประเทศไทย ไฟป่าส่วนใหญ่จะเป็นไฟชนิดนี้ โดยจะมีความสูงเปลวไฟ ตั้งแต่ 0.5 - 3 เมตร ในป่าเต็งรัง จนถึงความสูงเปลวไฟ 5 - 6 เมตร ในป่าเบญจพรรณที่มีกอไผ่หนาแน่นไฟป่าชนิดนี้ หากสามารถตรวจพบได้ในขณะเพิ่งเกิด และส่งกำลังเข้าไปควบคุมอย่างรวดเร็ว ก็จะสามารถควบคุมไฟได้โดยไม่ยากลำบากนัก แต่หากทอดเวลาให้ยืดยาวออกไปจนไฟสามารถแผ่ขยายออกเป็นวงกว้างมากเท่าไร การควบคุมก็จะยากขึ้นมากเท่านั้น
    [​IMG]
    ภาพที่ 1.2 ไฟผิวดิน
    3. ไฟเรือนยอด (Crown Fire) คือไฟที่ไหม้ลุกลามจากยอดของต้นไม้หรือไม้พุ่มต้นหนึ่งไปยังยอดของต้นไม้หรือไม้พุ่มอีกต้นหนึ่ง (ภาพที่ 1.3) ส่วนใหญ่เกิดในป่าสนในเขตอบอุ่น ไฟชนิดนี้มีอัตราการลุกลามที่รวดเร็วมาก และเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับพนักงานดับไฟป่า ทั้งนี้เนื่องจากไฟมีความรุนแรงมากและมีความสูงเปลวไฟประมาณ 10 - 30 เมตร แต่ในบางกรณีไฟอาจมีความสูงถึง 40 - 50 เมตร โดยเท่าที่ผ่านมาปรากฎว่ามีพนักงานดับไฟป่า จำนวนไม่น้อยถูกไฟชนิดนี้ล้อมจนหมดทางหนีและถูกไฟครอกตายในที่สุด ไฟเรือนยอดโดยทั่วไปอาจต้องอาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อไม่มากก็น้อย ดังนั้น เพื่อความชัดเจน จึงสามารถแบ่งไฟเรือนยอดออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้ดังนี้


    3.1 ไฟเรือนยอดที่ต้องอาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ (Dependent Crown Fire) คือไฟเรือนยอดที่ต้องอาศัยไฟที่ลุกลามไปตามผิวดินเป็นตัวนำเปลวไฟขึ้นไปสู่เรือนยอดของต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ไฟชนิดนี้มักเกิดในป่าที่ต้นไม้ไม่หนาแน่น เรือนยอดของต้นไม้จึงอยู่ห่างกัน แต่บนพื้นป่ามีเชื้อเพลิงอยู่หนาแน่นและต่อเนื่อง การลุกลามของไฟจากยอดไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งต้องอาศัยไฟที่ลุกลามไปตามผิวดินเป็นตัวนำเปลวไฟไปยังต้นไม้ จนต้นไม้ที่ไฟผิวดินลุกลามไปถึงแห้งและร้อนจนถึงจุดสันดาป ลักษณะของไฟชนิดนี้ จะเห็นไฟผิวดินลุกลามไปก่อนแล้วตามด้วยไฟเรือนยอด


    3.2 ไฟเรือนยอดที่ไม่ต้องอาศัยไฟผิวดิน (Running Crown Fire) เกิดในป่าที่มีต้นไม้ที่ติดไฟได้ง่ายและมีเรือนยอดแน่นทึบติดต่อกัน เช่นในป่าสนเขตอบอุ่น การลุกลามจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากเรือนยอดหนึ่งไปสู่อีกเรือนยอดหนึ่งที่อยู่ข้างเคียงได้โดยตรง จึงเกิดการลุกลามไปตามเรือนยอดอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ลูกไฟจากเรือนยอดจะตกลงบนพื้นป่า ก่อให้เกิดไฟผิวดินไปพร้อมๆกันด้วย ทำให้ป่าถูกเผาผลาญอย่างราบพนาสูญ การดับไฟทำได้ยากมาก จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลหนัก และการดับไฟทางอากาศเข้าช่วย
    สำหรับประเทศไทย โอกาสเกิดไฟเรือนยอดเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีความชื้นค่อนข้างสูง ประกอบกับชนิดไม้ป่าส่วนใหญ่ลำต้นไม่มีน้ำมันหรือยาง ซึ่งจะทำให้ติดไฟได้ง่ายเหมือนไม้สนในเขตอบอุ่น อย่างไรก็ตาม ในภาคเหนือของประเทศ ซึ่งมีการปลูกสวนป่าสนสามใบอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานาน จนในปัจจุบันต้นสนเจริญเติบโตจนเรือนยอดแผ่ขยายมาชิดติดกัน ดังนั้นหากเกิดไฟไหม้ในสวนป่าดังกล่าวในช่วงที่อากาศแห้งแล้งอย่างรุนแรง โอกาสที่จะเกิดเป็นไฟเรือนยอด ก็มีความเป็นไปได้สูง
    [​IMG]
    ภาพที่ 1.3 ไฟเรือนยอด
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    รูปร่างของไฟป่า

    ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าขึ้น หากไฟนั้นเกิดบนที่ราบ ไม่มีลม และเชื้อเพลิงมีปริมาณและการกระจายอย่างสม่ำเสมอ ไฟป่าก็จะลุกลามออกไปในทุกทิศทุกทางโดยมีอัตราการลุกลามที่เท่ากันในทุกทิศทาง ทำให้ไฟป่ามีรูปร่างเป็นวงกลมที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป โดยจุดศูนย์กลางของวงกลมคือจุดที่เริ่มเกิดไฟป่าขึ้น นั้นเอง
    แต่ในความเป็นจริง พื้นที่ป่ามักเป็นที่ลาดชันสลับซับซ้อน ปริมาณและการกระจายของเชื้อเพลิงไม่สม่ำเสมอ ประกอบกับเมื่อเกิดไฟป่าจะทำให้อากาศในบริเวณนั้นร้อนขึ้นและลอยตัวขึ้นเหนือกองไฟ อากาศเย็นในบริเวณข้างเคียงจะไหลเข้ามาแทนที่ เกิดเป็นระบบลมของไฟป่านั้นๆ ดังนั้น ไฟป่าในความเป็นจริงจะไม่มีรูปร่างเป็นวงกลม แต่มักจะเป็นรูปวงรี เนื่องจากอัตราการลุกลามของไฟในแต่ละทิศทางจะไม่เท่ากัน ทั้งนี้เกิดจากอิทธิพลของลม หรืออิทธิพลของความลาดชันของพื้นที่ ซึ่งแล้วแต่กรณี โดยรูปร่างของไฟที่ไหม้ไปตามทิศทางของลม จะเป็นไปในทำนองเดียวกับไฟที่ไหม้ขึ้นไปตามลาดเขา
    [​IMG]
    ภาพที่ 1.4 รูปร่างของไฟป่า
    ส่วนต่างๆ ของไฟ (ภาพที่ 1.4) ประกอบด้วย


    1. หัวไฟ (Head) คือส่วนของไฟที่ลุกลามไปตามทิศทางลม หรือลุกลามขึ้นไปตามความลาดชันของภูเขา เป็นส่วนของไฟที่มีอัตราการลุกลามรวดเร็วที่สุด มีเปลวไฟยาวที่สุด มีความรุนแรงของไฟมากที่สุด จึงเป็นส่วนของไฟที่มีอันตรายมากที่สุดด้วยเช่นกัน


    2. หางไฟ (Rear) คือส่วนของไฟที่ไหม้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับหัวไฟ คือไหม้สวนทางลม หรือไหม้ลงมาตามลาดเขา ไฟจึงลุกลามไปอย่างช้าๆ เป็นส่วนของไฟที่เข้าควบคุมได้ง่ายที่สุด


    3. ปีกไฟ (Flanks) คือส่วนของไฟที่ไหม้ตั้งฉากหรือขนานไปกับทิศทางหลักของหัวไฟ ปีกไฟแบ่งเป็นปีกซ้ายและปีกขวา โดยกำหนดปีกซ้ายปีกขวาจากการยืนที่หางไฟแล้วหันหน้าไปทางหัวไฟ ปีกไฟโดยทั่วไปจะมีอัตราการลุกลามและความรุนแรงน้อยกว่าหัวไฟ แต่มากกว่าหางไฟ


    4. นิ้วไฟ (Finger) คือส่วนของไฟที่เป็นแนวยาวแคบๆ ยื่นออกไปจากตัวไฟหลัก นิ้วไฟแต่ละนิ้วจะมีหัวไฟและปีกไฟของมันเอง นิ้วไฟเกิดจากเงื่อนไขของลักษณะเชื้อเพลิง และลักษณะความลาดชันของพื้นที่


    5. ขอบไฟ (Edge) คือขอบเขตของไฟป่านั้นๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงที่ไฟกำลังไหม้ลุกลามอยู่ หรือเป็นช่วงที่ไฟนั้นได้ดับลงแล้วโดยสิ้นเชิง


    6. ง่ามไฟ (Bay) คือส่วนของขอบไฟที่อยู่ระหว่างนิ้วไฟ ซึ่งจะมีอัตราการลุกลามช้ากว่านิ้วไฟ ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขของลักษณะเชื้อเพลิง และลักษณะความลาดชันของพื้นที่
    7. ลูกไฟ (Jump Fire or Spot Fire) คือส่วนของไฟที่ไหม้นำหน้าตัวไฟหลัก โดยเกิดจากการที่สะเก็ดไฟจากตัวไฟหลักถูกลมพัดให้ปลิวไปตกหน้าแนวไฟหลักและเกิดลุกไหม้กลายเป็นไฟป่าขึ้นอีกหนึ่งไฟ
    สำหรับประเทศไทย ศิริ (2531) ได้ศึกษารูปร่างและอัตราการลุกลามของส่วนต่างๆของไฟในป่าเบญจพรรณ ซึ่งพบว่า บนพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย ไฟจะมีรูปทรงรีกว้าง ค่อนไปทางวงกลม ในทางตรงกันข้ามบนพื้นที่ลาดชันสูง ไฟจะมีรูปทรงรีที่แคบและเรียวยาว สำหรับอัตราการลุกลามของไฟนั้น พบว่าหัวไฟจะมีอัตราการลุกลามที่รวดเร็วกว่าปีกไฟและหางไฟมาก โดยหัวไฟมีอัตราการลุกลามเป็น 7.45 เท่า และ 8.72 เท่า ของปีกไฟและหางไฟตามลำดับ ส่วนปีกไฟมีอัตราการลุกลามรวดเร็วกว่าหางไฟเล็กน้อย คือมีอัตราการลุกลามเป็น 1.25 เท่าของหางไฟ สำหรับในป่าเต็งรังนั้น ศิริ (2532) พบว่าหัวไฟมีอัตราการลุกลามเป็น 4.90 เท่า และ 7.50 เท่า ของปีกไฟและหางไฟตามลำดับ ส่วนปีกไฟมีอัตราการลุกลามรวดเร็วกว่าหางไฟเล็กน้อย คือมีอัตราการลุกลามเป็น 1.50 เท่าของหางไฟ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    พฤติกรรมของไฟป่า

