"วัด-น่าน-นาค"

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    "วัด-น่าน-นาค" (1)

    คอลัมน์ หลงรักน่าน

    โดย ชาติ ภิรมย์กุล




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    วัดพระธาตุเขาน้อย มองเห็นวิวเมืองน่านได้ทั้งเมือง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    7 โมงเช้า ต้นเดือนธันวาคม 2549

    ผมนั่งกินน้ำเต้าหู้ริมฟุตปาธหน้าตลาดสดจิตนุสรณ์ ที่จังหวัดน่าน

    ก่อนมาเมืองน่านยังคิดว่าต้องเจอกับอากาศเย็นๆ ชนิดที่มีควันออกจากปากเวลาพูด

    ผิดหวังเล็กน้อยเจ๊า

    อากาศเย็นแค่ช่วงเช้า หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของแดดที่ตามไปเผาผลาญผิวจนน่ารำคาญ

    ไปเที่ยวเมืองน่าน-หลายคนคิดว่าผมต้องไปล่องแก่งน้ำว้า ที่อุทยานแห่งชาติแม่จริม และไปดูต้นชมพูภูคาที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

    ต้นชมพูภูคา พันธุ์ไม้หายากหนึ่งเดียวในโลกออกดอกสีชมพูระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

    ใครที่ชอบธรรมชาติแบบป่าๆ โดยเฉพาะปาล์มดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ไปดอยภูคาไม่ผิดหวัง

    อุทยานแห่งชาติดอยภูคา กับอุทยานแห่งชาติแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่านประมาณ 60-70 กิโลเมตร

    แค่เดินทางไป-กลับแบบเร่งรีบ-กินข้าวบนรถและชะโงกดูทิวทัศน์แบบผ่านๆ หมดไป 1 วันเต็มๆ

    แทบจะไม่ได้เดินดูของดีในตัวเมือง

    ถ้าไปเที่ยวเมืองน่านแค่วัน-สองวัน ลองเปลี่ยนโปรแกรมมาเที่ยวในตัวเมืองน่านดีไหม
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ภาพชุดมรดกเมืองน่าน ผลงานของวินัย ปราบริปู

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    น่าน เป็นเมืองเล็กๆ เต็มไปด้วยแหล่งโบราณสถาน และวัดหลายวัดที่สวยงามมาก

    เมื่อคืนมีโอกาสได้นั่งคุยกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน (นรินทร์ เหล่าอารยะ)

    นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านกำลังจัดทำโครงการ City Tour

    1 วันเที่ยวเมืองน่านตามรอยวัฒนธรรมและมรดกเมืองน่าน

    ฟังจากที่นายกฯเล่า ผมเห็นด้วยกับโครงการท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมในตัวเมืองน่าน

    เห็นด้วยอย่างเดียวมันนึกภาพไม่ออก ต้องไปเที่ยวด้วยตัวเอง

    ไปเที่ยวต่างจังหวัด ผมมักเริ่มต้นที่ตลาดสดเหมือนเป็นจุดสตาร์ตความคิด

    หลังจากส่งน้ำเต้าหู้และปาท่องโก๋ลงไปนอนสงบอยู่ในท้อง ผมเริ่มทัวร์รอบเมืองน่านแบบไม่รีบ-เร่ง จุดแรก คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

    ผมเคยเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์จังหวัดอื่นมาบ้าง-บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่เคยไปเห็นมาส่วนมาก มักกลายเป็นที่หลบแดด-หลบฝนและพักเหนื่อยของลูกทัวร์

    พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่น่าน-ไม่เหมือนกับที่สร้างภาพโฟโต้ช็อปไว้ในใจ

    วันที่ผมไปมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติสลับกันเดินขึ้น-ลงในพิพิธภัณฑ์อย่างอบอุ่น

    น้องคนหนึ่งชื่อ "ป้อม" ทำงานอยู่พิพิธภัณฑ์ฯบอกกับเรา

    "พิพิธภัณฑ์น่านมียอดผู้เข้าชมสูงสุดในภาคเหนือและติด 1 ใน 10 พิพิธภัณฑ์ยอดนิยมในประเทศ"

    จุดขายที่แข็งและสามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากมาชมที่นี้อย่างต่อเนื่องคงหนีไม่พ้น

    "งาช้างดำ"

    งาช้างดำ กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองน่านที่นักท่องเที่ยวอยากมาเห็นของจริง

    งาช้างดำจัดแสดงอยู่ในตู้กระจกใสขนาดใหญ่ ลักษณะของงาดำเป็นงาปลีเปลือกสีน้ำตาลเข็ม ยาว 97 ซม. วัดโดยรอบ 47 ซม. หนักประมาณ 18 กิโลกรัม

