วิบากกรรม"คุ้มวิชัยราชา"ประวัติศาสตร์คู่เมืองแพร่ กับวันใกล้สิ้นลม

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 28 กันยายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    วิบากกรรม"คุ้มวิชัยราชา" ประวัติศาสตร์คู่เมืองแพร่ กับวันใกล้สิ้นลม

    รายงาน

    โดย ทีมข่าวภูมิภาค



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    คุ้มวิชัยราชาก่อนบูรณะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อปี 2535 "วีระ สตาร์" และคู่ชีวิต ไปเยี่ยมพ่อแม่คู่ชีวิตที่เมืองแพร่ บังเอิญผ่านไปพบบ้านโบราณเก่าแก่อายุกว่าร้อยปี สภาพผุพังใกล้ล้มรกร้างอยู่นานจนลือกันว่าเป็นบ้านผีสิง ชาวบ้าน "สีลอ" หรือ "ชุมชนวัดศรีบุญเรือง" อ.เมืองแพร่ รู้จักกันดีในนาม "คุ้มวิชัยราชา" หรือ "บ้านเจ้าวงศ์" หรือ "บ้านเจ้าโว้ง" ติดป้ายประกาศขายไว้

    วีระรู้สึกสงสารบ้านไม้สักทรงมะนิลาผสมผสานล้านนาหลังงามที่ถูกทอดทิ้ง จึงติดต่อขอซื้อจากผู้ครอบครองเพื่อกอบกู้บูรณะฟื้นฟูอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เชิดชูหน้าตาของเมืองแพร่ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับจังหวัด

    แต่ด้วยทุนจำกัด วีระจึงชวนเพื่อนมาร่วมด้วยโดยให้เป็นผู้รับผิดชอบหาเงินทุน ส่วนตัวเองเป็นผู้ดำเนินการด้านออกแบบ บูรณะก่อสร้างและบริหารโครงการ ที่ต่อมาใช้ชื่อว่า "วิชัยราชา" ซึ่งเป็นพระราชทินนามที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้เจ้าของเดิม หรือ "เจ้าหนานขัติ" ต้นตระกูล "แสนศิริพันธ์" ที่สร้างวีรกรรมช่วยเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางรอดชีวิตจากการไล่ล่าสังหารของกลุ่มกบฏเงี้ยว เมื่อพ.ศ.2445 ก่อน "เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี" จะยกทัพหลวงขึ้นไปปราบจนราบคาบ

    เริ่มโครงการไม่นานนัก "หุ้นส่วน" ได้เสียชีวิตลงทิ้งให้วีระต้องรับผิดชอบโครงการรวมทั้งหนี้สิน และเงินทุน ที่ยุ่งยากกว่านั้น คือนิติกรรมทั้งหมดทำในนามของบริษัทหุ้นส่วนที่ตัวเองไม่มีแม้แต่ชื่อร่วมอยู่ด้วย แต่ด้วยความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะสานฝันให้โครงการเชิงสร้างสรรค์นี้สำเร็จลุล่วง จึงกัดฟันเดินหน้าต่อ แต่งานบูรณะเป็นไปอย่างยากลำบากใช้เวลาและงบประมาณมากมาย แต่วีระอดีตทหารผ่านศึกไม่ย่อท้อ วิ่งหาเงินกู้ทั้งในและนอกระบบ เสียสละทุ่มเทรวมทั้งเวลา 15 ปี ให้กับหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    คุ้มวิชัยราชาในปัจจุบัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    งานบูรณะเป็นไปด้วยความยากลำบากและล่าช้ายิ่งเพราะถูกทิ้งร้างมานานหลายสิบปีจนตัวเรือนใกล้จะล้มทรุดเอียงไปข้างเพราะเสาไม้ถูกปลวกแทะจนผุหมด ต้องตัดผุดีดเสาทั้ง 69 ต้นเข้าศูนย์เทฐานรากใหม่ หล่อฐาน ค.ส.ล. เชื่อมติดเสาไม้ ทำคานคอดินเชื่อมเสาทั้งหมด มุงหลังคาเปลี่ยนแป้นเกล็ดที่มีอายุกว่าร้อยปีใหม่ทั้งหมด ฯลฯ

    นอกจากปัญหางานก่อสร้างฟื้นฟูที่ต้องทำกันอย่างระมัดระวังแล้ว ยังติดขัดเรื่องปัญหาทุนเพราะธนาคารไม่สนับสนุนเงิน ส่วนนี้วีระ จึงต้องหาเงินนอกระบบทั้งขายและจำนองที่ดินของตัวเอง และภรรยาไป 5 แปลง กลายเป็นห่วงผูกคอให้ธนาคารทหารไทยดำเนินการฟ้องล้มละลายยืดเยื้อมาตั้งแต่ ปี 2547 และจบลงเมื่อปลายปี 2549