    พฤติกรรมของไฟป่า (Forest Fire Behavior) เป็นคำที่ใช้พรรณนาลักษณะการลุกลามและขยายตัวของไฟป่าภายหลังจากการสันดาปซึ่งจะเป็นไปตามสภาวะแวดล้อมในขณะนั้น ทำให้ไฟป่าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปตามสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน การผันแปรของพฤติกรรมไฟป่าดังกล่าว ทำให้พนักงานดับไฟป่าที่มีประสบการณ์สูงส่วนมากมักจะกล่าวว่า ไม่มีไฟป่าใดๆที่แสดงพฤติกรรมเหมือนกันเลย
    พฤติกรรมของไฟป่าที่สำคัญ
    ได้แก่ อัตราการลุกลามของไฟ (Rate of Spread) ความรุนแรงของไฟ (Fire Intensity) และความยาวเปลวไฟ (Flame Length)
    1. อัตราการลุกลามของไฟ วัดเป็นหน่วยระยะทางต่อเวลา เช่น เมตร/นาที หรือวัดเป็นหน่วยพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ต่อระยะเวลา เช่น ไร่/นาที
    2. ความรุนแรงของไฟ เป็นการวัดอัตราการปลดปล่อยพลังงานจากเชื้อเพลิงที่ถูกไฟไหม้ โดยทั่วไปนิยมคำนวณค่าความรุนแรงของไฟจากสูตรสำเร็จของ Byram ซึ่งเป็นการวัดอัตราการปลดปล่อยพลังงานต่อหน่วยระยะทางการลุกลามของแนวหัวไฟ (Btu/ft/sec or kw/m) หรือสูตรสำเร็จของ Rothermel ซึ่งเป็นการวัดอัตราการปลดปล่อยพลังงานต่อหน่วยพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ (Btu/ft<sup>2</sup>/sec or kj/m<sup>2</sup>/min)
    3. ความยาวเปลวไฟ คือระยะจากกึ่งกลางฐานของไฟซึ่งติดกับผิวดินถึงยอดของเปลวไฟ มีหน่วยวัดเป็นเมตรหรือฟุต
    ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของไฟป่า
    ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่า มีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ลักษณะเชื้อเพลิง ลักษณะอากาศ และลักษณะภูมิประเทศ
    1. ลักษณะเชื้อเพลิง 1.1 ขนาดของเชื้อเพลิง ขนาดของเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่กำหนดอัตราการสันดาปของเชื้อเพลิง โดยถ้าเชื้อเพลิงมีพื้นที่ผิวต่อหน่วยปริมาตรมาก อัตราการสันดาปจะช้ากว่าเชื้อเพลิงที่มีพื้นที่ผิวต่อหน่วยปริมาตรน้อย ดังนั้นเชื้อเพลิงที่มีขนาดเล็ก เช่น ใบไม้แห้ง กิ่งก้านไม้แห้ง และหญ้าจะติดไฟง่ายกว่าและลุกลามได้รวดเร็วกว่า ในทางตรงข้ามเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ เช่น กิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่ ท่อนไม้ ตอไม้ ไม้ยืนตาย จะติดไฟยากกว่า และลุกลามไปอย่างช้าๆ แต่มีความรุนแรงมากกว่า
    1.2 ปริมาณหรือน้ำหนักของเชื้อเพลิง ปริมาณหรือน้ำหนักของเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มีผลโดยตรงต่อความรุนแรงของไฟ โดยหากมีเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ไฟก็จะมีความรุนแรงมาก และปลดปล่อยพลังงานความร้อนออกมามากด้วยเช่นกัน ปริมาณของเชื้อเพลิงมีการผันแปรอย่างมากตามความแตกต่างของชนิดป่า และความแตกต่างของพื้นที่ เช่น ปริมาณเชื้อเพลิงในป่าเต็งรัง จังหวัดสกลนคร เท่ากับ 4,133 กิโลกรัม/เฮกแตร์ (ศุภรัตน์, 2535) ในขณะที่ป่าเต็งรัง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณเชื้อเพลิง ถึง 5,190 กิโลกรัม/เฮกแตร์ (ศิริ และ สานิตย์, 2535) (ภาพที่ 1.5) และในป่าเบญจพรรณ จังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีปริมาณเชื้อเพลิง 5,490 กิโลกรัม/เฮกแตร์ (ศิริ, 2537)
    1.3 ความหนาของชั้นเชื้อเพลิง หากเชื้อเพลิงมีการสะสมตัวกันมาก ชั้นของเชื้อเพลิงจะมีความหนามาก ทำให้เกิดน้ำหนักกดทับให้เชื้อเพลิงเกิดการอัดแน่นตัว มีปริมาณเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ทำให้ไฟที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าชั้นของเชื้อเพลิงหนาเกินไปมีการอัดแน่นจนไม่มีช่องให้ออกซิเจนแทรกตัวเข้าไป การลุกลามก็จะเป็นไปได้ยากและเป็นไปอย่างช้าๆในขณะเดียวกัน ความหนาของชั้นเชื้อเพลิงมีผลโดยตรงต่อความยาวเปลวไฟ คือถ้าชั้นเชื้อเพลิงหนามาก ความยาวเปลวไฟก็จะยาวมากตามไปด้วย 1.4 การจัดเรียงตัวและความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดอัตราการลุกลามและความต่อเนื่องของการลุกลามของไฟ หากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวอยู่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกันทั่วพื้นทิ่ ไฟก็จะสามารถลุกลามไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว แต่ถ้าหากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ กระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ การลุกลามของไฟก็จะหยุดชะงักเป็นช่วงๆ และไฟเคลื่อนที่ไปได้ค่อนข้างช้า
    ความชื้นของเชื้อเพลิง มีอิทธิพลต่อการติดไฟและการลุกลามของไฟ คือถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นสูงจะติดไฟยากและการลุกลามเป็นไปอย่างช้าๆ ในทางตรงข้ามถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นต่ำก็จะติดไฟง่ายและลุกลามไปได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม Heikkila et.al. (1993) พบว่าถ้าความชื้นของเชื้อเพลิงต่ำกว่า 5 % ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงนั้นไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็จะมีอัตราการลุกลามเท่ากัน แต่ที่ถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นอยู่ระหว่าง 5 - 15 % ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงนั้นที่มีขนาดเล็กจะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วกว่าเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ สำหรับที่ระดับความชื้นของเชื้อเพลิงมากกว่า 15 % ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงขนาดใหญ่จะยังคงลุกไหม้และลุกลามต่อไปได้ ในขณะที่ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงขนาดเล็กจะดับลงด้วยตัวเอง จากการศึกษาของศิริ (2538) ในป่าเต็งรัง
    [​IMG]
    ภาพที่ 1.5 ลักษณะของเชื้อเพลิงในป่าเต็งรัง
    1. ลักษณะอากาศ ลักษณะอากาศเป็นปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้พฤติกรรมของไฟป่าผันแปรอยู่ตลอดเวลาตามไปด้วย ดังนั้นในการคาดคะเนพฤติกรรมไฟป่า จะต้องมีการตรวจวัดลักษณะอากาศอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถคาดคะเนพฤติกรรมไฟป่าในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้พฤติกรรมของไฟป่ายังเป็นผลลัพธ์จากปฏิกริยาร่วมของปัจจัยลักษณะอากาศหลายๆ ปัจจัย ดังนั้น การคาดคะเนพฤติกรรมไฟป่าจะใช้เกณฑ์จากปัจจัยลักษณะอากาศเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ ปัจจัยลักษณะอากาศที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าเป็นอย่างมาก ได้แก่
    2.ความชื้นสัมพัทธ์โดยทั่วไปแล้วความชื้นสัมพัทธ์จะมีความสัมพันธ์เป็นปฏิภาคตรงกับความชื้นของเชื้อเพลิง ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูง ความชื้นของเชื้อเพลิงก็จะสูงตามไปด้วย จึงติดไฟยาก การลุกลามไปได้ช้า และมีความรุนแรงน้อย แต่ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ความชื้นของเชื้อเพลิงก็จะต่ำตามไปด้วย ทำให้เชื้อเพลิงนั้นติดไฟง่าย การลุกลามรวดเร็ว และมีความรุนแรงมาก โดยศิริ และ สานิตย์ (2535) พบว่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นของเชื้อเพลิงในป่าเต็งรัง จังหวัดเชียงใหม่ถึงร้อยละ 54.31 ในขณะที่ศุภรัตน์ (2535) พบว่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นของเชื้อเพลิงในป่าเต็งรัง จังหวัดสกลนครถึงร้อยละ 89.00 ยิ่งไปกว่านั้น ศิริ (2534) ยังพบว่าในทุ่งหญ้าซึ่งเชื้อเพลิงส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงเบานั้น ความชื้นสัมพัทธ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงของไฟมากที่สุด คือมีอิทธิพลถึงร้อยละ 82.98 Heikkila et.al. (1993) กำหนด Rules of Thumb ในเรื่องความชื้นสัมพัทธ์นี้ว่า
    (1) เมื่ออุณหภูมิลดลงทุกๆ 20 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นทุกๆ 20 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงครึ่งหนึ่ง
    (2) ที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 30 % ถือเป็นจุดอันตรายของไฟป่า
    (3) ถ้าระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 30 % จะควบคุมไฟได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าระดับความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 30 % จะควบคุมไฟได้ค่อนข้างยาก
    (4) ความชื้นสัมพัทธ์ผันแปรไปตามช่วงเวลาของวัน ความชื้นสัมพัทธ์จะสูงสุดในช่วงเช้ามืด และต่ำสุดในช่วงบ่าย
    2.2 อุณหภูมิอุณหภูมิมีอิทธิพลโดยตรงต่อความชื้นของเชื้อเพลิง อุณหภูมิยิ่งสูง เชื้อเพลิงยิ่งแห้งและยิ่งติดไฟง่ายขึ้น การศึกษาที่ป่าเต็งรัง จังหวัดสกลนครพบว่า อุณหภูมิมีความสัมพันธ์กับปริมาณความชื้นของเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ศุภรัตน์, 2535) และจากการศึกษาของชนะชัย (2538) พบว่าอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของไฟในป่าเต็งรัง จังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด นอกจากนั้นอุณหภูมิยังมีความสัมพันธ์เป็นปฏิภาคผกผันกับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศอีกด้วย
    ลมลมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าในหลายทางคือ เป็นตัวช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ไฟป่า เป็นตัวการทำให้เชื้อเพลิงแห้งอย่างรวดเร็ว พัดลูกไฟไปตกหน้าแนวไฟเดิม เกิดเป็นไฟป่าขึ้นใหม่ และเป็นตัวกำหนดและเปลี่ยนแปลงทิศทางและอัตราการลุกลามของไฟไปตามทิศทางและความเร็วของลม ในกรณีของไฟเรือนยอด หรือไฟในทุ่งหญ้า หรือไฟผิวดินในป่าที่ค่อนข้างโล่ง ลมโดยเฉพาะลมบนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของไฟเป็นอย่างมาก (ภาพที่ 1.6) แต่สำหรับไฟผิวดินในป่าที่มีต้นไม้ค่อนข้างแน่นทึบ ลมบนแทบจะไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าเลย ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อลมพัดผ่านเข้าไปในป่า จะถูกต้นไม้ปะทะเอาไว้ทำให้ความเร็วของลมที่พัดผ่านป่าที่ระดับใกล้ผิวดินลดลงมาก และมีค่าค่อนข้างสม่ำเสมอ
    ความเร็วลมจะมีค่าสูงสุดในช่วงกลางวัน และลดลงในเวลาเย็น สำหรับพื้นที่ที่เป็นลาดเขา ลมจะพัดขึ้นเขาในเวลากลางวัน และพัดลงเขาในเวลากลางคืน นอกจากนั้นเพื่อความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงานดับไฟป่า พนักงานดับไฟป่าจะต้องคำนึงไว้เสมอว่าเมื่อความเร็วลมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า อัตราการลุกลามของไฟตามทิศทางลมจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าเสมอ
    (2) ลมที่พัดขึ้นไปตามร่องเขา จะมีกำลังและความเร็วสูงกว่าลมที่พัดขึ้นไปตามลาดเขาปกติมาก ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากปรากฎการณ์ ปล่องควันไฟ (Chimney Effect) ซึ่ง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของพนักงานดับไฟป่า จำนวน 5 นาย ที่จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งถือเป็นโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของงานควบคุมไฟป่าในประเทศไทย
    [​IMG]
    ภาพที่ 1.6 อิทธิพลของลมทำให้ไฟป่ามีความรุนแรงมากว่าปกติ
    2.4 ปฏิกิริยาร่วมของปัจจัยลักษณะอากาศดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าพฤติกรรมของไฟป่าเป็นผลลัพธ์จากปฏิกิริยาร่วมของปัจจัยลักษณะอากาศหลายๆ ปัจจัยรวมกัน จึงทำให้สรุปได้ว่า
    (1) ไฟป่าจะมีอันตรายมากที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 18.00 น. เพราะเป็นช่วงที่ความเร็วลมสูง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และอุณหภูมิสูง
    (2) ไฟป่าจะมีอันตรายน้อยที่สุดในช่วงเวลากลางคืน ระหว่างเวลา 02.00น. ถึง 06.00 น. เพราะเป็นช่วงที่ความเร็วลมต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และอุณหภูมิต่ำ
    3. ลักษณะภูมิประเทศ
    ลักษณะภูมิประเทศเป็นปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด จึงเป็นปัจจัยที่ค่อนข้างคงที่ ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมของไฟป่า โดยมีผลต่อเชื้อเพลิงและลักษณะอากาศ ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าเป็นอย่างมาก ได้แก่
    3.1 ความลาดชัน (Slope) ความลาดชันมีอิทธิพลโดยตรงต่อทิศทางและอัตราการลุกลามของไฟ ไฟที่ลุกลามขึ้นไปตามลาดเขาจะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วและมีความรุนแรงกว่าไฟบนที่ราบเป็นอย่างมาก ยิ่งความลาดชันมากเท่าไร อัตราการลุกลามของไฟก็ยิ่งมากตามไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากมีการพาความร้อนผ่านอากาศขึ้นไปทำให้เชื้อเพลิงด้านบนแห้งไว้ก่อนแล้วจึงติดไฟได้รวดเร็ว และแนวของเปลวไฟก็อยู่ใกล้เชื้อเพลิงที่อยู่ข้างหน้ามากกว่า จากการศึกษาของศิริ (2532) พบว่า ที่ความลาดชัน 15-17 % ถ้าความลาดชันเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 % อัตราการลุกลามของไฟจะเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวของอัตราการลุกลามที่ความลาดชัน 15-17 % นั้น
    ไฟที่ไหม้ขึ้นไปตามลาดเขาจะมีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายกับไฟที่ไหม้ไปตามอิทธิพลของลม โดยทั่วไปไฟจะไหม้ขึ้นเขาในเวลากลางวัน และไหม้ลงเขาในเวลากลางคืน ตามทิศทางการพัดของลมภูเขา ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ขึ้นเขาในเวลากลางคืน จะพบว่าอัตราการลุกลามช้ากว่าไฟไหม้ขึ้นเขาในเวลากลางวันมาก ทั้งนี้เนื่องจากไฟต้องไหม้ทวนทิศทางลม ในทางตรงกันข้าม ไฟที่ไหม้ลงเขาในเวลากลางคืน จะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วกว่าไฟไหม้ลงเขาในเวลากลางวันมาก ทั้งนี้เนื่องจากไฟจะไหม้ไปตามทิศทางลม
    3.2 ทิศด้านลาด (Aspect) คือการบอกทิศทางของพื้นที่ที่มีความลาดชันนั้นๆ ว่าหันไปทางทิศใด พื้นที่ลาดชันที่หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะรับแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันทำให้พื้นที่มีความแห้งแล้งกว่าพื้นที่ในทิศด้านลาดอื่นๆ เชื้อเพลิงจึงแห้ง ติดไฟง่ายและไฟลุกลามได้รวดเร็วกว่าบนทิศด้านลาดอื่นๆ
    นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยภูมิประเทศอื่นๆ ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าด้วย เช่น ระดับความสูงของพื้นที่มีผลต่ออุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน และชนิดของพืชพรรณ ภูมิประเทศที่ไม่สม่ำเสมอ เช่นหุบเขาทำให้เกิดลักษณะอากาศเฉพาะที่ (Microclimate) ทำให้กระแสลมปั่นป่วน ทำให้เกิดลมหมุนและลมหวน หุบเขาแคบๆหรือร่องเขาทำหน้าที่คล้ายปล่องควันที่ช่วยเร่งความเร็วของกระบวนการพาความร้อน อันเป็นการเร่งอัตราการสันดาปอีกทอดหนึ่ง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ทฤษฎีในการควบคุมไฟป่า

    การควบคุมไฟป่า (Forest Fire Control) หมายถึงระบบการจัดการและแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างครบวงจร กล่าวคือเริ่มต้นตั้งแต่การป้องกันมิให้เกิดไฟป่า โดยศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดไฟป่าในแต่ละท้องที่ แล้ววางแผนป้องกันหรือกำจัดต้นตอของสาเหตุนั้นเสีย หากได้ผลไฟป่าก็จะไม่เกิด แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แม้จะมีการป้องกันไฟป่าได้ดีเพียงใด ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซนต์ ไฟป่ายังมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆรองรับตามมา ได้แก่การเตรียมการดับไฟป่า การตรวจหาไฟ การดับไฟป่า และการประเมินผลปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าไฟก็มีประโยชน์ในการจัดการป่าไม้ ในหลายๆด้าน ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ประโยชน์จากไฟควบคู่กันไปด้วย กิจกรรมในระบบการควบคุมไฟป่า มีดังนี้
    1. การป้องไฟป่า (Prevention)
    คือความพยายามในทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้น ในทางทฤษฎีคือการแยกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกจากสามเหลี่ยมไฟ ในทางปฏิบัติดำเนินการได้ ดังนี้
    1.1 แยกความร้อน ความร้อนที่ทำให้เกิดไฟป่ามาจาก 2 แหล่ง คือจากธรรมชาติ และจากมนุษย์ แหล่งความร้อนที่มาจากธรรมชาติ เช่น จากฟ้าผ่า สามารถป้องกันได้ยาก แต่แหล่งความร้อนที่มาจากมนุษย์สามารถป้องกันได้ คือป้องกันมิให้คนจุดไฟเผาป่า โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องไฟป่า เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบและอันตรายที่เกิดจากไฟป่า เพื่อให้เลิกจุดไฟเผาป่า หรือใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับมิให้ประชาชนจุดไฟเผาป่า เป็นต้น
    1.2 แยกเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดไฟป่า ได้แก่ ใบไม้ กิ่งก้านไม้แห้งที่หล่นทับถมอยู่บนพื้นป่า หญ้า ไม้พุ่ม ท่อนไม้ ตอไม้ รวมไปถึงต้นไม้ที่มีอยู่ในป่า การแยกเชื้อเพลิงในป่าออกจากสามเหลี่ยมไฟ สามารถทำได้ในระดับหนึ่ง โดยการชิงเผาเพื่อกำจัดหรือลดปริมาณเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ เพื่อตัดช่วงความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง
    1.3 แยกอากาศ คือแยกออกซิเจนออกจากสามเหลี่ยมไฟ แต่โดยทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้ยากมาก เพราะออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลักของอากาศที่ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป จึงไม่สามารถที่จะควบคุมหรือกำจัดออกไปจากบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่ต้องการได้
    2. การเตรียมการดับไฟป่า (Pre-suppression) แม้จะมีมาตรการป้องกันไฟป่าที่ดีเพียงใด แต่ไฟป่าก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับดับไฟที่เกิดขึ้นให้ดับลงอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความสูญเสียของป่าไม้และสิ่งแวดล้อมให้มีน้อยที่สุด การเตรียมการดับไฟป่า จะต้องเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะถึงฤดูไฟป่า โดยมีขั้นตอน ดังนี้
    2.1 เตรียมพนักงานดับไฟป่า โดยการเกณฑ์กำลังพลเพื่อการดับไฟป่า จัดฝึกอบรมให้มีความรู้และทักษะในการดับไฟป่า เพื่อให้มีความพร้อมและมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย (ภาพที่ 1.8) 2.2 จัดองค์กรดับไฟป่า โดยการจัดหมวดหมู่ของพนักงานดับไฟป่า แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และจัดสายการบังคับบัญชาเพื่อประสิทธิภาพและป้องกันความสับสนในระหว่างปฏิบัติงาน
    2.3 เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่า โดยการจัดหา หรือซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่าทุกชนิด รวมไปถึงเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์การสื่อสาร ยานพาหนะ อุปกรณ์การยังชีพในป่า อุปกรณ์การปฐมพยาบาล ให้เพียงพอและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ทันที
    [​IMG]
    ภาพที่ 1.8 การฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานดับไฟป่า
    2.4 เตรียมแผนการควบคุมไฟป่า ซึ่งประกอบด้วยแผนดับไฟป่า แผนส่งกำลังบำรุง แผนรักษาความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
    1. การตรวจหาไฟ (Detection)
    เมื่อถึงฤดูไฟป่า จะต้องจัดระบบการตรวจหาไฟ เพื่อให้ทราบว่ามีไฟไหม้ป่าขึ้นที่ใดการตรวจหาไฟมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะยิ่งตรวจพบไฟเร็วเท่าใดโอกาสที่จะควบคุมไฟนั้นไว้ได้ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
    2. การดับไฟป่า (Suppression)
    การดับไฟป่าเป็นขั้นตอนของงานควบคุมไฟป่าที่หนักที่สุด และเสี่ยงอันตรายที่สุด การดับไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ถือว่าเป็นศิลปะชั้นสูงมากกว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่สามารถจะเขียนหรือกำหนดเทคนิควิธีการดับไฟป่าที่แน่นอนตายตัวได้ หากแต่ทุกอย่างจะต้องพลิกแพลงไปตามสถานการณ์และพฤติกรรมของไฟที่สามารถผันแปรและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    3. การใช้ประโยชน์จากไฟ (Use of Fire) ได้แก่การใช้ไฟเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ในการจัดการป่าไม้ ได้แก่ การกำจัดชนิดพรรณไม้ที่ไม่ต้องการ การส่งเสริมการงอกของเมล็ดไม้บางชนิด การลดปริมาณโรคและแมลง และการจัดการสัตว์ป่า เป็นต้น แต่การใช้ไฟดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้แผนการควบคุมที่ถูกต้องและรัดกุมตามหลักวิชาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อป่าไม้และสิ่งแวดล้อมมากเกินขอบเขตที่ยอมรับได้
    4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation) โดยการประเมินผลการปฏิบัติงานในทุกๆ ขั้นตอน รวมถึงการประเมินความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ป่าด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนงานควบคุมไฟป่าให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งๆ ขึ้น
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    นโยบายและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาไฟป่า

    สถานการณ์ของปัญหาไฟป่า
    ในประเทศไทย แม้จะยังไม่มีการศึกษาถึงประวัติการเกิดไฟป่าอย่างจริงจังมาก่อน แต่จากการศึกษาประวัติการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่มีอายุนับร้อยปี โดยการวิเคราะห์วงปี ก็พบหลักฐานว่าได้เกิดไฟป่าขึ้นหลายครั้งในช่วงชีวิตของต้นไม้นั้นๆ จึงพออนุมานได้ว่าอย่างน้อยที่สุดก็มีไฟไหม้ป่ามาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว
    อย่างไรก็ตาม ในอดีตเป็นเพราะว่ายังมีป่าไม้อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าประเภทที่มีความชุ่มชื้นสูง เช่นป่าดิบชนิดต่างๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับประชากรมีน้อย กิจกรรมของมนุษย์ที่เข้าไปรบกวนระบบนิเวศของป่าจึงมีน้อย ไฟป่าที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์มีไม่บ่อยนัก จึงอยู่ในวิสัยที่กลไกของธรรมชาติจะปรับตัวเพื่อรักษาสภาวะสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้เอาไว้ได้
    [​IMG]
    ภาพที่ 2.1 ในแต่ละปี ป่าหลายล้านไร่ ได้รับความเสียหายจากไฟป่า


