ศีล

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย Gemini Saga, 16 พฤษภาคม 2009.

  1. Gemini Saga

    Gemini Saga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +216
    ก่อนจะพูดเรื่องศีลข้าพเจ้าจะขออธิบายคำว่า “พฤติกรรม” ก่อนเพราะว่าพฤติกรรมนี้จะอยู่ควบคู่กับศีลffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    พฤติกรรม คือ การแสดงออกด้วยการกระทำและคำพูดของบุคคลจะเป็นคุณประโยชน์ได้เพราะมีศีลกำกับควบคุมเป็นประจำ ถ้าขาดศีลเสียแล้ว การกระทำและคำพูดก็ขาดสิ่งควบคุม แล้วก็จะแสดงออกในทางที่ผิดๆ ซึ่งเป็นโทษอันตรายเป็นส่วนมากเปรียบเสมือนรถที่พวงมาลัยขาด ขณะที่วิ่งอยู่<O:p></O:p>
    ฉะนั้นเรื่องของศีลจึงจำเป็นสำหรับบุคคลจะต้องมีไม่ใช่ว่าจะไม่มีก็ได้ ทุกคนจะต้องมีศีล จะส่วนน้อยก็มากก็แล้วแต่บุคคล มีมากก็ดีมาก มีน้อยก็ดีน้อย หากไม่มีเสียเลยก็หมดดีเลย คนหมดดีแล้วก็อยู่ในสังคมไม่ได้ แต่ในที่สุดก็ถูกจำกัดเขตให้อยู่<O:p></O:p>
    ศีล แปลว่า ปกติ คนมีศีลคือคนปกติ คนปกติในทางศาสนา คือ คนไม่ผิดศีล ซึ่งวัดด้วยพฤติกรรม คือการแสดงออกทาง กาย วาจา<O:p></O:p>
    ประเภทของศีล<O:p></O:p>
    ศีล ๕ สำหรับคฤหัสถ์ทั่วไป<O:p></O:p>
    ศีล ๘ และศีลอุโบสถ สำหรับคฤหัสถ์ผู้ประสงค์จะปฏิบัติให้ปราณีตยิ่งขึ้น อาชีวัฏฐะมะกะศีล ศีลที่เป็นอาชีวะเป็นที่แป็ด<O:p></O:p>
    ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร<O:p></O:p>
    ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุ<O:p></O:p>
    ศีล ๓๑๑ สำหรับภิกษุณี<O:p></O:p>
    เบญจศีลหรือศีล ๕ เป็นศีลหลัก หรือศีลพื้นฐานที่สำคัญมาก ศีลที่สูงขึ้นไปก็พัฒนาไปจากศีล ๕ จึงเรียกว่ามนุษยธรรม คือทำให้บุคคลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะพัฒนาความถี่ให้สูงขึ้นไปได้ทุกอย่าง<O:p></O:p>
    ศีลคืออะไร ศีล คือ ตัวเจตนา ความตั้งใจเว้นจากการทำความชั่วทางกาย และวาจา เรียกว่า วิรัติ<O:p></O:p>
    วิรัติ คืออะไร วิรัติแปลว่า การเว้น หรือเจตนา คือความตั้งใจ ได้แก่ การเว้นจากปาณาติปาต เป็นต้น วิรัติมี ๓ อย่างคือ<O:p></O:p>