    เสียดายที่ทางพิพิธภัณฑ์ห้ามถ่ายภาพ

    ทุกอย่างที่เป็นวัตถุโบราณ-พระพุทธรูปเก่าแก่-วิถีชีวิตความเป็นอยู่-สิ่งของเครื่องใช้ของคนเมืองน่านและชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ มีให้เลือกดูจนลืมเวลา

    บริเวณที่จัดแสดงภาพถ่ายประวัติศาสตร์เมืองน่าน มีอยู่ภาพหนึ่งที่สะกดคนดูให้นิ่งอยู่กับที่ได้นานๆ

    ภาพ หม่อมเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ธิดาของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ กับ แม่เจ้าศรีคำ

    ภาพหม่อมเจ้าศรีพรหมา เป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5

    เป็นภาพที่งดงามมาก

    วันที่ผมไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ตรงกับงาน "สานศิลป์ ถิ่นน่าน ครั้งที่ 2"

    จัดงานตรงสนามหญ้าพิพิธภัณฑ์-ภายในงานมีการออกร้านขายอาหาร-ผ้าพื้นเมือง-การแสดงวัฒนธรรมของเมืองน่าน-มีเสื่อปูกับพื้นให้นั่งกินไส้อั่วดูการแสดงตีกลองปู่จา

    ตีกลองปู่จาเป็นการตีกลองเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าอะไรประมาณนี้ (คนน่านเล่าให้ฟังข้างหู)

    ผมไปดูทั้งกลางวัน-กลางคืน

    ชอบดูการแสดงตีกลองปู่จาที่มีทั้งพระ-เณร-ฆราวาสขึ้นไปสะบัดลีลาตีกลองอย่างไม่ออมมือ

    แพ้เป็นพระ-ชนะเป็นเณร

    ในบริเวณพิพิธภัณฑ์มีโบราณสถานใต้ต้นโพธิ์ชื่อ "วัดน้อย"

    วัดน้อย ก่ออิฐถือปูนกว้าง 1.89 เมตร ยาว 2.34 เมตร สูง 3.35 เมตร ศิลปะแบบล้านนา สุกลช่างน่าน

    เป็นวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทยหรือ...อาจจะเล็กที่สุดในโลก

    --------------------
    Ref. http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01sun01040250&day=2007/02/04&sectionid=0120
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    "วัด-น่าน-นาค" (2)

    คอลัมน์ หลงรักน่าน

    โดย ชาติ ภิรมย์กุล



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    มัคคุเทศก์จิ๋วที่วัดภูมินทร์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>เหตุผลที่ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติน่านมียอดผู้เข้าชมสูงสุดในภาคเหนือน่าจะมาจากตำแหน่งที่ตั้ง

    พิพิธภัณฑ์แห่งชาติน่านตั้งอยู่ใจกลางเมือง-ไปมาสะดวก-ติดถนนใหญ่

    เป็นใจกลางเมืองที่อยู่ใกล้กับแหล่งโบราณสถานสำคัญอย่าง...วัดภูมินทร์-วัดช้างค้ำวรวิหาร-วัดหัวข่วง

    จากพิพิธภัณฑ์ฯเดินข้ามถนนไปวัดภูมินทร์ ห่างกันแค่ช่วงถนน

    "วัดภูมินทร์" โดดเด่นอยู่บนลานกว้างๆ ประตูทางเข้าด้านหน้ามีสิงห์ปูนปั้นสีขาว 1 คู่ถัดมาเป็นบันไดนาค

    นาคตัวอวบ-อ้วนหน้าตาใจดีอยู่ตรงทางเข้าอุโบสถ

    ใครเข้าวัดแล้วตัวร้อนๆ ถ้ามาเห็นวัดภูมินทร์อาจจะหายตัวร้อน

    เพราะวัดภูมินทร์แปลกกว่าวัดอื่นตรงที่พระอุโบสถและวิหารเป็นอาคารหลังเดียวกันทรงจตุรมุข (กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย)

    ก่อนเข้าไปดูในอุโบสถสังเกตที่บานประตูเป็นไม้สักขนาดหนามากแกะสลักลึก 3 ชั้นลวดลายเครือเถามีทั้งดอกและผลระย้าและสัตว์หลายชนิด

    ตรงกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้ง 4 ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน

    นอกจากพระประธานจตุรทิศที่งดงามยังมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนาสมัยก่อนพร้อมทั้งการแต่งกายของผู้หญิง-ผู้ชาย-การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ

    ภาพปู่ม่าน-ย่าม่าน ศิลปะสกุลช่างน่านถือเป็นมรดกของเมืองน่านและเป็นภาพประวัติศาสตร์ของคนไทยในอดีตหลายร้อยปีที่หาดูไม่ได้ง่ายๆ

    ภาพจิตรกรรมฝาผนังสันนิษฐานว่าอายุคงราวๆ ประมาณ 200 ปี แปลกตรงที่ไม่มีการบันทึกไว้....