    หากแต่ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้ความจำเป็นในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้มีมากขึ้นตามไปด้วย ป่าไม้ถูกแผ้วถางเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นที่ตั้งและขยายชุมชน สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้พื้นที่ป่าถูกทำลายลงเป็นอันมาก และป่าที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและเปลี่ยนแปลงไปสู่ป่าประเภทที่มีความชุ่มชื้นน้อยลง เช่นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ และป่าหญ้า ซึ่งเป็นป่าที่เกิดไฟป่าได้ง่าย ประกอบกับความยากจนในชนบท บีบบังคับให้ประชาชนต้องอาศัยป่าเพื่อการยังชีพมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการเก็บหาของป่า ล่าสัตว์ บุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตร กิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องใช้ไฟและเป็นสาเหตุให้เกิดไฟป่า ไฟป่าจากกิจกรรมของประชาชนมีความถี่และความรุนแรงมากเกินกว่าที่กลไกธรรมชาติจะปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้เอาไว้ได้ ไฟป่าจึงกลายเป็นปัจจัยที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ไฟป่ากลายเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ที่ทุกฝ่ายตระหนักและห่วงใยอยู่ในขณะนี้ (ภาพที่ 2.1)
    การสำรวจความเสียหายจากไฟป่า มีขึ้นครั้งแรกในปี 2514 เมื่อ Mr. J.C.Macleod ผู้เชี่ยวชาญไฟป่าจากประเทศแคนาดา ได้เข้ามาศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ไฟป่าในประเทศไทย และได้ประเมินว่า มีไฟไหม้ป่าในประเทศไทยประมาณปีละ 117 ล้านไร่ โดยส่วนใหญ่เกิดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ต่อมา ในระหว่างปี 2527-2529 กรมป่าไม้ได้ใช้เครื่องบินสำรวจพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ทั่วประเทศ พบว่ามีพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ถึงปีละ 19.48 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 20.92 % ของพื้นที่ป่าทั่วประเทศ (ตารางที่ 2.1) ในปี 2535 ได้มีการสำรวจทางอากาศอีกครั้งหนึ่ง พบว่ามีพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ 12.13 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 14.85 % ของพื้นที่ป่าทั่วประเทศ (ตารางที่ 2.2)

    ตารางที่ 2.1 พื้นที่ไฟไหม้ป่าทั่วประเทศ เฉลี่ยในช่วง 3 ปี (2527-2529)
    <center> <table border="1" cellpadding="7" cellspacing="1" width="590"> <tbody><tr> <td rowspan="2" valign="top" width="9%">
    ลำดับที่
    </td> <td rowspan="2" valign="top" width="26%">
    ภาค
    </td> <td rowspan="2" valign="top" width="19%">
    พื้นที่ป่า *
    (ไร่)
    </td> <td colspan="2" valign="top" width="46%">
    พื้นที่ไฟไหม้ป่า (เฉลี่ย 3 ปี) ปีละ
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="16%">
    ไร่
    </td> <td valign="top" width="30%">
    % ของพื้นที่ป่าทั้งหมด
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    1
    </td> <td valign="top" width="26%"> เหนือ
    </td> <td valign="top" width="19%">
    52,578,750
    </td> <td valign="top" width="16%">
    12,981,693
    </td> <td valign="top" width="30%">
    24.69
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    2
    </td> <td valign="top" width="26%"> ตะวันออกเฉียงเหนือ
    </td> <td valign="top" width="19%">
    15,140,000
    </td> <td valign="top" width="16%">
    2,925,048
    </td> <td valign="top" width="30%">
    19.32
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    3
    </td> <td valign="top" width="26%"> กลาง
    </td> <td valign="top" width="19%">
    15,761,250
    </td> <td valign="top" width="16%">
    2,151,512
    </td> <td valign="top" width="30%">
    13.65
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    4
    </td> <td valign="top" width="26%"> ใต้
    </td> <td valign="top" width="19%">
    9,678,125
    </td> <td valign="top" width="16%">
    1,450,426
    </td> <td valign="top" width="30%">
    14.78
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%"> </td> <td valign="top" width="26%"> รวม
    </td> <td valign="top" width="19%">
    93,158,125
    </td> <td valign="top" width="16%">
    19,488,679
    </td> <td valign="top" width="30%">
    20.92
    </td> </tr> </tbody></table> </center> หมายเหตุ : * พื้นที่ป่าเป็นข้อมูลปี 2528


    ตารางที่ 2.2 พื้นที่ไฟไหม้ป่าทั่วประเทศ ในปี 2535
    <center> <table border="1" cellpadding="7" cellspacing="1" width="590"> <tbody><tr> <td rowspan="2" valign="top" width="9%">
    ลำดับที่
    </td> <td rowspan="2" valign="top" width="26%">
    ภาค
    </td> <td rowspan="2" valign="top" width="19%">
    พื้นที่ป่า *
    (ไร่)
    </td> <td colspan="2" valign="top" width="46%">
    พื้นที่ไฟไหม้ป่า (เฉลี่ย 3 ปี) ปีละ
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="16%">
    ไร่
    </td> <td valign="top" width="30%">
    % ของพื้นที่ป่าทั้งหมด
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    1
    </td> <td valign="top" width="26%"> เหนือ
    </td> <td valign="top" width="19%">
    48,214,357
    </td> <td valign="top" width="16%">
    8,770,665
    </td> <td valign="top" width="30%">
    18.91
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    2
    </td> <td valign="top" width="26%"> ตะวันออกเฉียงเหนือ
    </td> <td valign="top" width="19%">
    13,624,192
    </td> <td valign="top" width="16%">
    1,405,784
    </td> <td valign="top" width="30%">
    11.16
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    3
    </td> <td valign="top" width="26%"> กลาง
    </td> <td valign="top" width="19%">
    15,192,145
    </td> <td valign="top" width="16%">
    1,313,607
    </td> <td valign="top" width="30%">
    8.90
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%">
    4
    </td> <td valign="top" width="26%"> ใต้
    </td> <td valign="top" width="19%">
    8,405,509
    </td> <td valign="top" width="16%">
    640,394
    </td> <td valign="top" width="30%">
    8.27
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="9%"> </td> <td valign="top" width="26%"> รวม
    </td> <td valign="top" width="19%">
    85,436,284
    </td> <td valign="top" width="16%">
    12,130,450
    </td> <td valign="top" width="30%">
    14.85
    </td> </tr> </tbody></table> </center> หมายเหตุ : * พื้นที่ป่าเป็นข้อมูลปี 2534


    หลังจากนั้นก็ยังไม่มีการสำรวจพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ทางอากาศอีก อย่างไรก็ตามจากการเก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงานดับไฟป่าในแต่ละปี ทำให้สามารถประมาณการพื้นที่ไฟไหม้ป่าทั่วประเทศ ในแต่ละปี ได้ดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 2.3

    ตารางที่ 2.3 ประมาณการพื้นที่ไฟไหม้ป่าทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2536-2542
    <center> <table border="1" cellpadding="7" cellspacing="1" width="340"> <tbody><tr> <td valign="top" width="46%">
    ปี
    </td> <td valign="top" width="54%">
    พื้นที่ถูกไฟไหม้ (ไร่)
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="46%">
    2536
    </td> <td valign="top" width="54%">
    9,122,609
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="46%">
    2537
    </td> <td valign="top" width="54%">
    4,772,800
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="46%">
    2538
    </td> <td valign="top" width="54%">
    4,023,784
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="46%">
    2539
    </td> <td valign="top" width="54%">
    3,064,394
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="46%">
    2540
    </td> <td valign="top" width="54%">
    4,126,298
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="46%">
    2541
    </td> <td valign="top" width="54%">
    7,159,074
    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="46%">
    2542
    </td> <td valign="top" width="54%">
    2,549,775
    </td></tr></tbody></table></center>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ทัศนคติของประชาชนต่อปัญหาไฟป่า

    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทอีกเป็นจำนวนมาก คิดว่าไฟป่าไม่มีอันตรายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมมากเท่าไรนัก ด้วยเกิดความเคยชินกับการเห็นไฟไหม้ป่าเป็นประจำทุกปี โดยเห็นว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมีความรุนแรงน้อย มิได้ทำอันตรายต่อต้นไม่ใหญ่มากนัก ส่วนใหญ่มีเพียงหญ้า ลูกไม้เล็กๆ และไม้พื้นล่างอื่นๆ เท่านั้นที่ถูกไฟไหม้ตาย อย่างไรก็ตามหลังจากไฟไหม้ เมื่อฤดูฝนมาถึงไม้เล็กๆที่ถูกไฟไหม้ตายไปเหล่านี้ก็สามารถแตกหน่องอกงามขึ้นมาใหม่ ทำให้พื้นป่ากลับเขียวขจีขึ้นมาอีกครั้ง จนดูราวกับว่าไฟป่ามิได้สร้างความเสียหายให้กับป่าไม้แต่อย่างไรเลย ยิ่งประชาชนที่อยู่ในชุมชนเมืองห่างไกลจากป่า นอกจากจะไม่ค่อยทราบถึงผลเสียของไฟป่าแล้ว ปรากฏว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่ามีไฟไหม้ป่าเป็นประจำทุกปี และมีบางคนไม่รู้จักไฟป่าด้วยซ้ำไป
    การที่ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องไฟป่า ตลอดจนยังไม่ทราบถึงอันตรายที่ไฟป่ามีต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ทำให้ยังไม่ตระหนักถึงความจำเป็นในการป้องกันไฟป่า ยังเห็นปัญหาไฟป่าเป็นสิ่งไกลตัว อันนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ไฟเพื่อกิจกรรมต่างๆ อย่างหละหลวม ขาดความระมัดระวัง มักง่ายขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังมีบ่อยครั้งที่มีการจุดไฟเล่นเพื่อความสนุกสนานด้วยความคึกคะนอง หรือจุดไฟเพื่อต้องการกลั่นแกล้งผู้อื่น ซึ่งผลลัพธ์คือการเกิดไฟไหม้ป่าในแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทยในทุกปี (ภาพที่ 2.2) ส่งผลให้ไฟป่ากลายเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ และเป็นปัญหาเรื้อรังที่สร้างความเสียหายให้แก่ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมจนแทบจะไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    นโยบายการแก้ไขปัญหาไฟป่า

    1. นโยบายระดับโลก
    องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งรับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลโลก ได้ร่างนโยบายในเรื่องปัญหาไฟป่าไว้ในการประชุมใหญ่เมื่อปี ค.ศ. 1951 ว่า
    “ทุกๆ ประเทศจะต้องตระเตรียมทรัพยากรไว้ให้เพียงพอ สำหรับประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะได้ประโยชน์ที่สุดหากสามารถป้องกันอันตรายให้แก่ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว เช่น ป่าไม้ มิให้ถูกทำลาย พร้อมๆ กับนำเอาผลิตผลจากป่ามาใช้ประโยชน์อย่างฉลาด ซึ่งในการป้องกันนี้จะต้องต่อสู้อย่างจริงจังกับตัวการทำลายป่าทุกชนิด คือ ไฟป่า แมลง โรคพืช และมนุษย์”
    ล่าสุดในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องป่าไม้ ณ สำนักงานใหญ่ FAO ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2542 ปรากฏว่าที่ประชุม ได้เรียกร้องให้ FAO และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ องค์กรที่สามารถสนับสนุนงบประมาณ และประเทศต่างๆที่สนใจ มาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาไฟป่า โดยการปรับปรุงและประสานความพยายามในการป้องกันและดับไฟป่า และฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากไฟป่า ในลักษณะของการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ร้องขอ


    2. นโยบายของประเทศไทย
    นโยบายป่าไม้แห่งชาติ ข้อ 18 กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมไฟป่าไว้อย่างชัดเจนว่า “ ต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทำลายป่าในรูปแบบต่างๆ เช่นการทำไร่เลื่อนลอย ภัยจากไฟป่า”
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    กรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหาไฟป่า

    ปัญหาเรื้อรัง 2 ประการ ที่คุกคามความอยู่รอดของทรัพยากรป่าไม้ของชาติ ได้แก่ ปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และปัญหาไฟป่า ซึ่งหากวิเคราะห์ถึงพื้นฐานแล้ว จะพบว่าปัญหาทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยในขณะที่การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เป็นปัญหาที่มีพื้นฐานมาจากปัญหาเศรษฐกิจ ดังนั้น ตราบใดที่ประชาชนในชนบทยังคงยากจน ขาดอาชีพที่ให้รายได้พอเพียงต่อการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ตราบนั้นประชาชนก็ยังจำเป็นต้องลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ทั้งที่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศชาติ ก็ตาม
    [​IMG]
    ภาพที่ 2.3 ไฟป่า…ปัญหาจิตวิทยาสังคม ที่แก้ไขได้
    ในทางตรงข้าม ไฟป่าเป็นปัญหาที่มีพื้นฐานมาจากปัญหาจิตวิทยาสังคม (ภาพที่ 2.3) โดยพื้นฐานของสังคมไทยเป็นสังคมที่ “ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้” จึงขาดระเบียบวินัย มักง่าย ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เอกลักษณ์ดังกล่าวมีผลให้ประชาชนทำให้เกิดไฟไหม้ป่า โดยความประมาทเลินเล่อ มักง่าย ขาดความสำนึกหวงแหนทรัพย์สินที่เป็นของส่วนรวม ดังนั้นปัญหาไฟป่าจึงมีหนทางแก้ไขได้ โดยการปลูกฝังระเบียบวินัย จิตสำนึกความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ตลอดจนให้การศึกษาเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงมหันตภัยอันเกิดจากไฟป่า และทราบถึงวิธีการป้องกันไฟป่า เมื่อประชาชนมีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาไฟป่าเป็นอย่างดีแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าประชาชนจะให้ความร่วมมือโดยเลิกจุดไฟเผาป่า (ภาพที่ 2.4) ซึ่งการเลิกจุดไฟเผาป่าและให้ความร่วมมือในการป้องกันไฟป่า จะไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนแต่อย่างไร ประชาชนยังคงสามารถเก็บหาของป่า เผาไร่ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้ไฟในป่าได้ดังเดิม โดยเพียงแต่ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นเท่านั้นเอง
    [​IMG]
    ภาพที่ 2.4 แผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหาไฟป่า
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การตรวจหาไฟ

    ไฟป่าที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ จะยังมีขนาดเล็ก อัตราการลุกลามและความรุนแรงของไฟยังต่ำ ตลอดจนแนวที่ไฟลุกลามไป (Fire front) ยังไม่กว้างมากนัก สถานการณ์เช่นนี้การดับไฟจะทำได้ง่ายและสามารถควบคุมไฟได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้กำลังคนและอุปกรณ์ดับไฟป่าไม่มากนัก แต่หากทอดเวลาออกไปหลายๆ ชั่วโมงหรือหลายวัน จนไฟเดียวกันนั้นมีโอกาสลุกลามขยายอาณาเขตกลายเป็นไฟขนาดใหญ่ ที่สะสมปริมาณความร้อนมากจนเกิดการพาความร้อนไปทำให้เชื้อเพลิงข้างหน้าแห้ง (Preheating) รอไว้ก่อนจึงติดไฟได้อย่างรวดเร็ว เกิดการพัฒนาระบบลมของตัวเองทำให้การลุกลามเป็นไปอย่างรวดเร็วรุนแรง และส่งลูกไฟปลิวนำหน้าไปก่อน ตลอดจนขยายตัวจนมีแนวของไฟยาวหลายสิบกิโลเมตร เกิดแนวหัวไฟย่อยๆ (นิ้วไฟ) หลายแนวขยายออกไปในหลายๆ ด้าน ในสถานการณ์เช่นนี้ การควบคุมไฟป่าจะกลายเป็นงานที่ยากลำบาก และเสี่ยงอันตรายเป็นอย่างยิ่ง ต้องใช้กำลังคนและอุปกรณ์ดับไฟป่าจำนวนมาก ซึ่งอาจรวมไปถึงเครื่องจักรกลหนัก เช่นรถแทรกเตอร์หรือเครื่องบิน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง ใช้เวลาปฏิบัติงานนานกว่าที่ควบคุมไฟไว้ได้ พื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหายมาก
    ดังนั้น ความสำเร็จของการดับไฟป่าจึงขึ้นอยู่กับการที่หน่วยดับไฟป่าต้องไปให้ถึงบริเวณที่เกิดไฟไหม้ได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ซึ่งในเรื่องนี้หน่วยดับไฟป่าจะต้องมีดวงตาที่เฉียบคมเพื่อคอยสอดส่องดูว่าเกิดไฟไหม้ป่าขึ้นที่ไหนบ้างแล้ว ซึ่งก็คือต้องมีระบบตรวจหาไฟที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั่วพื้นที่รับผิดชอบ สามารถตรวจพบไฟที่เพิ่งเกิดได้อย่างรวดเร็วที่สุดและรายงานตำแหน่งและสถานการณ์ของไฟได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว เพราะยิ่งตรวจพบไฟเร็วเท่าไร ยิ่งดับไฟนั้นได้ง่ายขึ้นเท่านั้น


