ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน”มจร”พร้อมแล้ว! เปิดหลักสูตรออนไลน์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 16 สิงหาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    e0b881e0b8a5e0b988e0b980e0b881e0b8a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b882e0b989e0b8ade0b89ee0b8b4e0b89ee0b8b2.jpg

    เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรหลักสันติศึกษา เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) คณะทำงานพัฒนาและฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ เปิดเผยว่า สำหรับบุคคลที่ต้องการพัฒนาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนหรือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) พิจารณาเห็นชอบให้มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ใน ๒ รูปแบบ ประกอบด้วย ๑)การเรียนการสอนแบบ Online เต็มรูปแบบ ๒)การเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้ง Online และ On Site โดยเห็นชอบให้คณะกรรมการส่งเสริม พัฒนาและขับเคลื่อน การดำเนินงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พิจารณาอนุญาตให้หน่วยงานที่ต้องการขอใช้หลักสูตรอบรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ไปจัดการเรียนการสอนในรูปแบบตามข้อ ๑ คือ “การเรียนการสอนแบบ Online เต็มรูปแบบ” โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมพิจารณา

    พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสต์นานาชาติ และประธานคณะทำงานศูนย์กล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เคยกล่าวไว้ว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ใช้หลักสูตรมาจัดฝึกอบรมตามมาตรฐานของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ซึ่งกำกับมาตรฐานโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม พร้อมมีการบูรณาการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพุทธสันติมีความเข้มข้นในการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เข้าใจในหลักการ วิธีการ และกระบวนการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี

    ปัจจุบันหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้การกำกับมาตรฐานของสำนักกิจการยุติธรรม และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อการบริการสังคมมุ่งเสริมสร้างสังคมสันติสุขและมีบทบาทในการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพราะมีการลงนามความร่วมมือ MOU กับสำนักงานศาลยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

    ทำให้มีผู้สนใจเรียนหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ จำนวนมากด้วยเหตุผล ๖ ประการ ประกอบด้วย ๑) ต้องการไกล่เกลี่ยกับกิเลสตัวเอง เพราะกิเลสรุมเร้าจิตใจจนขัดแย้งในตัวเอง ทำให้เกิดสภาวะเน่าในคุกครุ่นเกาะกัดกินจิตใจ เกิดความแปลกแยกและย้อนแย้งต่อการเลือกและตัดสินใจ การเรียนรู้จะทำให้มีสติ ขันติ สมาธิปัญญา สามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเอง สื่อสารกับตัวเองได้ดีมากขึ้น ๒) ต้องการช่วยไกล่เกลี่ยคนอื่นที่ขัดแย้งกัน เมื่อจัดการความกับขัดแย้งภายในได้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะนำทักษะที่ผ่านการฝึกไปเสริมการจัดการความขัดแย้งภายนอก เพื่อช่วยคนอื่นที่กำลังเผชิญหน้ากับความทุกข์ เป็นความสุขที่เห็นคู่ความมีความสุขจากการค้นพบความต้องการแล้วจับมือสร้างอนาคตใหม่ร่วมกัน ๓) ต้องการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคเอกชน ผลจากการผ่านการอบรมจะทำให้ได้รับใบอนุญาตสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกลเกลี่ย ทำให้สามารถเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน หรือภาคเอกชนได้ หากคนใดคนหนึ่งที่ร่วมจัดตั้งผ่านหลักสูตรนี้แล้วขึ้นทะเบียนได้ เปิดคลินิกทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยได้

    ๔) ต้องการเสริมงานประจำที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานในบริษัท ชุมชน สังคม หรืออื่นใด ล้วนแต่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความขัดแย้งได้ จึงจำเป็นที่จะเอาแนวคิดหรือทักษะมาใช้ในการบริหารจัดการความต้องการของคนในชุมชนหรือองค์กรนั้นๆ ให้สามารถบริหารได้ผลบริหารคนได้มีประสิทธิภาพ ๕) ต้องการเข้าใจMindsetเกี่ยวกับสันติวิธี คนจำนวนหนึ่งที่มาเรียนมุ่งหมายจะเรียนรู้และเข้าใจคนอื่นๆ ในเชิงจิตวิทยาทางสังคม หรือความต้องการส่วนลึกที่ซ่อนตัวอยู่ภายในใจว่าทำไมจึงคิดต่างทำต่าง หรือทำไมจึงชอบสร้างความขัดแย้งในชุมชน องค์กรและสังคม ๖)ปรารถนาเครือข่ายคนทำงานด้านไกล่เกลี่ย การทำงานไกล่เกลี่ยชุมชน องค์กรและสังคมคนเดียว มักจะประสบภาวะโดดเดี่ยว เพื่อนในรุ่นมีทั้งพระสงฆ์ ผู้บริหาร ทนายความ ครู หมอ ตำรวจ พยาบาล ทหาร นักธุรกิจ นักจิตอาสา วิทยากร โค้ช นักพัฒนาชุมชน ในทุกระดับ รวมถึงการได้เรียนรู้โดยตรงกับวิทยากรที่หลากหลาย ทั้งจากศาล กระทรวงยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า องค์กรสิทธิมนุษยชน จะทำให้มีที่ปรึกษาให้สามารถเชื่อมโยงและทำงานได้รอบคอบรอบด้านมากขึ้น เป็นเหตุผลที่ถูกกระตุ้นจากตัวแปรภายในตัวแปรภายนอกเข้ามาศึกษาเรียนรู้และพัฒนาทักษะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งจัดโดยหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    ในการประชุมในครั้งนี้ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานยุติธรรม ในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และ พ.ต.ท. ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งบุคคลทั้งสองเป็นครอบครัวของหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนงานยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และขออนุโมทนากับท่านเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนการขยายศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตามตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ และขอขอบคุณท่าน ดร.ธปภัค บูรณะสิงห์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาทกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ในการมุ่งทำงานด้านยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรมจึงขอให้กำลังใจฐานะครอบครัวสันติศึกษา มจร ยิ่งต้องปรับรูปแบบการสอนเป็นออนไลน์ถือว่ามีความท้าทายอย่างยิ่งในหลักสูตรที่เตรียมมาเพื่อฝึกปฏิบัติจริงอย่างเข้มข้น

    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.banmuang.co.th/news/politic/246488
     

แชร์หน้านี้

Loading...