    ใครเป็นคนเขียนภาพ

    ที่แปลกไปกว่านั้น ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ทั้งเหมือนและคล้ายกับจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวตำบลป่าคา ดูแล้วเหมือนช่างคนเดียวกันรับ จ๊อบ 2 วัด

    ภายในวัดภูมินทร์ มีมัคคุเทศก์รุ่นจิ๋วคอยอธิบายความเป็นมาของวัดภูมินทร์ ให้นักท่องเที่ยวหายสงสัย

    มัคคุเทศก์จากโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ กำลังเรียนอยู่ชั้น ป.6 กับ ป.3 อายุต่ำสุดแค่ 6 ขวบ

    ความสามารถพิเศษของผมตอน 6 ขวบ เท่าที่จำได้-เคยไล่จิ้งหรีดออกจากวัดอย่างไร้น้ำใจ

    เวลามีน้อย-อายุก็เหลือน้อย-ไปดูวัดอื่นกันต่อ

    ข้ามถนนไปฝั่งตรงข้ามเป็นวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารอายุกว่า 600 ปี

    *วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร* ลักษณะเป็นเจดีย์ช้างล้อมทรงระฆัง มีช้างโผล่ออกมาครึ่งตัว

    นอกจากเจดีย์ช้างล้อมสีทองสุก ยังมี *หอไตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย* อยู่ข้างวิหาร

    ภายในหอไตรมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ภูคาเป็นผู้สร้าง

    ที่รู้เพราะภายในหอไตรมีมัคคุเทศก์รุ่นจิ๋วเรียนอยู่ชั้น ป.6 ชื่อ "น้องนุก" กับ "น้องตาล" เป็นผู้บรรยาย

    น้องนุกเวลาเล่าประวัติของวัดเหมือนเราหยอดเหรียญลงในเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ตามห้างสรรพสินค้า

    เครื่องคอมพ์เริ่มทำงานหน้าตามัคคุเทศก์จริงจัง-ตั้งใจมากไม่มีการเว้นวรรค-พักหายใจ

    ผ่านไป 2 วัดกับ 1 พิพิธภัณฑ์

    ตอนแรกตั้งใจจะไป *วัดหนองบัว* อยากไปดูภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่คล้ายกับวัดภูมินทร์

    มีโปรแกรมขึ้นมาใหม่หลังจากที่ไก๊ด์จำเป็น (คนเมืองน่าน) ติดต่อโทรศัพท์กับศิลปินชื่อดัง

    "โชคดีมากวันนี้ อาจารย์วินัยอยู่ เราไปหอศิลป์ริมน่านกันดีกว่า"

    หอศิลป์ริมน่านก่อตั้งโดย *วินัย ปราบริปู*

    บรรยากาศที่หอศิลป์ริมน่านเหมือนรีสอร์ทติดลำน้ำน่าน สวย-สงบ ด้วยธรรมชาติที่ไม่ต้องปรุงแต่ง

    ใครที่อารมณ์ติสท์เข้าสิง ไปหอศิลป์ริมน่านจะจุกความสุข

    ตัวหอศิลป์คล้ายๆ โบสถ์ทางยุโรป-ด้านในหอศิลป์มีสองชั้น-การจัดวางและองค์ประกอบของหอศิลป์เข้าไปแล้วมันได้อารมณ์ในการดูงานศิลปะอย่างแท้จริง

    สถานที่แสดงงานศิลปะในกรุงเทพฯบางแห่งเป็นตัวลดความสวยงามของภาพเขียนอย่างน่าเสียดาย

    ใครที่ชอบดูงานศิลปะถ้าเอ่ยชื่อวินัย ปราบริปู หลายคนจะนึกถึงภาพทะเล-หาดทราย-หิน-หอย-เรือประมงชาวบ้าน-ต้นไม้-ป่า-ลำธาร-ท้องฟ้า

    งานเขียนของ วินัย ปราบริปู เป็นงานเหมือนจริงบวกจินตนาการ

    ดูแล้วเกิดความรู้สึกอบอุ่นและอิ่มใจ

    ผลงานล่าสุดของวินัย ปราบริปูที่จัดแสดงเป็นงานชุด "แรงบันดาลใจจากมรดกน่าน"

    เป็นภาพผู้หญิง-ผู้ชายที่อยู่ในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์และวัดหนองบัว

    วินัย ปราบริปู เขียนภาพชุดนี้ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์มรดกของเมืองน่านให้เยาวชนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าความงามด้านศิลปะ

    ที่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน
    --------------
    Ref. http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01sun02110250&day=2007/02/11&sectionid=0120
     

แชร์หน้านี้

Loading...