    การวางแผนตรวจหาไฟ
    ขั้นตอนแรกในการวางแผนจัดระบบตรวจหาไฟคือจะต้องวิเคราะห์ว่าพื้นที่ใดและโดยวิธีใดที่การตรวจหาไฟและรายงานไฟป่าโดยสาธารณชนมีประสิทธิภาพ พื้นที่นอกเหนือจากนั้นก็จะต้องมีระบบตรวจหาไฟโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ
    1. แผนตรวจหาไฟโดยสาธารณชน
    จากสถิติในทวีปยุโรป ปรากฏว่า 50-80 % ของไฟป่าถูกตรวจพบและรายงานโดยสาธารณชน (Heikkila et at, 1993) ในประเทศอเมริกาและแคนาดา การตรวจพบและรายงานไฟป่าโดยประชาชนก็มีมากและมีประสิทธิภาพเช่นกัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการรายงานทางโทรศัพท์จากประชาชนโดยทั่วไป หรือรายงานทางวิทยุจากเครื่องบินทั้งของเอกชนและทางราชการ โดยทั่วไปแล้วพื้นที่ที่ใกล้แหล่งชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น การวางแผนตรวจหาไฟโดยอาศัยประชาชนจะค่อนข้างได้ผลดี อย่างไรก็ตามจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่ชัดเจนกับประชาชนว่า จะรายงานอะไร อย่างไร ได้ที่ไหน
    สำหรับประเทศไทย ในสมัยที่เพิ่งเริ่มงานควบคุมไฟป่าใหม่ๆ เมื่อเกือบสองทศวรรษที่แล้ว การตรวจหาและรายงานไฟป่าโดยสาธารณชนแทบจะยังไม่มี เนื่องจากประชาชนโดยทั่วไปยังไม่ได้ให้ความสนใจหรือตระหนักถึงปัญหาไฟป่า แต่ในปัจจุบันประชาชนมีการตื่นตัวและให้ความร่วมมือในการป้องกันไฟป่าค่อนข้างมาก ทำให้สามารถวางแผนจัดระบบการตรวจหาไฟและรายงานการเกิดไฟป่าโดยอาศัยสาธารณชนได้ โดยอาจจัดให้รายงานทางโทรศัพท์ วิทยุติดตามตัว ข่ายวิทยุสมัครเล่น หรือจัดสถานที่ไว้รับแจ้งเหตุ ตามศักยภาพและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยจัดทำแบบฟอร์มรับแจ้งเหตุการเกิดไฟป่า สำหรับบันทึกข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างเอาไว้อย่างครบถ้วน (ภาพที่ 5.1)
    [​IMG]
    ภาพที่ 5.1 ป้ายรับแจ้งเหตุไฟป่า
    2. แผนตรวจหาไฟโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ
    นอกพื้นที่ที่สามารถวางระบบตรวจหาไฟโดยสาธารณชน เช่นพื้นที่ป่าที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชน หรือไม่มีเส้นทางบินของสายการบินพาณิชย์ หน่วยงานที่รับผิดชอบการควบคุมไฟป่าจะต้องเป็นผู้วางระบบตรวจหาไฟและรับผิดชอบการตรวจหาไฟด้วยตัวเอง โดยอาจวางระบบการตรวจหาไฟทางภาคพื้นดิน ทางกึ่งอากาศ ทางอากาศ หรือด้วยดาวเทียม ตามศักยภาพและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
    เนื่องจากการจัดระบบตรวจหาไฟต้องใช้งบประมาณ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดระดับความสำคัญและระดับความเข้มข้นของการตรวจหาไฟตามระดับความสำคัญ ความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยพื้นที่ที่มีปัญหาไฟป่ามาก จะต้องมีระบบตรวจหาไฟที่เข้มข้น ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาไฟป่าน้อยหรือพื้นที่ที่มีคุณค่าน้อย ระดับความเข้มข้นก็ลดหลั่นกันลงมา
    โดยหลักการแล้ว ในช่วงฤดูไฟป่าการตรวจหาไฟจะต้องดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามการตรวจหาไฟจะต้องเน้นในช่วงเวลาที่มีโอกาสเกิดไฟป่ามากเป็นพิเศษ ซึ่งในทวีปยุโรป ปรากฏว่า 87 % ของไฟป่าเกิดในช่วงเวลา 10.00-17.00 น. (Heikkila et at, 1993) สำหรับประเทศไทย ปรากฏว่ามีแนวโน้มใกล้เคียงกัน คือพบว่า 72 % ของไฟป่าเกิดระหว่างช่วงเวลา 10.00-18.00 น. (ส่วนจัดการไฟป่าและภัยธรรมชาติ, 2539) ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจะต้องวางแผนการตรวจหาไฟอย่างเข้มข้นมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การตรวจหาไฟทางภาคพื้นดิน

    เป็นวิธีการตรวจหาไฟที่เก่าแก่ที่สุด อย่างไรก็ตามในหลายๆ สถานการณ์ยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก และยังใช้กันอยู่ถึงทุกวันนี้ การตรวจหาไฟภาคพื้นดินอาจใช้การเดินเท้าหรือใช้ยานพาหนะประเภทต่างๆ ตามแต่ศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่


    1. ใช้พลเดินเท้า
    เหมาะกับพื้นที่เล็กๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยยานพาหนะประเภทใดๆ และกับพื้นที่ที่คาดการณ์ได้ว่าปัญหาไฟป่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่นพื้นที่ที่ชาวบ้านเผาป่าเพื่อเก็บผักหวาน หรือเก็บเห็ด หรือพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวเข้าไปตั้งค่ายพักแรมในช่วงสุดสัปดาห์ ชุดพลเดินเท้าลาดตะเวนตรวจหาไฟควรให้พักค้างแรมในป่า โดยกำหนดเป็นผลัด ประมาณผลัดละ 3 วัน เพื่อให้เกาะติดอยู่กับพื้นที่เป็นการป้องปรามผู้ที่คิดจะเผาป่าและลดการสูญเสียเวลาและพลังงานในการเดินทางไปกลับในแต่ละวัน ทั้งนี้การจัดชุดพลเดินเท้าควรจะให้มีกำลังมากพอสมควร เช่น ชุดละ 7 นาย เท่ากับหมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก และมีเครื่องมือดับไฟป่าไปด้วย เพื่อทำหน้าที่หมู่ดับไฟป่าเคลื่อนที่เร็วไปด้วยในตัว (ภาพที่ 5.2)
    [​IMG]
    ภาพที่ 5.2 การตรวจหาไฟโดยพลเดินเท้า
    1.1 ข้อดี
    - ตรวจการณ์ได้ใกล้ชิดบริเวณที่เกิดไฟป่าได้มากที่สุด ทำให้ทราบตำแหน่งไฟ และสถานการณ์ของไฟในขณะนั้นอย่างถูกต้อง และชัดเจน
    - เมื่อตรวจพบไฟป่า สามารถทำหน้าที่หมู่ดับไฟป่าเคลื่อนที่เร็วเข้าสกัดไฟได้ทันที ซึ่งถ้ายังเป็นไฟขนาดเล็ก ก็สามารถดับไฟนั้นได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งขอกำลังจากหน่วยดับไฟป่า หรือถ้าเป็นไฟขนาดใหญ่ก็จะเข้าควบคุมไม่ให้ไฟนั้นลุกลามออกไปมากนัก เพื่อประวิงเวลารอกำลังหลักจากหน่วยควบคุมไฟป่าที่กำลังเดินทางไปสมทบ
    - ทำหน้าที่เป็นหน่วยประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าเคลื่อนที่ หากลาดตะเวนผ่านหมู่บ้าน หรือลาดตะเวนไปพบกับประชาชน
    - การลาดตะเวนของเจ้าหน้าที่ในป่าเป็นการสร้างความกดดันเพื่อป้องปรามการตัดไม้ทำลายป่า และการจุดไฟเผาป่าไปในตัว
    - ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
    - ปฏิบัติงานได้ในทุกสภาวะอากาศ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน


    1.2 ข้อเสีย
    - รัศมีการตรวจการณ์แคบ หากพื้นที่รับผิดชอบกว้างจะต้องใช้กำลังพลจำนวนมาก จึงจะครอบคลุมทั่วพื้นที่
    - การย้ายจุดตรวจการณ์แต่ละครั้ง หรือการกลับมาตรวจสอบที่จุดเดิมอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากไม่แน่ใจ ต้องใช้เวลามาก
    - หากเป็นที่ราบ การตรวจการณ์โดยวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำมาก เนื่องจากรัศมีการมองเห็นของผู้ตรวจการณ์จะแคบ


    2. การตรวจหาไฟโดยใช้ยานยนต์
    โดยการใช้รถจักรยาน จักรยานยนต์ หรือรถยนต์ตามความเหมาะสมกับสภาพเส้นทางคมนาคมที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น ถนน ทางตรวจการณ์ ทางชักลากไม้ ทางเกวียน หรือแม้แต่แนวกันไฟ โดยเจ้าหน้าที่สามารถนำเครื่องมือดับไฟป่าติดไปด้วย เพื่อทำหน้าที่หมู่ดับไฟป่าเคลื่อนที่เร็วไปด้วยในตัว (ภาพที่ 5.3)
    [​IMG]
    ภาพที่ 5.3 การตรวจหาไฟโดยรถจักรยานยนต์
    2.1 ข้อดี
    - ตรวจการณ์ได้ใกล้ชิดบริเวณที่เกิดไฟป่าได้ค่อนข้างมาก ทำให้ทราบตำแหน่งไฟ และสถานการณ์ของไฟในขณะนั้นอย่างถูกต้อง
    - เมื่อตรวจพบไฟป่า สามารถทำหน้าที่หมู่ดับไฟป่าเคลื่อนที่เร็วเข้าสกัดไฟได้ทันที ซึ่งถ้ายังเป็นไฟขนาดเล็ก ก็สามารถดับไฟนั้นได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งขอกำลังจากหน่วยดับไฟป่า หรือถ้าเป็นไฟขนาดใหญ่ก็จะเข้าควบคุมไม่ให้ไฟนั้นลุกลามออกไปอย่างรวดเร็ว เพื่อประวิงเวลารอกำลังหลักจากหน่วยควบคุมไฟป่าที่กำลังเดินทางไปสมทบ
    - ทำหน้าที่เป็นหน่วยประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าเคลื่อนที่ หากลาดตระเวนผ่านหมู่บ้าน หรือลาดตระเวนไปพบกับประชาชน
    - ปฏิบัติงานได้ในทุกสภาวะอากาศ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน


    2.2 ข้อเสีย
    - สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงสูงมาก
    - หากเป็นที่ราบ การตรวจการณ์โดยวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำมาก เนื่องจากรัศมีการมองเห็นของผู้ตรวจการณ์จะแคบ
    - ไม่สามารถใช้วิธีนี้ในพื้นที่ที่ไม่มีเส้นทางคมนาคม
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การตรวจหาไฟทางกึ่งอากาศ
    เป็นการตรวจหาไฟโดยจุดตรวจการณ์จะอยู่กับที่ ซึ่งจุดตรวจการณ์อาจเป็นหอดูไฟ (ภาพที่ 5.4) ซึ่งสร้างขึ้นโดยตรง หรือดัดแปลงคาคบต้นไม้เพื่อใช้เป็นหอดูไฟ หรือใช้จุดสังเกตการณ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ยอดเขา และริมหน้าผาสูง เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสำหรับการตรวจหาไฟในพื้นที่ที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่ โดยปกติแล้วรัศมีระยะตรวจการณ์สูงสุดของหอดูไฟจะอยู่ ระหว่าง 30-40 กิโลเมตร โดยมีอุปกรณ์ช่วย คือกล้องส่องทางไกล (Heikkila et at, 1993) ทั้งนี้โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อรัศมีการมองเห็น ได้แก่ ช่วงเวลาที่แตกต่างกันของวัน หมอกควัน และทิศทางของแสงอาทิตย์ เป็นต้น
    เนื่องจากการสร้างหอดูไฟเป็นการลงทุนที่ใช้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะดัดแปลงเพื่อลดต้นทุน เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองสร้างหอดูไฟเคลื่อนที่โดยใช้รถเทรลเลอร์มาดัดแปลงเป็นหอดูไฟ



    และต่อมาได้ทดลองใช้หอดูไฟอัตโนมัติ โดยติดตั้งกล้องโทรทัศน์ไว้บนหอดูไฟแทนการใช้เจ้าหน้าประจำหอดูไฟ แต่ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากกล้องโทรทัศน์ไม่สามารถแยกแยะควันไฟได้ดีเท่ากับสายตาของมนุษย์ และค่าใช้จ่ายก็ยังคงสูงอยู่เช่นเดิม สำหรับประเทศอิตาลีได้มีการพัฒนาระบบตรวจหาไฟอัตโนมัติติดตั้งบนหอดูไฟมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในปัจจุบันมีระบบที่มีประสิทธิภาพสูง คือใช้เครื่องตรวจจับคลื่นรังสีอินฟราเรด (Infrared Sensor) ประกอบกับกล้องวิดีโอ ทำให้สามารถตรวจพบไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าใช้สายตามนุษย์และในขณะเดียวกันก็สามารถส่งภาพบริเวณที่เกิดไฟไหม้ในขณะนั้นมายังห้องควบคุมได้ในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามระบบดังกล่าวยังมีราคาแพงมาก โดยประเทศไทยเคยนำระบบดังกล่าวมาทดลองใช้ที่สถานีควบคุมไฟป่าห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2537
    [​IMG]
    ภาพที่ 5.4 การตรวจหาไฟโดยหอดูไฟและเครื่องเล็งทิศทางไฟ


    1. ข้อควรคำนึงในการสร้างหอดูไฟ
    1.1 ในพื้นที่รับผิดชอบ จะต้องสร้างหอดูไฟหลายๆ หอในลักษณะเป็นเครือข่ายที่สามารถครอบคลุมการตรวจการณ์ได้ทั่วทั้งพื้นที่ โดยมีพื้นที่ตรวจการณ์ของแต่ละหอเหลื่อมกัน เพื่อว่าเมื่อเกิดไฟป่าขึ้น ณ บริเวณใดๆ ก็ตาม จะต้องมีหอดูไฟอย่างน้อยที่สุด 2 หอ ตรวจพบไฟนั้นได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สามารถใช้เครื่องเล็งทิศทางไฟ (Firefinder) วัดหาจุดที่เกิดไฟป่าได้อย่างแม่นยำโดยใช้หลักการหาจุดตัด (Interception) (ภาพที่ 5.5)
    [​IMG]
    ภาพที่ 5.5 ตัวอย่างการหาตำแหน่งที่เกิดไฟป่าโดยใช้เครื่องเล็งทิศทางไฟ


    1.2 จุดที่สร้างหอดูไฟต้องเป็นที่สูงของพื้นที่นั้น ทำให้ตรวจการณ์พื้นที่โดยรอบได้เป็นบริเวณกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ความสูงของหอดูไฟโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 5-25 เมตร ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศของจุดที่ตั้งหอดูไฟ และความสูงของต้นไม้โดยรอบ โดยหอดูไฟจะต้องสูงพ้นยอดต้นไม้หรือพ้นสิ่งกีดขวางการเห็นใดๆ ในพื้นที่นั้น


    1.3 หอดูไฟจะสร้างด้วยเหล็กหรือไม้ก็ได้ แต่จะต้องสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง บันไดทางขึ้นมีที่ยึดเกาะอย่างปลอดภัย และต้องไม่ตั้งในจุดที่มีลมแรงเกินไป


    1.4 บริเวณรอบฐานหอดูไฟจะต้องถางวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟป่าลุกลามมาสร้างความเสียหายให้แก่หอดูไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอที่สร้างด้วยไม้


    1.5 จุดที่ตั้งหอดูไฟ ต้องสามารถหมายลงในแผนที่ได้อย่างถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องเล็งทิศทางไฟสามารถวัดมุมและหาจุดที่เกิดไฟป่าได้อย่างแม่นยำ


    1.6 จะต้องมีอุปกรณ์ประจำหอดูไฟอย่างครบถ้วน ดังนี้คือ
    - เครื่องเล็งทิศทางไฟ
    - แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1 : 50,000
    - กล้องส่องทางไกล
    - อุปกรณ์ดับไฟป่า 1 ชุดเล็ก (ที่ตบไฟ ถังฉีดน้ำดับไฟ และครอบไฟป่า อย่างละ 2 อัน)
    - อุปกรณ์การสื่อสาร
    - สมุดจดรายงานไฟป่า


    2. ข้อดีของการตรวจหาไฟโดยหอดูไฟ
    2.1 สามารถตรวจการณ์พื้นที่ได้กว้างมากในเวลาเดียวกัน
    2.2 ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
    2.3 สามารถกำหนดตำแหน่งที่เกิดไฟป่าได้อย่างแม่นยำ โดยการใช้เครื่องเล็งทิศทางไฟ
    2.4 ใช้เป็นแม่ข่ายในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ เพื่อประสานงานการดับไฟป่าในพื้นที่นั้นๆ ได้ในตัว
    2.5 ใช้เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องวัดความเร็วและทิศทางลม เพื่อการคำนวณพฤติกรรมของไฟป่า
    2.5 ใช้เป็นที่ชมวิวได้ในช่วงนอกฤดูไฟป่า


    3. ข้อเสียของการตรวจหาไฟโดยหอดูไฟ
    3.1 มีความยากลำบากในการก่อสร้าง เพราะมักต้องก่อสร้างในพื้นที่ป่าที่ไม่มีถนนหนทางและอยู่ในที่สูง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง
    3.2 ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง
    3.3 ต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอยู่เสมอ เพื่อให้หอมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
    3.4 ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน เพราะจะเกิดจุดอับที่ตรวจการณ์ไม่เห็นเป็นจำนวนมาก เช่นในร่องเขา ในหุบเขา และด้านหลังเขา เป็นต้น
    3.5 หากทัศนวิสัยไม่ดี อันเนื่องมาจากเมฆ หรือหมอกควัน จะทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจการณ์ลดลงมาก
    3.6 เจ้าหน้าที่ประจำหอดูไฟ เกิดความเครียดและความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติงานได้ง่าย เนื่องจากการต้องอยู่บนหอคนเดียวเป็นเวลานาน โดยมีกิจกรรมที่ซ้ำซากจำเจเพียงอย่างเดียวคือการเพ่งมองพื้นที่รอบตัว จึงมีบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่เผลอหลับ หรือบางครั้งนั่งอ่านหนังสือแก้เหงาจนลืมตรวจหาไฟไปในบางเวลา
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การตรวจหาไฟทางอากาศ




    ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากชุมชนและเส้นทางคมนาคม พื้นที่ที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีหุบเหว มีอุปสรรคตามธรรมชาติปิดบังการมองเห็น และมีจุดอับการมองเห็น ซึ่งทำให้การตรวจหาไฟโดยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล จึงจำเป็นต้องใช้การตรวจหาไฟทางอากาศ โดยใช้อากาศยานประเภทต่างๆ เช่น บอลลูน เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินปีก หรือเครื่องร่อน เป็นต้น การตรวจการณ์โดยวิธีนี้ นอกจากนักบินจะต้องมีประสบการณ์ในการบินตรวจหาไฟแล้ว ก็ควรจะต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจหาไฟร่วมปฏิบัติงานด้วยทุกครั้ง