    ๑ สัมปัตตวัรัติ คือการรักษาศีล เมื่อประจวบกับเหตุการณ์ กล่าวคือ ไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจไว้ก่อน แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ ที่จะทำให้ผิดศีลเข้าจึงตั้งใจงดเว้นเอาในขณะนั้นเอง ตัวอย่างเช่น ขณะเดินไปตามถนนเห็นฝูงมดไต่ข้ามถนนอยู่ เรากำลังจะเหยียบอยู่แล้วนึกขึ้นมาได้ว่า เรารักษาศีลดีกว่าจึงก้าวข้ามไปไม่เหยียบมดนั้น หรือเมื่อเพื่อนเอาแก้วเหล้ามายื่นให้เราก็จะรับไว้จะดื่ม แล้นึกขึ้นมาได้ว่า เรารักษาศีลดีกว่าไม่ดื่มเหล้านั้น ทั้งสองตัวอย่างนี้เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ แปลว่า รักษาศีลเมื่อประจวบกับเหตุการณ์<O:p></O:p>
    ๒ สมาทานวิรัติ คือการเว้นจากการสมาทาน คือการเว้นจากข้อห้ามไม่กระทำผิดในองค์ศีลนั้น จะสมาทานกับพระ หรือตั้งใจงดเว้นเองก็ได้<O:p></O:p>
    ๓ สมุจเฉทวิรัติ คือเว้นอย่างเด็ดขาด เป็นศีลของพระอริยเจ้า<O:p></O:p>
    สรุป วิรัติคือเจตนางดเว้นจากศีล ส่วนลิกขาบทแต่ละข้อนั้นเป็นเพียงข้อห้ามให้เว้นจากอาการของศีล<O:p></O:p>
    ศีลแต่ละข้อมีองค์ประกอบอยู่ทุกข้อ ผู้รักษาล่วงองค์ประกอบครบทุกข้อ จึงถือว่าศีลขาด หากมีข้อบกพร่องที่มีการล่วงองค์ประกอบบางข้อยังถือว่าศีลของผู้นั้นยังไม่ขาด แต่ศีลข้อนั้นๆไม่บริสุทธิ์เท่านั้น องค์ประกอบแต่ละข้อของศีลมีดังนี้<O:p></O:p>
    ข้อที่๑ ปาณาติปาต มีองค์ประกอบ ๕ คือ ๑.สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่ ๒.ตนก็รู้ว่าสัตว์นั้นยังมีชีวิต ๓.มีจิตคิดจะฆ่า ๔.ทำความเพียรจะฆ่าให้ตาย ๕.สัตว์นั้นต้องตายเพราะความเพียรนั้น<O:p></O:p>
    ข้อที่๒ อทินนาทาน มีองค์ประกอบ ๕ คือ ๑.ของนั้นเจ้าของหวง ๒.ตนก็รู้ว่าของนั้นเจ้าของหวง ๓.มีจิตคิดจะลัก ๔.เพียรจะลักให้ได้ ๕.ได้ของนั้นมาเพราะความเพียรนั้น<O:p></O:p>
    ข้อที่๓ กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ประกอบ ๔ คือ ๑.วัตถุไม่ควรไปถึง ๒.มีจิตคิดจะเสพ ๓.พยายามเสพ ๔.ทำการเสพ<O:p></O:p>
    ข้อที่๓ อพรหมจรรย์ มีองค์ประกอบ ๓ คือ ๑.ทางทวารใดทวารหนึ่ง ๒.มีจิตคิดจะเสพ ๓.ทำการเสพ<O:p></O:p>
    ข้อที่๔ มุสาวาส มีองค์ประกอบ ๔ คือ ๑.พูดในสิ่งไม่จริง ๒.มีจิตคิดคิดจะพูดให้ผิดจากความจริง ๓.พูดด้วยกริยาหรือวาจา ๔.คนอื่นหลงเข้าใจผิดในเนือความนั้น<O:p></O:p>
    ข้อที่๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีองค์ประกอบ ๔ คือ ๑.ของที่ทำให้มึนเมา ๒.มีจิตคิดจะเสพ ๓.พยายามเสพอันเกิดจากจิตนั้น ๔.ของเมานั้นล่วงลำคอไป<O:p></O:p>
    ข้อที่๖ วิกาลโภชนา มีองค์ประกอบ ๔ คือ ๑.ตั้งแต่เที่ยงวันไปแล้ว ๒.ของที่เป็นอาหารไม่ควรกินในยามวิกาล ๓.พยายามกลืนของที่เป็นอาหารนั้น ๔.กลืนอาหารนั้นให้ล่วงลำคอลงไป<O:p></O:p>