    ระหว่างการบูรณะอยู่นั้น มี "เขมชาติ เทพไทย" หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 แวะมาเยี่ยมและสอบถามถึงจุดประสงค์ของการรื้อคุ้มวิชัยราชา เมื่อทราบว่าเป็นการบูรณะฟื้นฟูเพื่อจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม มี "อาจารย์ทวน ธีรพิจิตร" เป็นที่ปรึกษา จึงพูดถึงการขอขึ้นทะเบียน "คุ้มวิชัยราชา" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    วีระ สตาร์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลังจากหมดเงินไปหลายล้านบาท วีระได้สร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้ผู้มาเยือน เป็นแหล่งรวบรวมและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมหรือโอท็อปเมืองแพร่ โดยออกแบบก่อสร้างขึ้นรูปแบบสถาปัตยกรรมกลมกลืนร่วมสมัยกับคุ้มวิชัยราชา หลายคนลงความเห็นว่าเป็นตึกแถวที่สวยที่สุดในล้านนาตะวันออก มี 9 คูหา จะขาย-เช่า ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการในเชิงธุรกิจท่องเที่ยวเท่านั้น เพื่อระดมทุนมาใช้หนี้โครงการและนำผู้ประกอบการรวมตัวกันเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

    ย้อนกลับไปใกล้ปลายปี 2539 คุ้มวิชัยราชาได้รับการบูรณะฟื้นฟูจนสดใสสวยงาม ขณะที่เพื่อนรุ่นพี่ คือ "ดร.ยอดยิ่ง เทพธรานนท์" ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเพื่อไถ่ถอนนำโครงการเข้าระบบการเจรจากับธนาคารทหารไทย ที่เป็นหนี้อยู่ 5 ล้านบาท หรือประมาณ 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด

    ต่อมา ธนาคารทหารไทยได้ถ่ายโอนโครงการนี้ให้ บริษัท สินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ หรือ บสก. เพราะเป็นหนี้เน่า หรืออีกชื่อที่ดูดี คือ สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และเตรียมขายทอดตลาด นับจากนั้นมา คุ้มวิชัยราชาจึงอยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการถูกเปลี่ยนแปลง

    มวิชัยราชาอันเป็นรอยต่อทางประวัติศาสตร์สำคัญของสยามประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าของบ้านเดิมทั้งสองท่านทั้ง "พระวิชัยราชา" และ "เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธ์" ทายาทที่รับช่วงมา อดีตหัวหน้าขบวนการเสรีไทยจังหวัดแพร่ ต่างมีเกียรติประวัติอันสูงส่งสร้างวีรกรรมช่วยเหลือกอบกู้บ้านเมืองช่วงวิกฤตไว้หลายครั้ง

    แต่การเมือง กาลเวลา และจิตสำนึกของคนไทยในสังคมที่อ่อนแอ ปราศจากความซาบซึ้งหรือตระหนักถึงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และวีรกรรมของบรรพชน เริ่มเสื่อมคลายและหลงลืมประวัติศาสตร์รากเหง้าที่มา คุ้มวิชัยราชาจึงเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมทรงค่า อีกสัญลักษณ์ของเมืองเหนือ ที่อาจจะถูกลืมเลือนในไม่ช้า และอาจถูกเลหลังกลายเป็นบ้านโบราณเพื่อการค้าไป

    วันนี้ วีระพยายามเสียสละทุ่มเทต่อสู้เพื่อมิให้คุ้มวิชัยราชามีอันเป็นไปถึงแม้ต้องเดิมพันด้วยชีวิต และหมดตัว โดยถ้าโครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนเงิน 14 ล้านบาท "วิชัยราชา" ก็คงต้องหายไปจากความทรงจำ

    ขณะที่วีระไม่สร้างทั้งรั้วและประตูโดยรื้อทิ้งเมื่อเริ่มโครงการทั้งที่ได้ลงทุนไปหลายสิบล้านบาท เพราะถือว่า "คุ้มวิชัยราชา" เป็นของคนไทยทุกคน

    และได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าจะมอบ "คุ้มวิชัยราชา" ให้แผ่นดิน เพราะตายไปก็เอาไปไม่ได้

    ----------
    Ref.
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01pro35280950&day=2007-09-28&sectionid=0112
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ยอดยาหยี

    ยอดยาหยี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    576
    ค่าพลัง:
    +2,697
    เอาใจช่วยค่ะ ขอให้อุปสรรคผ่านพ้นไปด้วยดีค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...