    ข้อดี 1.1 รัศมีการตรวจการณ์กว้าง ไม่มีจุดอับ สามารถตรวจการณ์ได้อย่างทั่วถึงทั้งพื้นที่ในเวลาอันรวดเร็ว
    1.2 สามารถค้นพบไฟได้อย่างรวดเร็ว และทราบตำแหน่งที่เกิดไฟไหม้ได้อย่างแม่นยำแน่นอน
    1.3 ใช้เวลาน้อยแต่ตรวจการณ์พื้นที่ได้กว้างมาก และสามารถย้อนกลับมาตรวจการณ์ในจุดเดิมที่สงสัยได้อีกในเวลาอันสั้น
    1.4 มีความยืดหยุ่นในการตรวจการณ์สูง คือสามารถปรับแผน เส้นทางและความถี่ของการตรวจการณ์ได้ตามสถานการณ์และความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
    1.5 สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของไฟป่าในขณะนั้น และนำทางหมู่ดับไฟป่าให้เดินทางเข้าไปสู่บริเวณที่เกิดไฟป่า โดยใช้เส้นทางที่สั้นและสะดวกรวดเร็วที่สุด จากนั้นสามารถติดตามการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เพื่อให้ข้อมูลแก่หมู่ดับไฟที่ปฏิบัติงานอยู่ทางภาคพื้นดินได้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถควบคุมไฟได้
    1.6 ใช้เป็นศูนย์บัญชาการดับไฟป่า (Command post) ที่มีประสิทธิภาพที่สุด
    1.7 ใช้เป็นแม่ข่ายวิทยุในการสื่อสารเพื่อประสานงานดับไฟป่า
    1.8 สามารถสนับสนุนการดับไฟป่าโดยการโปรยน้ำและสารเคมี ไปได้พร้อมๆ กัน


    2. ข้อเสีย
    2.1 ค่าใช้จ่ายสูงมาก ต้องพิจารณาใช้ในพื้นที่ที่มีความจำเป็นจริงๆ
    2.2 ต้องฝึกนักบินเพื่อปฏิบัติงานด้านนี้โดยเฉพาะ
    2.3 มีข้อจำกัดในเรื่องสภาพอากาศ หากสภาพอากาศไม่เหมาะสม เครื่องบินก็ไม่สามารถขึ้นปฏิบัติงานได้
    2.4 อากาศยานที่ใช้ตรวจหาไฟส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติงานในเวลากลางคืนได้ หากจะให้ปฏิบัติงานกลางคืนจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในการติดตั้งอุปกรณ์นำร่องทางอากาศ แม้กระนั้นการปฏิบัติงานในเวลากลางคืนก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การตรวจหาไฟด้วยดาวเทียม

    เทคโนโลยีการตรวจหาไฟจากระยะไกลโดยใช้อุปกรณ์การตรวจที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม (Spaceborne remote sensing technology) เริ่มเข้ามามีบทบาทในการตรวจหาไฟเป็นอย่างมาก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากสามารถตรวจการณ์พื้นที่ได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ทั่วภูมิภาค และทั่วโลก ได้พร้อมกันอย่างรวดเร็ว


    1.หลักการตรวจหาไฟด้วยดาวเทียม
    หลักการตรวจหาไฟโดยใช้ดาวเทียม จะอาศัยอุปกรณ์การตรวจวัดคลื่นรังสีความร้อนที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม ( เช่น เครื่อง AVHRR, The Advanced Very High-Resolution Radiometer ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม NOAA หรือเครื่อง VISSR, Visible and Infrared Spin Scan Radiometer ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม HIMAWARI) ทำการตรวจการณ์บริเวณบนผิวโลกที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ (Hot spot) ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีการแผ่รังสีความร้อน (Infrared, IR) ออกมามากกว่าปกติ Hot spot ที่ตรวจพบจึงเป็นบริเวณบนผิวโลกที่คาดว่ากำลังเกิดไฟป่า อย่างไรก็ตามหลังจากตรวจพบ Hot spot แล้วจะต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ทราบอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันว่า Hot spot นั้น เป็นบริเวณที่เกิดไฟป่าจริงๆ โดยตรวจสอบว่าพื้นที่ที่พบ Hot spotนั้น เป็นพื้นที่ป่าหรือไม่ หรือทำการตรวจสอบทางภาคพื้นดิน (Ground check)


    2. การใช้ดาวเทียม NOAA ในการตรวจหาไฟ
    ในปัจจุบันดาวเทียมที่นิยมใช้ในการตรวจหาไฟ ได้แก่ดาวเทียม GOES และดาวเทียมในตระกูล NOAA ซึ่งเป็นดาวเทียมทางอุตุนิยมวิทยาและการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยดาวเทียม NOAA นี้จะโคจรรอบโลกที่ระดับความสูงประมาณ 850 กิโลเมตร และโคจรกลับมาที่จุดเดิมในทุกๆ 100 นาที ทำให้สามารถตรวจหาไฟในจุดเดิมได้ในทุกๆ 100 นาทีด้วยเช่นกัน โดยอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นรังสีความร้อนที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม NOAA ซึ่งเรียกว่า AVHRR นี้สามารถตรวจวัดพื้นที่ที่เล็กที่สุด (Pixel) ได้เท่ากับ 1.21 ตารางกิโลเมตร หมายความว่าพื้นที่ที่เกิดไฟป่าจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อยที่สุด 1.21 ตารางกิโลเมตร ดาวเทียม NOAA จึงจะสามารถตรวจพบไฟได้ ซึ่งในทางปฏิบัติหากปล่อยให้ไฟลุกลามจนมีขนาดใหญ่กินพื้นที่ถึง 1.21 ตารางกิโลเมตร จึงค่อยตรวจพบ จะเป็นการไม่ทันการณ์ เพราะจะเกิดความเสียหายต่อพื้นที่ป่าเป็นอย่างมาก การควบคุมไฟจะยากลำบาก กินเวลานาน และเสียค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตามข้อมูลการตรวจหาไฟจากดาวเทียม NOAA จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประเมินสถานการณ์และวางแผนควบคุมไฟป่าในภาพรวม
    ในปัจจุบัน มีการใช้ดาวเทียม NOAA ในการตรวจหาไฟในหลายภูมิภาคของโลก (ภาพที่ 5.6) สำหรับในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียงประเทศอินโดนีเซียประเทศเดียวที่มีการตรวจหาไฟด้วยระบบดังกล่าว ภายใต้ความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการของ GTZ ที่ตรวจหาไฟในจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก โครงการของ JICA และโครงการของ EU ที่ตรวจหาไฟในเกาะสุมาตรา เป็นต้น (Ueda, 1998)


    [​IMG]
    ภาพที่ 5.6 ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงตำแหน่งที่เกิดไฟป่า


    3. การตรวจหาไฟด้วยดาวเทียมอื่นๆ ที่มีความละเอียดกว่า
    ได้มีความพยายามใช้ดาวเทียมอื่นๆ ที่มีความละเอียดในการตรวจหาไฟ (Higher resolution) มากกว่าดาวเทียม NOAA เช่น ดาวเทียม LANDSAT และดาวเทียม SPOT มาใช้ในการตรวจหาไฟ ทำให้สามารถตรวจพบไฟตั้งแต่ไฟนั้นยังมีขนาดเล็กอยู่ อย่างไรก็ตามดาวเทียมดังกล่าวจะมีข้อจำกัดในเรื่องรอบระยะเวลาของการโคจรรอบโลกที่ต้องใช้เวลานานหลายวัน หมายความว่าการจะกลับมาตรวจหาไฟ ณ ตำแหน่งเดิมในแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาหลายวัน


    4. ข้อดีในการตรวจหาไฟด้วยดาวเทียม
    4.1 สามารถตรวจหาไฟในพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลได้ในเวลาอันรวดเร็ว
    4.2 หากใช้ดาวเทียมที่มีความละเอียดสูง (High resolution) ก็จะสามารถจัดระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early warning system) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4.3 หากใช้ดาวเทียม NOAA (Low resolution) จะสามารถตรวจการณ์พื้นที่ได้ถี่มาก และติดตามสถานการณ์และการพัฒนาของไฟขนาดใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง
    4.4 ภายหลังการลงทุนครั้งแรกแล้ว ในระยะยาวเมื่อเทียบต่อหน่วยพื้นที่รับผิดชอบแล้ว จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการตรวจหาไฟโดยวิธีอื่นๆ


    5. ข้อเสียในการตรวจหาไฟด้วยดาวเทียม
    5.1 หากมีเมฆ การตรวจการณ์โดยวิธีนี้จะไม่ได้ผล เพราะคลื่นอินฟราเรดไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านความชื้นได้
    5.2 หากใช้ดาวเทียมที่ Low resolution การตรวจการณ์จะหยาบมากและไม่ทันการณ์ ในขณะที่การใช้ดาวเทียมที่ High resolution การตรวจการณ์จะละเอียดขึ้น แต่การจะกลับมาตรวจการณ์ในจุดเดิมแต่ละครั้งต้องใช้เวลาหลายวัน
    5.3 การลงทุนติดตั้งระบบ ทั้ง Hardware และSoftwareในครั้งแรกต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
    5.4 จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรขึ้นมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การสื่อสารและรายงานไฟป่า

    หัวใจสำคัญของการตรวจหาไฟ คือจะต้องมีช่องทางที่จะติดต่อสื่อสารกับหน่วยรับผิดชอบการดับไฟป่า เพื่อรายงานการตรวจพบไฟป่า ซึ่งจะต้องมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว และรายงานข้อมูลอย่างถูกต้องชัดเจนที่สุด


    การสื่อสาร การสื่อสารเพื่อรายงานไฟป่า สามารถทำได้ในหลายวิธี คือ
    สื่อสารโดยใช้สาย ได้แก่ โทรศัพท์ และโทรเลข สื่อสารโดยไม่ใช้สาย ได้แก่ วิทยุสื่อสาร วิทยุติดตามตัว และโทรศัพท์เคลื่อนที่
    1.3 ใช้พลนำสาร ซึ่งอาจเดินทางทางเท้า จักรยาน จักรยานยนต์ หรือรถยนต์
    ใช้สัญญาณที่มองเห็นหรือได้ยินได้ ได้แก่ สัญญาณมือ สัญญาณควัน ตีกลอง ตีเกราะ เป่านกหวีด เป็นต้น
    ในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ซึ่งประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องปัญหาไฟป่าสูง มาก จึงมีการตรวจพบและรายงานไฟโดยประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการสื่อสารส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์ ทั้งโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์มือถือ เป็นหลัก สำหรับการสื่อสารรายงานไฟป่าโดยหน่วยงานรับผิดชอบ หากเป็นการรายงานจากหอดูไฟ มักจะใช้โทรศัพท์ เนื่องจากในประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ จะมีเครือข่ายสายโทรศัพท์ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่
    ในประเทศไทย เนื่องจากสาธารณูปโภคด้านโทรศัพท์ยังไม่ทั่วถึง ดังนั้นการรายงานไฟป่าทั้งจากหอดูไฟและจากการตรวจการณ์วิธีอื่นๆ จึงจำกัดอยู่ที่การใช้วิทยุสื่อสารแต่เพียงอย่างเดียว (ภาพที่ 5.7) ในระยะหลังซึ่งประชาชนเริ่มมีความตื่นตัวต่อปัญหาไฟป่ามากขึ้น จึงเริ่มมีการรายงานการพบเห็นไฟป่าโดยประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหน่วยงานรับผิดชอบได้จัดช่องทางการรายงานไว้ 3 ทาง คือ ทางโทรศัพท์ ทางวิทยุติดตามตัว และจัดสถานที่รับแจ้งเหตุไฟไหม้ป่า
    [​IMG]
    ภาพที่ 5.7 การสื่อสารและรายงานการตรวจพบไฟป่าจากหอดูไฟ


    2. การรายงานไฟป่า
    ข้อมูลที่รายงานต้องสั้น กระชับ แต่ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาที่จำเป็นทั้งหมด ดังนี้
    2.1 ตำแหน่งที่เกิดไฟป่า
    ในอดีตการรายงานตำแหน่งไฟป่าทำได้แม่นยำที่สุดเพียงบอกตำแหน่งของไฟเทียบเคียงกับสถานที่หรือสภาพภูมิประเทศที่ที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น ตรวจพบไฟป่าห่างแนวถนนมิตรภาพที่หลักกิโลเมตรที่ 20 ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร หรือตรวจพบไฟป่าที่บริเวณสันเขาแผงม้าค่อนไปทางทิศใต้เล็กน้อย เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการใช้เครื่องเล็งทิศทางไฟบนหอดูไฟทำให้สามารถหมายพิกัดที่เกิดไฟป่าลงในแผนที่ได้อย่างแม่นยำขึ้น และในปัจจุบันหลังจากมีการประดิษฐ์เครื่องมือบอกตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยระบบดาวเทียม (Global Positioning System, GPS) ทำให้สามารถรายงานพิกัดที่เกิดไฟป่าได้อย่างแม่นยำ


    2.2 เวลาที่ตรวจพบไฟและขนาดของไฟ
    โดยแจ้งเวลาที่ตรวจพบไฟและประมาณขนาดเนื้อที่ที่ถูกไฟไหม้ไปแล้วในขณะที่ตรวจพบไฟนั้น


    2.3 พฤติกรรมของไฟป่าในขณะนั้น
    ได้แก่ขนาดความรุนแรง ความสูงเปลวไฟ อัตราความเร็วและทิศทางการเคลื่อนที่ของไฟ สภาพเชื้อเพลิง สภาพภูมิประเทศ และสภาพอากาศ ในขณะนั้น


    2.4 แนวโน้มอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
    เช่นไฟเกิดใกล้และมีทิศทางมุ่งหน้าสู่แหล่งชุมชน อาคารสถานที่ หรือที่พักแรมของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้ เป็นต้น


    2.5 เส้นทางและวิธีการในการขนส่งหมู่ดับไฟป่าเข้าไปยังจุดที่เกิดไฟป่า
    บอกเส้นทาง ซึ่งอาจเป็นถนน เส้นทางเกวียน หรือทางเดินเท้าที่หมู่ดับไฟป่าสามารถใช้ได้สะดวกและเดินทางไปถึงบริเวณที่เกิดไฟป่าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด


    2.6 ชื่อผู้รายงานและวิธีการตรวจพบไฟ
    เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง สำหรับการประเมินผลและปรับปรุงแผนการตรวจหาไฟในภายหลังต่อไป


    คุณสมบัติและการเตรียมการของเจ้าหน้าที่ตรวจหาไฟ

    1. คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ตรวจหาไฟ
    การตรวจหาไฟไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ตรวจหาไฟนั่นเอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจหาไฟที่มีคุณภาพ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    1.1 เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องการตรวจหาไฟ และในเรื่องพฤติกรรมของไฟป่าเป็นอย่างดี
    เป็นผู้ที่เอาใจใส่ในหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา 1.3 เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ สายตาดี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 20-30 ปี จะมีสายตาที่ดีมาก เมื่ออายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพในการมองเห็นจะเริ่มลดลง ผู้ที่มีสายตาดีเยี่ยมจะสามารถตรวจพบไฟได้ตั้งแต่ยังไม่เห็นควันไฟ โดยสังเกตจากความปั่นป่วนของอากาศ (Air turbulence) ที่เกิดขึ้นเหนือบริเวณที่ไฟไหม้
    1.4 มีประสบการณ์และความชำนาญในการใช้อุปกรณ์สื่อสารและสามารถส่งข่าวสารได้อย่างถูกต้อง กระชับ ชัดเจน
    1.5 มีความรู้ในเรื่องแผนที่และการอ่านแผนที่เป็นอย่างดี


    2. การเตรียมการของเจ้าหน้าที่ตรวจหาไฟ
    เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้นก่อนถึงฤดูไฟป่า เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการตรวจหาไฟ จะต้องเตรียมตัว ดังนี้
    2.1 สำรวจและศึกษาพื้นที่ปฏิบัติงานโดยละเอียด เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศให้มากที่สุด
    2.2 จดจำรายละเอียดสภาพภูมิประเทศ เช่นตำแหน่งของลำห้วย แหล่งน้ำ ถนน ทางเกวียน ทางเดินเท้าในป่า ที่ตั้งหมู่บ้าน พื้นที่การเกษตร ชนิดป่าในแต่ละส่วนของพื้นที่ ความชันของภูเขาแต่ละเทือก พื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟป่า พื้นที่ที่เกิดไฟป่าเป็นประจำ ตลอดจนบริเวณที่มักเกิดควันไฟที่ทำให้เข้าใจสับสนว่าเป็นไฟป่า เช่น บริเวณเตาเผาถ่าน เตาเผาขยะ หรือปล่องโรงงาน เป็นต้น โดยหมายตำแหน่งของสิ่งเหล่านี้ลงในแผนที่ และจดรายละเอียดในบันทึกช่วยจำ
    2.3 ฝึกการพิจารณาแยกแยะควันไฟว่าเป็นควันไฟจากอะไร เช่น เป็นควันไฟที่เกิดจากการหุงต้ม เกิดจากการเผาถ่าน เกิดจากการเผาขยะ เกิดจากปล่องโรงงาน เกิดจากการเผาไร่ หรือเกิดจากไฟไหม้ป่า โดยควันไฟจากการหุงต้มจะมีควันขาวและเบาบาง มีขนาดเล็ก และไม่ลุกลามขยายวงออกไป ควันไฟจากการเผาไร่ จะทราบได้จากความชำนาญพื้นที่โดย ทราบตำแหน่งที่ตั้งของพื้นที่การเกษตร สำหรับควันที่เกิดจากไฟป่าจะสังเกตได้ว่า ควันจะมีการเคลื่อนที่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    วิธีการและกลยุทธ์ในการดับไฟป่า