    ข้อที่๗ นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสนะ มีองค์ประกอบ ๓ คือ ๑.การละเล่นมีการฟ้อนรำขับประโคมดนตรี ๒.ไปเพื่อจะดูจะฟัง ๓.ได้เห็นได้ฟัง<O:p></O:p>
    มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา มีองค์ประกอบ ๓ คือ ๑.ทัดทรงตกแต่งกายด้วยเครื่องหอมและดอกไม้ เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องตกแต่งต่างๆ ๒.มีจิตคิดจะประดับให้สวยงาม ๓.ไม่มีเหตูที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตได้ เช่น เจ็บป่วย เป็นต้น<O:p></O:p>
    ข้อที่๘ อุจจาสยนมหาสยนา มีองค์ประกอบ ๒ คือ ๑.ที่นั่งที่นอนอันสูง ๒.นั่งก็ดี นอนก็ดี บนที่นั่งที่นอนอันนั้นด้วยความพอใจ<O:p></O:p>
    อนิสงส์ คือ คุณความดีของศีล<O:p></O:p>
    ๑. ศีลทำให้ปราศจากเวรภัย<O:p></O:p>
    ๒. ศีลทำให้เป็นคนมั่นคั่งตั้งรากฐานได้<O:p></O:p>
    ๓. ศีลทำให้ถึความดับทุกข์ เย็นใจได้<O:p></O:p>
    ๔. ศีลทำให้ชื่อเสียงที่ดีงามย่อมฟุ้งไป<O:p></O:p>
    ๕. เข้าในบริษัทใด จะเป็นขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน<O:p></O:p>
    ๖. ตายไปย่อมเข้าถึง สุคติ(โลกสวรรค์)<O:p></O:p>
    ๗. เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกริยา(คือไม่หลงตาย)<O:p></O:p>
    ศีล ๕ เป็นโลกวัชระเป็นหน้าที่ของชาวโลก ควรจะละเว้น ผู้ใดละเมิด คือข้อหนึ่งข้อใดจะสมาทานหรือไม่สมาทานก็ตาม คงเป็นเวรแก่ผู้กระทำเท่าเทียมกัน ส่วนผู้รักษาศีลจะรักษาได้นานเท่าใดก็ตาม แม้เท่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ผู้รักษาย่อมได้อนิสงส์ตามควรแก่การปฏิบัติ ส่วนผูไม่รักษาศีลเลยเขาผู้นั้นจะมีแต่เวรของการล่วงศีลแต่ฝ่ายเดียว<O:p></O:p>
    ศีล ๘ เป็นปัณณัติวัชระ ผู้ใดสมาทานก็จะมีอนิสงส์อันยิ่งใหญ่เพิ่มขึ้น คือ ข้อ ๖ ๗ ๘ ผู้สมาทานถ้าละเมิดทำให้ศีลขาด ต้องได้รับโทษ แต่ตรงกันข้าม ผู้ที่ไม่สมาทานทำการล่วงศีลข้อที่ ๖ ๗ ๘ ได้โดยไม่มีโทษแต่ประการใด<O:p></O:p>
    ฉะนั้น ผู้มีปัญญา ควรรักษาศีล ๕ อยู่เป็นนิจหากเวลาใดเราจำเป็นจะต้องล่วงศีลบางข้อก็ล่วงไป แล้วเราก็ตั้งใจสมาทาน คือตั้งจิตคิดงดเว้นใหม่ กระทำเช่นนี้อยู่เสมอไป แม้ศีลจะขาดไปบ้างเป็นช่วงๆ ก็ยังนับว่าดีอยู่ อุปมาเหมือนคนที่ มีผ้านุ่งแต่ขาดบ้าง ย่อมดีกว่าคนที่ไม่มีผ้านุ่งเลย ผู้ที่รักษาศีล๕ ไม่ขาดเลยนั้นต้องเป็นพระอริยเจ้าเท่านั้นศีลจะบริสุทธิ์ผ่องใส<O:p></O:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...