    ปฏิบัติการดับไฟป่าเป็นงานร้อน หนัก เหน็ดเหนื่อย อันตราย และสิ้นเปลืองงบประมาณมากที่สุดในบรรดากิจกรรมต่างๆ ในวงจรของงานควบคุมไฟป่า เกือบทุกปีจะมีข่าวพนักงานดับไฟป่าเสียชีวิตจากการดับไฟป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบอบอุ่นที่ไฟป่าเป็นไฟเรือนยอดที่มีความรุนแรงมาก สำหรับประเทศไทยซึ่งถึงแม้ว่าไฟป่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่า อันตรายถึงแก่ชีวิตจึงมีโอกาสน้อยกว่า อย่างไรก็ตามในทุกปีจะมีพนักงานดับไฟป่าได้รับบาดเจ็บในระหว่างการปฏิบัติงานมากบ้างน้อยบ้าง โดยมีเพียงเหตุการณ์เดียวที่ถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของวงการไฟป่าเมืองไทย และเป็นฝันร้ายของเจ้าหน้าที่ไฟป่ามืออาชีพมาจนถึงทุกวันนี้ คือการสูญเสียชีวิตของพนักงานดับไฟป่าพร้อมกันถึง 5 นาย ในปฏิบัติการดับไฟป่าที่พื้นที่ข้างเคียงดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2539

    แม้จะเสี่ยงอันตรายถึงกับชีวิต แต่การดับไฟป่าก็เป็นงานที่ท้าทาย และถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ที่ยุติธรรม ระหว่างคนที่มีจิตใจห้าวหาญกับไฟที่ร้อนแรง โดยมีกติกาเพียงข้อเดียว คือ ผู้ที่สามารถพลิกแพลงสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์กับตนเองได้มากกว่า ผู้นั้นคือผู้ชนะ โดยในขณะที่เกิดไฟไหม้ พฤติกรรมของไฟจะมีการผันแปรตามปัจจัยแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาจนยากจะคาดเดา ดังนั้นพนักงานดับไฟป่าจึงจำเป็นต้องพลิกแพลงแผนการ วิธีการ และกลยุทธในการต่อสู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน จึงจะสามารถกำชัยชนะเหนือไฟป่าได้อย่างปลอดภัย

    ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า ไม่มีสูตรสำเร็จในการดับไฟป่า หากแต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ การศึกษาให้รู้จริงถึงพฤติกรรมของไฟป่า ความแตกฉานและช่ำชองในวิธีการ เทคนิค และกลยุทธในการดับไฟป่า เท่านั้น จึงจะเป็นเครื่องประกันความสำเร็จของงานและความปลอดภัยในชีวิตของผู้ปฏิบัติงานดับไฟป่า
    [​IMG]
    ภาพที่ 7.1 ดับไฟป่า สงครามพิทักษ์สิ่งแวดล้อม


    วิธีการดับไฟป่า
    วิธีการ (Method) เป็นหลักการกว้างๆ และทั่วๆ ไป ของการปฏิบัติงาน ดังนั้นวิธีการดับไฟป่าก็คือหลักการกว้างๆ ในการดับไฟป่า โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ ดับทางตรง และดับทางอ้อม


    การดับไฟทางตรง
    การดับไฟทางตรง คือวิธีการที่พนักงานดับไฟป่าเข้าไปดับไฟที่ขอบของไฟโดยตรง วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ไฟมีขนาดเล็ก เช่น ไฟที่ไหม้ในป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรัง ซึ่งมีความร้อนแรงและควันไม่มากนัก ทำให้พนักงานดับไฟป่าสามารถเข้าไปปฏิบัติงานที่ขอบของไฟได้ โดยทั่วไปจะเริ่มควบคุมไฟที่หัวไฟก่อน เพื่อหยุดยั้งการลุกลามของไฟ เมื่อควบคุมหัวไฟได้แล้วจึงค่อยกระจายกำลังออกดับไฟทางปีกทั้งสองด้านแล้วดับไฟไปบรรจบกันที่หางไฟ แต่ถ้าแนวหัวไฟมีความร้อนมากไม่อาจเข้าถึงได้ ก็อาจเริ่มดับไฟจากปีกทั้งสองด้านก่อน แล้วค่อยๆ บีบเข้าไปหาหัวไฟเพื่อบังคับให้แนวหัวไฟแคบและเล็กลงเรื่อยๆ จนควบคุมได้ในที่สุด เครื่องมือหลักที่ใช้ในการดับไฟทางตรงได้แก่ ถังฉีดน้ำ พลั่วไฟป่า และที่ตบไฟ โดยใช้พลั่วตักดินหรือทรายสาดกลบไฟ หรือใช้น้ำฉีดนำเพื่อลดความร้อนและความสูงเปลวไฟ จากนั้นจึงใช้ที่ตบไฟเข้าไปตบคลุมไฟจนดับ การดับไฟทางตรงนอกจากจะใช้ในการดับไฟขนาดเล็กแล้ว ยังใช้สำหรับการดับปีกและหางของไฟขนาดใหญ่ หรือใช้ในขั้นตอนสุดท้ายของการดับไฟขนาดใหญ่หลังจากที่ไฟนั้นถูกควบคุมให้ลดความรุนแรงลงแล้วด้วยวิธีดับไฟทางอ้อมหรือโดยการโปรยน้ำและสารเคมีทางอากาศ


    การดับไฟทางอ้อม
    วิธีนี้ใช้สำหรับการดับไฟป่าขนาดใหญ่ที่มีความร้อนแรงและความสูงเปลวไฟมากเกินกว่าที่พนักงานดับไฟป่าจะสามารถเข้าไปปฏิบัติงานที่ขอบของไฟได้โดยตรง หรือใช้ในกรณีที่ไฟป่ากำลังไหม้อยู่ในบริเวณที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงาน เช่น ใกล้หน้าผา ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุพนักงานดับไฟป่าพลัดตกเขาได้ง่าย หรือในร่องเขาและหุบเหวที่อาจเกิด Chimney Effect หรือ ลมหมุน ซึ่งจะทำให้ไฟเปลี่ยนทิศทางหรือเพิ่มความรุนแรงอย่างฉับพลันทันใด การดับไฟทางอ้อมแบ่งออกเป็นวิธีย่อย 3 วิธี ดังนี้


    1. ดับด้วยแนวกันไฟ
    คือการทำแนวกันไฟล้อมรอบไฟนั้น โดยเริ่มทำแนวสกัดหัวไฟก่อนเป็นอันดับแรก นอกจากจะมีข้อจำกัดที่ไม่อาจทำได้ เช่น สภาพภูมิประเทศไม่อำนวย หรือแนวหัวไฟลุกลามรวดเร็วเกินกว่าที่จะทำแนวกันไฟดักหน้าทัน ก็อาจเริ่มทำแนวสกัดที่ปีกไฟทั้งสองด้านก่อน สิ่งสำคัญในการดับไฟด้วยแนวกันไฟคือ จะต้องจำไว้เสมอว่า แนวกันไฟที่ทำขึ้นไม่สามารถทำให้ไฟดับลงได้ หากแต่ทำหน้าที่หยุดยั้งและลดความรุนแรงและอัตราการลุกลามของไฟ เพื่อให้สามารถเข้าดับไฟทางตรงได้ในที่สุด ดังนั้นเมื่อไฟลุกลามมาชนแนวกันไฟ ทำให้ความร้อนแรงของไฟ อัตราการลุกลาม และความสูงเปลวไฟลดลง จะต้องให้พนักงานดับไฟป่ารีบเข้าทำงานเพื่อดับไฟทางตรงที่ขอบของไฟในทันที และดับไฟให้ได้ที่แนวกันไฟนั้นก่อนที่ไฟจะมีโอกาสข้ามแนว เพราะหากปล่อยให้ไฟลามข้ามแนวไปได้ การดับไฟในครั้งนั้นก็จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง


    1.1 วิธีทำแนวกันไฟเพื่อการดับไฟทางอ้อม สามารถทำได้ 4 วิธี คือ
    - ใช้แรงงานคนและเครื่องมือในการทำแนวกันไฟ เช่น ครอบไฟป่า จอบ พร้า ขวาน เป็นต้น
    - ใช้เครื่องจักรกลหนัก เช่น รถแทรคเตอร์ ไถแนวกันไฟ
    - ใช้น้ำ โดยการฉีดน้ำจากรถบรรทุกน้ำ หรือจากเครื่องสูบน้ำ ลงบน
    เชื้อเพลิงเป็นแถบกว้าง ทำหน้าที่เหมือนแนวกันไฟเปียก
    - ใช้สารหน่วงไฟ (Retardant) โปรยจากเครื่องบินลงมาเป็นแนวกันไฟ


    1.2 หลักเกณฑ์ในการวางตำแหน่งแนวกันไฟ
    - ต้องคำนวณระยะห่างระหว่างแนวกันไฟกับแนวหัวไฟที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาให้พอเหมาะ โดยต้องให้มีเวลาทำแนวกันไฟเสร็จก่อนที่แนวหัวไฟจะลุกลามมาถึง ทั้งนี้สามารถคำนวณระยะห่างดังกล่าวได้จากการวิเคราะห์อัตราการลุกลามของไฟ และอัตราความเร็วในการทำแนวกันไฟ อนึ่ง แนวกันไฟจะต้องไม่ทำห่างแนวไฟป่ามากจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้องสูญเสียพื้นที่ป่ามากกว่าที่ควรจะเป็นโดยเปล่าประโยชน์ กับทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ไฟมีระยะทางในการลุกลามยาวขึ้น มีโอกาสพัฒนาความรุนแรงมากขึ้นจนอาจลุกลามข้ามแนวกันไฟไปได้
    - แนวกันไฟจะต้องทำให้ขนานกับแนวขอบไฟ
    - ทำแนวให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือพยายามให้เป็นเส้นตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    - ใช้ประโยชน์จากแนวธรรมชาติ เช่น ลำห้วย แนวถนน ลานหิน ให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้
    - หากเป็นที่ลาดชัน และไฟกำลังไหม้ขึ้นเขา ควรไปทำแนวกันไฟบนสันเขา
    - หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเชื้อเพลิงแน่นทึบ เพราะจะทำแนวยาก และใช้เวลามาก
    - วางแนวให้ห่างจากไม้ยืนต้นตาย ที่อาจไหม้ไฟแล้วล้มลงมาพาดบนแนวกันไฟได้
    - ในกรณีที่ไฟลุกลามรวดเร็วมาก อย่าทำแนวตัดหน้าหัวไฟ เพราะอาจทำแนวไม่ทัน และได้รับอันตรายจากไฟได้ง่าย


    1.3 หลักเกณฑ์ในการทำแนวกันไฟ
    - กวาดแนวให้สะอาด ในที่ลาดชันต้องขุดร่องเพื่อรับเชื้อเพลิงติดไฟที่อาจกลิ้งลงมาตามลาดเขา
    - ความกว้างของแนวพอที่จะกั้นการกระโดดข้ามของไฟได้
    - เชื้อเพลิงที่ถากถางออกจากแนวกันไฟ จะต้องทิ้งออกนอกแนวให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้
    - หากมีต้นไม้ใหญ่อยู่ในแนว ต้องตัดกิ่งก้านด้านล่างออกให้สูงจากผิวดิน ประมาณ 3-5 เมตร
    - ขณะทำแนวต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและดับลูกไฟที่อาจปลิวข้ามแนว


    2. ดับด้วยไฟ
    เรียกวิธีนี้ว่า Backfiring อาศัยหลักการเดียวกับการดับไฟทางอ้อมด้วยแนวกันไฟ ความแตกต่างคือมีการขยายแนวกันไฟให้กว้างขึ้นอย่างรวดเร็วโดยใช้ไฟเผา วิธีนี้เสี่ยงมาก เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้นนอกจากจะดับไฟไม่ได้แล้ว ยังจะทำให้ไฟยิ่งลุกลามออกไปใหญ่โต และเกิดแนวไฟขึ้นใหม่อีกแนวหนึ่ง จึงต้องใช้วิธีนี้ในกรณีจำเป็นจริงๆ และใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในการดับไฟเรือนยอดที่มีความรุนแรงมาก หรือใช้หยุดยั้งไฟเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในกรณีที่ไฟลุกลามเข้าใกล้แหล่งชุมชน หรือพื้นที่ที่มีค่าสูง
    วิธีการดับไฟจะเริ่มต้นเหมือนการดับด้วยแนวกันไฟ คือต้องทำแนวกันไฟขึ้นก่อน หลังจากทำแนวกันไฟเสร็จแล้วแทนที่จะรอตั้งรับไฟที่แนวกันไฟ แต่จะใช้วิธีจุดไฟจากแนวกันไฟ เพื่อให้ไฟลุกลามสวนทางกลับไปหาแนวไฟป่า ไฟที่จุดขึ้นนี้เรียกว่าแนวไฟเผากลับ (Backfire) เมื่อแนวไฟเผากลับลุกลามไปบรรจบกับแนวไฟป่าจริง ไฟก็จะดับลงเนื่องจากขาดเชื้อเพลิง
    การดับไฟป่าโดยวิธีนี้ จะต้องดำเนินการภายใต้การควบคุมของผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการเผากลับจริงๆ เท่านั้น เพราะการจุดไฟเผากลับให้ไฟลุกลามสวนทางลมหลักของแนวไฟป่าจริงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีบ่อยครั้งที่ผิดพลาดเพราะแนวไฟเผากลับสู้อิทธิพลความแรงของลมหลักไม่ได้ ทำให้เปลวไฟตีกลับและกระโดดข้ามแนวกันไฟ มีผลทำให้สถานการณ์กลับเลวร้ายยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม



    ดังนั้นการปฏิบัติงานจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
    - การสั่งการจุดไฟเผากลับต้องมาจากผู้รับผิดชอบการดับไฟป่าครั้งนั้น (Fire Boss) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
    - สั่งการจุดไฟหลังจากทำแนวกันไฟเรียบร้อยแล้วจริงๆ และได้วางกำลังพนักงานดับไฟป่าเพื่อเตรียมการดับลูกไฟและควบคุมไฟในกรณีที่เกิดการผิดพลาด ไว้อย่างเพียงพอและรัดกุมแล้ว
    - จุดไฟในขณะที่แนวไฟป่าจริงยังอยู่ห่างพอสมควร มิฉะนั้นแล้วอิทธิพลของลมจากแนวไฟป่าจะทำให้แนวไฟเผากลับถูกลมตีกลับทิศและกระโดดข้ามแนวไปได้
    - ถ้าลักษณะของลมผันผวนไม่คงที่ ห้ามจุดไฟเผากลับโดยเด็ดขาด
    - จุดไฟด้วยเครื่องมือเฉพาะ เช่น คบจุดไฟ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจุดไฟเผากลับ
    ได้อย่างรวดเร็วทันการ และแนวไฟเผากลับมีความสม่ำเสมอลดปัญหาการเกิดความปั่นป่วนของกระแสลม
    - เมื่อจุดไฟแล้วต้องคอยดับไฟในส่วนที่จะลามข้ามแนวกันไฟกลับมาหาบริเวณป่าที่จะป้องกัน และต้องคอยระวังดับลูกไฟที่ปลิวข้ามแนวกันไฟมา (ภาพที่7.2)
    - ขณะที่แนวไฟป่าและแนวไฟเผากลับลุกลามเข้าบรรจบกัน จะมีการปะทะกันของแนวลมสองแนว ซึ่งอาจทำให้เกิดลมหมุนอย่างรุนแรงได้ ดังนั้นต้องระวังการปลิวกระจายของลูกไฟและสะเก็ดไฟให้ดี


    [​IMG]
    ภาพที่ 7.2 ดับลูกไฟที่ปลิวข้ามแนวกันไฟ


    3. ดับด้วยการเบี่ยงทิศทางของหัวไฟ
    ในกรณีที่ในพื้นที่มีอุปสรรคตามธรรมชาติที่จะใช้ในการยับยั้งไฟได้ เช่นมีลำห้วยขนาดใหญ่ แนวถนน หรือลานหิน ก็อาจใช้แนวธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์โดยไม่จำเป็นต้องทำแนวกันไฟขึ้นใหม่ แต่ใช้วิธีการบีบแนวหัวไฟให้เบี่ยงเบนทิศทางและลุกลามเข้าไปหาแนวธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น หากต้องการเบี่ยงทิศทางของแนวหัวไฟไปทางซ้ายก็ทำโดยการทำแนวขนานไปกับแนวปีกไฟด้านขวา แล้วตีโอบแนวหัวไฟจากขวาไปซ้าย ทิศทางของหัวไฟก็จะถูกบีบให้ค่อยๆ เบี่ยงไปทางซ้ายในที่สุด
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    กลยุทธ์ในการดับไฟป่า


    ในขณะที่วิธีการเป็นเพียงหลักการกว้างๆ แต่กลยุทธ์เป็นศิลปะในการพลิกแพลงการใช้วิธีการนั้นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้เงื่อนไขของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์ในการดับไฟป่าจึงเป็นส่วนเสริมให้การดับไฟป่าด้วยวิธีการต่างๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


    1. กลยุทธ์การดับไฟทุ่งหญ้า
    เชื้อเพลิงหลักในทุ่งหญ้าจะเป็นเชื้อเพลิงเบา ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หญ้าคา และหญ้าขจรจบ นอกจากนั้นยังอาจมีวัชพืชอื่นๆ เช่น ต้นสาบเสือ ซึ่งเชื้อเพลิงเบาดังกล่าวหากแห้งจัดแล้วจะติดไฟได้ง่ายมีอัตราการลุกลามที่รวดเร็วมาก แต่อัตราการลุกลามจะไม่สม่ำเสมอ โดยขึ้นอยู่กับกระแสลม เมื่อลมพัดแรงไฟจะลุกลามอย่างรวดเร็ว (ภาพที่ 7.3) เปลวไฟมีความยาวมาก ส่งลูกไฟปลิวนำหน้าแนวไฟไปได้หลายร้อยเมตร และความร้อนแรงของไฟจะพุ่งขึ้นสูง แต่ในจังหวะที่ลมสงบลงเป็นช่วงๆ ไฟจะลดความรุนแรง และลดอัตราการลุกลามลงอย่างมาก เช่นกัน การดับไฟทุ่งหญ้าโดยการทำแนวกันไฟดักหน้าหัวไฟเป็นไปได้ยากและอันตราย เพราะเชื้อเพลิงหนาแน่นและแนวหัวไฟเคลื่อนที่เร็วมากจนทำแนวดักไม่ทัน



    ดังนั้น การดับไฟจึงต้องแบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน กำลังส่วนน้อยทำหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็ว นำหน้าแนวหัวไฟไปก่อนเพื่อคอยดับลูกไฟที่ปลิวไปตกหน้าแนวไฟ ส่วนกำลังหลักจะทำหน้าที่ดับตัวไฟ โดยการเข้าดับไฟจากหางไฟด้วยวิธีดับทางตรงก่อน จากนั้นจึงค่อยกระจายกำลังออกทางปีกไฟทั้งซ้ายขวา โดยเข้าดับไฟจากด้านที่ถูกไฟไหม้ไปแล้ว ในลักษณะเดินตามเกาะติดไฟไปเรื่อยๆ ในจังหวะที่กระแสลมแรงเกินกว่าจะเข้าดับไฟทางตรงได้ จนกระทั่งถึงจังหวะที่ลมเบาลงซึ่งจะทำให้การลุกลามของไฟชะงักลงและความสูงเปลวไฟก็ลดต่ำลงมา ซึ่งช่วงลมสงบนี้จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงกินเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่นาที ช่วงเวลานี้ถือเป็น ช่วงนาทีทองในการดับไฟทุ่งหญ้า ซึ่งพนักงานดับไฟป่าทุกคนจะต้องรีบเข้าทำการดับไฟที่ขอบของไฟโดยการดับทางตรงอย่างรวดเร็วหนักหน่วงและพร้อมเพรียงกันที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อดับแนวปีกไฟให้ได้ระยะทางยาวที่สุด อันเป็นการบีบแนวหัวไฟให้เล็กลงเรื่อยๆ และเมื่อลมพัดแรงขึ้นอีกจนไม่สามารถเข้าไปทำงานที่ขอบของไฟได้ก็จะถอยออกมาและเดินตามเกาะติดไฟไปเรื่อยๆ เพื่อรอโอกาสเข้าดับไฟในจังหวะที่ลมสงบลงอีกในครั้งต่อไป หรือหากเป็นไฟที่ไหม้ขึ้นเขาก็จะต้องตามไฟไปเรื่อยๆ และเข้าดับไฟในขณะที่ไฟลามถึงสันเขาและกำลังจะลามลงด้านลาดเขาอีกด้านหนึ่งซึ่งจังหวะนั้นอัตราการลุกลามของไฟจะลดลงมากเช่นกัน



    ดังนั้นความสำเร็จในการดับไฟทุ่งหญ้าจึงขึ้นอยู่กับความอดทนในการเกาะติดตามไฟของพนักงานดับไฟป่า ประกอบกับความรวดเร็ว หนักหน่วงและพร้อมเพรียงในการเข้าดับไฟในช่วงนาทีทองเป็นสำคัญ ซึ่งเปรียบได้กับยุทธวิธีในการล่าเหยื่อของฝูงไฮยีน่าที่ติดตามม้าลายหลงฝูงไปเรื่อยๆ อย่างอดทน รอจังหวะให้ม้าลายชะตาขาดวิ่งหนีจนอ่อนกำลังลง จึงค่อยถือโอกาสนั้นเข้าจู่โจมอย่างพร้อมเพรียงด้วยความรวดเร็วและดุดัน


    [​IMG]
    ภาพที่ 7.3 ไฟทุ่งหญ้า ที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว


    2. กลยุทธ์การดับไฟป่าไม้พุ่มและป่าไผ่
    ไฟป่าไม้พุ่มและป่าไผ่จะมีอัตราการลุกลามช้ากว่าไฟทุ่งหญ้า แต่ความร้อนแรงจะมีมากกว่า อย่างไรก็ตามพื้นป่าไม้พุ่มและป่าไผ่มักจะมีวัชพืชต่างๆ ที่เป็นเชื้อเพลิงอยู่น้อยโดยในป่าไผ่ส่วนใหญ่เชื้อเพลิงจะเป็นใบไผ่และกิ่งไผ่แห้ง ซึ่งหากอากาศไม่แห้งจัดจนเกินไปก็มักสามารถดับไฟโดยวิธีทางตรงได้ โดยอาจต้องใช้น้ำค่อนข้างมากเพื่อดับไฟที่เข้าไปไหม้อยู่ในฐานของกอไผ่ หรือหากไม่มีน้ำก็ต้องใช้พลั่วตักดินสาดไฟในฐานกอไผ่ หรือทำแนวกันไฟรอบๆ กอไผ่เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้าไปในฐานกอไผ่ได้
    แต่ในกรณีที่อากาศแห้งจัด การดับไฟจะยากลำบากและอันตรายมาก ทั้งนี้เนื่องจากไฟจะมีโอกาสลุกลามลามขึ้นไปติดพุ่มไม้ หรือติดกอไผ่และไหม้ขึ้นไปตามลำไผ่ ทำให้ความสูงเปลวไฟเพิ่มขึ้นมาก และมีโอกาสเกิดลูกไฟปลิวนำหน้าแนวไฟไปได้ไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจจะมีการระเบิดของปล้องไผ่ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อพนักงานดับไฟป่าที่ทำงานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง



    ในกรณีเช่นนี้ การดับไฟต้องใช้การผสมผสานทั้งการดับทางตรงและทางอ้อม โดยทำแนวสกัดหัวไฟก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อสกัดแนวหัวไฟได้แล้ว จึงทำการดับปีกและหางไฟด้วยการดับไฟทางตรง ในขณะเดียวกันหากมีไม้พุ่มหรือกอไผ่ที่ไหม้ไฟ จะต้องให้กำลังส่วนหนึ่งเฝ้าระวังการปลิวของลูกไฟ (ภาพที่ 7.4) และเมื่อไฟที่ไหม้กอไผ่เริ่มโทรมลงลำไผ่ที่ถูกไฟไหม้จะเริ่มหักโค่นลงมา ซึ่งหากเป็นที่ลาดชัน ลำไผ่ติดไฟอาจกลิ้งลงไปสู่บริเวณด้านล่างที่ยังไม่ถูกไฟไหม้ ดังนั้นจึงต้องขุดร่องดักเอาไว้ ในกรณีเช่นนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการกวาดเก็บและตรวจตราพื้นที่หลังดับไฟเสร็จแล้วให้มากเป็นพิเศษ


    [​IMG]
    ภาพที่ 7.4 เฝ้าระวังการปลิวของลูกไฟที่ไหม้กอไผ่


    3. กลยุทธ์การดับไฟสวนป่า
    ในสวนป่าที่มีการเตรียมการป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี โดยการถางหรือชิงเผากำจัดวัชพืชตามช่วงเวลาที่เหมาะสม และมีการตัดแนวกันไฟเป็นตารางและซ่อมบำรุงแนวกันไฟอย่างสม่ำเสมอ มักจะไม่ค่อยมีปัญหาไฟป่าหรือหากเกิดไฟไหม้ก็สามารถควบคุมได้โดยง่าย แต่ในสวนป่าที่ต้นไม้ยังอายุน้อย จะมีวัชพืชขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและถ้าไม่มีการเตรียมการเพื่อป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดีแล้ว หากเกิดไฟไหม้ขึ้น ไฟจะมีความรุนแรงมากและควบคุมได้ยาก ซึ่งในกรณีเช่นนี้แทบจะไม่มีโอกาสดับไฟทางตรงได้เลย การดับไฟทางอ้อมโดยทำแนวกันไฟก็เป็นไปได้ยากเพราะเชื้อเพลิงหนาแน่นมากเป็นอุปสรรคทำให้การทำแนวกันไฟเป็นไปอย่างเชื่องช้าและไม่ทันการ



    ดังนั้นการดับไฟในกรณีนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักธรรมที่ว่า “พึงเสียสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต” โดยการยอมเสียพื้นที่สวนป่าแปลงนั้นๆ ทั้งแปลงเพื่อรักษาพื้นที่สวนป่าแปลงอื่นๆ เอาไว้ โดยการรีบซ่อมแซมและขยายแนวกันไฟถาวรรอบสวนป่าแปลงนั้น เพื่อใช้เป็นแนวตั้งรับ (ภาพที่ 7.5) แล้ววางกำลังคนตลอดจนเครื่องมือดับไฟป่าทั้งหมดเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลามข้ามแนวไปติดสวนป่าแปลงอื่นๆ ทั้งนี้โดยยอมปล่อยให้แปลงที่กำลังเกิดไฟไหม้ถูกไฟไหม้หมดทั้งแปลง


    [​IMG]
    ภาพที่ 7.5 ใช้แนวกันไฟถาวรของสวนป่าเป็นแนวตั้งรับในการดับไฟ


    4. กลยุทธ์การดับไฟป่าธรรมชาติ
    ป่าธรรมชาติที่เกิดไฟไหม้อยู่เสมอ ได้แก่ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรอบการเกิดไฟป่าค่อนข้างถี่ ทำให้เชื้อเพลิงที่สะสมอยู่บนพื้นป่ามีปริมาณน้อย ไฟป่าที่เกิดจึงมีความรุนแรงไม่มากนัก สามารถดับไฟทางตรงได้โดยไม่ยากนักหากมีน้ำเพียงพอ (ภาพที่ 7.6) แต่ปัญหาในการดับไฟป่าธรรมชาติคือไฟมักเกิดในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ซึ่งกว่าจะตรวจพบและเดินทางไปถึง ไฟก็มักจะแผ่ขยายเป็นวงกว้างบางครั้งมีแนวไฟยาวหลายกิโลเมตร และในพื้นที่จะไม่สามารถหาน้ำเพื่อนำมาใช้ในการดับไฟได้ ดังนั้นน้ำที่จะใช้ในการดับไฟจึงมีเพียงน้ำในถังฉีดน้ำดับไฟป่าที่พนักงานดับไฟป่าแบกเข้าไปเท่านั้น



    ในกรณีเช่นนี้ น้ำทุกหยดจะมีคุณค่าอย่างยิ่ง การดับไฟจึงต้องใช้กลยุทธในการใช้น้ำน้อยสู้กับไฟ โดยการใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด แต่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด หรืออาจจะต้องสู้กับไฟโดยไม่ใช้น้ำเลย (Dry Suppression) โดยการใช้ที่ตบไฟเพียงอย่างเดียวในจุดที่สามารถทำได้ และใช้การดับไฟทางอ้อมโดยการทำแนวกันไฟแทนการดับทางตรงซึ่งใช้น้ำ เพื่อประหยัดน้ำไว้ใช้ในจุดที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น


    [​IMG]
    ภาพที่ 7.6 การดับไฟในป่าธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่มีความรุนแรงไม่มากนัก
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การดับไฟในป่าพร



    ป่าพรุ (Peat Swamp Forest) เป็นป่าไม่ผลัดใบประเภทหนึ่งที่ขึ้นในบริเวณที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง ดินในป่าพรุ เรียกว่าดินพรุ หรือดินอินทรีย์ (Peat soil) ซึ่งเกิดจากการตกสะสมของใบไม้ กิ่งไม้ และโดยที่พื้นป่าพรุมีน้ำท่วมขังจึงทำให้ขบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุเป็นไปอย่างเชื่องช้า จึงมีการสะสมของใบไม้และกิ่งไม้เล็กๆ อยู่ในปริมาณมหาศาลและทับถมกันจนเป็นชั้นหนา ในประเทศไทยมีป่าพรุที่สำคัญอยู่ 2 แห่ง อยู่ในจังหวัดนราธิวาส คือ ป่าพรุบาเจาะ และป่าพรุโต๊ะแดง โดยมีความหนาของชั้นดินพรุอยู่ระหว่าง 0.5-5.0 เมตร ตามสภาพความลุ่มดอนของพื้นที่ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วชั้นดินพรุบาเจาะมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 เมตร ในขณะที่ชั้นดินพรุโต๊ะแดงมีความหนาโดยเฉลี่ย 0.5-1.0 เมตร


    ในปีที่อากาศแห้งแล้งจัดหรือมีการระบายน้ำออกจากป่าพรุ จนระดับน้ำในป่าพรุลดต่ำลงกว่าระดับผิวดิน ทำให้ดินพรุแห้งและกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่าพรุตามมา เช่น ไฟที่ไหม้ป่าพรุครั้งใหญ่ในประเทศอินโดนีเซียในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ของปี 2540 ซึ่งพื้นที่ป่าพรุถูกไฟไหม้หลายแสนไร่ ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะข้ามพรมแดน



    โดยหมอกควันจากไฟป่าพรุลอยปกคลุมไปถึงประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศพิลิปปินส์ ประเทศบรูไนดารุซาลาม และหมอกควันไฟส่วนหนึ่งลอยมาปกคลุมภาคใต้ประเทศไทย สำหรับในประเทศไทย ก็เคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าพรุหลายครั้ง โดยครั้งสำคัญเกิดในปี 2540 ที่ป่าพรุบาเจาะ ซึ่งมีพื้นที่พรุถูกไฟไหม้ประมาณ 7,000 ไร่ และในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของปี 2541 ซึ่งเกิดไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง เสียหายไปถึง 14,837 ไร่ โดยต้องใช้ระยะเวลาเกือบสองเดือนและเสียงบประมาณไปจำนวนหลายล้านบาทกว่าที่จะควบคุมไฟเอาไว้ได้ (ภาพที่ 7.7)


    1. ข้อพึงสังวรณ์ในการดับไฟป่าพรุ
    ไฟที่ไหม้ป่าพรุ มีลักษณะพิเศษ คือเป็นไฟกึ่งผิวดินกึ่งใต้ดิน (Semi-Ground Fire) ที่ไหม้ในสองมิติ คือส่วนหนึ่งจะไหม้ในแนวระนาบไปตามผิวพื้นป่าเช่นเดียวกับไฟผิวดิน ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะไหม้ในแนวดิ่งลึกลงไปในชั้นดินพรุ ซึ่งในเรื่องนี้ ถึงแม้ชั้นดินพรุบางแห่งจะหนาหลายเมตรก็ตาม แต่ไฟในแนวดิ่งจะไหม้ลึกลงไปได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากยิ่งลึกปริมาณออกซิเจนจะยิ่งน้อย และยิ่งลึกก็จะยิ่งใกล้ระดับน้ำใต้ดิน ทำให้ความชื้นมีมากขึ้นตามระดับความลึก ได้มีการศึกษาถึงระดับความลึกของไฟที่ไหม้ในป่าพรุในเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย พบว่าไฟไหม้ลึกลงไปโดยเฉลี่ยประมาณ 20-30 เซนติเมตร (Goto, 1998) ซึ่งใกล้เคียงกับที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งประสบการณ์จากการดับไฟในป่าพรุดังกล่าวในปี 2541 พบว่า ไฟไหม้ลึกลงไปโดยเฉลี่ยไม่เกิน 30 เซนติเมตร


    เนื่องจากลักษณะเฉพาะของไฟป่าพรุที่แตกต่างไปจากไฟป่าบกโดยทั่วไป ทำให้วิธีการและกลยุทธในการดับไฟป่าพรุมีความแตกต่างไปจากการดับไฟป่าบกด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการดับไฟป่าพรุนั้นมีความยากลำบากกว่าการดับไฟป่าบกหลายเท่าตัว เพราะต้องต่อสู้กับไฟทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง หาขอบเขตที่แท้จริงของไฟได้ยากเนื่องจากไฟมีควันมหาศาลแต่แทบจะไม่มีเปลวไฟให้เห็น ในขณะที่ไฟจะคุกรุ่นคืบคลานไปเรื่อยๆ ดังนั้นไฟที่คิดว่าดับลงแล้วจึงกลับคุขึ้นใหม่ได้โดยง่าย จนดูประหนึ่งว่าไฟป่าพรุเป็นไฟปีศาจที่ไม่มีวันตาย ทำให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการดับไฟป่าพรุตระหนักดีว่า ไฟป่าพรุที่ยังมีขนาดเล็กเนื้อที่เพียงไม่กี่ไร่เท่านั้น จึงจะสามารถดับได้อย่างเด็ดขาด หากปล่อยให้ไฟลุกลามกินเนื้อที่กว้างขวางหลายพันไร่ เช่น ไฟที่ไหม้บริเวณโคกกะหลาของป่าพรุโต๊ะแดง ในปี 2541แล้ว การดับไฟให้ได้อย่างเด็ดขาดแทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือถ้าทำได้ก็จะต้องใช้เวลานานนับเดือนและต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลเกินกว่าที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนได้ ดังนั้นจึงขอให้ผู้รับผิดชอบการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุพึงสังวรณ์ไว้ว่า “รีบดับไฟป่าพรุตั้งแต่ไฟเริ่มเกิด มิเช่นนั้นไฟป่าพรุจะดับอนาคตของท่าน”
    [​IMG]
    ภาพที่ 7.7 ไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดงครั้งใหญ่ ในปี 2541


    2. วิธีการและกลยุทธในการดับไฟป่าพรุ
    วิธีการและกลยุทธในการดับไฟป่าพรุทำได้หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แล้วการดับไฟแต่ละครั้งจะต้องใช้หลายวิธีการและหลายกลยุทธผสมผสานกัน ดังนี้


    2.1 การดับไฟทางตรง
    พื้นที่พรุส่วนใหญ่จะเป็นที่ลุ่มที่เป็นลอนคลื่น ดังนั้นจึงมีที่ดอนเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ป่าพรุ หากไฟไหม้ขึ้นไปบนพื้นที่ดอน ไฟจะกลายเป็นไฟผิวดินซึ่งมีความรุนแรงไม่มากนักสามารถดับไฟทางตรงโดยใช้ที่ตบไฟและถังฉีดน้ำดับไฟป่าได้ นอกจากนั้นบนที่ดอนมักจะเป็นสันทรายเดิม ดินเป็นทรายทะเลซึ่งสามารถใช้พลั่วไฟป่าตักทรายสาดกลบไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ภาพที่ 7.8)


    [​IMG]
    ภาพที่ 7.8 การใช้ทรายในการดับไฟผิวดินในป่าพรุ


    2.2 การดับไฟทางอ้อมด้วยการขุดร่องเป็นแนวกันไฟ
    วิธีนี้ใช้หลักการเดียวกันกับการดับไฟทางอ้อมด้วยแนวกันไฟในป่าบก แต่ความแตกต่างคือแนวกันไฟที่ทำจะต้องขุดเป็นร่องคล้ายสนามเพาะให้มีความลึกมากกว่าความลึกในแนวดิ่งของไฟ เสร็จแล้วต้องฉีดน้ำหล่อเลี้ยงผนังร่องด้านในที่ไฟกำลังลามเข้ามาหา ทั้งนี้สามารถหาน้ำในพื้นที่ได้โดยการขุดบ่อลงไปจนถึงระดับน้ำใต้พรุ ซึ่งการดับไฟที่ป่าพรุโต๊ะแดงในปี 2541 ปรากฏว่าพบน้ำที่ระดับความลึกตั้งแต่ 0.5-2.0 เมตร



    อย่างไรก็ตามหากจะให้แน่ใจว่าร่องที่ขุดสามารถป้องกันไฟได้จริงๆ จะต้องขุดร่องให้ลึกจนถึงชั้นดินเหนียวใต้ชั้นดินพรุ หรือขุดให้ลึกจนกระทั่งน้ำใต้พรุซึมเข้ามาท่วมร่องที่ขุด หรือหากมีแหล่งน้ำก็ให้สูบน้ำเข้ามาท่วมร่องที่ขุด การขุดร่องแนวกันไฟดังกล่าวทำได้ 2 วิธี
    - ใช้แรงงานคน โดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการขุดร่อง เช่น จอบหน้าแคบ อีเตอร์ ขวาน หรือ พูลาสกี้ (Pulaski) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อการขุดร่องดับไฟป่าโดยเฉพาะ โดยนำขวานและจอบหน้าแคบมาเชื่อมต่อเป็นเครื่องมือชิ้นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการขุดร่องโดยใช้แรงงานคนเป็นงานที่หนักและใช้เวลามาก เนื่องจากในชั้นดินพรุจะมีรากไม้ที่เจริญออกในแนวระนาบหนาแน่นมากและเลื้อยสานกันเป็นร่างแห (ภาพที่ 7.9)

    [​IMG]
    ภาพที่ 7.9 ขุดร่องแนวกันไฟป่าพรุ ด้วยแรงงานคน


    - ใช้เครื่องจักรกล เครื่องจักรกล เช่น รถแทรคเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากในการทำแนวกันไฟป่าบก แต่ไม่สามารถเข้าไปทำงานในป่าพรุได้ เนื่องจากดินป่าพรุนิ่มมากทำให้รถแทรคเตอร์จมลงไปในดินพรุ เครื่องจักรกลที่สามารถเข้าไปทำงานในป่าพรุได้ คือรถตักดิน (Back hoe) ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือ เป็นรถที่ออกแบบมาเพื่องานขุดโดยเฉพาะ และสามารถใช้แขนตักดินค้ำยันต้นไม้เพื่อการทรงตัวหรือยึดตัวรถไม่ให้จมลงไปในดินพรุ การเคลื่อนที่เข้าไปในป่าพรุอาจใช้วิธีวางแผ่นเหล็กเป็นสะพาน หรือใช้แขนตักดินตีต้นไม้ให้ล้มลงขวางทิศทางที่รถจะเคลื่อนที่ไปและใช้ต้นไม้ดังกล่าวเป็นสะพาน วิธีหลังนี้สะดวกกว่า แต่จะต้องสูญเสียต้นไม้จำนวนมากเพื่อการนี้ (ภาพที่ 7.10 และ 7.11)

    [​IMG]
    ภาพที่ 7.10 ขุดร่องแนวกันไฟป่าพรุ ด้วยรถตักดิน
    [​IMG]
    ภาพที่ 7.11 ร่องแนวกันไฟที่ทำเสร็จแล้ว ด้วยรถตักดิน
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    2.3 การฉีดอัดน้ำลงไปในดิน ในพื้นที่ที่รถบรรทุกน้ำสามารถเข้าถึง หรือมีแหล่งน้ำที่จะสูบมาใช้ได้ในปริมาณมาก การใช้น้ำดับไฟป่าพรุเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากไฟป่าพรุไม่มีเปลวและไหม้ลึกลงไปในดิน การใช้น้ำดับไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องฉีดอัดน้ำ(Injection) ลงไปใต้ดินพรุให้น้ำซึมลงไปลึกพอที่จะดับไฟทั้งหมดได้ การฉีดอัดน้ำลงไปในดินพรุทำได้โดยการใช้ท่อเหล็กหรือท่อพีวีซีปักให้ลึกลงไปในดินพรุก่อน จากนั้นจึงนำหัวฉีดน้ำเสียบลงไปในท่อดังกล่าวแล้วจึงปล่อยน้ำที่มีแรงดันสูงลงไป วิธีนี้ใช้ได้ผลดีมาแล้วในการดับไฟป่าพรุที่ประเทศบรูไนดารุซาลาม ในปี 2541


    3. คาถาป้องกันไฟป่าพรุ
    จะเห็นได้ว่าการดับไฟป่าพรุเป็นงานที่ยากเข็ญ สิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพนักงานดับไฟป่าอย่างร้ายแรง ในขณะที่การป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ป่าพรุทำได้ง่ายมาก โดยมีคาถาป้องกันไฟป่าพรุซึ่งผู้รับผิดชอบการควบคุมไฟในป่าพรุต้องท่องให้ขึ้นใจ เพียงสั้นๆ คือ “อย่าปล่อยให้น้ำในป่าพรุแห้ง”

    กฎข้อบังคับในการใช้น้ำดับไฟป่า
    น้ำเป็นสารเคมีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดับไฟป่า เพราะน้ำมีความสามารถในการดูดซับความร้อนได้สูง มีราคาถูกที่สุด และไม่มีพิษตกค้างต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร ดังนั้นในกรณีที่มีแหล่งน้ำอยู่อย่างเหลือเฟือ ความยากลำบากในการดับไฟป่าก็เป็นเพียงการฉีดน้ำให้โดนตรงฐานของไฟอย่างแม่นยำเท่านั้น แต่สำหรับในป่าผลัดใบเขตร้อน ซึ่งส่วนใหญ่ปกคลุมพื้นที่ที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และมีช่วงฤดูแล้งที่ชัดเจนและยาวนาน เช่นในประเทศไทย ดังนั้นในช่วงฤดูไฟป่าโอกาสที่จะหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติเพื่อใช้ในการดับไฟป่านั้นแทบจะไม่มีเอาเลย พนักงานดับไฟป่าจึงจำเป็นต้องแบกน้ำที่บรรจุอยู่ในถังฉีดน้ำดับไฟป่าจำนวน 15 ลิตร ซึ่งหนักถึง 15 กิโลกรัม เป็นระยะทางไกลเพื่อไปใช้ในการดับไฟป่า



    ในกรณีเช่นนี้ น้ำทุกหยดมีคุณค่าอย่างยิ่ง การใช้น้ำจึงต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับโดยเคร่งครัด
    1. ใช้น้ำทุกหยดอย่างประหยัดที่สุด แต่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


    2. น้ำไม่ได้มีไว้เพื่อดับไฟ แต่มีไว้เพื่อลดความร้อน ความสูงเปลวไฟ และลดอัตราการลุกลามของไฟ เพื่อให้เครื่องมือดับไฟป่าชนิดอื่น เช่น ที่ตบไฟ หรือพลั่วไฟป่า สามารถเข้าไปตบคลุมไฟจนดับในที่สุด อย่าพยายามดับไฟด้วยน้ำเพียงอย่างเดียว เพราะจะต้องใช้น้ำจำนวนมหาศาล


    3. ในการดับไฟทางตรง ถังฉีดน้ำดับไฟและที่ตบไฟจะต้องทำงานร่วมกันเสมอ ในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 การทำงานแยกกันจะลดประสิทธิภาพของงานลงอย่างมาก และทำให้น้ำหมดในเวลาอันรวดเร็ว (ภาพที่ 7.12)


    4. การฉีดน้ำทุกครั้งต้องให้ตรงเป้าหมายไม่สูญเปล่า โดยฉีดน้ำไปที่ฐานของไฟตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเชื้อเพลิงที่กำลังติดไฟและเชื้อเพลิงที่ยังไม่ติดไฟ ถ้าเป็นกอหญ้าหรือกอไม้พุ่มให้ฉีดน้ำไปที่โคนของกอหญ้า หรือกอไม้พุ่มนั้น อย่าฉีดน้ำไปที่เปลวไฟ เพราะจะเป็นการสูญเปล่าโดยสิ้นเชิง


    5. กำหนดระยะที่ยืนฉีดน้ำให้พอเหมาะ เพราะหากยืนห่างเกินไปน้ำจะเป็นฝอยมากจนไม่มีผลต่อไฟ หรือถ้ายืนใกล้เกินไปน้ำจะรวมตัวกันเป็นลำแคบไม่กระจายจึงคลุมพื้นที่ได้น้อย ต้องสิ้นเปลืองน้ำมากโดยใช่เหตุ


    6. น้ำมีความสำคัญต่อการยังชีพในป่าของพนักงานดับไฟป่ามากกว่าความสำคัญในการดับไฟ ดังนั้นต้องสำรองน้ำให้เพียงพอต่อการยังชีพในระหว่างการปฏิบัติงานในป่าเสียก่อน ที่เหลือจึงนำมาใช้ในการดับไฟ

    [​IMG]
    ภาพที่ 7.12 การใช้น้ำร่วมกับที่ตบไฟอย่างมีประสิทธิภาพ


    การกวาดเก็บ
    การกวาดเก็บ (Mop up) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการดับไฟป่า ดำเนินการภายหลังจากที่ควบคุมไฟป่าไว้ได้แล้ว โดยการจัดการกับเชื้อเพลิงที่ยังคุกรุ่นอยู่ให้ดับลงอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้เพื่อ
    ป้องกันมิให้ไฟที่ดับไปแล้วกลับคุขึ้นมาอีก โดยการทำแนวดำรอบบริเวณที่ถูกไฟไหม้ จากนั้นทำงานจากขอบแนวดำเข้าไปหาศูนย์กลางของพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้
    การกวาดเก็บและการตรวจตราพื้นที่ภายหลังจากที่ควบคุมไฟไว้ได้แล้วนั้น เป็นงานที่ต้องคลุกอยู่กับเถ้าถ่านที่ร้อน สกปรก และอันตราย ซ้ำยังต้องทำทันทีในขณะที่ทุกคนเหนื่อยล้าหลังจากการตรากตรำกับการดับไฟป่า การกวาดเก็บจึงเป็นงานที่พิสูจน์สมรรถนะและความรับผิดชอบของพนักงานดับไฟป่า



    อย่างไรก็ตามหากเป็นไปได้ควรมีการสับเปลี่ยนกำลังชุดใหม่เข้าไปทำการเก็บกวาดแทน การเก็บกวาดถือว่าเป็นขั้นตอนของการดับไฟป่าที่มีความสำคัญที่สุด และเป็นปัจจัยตัดสินความสำเร็จหรือล้มเหลวของการดับไฟป่าครั้งนั้น เพราะถึงแม้จะควบคุมไฟป่าไว้ได้แล้ว หากไม่มีการเก็บกวาดและตรวจตราพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ไฟก็มีโอกาสสูงมากที่จะกลับคุขึ้นมาใหม่ ทำให้ความเหนื่อยยากและเสี่ยงอันตรายในการดับไฟป่าครั้งนั้นเป็นการสูญเปล่าโดยสิ้นเชิง


    1. หลักเกณฑ์ในการกวาดเก็บ
    1.1 หากเป็นไฟขนาดเล็ก จะต้องจัดการกับเชื้อเพลิงหรือบริเวณที่ยังคุกรุ่นอยู่ให้ดับสนิท ไม่เหลือควันไฟใดๆ ทั้งสิ้น


    1.2 หากเป็นไฟขนาดใหญ่ จะต้องทำแนวกันไฟรอบพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ โดยทำแนวตามแนวรอยต่อระหว่างพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ไปแล้วและพื้นที่ที่ไม่ถูกไฟไหม้ แนวกันไฟในการกวาดเก็บนี้เรียกว่า แนวดำ (Black line) (ภาพที่ 7.13) ปกติจะมีความกว้างประมาณ 30 เมตร (Heikkila,1993) โดยดับไฟและควันในแนวดำให้หมดโดยสิ้นเชิง


    1.3 ทำแนวดำโดยการคราดเชื้อเพลิงที่ยังคุกรุ่นทั้งหมดเข้าไปทิ้งในบริเวณที่ถูกไฟไหม้แล้ว จากนั้นใช้น้ำฉีดพรมหรือตักทรายกลบจนไม่มีควันไฟหลงเหลืออยู่ หากเป็นการกวาดเก็บในป่าพรุ แนวดำจะต้องทำโดยการขุดร่องรอบพื้นที่ไฟไหม้ให้ลึกลงไปถึงชั้นดินจริง (Mineral soil)


    1.4 กำจัดสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้แนวดำให้หมด เช่นไม้ยืนต้นตาย ขอนไม้ กิ่งไม้แห้งที่ตกลงมาคาอยู่ตามคาคบไม้


    1.5 จุดไฟเผาเชื้อเพลิงที่เหลือค้างอยู่เป็นหย่อมๆ ในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ให้หมด


    1.6 ในพื้นที่ลาดชัน ต้องขุดร่องดักเชื้อเพลิงที่อาจกลิ้งลงมาตามลาดเขา


    1.7 ระวังไม่ให้มีลูกไฟปลิวข้ามแนวดำออกไป


    1.8 ไม้ขอนที่ยังติดไฟครุกรุ่นอยู่ จะต้องถากส่วนที่ติดไฟออก แล้วฉีดพรมด้วยน้ำหรือใช้ดินทรายสาดกลบเพื่อให้ไฟดับสนิท


    1.9 ไม้ยืนตายที่ติดไฟ จะต้องโค่นลงมาแล้วจัดการดับให้สนิท หากไม่สามารถโค่นลงมาได้ ให้ปฏิบัติดังนี้
    - ใช้น้ำฉีดหรือใช้ดินหรือทรายสาดเพื่อดับเปลวไฟให้หมดลงเสียก่อน
    จากนั้นจึงถากส่วนที่ติดไฟนั้นออกด้วย มีด ขวาน หรือ พลั่วไฟป่า
    - แกะเอาเปลือกไม้ที่ผุออกทิ้งให้หมด
    - ตรวจดูว่ามีไฟไหม้อยู่ในรอยแยกของไม้ หรือในโพรงไม้หรือไม่ ถ้ามีต้องใช้น้ำฉีด หรือใช้ดินทรายสาดกลบจนไฟดับสนิท
    - หากโคนต้นไม้ยังมีเชื้อเพลิงเหลืออยู่ ให้เผาทิ้งให้หมด


    1.10 ตรวจตราให้แน่ใจว่าไม่มีรากไม้แผ่ลอดใต้แนวดำออกมานอกแนว ถ้ามีต้องขุดและตัดทิ้ง


    [​IMG]
    ภาพที่ 7.13 ทำแนวดำรอบพื้นที่ไฟไหม้


    2. การตรวจตราภายหลังการกวาดเก็บ
    ภายหลังทำการกวาดเก็บเสร็จสิ้นแล้ว ยังจำเป็นต้องทิ้งกำลังคนจำนวนหนึ่งไว้ในพื้นที่อีกระยะหนึ่ง เพื่อตรวจตราเฝ้าระวังไม่ให้ไฟคุขึ้นมาได้อีก กับทั้งป้องกันไม่ให้ลูกไฟปลิวข้ามแนวดำออกไป การตรวจตราพื้นที่หลังไฟไหม้ทำได้ 2 วิธี คือ


    2.1 เดินตรวจตามแนวดำ
    จัดชุดตรวจแนวดำพร้อมอุปกรณ์ดับไฟป่า เดินตรวจตราตามแนวดำโดยใช้ประสาทสัมผัสทุกชนิดที่มีอยู่ ทั้งการมองเห็น การฟังเสียง การดมกลิ่น การใช้หลังมือสัมผัสพื้นดิน เพื่อตรวจเช็คหาบริเวณที่ยังมีความร้อนสูง หรือยังมีเชื้อเพลิงคุกรุ่นอยู่ หรืออาจมีลูกไฟปลิวข้ามแนว หากพบก็ต้องดำเนินการกวาดเก็บหรือดับลูกไฟทันที การตรวจตราเฝ้าระวังนี้ จะต้องตรวจตราทั้งในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้แล้ว และในพื้นที่รอบข้างที่ไม่ถูกไฟไหม้


    2.2 ตรวจโดยใช้จุดตรวจการณ์
    จุดตรวจการณ์อาจเป็นหอดูไฟ หรือเนินสูงที่มองเห็นพื้นที่ไฟไหม้ทั้งหมดได้อย่างชัดเจน โดยผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจตราเฝ้าระวังจะต้องมีอุปกรณ์การสื่อสาร เพื่อสามารถติดต่อกับหน่วยดับไฟป่าได้ทันทีหากไฟกลับคุขึ้นอีก หรือมีลูกไฟปลิวข้ามแนวดำ


    ในกรณีที่เป็นไฟขนาดเล็ก หรือไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงเบา จำพวกหญ้าหรือใบไม้แห้ง การตรวจตราเฝ้าระวังอาจใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมงก็เพียงพอ แต่ถ้าเป็นไฟขนาดใหญ่ที่กินเนื้อที่กว้างใหญ่ หรือไฟไหม้เชื้อเพลิงหนัก เช่น ขอนไม้ขนาดใหญ่ หรือต้นไม้ การตรวจตราก็อาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะแน่ใจได้ว่าไฟดับสนิทและไม่มีโอกาสคุขึ้นมาใหม่ได้แล้วจริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...